ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ในหลวงทรงสอนธรรม "ถวายดอกไม้พระอย่างไร..ให้ได้ประโยชน์"  (อ่าน 1085 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



ในหลวงทรงสอนธรรม "ถวายดอกไม้พระอย่างไร..ให้ได้ประโยชน์"

... อันนี้ก็ได้เคยพูดกันไปแล้ว  พูดถึงว่า แต่ละคนที่ได้บูชาด้วยการเอาดอกไม้ไปประดับที่พระพุทธรูปเป็นต้นนั้นมีอานิสงส์อย่างไร  คือ ข้อที่บางคนก็เห็นว่า  เราเห็นคนเข้าไป คลานเข้าไปที่พระพุทธรูป แล้วก็เอาดอกไม้ไปประดับในแจกัน ก็มี  บางทีก็มีพวงมาลัยไปประดับอย่างสวยงาม  จะมีประโยชน์อะไร

คนบางคนเขาไม่เห็นประโยชน์ เพราะว่าเสียเวลา เสียเงินทอง  ทำไม  เดี๋ยวดอกไม้ก็เหี่ยว  ไม่เข้าใจ  ผู้ที่เห็นอย่างนั้นบอกว่าเสียเวลา  ไปวางแล้วดอกไม้เดี๋ยวก็เหี่ยว  ไม่มีประโยชน์อะไร  อย่างนี้ผู้นั้นไม่เกิดปัญญา ไม่เกิดความรู้ ไม่เกิดความเข้าใจ

แต่ว่า ผู้ที่เห็นแล้วก็ไปวางดอกไม้ แล้วเดี๋ยวก็เหี่ยวนั้น  ถ้าพิจารณาก็เป็นการปฏิบัติธรรม  เรียกว่าถึงขั้นหนึ่งของกรรมฐานหรือวิปัสสนา  ซึ่งเราต้องการปฏิบัติวิปัสสนากัน ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ดี  แต่ข้อนี้ก็เป็นวิปัสสนานั่นเอง  คือเป็นการดูว่า  ดอกไม้นั้นเราเก็บมา มาวางไว้ห่างจากต้น หรือแม้แต่อยู่บนต้นไม้ไม่กี่วันก็เหี่ยว เหี่ยวแล้วก็แห้ง แล้วก็ร่วง  ถ้าเราเก็บเอาไว้ โดนอะไรหน่อยก็เป็นผุยผง  เพราะว่าดอกไม้ไม่ใช่ดอกไม้ แล้วก็เป็นผง

อันนี้เป็นการพิจารณาว่าอะไรๆ มันก็เปลี่ยนแปลงไปเรื่อย  เป็นการเห็นความธรรมดาของสิ่งของ  นี่เป็นหลักของศาสนาที่จะเห็นว่า  ถ้าเราเห็นข้อนี้ในทุกสิ่งในทุกอย่างก็จะทำให้เรียกว่าได้ผล ได้ปัญญา


 :25: :25: :25: :25:

ถึงบอกว่า  การบูชาด้วยดอกไม้ไปประดับนั้นก็คือเป็นทางไปสู่ความดีหรือความอดทนอีกทางหนึ่ง  การเอาดอกไม้ไปประดับประดาตามพระพุทธรูปในโบสถ์หรือที่หิ้งบูชา การนำไปประดับให้สวยงามนั้นจะได้ความหลุดพ้นไปได้อีกทางหนึ่ง  ซึ่งก็นับว่าคล้ายกัน  หมายความว่า จะได้วิมุตติเหมือนกัน  คือหลุดพ้น

เพราะว่า ถ้าเรานำไปประดับประดาสวยงาม เราก็มีความปลื้ม เพราะมันสวย  เรามีความสบายใจ มีปีติ  ปีตินี่คือความปลื้มใจ ความภูมิใจ มีความรู้สึกว่าเบา  เป็นความปลื้มใจที่ไม่เสียหาย  เป็นปีติที่เกิดความเบาใจ ความสบาย  ความสบายนั้นถ้านำมาในทางที่ดีที่ชอบ  ความสบายใจแบบนี้ ปีติแบบนี้ ก็จะนำไปสู่ความสงบสุข อยู่อย่างมีความสุข  มีความสุขแล้วก็มีความสงบ ไปสู่ความว่างได้  คือเป็นอุเบกขา

ความปีตินั้นนำไปสู่อุเบกขา  อุเบกขานั้นหมายความว่า เราไม่ยินดี ไม่ยินร้าย  แต่แท้จริงคือว่า เห็นอะไรก็รู้ว่าอะไรเป็นอะไร  แต่ว่าไม่ยินดียินร้าย ไม่มีความยินดี ดีใจ ถูกใจ ...


#############

พระราชดำรัส เนื่องในโอกาสที่พระครูใบฎีกาเล็ก ญานุตตะโร วัดหลวงปรีชากูล อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี และคณะ เฝ้าถวายเงินเพื่อโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัยและต้นเทียนพรรษา  วันจันทร์ที่ ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๘.

 


เรียบเรียงโดย ณัฐวุฒิ แจ๊สสูงเนิน จากหนังสือ ธรรมะจากพระโอษฐ์
ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก http://panyayan.tnews.co.th/contents/198707/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
สาธุ สาธุ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ