ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: "พระสารีบุตรเป็นมิจฉาทิฏฐิ" ใครหนอ??!!กล่าวเช่นนี้  (อ่าน 8536 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท พราหมณวรรคที่ ๒๖
   

             
๙. เรื่องพระสารีบุตรเถระ

         
               ข้อความเบื้องต้น               
               พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระสารีบุตรเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า
 "ยมฺหา ธมฺมํ วิชาเนยฺยํ" เป็นต้น.
 

               พระสารีบุตรเคารพในพระอัสสชิผู้อาจารย์               
               ได้ยินว่า ท่านพระสารีบุตรนั้น จำเดิมแต่กาลที่ท่านฟังธรรมในสำนักของพระอัสสชิเถระแล้วบรรลุโสดาปัตติผล สดับว่า "พระเถระย่อมอยู่ในทิศใด" ก็ประคองอัญชลีไปทางทิศนั้น นอนหันศีรษะไปทางทิศนั้นแล.

               ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า "พระสารีบุตรเป็นมิจฉาทิฏฐิ ถึงวันนี้ก็เที่ยวนอบน้อมทิศทั้งหลายอยู่" ดังนี้แล้ว กราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระตถาคต.

               พระศาสดารับสั่งให้เรียกพระเถระมาแล้ว ตรัสถามว่า "สารีบุตร นัยว่า เธอเที่ยวนอบน้อมทิศทั้งหลายอยู่ จริงหรือ?" เมื่อพระเถระกราบทูลว่า "พระเจ้าข้า พระองค์เท่านั้นย่อมทรงทราบความเป็น คืออันนอบน้อม หรือไม่นอบน้อมทิศทั้งหลายของข้าพระองค์" ดังนี้แล้ว

               ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรย่อมไม่นอบน้อมทิศทั้งหลาย แต่เพราะความที่เธอฟังธรรมจากสำนักของพระอัสสชิเถระ แล้วบรรลุโสดาปัตติผล จึงนอบน้อมอาจารย์ของตน เพราะว่า ภิกษุอาศัยอาจารย์ใด ย่อมรู้ธรรม, ภิกษุนั้นพึงนอบน้อมอาจารย์นั้นโดยเคารพ เหมือนพราหมณ์นอบน้อมไฟอยู่ฉะนั้น" ดังนี้แล้ว
 

               เมื่อจะทรงแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
                         ๙.     ยมฺหา ธมฺมํ วิชาเนยฺย       สมฺมาสมฺพุทฺธเทสิตํ
                            สกฺกจฺจํ นํ นมสฺเสยฺย       อคฺคิหุตฺตํว พฺราหฺมโณ.
                                      บุคคลพึงรู้แจ้งธรรม อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
                            ทรงแสดงแล้ว จากอาจารย์ใด, พึงนอบน้อมอาจารย์
                            นั้นโดยเคารพ เหมือนพราหมณ์นอบน้อมการบูชา
                            เพลิงอยู่ฉะนั้น.

 

               แก้อรรถ              
               บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อคฺคิหุตฺตํ ว ความว่า บุคคลพึงรู้แจ้งธรรมอันพระตถาคตประกาศแล้ว จากอาจารย์ใด, พึงนอบน้อมอาจารย์นั้นโดยเคารพ เหมือนพราหมณ์นอบน้อมการบูชาเพลิงโดยเคารพ ด้วยการบำเรอด้วยดี และด้วยกิจทั้งหลายมีอัญชลีกรรมเป็นต้นฉะนั้น.

               ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.


               เรื่องพระสารีบุตรเถระ จบ.               
             
อ้างอิง
อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท พราหมณวรรคที่ ๒๖
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=36&p=9
อ่าน เนื้อความในพระไตรปิฎก
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=1301&Z=1424
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 14, 2011, 11:48:56 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ครูนภา

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +25/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 608
  • ภาวนา ร่วมกับพวกท่าน แล้วสุขใจ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: "พระสารีบุตรเป็นมิจฉาทิฏฐิ" ใครหนอ??!!กล่าวเช่นนี้
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 14, 2011, 08:33:33 pm »
0
ธรรมเนียม ปฏิบัติ ที่พระอรหันต์ท่านคิดขึ้นมาว่าดี พวกเราอาจจะมองว่างมงาย

ครั้นท่านจะไม่ทำก็ได้ แต่ท่านก็ทำแสดงให้เห็นความตั้งใจที่ท่านมีความเคารพธรรม

ในสมัยปัจจุบันการเคารพ ครูอาจารย์ ต้องยกให้ในสายวัดป่า







เพียงศิษย์เข้าไปศึกษาธรรม ยังไม่ได้บรรลุอะไร ศิษย์ทั้งหลายก็พากันปฏิบัติอุปัฏฐากอาจารย์ถึงระดับนี้

ไม่ต้องกล่าวถึงศิษย์ที่ปฏิบัีติได้ จะดูแลครูอาจารย์ ที่ตนเคารพขนาดไหน

อันนี้เป็นไปในสายวัดป่า


ในสายกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ เราดูแลครูอาจารย์ กันบ้างหรือไม่ คะ

หรือปล่อยให้ท่านลำบาก เพราะเป็นพระปฏิบัติ ก็ต้องให้ลำบาก

 :25:
บันทึกการเข้า
ศรัทธา ปัญญา ขันติ ความเพียร คุณสมบัติผู้ภาวนา
ขอเป็นกัลยาณมิตร กับทุกท่าน ที่เป็นกัลยาณมิตร

tcarisa

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +9/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 524
  • ก้าวน้อย แต่เป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: "พระสารีบุตรเป็นมิจฉาทิฏฐิ" ใครหนอ??!!กล่าวเช่นนี้
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 14, 2011, 08:59:25 pm »
0
สาธุ ในสายสวนโมก ก็ยังไม่เคยเห็น ลูกศิษย์เช็ดเท้าครูอาจารย์ เหมือนอย่างนี้

แสดงว่าเคารพใน ครูอาจารย์ ในสายวัดป่า นี้มีมากจริง ๆ นะคะ

ส่วนพระสารีบุตร ท่านมีความคิดต่อการแสดงออก ซึ่งการเคารพในธรรม ครูอาจารย์ จึงหันหัว ศรีษะ ไปในทิศ
ที่พระอัสสชิอยู่ และก็เป็นธรรมเนียมที่ท่านสอน พระอริยะราหุลพุทธชิโนรส ด้วย ซึ่งอันที่จริง ต้องกล่าวว่าใน
สายกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ มีธรรมเนียมในการให้เคารพ ครูอาจารย์ มาตลอด การขึ้นกรรมฐาน ก็แสดง
ว่ายังรักษาธรรมเนียม นี้อยู่ เพียงแต่ศิษย์ที่ขึ้นกรรมฐาน นั้นไม่ได้เคารพครูอาจารย์ กันจริง ๆ อย่างที่แสดง

เราได้ไปขึ้นกรรมฐาน มาในปีที่แล้ว ยังนึกอยู่ในใจเลย ในชีวิตนี้ได้กราบหลวงปู่ ได้ถวายถาดขัน 5 บูชา
พระรัตนตรัย และกรรมฐาน ครูที่สอนกรรมฐาน รู้สึกซาบซึ้งมากในวันนั้น และในวันนี้ ก็ยังเคารพซาบซึ้งนึก
ถึงคำสอนเรื่องกรรมฐาน ปฏิบัติตามขั้นตอนกรรมฐานอยู่มิได้ขาด
 :08:

บันทึกการเข้า
เราเป็นหน่ออ่อน ที่รอการเติบโต
จึงขอสั่งสมบารมีธรรม เพื่อพระนิพพาน

ประสิทธิ์

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +14/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 639
  • จิตว่าง ก็เป็นสุข
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: "พระสารีบุตรเป็นมิจฉาทิฏฐิ" ใครหนอ??!!กล่าวเช่นนี้
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 14, 2011, 09:02:04 pm »
0
ความกตัญญู เรื่อง ระลึกถึงธรรม เคยได้อ่านในเว็บนี้

  สิ่งที่พึงระลึก 3 ประการ นะถ้าจำไม่ผิด

   1.ผู้สอนธรรมเรา ให้เราได้บรรลุธรรม

   2.สถานที่เรา ได้บรรลุธรรม

  อะไรอีกจำไม่ได้ ไม่รู้จำผิดหรือไม่


 แต่ก็เห็นด้วย ในการแสดงออกถึง ความเคารพในธรรม เพราะพระพุทธเจ้าทั้งปวง ก็ทรงเคารพธรรมทุกพระองค์
บันทึกการเข้า
ใครชอบ ใครชัง ช่างเถิด
ใครเชิด ใครชู ช่างเขา
ใครด่า ใครบ่น ทนเอา
ใจเรา ร่มเย็น เป็นพอ

:;

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: "พระสารีบุตรเป็นมิจฉาทิฏฐิ" ใครหนอ??!!กล่าวเช่นนี้
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 14, 2011, 09:38:13 pm »
0
สำหรับ กบแย้มกะลา เห็นด้วยกับการเคารพครูอาจารย์ที่ชี้นำทางพระนิพพานนะคะ ที่ต้องให้ความเคารพ

สำหรับ ครูอาจารย์ที่นำทางไปในทางงมงาย ไร้สาระแก่นสาร นั้นไม่พึงให้ความเคารพคะ

 :08:
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ

juntra

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 108
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: "พระสารีบุตรเป็นมิจฉาทิฏฐิ" ใครหนอ??!!กล่าวเช่นนี้
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 15, 2011, 01:32:05 am »
0
เห็นด้วยกับการดูแล อุปัฏฐาก ครูอาจารย์ คะเพราะเราจะเรียนธรรม โดยเฉพาะวิชากรรมฐาน นี้
ไม่ได้หาครูอาจารย์ ทั่วไปมาสอนได้คะ ต้องดูแล อุปัฏฐาก คะ

และให้ความเคารพ

พ่อแม่ ให้ชีิวิต

ครูอาจารย์ให้ความรู้

พระพุทธเจ้า พระธรรม และ พระสงฆ์ ให้ความสิ้นสุดแห่งกองทุกข์คะ

  :25:
บันทึกการเข้า

samapol

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 304
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: "พระสารีบุตรเป็นมิจฉาทิฏฐิ" ใครหนอ??!!กล่าวเช่นนี้
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 15, 2011, 03:19:01 am »
0


เป็นภาพที่น่าประทับใจมากครับ ผมเองก็พึ่งเห็นเป็นครั้งแรกครับ
 :25:
บันทึกการเข้า

samapol

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 304
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: "พระสารีบุตรเป็นมิจฉาทิฏฐิ" ใครหนอ??!!กล่าวเช่นนี้
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 15, 2011, 03:21:16 am »
0
อาจริยวัตร
             [๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันเตวาสิกพึงประพฤติชอบในอาจารย์.
             วิธีประพฤติชอบในอาจารย์นั้น ดังต่อไปนี้
             อันเตวาสิกพึงลุกแต่เช้าตรู่ ถอดรองเท้า ห่มผ้าเฉวียงบ่า แล้วถวายไม้ชำระฟัน
ถวายน้ำล้างหน้า ปูอาสนะไว้
             ถ้ายาคูมี พึงล้างภาชนะแล้วน้อมยาคูเข้าไปถวาย เมื่ออาจารย์ดื่มยาคูแล้ว พึงถวายน้ำ
รับภาชนะมา ถือต่ำๆ อย่าให้กระทบกัน ล้างให้สะอาดแล้วเก็บไว้ เมื่ออาจารย์ลุกแล้ว พึงเก็บ
ผ้าอาสนะ
             ถ้าที่นั้นรก พึงกวาดเสีย.
             ถ้าอาจารย์ประสงค์จะเข้าบ้าน พึงถวายผ้านุ่ง พึงรับผ้านุ่งผลัดมา พึงถวายประคตเอว
พึงพับผ้าสังฆาฏิให้เป็นชั้นถวาย พึงล้างบาตรแล้วถวายพร้อมทั้งน้ำด้วย
             ถ้าอาจารย์ปรารถนาให้เป็นปัจฉาสมณะ พึงปกปิดมณฑลสาม นุ่งให้เป็นปริมณฑล
แล้วคาดประคตเอว ห่มสังฆาฏิทำเป็นชั้น กลัดดุม ล้างบาตรแล้วถือไป เป็นปัจฉาสมณะของ
อาจารย์ ไม่พึงเดินให้ห่างนัก ไม่พึงเดินให้ชิดนัก พึงรับวัตถุที่เนื่องในบาตร
             เมื่ออาจารย์กำลังพูด ไม่พึงพูดสอดขึ้นในระหว่าง อาจารย์กล่าวถ้อยคำใกล้ต่ออาบัติ
พึงห้ามเสีย
             เมื่อกลับ พึงมาก่อนแล้วปูอาสนะที่นั่งฉันไว้ พึงเตรียมน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า
กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ พึงลุกขึ้นรับบาตรและจีวร พึงถวายผ้านุ่งผลัด พึงรับผ้านุ่งมา.
             ถ้าจีวรชุ่มเหงื่อ พึงผึ่งแดดไว้ครู่หนึ่ง แต่ไม่พึงผึ่งทิ้งไว้ที่แดด
             พึงพับจีวร เมื่อพับจีวร พึงพับจีวรให้เหลื่อมมุมกัน ๔ นิ้ว ด้วยตั้งใจมิให้มีรอยพับ
ตรงกลาง พึงทำประคตเอวไว้ในขนดอันตรวาสก.
             ถ้าบิณฑบาตมี และอาจารย์ประสงค์จะฉัน พึงถวายน้ำแล้วน้อมบิณฑบาตเข้าไปถวาย
พึงถามอาจารย์ด้วยน้ำฉัน เมื่ออาจารย์ฉันแล้ว พึงถวายน้ำ รับบาตรมา ถือต่ำๆ อย่าให้กระทบ
ล้างให้สะอาด เช็ดให้แห้ง แล้วผึ่งไว้ที่แดดครู่หนึ่ง แต่ไม่พึงผึ่งทิ้งไว้ที่แดด
             พึงเก็บบาตรจีวร เมื่อเก็บบาตร พึงเอามือข้างหนึ่งจับบาตร เอามือข้างหนึ่งลูบคลำ
ใต้เตียงหรือใต้ตั่ง แล้วจึงเก็บบาตร แต่ไม่พึงเก็บบาตรไว้บนพื้นที่ไม่มีสิ่งใดรอง
             เมื่อเก็บจีวร พึงเอามือข้างหนึ่งถือจีวร เอามือข้างหนึ่งลูบราวจีวร หรือสายระเดียง
แล้วทำชายไว้ข้างนอก ทำขนดไว้ข้างใน แล้วจึงเก็บจีวร
             เมื่ออาจารย์ลุกแล้ว พึงเก็บอาสนะ เก็บน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า
ถ้าที่นั้นรก พึงกวาดที่นั้นเสีย.
             ถ้าอาจารย์ใคร่จะสรงน้ำ พึงจัดน้ำสรงถวาย ถ้าต้องการน้ำเย็น พึงจัดน้ำเย็นถวาย
ถ้าต้องการน้ำร้อน พึงจัดน้ำร้อนถวาย.
             ถ้าอาจารย์ประสงค์จะเข้าเรือนไฟ พึงบดจุณ แช่ดิน หรือถือตั่งสำหรับเรือนไฟ แล้ว
เดินตามหลังอาจารย์ไป ถวายตั่งสำหรับเรือนไฟแล้ว รับจีวรมาวางไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
พึงถวายจุณ ถวายดิน
             ถ้าอุตสาหะอยู่ พึงเข้าเรือนไฟ เมื่อเข้าเรือนไฟ พึงเอาดินทาหน้า ปิดทั้งข้างหน้า
ข้างหลัง แล้วเข้าเรือนไฟ ไม่พึงนั่งเบียดภิกษุผู้เถระ ไม่พึงห้ามกันอาสนะภิกษุใหม่ พึงทำ
บริกรรมแก่อาจารย์ในเรือนไฟ
             เมื่อออกจากเรือนไฟ พึงถือตั่งสำหรับเรือนไฟ แล้วปิดทั้งข้างหน้าทั้งข้างหลังออกจาก
เรือนไฟ
             พึงทำบริกรรมแก่อาจารย์แม้ในน้ำ อาบเสร็จแล้ว พึงขึ้นมาก่อน ทำตัวของตนให้แห้งน้ำ
นุ่งผ้าแล้ว พึงเช็ดน้ำจากตัวของอาจารย์ พึงถวายผ้านุ่ง พึงถวายผ้าสังฆาฏิ ถือเอาตั่งสำหรับ
เรือนไฟมาก่อน แล้วปูอาสนะไว้ เตรียมน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ พึงถาม
อาจารย์ด้วยน้ำฉัน.
             ถ้าประสงค์จะเรียนบาลี พึงขอให้อาจารย์แสดงบาลีขึ้น ถ้าประสงค์จะสอบถามอรรถกถา
พึงสอบถาม.
             อาจารย์อยู่ในวิหารแห่งใด ถ้าวิหารแห่งนั้นรก ถ้าอุตสาหะอยู่ พึงปัดกวาดเสีย
เมื่อปัดกวาดวิหาร พึงขนบาตรจีวรออกก่อนแล้ววางไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พึงขนผ้าปูนั่ง
และผ้าปูนอน ฟูก หมอน ออกวางไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
             เตียงตั่ง อันเตวาสิกพึงยกต่ำๆ อย่าให้ครูดสี อย่าให้กระทบกระแทกบานและกรอบประตู
ขนออกให้เรียบร้อย แล้วตั้งไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.  เขียงรองเตียง กระโถน พนักอิง
พึงขนออกตั้งไว้ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เครื่องปูพื้น พึงสังเกตที่ปูไว้เดิม แล้วขนออกวางไว้
ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
             ถ้าในวิหารมีหยากเยื่อ พึงกวาดแต่เพดานลงมาก่อน กรอบหน้าต่างและมุมห้อง
พึงเช็ดเสีย ถ้าฝาเขาทำบริกรรมด้วยน้ำมัน หรือพื้นเขาทาสีดำขึ้นรา พึงเอาผ้าเช็ดน้ำบิดแล้ว
เช็ดเสีย ถ้าพื้นเขามิได้ทำ พึงเอาน้ำประพรมแล้วเช็ดเสีย ระวังอย่าให้วิหารฟุ้งด้วยธุลี พึงกวาด
หยากเยื่อทิ้งเสีย ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
             เครื่องลาดพื้น พึงผึ่งแดด ชำระ เคาะ ปัด แล้วขนกลับปูไว้ตามเดิม เขียงรองเตียง
พึงผึ่งแดด ขัด เช็ด แล้วขนกลับตั้งไว้ที่เดิม เตียงตั่งพึงผึ่งแดดขัดสี เคาะเสีย ยกต่ำๆ อย่าให้
ครูดสี กระทบกระแทกบานและกรอบประตู ขนกลับไปให้ดีๆ แล้วตั้งไว้ตามเดิม ฟูก หมอน
ผ้าปูนั่ง ผ้าปูนอน พึงผึ่งแดดทำให้สะอาด ตบเสีย แล้วนำกลับวางปูไว้ตามเดิม กระโถน
พนักอิง พึงผึ่งแดด เช็ด ถูเสีย แล้วขนกลับตั้งไว้ตามเดิม
             พึงเก็บบาตรจีวร เมื่อเก็บบาตร พึงเอามือข้างหนึ่งจับบาตร เอามือข้างหนึ่งลูบคลำ
ใต้เตียงหรือใต้ตั่ง แล้วจึงเก็บบาตร แต่ไม่พึงเก็บบาตร บนพื้นที่ไม่มีสิ่งใดรอง
             เมื่อเก็บจีวร พึงเอามือข้างหนึ่งถือจีวร เอามือข้างหนึ่งลูบราวจีวรหรือสายระเดียงแล้ว
ทำชายไว้ข้างนอก ทำขนดไว้ข้างใน แล้วเก็บจีวร.
             ถ้าลมเจือด้วยผงคลี พัดมาแต่ทิศตะวันออก พึงปิดหน้าต่างด้านตะวันออก ถ้าพัดมา
แต่ทิศตะวันตก พึงปิดหน้าต่างด้านตะวันตก ถ้าพัดมาแต่ทิศเหนือ พึงปิดหน้าต่างด้านเหนือ
ถ้าพัดมาแต่ทิศใต้ พึงปิดหน้าต่างด้านใต้ ถ้าฤดูหนาวพึงเปิดหน้าต่างกลางวัน ปิดกลางคืน
ถ้าฤดูร้อน พึงปิดหน้าต่างกลางวัน เปิดกลางคืน
             ถ้าบริเวณ ซุ้มน้ำ โรงฉัน โรงไฟ วัจจกุฎี รก พึงปัดกวาดเสีย ถ้าน้ำฉัน น้ำใช้ไม่มี
พึงจัดตั้งไว้ ถ้าน้ำในหม้อชำระไม่มี พึงตักน้ำมาไว้ในหม้อชำระ
             ถ้าความกระสันบังเกิดแก่อาจารย์ อันเตวาสิกพึงช่วยระงับ หรือพึงวานภิกษุอื่นให้ช่วย
ระงับ หรือพึงทำธรรมีกถาแก่อาจารย์นั้น ถ้าความรำคาญบังเกิดแก่อาจารย์ อันเตวาสิกพึงช่วย
บรรเทา หรือพึงวานภิกษุอื่นให้ช่วยบรรเทา หรือพึงทำธรรมีกถาแก่อาจารย์นั้น ถ้าความเห็นผิด
บังเกิดแก่อาจารย์ อันเตวาสิกพึงให้สละเสีย หรือพึงวานภิกษุอื่นให้ช่วย หรือพึงทำธรรมีกถา
แก่อาจารย์นั้น. ถ้าอาจารย์ต้องอาบัติหนัก ควรปริวาส อันเตวาสิกพึงทำความขวนขวายว่า
ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงให้ปริวาสแก่อาจารย์ ถ้าอาจารย์ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม อันเตวาสิก
พึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงชักอาจารย์เข้าหาอาบัติเดิม ถ้าอาจารย์
ควรมานัต อันเตวาสิกพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงให้มานัตแก่
อาจารย์ ถ้าอาจารย์ควรอัพภาน อันเตวาสิกพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ
สงฆ์พึงอัพภานอาจารย์.
             ถ้าสงฆ์ปรารถนาจะทำกรรมแก่อาจารย์ คือ ตัชชนียกรรม นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม
ปฏิสารณียกรรม หรืออุกเขปนียกรรม อันเตวาสิกพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ
สงฆ์ไม่พึงทำกรรมแก่อาจารย์ หรือสงฆ์พึงน้อมไปเพื่อกรรมสถานเบา หรืออาจารย์นั้นถูกสงฆ์
ลงตัชชนียกรรม นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม ปฏิสารณียกรรม หรืออุกเขปนียกรรมแล้ว
อันเตวาสิกพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ อาจารย์พึงประพฤติชอบ พึงหาย
เย่อหยิ่ง พึงประพฤติแก้ตัว สงฆ์พึงระงับกรรมนั้นเสีย.
             ถ้าจีวรของอาจารย์จะต้องซัก อันเตวาสิกพึงซัก หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบาย
อย่างไรหนอ ใครๆ พึงซักจีวรของอาจารย์ ถ้าจีวรของอาจารย์จะต้องทำ อันเตวาสิกพึงทำ
หรือพึงทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใครๆ พึงทำจีวรของอาจารย์ ถ้าน้ำย้อม
ของอาจารย์จะต้องต้ม อันเตวาสิกพึงต้ม หรือพึงทำความขวนขวายว่า  ด้วยอุบายอย่างไรหนอ
ใครๆ พึงต้มน้ำย้อมของอาจารย์ ถ้าจีวรของอาจารย์จะต้องย้อม อันเตวาสิกพึงย้อม หรือพึง
ทำความขวนขวายว่า ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใครๆ พึงย้อมจีวรของอาจารย์ เมื่อย้อมจีวร
พึงย้อมพลิกกลับไปกลับมาให้ดีๆ เมื่อหยาดน้ำย้อมยังหยดไม่ขาดสาย ไม่พึงหลีกไปเสีย.
             อันเตวาสิกไม่บอกอาจารย์ก่อน ไม่พึงให้บาตรแก่ภิกษุบางรูป ไม่พึงรับบาตรของภิกษุ
บางรูป ไม่พึงให้จีวรแก่ภิกษุบางรูป ไม่พึงรับจีวรของภิกษุบางรูป ไม่พึงให้บริขารแก่ภิกษุบางรูป
ไม่พึงรับบริขารของภิกษุบางรูป ไม่พึงปลงผมให้ภิกษุบางรูป ไม่พึงให้ภิกษุบางรูปปลงผมให้
ไม่พึงทำบริกรรมแก่ภิกษุบางรูป ไม่พึงให้ภิกษุบางรูปทำบริกรรมให้ ไม่พึงทำความขวนขวาย
แก่ภิกษุบางรูป ไม่พึงสั่งให้ภิกษุบางรูปทำความขวนขวาย ไม่พึงเป็นปัจฉาสมณะของภิกษุบางรูป
ไม่พึงพาภิกษุบางรูปไปเป็นปัจฉาสมณะ ไม่พึงนำบิณฑบาตไปให้ภิกษุบางรูป ไม่พึงให้ภิกษุบางรูป
นำบิณฑบาตมาให้ ไม่บอกลาอาจารย์ก่อน ไม่พึงเข้าบ้าน ไม่พึงไปป่าช้า ไม่พึงหลีกไปสู่ทิศ
ถ้าอาจารย์อาพาธ พึงพยาบาล จนตลอดชีวิต พึงรอจนกว่าจะหาย.
อาจริยวัตร จบ


ที่มาเนื้อหา

http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=4&A=2092&w=%CD%D2%A8%C3%D4%C2%C7%D1%B5%C3
บันทึกการเข้า

suchin_tum

  • ไม่กลับมาเกิด
  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 486
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: "พระสารีบุตรเป็นมิจฉาทิฏฐิ" ใครหนอ??!!กล่าวเช่นนี้
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 15, 2011, 08:50:21 am »
0
 สมาธิเฟื่องฟูด้วยศรัทธา-องค์สมเด็จพระสัมมาอยู่เหนือหัว-องค์พุทธานุสสติพาพ้นกลัว-คลายสงสัยไม่เมามัวในตัวตน-ด้วยแรงมรรคที่เปี่ยมล้นค้นปีติ-นําจิตรออกอยู่รํ่าไปไม่สับสน-ได้รู้เห็นรู้โทษภัยในวังวน-ต้องอดทนในแรงกรรมที่ดําเนิน-ไม่เวียนว่ายตายเกิดต้องฝ่่าฟัน-ฝึกทุกวันกรรมฐานไม่หยุดเฉย-พระอาจารย์ได้บอกกล่าวอย่าละเลย-ได้คืบไว้ไม่นิ่งเฉยเมยไม่มอง-มัชฌฺิมา-แบบลําดับชื่อกรรมฐาน-องค์สมเด็จพระสัมมาพระราหุล-ทั้งครูบาอาจารย์ช่วยคํ้าจุน-ได้พยุงอยู่ตลอดเป็นยอดครู-นําคําสอนเป็นสัมมาหยิบมาให้-มีอุบายอยู่ในองค์พระกรรมฐาน-ไม่ต้องคิดไม่ต้องเห็นตามอาจารย์-วิธีนั้นเหมือนมีชัยไปครึ่งทาง-สิ่งที่ทําแล้วต้องถึงแล้วต้องได้-อย่าได้ใช้ปีติใดพาให้หลง-ปีตินั้นมันมีตัวให้หลงตน-ทรนงก็ปรามาสครูอาจารย์-ตามืดดับกรรมฐานก็ไม่เติบ-ใช้วิธีใดก็ไม่หมดความร้อนซ่าน-ยังเหลือจิตรเป็นสิ่งผูกทุกทรมาน-แต่สําหรับเรานั้น-แสนภาคภูมิใจ-ที่ได้มีครู(จบ)
บันทึกการเข้า
ขอน้อมอาราธนากำลังแห่งครูอาจารย์กรรมฐานมัชฌิมาจงมาประสิทธิ์ประศาสตร์

ครูนภา

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +25/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 608
  • ภาวนา ร่วมกับพวกท่าน แล้วสุขใจ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: "พระสารีบุตรเป็นมิจฉาทิฏฐิ" ใครหนอ??!!กล่าวเช่นนี้
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 15, 2011, 09:22:14 am »
0
อนุโมทนากับ คุณ SUCHIN_TUM

แต่งได้ีดีคะ แต่ขอช่วยปรับให้อ่านง่ายขึ้นนะคะ

 สมาธิเฟื่องฟูด้วยศรัทธา
องค์สมเด็จพระสัมมาอยู่เหนือหัว
องค์พุทธานุสสติพาพ้นกลัว
คลายสงสัยไม่เมามัวในตัวตน
ด้วยแรงมรรคที่เปี่ยมล้นค้นปีติ
นําจิตรออกอยู่รํ่าไปไม่สับสน
ได้รู้เห็นรู้โทษภัยในวังวน
ต้องอดทนในแรงกรรมที่ดําเนิน
ไม่เวียนว่ายตายเกิดต้องฝ่่าฟัน
ฝึกทุกวันกรรมฐานไม่หยุดเฉย
พระอาจารย์ได้บอกกล่าวอย่าละเลย
ได้คืบไว้ไม่นิ่งเฉยเมยไม่มอง
มัชฌฺิมา-แบบลําดับชื่อกรรมฐาน
องค์สมเด็จพระสัมมาพระราหุล
ทั้งครูบาอาจารย์ช่วยคํ้าจุน
ได้พยุงอยู่ตลอดเป็นยอดครู
นําคําสอนเป็นสัมมาหยิบมาให้
-มีอุบายอยู่ในองค์พระกรรมฐาน
-ไม่ต้องคิดไม่ต้องเห็นตามอาจารย์
-วิธีนั้นเหมือนมีชัยไปครึ่งทาง
-สิ่งที่ทําแล้วต้องถึงแล้วต้องได้
-อย่าได้ใช้ปีติใดพาให้หลง
-ปีตินั้นมันมีตัวให้หลงตน
-ทรนงก็ปรามาสครูอาจารย์
-ตามืดดับกรรมฐานก็ไม่เติบ-ใช้วิธีใดก็ไม่หมดความร้อนซ่าน
-ยังเหลือจิตรเป็นสิ่งผูกทุกทรมาน
-แต่สําหรับเรานั้น
-แสนภาคภูมิใจ-ที่ได้มีครู(จบ)

บันทึกการเข้า
ศรัทธา ปัญญา ขันติ ความเพียร คุณสมบัติผู้ภาวนา
ขอเป็นกัลยาณมิตร กับทุกท่าน ที่เป็นกัลยาณมิตร