ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: [ชมภาพ] งานหล่อ "ปู่ฤาษีปัญจะโภคทรัพย์" ณ โรงหล่อพระช่างผา ไทรน้อย นนทบุรี (๒)  (อ่าน 3237 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28456
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0









งานหล่อ "ปู่ฤาษีปัญจะโภคทรัพย์" เมื่อวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
ณ โรงหล่อพระช่างผา อ.ไทรน้อย จ.นนทบุรี
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28456
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28456
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28456
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28456
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28456
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



พระสูตรว่าด้วยโภคทรัพย์ ๕ ประการ

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
มุณฑราชวรรคที่ ๕
๑. อาทิยสูตร


     [๔๑] ครั้งนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีว่า ดูกรคฤหบดี ประโยชน์ที่จะพึงถือเอาแต่โภคทรัพย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ


      อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ย่อมใช้จ่ายโภคทรัพย์ที่ตนหามาได้ด้วยความหมั่น ความขยัน สะสมขึ้นด้วยกำลังแขน อาบเหงื่อต่างน้ำ ชอบธรรม ได้มาโดยธรรม เลี้ยงตนให้เป็นสุข ให้อิ่มหนำบริหารตนให้เป็นสุขสำราญ เลี้ยงมารดาบิดาให้เป็นสุข ให้อิ่มหนำ บริหารให้เป็นสุขสำราญ เลี้ยงบุตร ภรรยา ทาสกรรมกร คนใช้ ให้เป็นสุข ให้อิ่มหนำบริหารให้เป็นสุขสำราญ นี้เป็นประโยชน์ที่จะพึงถือเอาแต่โภคทรัพย์ข้อที่ ๑ ฯ

      อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมใช้จ่ายโภคทรัพย์ที่ตนหามาได้ด้วยความหมั่น ความขยัน สะสมขึ้นด้วยกำลังแขน อาบเหงื่อต่างน้ำ ชอบธรรม ได้มาโดยธรรม เลี้ยงมิตรสหายให้เป็นสุข ให้อิ่มหนำ บริหารให้เป็นสุขสำราญ นี้เป็นประโยชน์ที่จะพึงถือเอาแต่โภคทรัพย์ข้อที่ ๒ ฯ



      อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมใช้จ่ายโภคทรัพย์ที่ตนหามาได้ด้วยความหมั่น ความขยัน สะสมขึ้นด้วยกำลังแขน อาบเหงื่อต่างน้ำ ชอบธรรม ได้มาโดยธรรม ป้องกันอันตรายที่เกิดแต่ไฟ น้ำ พระราชา โจร หรือทายาทผู้ไม่เป็นที่รัก ทำตนให้สวัสดี นี้เป็นประโยชน์ที่จะพึงถือเอาแต่โภคทรัพย์ข้อที่ ๓ ฯ

      อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมใช้จ่ายโภคทรัพย์ที่ตนหามาได้ด้วยความหมั่น ความขยัน สะสมขึ้นด้วยกำลังแขน อาบเหงื่อต่างน้ำ ชอบธรรม ได้มาโดยธรรม ทำพลี ๕ อย่าง คือ
             ๑. ญาติพลี [บำรุงญาติ]
             ๒. อติถิพลี [ต้อนรับแขก]
             ๓. ปุพพเปตพลี [บำรุงญาติผู้ตายไปแล้วคือทำบุญอุทิศกุศลให้]
             ๔. ราชพลี [บำรุงราชการ คือบริจาคทรัพย์ช่วยชาติ]
             ๕. เทวตาพลี [บำรุงเทวดา คือทำบุญอุทิศให้เทวดา]
      นี้เป็นประโยชน์ที่จะพึงถือเอาแต่โภคทรัพย์ข้อที่ ๔ ฯ



      อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมใช้จ่ายโภคทรัพย์ที่ตนหามาได้ด้วยความหมั่น ความขยัน สะสมขึ้นด้วยกำลังแขน อาบเหงื่อต่างน้ำ ชอบธรรม ได้มาโดยธรรม บำเพ็ญทักษิณา มีผลสูงเลิศ เกื้อกูลแก่สวรรค์ มีวิบากเป็นสุข ยังอารมณ์เลิศให้เป็นไปด้วยดีในสมณพราหมณ์ ผู้เว้นจากความมัวเมาประมาท ตั้งอยู่ในขันติและโสรัจจะ ผู้มั่นคง ฝึกฝนตนให้สงบระงับดับกิเลสโดยส่วนเดียวนี้เป็นประโยชน์ที่จะพึงถือเอาแต่โภคทรัพย์ข้อที่ ๕ ฯ

      ดูกรคฤหบดี ประโยชน์ที่จะพึงถือเอาแต่โภคทรัพย์ ๕ ประการนี้แล ถ้าเมื่ออริยสาวกนั้นถือเอาประโยชน์แต่โภคทรัพย์ ๕ ประการนี้ โภคทรัพย์หมดสิ้นไปอริยสาวกนั้นย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า เราได้ถือเอาประโยชน์แต่โภคทรัพย์นั้นแล้ว และโภคทรัพย์ของเราก็หมดสิ้นไป ด้วยเหตุนี้ อริยสาวกนั้น ย่อมไม่มีความเดือดร้อน
      ถ้าเมื่ออริยสาวกนั้นถือเอาประโยชน์แต่โภคทรัพย์ ๕ ประการนี้โภคทรัพย์เจริญขึ้น อริยสาวกนั้นย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า เราถือเอาประโยชน์แต่โภคทรัพย์นี้แล้ว และโภคทรัพย์ของเราก็เจริญขึ้น อริยสาวกนั้นย่อมไม่มีความเดือดร้อน อริยสาวกย่อมไม่มีความเดือดร้อนด้วยเหตุทั้ง ๒ ประการ ฉะนี้แล ฯ



      นรชนเมื่อคำนึงถึงเหตุนี้ว่า เราได้ใช้จ่ายโภคทรัพย์เลี้ยงตนแล้ว ได้ใช้จ่ายโภคทรัพย์เลี้ยงคนที่ควรเลี้ยงแล้ว ได้ผ่านพ้นภัยที่เกิดขึ้นแล้ว ได้ให้ทักษิณาอันมีผลสูงเลิศแล้ว ได้ทำพลี ๕ ประการแล้ว และได้บำรุงท่านผู้มีศีล สำรวมอินทรีย์ประพฤติพรหมจรรย์แล้ว บัณฑิตผู้อยู่ครองเรือน พึงปรารถนาโภคทรัพย์ เพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์นั้น เราก็ได้บรรลุแล้ว เราได้ทำสิ่งที่ไม่ต้องเดือดร้อนแล้ว ดังนี้ชื่อว่าเป็นผู้ดำรงอยู่ในธรรมของพระอริยะ บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญเขาในโลกนี้ เมื่อเขาละจากโลกนี้ไปแล้ว ย่อมบันเทิงใจในสวรรค์ ฯ

      จบสูตรที่ ๑


เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ บรรทัดที่ ๑๐๐๑ - ๑๐๕๔. หน้าที่ ๔๔ - ๔๖.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=1001&Z=1054&pagebreak=0             
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=41
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28456
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

โภคาทิยะ 5

โภคอาทิยะ หรือ โภคาทิยะ 5 (ประโยชน์ที่ควรถือเอาจากโภคทรัพย์ หรือ เหตุผลที่อริยสาวกควรยึดถือ ในการที่จะมีหรือครอบครองโภคทรัพย์)
    อริยสาวกแสวงหาโภคทรัพย์มาได้ ด้วยน้ำพักน้ำแรงความขยันหมั่นเพียรของตน และโดยทางสุจริตชอบธรรมแล้ว
       1. เลี้ยงตัว มารดาบิดา บุตรภรรยา และคนในปกครองทั้งหลายให้เป็นสุข
       2. บำรุงมิตรสหายและผู้ร่วมกิจการงานให้เป็นสุข
       3. ใช้ป้องกันภยันตราย
       4. ทำพลี 5 อย่าง
           ก. ญาติพลี สงเคราะห์ญาติ
           ข. อติถิพลี ต้อนรับแขก
           ค. ปุพพเปตพลี ทำบุญอุทิศให้ผู้ล่วงลับ
           ง. ราชพลี บำรุงราชการด้วยการเสียภาษีอากรเป็นต้น
           จ. เทวตาพลี ถวายเทวดา* คือ สักการะบำรุงหรือทำบุญอุทิศสิ่งที่เคารพบูชา ตามความเชื่อถือ
       5. อุปถัมภ์บำรุงสมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ
       เมื่อใช้โภคทรัพย์ทำประโยชน์อย่างนี้แล้ว ถึงโภคะจะหมดสิ้นไป ก็สบายใจได้ว่า ได้ใช้โภคะนั้นให้เป็นประโยชน์ถูกต้องตามเหตุผลแล้ว ถ้าโภคะเพิ่มขึ้นก็สบายใจเช่นเดียวกัน เป็นอันไม่ต้องเดือดร้อนใจในทั้งสองกรณี.
  (อ้างอิง : องฺ.ปญฺจก. 22/41/48.)


    * ในจูฬนิทเทส ท่านอธิบายความหมายของ “เทวดา” ไว้ว่า ได้แก่สิ่งที่นับถือเป็นทักขิไณย์ของตนๆ (เย เยสํ ทกฺขิเณยฺยา, เต เตสํ เทวตา -- พวกไหนนับถือสิ่งใดเป็นทักขิไณย์ สิ่งนั้นก็เป็นเทวดาของพวกนั้น) และแสดงตัวอย่างไว้ตามความเชื่อถือของคนสมัยพุทธกาล ประมวลได้เป็น 5 ประเภท คือ
       1. นักบวช นักพรต เช่น อาชีวกเป็นเทวดาของสาวกอาชีวก นิครณถ์ ชฎิล ปริพาชก ดาบส ก็เป็นเทวดาของสาวกนิครนต์เป็นต้นเหล่านั้นตามลำดับ
       2. สัตว์เลี้ยง  เช่น ช้างเป็นเทวดาของพวกประพฤติพรตบูชาช้าง ม้า โค ไก่ กา เป็นต้น ก็เป็นเทวดาของพวกถือพรตบูชาสัตว์นั้นๆ ตามลำดับ
       3. ธรรมชาติ  เช่น ไฟเป็นเทวดาของพวกประพฤติพรตบูชาไฟ แก้ว มณี ทิศ พระจันทร์ พระอาทิตย์ เป็นเทวดาของผู้ถือพรตบูชาสิ่งนั้นๆ ตามลำดับ
       4. เทพชั้นต่ำ เช่น นาคเป็นเทวดาของพวกประพฤติพรตบูชานาค ครุฑ ยักษ์ คนธรรพ์ เป็นเทวดาของผู้ถือพรตบูชานาคเป็นต้นเหล่านั้นตามลำดับ (พระภูมิจัดเข้าในข้อนี้)
       5. เทพชั้นสูง เช่น พระพรหม เป็นเทวดาของพวกประพฤติพรตบูชาพระพรหม พระอินทร์ เป็นเทวดาของผู้ถือพรตบูชาพระอินทร์ เป็นต้น


       สำหรับชนที่ยังมีความเชื่อถือในสิ่งเหล่านี้ พระพุทธศาสนาสอนเปลี่ยนแปลงเพียงให้เลิกเซ่นสรวงสังเวยเอาชีวิตบูชายัญ หันมาบูชายัญชนิดใหม่ คือบริจาคทานและบำเพ็ญกุศลกรรมต่างๆ อุทิศไปให้แทน คือมุ่งที่วิธีการอันจะให้สำเร็จประโยชน์ก่อน
       ส่วนการเปลี่ยนแปลงความเชื่อถือเป็นเรื่องของการแก้ไขทางสติปัญญา ซึ่งประณีตขึ้นไปอีกชั้นหนึ่ง โดยเฉพาะนักบวชในประเภทที่ 1 แม้สาวกใดจะเปลี่ยนมานับถือพระพุทธศาสนาโดยสมบูรณ์ พระพุทธเจ้าก็ทรงแนะนำให้อุปถัมภ์บำรุงนักบวชนั้นต่อไปตามเดิม
(อ้างอิง : ขุ.จู. 30/120/45.)
________________________________________________________
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖
http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=232



 ans1 ans1 ans1 ans1 ans1

ตอนที่สองมีภาพให้ชมเท่านี้ ขอบพระคุณที่ติดตาม

 thk56 :25: thk56 :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ