ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: การทำน้ำมนต์ ปลุกเสก วัตถุมงคล ในสมัยพระพุทธเจ้า มีจริงหรือป่าว  (อ่าน 5950 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

kittisak

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +42/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 653
  • พุทธัง อะระหัง พุทโธ นะโมพุทธายะ นะมะพะทะ จะภะกะสะ
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
0
การทำน้ำมนต์ ปลุกเสก วัตถุมงคล ในสมัยพระพุทธเจ้า มีจริงหรือป่าวครับ

หรือมีในยุคไหน ช่วยเล่าให้ฟังหน่อยครับ
บันทึกการเข้า
ความสุขอันเกิดจากการแบ่งปัน ดีกว่าความทุกข์ที่มีแต่จะเอา

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

คุณกิติศักดิ์ ช่วยอ่านให้จบนะครับ แล้วจะเข้าใจเอง



ตำนานรัตนสูตร

รัตน สูตร เป็นสูตรที่ ๒ ในเจ็ดตำนาน ที่เรียกว่า รัตนสูตร ก็เพราะว่า สูตรนี้ เป็นพระบาลีที่ประกาศอานุภาพของพระรัตนตรัยสิ้นเชิง อยู่ในรูปประเภทร้อยกรอง แบบฉันทลักษณะ คาถาวรรณพฤติล้วน และดูเหมือนจะเป็นแบบตัวอย่างแต่งฉันท์ภาษาไทย แบบนี้ว่า กาพย์ยานี บ้าง ยานีลำนำ บ้าง เพราะบาลีสูตรนี้ขึ้นต้นบทว่า ยานี เป็นฉันท์ที่ไพเราะ และแต่งง่าย หากแต่บาลีนิยม ครุ ลหุ ไม่นิยมสัมผัส ทั้งครุ ลหุ บางแห่งก็ทิ้งครุ ลหุ เหมือนกัน ดังนั้น จึงไปยุติที่ตรงว่า ถ้าแต่งฉันท์จึงรักษาครุ ลหุ ให้เป็นแบบฉันท์ ถ้าแต่งกาพย์ไม่ต้องรักษา ครุ ลหุ รักษาแต่สัมผัส ถือเอาความเป็นเกณฑ์ เรียกว่า ยานี ๑๑ บ้าง ขอเทียบเคียงให้ดู ดังนี้

ยานีธ ภูตา - นิ สมาคตานิ

ภูมานิ วายา - นิว อนฺตลิกฺเข

ตัวอย่าง ยานี ๑๑ ภาษาไทย

ขึ้นกกตกทุกข์ยาก แสนลำบากจากเวียงไชย

มันเผือกเลือกเผาไฟ กินผลไม้ได้เป็นแรง.

ภาษาไทยที่ยกมานี้ ไม่มีลหุเลย เป็นครุล้วน แต่อาศัยสัมผัส ก็ฟังไพเราะเหมือนกัน

โดย เฉพาะบาลีมี ๒๒ คาถา เดิมพระสวดกันหมด จะเป็นในวัดก็ตาม ในบ้านก็ตาม ใช้เวลาสวดมาก ครั้นมาในสมัยรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงเห็นว่า ในพระราชพิธี ในพระบรมมหาราชวัง ถ้าจะสวดจบทั้งสูตร ใช้เวลามาก จึงโปรดให้เลือกสวดแต่บทสำคัญๆ เพียง ๗ คาถาครึ่ง เลยถือเป็นเนติสืบมาจนบัดนี้ เว้นแต่สวดในวัด พระจึงจะสวดจบทั้งสูตร

อีก อย่างหนึ่ง พระสูตรนี้ นิยมเรียกว่า สูตรน้ำมนต์ ก็มี เพราะเหตุว่า ถ้าพระจะทำน้ำมนต์ จะข้ามบทนี้ไปเสียไม่ได้ ทั้งมีแบบนิยมให้พระเถระหยดเทียนน้ำมนต์ในพระสูตรนี้ และเมื่อจะดับเทียนน้ำมนต์ ก็ให้ดับที่ท้ายสูตรนี้ด้วย ดังนั้น สูตรนี้ จึงเป็นพระสูตรที่ทรงอานุภาพศักดิ์สิทธิ์พระสูตรหนึ่ง ตามที่ผู้รู้นิยมไว้

พระสูตรนี้มีตำนานเล่าไว้ว่า

สมัย หนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร พระนครราชคฤห์ พระนครนี้นิยมเรียกว่า “ เบญจคีรีนคร” อีกชื่อหนึ่ง เพราะมีภูเขา ๕ ลูก แวดล้อมเป็นราชสีมามณฑลอยู่ในอาณาจักรมคธรัฐ

ครั้ง นั้น พระนครไพศาลี แห่งแคว้นวัชชี เกิดทุพภิกขภัยพิบัติ คือ ฝนแล้ง ข้าวกล้าในนาตาย เพราะไม่มีน้ำเป็นส่วนมาก ข้าวปลาหายากในชั้นแรกคนยากจน คนเกียจคร้าน ต้องอดอาหารตายมาก เมื่อตายแล้วหาญาติที่จะอนุเคราะห์ศพไม่มี คนมีกำลังก็ไม่มีความสงสารศพ มัววุ่นแต่งานของตัว เห็นไปว่า ธุระไม่ใช่ ไม่ใส่ใจ ตกลงคนตายที่ไหน ศพก็ทอดทิ้งที่นั่น ยิ่งกว่านั้นอหิวาตกโรคก็เข้าคุกคาม เพราะโทษที่ศพปฏิกูลในถนนหนทาง ในแม่น้ำลำคลอง เพราะความสกปรกนานาประการ ดังกล่าวแล้ว มนุษย์ได้ตายลงเพราะอหิวาตกโรคเป็นอันมาก ครั้นเมื่อภาคพื้นปฏิกูลด้วยศพมากเข้า ปีศาจจำพวกที่กินซากศพเป็นอาหาร ก็พากันเข้าพระนคร กินซากศพ ยิ่งกว่านั้น ยังหันเข้าใส่คนป่วยไข้ ชิมรสเนื้อมนุษย์ที่ยังไม่เปื่อยเน่าดูบ้าง และแล้วก็เลยถามไปถึงมนุษย์ที่ไม่ป่วย แต่สกปรก เช่น ตื่นมาไม่ล้างหน้า นอนไม่ล้างเท้า น้ำไม่อาบ กินข้าวแล้วไม่บ้วนปาก ผ้าผ่อนไม่ซัก และบ้านเรือนไม่กวาดไม่ถู เป็นต้น ในที่สุดมนุษย์ที่ไม่ป่วย แต่สกปรก ก็เริ่มถูกปีศาจเข้าสิงสู่ดูดโลหิตเป็นอาหาร มนุษย์เริ่มตายลงเพราะปีศาจอีกประเภทหนึ่ง ชาวเมืองไพสาลีประสบภัยร้ายกาจ ๓ ประการ คือ ฝืดเคือง๑ อวิหาตกโรค ๑ ปีศาจ ๑ พากันอพยพไปอยู่ในเมืองอื่นก็ไม่น้อย

ครั้ง นั้น ชาวเมืองพากันโจทก์กล่าวโทษพระราชา ที่ประตูพระราชวังว่า “ พระเจ้าข้า ภัยพิบัติ ๓ ประการ ได้เกิดขึ้นแก่ชาวเมืองแล้ว ซึ่งแต่ก่อนไม่เคยมี พระราชาจักประพฤติผิดพระราชประเพณีอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นแน่” แม้เมื่อพระมหากษัตริย์ จะโปรดให้ตั้งกรรมการพิจารณาหาความผิดของพระองค์ ก็ไม่ปรากฏว่า พระมหากษัตริย์ทรงประพฤติบกพร่องแต่ประการใด ในที่สุด ก็พากันบนเจ้า บวงสรวง เทพยดาอารักษ์ และวิงวอนครูอาจารย์ที่ตนนับถือว่าเป็นผู้วิเศษ สุดแต่ใครจะเล็งเห็นใครให้ช่วยปลดเปลื้อง แต่ก็ไม่สามารถจะบรรเทาภัยนั้นได้

ครั้ง นั้น อำมาตย์ผู้หนึ่ง ได้กราบทูลพระเจ้าลิจฉวีว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นพระอรหันต์ บริสุทธิ์จากสรรพกิเลส มีพระหฤทัยประกอบด้วยพระมหากรุณาเสมอด้วยมหาสมุทร ตรัสรู้สัมโพธิญาณ เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จประกาศพระธรรมบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย บัดนี้ เสด็จประทับ ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร พระนครราชคฤห์ พระเจ้าพิมพิสารมหาราช ทรงสักการะบำรุงอยู่ พระองค์ทรงมีอภินิหารบารมีสูงยิ่งนัก ถ้าจะได้กราบทูลอัญเชิญให้เสด็จมายังพระนครนี้ ข้าพระองค์เชื่อเหลือเกินว่า ภัย ๓ ประการนี้ จะต้องสงบเพราะอานุภาพของพระองค์แท้

ลำดับ นั้น พระเจ้าลิจฉวี จึงโปรดให้เจ้าชายมหาลี พร้อมด้วยอำมาตย์ ๕ นาย เป็นราชทูต เชิญเครื่องราชบรรณาการไปเฝ้าพระเจ้าพิมพิสารมหาราช ณ กรุงราชคฤห์ กราบทูลขอประทานโอกาสให้พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้เสด็จไปบำบัดภัยพิบัติในพระนครไพสาลี โดยเวลาเพียง ๓ วัน คณะราชทูตนั้น ก็เข้าเฝ้าพระเจ้าพิมพิสารยังพระนครราชคฤห์ ทูลขอพระราชทานพระกรุณาตามพระราชบัญชาของพระเจ้าลิจฉวี

พระ เจ้าพิมพิสารทรงรับสั่งว่า “ ฉันเห็นใจพวกท่าน และยินดีสนับสนุนในเรื่องนี้ ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงกรุณาเสด็จ ขอให้พวกท่านไปทูลอัญเชิญดู ความจริง เจ้าชายมหาลี ก็ทรงรู้จักพระองค์ท่านมาก่อน ฉันคิดว่าการเข้าเฝ้าจะไม่ลำบากหรือหนักใจแต่ประการใด หากพระบรมศาสดาทรงเล็งเห็นประโยชน์ในการเสด็จแล้ว จะทรงพระกรุณาอนุเคราะห์เป็นแน่ การมาของเจ้าชายจะไม่ไร้ผลเลย” ครั้งแล้วก็โปรดให้ราชบุรุษนำคณะราชทูตนครไพสาลี เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร

พระ ผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งว่า “ มหาลี ตถาคตรับปฏิญญาของพระเจ้ากรุงราชคฤห์ เพื่ออยู่ในที่นี้เสียแล้ว ถ้าพระเจ้ากรุงราชคฤห์ จะทรงพระกรุณาประทานโอกาสเธอ ตถาคตก็จะไป”

“ข้าพระองค์ได้รับพระราชทานโอกาสแล้ว พระเจ้าข้า” เจ้าชายมหาลีกราบทูล

“แม้เช่นนั้น มหาลี ก็ควรจะทูลให้พระองค์ทรงทราบเสียก่อนที่จะออกเดินทาง” พระบรมศาสดาทรงรับสั่ง

เมื่อ พระเจ้าพิมพิสาร ราชาแห่งมคธรัฐ ทรงทราบจากเจ้าชายมหาลีว่า พระบรมศาสดาทรงพระกรุณาเสด็จ จึงรีบเสด็จมาเฝ้า ทูลขอให้ยับยั้งสัก ๓ วัน เพื่อตกแต่งทางเสด็จ ตลอดที่พักแรม ตามระยะทางจนถึงแม่น้ำคงคา สุดพระราชอาณาเขต

ครั้ง ได้เวลากำหนด พระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมด้วยพระสงฆ์ ๕๐๐ รูป ก็เสด็จพระนครไพสาลีโดยมรรคานั้น ด้วยพระเกียรติยศอันสูง ซึ่งพระเจ้ากรุงราชคฤห์ทูลถวายโดยระยะทาง ๕ โยชน์ กำหนดวันละ ๑ โยชน์ ทรงประทับแรมตามระยะทางรวม ๕ วัน ก็ถึงฝั่งแม่น้ำคงคา เสด็จลงเรือพระที่นั่งซึ่งพระเจ้าพิมพิสารจัดถวาย งดงามสมพระเกียรติยศยิ่งนัก และเป็นครั้งแรกที่เสด็จทางน้ำด้วยพระเกียรติยศอันสูงเช่นนี้

พระ เจ้าพิมพิสารทรงตามเสด็จพระพุทธดำเนินตลอดทาง และเสด็จลงประคองเรือพระที่นั่งให้เคลื่อนจากท่าแม่น้ำคงคา ทรงตามเรือพระที่นั่งไปในน้ำเพียงพระศอ ก็ประทับหยุดยืน ทูลว่า “หม่อมฉันจะมารับเสด็จพระองค์คราวเสด็จกลับ ณ ที่นี้อีก” เมื่อเรือพระที่นั่งแล่นไปตามแม่น้ำจนลับทิวไม้แล้ว จึงเสด็จกลับพระนคร

พระ ผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมด้วยพระสงฆ์สาวกเสด็จจากชลมารคสิ้นระยะทาง ๑ โยชน์ ก็ถึงท่าพระราชอาณาเขตพระนครไพสาลี จึงเสด็จขึ้นจากเรือรับสักการะปฏิสันถารซึ่งเจ้าชายมหาลี หัวหน้าคณะราชทูตกราบทูลให้พระเจ้าลิจฉวีจัดถวายให้โอฬาร ยิ่งกว่าพระนครราชคฤห์จัดเสด็จตามระยะทาง ๓ โยชน์ สิ้นเวลา ๓ วัน ก็ถึงชานพระนครไพสาลี ขณะที่เสด็จเหยียบภาคพื้นพระนครไพสาลีก้าวแรกก็ประทับยืน จ้องพระเนตรจับท้องฟ้า ทรงระลึกถึงพระบารมีที่บำเพ็ญมาแต่ปุเรชาติ ในทันใดนั้นมหาเมฆก็ตั้งขึ้นดังแผ่นผาสีครามผืนยาวเหยียดในด้านปัจฉิมทิศ แล้วเคลื่อนลงมาปกคลุมพระนครไพสาลี พร้อมกับส่งเสียงคำราม กระหึ่มครืมครวญ เปรี้ยงๆ ดังสนั่น ด้วยสายฟ้าแลบแปลบปลาบ แล้วห่าฝนใหญ่ก็หลั่งลงจั่กๆ ดังเทน้ำ เสมือนหนึ่งดังจงใจจะล้างพื้นแผ่นดินให้สะอาด ต้อนรับพระบรมศาสดา

ความ จริง ก็ดูสมจริงดังกล่าว ด้วยพอฝนซัดลงมากมายเช่นนั้นแล้ว ไม่ช้าน้ำฝนก็ไหลลงท่อ ธาร และท่วมท้นบ่าเข้าพระนคร พัดเอาซากศพมนุษย์และสัตว์ซึ่งปฏิกูลพื้นแผ่นดินอยู่ ให้ไหลไปสู่ทะเลใหญ่สิ้นเชิง ดังนั้น พอฝนขาดเม็ดแล้ว ภาคพื้นก็สะอาด ความอบอ้าวเร่าร้อนของอากาศก็สงบ บรรเทาโรคได้ถึงครึ่ง ด้วยพุทธานุภาพ

ใน เวลาเย็นวันนั้นเอง พระบรมศาสดา ทรงรับสั่งกับพระอานนท์เถระว่า “ อานนท์ เธอจงเรียนเอารัตนสูตรนี้ไป แล้วจาริกไปในกำแพงเมืองไพสาลี เจริญมนต์รัตนสูตรนี้ เพื่อความสวัสดีจากภัยอันใหญ่ของประชาชนเถิด”

ใน ราตรีนั้น พระอานนท์ เรียนเอารัตนสูตรจากพระบรมศาสดาแล้วก็ประคองบาตรเสลมัยของพระบรมศาสดา ซึ่งเต็มด้วยน้ำ ตั้งกัลยาณจิตประกอบด้วยเมตตา ระลึกถึงพระพุทธคุณ คือ พระบารมี ๑๐ อุปบารมี ๑๐ และปรมัตถบารมี ๑๐ ซึ่งทรงบำเพ็ญมา และบารมีในปัจฉิมชาตินี้ จำเดิมแต่เสด็จลงสู่พระครรภ์ เป็นต้น จนตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ ประกาศโลกุตตรธรรม ๙ ประการ เป็นที่สุดเจริญมนต์รัตนสูตรนี้ เที่ยวจาริกไปยังภายในกำแพงเมือง พร้อมด้วยพระเจ้าลิจฉวีทั้งหลายติดตามห้อมล้อมเดินพลางพรมน้ำมนต์พลางจนรอบ พระนคร มนุษย์ที่กำลังประสบภัยแต่ปีศาจและโรค พอถูกหยดน้ำมนต์ที่พระเถรเจ้าพรมเท่านั้น ก็หายจากโรคภัย มีกำลัง สดชื่น ติดตามแวดล้อมพระเถรเจ้า โห่ร้องแซ่ซ้องสาธุการดังสนั่น มวลภูตผีปีศาจที่เข้ามาเบียดเบียนมนุษย์ ครั้นได้ยินเสียงมนุษย์ก็สะดุ้ง ตกใจกลัว พากันเลี่ยงออก ที่ยังดื้อแอบหลบอยู่ตามแง้มฝาเรือนและประตูเมื่อถูกหยาดน้ำมนต์ของพระเถร เจ้า ก็เจ็บปวดแทบดับจิต ประดุจสุนัขถูกฟาดหลังด้วยแส้เหล็ก พากันเพ่นหนีอย่างไม่คิดชีวิตด้วยความกลัวสยองเกล้า ตั้งหน้าวิ่งหนีออกจากเมืองโดยไม่เหลียวหลัง ครั้นไปประดังแน่นยัดเยียดที่ประตูเมือง และเมื่อไม่สามารถจะทนรออยู่ได้ ก็พากันพังบานประตูหนีไปจนสิ้นเชิง

ครั้ง พระเถรเจ้าจาริกเจริญรัตนสูตร ประพรมน้ำมนต์รอบพระนครแล้ว ก็พามหาชนซึ่งติดตามมาเป็นอันมากเข้าเฝ้าพระบรมศาสดายังที่ประทับ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงพระกรุณาประทานพระธรรมเทศนาตั้งแต่เบื้องต้น จนประกาศจตุราริยสัจ ให้มหาชนชื่นชมโสมนัสปรีดาปราโมทย์เกิดศรัทธากล้าหาญ ประกาศตนเป็นพุทธมามกะเป็นอันมาก พระบรมศาสดาทรงพระกรุณาประทานพระธรรมเทศนาอยู่ถึง ๗ วัน ครั้นทรงทราบว่า ภัย ๓ ประการสงบลงแล้ว และประชาชนมีความผาสุขดีแล้ว ก็ทรงอำลาพระเจ้าลิจฉวี เสด็จพระพุทธดำเนินกลับพระนครราชคฤห์ ด้วยพระเกียรติยศซึ่งพระเจ้าลิจฉวีและมหาชนพร้อมกันจัดบูชาอย่างมโหฬาร แม้พระเจ้าพิมพิสารและข้าราชบริพาร ตลอดชาวพระนครราชคฤห์ก็มีความยินดีพากันไปต้อนรับพระบรมศาสดาริมฝั่งแม่น้ำ คงคา ให้เสร็จกลับมาประทับ ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร สมดังมโนปณิธานที่ทรงตั้งไว้นั้นแล ฯ.

________________________________

ศีลธรรม

อันศีลธรรม นำให้การ งานสะอาด

ทั้งสามารถ คุมหมู่ ให้อยู่มั่น

เป็นหลักครอง สังคม อุดมครัน

สถาบัน สันติ์ประชา สาธุการ

ธรรมสาธก

(บรรยาย ๕ กันยายน ๒๔๙๗)

ที่มา  http://tipitaka.2pt.net /ตำนาน/ตำนานสวดมนต์/ตำนานรัตนสูตร/


บทขัดระตะนะสุตตัง
ราชะโต วา โจระโต วา มะนุสสะโต วา อะมะนุสสะโต วา อัคคิโต วา
อุทะกะโต วา ปิสาจะโต วา ขาณุกะโต วา กัณฏะกะโต วา นักขัตตะโต วา
ชะนะปะทะโรคะโต วา อะสัทธัมมะโต วา อะสันทิฏฐิโต วา อะสัปปุริสะโต วา
จัณฑะหัตถิอัสสะมิคะโคณะกุกกุระอะหิวิจฉิกะมะนิสัปปะทีปะอัจฉะตะรัจฉะสุกะระมะ
หิสะ ยักขะรักขะสาทีหิ นานา ภะยะโต วา นานาโรคะโต วา นานาอุปัททะวะโต วา
อารักขัง คัณหันตุ ฯ
ปะณิธานะโต ปัฏฐายะ ตะถาคะตัสสะ ทะสะ ปาระมิโย ทะสะอุปะปาระมิโย
ทะสะ ปะระมัตถะปาระมิโย ปัญจะ มะหาปะริจจาเค ติสโส จะริยา ปัจฉิมัพภะเว คัพ
ภาวัก-กันติง ชาติง อะภินิกขะมะนัง ปะธานะจะริยัง
โพธิปัลลังเก มาระวิชะยัง สัพพัญญุตะญาณัปปะฏิเวธัง นะวะ โลกุตตะระธัมเมติ
สัพเพปิเม พุทธะคุเณ อาวัชชิตวา เวสาลิยา ตีสุ ปาการันตะเรสุ ติยามะรัตติง
ปะริตตัง กะโรนโต อายัสมา อานันทัตเถโร วิยะ การุญญะจิตตัง อุปัฏฐะเปตวา ฯ
โกฏิสะตะสะหัสเสสุ จักกะวาเฬสุ เทวะตา
ยัสสาณัมปะฏิคคัณหันติ ยัญจะ เวสาลิยัมปุเร
โรคามะนุสสะทุพภิกขะ- สัมภูตันติวิธัมภะยัง
ขิปปะมันตะระธาเปสิ ปะริตตันตัมภะณามะ เห ฯ
-------------------

ระตะนะสูตร
ที่มา- ขุ.ธ.๕/๔ (พระไตรปิฏกเล่มที่ ๕ หน้าที่ ๔ )

ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข สัพเพ วะ ภูตา
สุมะนา ภะวันตุ อะโถปิ สักกัจะ สุณันตุ ภาสิตัง ตัสมา หิ ภูตา นิสาเมถะ สัพเพ
เมตตัง กะโรถะ มานุสิยา ปะชายะ ทิวา จะ รัตโต จะ หะรันติ เย พะลิง ตัสมา หิ เน
รักขะถะ อัปปะมัตตา .
ยังกิญจิ วิตตัง อิธะ วา หุรัง วา สัคเคสุ วา ยัง ระตะนัง ปะณีตัง นะ โน
สะมัง อัตถิ ตะถาคะเตนะ อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ
โหตุ .
ขะยัง วิราคัง อะมะตัง ปะณีตัง ยะทัชฌะคา สักยะมุนี สะมาหิโต นะ เตนะ
ธัมเมนะ สะมัตถิ กิญจิ อิทัมปิ ธัมเม ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ .
ยัมพุทธะเสฏโฐ ปะริวัณณะยี สุจิง สะมาธิมานันตะริกัญญะมาหุ สะมาธินา เต
นะ สะโม นะ วิชชะติ อิทัมปิ ธัมเม ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ.
เย ปุคคะลา อัฏฐะ สะตัง ปะสัฏฐา จัตตาริ เอตานิ ยุคานิ โหนติ เต ทักขิ
เณยยา สุคะตัสสะ สาวะกา เอเตสุ ทินนานิ มะหัปผะลานิ อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง
ปะณีตังเอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ.
เย สุปปะยุตตา มะนะสา ทัฬเหนะ นิกกามิโน โคตะมะสาสะนัมหิ เต ปัตติ
ปัตตา อะมะตัง วิคัยหะ ลัทธา มุธา นิพพุติง ภุญชะมานา อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง
ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ.
ยะถินทะขีโล ปะฐะวิง สิโต สิยา จะตุพภิ วาเตภิ อะสัมปะกัมปิโย ตะถูปะ
มัง สัปปุริสัง วะทามิ โย อะริยะสัจจานิ อะเวจจะ ปัสสะติ อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง
ปะณีตังเอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ.
เย อะริยะสัจจานิ วิภาวะยันติ คัมภีระปัญเญนะ สุเทสิตานิ กิญจาปิ เต โหนติ
ภุสัปปะมัตตา นะ เต ภะวัง อัฏฐะมะมาทิยันติ อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ.
สะหาวัสสะ ทัสสะนะสัมปะทายะตะยัสสุ ธัมมา ชะหิตา ภะวันติ สักกายะทิฏฐิ
วิจิกิจฉิตัญจะ สีลัพพะตัง วาปิ ยะทัตถิ กิญจิ จะตูหะปาเยหิ จะ วิปปะมุตโต ฉะ
จาภิฐานานิ อะภัพโพ กาตุง อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ
โหตุ .
กิญจาปิ โส กัมมัง กะโรติ ปาปะตัง กาเยนะ วาจายุทะ เจตะสา วา อะภัพโพ
โส ตัสสะ ปะฏิจฉะทายะ อะภัพพะตา ทิฏฐะปะทัสสะ วุตตา อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง
ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ.
วะนัปปะคุมเพ ยะถา ผุสสิตัคเค คิมหานะมาเส ปะฐะมัสมิง คิมเห ตะถูปะมัง
ธัมมะวะรัง อะเทสะยิ นิพพานะคามิง ปะระมัง หิตายะ อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณี
ตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ.
วะโร วะรัญญู วะระโท วะราหะโร อะนุตตะโร ธัมมะวะรัง อะเทสะยิ อิทัมปิ
พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ .
ขีณัง ปุราณัง นะวัง นัตถิ สัมภะวัง วิรัตตะจิตตายะติเก ภะวัสมิง เต ขีณะพีชา
อะวิรุฬหิฉันทา นิพพันติ ธีรา ยะถายัมปะทีโป อิทัปมิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตังเอเตนะ
สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ.
ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข ตะถาคะตัง
เทวะมะนุสสะปูชิตัง พุทธัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ .
ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข ตะถาคะตัง
เทวะมะนุสสะปูชิตัง ธัมมัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ.
ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข ตะถาคะตัง
เทวะมะนุสสะปูชิตัง สังฆัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ.
----------------------------------------------
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

สาวิตรี

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +6/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 148
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อ่านเสร็จ แล้วอยากสวดบ้างคะ

อนุโมทนากับเรื่องนี้
 :25: :25:
บันทึกการเข้า