ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ขณะที่จิตสงบ นิ่งเงียบอยู่ ขณะนั้น จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็น สมาธิ หรือ ว่าตกภวังค์  (อ่าน 7033 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

เสกสรรค์

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 419
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ขณะที่จิตสงบ นิ่งเงียบอยู่ ขณะนั้น จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็น สมาธิ หรือ ว่าตกภวังค์ครับ

  จิตเข้าไปนิ่งเงียบ อยู่ สงบ อย่างนั้น ไม่มีบริกรรม ใดๆ ทั้งสิ้น ไม่มีการปรุงแต่ง เพียงแต่หยุดอยู่นิ่ง ๆ อย่างนั้น เสียงได้ยิน ความรู้สึกรอบด้านยังปรากฏอยู่ แต่มันนิ่งอยู่อย่างนั้น ครับ


  :67: :67: :67: :c017:

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 13, 2012, 08:46:39 am โดย เสกสรรค์ »
บันทึกการเข้า

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ในแบบที่ผมปฏิบัติมา อาจจะไม่ถูกตามที่ครูบาอาจารย์ท่านสอน แต่ที่ผมรับรู้มาได้คือ

ตัวรู้ ที่รู้สภาวะนั้นอยู่ ความว่างไม่ได้ตัดความคิด รับรู้ และ สติ เมื่อรู้ว่าว่าง ใช้ตัวรู้มองดูสภาพว่างนั้น ดูความเป็นไปของมัน // อย่างที่ผมเป็นมันจะเหมือนมีจิตตัวรู้ รู้สภาพที่เกิดขึ้นนั้นของเรา แล้วจะมีตัวแลจากมุมบนแลดูจิตในจิตอีกที เมื่อไม่ติดในความว่างจิตที่มีกำลังจดจ่อแล้วก็จะเริ่มเห็นความเป็นไปของจิต สภาพอย่างนี้คือสมาธิอยู่ และ สืบต่อไปวิปัสนาต่อไป

ถ้าตกภวังค์จะไม่มีตัวรู้เกิดขึ้น

แต่อย่างไรก็ตามให้คุณรอฟังคำตอบที่ถูกต้องจากพระคุณเจ้าธัมวังโสและผู้รู้ท่านอื่นโดยตรงจะดีกว่าครับ ในส่วนกระทู้ตอบของผมเป็นเพียงประสบการณ์ที่ปฏิบัติมาเท่านั้นครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 13, 2012, 08:58:18 am โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

ภวังคจิต คือ อะไร
คำบรรยายของ อาจารย์ สุจินต์ บริหารวนเขตต์
ที่มา  http://www.dhammahome.com/front/audio/show.php?id=4720

  เพราะฉะนั้นเวลาที่เรากำลังนอนหลับสนิท ยังไม่ตาย จิตก็เกิดดับสืบต่อดำรงภพชาติ ทำภวังคกิจ
  ที่เราใช้คำว่า ภวังค์ ภวังค์  อย่างบางคนง่วง  เราบอกว่า กำลังจะเข้าภวังค์ หรือกำลังเป็นภวังค์ 
  แต่ให้ทราบว่า ความหมายจริงๆ ก็คือว่า
   
      "ขณะที่เป็นภวังค์ จิตจะไม่รู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจไม่คิดนึก ไม่ฝัน"
      เพราะฉะนั้นเป็นช่วงขณะที่กำลังหลับสนิท  ขณะนั้นเป็นจิตซึ่งไม่ใช่วิถีจิต เพราะเหตุว่าไม่ได้อาศัยตา หู จมูกลิ้น กาย ใจ ไม่คิด ไม่รับรู้อารมณ์ใดๆทั้งสิ้น




    สัมมาสมาธิ คือ ฌาน ๑ ๒ ๓ และ ๔ องค์ธรรมของฌาน ประกอบด้วย
          - วิตก (ความตรึก)
          - วิจาร (ตรอง)
          - ปีติ (ความอิ่มใจ)
          - สุข (ความสบายใจ)
          - เอกัคคตา (ความมีอารมณ์เป็นหนึ่ง)


     สมาธิ ๓ คือ
           ๑. ขณิกสมาธิ
           ๒. อุปจารสมาธิ
           ๓. อัปปนาสมาธิ

    สมาธิในสัมมาสมาธิ คือ อัปปนาสมาธิ
         
    ฌาน ๔ คือ
           ๑. ปฐมฌาน มีองค์ ๕ (วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา)
           ๒. ทุติยฌาน มีองค์ ๓ (ปีติ สุข เอกัคคตา)
           ๓. ตติยฌาน มีองค์ ๒ (สุข เอกัคคตา)
           ๔. จตุตถฌาน มีองค์ ๒ (อุเบกขา เอกัคคตา)


    หากเอาสัมมาสมาธิเป็นตัวชี้วัดว่า เรามีสมาธิหรือไม่ ก็ขอให้ดูที่องค์ฌาน
    องค์ฌานจะบอกว่า คุณอยู่ที่ฌานไหน(๑ ๒ ๓ หรือ ๔)


    แต่ถ้าจะกล่าวถึง อุปจารสมาธิ ในกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ห้องพุทธานุสติ ในขั้นของพระลักษณะ
    จะมีการอธิบาย "อาการต่างๆที่เกิดทางกายภาค ในฐานจิตต่างๆ"
    การมีอาการทางกายภาพปรากฏตามฐานจิตต่างๆ เรียกว่า พระลักษณะ นั่นหมายถึง เราอยู่ในสมาธิแล้ว
    ซึ่งอาจเป็น อุปจารสมาธิขั้นหยาบ กลาง และละเอียด

    เรื่องนี้ผมไม่อาจจะกล่าวได้มากกว่านี้ ฐานะผมในตอนนี้ยังไม่ใช่ผู้สืบทอดกรรมฐาน
    ขอให้ไปถามอีกห้องหนึ่ง จะดีกว่า คงเข้าใจนะครับ




    สุดท้ายขอกล่าว ถึง อทุกขมสุข

    อทุกขมสุข คือ (ความรู้สึก)ไม่ทุกข์ไม่สุข, ความรู้สึกเฉยๆ (ข้อ ๓ ในเวทนา ๓)
       บางทีเรียก อุเบกขา (คือ อุเบกขาเวทนา)


    เวทนา ความเสวยอารมณ์, ความรู้สึก, ความรู้สึกสุขทุกข์ มี ๓ อย่าง คือ
           ๑. สุขเวทนา ความรู้สึกสุขสบาย
           ๒. ทุกขเวทนา ความรู้สึกไม่สบาย
           ๓. อทุกขมสุขเวทนา ความรู้สึกไม่สุข ไม่ทุกข์ คือ เฉยๆ เรียกอีกอย่างว่า อุเบกขาเวทนา;

       อีกหมวดหนึ่งจัดเป็น เวทนา ๕ คือ
           ๑. สุข สบายกาย
           ๒. ทุกข์ ไม่สบายกาย
           ๓. โสมนัส สบายใจ
           ๔. โทมนัส ไม่สบายใจ
           ๕. อุเบกขา เฉยๆ;

       ในภาษาไทย ใช้หมายความว่าเจ็บปวดบ้าง สงสารบ้าง ก็มี


      บางทีอาการนิ่งๆ ของคุณเสกสรรค์ อาจเป็น "อทุกขมสุข" ก็ได้ อาการนี้เอาไว้พักผ่อนอย่างเดียว
      หากหมายเอา"มรรคผลนิพพาน" อาการนี้ไม่ประกอบดัวยประโยชน์อันใด
      ผมคาดว่า คุณเสกสรรค์อาจมีคำถามต่อเนื่อง ขอให้ไปถามอีกห้องหนึ่ง
      ขอคุยเท่านี้ครับ

       :25:
   
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

นินนินนิน

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 65
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
แล้วกิเลสลดลงอย่างไรบ้างครับ ลองไต่ตรองกับ สังโยชน์ 3 ประการเบื้องต้นดูนะครับ ว่า เป็นอย่างไร
 
 ถ้าดี แล้ว ละได้ ก็ถูกทางครับ แต่ถ้ารู้สึกแค่รู้แต่ไม่ละ ยังไช้ไม่ได้ครับ

  :25: :smiley_confused1:
บันทึกการเข้า

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
สาธุท่าน nathaponson ขอบคุณกับกระทู้ที่ตอบปัญหาเป็นประโยชน์อย่างสูงครับ
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

แพนด้า

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 248
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ว่าโดย หลักการ เมื่อจิตสงบนิ่ง ก็เป็นสมาธิ แล้ว อย่างน้อยก็ ขณิกะสมาธิ ขึ้นไป
ผมว่าตอนนี้ ลองนำจิต เข้าวิปัสสนา ดูสิครับ

   ส่วนนำจิตเข้าวิปัสสนา ตามที่ครูอาจารย์ ท่านสอนท่านให้ยก ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่มีตัวตน ขึ้นพิจารณานะครับ
 
    :s_hi: :49:
บันทึกการเข้า

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ก็ถ้าหากนิมิตทั้งสามไม่หาย นั้นก็เป็นสมาธิ แล้วนะแหละ

ที่ว่าตกภวังค์นั้นเข้าข่ายหลังนะแหละ  ที่จำได้ที่ศึกษามา ก็ไม่มีตำราไหนให้เราเขาภวังค์เลย  มีแต่พวกเรานี้แหละที่พูดกันเอง  เอามาใช้กันเอง หรือใครจะหาหลักฐานอ้างอิงมาได้ ก็จะเป็นการดี

ที่เราเอามากันเองก็น่าจะเกิดจากที่เวลา ที่เรารู้สึกว่าเราเข้าภวังค์แล้ว รู้สึกดีสบาย (มันก็คือพักผ่อน หลับนะแหละ ก็สบายดิ)

ส่วนที่ว่าเป็นสมาธิตอนไหน ก็แน่นอน ถูกภวังค์ ถีนะมิทะเข้าครอบงำ ซึ่ง เป็นหนึ่งนิวรณ์ ในนิวรณ์ ๕ (เครื่องสกัดกั้นธรรม) ก็แน่นอนว่า ตอนนั้น  ไม่มีสมาธิแน่นอน ก็ชัดเจน นิมิตทั้งสามหาย แถมถูกนิวรณ์ธรรมเข้าครอบงำอีกตามสูตรเลย

แล้วส่วนที่ว่า อยู่นิ่งๆเฉย ก็ชัดเจนตรงที่ว่านิมิตทั้งสามหาย เป็นการปฏิบัติภาระกิจไม่ถูกต้อง

จิตคุณไม่ได้ออกกำลัง ไม่ได้ฝึกฝนจิต  แล้วจะได้อะไร

แนะนำให้ อ่านกระทู้แรกๆ ที่บอรด์ ถามตอบทุกเรื่องที่เกี่ยวกับกรรมฐานนะจ๊ะ
อันนี้เป็นตัวอย่างยกมาให้อ่าน :

ทำไม ผู้ฝึกกับพระอาจารย์ ไม่มีภวังคจิต ขอตอบส่วนนี้ เนื่องด้วย

   พระพุทธานุสสติเป็น โลกุตรสมาธิ ให้ผลสำเร็จคือ พระโสดาบัน ฝึกได้แล้วไม่เสื่อมดังนั้นผู้ฝึก

ถ้ามีจิตตั้งมั่น ในองค์บริกรรม จิตจักตกเข้าไปสู่ ภวังคจิต อันประกอบด้วยกิเลสเพราะจิตผุดผ่อง

ด้วยองค์ธรรมคือสมาธิ มีผู้ฝึกกับพระอาจารย์ นั่งกรรมฐานได้ไม่ต่ำกว่า 8 ชั่วโมงติดต่อ ไม่มีเรื่อง ภวังคจิต

ตกหลุมอากาศอย่างที่เขาว่า แต่จิตก็เป็นสมาธิ ไม่หลุดจากองค์บริกรรม ในพระพุทธานุสสตินั้น เป็นอุปจาระ

สมาธิ ดังนั้นองค์บริกรรมต้องมีอยู่ จนกว่าจะถึง ทุติยฌาน จึงจะหยุดบริกรรม ดังนั้นความผ่องใสด้วยองค์

สมาธิใน พระพุทธานุสสติ มีวิปัสสนาอยู่ในองค์กรรมฐาน เพราะถ้าไม่มีก็เป็นพระโสดาบันไม่ได้ ผู้ฝึกจักตั้งมั่น

ด้วยผลสมาบัติ เป็นสมาธิที่มีวิปัสสนา เป็น ตัตรมัฌชัตุเบกขา


  ดังนั้น ไม่มี ภวังค์ ก็พัฒนาจิตเป็น ฌาน ได้ ผู้ที่ฝึกเป็นตก ภวังค์ มีมาก

  ตก ภวังค์ มาก ๆ นั้นเป็นเพราะขาดบริกรรม ผู้ปล่อยจิตตกภวังค์ ไม่มีทางเป็นสมาธิได้ เป็นได้แต่หลับ

  เมื่อจิตฉลาดขึ้น ก็จะเลิกตกภวังค์ หันมาบริกรรมมากขึ้น ก็จะเป็นสมาธิ ได้



อ่านแบบเต็มๆได้ที่ : เกี่ยวกับ เรื่อง ของ ภวังค์ คร้า...  http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=1719.0

นี้ก็อีกอัน : http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=2580.0
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 15, 2012, 01:45:18 pm โดย Mr. งังจัง »
บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
หรือ ในอีกกระทู้หนึ่ง : ภาวนากรรมฐาน แล้ว มีอาการกึ่งหลับ กึ่งตื่น

คุณรักหนอ ถามว่า : คือมีความรู้สึกว่าพอภาวนาไป เหมือนหลับ แต่ก็ได้ยินเสียง รอบข้างอย่างชัดเจนมาก ๆ คะ

                       อันนี้เป็นสมาธิ หรือ ภวังคจิต คะ ควรแก้ไขอย่างไรคะ

ผู้ดูแลบอร์ดมหาบัณฑิตพุทธบริษัท ตอบว่า :

                     : เป็นได้ทั้งสองอย่าง คือ เป็นได้ทั้ง ภวังคจิต และ อัปปนาจิต การรู้สึกอยู่นั้น

                       หมายความยังมีสติ แต่ไม่ได้

                       หมายความว่า มีสมาธิ เพราะจิตไม่ตั่้งมั่นในองค์นิมิต จึังทำให้เกิดอาการเคลิ้มหลับ
         
                       ตกข้างฝ่ายนิวรณ์ คือหลับ

                       ผู้ฝึกสมาธิ ส่วนใหญ่ ก็จะหลับแบบนี้ คือนิ่งเหมือนหลับ ( ก็คือหลับ)
                 
                       แต่หูได้ยิน เพราะสามารถแห่ง

                       สมาธิมีเพิ่มขึ้นมาสนับสนุน จิต


http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=1812.0

http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=4017.0
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 15, 2012, 02:01:03 pm โดย Mr. งังจัง »
บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ว่าด้วยจิตที่ไม่ควรแก่การใช้งาน เพราะปราศจากสมาธิ

http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=5054.0

พระสุตตัตนตปิฎก  อังคุตตรนิกาย  เอกกนิบาต  ๓.  อกัมมนิยวรรค
 
               ๓. อกัมมนิยวรรค
            หมวดว่าด้วยจิตที่ไม่ควรแก่การใช้งาน

            [๒๑]    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า    ภิกษุทั้งหลาย    เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่ไม่ได้เจริญแล้วย่อมไม่ควรแก่การใช้งานเหมือนจิตนี้    จิตที่ไม่ได้เจริญแล้วย่อมไม่
ควรแก่การใช้งาน    (๑)

            [๒๒]    เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ได้เจริญแล้วย่อมควรแก่การใช้งานเหมือน
จิตนี้    จิตที่ได้เจริญแล้วย่อมควรแก่การใช้งาน    (๒)

            [๒๓]    เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ไม่ได้เจริญแล้วย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่
ประโยชน์มากเหมือนจิตนี้    จิตที่ไม่ได้เจริญแล้วย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มาก    (๓)

            [๒๔]    เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ได้เจริญแล้วย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์
มากเหมือนจิตนี้    จิตที่ได้เจริญแล้วย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก    (๔)

            [๒๕]    เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ไม่ได้เจริญไม่ปรากฏชัดแล้วย่อมเป็น
ไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มากเหมือนจิตนี้    จิตที่ไม่ได้เจริญไม่ปรากฏชัดแล้วย่อมเป็นไป
เพื่อมิใช่ประโยชน์มาก    (๕)

            [๒๖]    เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ได้เจริญปรากฏชัดแล้วย่อมเป็นไปเพื่อ
ประโยชน์มากเหมือนจินี้    จิตที่ได้เจริญปรากฏชัดแล้วย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก    (๖)

            [๒๗]    เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ไม่ได้เจริญไม่ทำให้มากแล้ว๑    ย่อมเป็น
ไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มากเหมือนจิตนี้    จิตที่ไม่ได้เจริญไม่ได้ทำให้มากแล้วย่อมเป็น
ไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มาก    (๗)

            [๒๘]    เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไป
เพื่อประโยชน์มากเหมือนจิตนี้    จิตที่ได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์
มาก    (๘)

            [๒๙]    เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ไม่ได้เจริญไม่ทำให้มากแล้วย่อมนำ
ทุกข์มาให้เหมือนจิตนี้    จิตที่ไม่ได้เจริญไม่ได้ทำให้มากแล้วย่อมนำทุกข์มาให้    (๙)
            [๓๐]    เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมนำสุขมา
ให้เหมือนจิตนี้    จิตที่ได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมนำสุขมาให้    (๑๐)

               อกัมมนิยวรรคที่ ๓ จบ
บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
อาโลกสัญญา นั้นเป็น ธรรมฝ่ายตรงข้าม กับ ถีนมิทธะ เรียนถามว่า อาโลกสัญญา มีวิธีแนวปฏิบัติอย่างไร

http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=1278.0

(ตัวอย่าง)

เป็นคำถามที่ดีมาก ๆ สำหรับผู้ภาวนาที่ยังไม่ได้ อุปจาระฌาน ขึ้นไป

สิ่งที่เป็นศัตรูร้าย ในองค์กรรมฐาน ตัวหนึ่งก็คือ ความง่วง

   เราอยากภาวนา แต่ มันง่วง จะทำอย่างไร ?

   พอภาวนาไป ก็นั่งหลับเหมือนตกภวังค์ มารู้อีกทีกว่าหลับแล้ว ก็ตอนตื่น ?

ในองค์กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ นั้น ก็คือ กำหนด นิมิต ไม่ครบ 3 อย่าง

   คือ 1.ปัคคาหะ นิมิต การกำหนดฐานจิต

       2.บริกรรมนิมิต การกำหนดองค์ภาวนา

       3.อุเบกขานิมิต คือการกำหนดจิตให้วางต่อนามธรรม

 อันนี้เป็นไปในองค์ ภาวนาของพระพุทธานุสสติ ศิษย์กรรมฐานจักมีความเข้าใจ
บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ปฏิบัติกรรมฐาน ไม่กำหนด พุทโธ ปล่อยให้จิต นิ่ง ๆ อยู่อย่างนั้นได้หรือไม่

http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=6018.0

ผมปฏิบัติกรรมฐาน แต่ไม่กำหนด พุทโธ เพียงแต่ปล่อยให้จิต นิ่ง ๆ ด้วยการเพ่งดูอยู่อย่างนั้น จัดเป็นการฝึกสมาธิ หรือไม่ ครับ หรือควรปรับปรุงอย่างไร โปรดชี้แนะด้วยครับ"

วิสัชชนา
       การปฏิบัติสมาธิ ถามว่า ไม่กำหนด พุทโธ ได้หรือไม่ ? ก็ตอบว่าได้ นะจ๊ะ เพราะการฝึกจิตให้เป็น สมาธิ นั้นมีตั้งหลายแบบ แต่ถ้าจะให้ตอบว่าแล้ว แต่ละแบบนั้น จะรู้ได้อย่างไร ว่าฝึกแล้วเป็นองค์แห่งสมาธิ

       รู้ได้ดังนี้ เมื่อเราฝึกสมาธิ ไม่ว่าจะเป็นสมาธิ ค่ายไหน ศาสนาไหน ถ้าฝึกแล้ว มีองค์ 5 ประการครบถ้วน ก็ชื่อว่า  ฝึกสมาธิ องค์ 5 มีอย่างไร ?

       องค์ 5 ของสมาธิ มีดังนี้
      1.  องค์แห่ง วิตก  หมายถึง การที่เรายกอารมณ์ให้จิต มีที่กำหนดเช่น การกำหนด บริกรรม ที่ตั้งฐานจิต ต่าง ๆ นั้นเรียกว่า วิตก ในกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ มี 3 ประการ คือ ปัคคาหะนิมิต 1 บริกรรมนิมิต 1 อุเบกขานิมิต 1 ทั้ง 3 ประการนี้เรียกว่า วิตก

      2. องค์แห่ง วิจาร หมายถึง ความชำนาญในนิมิตทั้ง 3 วิธีการสัมปยุต ใน วิตก จัดเป็น ผลสมาธิ เบื้องต้นในที่นี้ หมายถึง นิมิตทั้ง3สำหรับบุคคลที่เริ่มฝึก อุคคหนิมิต และ ปฏิภาคนิมิต

      3. องค์แห่ง ปีติ หมายถึง ความพอใจ อิ่มใจ ร่าเริงใจ บันเทิงใจ ในองค์แห่งนิมิต เป็นผลแห่งสมาธิ ระดับกลาง

      4.องค์แห่ง สุข หมายถึง สุขทิพย์ อันเนื่องด้วยสมาธิ เป็นสุขที่ปราศจากกิเลสเบื้องต้น คือระงับจากนิวรณ์ ทั้ง 5 ประการ มี กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจะกุกุกจะ วิจิกิจฉา เข้าสู่สมาธิระดับกลางขั้นประณีต เป็นอุปปจาระสมาธิ เต็มขั้น มีอุคคหนิมิตเป็นอารมณ์ ขั้นต่ำ

      5.องค์แห่ง เอกัคคตา หมายถึง จิตพัฒนาเป็นสมาธิขั้นสูง เป็นอัปปนาสมาธิ มีปฏิภาคนิมิตเป็นอารมณ์

    ผู้ที่ฝึกสมาธิ ย่อมเข้าองค์แห่งสมาธิ ตามลำดับที่กล่าวมา เมื่อเข้าสู่วิถึแห่งองค์สมาธิตามนั้น ก็ชื่อว่าฝึกสมาธิ

     ส่วนวิธีการ ปล่อยจิตให้นิ่ง สำหรับอาตมามีความเห็นว่า ยังอยู่ในขั้นปล่อยวางจิต อยู่ยังไม่เรียกว่าสมาธิ นะจ๊ะ
บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม