ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: "มนุษย์กล้อง-นักถ่ายประจาน"... ระวังติดคุกไม่รู้ตัว  (อ่าน 2194 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


"มนุษย์กล้อง-นักถ่ายประจาน"... ระวังติดคุกไม่รู้ตัว
โดย...จักรวาล ส่าเหล่าทู

การถ่ายรูปและการแชร์ของ *“มนุษย์กล้อง”* หลายครั้งสะท้อนภาพที่น่าอยู่ของสังคม เช่น การนำเสนอภาพของพลเมืองดีช่วยเหลือผู้คน หรือเหตุการณ์ที่ดี-น่าชื่นใจในบ้านเมือง แต่ก็มีหลากหลายครั้งที่การถ่ายภาพ-แชร์ภาพ ไปกระทบต่อสิทธิของบุคคลอื่น รวมถึงสร้างความเสียหายอย่างรุนแรงให้บุคคลนั้นๆ

ผลกระทบที่รุนแรงจากพฤติกรรมดังกล่าว บางครั้งก็ทำให้บุคคลที่ถูกถ่ายภาพแทบไม่เหลือที่ยืนในสังคมอย่างกรณีที่การแชร์เรื่องผู้ชายกับรองเท้ามีรู แรกเริ่มว่ากันว่าชายคนนี้ซ่อนกล้องแอบถ่ายในรองเท้ากระทั่งคนในสังคมออนไลน์พากันต่อว่าด่าทอด้วยถ้อยคำที่หยาบคาย ทั้งที่ในความเป็นจริงกลับตรงกันข้ามโดยสิ้นเชิง

 :96: :96: :96: :96:

กรณีล่าสุดมีการแชร์ภาพคู่รักข้ามชาติเพศที่สาม จนเกิดกระแสวิจารณ์อย่างรุนแรง หนักไปถึงขั้นเหยียดชาติพันธุ์ ย่ำศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ บางคนร้ายถึงขั้นเทียบเคียงบุคคลในภาพโดยเปรียบเปรยกับสัตว์ แน่นอนว่าความเสียหายเกิดขึ้นกับบุคคลในภาพอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

คำถามคือ ... บุคคลในภาพเหล่านั้นมีความผิดอะไร ?
ที่น่าสนใจไปกว่านั้นคือ พฤติกรรม “มนุษย์กล้อง” กำลังสร้างปัญหา ตอกลิ่มความขัดแย้ง-ความกลียดชัง ในสังคมและในพื้นที่สาธารณะใช่หรือไม่

 ask1 ans1 ask1 ask1 ans1

“กล้อง” คืออำนาจที่มีอยู่ในมือ

“พฤติกรรมดังกล่าวเป็นเรื่องของมารยาททางสังคม การถ่ายภาพคู่รักเพศที่สามในกรณีล่าสุดถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่ควร ไม่ว่าเขาเหล่านั้นจะอยู่ที่ไหนหรือทำอะไร บุคคลที่สามก็ไม่มีสิทธิถ่ายรูปคนอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต” ธาม เชื้อสถาปนศิริ นักวิชาการสถาบันวิชาการสื่อสาธารณะ (สวส.) ระบุ

นั่นเพราะ พฤติกรรมเช่นนี้เข้าข่ายละเมิดสิทธิส่วนบุคคลอย่างชัดเจน

สำหรับสาเหตุของพฤติกรรม “มนุษย์กล้อง” เนื่องมาจากคนในสังคมกำลังเห่อกับเทคโนโลยีและรู้สึกว่ามีอำนาจในมือ สามารถถ่ายเพื่อนำมาประจาน-แฉ หรือทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในสังคมออนไลน์อย่างไรก็ได้ ที่สำคัญคือบุคคลที่ถูกถ่ายไม่ได้รับความคุ้มครองแต่อย่างใด

อีกหนึ่งสาเหตุก็คือ คนไทยยังคงมีความเข้าใจผิดหรือไม่เข้าใจแนวคิดในเรื่องของพื้นที่สาธารณะกับพื้นที่ส่วนตัว


 :s_hi: :s_hi: :s_hi: :s_hi:

ธาม ยกตัวอย่างสิ่งที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกาและประเทศแถบยุโรปว่า การถ่ายรูปผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตถือเป็นเรื่องที่ทำไม่ได้ แม้ว่าจะไม่มีเจตนาด้านลบ เช่น การถ่ายรูปเด็กน่ารัก และถ้าหากเจ้าตัวรู้ว่ากำลังถูกแอบถ่าย เขาสามารถขอร้องเจ้าของกล้องให้ลบรูปของตนเองในกล้องนั้นได้ทันที

นั่นเพราะ บ้านเมืองเขามีการบังคับใช้กฎหมายในเรื่องของการโพสรูปที่เกี่ยวข้องกับบุคคล และมีการปกป้องสิทธิส่วนบุคคลอย่างเข้มข้น ซึ่งในไทยเองยังไม่ได้มีกฎหมายนี้เป็นเรื่องเป็นราว

“การคนไทยส่วนใหญ่คิดว่ากล้องเป็นของตัวเองแล้วสามารถถ่ายอะไรก็ได้นั้น จริงๆ แล้วเป็นเรื่องที่ผิดมาก เพราะเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล และถ้าหากโพสต์ลงในโลกออนไลน์ก็เป็นความผิดละเมิดซ้ำอีกครั้ง และถ้ามีข้อความเชิงดูถูกศักดิ์ศรี ทำให้เสียหาย หรือเหยียดชาติพันธุ์ ผู้โพสต์ก็เข้าข่ายความผิดหมิ่นประมาทได้เช่นกัน” นักวิชาการรายนี้ระบุ



ประณาม “พฤติกรรม” อย่าประณาม “ตัวบุคคล”

สำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหาเบื้องต้น ต้องเริ่มจาก “เพจ” ที่สนับสนุนมนุษย์กล้องก่อน ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น อยากจะนำเสนอเรื่องราวของคู่รักที่มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมพลอดรักกันในที่สาธารณะ คุณอาจจะถ่ายรูปและนำเสนอได้ แต่ต้องทำภาพเบลออัตลักษณ์ของบุคคลและไม่โพสข้อความเชิงดูหมิ่น หรือเป็นการวิจารณ์แบบเหมารวมประกอบเช่น เกย์ กระเทย คนจน เพราะสิ่งที่คุณกำลังจะสื่อคือการประณามคือพฤติกรรม ไม่ใช่ตัวบุคคล

“ก่อนที่คุณจะยกกล้องถ่ายรูปใครก็ตาม ต้องถามดีๆ ว่าคุณกำลังใช้ใจตัดสินอะไร ตัดสินความผิดของเขาหรือต้องการวิจารณ์ ซึ่งจริงๆ แล้วคุณอาจจะเก็บภาพไว้เป็นหลักฐาน โดยที่คุณอาจจะไม่รู้ข้อเท็จจริงว่ามีความเป็นมาอย่างไร” อาจารย์ธาม ระบุ


 :91: :91: :91: :91:

ธามบอกว่า มีความเป็นไปได้ที่พฤติกรรมดังกล่าวเกิดขึ้นเพราะการบังคับใช้กฎหมายมีความอ่อนแอแต่คงไม่ใช่เรื่องกฎหมายเพียงอย่างเดียว เพราะเป็นเรื่องของค่านิยมและจิตสำนึกด้วย

“ถึงแม้ว่าจะมีการบังคับใช้กฎหมายควบคุมเรื่องนี้อย่างจริงจัง พฤติกรรมเหล่านี้ก็ยังคงอยู่ เพียงแต่การแชร์ภาพถ่ายอาจะถูกจำกัดวงแคบลง ถูกส่งผ่านช่องแชทส่วนตัว ซึ่งก็ยังก่อความเสียหายให้บุคคลในภาพอยู่ดี”

สอดคล้องกับ *อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล* ผู้ประสานงานเครือข่ายพลเมืองเน็ต (Thai Netizen Network) ที่ให้ความเห็นต่อการบังคบใช้กฎหมายที่อ่อนแอว่า การบังคับใช้กฎหมายก็ยังคงจำเป็น แต่ว่าการมีจิตสำนึก ไม่อคติ ไม่ด่วนตัดสิน ไม่ถ่ายภาพโดยไม่ได้รับอนุญาตก็เป็นเรื่องที่สำคัญ

 :03: :03: :03: :03:

"อย่างในกรณีวัยรุ่นไทยกลุ่มหนึ่งเต้นบนรถไฟฟ้าในประเทศญี่ปุ่น แล้วไปถ่ายติดหน้าคนอื่นในขณะที่เขากำลังแสดงสีหน้าไม่พอใจ เรื่องนี้ก็เป็นที่วิจารณ์กันมาก เพราะว่าวัฒนธรรมของญี่ปุ่นมองว่าการถ่ายภาพบุคคลอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นเรื่องที่ผิด แต่ในไทยเองกลับไม่ได้คิดเช่นนั้น กลับมองว่าไม่ผิดและไม่ใช่เรื่องคอขาดบาดตายแต่อย่างใด ความแตกต่างทางวัฒนธรรมจึงอาจจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้มีโอกาสละเมิดสิทธิส่วนบุคคลสูง ดังนั้นวิธีการแก้ไขปัญหานี้จะต้องมีการเปลี่ยนวิธีคิดของคนในสังคม

บางคนอาจจะคิดว่าเรื่องการเคารพสิทธิส่วนบุคคลเป็นค่านิยมเมืองนอก แต่หากจะคิดแบบไทยๆ แล้ว ก็อยากให้คิดแบบใจเขาใจเรา ที่ต้องการให้ผู้ถ่ายภาพคิดไตร่ตรองว่าถ้ามีคนทำแบบนี้กับเรา เราจะรู้สึกอย่างไร วิธีการคิดแบบนี้จะส่งผลดีต่อการอยู่ร่วมกันในสังคมแบบส่วนรวม และวิธีคิดดังกล่าวไม่เพียงแต่ใช้กับกรณีมนุษย์กล้องเท่านั้น แต่ยังใช้ได้กับกรณีอื่นๆ อีกด้วย"


 ask1 ans1 ask1 ans1 ask1 ans1

ถ่ายเพลิน-โพสต์เพลิน คุก 5 ปี ปรับ 1 แสน

เจษฎ์ โทณวณิก คณบดีคณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ วิพากษ์ว่า ประเทศไทยยังไม่มีความชัดเจนเรื่องการเอาผิดกรณีการแอบถ่ายภาพ หรือว่านำเอาภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตไปลงเผยแพร่ในโลกออนไลน์ แต่ในมุมของกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้มีการกำหนดไว้ว่าการเอาชื่อบุคคล หรือสิ่งที่เกี่ยวข้องกับบุคคลไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตถือว่าเป็นสิ่งที่ทำไม่ได้

ส่วนในเรื่องความผิดทางแพ่งได้กำหนดว่า หากมีการจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำให้ผู้อื่นเสียหายถึงชื่อเสียหรือเกียรติยศร่างกายทรัพย์สิน ถือว่าเป็นความผิดซึ่งระบุไว้ใน มาตรา 240 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เพราะฉะนั้นการเอารูปของบุคคลมาลงก็เข้าข่ายความผิด เพราะทำให้คนในภาพเกิดความเสียหาย โดยผู้กระทำจะต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้ผู้เสียหายเป็นการชดเชย


 :49: :49: :49: :49:

นอกจากนี้ หากว่าตามประมวลกฎหมายอาญาว่าด้วยความผิดฐานหมิ่นประมาทตาม มาตรา 326 ที่ระบุถึงการทำให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นถูกกระทำ มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท  และมาตรา 328 ที่ว่าด้วยความผิดหมิ่นประมาทด้วยการเผยแพร่ภาพถ่าย มีโทษจำคุกไม่เกิน2 ปี ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท โดยโทษทั้งสองมาตราอาจจะมีกรณีทั้งจำทั้งปรับก็ได้

อย่างไรก็ดี การเอาผิดทางอาญาต้องมีการแจ้งความ ซึ่งผู้เสียหายจะต้องมีการระบุผู้กระทำผิดอย่างชัดเจน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดต่อไป โดยส่วนใหญ่แล้วผู้ที่โดนแจ้งข้อกล่าวหาจะเป็นผู้ดูแลเพจหรือเว็บไซต์ที่นำเสนอเรื่องดังกล่าว

 :29: :29: :29: :29:

นอกจากนี้ การกระทำดังกล่าวก็อาจจะเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ในมาตรา 14 ที่ระบุความผิดในฐานเผยแพร่ข้อมูลเท็จสร้างความเสียหายให้กับประชาชน รวมทั้งการเผยแพร่ข้อมูลเท็จนั้นด้วย โดยมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

“เมื่อดูในกฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ.2557 ในมาตราที่ 4 ได้ให้ความคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิเสรีภาพ และความเป็นส่วนตัว เพราะฉะนั้นการที่คู่รักจะนั่งจับมือถือแขนกับใครย่อมทำได้ ถ้าหากว่ามันไม่ได้เป็นการอนาจาร หรือถ้าหากมีการอนาจารจริง คุณก็ไม่สามารถตัดสินเขาได้ ต้องไปแจ้งความกับตำรรวจว่ามีการทำอนาจาร เพราะไม่ว่าคุณทำด้วยเจตนาอะไร ก็ไปละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของเขาแน่นอน” นักวิชาการด้านกฎหมายสรุปความไว้ชัด


ขอบคุณภาพและบทความจาก
www.posttoday.com/วิเคราะห์/รายงานพิเศษ/360016/มนุษย์กล้อง-นักถ่ายประจาน-ระวังติดคุกไม่รู้ตัว
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

painting

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 72
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
นักวิจารณ์ ต่างหาก ที่ควรรับโทษ
 การแสดงความเห็น ในโลก เสรี ประชาธิปไตย บางครั้งก็นำมาซึ่งความ เกลียดชัง

   ลุงคนหนึ่ง แกไม่ได้ทำงาน อยู่ที่บ้าน เพราะมีสมบัติพ่อแม่ เหลือกินเหลือใช้ อยู่มาวันหนึ่งมีคนไปสัมภาษณ์ ลุงคนนี้ ลุงคนนี้ชาวสังคม ติชม กันอย่างมากมาย แต่ คำติ มากกว่า คำชม นะ ถามว่าลุงสบายใจไหม เมื่อมีคนไปถามลุง ท่านนี้  ท่านตอบว่า เราไม่น่าเปิดโอกาสให้มาสัมภาษณ์ ชีวิตอยู่สุขสงบ สบาย ไม่มีคำอะไรมากวนใจ ร่วม 70ปี พอให้สัมภาษณ์ ออกไปผลปรากฏว่า มีคำที่ทำให้เกิดความไม่สบายใจ เป็นอย่างมาก บางคนขุดเรื่องตระกูล มาด่ามาว่า อีกมากมาย ทั้ง ๆที่มันไม่ได้เป็นอย่างที่เขาเข้าใจ แต่การที่จะต้องไปตอบแก้คำกล่าวหา มันเป็นเรื่องที่ไร้สาระ จริง ๆ

   :bedtime2: :bedtime2: :bedtime2:
บันทึกการเข้า