กรรมฐาน มัชฌิมา > ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน

ทำไม คำขึ้นพระกรรมฐาน แต่ละที่ จึงไม่เหมือนกัน

(1/3) > >>

สมภพ:
ยกตัวอย่างที่บ้าน ผมพระท่านสอนอย่างนี้ ครับ

    


อิมาหัง ภันเต ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจจะชามิ
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ขอมอบอัตภาพร่างกายชีวิต จิตใจ ธาตุ ขันธ์ องคะ อวัยวะใหญ่น้อย แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ณ กาลบัดนี้
อิมาหัง ภันเต อาจะริยะ อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจจะชามิ
ข้าแต่พระอาจารย์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอมอบอัตภาพร่างกายชีวิต จิตใจ
ธาตุ ขันธ์ องคะ อวัยวะใหญ่น้อย แด่พระอาจารย์ ณ กาลบัดนี้
นิพพานัสสะ โน (เม) ภันเต สัจฉิกะระณัตถายะ กัมมัฏฐานัง เทถะ(หิ)
ข้าแต่พระอาจารย์ผู้เจริญ ขอพระอาจารย์ได้โปรดให้พระกรรมฐานแก่ข้าพระเจ้าทั้งหลายเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานด้วยเทอญฯ
คำอาราธนาธรรม
อุกาสะ อุกาสะ, ณ โอกาสบัดนี้, ข้าพุทธเจ้าทั้งหลาย, ขออาราธนา,
พระธรรมเจ้าอันวิเศษ, คือพระธรรมเจ้า แปดหมื่นสี่พันพระ-ธรรมขันธ์,
ขออัญเชิญเสด็จลงมา, สิงสถิตอยู่ในกายทวาร, มโนทวาร, อินทรีย์ทวาร,
ของข้าพระพุทธเจ้า ณ กาลบัดนี้ เทอญ ,


คำสมาทานกัมมัฏฐาน
อุกาสะ อุกาสะ, ณ โอกาสบัดนี้, ข้าพเจ้าทั้งหลาย, ขอสมาทานเอา,
ซึ่งพระกัมมัฏฐาน, ที่พระพุทธเจ้า, ทรงบัญญัติไว้ดีแล้ว, ขอขะณิกะสมาธิ,
อุปจาระสมาธิ, อัปปะนาสมาธิ, และวิปัสสนาญาณ, จงบังเกิดมี, ในขันธสันดาน,ของข้าพเจ้าทั้งหลาย, ข้าพเจ้าทั้งหลาย, จะตั้งสติกำหนดไว้, ที่ลมหายใจเข้าออก,
ลมหายใจเข้ารู้, ลมหายใจออกรู้, สามหนและเจ็ดหน, ร้อยหนและพันหน,
ด้วยความไม่ประมาท, ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปเทอญฯ.


สมมุติว่า ถ้าผม กล่าวคำสมาทานกรรมฐาน แบบด้านบนแล้วปฏิบัติ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ

ได้หรือไม่ หรือ ผมต้องกล่าว คำสมาทานกรรมฐาน ตามแบบของ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ

ดัวยครับ
 :25: :25:



มะเดื่อ:
ที่วัดท่ามะโอ ลำปาง ก็สอนแบบนี้คะ

๑. อาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาด เตรียมกายและจิตใจให้พร้อม
๒. เตรียมดอกไม้ธูปเทียน (ถ้ามี) เพื่อขอสมาทานศีลและขึ้นพระกรรมฐาน
๓. แต่งกายสุภาพ (ชุดขาว) กิริยาท่าทางสำรวม ไม่ควรพูดคุยกัน
๔. เมื่อถึงที่ขึ้นกรรมฐานกราบพระรัตนตรัยด้วยเบญจางค์ประดิษฐ์ ๓ ครั้ง จากนั้นกราบพระอาจารย์อีก ๓ ครั้ง ประเคนพานดอกไม้ธูปเทียน เสร็จแล้วกล่าวคำสมาทานศีล ๘ ดังนี้...
๕. มะยัง ภันเต, ติสะระเณนะ สะหะ, อัฏฐะ สีลานิ ยาจามะ.
( ถ้าคนเดียวว่า อะหัง ภันเต, ติสะระเณนะ สะหะ, อัฏฐะ สีลานิ ยาจามิ ) (ทุติยัมปิ, ตะติยัมปิ, ก็ว่าเช่นเดียวกัน)
ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต, ติสะระเณนะ สะหะ, อัฏฐะ สีลานิ ยาจามะ.
ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต, ติสะระเณนะ สะหะ, อัฏฐะ สีลานิ ยาจามะ.
๖. พระวิปัสสนาจารย์กล่าว นโม ตัสสะฯ ๓ จบ จากนั้นให้กล่าวตาม ๓ จบ
๗. พระวิปัสสนาจารย์กล่าว ไตรสรณคม ให้กล่าวตามว่า
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
เมื่อกล่าวตามจบแล้ว พระอาจารย์จะกล่าวว่า “ติสะระณะคะมะนัง นิฏฐิตัง”
ให้กล่าวรับว่า “อามะ ภันเต”
๘. พระวิปัสสนาจารย์กล่าว สิกขาบท ๘ ข้อ ให้กล่าวตามเป็นข้อๆ ดังนี้....
๙. (๑) ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง และใช้ให้คนอื่นฆ่า
(๒) อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ งดเว้นจากการลักทรัพย์ด้วยตนเอง และใช้ให้คนอื่นลักขโมย
(๓) อะพรัหมจะริยา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ งดเว้นจากการประพฤติผิดอันมิใช่พรหมจรรย์
(๔) มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ งดเว้นจากการพูดคำเท็จ คำหยาบ คำส่อเสียด คำเพ้อเจ้อ
(๕) สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิขาปะทัง สะมาทิยามิ งดเว้นจากการดื่มสุรา และสิ่งเสพติดให้โทษทุกชนิด
(๖) วิกาละโภชะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ งดเว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล คือ ตั้งแต่เที่ยงวันจนกระทั่งถึงวันใหม่
(๗) นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสะนะ มาลาคันธะวิเลปะนะ ธาระณะ มัณฑะณะ วิภูสะณัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ งดเว้นจากการฟ้อนร่ำขับร้อง ประโคมดนตรี ดูการละเล่นต่างๆ ตลอดจนลูบไล้ ทัดทรงด้วยการประดับตกแต่งร่างกาย ด้วยดอกไม้ของหอม เครื่องย้อมเครื่องทาทุกชนิด
(๘) อุจจาสะยะนะมะหาสะยะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ งดเว้นจากการนอนบนที่นอนอันสูงใหญ่ ภายในยัดด้วยนุ่นหรือสำลี
๑๐. กล่าวคำมอบกายถวายตัวต่อพระรัตนตรัย ดังนี้
อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจจะชามิ
ข้า แต่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ขอมอบกายถวายชีวิต ต่อพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เพื่อเจริญวิปัสสนากรรมฐาน
๑๐. กล่าวคำถวายตัวเป็นศิษย์ต่อพระอาจารย์
อิมาหัง อาจะริยะ อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจจะชามิ
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอมอบกายถวายตัว ต่อพระอาจารย์ เพื่อเจริญวิปัสสนากรรมฐาน
๑๑. กล่าวคำขอพระกรรมฐาน
นิพพานัสสะ เม ภันเต สัจฉิกะระณัตถายะ กัมมัฏฐานัง เทหิ
ข้าแต่ท่านพระอาจารย์ผู้เจริญ ขอท่านจงให้ซึ่งวิปัสสนากรรมฐาน แก่ข้าพเจ้าเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งมรรค ผล นิพพาน ณ ปัจจุบันกาลนี้ด้วย เทอญ
๑๒. ตั้งความปรารถนา
อิมายะ ธัมมานุธัมมะปะฏิปัตติยา รัตตะนะตะยัง ปูเชมิ
ข้าพเจ้า ขอบูชาพระรัตนตรัย ด้วยการปฏิบัติธรรมตามสมควรแก่ธรรมนี้ และด้วยสัจวาจาที่ได้กล่าวอ้างมานี้ ขอให้ข้าพเจ้ามีความเพียรในการกำหนดอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งสามารถบรรลุผลสมปรารถนา ในเวลาอันไม่ช้าด้วย เทอญฯ

ยอดชาย:
แบบของวัดราชสิทธาราม ก็ยาว
ว่าลัดได้หรือป่าวครับ


การสมาทานพระกรรมฐาน
 
        เมื่อจะเรียนพระกรรมฐานนั้น ต้องมอบตัวต่อพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และ อาจารย์ ผู้บอกพระกรรมฐาน โดยให้จัดเตรียม ดอกไม้ ๕ กระทง ข้าวตอก ๕ กระทง เทียน ๕ เล่ม ธูป ๕ ดอก ใส่เรียงกันในถาดสี่เหลี่ยมผืนผ้า มาขึ้นในวัน พฤหัสบดี ข้างขึ้น หรือ ข้างแรมก็ได้

บททำวัตรพระ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

(ให้ว่า ๓ หน)

        พุทธัง ชีวิตัง ยาวะนิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ ฯ

       อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ ฯ

      เย จะ พุทธา อะตีตา จะ,      เย จะ พุทธา อะนาคะตา,
ปัจจุปปันนา จะ เย พุทธา,          อะหัง วันทามิ สัพพะทา,
พุทธานาหัสมิ ทาโสวะ,               พุทธา เม สามิกิสสะรา,
พุทธานัญ จะ สิเร ปาทา,             มัยหัง ติฏฐันตุ สัพพะทาฯ
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง,           พุทโธ เม สะระณัง วะรัง,
เอเตนะ สัจจะ วัชเชนะ,             โหตุ เม ชัยมังคะลัง ฯ
อุตตะมังเคนะ วันเทหัง,            ปาทปังสุง วะรุตตะมัง,
พุทโธ โย ขะลิโต โทโส,               พุทโธ ขะมะตุ ตัง มะมัง ฯ

(กราบแล้วหมอบลงว่า)

          ข้าจะขอยึดหน่วงเอาซึ่งพระพุทธเจ้าและคุณพระพุทธเจ้า ในอดีต อนาคต ปัจจุบัน จงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน และข้าจะขอนมัสการกราบไหว้พระพุทธเจ้า อันเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน สิ้นกาลนานทุกเมื่อ และข้าจะขอเป็นข้าแห่งพระพุทธเจ้า ขอพระพุทธเจ้าจงมาเป็นเจ้าเป็นใหญ่แก่ข้า ขอพระบาทบาทาของพระพุทธเจ้า จงมาประดิษฐานอยู่เหนือเศียรเกล้าแห่งข้าสิ้นกาลนานทุกเมื่อ สิ่งอันอื่นจะได้เป็นที่พึ่งแก่ข้าหามิได้ ถ้าเว้นไว้แต่พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งแก่ข้าเที่ยงแท้นักหนา ข้าไหว้ละอองธุลีพระบาท ทั้งพระลายลักษณ์สุริฉาย ชัยมงคลทั้งหลายจงมาบังเกิดมีแก่ข้าด้วยคำสัจนี้เถิด อนึ่ง โทษอันใดข้าได้ประมาทพลาดพลั้งไว้ในพระพุทธเจ้า อันเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน ขอพระพุทธเจ้าจงมาอดโทษทั้งปวงนั้นให้แก่ข้าพรพุทธเจ้านี้เถิด ฯ

(กราบ)

ธัมมัง ชีวิตัง ยาวะนิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ ฯ

       สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปยินะโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติฯ

        เย จะ ธัมมา อะตีตา  จะ,     เย จะ ธัมมา อะนาคะตา,
ปัจจุปปันน จะ เย ธัมมา,              อะหัง วันทามิ สัพพะทาฯ
ธัมมานาหัสสมิทาโสวะ,               ธัมมา เม สามิกิสสะรา,
สัพเพ ธัมมาปิ ติฏฐันตุ,                 มะมัง สิเรวะ สัพพะทาฯ
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง,              ธัมโม เม สะระณัง วะรัง,
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ,                 โหตุ เม ชัยมังคะลัง ฯ
อุตตะมังเคนะ วันเทหัง,               ธัมมัญ จะ ทุวิธัง วะรัง,
ธัมเม โย ขะลิโต โทโส,                  ธัมโม ขะมะตุ ตัง มะมังฯ

(กราบแล้วหมอบลงว่า)

        ข้าจะขอยึดหน่วงเอาซึ่งพระปริยัติธรรมเจ้า และพระนวโลกุตตระธรรมเจ้า และคุณพระธรรมเจ้าในอดีต อนาคต ปัจจุบัน จงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้า ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน และข้าจะขอนมัสการกราบไหว้พระธรรมเจ้าทั้งมวล อันเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบันสิ้นกาลทุกเมื่อ แลข้าจะขอเป็นข้าแห่งพระธรรมเจ้า ขอพระธรรมเจ้าทั้งมวลนั้นจงมาเป็นเจ้าเป็นใหญ่แก่ข้า ข้าขออาราธนาพระธรรมเจ้าทั้งมวลนั้น จงมาประดิษฐานอยู่เหนือเศียรเกล้าแห่งข้าสิ้นกาลทุกเมื่อ สิ่งอันอื่นจะได้เป็นที่พึ่งแก่ข้าหามิได้ ถ้าเว้นไว้แต่พระธรรมเจ้าทั้งมวลนั้นเป็นที่พึ่งแก่ข้าเที่ยงแท้นักหนา ชัยมงคลทั้งหลายจงมาบังเกิดมีแก่ข้าด้วยคำสัจนี้เถิด ข้าขอกราบไหว้พระธรรมเจ้าทั้งสองประการอันประเสริฐ โทษอันใดข้าได้ประมาทพลาดพลั้งไว้ในพระธรรมเจ้าทั้งสองประการ ขอพระธรรมเจ้าทั้งสองประการ จงมาอดโทษทั้งปวงนั้นให้แก่ข้าพระพุทธเจ้านี้เถิดฯ

(กราบ)

สังฆัง ชีวิตตัง ยาวะนิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ ฯ

        สุปฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, อุชุปฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, ญายะปฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สามีจิปฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคคานิ อัฏฐะ ปุริสุปุคคะลา, เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเนยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ ฯ

         เย จะ สังฆา อะตีตา จะ      เย จะ สังฆา อะนาคะตา
ปัจจุปปันนา จะ เย สังฆา             อะหัง วันทามิ สัพพะทา ฯ
สังฆานาหัสสะมิ ทาโสวะ             สังฆา เม สามิกิสสะรา
เตสัง คุณาปิ ติฏฐันตุ                    มะมัง สิเรวะ สัพพะทา ฯ
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง              สังโฆ เม สะระณัง วะรัง
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ,                โหตุ เม ชัยมังคะลังฯ
อุตตะมัง เคนะ วันเทหัง,             สังฆัญ จะ ทุวิโทตตะมัง,
สังเฆ โย ขะลิโต โทโส                   สังโฆ ขะมะตุ ตัง มะมัง ฯ

                                          (หมอบกราบแล้วว่า)

        ข้าขอยึดหน่วงเอาซึ่งพระอริยสงฆ์เจ้า และคุณพระอริยสงฆ์เจ้า ในอดีต อนาคต ปัจจุบัน จงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน และข้าจะขอนมัสการกราบไหว้พระอริยสงฆ์เจ้าอันเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน สิ้นกาลทุกเมื่อ และข้าจะขอมอบตัวเป็นข้าแห่งพระอริยสงฆ์เจ้า ขอพระอริยสงฆ์เจ้าจงมาเป็นเจ้าเป็นใหญ่แก่ข้าฯ ข้าขออาราธนาคุณแห่งพระอริสงฆ์เจ้า จงมาประดิษฐานอยู่เหนือเศียรเกล้าแห่งข้าสิ้นกาลทุกเมื่อ สิ่งอันอื่นจะได้เป็นที่พึ่งแก่ข้าหามิได้ ถ้าเว้นไว้แต่พระอริยสงฆ์เจ้าป็นที่พึ่งแก่ข้าเที่ยงแท้นักหนา ชัยมงคลทั้งหลายจงมาบังเกิดมีแก่ข้าด้วยคำสัจนี้เถิด ข้าขอกราบไหว้พระอริยสงฆ์เจ้าทั้งสองประการอันประเสริฐ โทษอันใดข้าได้ประมาทพลาดพลังไว้ในพระอริยสงฆ์เจ้าทั้งสองประการ ขอพระอริยสงฆ์เจ้าทั้งสองประการ จงมาอดโทษทั้งปวงนั้นให้แก่ข้าพระพุทธเจ้านั้นเถิดฯ

(กราบ)

อธิยายบททำวัตรกรรมฐาน

        บททำวัตรสวดมนต์นี้มีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ใช้สวดทำวัตรเช้า เย็น และใช้สวดทำวัตรในการขึ้นพระกัมมัฎฐาน สมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน ได้นำมาจากกรุงศรีอยุธยา และใช้สวดกันเป็นประจำ ที่วัดราชสิทธารามนี้ มาเลิกสวดเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๔ แต่พระภิกษุที่เรียนพระกัมมัฏฐานยังใช้สวดกันมาจนถึงทุกวันนี้ ส่วนคำแปลท้ายสวดมนต์นี้ มาแปลในสมัยรัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อคราวทำสังคายนาสวดมนต์ แปล พ.ศ. ๒๓๖๔

คำอาราธนาพระกัมมัฏฐาน
(อธิษฐานสมาธินิมิต)
ของ สมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน

           ข้าขอภาวนาพระพุทธคุณเจ้า เพื่อจะขอเอายัง พระลักษณะ (พระรัศมี) พระขุททกาปีติธรรมเจ้า นี้จงได้ ขอพระพุทธเจ้าจงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้านี้เถิดฯ ขอพระธรรมเจ้าทั้งมวลจงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้านี้เถิดฯ ขอพระอริยสงฆ์เจ้าตั้งแรกแต่พระมหาอัญญาโกญฑัญญะเถรเจ้าโพ้นมาตราบเท่าถึง พระสงฆ์สมมุติในกาลบัดนี้ จงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้านี้เถิดฯ ขอพระอริยสงฆ์องค์ต้นอันสอนพระกัมมัฏฐานเจ้าทั้งมวล จงมาเป็นที่พุ่งแก่ข้านี้เถิดฯ ขอพระกัมมัฏฐานเจ้าทั้งมวลจงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้านี้เถิดฯ

          อุกาสะ อุกาสะ ในที่นี้เล่า ข้าจะขอปฏิบัติบูชาตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูโคดมเจ้า เพื่อจะขอเอายัง พระลักษณะ (พระรัศมี) พระขุททกาปีติธรรมเจ้านี้จงได้ ขอจงเจ้ากูมาปรากฏบังเกิดอยู่ใน จักขุทวาร มโนทวาร กายทวาร แห่งข้าในขณะเมื่อข้านั่งภาวนาอยู่นี้เถิดฯ

         อิติปิโส ภควา อรหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจรณสัมปันโน สุคโต โลกวิทู อนุตตโร ปุริสทัมมสารถิ สัตถา เทวมนุสสานัง พุทโธ ภควาติ ฯ

สัมมาอรหัง สัมมาอรหัง สัมมาอรหัง

อรหัง  อรหัง  อรหัง
( องค์ภาวนา  พุทโธ )

http://www.oocities.com/weera2548/tamnan/samatan1.htm

ธัมมะวังโส:
ทำไมวัด อุโบสถ จึงไม่เหมือนกัน

ทำไม ฤดู จึงไม่เหมือนกัน

ทำไม ฝึก กรรมฐานไม่เหมือนกัน

ทำไม สวดมนต์ ไม่เหมือนกัน

ทำไม พระห่มผ้า สีไม่เหมือนกัน

ทำไม เกิดมา รวยจนไม่เท่ากัน


    ;) พระอาจารย์ ลองพิมพ์คำว่า ทำไม ? ก็คือ ความสงสัย โดยที่ผู้ถาม ใชัี้บรรทัดฐานเดียวกัน

เพื่อเห็นความแตกต่างขึ้นมา แต่หากพิจารณา ด้วยสติปัญญาแล้ว สิ่งที่แตกต่างนั้น ก็มีเนื้อหาเดียวกัน

อ้างถึง>>>>สมมุติว่า ถ้าผม กล่าวคำสมาทานกรรมฐาน แบบด้านบนแล้วปฏิบัติ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ

ได้หรือไม่ หรือ ผมต้องกล่าว คำสมาทานกรรมฐาน ตามแบบของ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ

ดัวยครับ<<<<
ก็ตอบว่า ได้ เพราะคำขึ้นกรรมฐาน ก็คือ การอธิษฐานจิต หรือ คำสั่งจิตให้ทำงานตามที่ความปรารถนาแห่งจิต

โดยรวมในสถานการณ์นั้น พิธีรีตรอง ต่าง ๆ ทั้งมวลนั้น มีไว้เพื่อกระชับ และเป็นแบบแผนให้เราไม่หลงทิศทาง

เหมือนคนเข้ากรุงเทพ แล้วมีแผนที่ กับคนเข้ามาแล้วไม่มีแผนที่ ความมั่นใจย่อมต่างกัน

  ถ้าหากอาศัย การถามแล้ว ก็จะได้คำตอบว่า

   1. ไม่รู้ ตอบว่า ไม่รู้
 
   2. ไม่รู้ แต่ตอบ มั่ว

   3. รู้ แต่ ไม่ตอบ หรือ ตอบว่า ไม่รู้

   4. รู้ และ ตอบว่า รู้

   การอธิษฐานจิต จึงเป็นแบบแผนให้กับศิษย์กรรมฐาน ได้ปฏิบัติ ตามแบบฉบับ ของคนรู้ ตอบ

ดังนั้นถ้าอธิษฐานกรรมฐาน แบบสำนักอื่น ที่สอน ก็ควรปฏิบัติตามที่สำนักนั้นสอน เพื่อจะได้ส่งอารมณ์

หรือ ถามกรรมฐาน ที่ฝึกนั้นกับคนที่ฝึกสอนนั้นได้สอยู่ ได้

   ดังนั้น ถ้าเราปฏิบัติ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ก็กล่าวคำอธิษฐาน กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ

แล้วก็ส่งอารมณ์ สอบอารมณ์ กับพระอาจารย์ที่ขึ้นกรรมฐาน นั้น จึงเป็นการถูกต้อง

   แต่หากเรามองข้ามส่วนนี้ เพราะเห็นว่าเป็นพิธี รีตรอง ของแต่ละสำนัก นั้นก็คือการที่เราไม่เข้าใจ สุดท้าย

ปัญญาส่วนนั้นก็จะเห็นว่า พิธีเหล่านี้ไม่มีความสำคัญ การกราบ การไหว้ การแสดงสักการะ ก็จะเป็นกุศลต่อไป

ถ้าหากปล่อยไปเช่นนี้ วัฒนธรรมของพระอริยะ ก็จะหมดสิ้น เพราะมีแต่ความว่าง กลายเ้ป็น ฌาน 8 ไป

มีหลายคนที่ เอาสภาวะ เนวสัญญายตนะ มาอธิบายเป็น สุญญตา จนเข้าใจสภาวะ ว่าง นั้นคือ นิพพาน

  ดังนั้นสรุป ว่า ไม่ควรจะนำปนเปกัน ถ้าไปฝึกในส่วนรวมของสำนัก ใด ก็ปฏิบัติตามสำนักนั้นสอน เพื่อได้

ปรับกรรมฐานด้วย

เจริญพร
 ;)

ประสิทธิ์:
อ้างถึง>>>>   1. ไม่รู้ ตอบว่า ไม่รู้
 
   2. ไม่รู้ แต่ตอบ มั่ว

   3. รู้ แต่ ไม่ตอบ หรือ ตอบว่า ไม่รู้

   4. รู้ และ ตอบว่า รู้

<<<<
  ผมชอบตรงนี้มากครับ จี้จุด วิสัย คนจริง ครับ

 :25: :25:

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป