ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ ความหวังใหม่เพื่อสุขภาพที่ดีของพระสงฆ์ไทย  (อ่าน 1325 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28456
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ ความหวังใหม่เพื่อสุขภาพที่ดีของพระสงฆ์ไทย

ภาครัฐและพระสงฆ์ร่วมกันผลัดดันจนเกิด ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ ขึ้นมา พูดได้ว่าเมืองไทยเป็นเมืองพุทธ นับถือศาสนาพุทธมาอย่างยาวนาน ได้ทำโครงการที่ดีมีประโยชน์แก่พระภิกษุสามเณรได้ขนาดนี้แล้ว ทำให้มีความปีติที่พระท่านจะได้รับการใส่ใจในเรื่องของสุขภาพ และชาวพุทธเองจะได้หันมาใส่ใจ สนใจในเรื่องนี้มากขึ้น

พระมงคลวชิรกร

 
สาเหตุของปัญหาสุขภาพพระสงฆ์

พระมงคลวชิรากร กล่าวถึงสาเหตุของปัญหาสุขภาพพระสงฆ์ว่า
“ปัญหาจริง ๆ เกิดขึ้นจากทั้งพระสงฆ์เองและฆราวาส ต่างมองปัญหาไม่เหมือนกัน ทางพระก็ไม่ขัดศรัทธาตามที่โยมได้อุปัฏฐากและอุปถัมภ์ ทั้ง ๆ ที่พระสงฆ์เองมีข้อจำกัดในการดำรงชีวิต แต่พระสงฆ์โดยส่วนมากก็ไม่รู้ว่าข้อจำกัดนั้นคืออะไร ก็รับข้าวของจากญาติโยมตามกำลังศรัทธา ญาติโยมเมื่อเห็นพระท่านฉันอยู่ดีมีสุขดีก็อุปัฏฐากบำรุง อย่างคนตายชอบอะไรต้องถวายอุปัฏฐากอาหารอย่างที่คนตายชอบ พระสงฆ์ก็รับแล้วอาหารที่ญาติโยมถวายนั้นก็เป็นอาหารเบา ก็คืออาหารเบาหวานนั้นล่ะ"

“ปัญหาที่เจอกันบ่อยคือการรักษาพยาบาล แต่ทีนี้ขึ้นอยู่ที่บริบทจริง ๆ ของพระสงฆ์เอง ตามหลักพระธรรมวินัยแล้ว พระสงฆ์อาพาธก็อนุโลมให้นางพยาบาลอุปัฏฐาก ดูแล และรักษาเต็มที่ แต่ทีนี้ภาพที่ออกไปจะเป็นภาพที่ไม่สมควร คนที่ไม่เข้าใจพระธรรมวินัย กลายเป็นว่าพยาบาลที่เป็นผู้หญิงถูกต้องกายพระภิกษุสามเณร ที่ว่าจริง ๆ แล้ว พระภิกษุสามเณรอาพาธมีข้อยกเว้น”

 
นายแพทย์พลเดช ปิ่นประทีป

 
ความสำคัญของธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ

นายแพทย์พลเดช ปิ่นประทีป กล่าวถึงความสำคัญของธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติว่า
“กระทรวงสาธารณสุขเอง และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)ด้วย ได้เห็นความสำคัญต่อบทบาทในการดูแลพระสงฆ์ มีการสำรวจ หรืองานวิจัยพบว่าพระสงฆ์ประมาณ 45 % มีปัญหาเรื่องอ้วน น้ำหนักเกิน  ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน และไขข้อเสื่อม"

“งานเกี่ยวกับสุขภาพของพระสงฆ์ที่มุ่งว่าจะทำอย่างไรถึงจะดูแลสุขภาพของพระสงฆ์ได้เป็นอย่างดี แต่ยังหาทางแก้ปัญหาไม่ได้ จนกระทั่งมาถึงปี 2555 ทางกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  (สปสช.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และภาคีต่าง ๆ  รวมทั้งพระสงฆ์ด้วย ก็พร้อมใจกันเสนอเข้าสู่สมัชชาสุขภาพแห่งชาติในครั้งนั้น ว่าทำอย่างไรถึงจะดูแลสุขภาพของพระสงฆ์ได้"

“พอมีมติสมัชชาสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข  กรมอนามัยและกรมควบคุมโรคเป็นแม่งานในการขับเคลื่อนโครงการนี้ แล้วมีการสานต่อมาจนถึงปี 2558 ในสามปีแรกยังคำทางกันไม่ถูก แต่ในที่สุดพระสงฆ์ทั้งฝ่ายปกครองและสำนักพุทธศาสนาแห่งชาติเข้ามาช่วยเหลือ ประจวบเหมาะกับทางสำนักกรรมการสุขภาพแห่งชาติกำลังทำการทบทวนธรรมนูญสุขภาพเป็นฉบับที่สอง เลยเกิดความคิดว่า จะเอาธรรมนูญเข้ามาช่วยได้ไหม เพราะธรรมนูญยังไม่มีกฎหมายบังคับ แต่เป็นเพียงข้อตกลงร่วม ทางพระสงฆ์ท่านก็รับความเห็นนี้ จึงกลายเป็นที่มาของการค่อย ๆ พัฒนาจากมติสมัชชาสุขภาพมาเป็น ธรรมนูญสุขภาพของพระสงฆ์”




สิทธิ์ของพระสงฆ์ที่จะได้จากธรรมนูญสุขภาพของพระสงฆ์

นายแพทย์พลเดช ปิ่นประทีป กล่าวถึงสิทธิของพระสงฆ์จะได้จากธรรมนูญสุขภาพว่า
“พระสงฆ์ในฐานะที่เป็นประชาชนไทย สามารถเข้าถึงสิทธิ์ อย่างน้อยก็เรื่องของสิทธิ์ในการรักษา แต่ที่ผ่านมาอุปสรรคสำคัญคือ ‘บัตรประจำตัวพระสงฆ์’ หรือ ‘ใบสุทธิ’ เพราะไม่มีเลขสิบสามหลักอย่างบัตรประจำตัวประชาชน ทีนี้เมื่อไม่มีเลขสิบสามหลักก็ไม่สามารถใช้สิทธิ์เรื่องของหลักประกันสุขภาพทั่วหน้าได้ แต่ผลจากการขับเคลื่อนรัฐธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์ คือเรื่องของทะเบียน การทำทะเบียน และสำรวจ แล้วก็ให้ใช้บัตรประชาชนเลขสิบสามหลักเป็นหลัก และใช้ใบสุทธิมาเป็นตัวประกอบด้วย นอกจากนี้จะทำให้รู้ข้อมูลทั้งหมดเลยว่ามีพระสงฆ์จริง ๆ เท่าไร แล้วทราบถึงคนปลอมมาบวชด้วย ได้ประโยชน์ทั้งฝ่ายปกครองสงฆ์และฝ่ายพัฒนา”

เชื่อว่า จะมีโครงการที่ทำเพื่อพระสงฆ์อีกมาก ที่จะดูแลและส่งเสริมพระภิกษุสามเณร ผู้เป็นเนื้อนาบุญของเรา ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาตินี้ เห็นว่าจะปฏิรูปให้พระสงฆ์มีสุขภาพที่ดีขึ้นภายในสิบปี จะสำเร็จได้นอกจาพระสงฆ์ที่จะต้องเป็นผู้ดูแลตัวท่านเองแล้ว ญาติโยมก็เป็นอีกแรงสำคัญที่จะช่วยให้โครงการนี้สำเร็จ


 
เรื่องและภาพจาก ch7 และสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
http://goodlifeupdate.com/healthy-mind/93530.html
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
 st11 st12 st12





ใบสุทธิ พระสงฆ์ มีเลข 13 หลัก ไม่ใช่ไม่มี
ส่วนบัตร 25 ปีที่แล้ว ไม่มีแน่นอน ดังนั้น พระบวชใหม่หลังจาก 25 ปีมานี้ ใบสุทธิ มีหมายเลข ประชาชน ชัดเจน ถ้ามีพระบวชใหม่ ใช้ ใบสุทธิที่ ไม่มีหมายเลข ฟันธงเบื้องต้น เลย ว่า พระปลอม

ใบสุทธิ รุ่นใหม่ ไม่สามารถหาซื้อได้ตามร้านค้า เครื่องสังฆภัณฑ์ เพราะมีหมายเลขเล่ม ต้องไปรับ ที่ เจ้าคณะอำเภอ โดยรับ ฉายาบัตร จากอุปัชฌาย์ นำไปยื่นขอใบสุทธิ เพื่อนำกลับมาหาอุปัชฌาย์ เพื่อมากรอกรายละเอียด แล้วนำให้ เจ้าอาวาส เซ้นรับรองสังกัด แล้วจึงนำไปประทับตรากับเจ้าคณะอำเภอ พร้อมลงนามเป็น พระสงฆ์ ในสังกัดวัดอำเภอจังหวัดนั้น ๆ

แต่หน่วยงานรัฐ ไม่ดูใบสุทธิ เลยในปัจจุบัน จะเอาแต่บัตรประชาชนเท่านั้น ทั้ง ๆ ที่ใบสุทธิ มีหมายเลขบัตรประชาชน ชัดเจน
 ;)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 01, 2018, 03:11:37 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

นิรตา ป้อมนาวิน

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1212
  • อย่างน้อยชาตินี้ขอปิดอบายภูมิ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ