ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ไขความลับ เมืองโบราณจมแม่น้ำโขง ปริศนา "พระเจ้าล้านตื้อ" หลังลาวพบพระล้ำค่า  (อ่าน 104 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
.



ไขความลับ เมืองโบราณจมแม่น้ำโขง ปริศนา "พระเจ้าล้านตื้อ" หลังลาวพบพระล้ำค่า

"พระเจ้าล้านตื้อ" พระพุทธรูปโบราณที่ศรัทธาของคนไทย-ลาว สองฝั่งโขง มีตำนานจมอยู่ก้นบาดาล ล่าสุดการขุดค้นพบพระโบราณจำนวนมาก ริมฝั่งแม่น้ำโขง ณ เมืองต้นผึ้ง ตรงข้าม จ.เชียงราย เป็นจิ๊กซอว์สำคัญทางประวัติศาสตร์ล้านนา ยืนยันถึงเกาะดอนแท่น เมืองโบราณกลางลำน้ำ ก่อนจมสลายไปพร้อมพระพุทธรูปล้ำค่า ที่ยังหาไม่เจอ

เมื่อวันที่ 16 มี.ค. 67 ลาวขุดพบพระพุทธรูปในแม่น้ำโขง เมืองต้นผึ้ง ตรงข้าม อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ประชาชนคนลาว แห่ชมพระพุทธรูปขนาดใหญ่ 3 องค์ ขนาดเล็กอีกจำนวนมาก หลังจากนั้นมีการขุดค้นหาต่อเนื่อง และพบพระจมอยู่ใต้แม่น้ำมาเป็นเวลานานจำนวนมาก




การขุดค้นพบพระโบราณในประเทศลาว สะท้อนถึงภาพประวัติศาสตร์ล้านนาโบราณ ที่เชื่อมโยงกับไทย โดยสันนิษฐานว่าบริเวณดังกล่าวในอดีต มีเกาะดอนแท่น ยื่นออกไปกลางลำน้ำโขง ทีมข่าวเจาะประเด็น ไทยรัฐ ออนไลน์ สอบถามไปยัง พระครูโสภณกวีวัฒน์ (ธนจรรย์ สุระมณี) ผู้ช่วยเจ้าอาวาส วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร อ.เมือง จ.เชียงใหม่ นามปากกา ส.กวีวัฒน์ ผู้ที่ศึกษาประวัติศาสตร์ล้านนา ให้ข้อมูลว่า พระที่ขุดค้นพบเป็นพระที่มีพุทธลักษณะแบบเชียงแสน เดิมสมัยโบราณ พื้นที่นี้มีเกาะดอนแท่น ที่ยื่นออกไปกลางแม่น้ำโขง มีการสร้างวัดและวังอยู่บนพื้นที่ตั้งแต่ "พญาแสนพู” ราชวงศ์มังราย



โดยมีตำนานประวัติศาสตร์เล่าว่า เมื่อกาลเวลาผ่านไป น้ำในแม่น้ำโขงไหลเชี่ยวและเปลี่ยนทิศทาง จนทำให้ เกาะดอนแท่น จมหายไปในแม่น้ำ สิ่งปลูกสร้างโบราณและพระพุทธรูปจำนวนมากจมหายไปพร้อมกัน โดยเฉพาะพระพุทธรูปสำคัญคือ “พระเจ้าล้านตื้อ” เป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่ มีหน้าตักกว้างกว่ารถสิบล้อจะขนได้ แม้ที่ผ่านมาเคยมีผู้นำระดับประเทศของไทย พยายามค้นหา และกู้ขึ้นมาจากแม่น้ำโขง แต่ไม่สามารถทำได้ เพราะอาจมีปัญหาในเรื่องความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน



สำหรับพุทธลักษณะของ พระเจ้าล้านตื้อ มีความงดงาม ตามแบบลักษณะสำคัญของพระพุทธรูป ศิลปะล้านนา ที่เรียกว่า พระพุทธรูปสิงห์แบบเชียงแสน ที่มีการแบ่งประเภทที่เรียกว่า "พระพุทธรูปสิงห์ 1” มีลักษณะประทับนั่งขัดสมาธิเพชร เห็นฝ่าพระบาททั้งสองข้าง พระพักตร์กลม อมยิ้ม ขมวดพระเกศาใหญ่ รัศมีดอกบัวตูม พระวรกายอวบอ้วน ชายสังฆาฏิสั้นเหนือพระถัน ซึ่งพบได้ยาก และช่างรุ่นต่อไม่ไม่นิยมทำขึ้นใหม่



“เกาะดอนแท่น ยุคสมัยพญาแสนพู ราชวงศ์มังราย เคยสร้างวังประทับที่นั่น เมื่อตอนสวรรคตก็เก็บร่างไว้อยู่นาน เพราะกลัวว่าบ้านเมืองจะปั่นป่วน พระพุทธรูปที่ค้นพบก็ยืนยันถึงศิลปะยุคเดียวกัน แต่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับอาณาจักรสุวรรณโคมคำ ที่อยู่ในยุคหลัง ซึ่งผสมผสานความเป็นขอม”




การขุดค้นพบพระพุทธรูปโบราณในฝั่งลาว ถือเป็นการเชื่อมโยงประวัติศาสตร์ด้านพุทธศาสนาทั้งสองประเทศ อาตมายังคาดหวังให้ไทย และลาวร่วมมือกันค้นหา พระเจ้าล้านตื้อ ที่จมอยู่ในแม่น้ำโขง เพื่อกู้ขึ้นมาเชื่อมต่อประวัติศาสตร์ร่วมกันของทั้งสองมิตรประเทศ.





Thank to : https://www.thairath.co.th/scoop/interview/2772121
20 มี.ค. 2567 18:20 น. | สกู๊ปไทยรัฐ > Interview > ไทยรัฐออนไลน์
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ