ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: สมเด็จวัดปากน้ำ แนะ ‘พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี’ เน้นสอนศีล 5 ลดขัดแย้ง  (อ่าน 1317 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28492
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


สมเด็จวัดปากน้ำแนะ‘พระ ว.’เน้นสอนศีล5ลดขัดแย้ง

สมเด็จวัดปากน้ำประทานโล่รางวัลวัดที่ผ่านเกณฑ์ประเมินการจัดการสิ่งแวดล้อม ปี 2557-2558 ชื่นชมพระหนุ่มทำงานเพื่อสังคม แนะ‘ พระว.’ เน้นสอนศีล 5 ลดความขัดแย้ง

เมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ.2559 ที่อาคารหอประชุม มวก.48 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร)  สมเด็จพระมหาราชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ)  ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เป็นประธานเปิดการประชุมมอบโล่รางวัลวัดที่ผ่านเกณฑ์ประเมินการจัดการสิ่งแวดล้อมปี 2557-2558 จัดโดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและ มจร



ในการนี้สมเด็จพระมหาราชมังคลาจารย์ได้กล่าวย้ำว่า ต้องปลูกต้นไม้ให้เต็มวัด แต่ต้องฟังญาติโยมบ้าง ฟังชุมชนด้วย อย่าขัดแย้งกับชุมชน ต้องให้ชุมชนมีส่วนร่วมเรื่องการจัดการวัด  เพื่อให้วัดร่มรื่น เข้ามาในวัดทำให้เย็น  ซึ่งในสมัยโบราณจะปลูกต้นสนรอบวัด  อยากให้พระปลูกต้นไม้รับประทานได้  ซึ่งพระสงฆ์ไปขอรับจากกรมป่าไม้ได้ฟรี   อยากให้ญาติโยมมาวัดได้ความร่มรื่น ร่มเย็น จากร้อนต้องเย็น วัดใดมีต้นไม้มากๆ ก็อยากให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมอบรางวัลให้เลยเพื่อเป็นกำลังใจ



"แต่วัดต้องพัฒนาพระเณรให้การศึกษา นักธรรมและบาลี  จะมีกี่รูปก็ตามต้องจัดการศึกษา อยากให้คนอาวุโสที่พอช่วยตนเองได้ให้ชวนกันมาบวชเพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อมในวัด  ฉะนั้น นอกจากฒนาสิ่งแวดล้อมในวัด จะต้องพัฒนาตนเองควบคู่ด้านการศึกษา"  สมเด็จพระมหาราชมังคลาจารย์กล่าว

ต่อจากนั้นสมเด็จพระมหาราชมังคลาจารย์ได้ประทานโล่รางวัลสำหรับในปีงบประมาณ 2557 มีวัดเข้าร่วมโครงการ จำนวน 67 วัด ผ่านเกณฑ์การประเมินระดับดีเยี่ยม 14 วัด  ระดับดีมาก 11 วัด และระดับดี 16 วัด ในปีงบประมาณ 2558 มีวัดเข้าร่วมโครงการ จำนวน 192 วัด ผ่านเกณฑ์การประเมินระดับดีเยี่ยม 12 วัด ระดับดีมาก 14 วัด และระดับดี 18 วัด

พร้อมกันนี้สมเด็จพระมหาราชมังคลาจารย์ยังนิมนต์พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี แห่งศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน จ.เชียงราย เข้าพบบนเวที เพื่อให้กำลังใจในการทำงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา โดยกล่าวว่า อยากให้เน้นศีล 5 แบบบูรณาการเพื่อลดปัญหาความขัดแย้ง จึงขอกำลังพระมหาวุฒิชัยในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา เพราะเป็นพระหนุ่มรุ่นใหม่




ต่อจากนั้นเป็นการอภิปรายเรื่อง "การจัดการสิ่งแวดล้อมในวัด" โดยมีวิทยากรประกอบด้วย พระพุทธิญาณมุนี  เจ้าอาวาสวัดพระธาตุผาเงา จ.เชียงราย  พระครูผาสุกิจวิจารณ์ เจ้าอาวาสวัดกำแพงมณี จ.พิษณุโลก  พระมหาวุฒิชัย วชริเมธี นายสากล ฐินะกุล รองอธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม และรศ.สยาม  อรุณศรีมรกต  รองคณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งมีพันตรีสุธี สุขสากล อนุศาสนาจารย์กรมทหารการสื่อสาร กองทัพบก เป็นผู้ดำเนินรายการ โดยกล่าวว่า  วัดเป็นศูนย์กลางของผู้คนชาวพุทธ จึงมีความสำคัญในการจัดการวัดให้มีความสนใจอยากให้ประชาชนเข้าวัดปฏิบัติธรรม วัดมีแนวทางให้ชุมชนมีส่วนร่วมอย่างไร วัดจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างไร

พระพุทธิญาณมุนี
กล่าวว่า เชียงรายเป็นจังหวัดที่อยู่เหนือสุดของสยาม วัดเป็นภูเขามีพื้นที่ พันกว่าไร่ ชาวบ้านขึ้นไปทำไร่สวน จึงขอชาวบ้านให้แบ่งพื้นที่ชัดเจน จึงพัฒนาให้วัดเป็นธุดงคสถาน มีการรักษาต้นไม้  ซึ่งชาวบ้านไม่เข้าใจว่า พระสงฆ์มาเกี่ยวข้องอะไรกับป่าไม้ เราจึงให้คำตอบว่า รักษาไว้เพื่อเป็นของส่วนร่วม เพราะในป่ามีสมุนไพร  ส่วนอาคารสถานที่ก็พยายามสร้างเพื่อไม่ให้ทำลายป่าไม้ ธรรมชาติสร้างความกลมกลืนกับธรรมชาติ สรุปว่า ป่าในวัดมีสมุนไพรทำให้ผู้คนแวะเวียนมาเรื่อยๆ เพื่อศึกษาและเยี่ยมชมวัด



พระครูผาสุกิจวิจารณ์ กล่าวว่า เริ่มต้นจากการรวมตัวกับพระสงฆ์ออกไปอบรมจริยธรรมเด็กเยาวชนตามโรงเรียนต่างๆ โดยใช้ความรู้นักธรรม  เป็นการเชิกรุกเผยแผ่ตามโรงเรียน ซึ่งวัดแห่งนี้เดิมมีความขัดแย้ง ไม่มีราศี ไม่มีพระมาอยู่ โยมจึงนิมนต์มาพัฒนาวัด  จึงเริ่มต้นจากการอบรมเยาวชน บวชเณร  ทำโครงการทุกอย่างร่วมกับภาครัฐและเอกชน ไม่ต้องกลัวว่าจะไม่มีทุน ถ้าเราทำจริงๆอาตมาเริ่มต้นจากศีล 5  ตั้งแต่ พ.ศ.2532  เยาวชนมาร่วมทำความสะอาดวัด นำขยะมาทำปุ๋ย อย่าเผาเด็ดขาด ซึ่งพระที่ทำพัฒนาวัดมีแต่พระรุ่นเก่าๆ พระรุ่นใหม่ไม่อยากทำ เพราะมันเหนื่อยและเสียสละมากๆ ซึ่งโครงการบวชป่า ที่วัดก็ทำ ต้นสักที่วัดมีเป็นหมื่นต้น  ปลูกทุกพื้นที่ มีจำนวน  30,000 ต้น

"ผมสร้างวัดด้วยแรงบันดาลใจ สร้างวัด สร้างคน จนเป็นที่ยอมรับของชุมชนและส่วนราชการ ซึ่งมีโครงการอะไรทำได้หมด  มีนักเรียนเครือข่ายเกิดขึ้น 15 โรงเรียน"  พระครูผาสุกิจวิจารณ์ กล่าว

นายสากล กล่าวว่า วัดต้องไม่เผาขยะเพราะจะทำให้เกิดภาวะโลกร้อน วัดจึงต้องมีกระบวนการจัดการขยะ รวมไปถึงการจุดธูปเทียนเยอะ ๆ จะทำอย่างไรจะช่วยลดความร้อนของโลก  ต้องเริ่มต้นจาก บ้าน วัด โรงเรียน ชุมชน โรงงานต่างๆ  ยากให้วัดเป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องของสิ่งแวดล้อม วัดสีเขียว ให้วัดลดพวงหรีด แต่อยากให้เน้นของใช้ต่างๆ เช่น พัดลมแทนพวงหรีด   รวมไปถึงสัตว์เลี้ยงภายในวัด  สถานที่ประกอบอาหารภายในวัดต้องสะอาด ถูกสุขลักษณะ เราอยากสร้าง "วัดเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม"  มีบ่อบำบัดน้ำเสียด้วย



พระมหาวุฒิชัย กล่าวว่าที่ไร่เชิญตะวันเน้นสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ ซึ่งวัดใช้คำว่า อาราม แปลว่าสวนที่น่ารื่นร่ม ทุกวัดต้องกลับไปหารากเหง้าของความร่มรื่น  เดิมที่ไร่เชิญตะวัน เป็นสวนลำไย สภาพป่า ต้นไม้แย่มากเรียกว่า  "กระทำชำเราธรรมชาติ" เพราะใช้สารพิษกันจริงๆ   ประเด็นที่ฝาก คือ
    1.ทำวัดให้เป็นอาราม ร่มรื่นร่มเย็น
    2.ให้ชาวบ้านรู้ตื่นให้การรักษาดูแล

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตรัสว่า "ให้ปลาอยู่เฉยๆ เดี๋ยวปลาก็โตเอง" หมายถึงให้ปลาอยู่กับธรรมชาติ คนที่มาเชียงรายจะต้องมา "สามเหลี่ยมทางจิตวิญญาณของเชียงราย" คือ วัดร่องขุ่น บ้านดำ ไร่เชิญตะวัน เป็นสามเหลี่ยมแห่งจิตวิญญาณ  ทำให้ขยะเยอะมากที่ไร่เชิญตะวัน เพราะคนมาเยอะมากๆ จึงมีโครงการ "ขุมทองกลางกองขยะ" เปลี่ยนเศษปฏิกูลเป็นทองคำ นำขยะมาแลกอาหารเครื่องบริโภคอุปโภค  ฉะนั้นเราต้องตื่นรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมกันเเล้ว

รศ.สยาม  กล่าวว่า เรามีโครงการ  "ศาลยาน่าอยู่" ซึ่งวัดจีนมีการเผาเป็นจำนวนมาก ถือว่าเป็นความเชื่อ   แต่พยายามจะพูดคุยให้ใช้การเผาให้น้อยที่สุด   เราต้องระวังความรั่วไหลของไฟฟ้า เช่น เปิดแอร์ แล้วเปิดประตูทิ้งไว้  ทำให้สูญเสียพลังงานเป็นอย่างมาก อยากให้พระสงฆ์พูดเรื่องสิ่งแวดล้อมทุกครั้งในการเทศน์ การสอน เป็นการบูรณาการสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ประชาชนร่วมกันรักษาสิ่งแวดล้อม



ทั้งนี้พระปราโมทย์  วาทโกวิโท พระนิสิตปริญญาโท สาขสันติศึกษา มจร ได้มีทัศนะเรื่อง "ปลูกวันละต้น โค่นวันละไร่" ความว่า  "สร้างวัดและสถานธรรมให้ "สัปปายะ"  ซึ่งหมายถึง สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการประพฤติวัตรปฏิบัติธรรม  และสถานที่ไม่เอื้อต่อการปฏิบัติธรรม เรียกว่า อสัปปายะ"  พระพุทธศาสนามีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม  ซึ่งการอนุรักษ์ธรรมชาติสิ่งแวดล้อมนั้นเป็นการปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ตามหลักคำสอนเรื่อง ปฏิจจสมุปบาท ที่ว่า "เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนั้นจึงมี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนั้นจึงดับ"  เป็นการเน้นถึงความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งในโลก ว่ามีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เชื่อมโยงซึ่งกันและกัน ดังคำกล่าวที่ว่า...

น้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่า ข้าพึ่งเจ้า บ่าวพึ่งนาย และ  นายพึ่งบ่าว เจ้าพึ่งข้า ป่าพึ่งเสือ เรือพึ่งน้ำ"  ด้วยเหมือนกัน  ซึ่งคำว่า "ป่าพึ่งเสือ" มีหมายความว่า  "เสือมีเพราะป่าปก  ป่ารกเพราะเสือยัง  ดินดีเพราะหญ้ายัง   หญ้ายังเพราะดินดี"

             

พระพุทธเจ้าพระองค์ทรงเป็นบิดาผู้อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางพระพุทธศาสนา เพราะ  "ประสูติในสวนป่าลุมพินีวัน  ตรัสรู้ในป่าใต้ต้นมหาโพธิ์  นิพพานในป่าใต้ต้นสาละ" ซึ่งตามพระวินัยพระพุทธเจ้าทรงห้ามพระสงฆ์มิให้ตัดไม้ทำลายป่า และมิให้ถ่ายอุจจาระปัสสาวะ บ้วนน้ำลายลงบนพืชพันธุ์ธัญญาหาร และแม่น้ำลำคลอง ที่ยิ่งกว่านั้นทรงบัญญัติให้อยู่โคนไม้ เป็นการรักษาธรรมชาติ เพื่อจะได้พึ่งพาธรรมชาติ
             
สมัยพระพุทธกาลจะมีอาราม คือ สวนป่า เช่น วัดเวฬุวันวนาราม เป็นสวนไผ่ วัดชีวกกัมพวนาราม เป็นสวนมะม่วง  กลุ่มพระสงฆ์ผู้พำนักอยู่ในวัดป่าเรียกว่า "อรัญญวาสี"
             
พระสงฆ์จึงเป็นนักอนุรักษ์ป่าไม้ได้เป็นอย่างดี    ด้วยการชักชวนศรัทธาประชาชนเห็นคุณค่าของป่าไม้  ถือว่าเป็นการสร้างบุญจากการรักษาสิ่งแวดล้อม

             

พระพุทธเจ้าตรัสไว้ใน วนโรปสูตร ว่า..." ชนเหล่าใดปลูกสวน ปลูกป่า  สร้างสะพาน  สร้างโรงน้ำ ขุดบ่อน้ำ บริจาคอาคารที่พักอาศัย  ชนเหล่านั้นได้บุญตลอดเวลาทั้งกลางคืนและกลางวัน"  เพราะผู้คนตลอดถึงพระสงฆ์ได้ใช้ประโยชน์นั่นเอง
             
ใน "สีสปาวนสูตร" พระพุทธเจ้าใช้ป่าไม้เป็นอุปกรณ์ในการสอนธรรมแก่พระสงฆ์ พระองค์ทรงหยิบใบประดู่ลายแล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า...  "ใบประดู่ลายเล็กน้อยที่เราได้ถือไว้ กับใบที่อยู่บนต้นประดู่ลาย อย่างไหนจะมากกว่ากัน  "
           
พระภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า  "ใบประดู่ลายในพระหัตถ์ของพระองค์น้อยกว่า ใบที่อยู่บนต้นประดู่ลายมีมากกว่า"  พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า..."เรื่องที่เราตรัสรู้แล้ว แต่มิได้บอกท่านทั้งหลายก็มีมากกว่า ฉันนั้นเหมือนกัน  เรื่องที่เราบอกท่านทั้งหลายมีน้อยกว่า เหมือนใบไม้ในกำมือนี้"
           
ฉะนั้น ให้ทุกท่านเริ่มด้วยการปลูกต้นแคร์ในหัวใจของเรา คือ แคร์ความรู้สึกของเพื่อนมนุษย์ ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน ทั้งคนและธรรมชาติ พระพุทธตรัสว่า
    "สุทสฺสํ  วชฺชมญฺเญสํ อตฺตโน ปน ทุทฺทสํ
     แปลความว่า ความผิดพลาดของคนอื่นเห็นได้ง่าย ความผิดพลาดของตนเองเห็นได้ยาก"  สาธุ

ขอบคุณภาพจากเฟซบุ๊กPramote Od และพันตรี สุธี สุขสากล
http://www.komchadluek.net/detail/20160113/220488.html
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา