ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ถาม จิตจะละจากความยินดี ใน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส อารมณ์ ได้ในตอนไหน ?  (อ่าน 2046 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ถาม จิตจะละจากความยินดี ใน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส อารมณ์ ได้ในตอนไหน คะ / ครับ

ตอบ จิตของบุคคล จะละ จากความยินดี และ ความไม่ยิน ในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส อารมณ์ ที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ได้ ดังนี้

1.ปุถุชน ผู้สมาทาน กรรมฐานภาวนา อนุสสสติ มี พุทธานุสสติ ธรรมานุสสติ สังฆานุสสติ อุปสมานุสสติ กายคตาสติ อาปานานสติ และ อสุภกรรมฐาน 10 จักละราคะ และปฏิฆะ ในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ธรรมารมณ์ ได้ในขณะภาวนา ชั่วขณะที่ภาวนา

2.พระโสดบัน สามารถละได้ ใน ผลสมาบัติ และ ในพระสกทาคามิมรรค ( พระโสดาบัน ผู้ภาวนาธรรม มุ่งตรงนิพพานชื่อว่า พระสกทาคามิมรรค เอกพีชี )

3.พระสกทาคามี สามารถละได้ ใน ผลสมาบัติ และ ในอนาคามิมรรค ( พระสกทาคามี ผู้ปรารถนานิพพาน ชื่อว่า พระอนาคามิมรรค )

4.พระอนาคามี ละได้ด้วยการบรรลุคุณธรรม เพราะสิ้นราคะ และ ปฏิฆะ ใน รูปภายนอก ที่เป็น ธาตุ 6 คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ธาตุอากาศ และ มนายตนะธาตุ เรียกว่า โลกียะธาตุ

5.พระอรหันต์ ละราคะ ในรูปภายใน ที่ธาตุ 2 อย่าง คือ มนธาตุ และ ธรรมธาตุ เรียกว่า โลกุตตระธาตุ

ดังนั้นผู้ไม่สมาทาน หรือ ผู้ไม่เจริญภาวนา กรรมฐาน พุทธานุสสติ ธรรมานุสสติ สังฆานุสสติ อุปสมานุสสติ กายคตาสติ อาปานานสติ และ อสุภกรรมฐาน 10 ไม่สามารถที่จะละ รูปราคะ และ อรูปราคะได้

การสมาทานภาวนา เป็นไปตามลำดับ จากเบาไปหาหนัก
1. สมาทาน เพื่อ ให้เห็นความเป็นจริง ของธาตุ ว่า ธาตุประกอบกันเนืองนิตย์
( สมาธึ ภิกขเว ภาเวถ สมาหิโต ยถาภูตํ ปชานาติ ภิกษุทั้งหลาย เธอจงยังสมาธิให้เกิดเถิด ผู้มีจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้ตามความเป็นจริง )

2. สมาทาน เพื่อ ให้เห็นความเป็นจริง ของธาตุ ที่ประกอบกันเนืองนิตย์ เป็น ปฏิกูล

3.สมาทาน เพื่อให้เห็นความเป็นจริง ของปฏิกูล นั้นเป็นเพียงสักว่า ธาตุ

4.สมาทาน เพื่อให้เห็นความเป็นจริง ของสักว่าธาตุนั้นเป็น เพียงความเกิดขึ้น ของธาตุ ที่มีเหตุปัจจัยอย่างใดอย่างหนึ่ง

5.สมาทาน เพื่อให้เห็นความเป็นจริง ของความเกิดขึ้น ของธาตุ ว่า มีความตั้งอยู่เป็นสภาวะปัจจุบัน มีเวทนาเสวยอารมณ์ ชื่อว่า สุข ทุกข์ อทุกขมสุข โสมนัส โทมนัส และอุเบกขา ตั้งอยู่ด้วยเหตุปัจจัยอย่างใดอย่างหนึ่ง มีสัญญา เป็นเครื่องกำหนด มีธรรมเป็นอุเบกขา ( ปล่อยวาง )

6.สมาทาน เพื่อให้เห็นตามความเป็นจริง ของ ธาตุสภาวะปัจจุบัน นั้น ว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ว่างจาก รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ธรรมารมณ์

( ข้อ 1 ถึง 6 นั้น ปรากฏข้อความ ใน พระสูตร เรื่อง สมาธิสูตร )
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=5371

7.สมาทาน เพื่อให้เห็นความเป็นจริง ของ ธาตุที่เสื่อมไปตามกฏแห่งธรรมชาติ นั้น มีเหตุปัจจัยให้เกิด มีเหตุปัจจัยให้ตั้ง มีเหตุปัจจัยให้ดับ

8.สมาทาน เพื่อให้เห็นความเป็นจริง ธรรมสภาวะใด ๆ ในโลกนี้ไม่พึงยึดมั่นถือมั่น ( สัพเพ ธัมมานาลัง อภินิเวสายะ )

( ข้อ 7- 8 ปรากฏข้อความ ในพระสูตร เรื่อง ปัจจัยสูตร )

http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=16&A=590&Z=641

หมายเหตุ จากภาพ การมองเห็นตามความเป็นจริง ย่อมมองเห็นตามสภาวะ ขณะนั้น ก่อนที่จะมองเห็นสภาวะ ทั้งหมด ในสภาวะนั้น มีอยู่ 3 กาล คือ อดีต ปัจจุบัน และ อนาคต อดีต มาจากปัจจุบัน อนาคต คือ ไปจาก ปัจจุบัน สภาวะรู้ มีที่ ปัจจุบัน อดีต เป็นเพียงรู้ อนาคต ก็เป็นเพียงแค่รู้ ปัจจุบัน เป็นตัว ระลึก

ขอดวงตาเห็นธรรม จงมีแก่ท่าน
ขอความสำเร็จ ในธรรม จงมีแก่ท่าน
ขอความสวัสดี จงมีแก่ท่าน
เจริญพร


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 23, 2017, 07:33:07 am โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
วิธีการสมาทาน ปฏิบัติ เพื่อละ ยินดี ในรูปภายนอก และ รูปภายใน

รูปภายนอก หมายถึง รูปที่เกิดจากสัมผัส มีอายตนะภายใน และ ภายนอก คู่กัน

  ตา  กระทบกับ ( ผัสสะ )  รูป   เรียกว่า รูปายตนะ เป็นรูปภายนอก 
  หู   กระทบกับ    เสียง  เรียกว่า สัททายตนะ เป็นรูปภายนอก
  จมูก กระทบกับ  กลิ่น เรียกว่า คันธายตนะ เป็นรูปภายนอก
  ลิ้น กระทบกับ รส เรียกว่า รสายตะ เป็นรูปภายนอก
  กาย กระทบกับ เย็น ร้อน อ่อน แข็ง  เรียกว่า สัมผัสชายตะ เป็นรูปภายนอก
 
  ใจ กระทบกับ ธรรมารมณ์ มี สังขาร สัญญา เวทนา  ทั้งที่เป้นกุศล และ เป็นอกุศล ในขณะนั้น เรียกว่า มนายตนะ เป็นรูปภายนอก ( ไม่อยู่ในการควบคุมเกิดขึ้นเอง )

  ใจที่มี  สติ กระทบกับ ธรรมมารมณ์ มี สังขาร สัญญา เวทนา ทั้งที่พอใจ และ ไม่พอใจ เรียกว่า ธรรมายนตนะ รูปภายใน ( กายหยาบ ) ( เพราะมีการกำหนด สติ ตัวรู้ชัด ในธรรมชื่อว่ากุศล )

  ใจที่มี สมาธิ กระทบกับ ธรรมารมณ์ มี ความดับนิวรณ์ เรียกว่า รูปนิมิตภายใน เป็น รูปภายใน ( กายละเอียด กายทิพย์) เพราะมีการกำหนดจิตเป็นสมาธิ มีการดับนิวรณ์ เป็นต้น

  ใจที่มี รูปนิมิตภายใน กระทบกับ ธรรมารมณ์ มี ปีติ ยุคลธรรม สุข นิโรธ เอกัคคตา อุเบกขา ฌาน สุญญตา ปณิหิตา อัปปณิหิตา ญาณ ทัศศนะวิสุทธิ เรียกว่า โลกุตตระ พ้นจากบัญญัติ 

  เจริญพร
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ผู้สมาทาน ภาวนา พึงระลึก ถึงกรรมฐาน อย่างใด อย่างหนึ่ง

พุทธานุสสติ ธรรมานุสสติ สังฆานุสสติ อุปสมานุสสติ กายคตาสติ อาปานานสติ
และ ( อสุภกรรมฐาน 10 ไม่แนะนำ )

ในที่นี้ ขอ แนะนำ เพียง สามกรรมฐาน เท่านั้น คือ

 1.พุทธานุสสติ
 2.กายคตาสติ
 3.อานาปานสติ

กองกรรมฐาน อื่น ๆ นั้น ไว้มีจิตก้าวหน้าไปตามขั้นตอน แล้ว ค่อยฝึกเพิ่มเติม

 :bedtime2: :bedtime2: :bedtime2:
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ขออนุโมทนาสาธุ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา