ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
    Messages   Topics Attachments  

  Messages - arlogo
หน้า: 1 ... 18 19 [20] 21 22 ... 26
761  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับหลวงปู่สุก ไก่เถื่อน / Re: เยี่ยมชม"พิพิธภัณฑ์วัดพลับ" ไหว้หุ่นขี้ผึ้งพระสังฆราช(สุก) เมื่อ: มิถุนายน 21, 2011, 09:02:07 am
วัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร เป็นวัดโบราณ เดิมที่เดียวชื่อวัดพลับ มีมาแล้วตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ตัววัดพลับเดิมนั้นอยู่ต่อ วัดราชสิทธารามเดียวนี้ไปทางทิศตะวันตก ครั้นเมื่อสร้างวัดราช-สิทธารามขึ้นในรัชกาลที่ ๑ โปรดเกล้าฯ ให้รวมวัดพลับเข้าไว้ในเขตวัดราชสิทธารามด้วย ราษฎรจึงยังคงเรียกชื่อ วัดราชสิทธาราม ตามนามเดิมว่า วัดพลับกันทั่วไป ในบัดนี้ ประวัติราชสิทธาราม เริ่มปรากฎมีเรื่องราวเป็นสำคัญขึ้นเมื่อต้นกรุงรัตนโกสินทร์นี้เอง เหตุเนื่องมาจากพระบามสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงอาราธนาพระอาจารย์สุกวัดท่าหอย ริมคลองคูจามในแขวงจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ลงมาจำพรรษาในเขตพระนคร พระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่พระญาณลังวรเถรเรื่องทั้งนี้เป็นด้วยพระญาณสังวรเถร ทรงวิทยาคุณในทางวิปัสสนาธุระ อย่างเชี่ยวชาญสามารถเลืองชื่อลือชาเป็นที่นับถือของคนทั้งหลายในยุคนั้นเป็นอย่างยิ่งกล่าวกันว่า ท่านทรงไว้ซึ่งพรหมวิหารธรรมอย่างแก่กล้า ถึงสามารถให้ไก่เถือนเชืองได้เหมือนไก่บ้าน มีลักษณะทำนองเดียวกับคำโบราณที่ยกย่องสรรเสริญพระสุวรรณสามโพธิสัตว์ ในเรื่องสุวรรณสามชาดก


สนใจข้อมูลเบื้องลึกเชิญที่นี่ครับ http://www.somdechsuk.com


วัดราชสิทธารามราชวรวิหาร


วัดราชสิทธาราม เป็นพระอารามหลวง ชั้น โท
ชนิด ราชวรวิหาร สังกัด มหานิกาย
ซอยอิสรภาพ ๒๓ ถนน อิสรภาพ
แขวง วัดอรุณ เขต บางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ




































ขอบคุณภาพที่มาและเนื้อหา
http://www.oknation.net/blog/drunkfamily/2010/01/27/entry-1
762  ธรรมะสาระ / บทสวดมนต์ มนต์พิธี / Re: บทสวดภาณยักษ์ เมื่อ: มิถุนายน 21, 2011, 08:19:33 am
กำลังคิดอยู่ ว่าจะจัดสร้าง สักรุ่น นะ
อาจจะเป็นรุ่นให้ทำบุญ สร้างสำนักงาน ก็ได้นะจ๊ะ

เจริญพร

 ;)
763  ธรรมะสาระ / บทสวดมนต์ มนต์พิธี / Re: บทปลงสังชาร อภิณหปัจจเวกขณ เมื่อ: มิถุนายน 21, 2011, 08:18:13 am
อนุโมทนา ธรรม ที่ช่วยมานำเสนอบทปลงสังขาร ให้นะจ๊ะ

 ;)
764  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / Re: ขอเชิญเข้าร่วมปฏิบัติธรรม 25-26 มิ.ย.2554 วัดราชสิทธาราม คณะ 5 เมื่อ: มิถุนายน 21, 2011, 08:10:43 am
เข้าปฏิบัติธรรม วันที่ 25-26 มิ.ย. 54 วัดราชสิทธาราม(พลับ) รับ 300 คน

เขียนโดย weera2548 เมื่อ พฤ, 19/05/2011 - 10:34

ขอเชิญเข้าร่วมปฏิบัติธรรม ประจำเดือนมิถุนายน

 ระหว่างวันเสาร์-อาทิตย์ที่25-26 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ลงทะเบียน วันเสาร์ที่25 มิถุนายน พ.ศ. 2554 เวลา 09.00- 10.00น.

ที่คณะ 5 วัดราชสิทธาราม(พลับ) ซอยอิสรภาพ 23 แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ   

(ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ)   โทร. 084-651-7023


รถประจำทาง  สาย 19  40  56 57 149 ผ่านซอยอิสรภาพ 23

รับสมัครปฏิบัติธรรม  ชาย- หญิง  300 - 400 ท่าน


สมัครได้ที่ คอลัมน์  ช่องแสดงความคิดเห็นหน้าเว็บ หรือโทร. 084-651-7023,02-465-2552


ที่มาข่าวสาร
http://www.somdechsuk.org/node/162




ตามประกาศ นะจ๊ะ ว่า หลวงพ่อพระครูสิทธิสังวร ประกาศรับผู้สมัครแบบ จำนวนมากเลยนะจ๊ะ

ใครมีเวลาก็เชิญไปร่วมปฏิบัติภาวนาในครั้งนี้ด้วยนะจ๊ะ

แต่ถึงอย่างไร หลวงพ่อพระครูก็มีให้ขึ้นกรรมฐาน ศึกษา ภาวนา ทุกวัน เช่นเดิมนะจ๊ะ

เจริญพร


 ;)
765  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / เชิญร่วมฟังธรรม โดย พระอารยะวังโส ที่ นนทบุรี 23 มิ.ย.54 17.30-19.00 น เมื่อ: มิถุนายน 09, 2011, 07:08:42 am
ชมรมลานโพธิ์ลานธรรม


ขอเชิญผู้สนใจรับฟังพระธรรมเทศนาและฝึกปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน

นำโดย พระอาจารย์อารยวังโส
เจ้าอาวาสวัดป่าพุทธพจน์หริภุญไชย อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน

 


วันพฤหัสบดีที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๔

เวลา  ๑๗.๐๐-๑๙.๓๐ น

ณ ลานพระศรีมหาโพธิ์ 

ตรงข้ามตึกสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

อำเภอเมือง จังหวัด นนทบุรี
766  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / เมื่อเราปฏิบัติธรรม ภาวนา อย่า เพิ่มความคิดว่าเราเหนือคนอื่น เมื่อ: มิถุนายน 09, 2011, 07:02:02 am
วันนี้ วันธรรมสวนะ ( วันพระ ) เจริญธรรมสักหน่อย

บางครั้งการปฏิบัติธรรม ผู้ปฏิบัติมักจะพกความแตกต่าง ให้เป็นช่องว่าง ว่าเราดีกว่าคนทั่วไป เราิวิเศษกับคนทั่วไป
ควรจะมีคนเคารพนับถือเรา เป็นต้น

การปลีกวิเวกของอาตมาในเวลา  1 ปี ครึ่งนี้ จะได้ความรู้สึกเห็นจริง ว่าเราไม่ได้วิเศษกว่าคนอื่น ดีกว่าคนอื่น
ไม่จำเป็นต้องมีผู้มาเคารพกราบไหว้ เมื่อเราเป็นผู้ภาวนาหรือ ปฏิบัติ หรือมีคุณธรรมใด ๆ ซึ่งมองแล้วก็ มานะ
อัสสมิมานะ การถือตัว ถือตน อย่างยิ่ง

 ดังนั้นผู้ปฏิบัติ ภาวนา เมื่อภาวนาแล้ว ต้องลดมานะทิฏฐิ ให้ได้

 การลดมานะทิฏฐิ ที่ได้ผล ก็คือการเจริญ อนิจจสัญญา คือ ความจำหมายว่าไม่เที่ยง เสมอ ๆ

 เจริญธรรม ยามเช้า เท่านี้นะจ๊ะ

  ;)
767  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / Re: ใครว่าอาการซึมเศร้าเป็นเรื่อง จิ๊บ ๆ ก็ควรอ่านซะ ( บ้าง ) เมื่อ: มิถุนายน 06, 2011, 08:31:47 am
อาการซึมเศร้า ไม่ใช่เรื่อง จิ๊บ ๆ จริง เพราะเคยประสพมาแล้ว บางครั้งกลุ้มอยู่เป็นอาทิตย์เลย

ดังนั้นในระหว่างที่มีอาการซึมเศร้านั้น ไม่ควรข้องแวะกับวุ่นวาย ควร หาทางให้จิตมีความสงบ และ ทำให้

เกิดปัญญา เพื่อมองเห็นตามความเป็นจริง

  จากประสพการณ์ที่สอนกรรมฐาน มานั้น คนที่เป็นโรคซึมเศร้า จับมานั่งกรรมฐาน ตรง ๆ ไม่ได้
แต่หากต้องจับให้ไปทำงาน เจริญสติ ฟังธรรม ที่สำคัญ ต้องส่งกัลยาณมิตร ประกบไว้ เป็นเพื่อนคุย
เพื่อนปรึกษา เพื่อไม่ให้อยู่กับความเงียบ มากเกินไป

  รอจนสติปัญญา เกิดขึ้นมากแล้ว ก็ให้อยู่สงัด ๆ ได้นะจ๊ะ

 เจริญธรรม

 ;)
768  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / Re: จงขจัดตัว “ว” ออกจากชีวิต เมื่อ: มิถุนายน 06, 2011, 08:27:48 am
อย่างนั้นต้องไล่ ตัว ว แล้วมีอะไรบ้าง เพราะ ว ที่ดีก็มีนะจ๊ะ

ถ้าเป็น ว  วุ่น  ว วาย ว วอแว ก็แย่

ถ้าเป็น ว ว่าง ว วัด ก็ดี นะจ๊ะ

 ;)
769  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / Re: สิ่งที่ล่วงไปแล้ว ไม่ควรไปทำความผูกพัน เมื่อ: มิถุนายน 06, 2011, 08:22:43 am
อนุโมทนา สาธุ
 :25:
770  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / Re: มุมอับแสง เมื่อ: มิถุนายน 06, 2011, 08:21:19 am
ศีลเป็นฐานของอริยมรรค
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=4154.0

อนุโมทนาสาธุ กับเจ้าของลิงก์ด้วย

 :25:
771  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: ๑. อัชฌาสัยสุกขวิปัสสโก (โดยพระมหาวีระ ถาวโร) เมื่อ: มิถุนายน 06, 2011, 08:17:20 am
อนุโมทนา สาธุ

 :25:
772  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: กินททสูตรที่ ๒ ให้อะไร ชื่อว่า อะไร พระสูตรนี้มีคำตอบครับ เมื่อ: มิถุนายน 06, 2011, 08:16:56 am
อนุโมทนา สาธุ

 :25:
773  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: ทานของสัตบุรุษนัยที่ ๑ เมื่อ: มิถุนายน 06, 2011, 08:15:56 am
เป็นเรื่องที่น่าอ่าน และ ควรรู้สำหรับ บุคคลที่ใฝ่ในการสร้างทาน สร้างบารมี
ควรเข้าใจ ระดับ ของทานไว้

อนุโมทนา สาธุ

 :25:
774  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ปฏิบัติวิปัสนา ควรจะต้องรู้จัก วิปัสสนาภูมิ กันบ้าง เมื่อ: มิถุนายน 06, 2011, 08:12:08 am
บางท่านกล่าวว่า รู้ขันธ์ คือ รู้วิปัสสนา

ดังนั้น รู้รูป คือ รู้กาย รู้ธาตุ ด้วย จึงจะเป็นวิปัสสนา

รู้ นี้ คือ กับ รู้ นาม

ที่ศัพท์ทางธรรม จะได้ยินบ่อย ๆ คือ รู้รูป รู้นาม รู้รูปนาม

 ในวิปัสสนาญาณ เป็นขั้นที่ 1 คือ นามรูปปริจเฉทญาณ คือ ญาณ กำหนดรู้ นามรูป







775  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ปฏิบัติวิปัสนา ควรจะต้องรู้จัก วิปัสสนาภูมิ กันบ้าง เมื่อ: มิถุนายน 03, 2011, 09:12:57 am
วิปัสสนาภูมิ ที่ 1  ขันธ์ 5 ส่วน รูป ( ย่อ )

1.กายที่เป็นไปในภายใน  ในแนวทางปฏิบัติ จะรู้ได้ด้วยการเรียนรู้ อานาปานบรรพ
อานาปานบรรพ คือ การเรียนรู้อย่างมีสติในลมหายใจเข้า และ ลมหายใจออก


ขอบคุณภาพประกอบจาก https://lh4.googleusercontent.com

มี 16 ระดับ

ผล คือ ผู้ภาวนาจะเห็นความสำคัญของลมหายใจเข้าออก คือ ชีวิต และ ชีวิต คือ ลมหายใจเข้าออก
เพราะชีวิตจะมีอยุ่ได้ ต้องมี ลมหายใจเข้าและออก ไม่ว่าเราจะใช้ชีวิตอย่างไร ก็ต้องมีลมหายใจเข้าและออก

มีสุข ก็มีลมหายใจเข้าและออก
มีทุกข์ ก็มีลมหายใจเข้าและออก
มีอารมณ์กลาง ๆ ไม่สุขไม่ทุกข์ ก็มีลมหายใจเข้าและออก

มีกิเลส ก็มีลมหายใจเข้าและออก
ไม่มีกิเลส ก็มีลมหายใจเข้าและออก

ทำกุศล ( มีการภาวนา เป็นต้น ) ก็มีลมหายใจเข้าและออก
ทำอกุุศล ( มีการฆ่า เป็นต้น ) ก็มีลมหายใจเข้าและออก

ดังนั้น ชีวิต ก็คือ ลมหายใจเข้า และ ลมหายใจออก
ผู้ภาวนาได้ส่วนนี้ เรียกว่า เข้าใจ รูปขันธ์ คือ กายส่วนที่ 1 อันเรียกว่า การเห็นกายในภายใน

ที่ต้องกล่าวว่าเป็นภายใน เพราะจับต้องได้เฉพะาเตน เป็นลมหายใจเข้าและออก เฉพาะตน

ความพิศดาร เรื่อง ลมหายใจเข้าและออก

อยู่ที่การเข้าใจ ลมหายใจเข้าและออก มีอยุ่ สามส่วน

   1.ส่วนที่เป็นอานา ก็คือ ลมหายใจเข้าออก ส่วนเสียที่ปรับสมดุลย์ เรียกว่า อัสสาสะ และปัสสาสะ

   2.ส่วนที่เป็นปาน ก็คือ ลมหายใจเข้าออก ที่เป็นส่วนสร้างเสริม  เรียกว่า ปราณ (ลมปราณ)

   3.ส่วนที่เป็นสติ (ญาณ) ก็คือ ลมหายใจเข้าออก ของผู้ภาวนาที่บรรลุธรรม เรียกว่า นิสวาตะ

ทั้งหมดนี้เรียนรู้ ภาวนาให้เ็ห็น เพียงในกายในภายในเท่านั้น

เจริญธรรมเท่านี้ก่อนนะจ๊ะ

 ;)
776  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / ให้พร แก่มารทั้ง 5 เมื่อ: มิถุนายน 02, 2011, 08:28:49 am
อ้างถึง
ปํญจะมาเร ชิเนนาโถ ....ประมาณนี้นะครับ แล้วอธิษฐาน ขอบารมีพระพุทธเจ้าเพื่อภาวนาธรรมครับ

ให้พรแก่มารทั้ง 5 จากหนังสือ หลักปฏิบัติสมถะวิปัสสนากรรมฐาน โดย พระครูสิทธิสังวร

ปญฺจมาเร ชิเนนาโถ ปตฺโตสมฺโพธิมุตฺตมํ
จตุสจฺจํ ปกาเสติ มหาวีรํ สพฺพพุทฺเธ นมามิหํ


( ข้าพเจ้า ขอนอบน้อม แด่พระพุทธเจ้าทั้งปวง ผู้ประเสริฐใหญ่
ผู้ประกาศแล้ว ซึ่งความจริง 4 ประการ
เป็นที่พึ่งผู้ชนะมารทั้ง 5 ที่บัลลังการตรัสรู้ )


777  กรรมฐาน มัชฌิมา / กิจกรรมของ สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน / Re: เิชิญร่วมเป็นเจ้าภาพ ต่ออายุ RDN และ Hosting เมื่อ: พฤษภาคม 31, 2011, 03:48:56 pm
มีผู้สอบถามกันเข้ามา ทำบุญ ให้สถานี และ อินเตอร์เน็ต โฮสต์ เป็นบุญแบบไหน ?

 ตอบ เป็น บุญ ส่วนธรรมทาน  เป็น การทำทานที่สูงสุด ในพุทธศาสนา

       เป็น บุญ เทศนามัย ปัตตานุโมทนามัย ทานมัย


   ดังนั้นเปรียบได้กับการทำบุญ หนังสือธรรมะ เชียวนะจ๊ะ


 :25:
778  พระไตรปิฏก / พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ / Re: 7. ติตติรชาดก สหายธรรม เมื่อ: พฤษภาคม 31, 2011, 09:26:46 am


เวอร์ชั่นการ์ตูน
http://www.kalyanamitra.org/chadok/mixchadok/chadok4906/chadok4906.html
779  พระไตรปิฏก / พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ / Re: 8.มกสชาดก เด็กผู้ฆ่ายุง เมื่อ: พฤษภาคม 31, 2011, 09:21:31 am
  [๔๔] ศัตรูผู้ประกอบด้วยปัญญายังดีกว่า
มิตรผู้ไม่มีปัญญาจะดีอะไร
เหมือนบุตรของช่างไม้ผู้โง่เขลา คิดว่าจะตียุง
ได้ตีศีรษะของบิดาแตกสองเสี่ยงฉะนั้น.
780  พระไตรปิฏก / พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ / Re: 8.มกสชาดก เด็กผู้ฆ่ายุง เมื่อ: พฤษภาคม 31, 2011, 09:20:33 am
เนื้องเรื่องสั้น ๆ

มกสชาดก มีศัตรูผู้มีปัญญาดีกว่ามีมิตรโง่

ใน อดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์เลี้ยงชีวิตด้วยการค้า ครั้งนั้นที่บ้านชายแดนแห่งหนึ่ง ในแคว้นกาสี มีพวกช่างไม้อาศัยอยู่มากด้วยกัน ช่างไม้หัวล้านคนหนึ่ง ในหมู่ช่างไม้เหล่านั้น กำลังตากไม้ ขณะนั้นมียุงตัวหนึ่ง บินมาจับที่ศีรษะ ซึ่งคล้ายกับกะโหลกทองแดงคว่ำ แล้วกัดศีรษะด้วยจะงอยปากเหมือนกับแทงด้วยหอก ช่างไม้จึงบอกลูกของตน ผู้นั่งอยู่ใกล้ ๆ ว่า ไอ้หนู ยุงมันกัดศีรษะพ่อ เจ็บเหมือนถูกแทงด้วยหอก จงฆ่ามันเสีย ลูกพูดว่า พ่อจงอยู่นิ่ง ๆ ฉันจะฆ่ามัน ด้วยการตบครั้งเดียวเท่านั้น แม้ในเวลานั้น พระโพธิสัตว์ ก็กำลังเที่ยวแสวงหา สินค้าของตนอยู่ ลุถึงบ้านนั้น นั่งพักอยู่ในโรงของช่างไม้นั้น เป็นเวลาเดียวกันกับที่ช่างไม้นั้น บอกลูกว่า ไอ้หนู ไล่ยุงนี้ที ลูกขานรับว่า จ้ะพ่อ ฉันจะไล่มัน พูดพลางก็เงื้อขวานเล่มใหญ่ คมกริบ ยืนอยู่ข้างหลังพ่อ ฟันลงมาเต็มที่ ด้วยคิดว่าจักประหารยุง เลยผ่าสมองของบิดาเสียสองซีก ช่างไม้ถึงความตายในที่นั้นเอง พระโพธิสัตว์เห็นการกระทำของลูกช่างไม้แล้ว ได้คิดว่า ถึงปัจจามิตรเป็นบัณฑิตก็ยังดีกว่า เพราะเขายังเกรงอาญาแผ่นดิน ไม่ถึงกับฆ่ามนุษย์ได้ แล้วกล่าวว่า
เพราะ ความที่ตนเป็นคนโง่เขลา แม้เป็นบุตร คิดว่า เราจักฆ่ายุง ก็ยัง ผ่าหัวสมองของพ่อเสียแล่งเป็น ๒ ซีก เพราะเหตุนั้น บัณฑิตถึงจะเป็นศัตรู ก็ยังดีกว่ามิตรที่โง่ ๆ.
พระโพธิสัตว์ ครั้นกล่าวแล้ว ก็ลุกขึ้นไปทำงานตามหน้าที่ แม้พวกที่เป็นญาติก็ได้จัดการทำสรีรกิจของช่างไม้.
พระ บรมศาสดาตรัสว่า อุบาสกทั้งหลาย แม้ในครั้งก่อน ก็ได้เคยมีมนุษย์ที่ได้คิดว่า เราจักประหารยุง แต่กลับประหารคนอื่นมาแล้วเหมือนกัน ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุมชาดกว่า ก็พ่อค้าบัณฑิตที่กล่าวคาถาแล้ว หลีกไป ได้มาเป็นเราตถาคตนี้แล.
จบมกสชาดก
781  พระไตรปิฏก / พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ / 8.มกสชาดก เด็กผู้ฆ่ายุง เมื่อ: พฤษภาคม 31, 2011, 09:19:23 am
อรรถกถา มกสชาดก
ว่าด้วย มีศัตรูผู้มีปัญญาดีกว่ามีมิตรโง่
พระบรมศาสดา เมื่อเสด็จจาริกไปในหมู่ชนชาวมคธ ทรงปรารภพวกมนุษย์ชาวบ้านที่เป็นพาล ในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า “ เสยฺโย อมิตฺโต ” ดังนี้. :-
ได้ ยินมาว่า ในสมัยหนึ่ง พระตถาคตเจ้าเสด็จจากพระนครสาวัตถี ไปสู่แคว้นมคธ ขณะกำลังเสด็จจาริกไปในแคว้นมคธนั้น ทรงบรรลุถึงบ้านตำบลหนึ่ง. แม้บ้านหมู่นั้นก็หนาแน่นไปด้วยพวกมนุษย์อันธพาลโดยมาก.
ครั้นอยู่มาวันหนึ่ง พวกมนุษย์อันธพาลประชุมปรึกษากันว่า ท่านทั้งหลาย พวกยุงมันรุมกัดเรา ขณะที่ไปทำการงานในป่า เพราะเหตุนั้น การงานของเราทั้งหลายจึงขาดไป พวกเราจักถือธนูแลอาวุธ ครบมือทีเดียว พากันไปรบกับฝูงยุง ฆ่ามันเสีย แทงมันเสีย ให้ตายให้หมด ดังนี้ แล้วพากันไปป่า ต่างก็หมายมั่นว่า เราจักแทงฝูงยุง กลับไปทิ่มแทง ประหารกันเอง ต่างคนต่างก็เจ็บป่วยกลับมา นอนอยู่ภายในบ้านก็มี ที่กลางบ้านก็มี ที่ประตูบ้านก็มี.
พระบรมศาสดาแวดล้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ เสด็จเข้าไปสู่บ้านนั้นเพื่อบิณฑบาต. หมู่คนที่เป็นบัณฑิตที่เหลือ เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงสร้างมณฑปที่ประตูบ้าน ถวายมหาทานแก่พระสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ถวายบังคมพระศาสดา นั่งอยู่แล้ว.
ครั้ง นั้น พระศาสดาทอดพระเนตรเห็น คนทั้งหลายล้มนอนเจ็บในที่นั้นๆ ก็ตรัสถามอุบาสกเหล่านั้นว่า คนเหล่านี้ไปทำอะไรกันมา จึงได้เจ็บป่วยกันมากมาย?
อุบาสก เหล่านั้นก็กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คนเหล่านี้คบคิดกันว่า พวกเราจักทำการรบกับฝูงยุง แล้วพากันยกไป กลับไปรบกันเอง เลยเจ็บป่วยไปตามๆ กัน.
พระ ศาสดาตรัสว่า มิใช่ในบัดนี้เท่านั้น ที่พวกมนุษย์อันธพาลคบคิดกันว่า เราจักประหารฝูงยุง กลับประหารตนเอง แม้ในครั้งก่อน ก็เคยเป็นพวกมนุษย์ที่คิดว่า จักประหารยุง แต่กลับประหารผู้อื่นมาแล้วเหมือนกัน. แล้วทรงดุษณี ต่อเมื่อพวกมนุษย์เหล่านั้นทูลอาราธนาแล้ว.
ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติ อยู่ในกรุงพาราณสี. พระโพธิสัตว์เลี้ยงชีวิตด้วยการค้า. ครั้งนั้น ที่บ้านชายแดนแห่งหนึ่ง ในแคว้นกาสี มีพวกช่างไม้อาศัยอยู่มาก ด้วยกัน. ช่างไม้หัวล้านคนหนึ่ง ในหมู่ช่างไม้เหล่านั้น กำลังตากไม้ ขณะนั้น มียุงตัวหนึ่ง บินมาจับที่ศีรษะ ซึ่งคล้ายกับกระโหลกทองแดงคว่ำ แล้วกัดศีรษะด้วยจะงอยปาก เหมือนกับประหารด้วยหอก. ช่างไม้จึงบอกลูกของตน ผู้นั่งอยู่ใกล้ๆ ว่า ไอ้หนู ยุงมันกัดศีรษะพ่อ เจ็บเหมือนถูกแทงด้วยหอก จงฆ่ามันเสีย.
ลูกพูดว่า พ่อจงอยู่นิ่งๆ ฉันจะฆ่ามัน ด้วยการตบครั้งเดียวเท่านั้น.
แม้ ในเวลานั้น พระโพธิสัตว์ก็กำลังเที่ยวแสวงหาสินค้าของตนอยู่ ลุถึงบ้านนั้น นั่งพักอยู่ในโรงของช่างไม้นั้น. เป็นเวลาเดียวกันกับที่ช่างไม้นั้น บอกลูกว่า ไอ้หนู ไล่ยุงนี้ที.
ลูก ขานรับว่า จ่ะพ่อ ฉันจะไล่มัน พูดพลาง ก็เงื้อขวานเล่มใหญ่คมกริบ ยืนอยู่ข้างหลังพ่อ ฟันลงมาเต็มที่ ด้วยคิดว่า จักประหารยุง เลยผ่าสมองของบิดาเสียสองซีก. ช่างไม้ถึงความตายในที่นั้นเอง.
พระ โพธิสัตว์เห็นการกระทำของลูกช่างไม้แล้ว ได้คิดว่า ถึงปัจจามิตรเป็นบัณฑิต ก็ยังดีกว่า เพราะเขายังเกรงอาญาแผ่นดิน ไม่ถึงกับฆ่ามนุษย์ได้.
แล้วกล่าวคาถานี้ ความว่า
“ ศัตรูผู้มีความรู้ ประเสริฐกว่ามิตรผู้ปราศจากความรู้ ไม่ประเสริฐเลย เพราะลูกชายผู้โง่เขลา คิดว่า จักฆ่ายุง กลับผ่าหัวของพ่อเสีย ” ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เสยฺโย ความว่า ประเสริฐ คือสูงสุด.
บทว่า มติยา อุเปโต ความว่า ประกอบด้วยปัญญา.
บทว่า เอลมูโค แปลว่า เซ่อเซอะ คือโง่เขลา.
บท ว่า ปุตฺโต ปิตุ อพฺภิทา อุตฺตมงฺคํ ความว่า เพราะความที่ตนเป็นคนโง่เขลา แม้เป็นบุตร คิดว่า เราจักฆ่ายุง ก็ยังผ่าหัวสมองของพ่อเสียแล่งเป็น ๒ ซีก เพราะเหตุนั้น บัณฑิตถึงจะเป็นศัตรู ก็ยังดีกว่ามิตรที่โง่ๆ.
พระโพธิสัตว์ ครั้นกล่าวคาถานี้แล้ว ก็ลุกขึ้นไปทำงานตามหน้าที่. แม้พวกที่เป็นญาติ ก็ได้จัดการทำสรีรกิจของช่างไม้.
พระ บรมศาสดาตรัสว่า อุบาสกทั้งหลาย แม้ในครั้งก่อน ก็ได้เคยมีมนุษย์ที่ได้คิดว่า เราจักประหารยุง แต่กลับประหารคนอื่นมาแล้ว เหมือนกัน.
ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงสืบอนุสนธิประชุมชาดกว่า
ก็พ่อค้าบัณฑิตที่กล่าวคาถา แล้วหลีกไป ได้มาเป็น เราตถาคต นี้แล.


ขอบคุณที่มา
http://www.84000.org/tipitaka/atita100/jataka500.php?s=44
782  พระไตรปิฏก / พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ / Re: 7. ติตติรชาดก สหายธรรม เมื่อ: พฤษภาคม 27, 2011, 09:19:05 am
พระศาสดาเมื่อเสด็จไปยังนครสาวัตถีทรงปรารภ การห้ามเสนาสนะพระสารีบุตร จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ ดังนี้

ความพิสดารว่า เมื่อท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี สร้างวิหารเสร็จแล้ว ส่งทูตไปนิมนต์พระศาสดาเสด็จออกจากนครราชคฤห์ ถึงนครเวสาลี ประทับอยู่ในนครเวสาลีนั้นตามความพอพระทัย แล้วทรงพระดำริว่า จักไป นครสาวัตถี จึงเสด็จดำเนินไปตามทาง สมัยนั้น อันเตวาสิกทั้งหลายของภิกษุ ฉัพพัคคีย์พากันล่วงหน้าไป เมื่อพระเถระทั้งหลายยังไม่ได้จับจองเสนาสนะเลย พากันหวงเสนาสนะด้วยการพูดว่า เสนาสนะนี้จักเป็นของอุปัชฌาย์ของพวกเรา เสนาสนะนี้จักเป็นของอาจารย์ของพวกเรา เสนาสนะนี้จักเป็นของพวกเราเท่านั้น พระเถระทั้งหลายที่มาภายหลัง ย่อมไม่ได้เสนาสนะ อันเตวาสิกทั้งหลาย แม้ของพระสารีบุตรเถระพากันแสวงหาเสนาสนะเพื่อพระเถระก็ไม่ได้ พระเถระเมื่อไม่ได้เสนาสนะจึงยับยั้งอยู่ ด้วยการนั่งและการเดินจงกรม ที่โคนไม้ แห่งหนึ่ง ในที่ไม่ไกลเสนาสนะของพระศาสดานั่นเอง

ในเวลาใกล้รุ่ง พระศาสดาเสด็จออกมาทรงพระกาสะ (ไอ) พระเถระก็ไอขึ้น พระศาสดาตรัส ถามว่า นั่นใคร ? พระสารีบุตรกราบทูลว่า ข้าพระองค์สารีบุตร พระเจ้าข้า พระศาสดาตรัสถามว่า สารีบุตร เธอทำอะไรอยู่ในที่นี้ในเวลานี้ พระสารีบุตรนั้นจึงกราบทูลเรื่องราวนั้น เมื่อพระศาสดาได้ทรงสดับคำของพระสารีบุตรแล้วทรงรำพึงว่า เมื่อเรายังมีชีวิตอยู่ในบัดนี้ ภิกษุทั้งหลายยังไม่เคารพไม่ยำเกรงกันและกันก่อน เมื่อเราปรินิพพานแล้ว ภิกษุทั้งหลายจักทำอย่างไรกันหนอ ธรรมสังเวชก็เกิดขึ้น

เมื่อราตรีสว่างแล้ว พระองค์จึงรับสั่งให้ภิกษุสงฆ์ประชุมกัน แล้วสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า ภิกษุฉัพพัคคีย์ล่วงหน้าไปเกียดกันเสนาสนะของภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระจริงหรือ ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า จริงพระเจ้าข้า แต่นั้นพระองค์จึงทรงติเตียนพระฉัพพัคคีย์แล้วตรัสธรรมกถา ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใครหนอย่อมควรแก่อาสนะอันเลิศ น้ำอันเลิศ ก้อนข้าวอันเลิศ ภิกษุบางพวกกราบทูลว่า ผู้บวชจากขัตติยตระกูล บางพวกกราบทูลว่า ผู้บวชจากตระกูลพราหมณ์ บางพวกกราบทูลว่า ผู้บวชจากตระกูลคฤหบดี ภิกษุอีกพวกหนึ่งกราบทูลว่า พระวินัยธร พระธรรมกถึก ท่านผู้ได้ปฐมฌาน ท่านผู้ได้ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อีกพวกหนึ่ง กราบทูลว่า พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ ท่านผู้มีวิชชา ๓ ท่านผู้มีอภิญญา ๖ ย่อมควรแก่อาสนะเลิศ น้ำเลิศ ก้อนข้าวเลิศ

ในเวลาที่ภิกษุทั้งหลายกล่าวถึงท่านผู้ควรแก่อาสนะเลิศเป็นต้น ตามความชอบ ใจของตน ๆ อย่างนั้น พระศาสดาจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ถึงอาสนะเลิศเป็นต้นในศาสนาของเราจะต้องเป็นผู้บวชจากตระกูลกษัตริย์ หาเป็นประมาณไม่ ผู้บวชจากตระกูลพราหมณ์ ตระกูลคฤหบดี พระวินัยธร พระนักพระสูตร พระนักอภิธรรม ท่านผู้ได้ปฐมฌานเป็นต้น พระโสดาบันเป็นต้น หาเป็นประมาณไม่

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โดยที่แท้ในศาสนานี้ ควรกระทำการอภิวาท การลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม ตามผู้แก่กว่า ควรได้อาสนะเลิศ น้ำเลิศ ก้อนข้าวเลิศ ตามผู้ที่แก่กว่า นี้เป็นประมาณในศาสนานี้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้แก่กว่าเป็นผู้สมควรแก่อาสนะเลิศเป็นต้นเหล่านี้

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ก็บัดนี้แล สารีบุตรอัครสาวกของเรา ผู้ประกาศธรรมจักรตามได้ ควรได้เสนาสนะติดกับเรา สารีบุตรนั้นเมื่อไม่ได้เสนาสนะ จึงยับยั้งอยู่ที่โคนไม้ ตลอดราตรีนี้ บัดนี้แหละ เธอทั้งหลายไม่เคารพ ไม่ยำเกรง มีความประพฤติ ไม่เป็นสภาคกันอย่างนี้ เมื่อเวลาล่วงไป ๆ จักกระทำชื่อว่าอะไรอยู่

ลำดับนั้น เพื่อต้องการจะประทานโอวาทแก่ภิกษุเหล่านั้นจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลก่อน แม้สัตว์เดียรัจฉานทั้งหลาย ก็พากันคิดว่า ก็ข้อที่พวกเราไม่เคารพ ไม่ยำเกรง มีความประพฤติไม่เป็นสภาคกันและกันนั่น ไม่สมควรแก่พวกเรา บรรดาเราทั้งหลาย พวกเราจักรู้ผู้ที่แก่กว่า แล้วกระทำอภิวาทเป็นต้นแก่ผู้แก่ กว่านั้น จึงพิจารณากันอย่างถี่ถ้วนแล้วรู้ว่า บรรดาเราทั้งหลาย ท่านผู้นี้เป็นผู้แก่กว่า จึงกระทำอภิวาทเป็นต้นแก่ผู้แก่กว่านั้น ยังทางไปเทวโลกให้เต็มอยู่ แล้วทรงนำอดีตนิทานมาแสดงดังต่อไปนี้

ในอดีตกาล มีสหายทั้งสาม คือนกกระทา ลิง ช้าง อาศัยต้นไทรใหญ่ต้นหนึ่งอยู่ในหิมวันตประเทศ สหายทั้งสามนั้น ได้เป็นผู้ไม่เคารพ ไม่ยำเกรง มีความประพฤติไม่เป็นสภาคกันและกัน ลำดับนั้น สหายทั้งสามนั้น ได้มีความคิดดังนี้ว่า การที่เราทั้งหลายอยู่กันอย่างนี้ไม่สมควร ถ้ากระไร พวกเราพึงกระทำอภิวาทเป็นต้นแก่บรรดาพวกเราผู้แก่กว่าอยู่ สหายทั้งสามคิดกันอยู่ว่า บรรดาพวกเรา ก็ใครเล่าเป็นผู้ที่แก่กว่า

วันหนึ่งคิดกันว่า อุบายนี้มีอยู่ จึงทั้ง ๓ สัตว์ นั่งอยู่ที่โคนต้นไทร นกกระทาและลิงจึงถามช้างว่า ดูก่อนช้างผู้สหาย ท่านรู้จักต้นไทรนี้ ตั้งแต่กาลมีประมาณเพียงไร ? ช้างนั้น กล่าวว่า ดูก่อนสหายทั้งหลาย ในเวลาเป็นลูกช้างรุ่น เราเดินทำพุ่มต้นไทรนี้ไว้ ในระหว่างขาอ่อน ก็แหละในเวลาที่เรายืนคร่อมอยู่ ยอดของมันระท้องเรา เมื่อเป็นอย่างนี้ เราจึงรู้จักต้นไทรนี้ ตั้งแต่เวลายังเป็นพุ่ม

สหายทั้งสองจึง ถามลิงโดยนัยก่อนนั่นแหละอีก ลิงนั้นกล่าวว่า สหายทั้งหลายเราเป็นลูกลิง นั่งอยู่ที่ภาคพื้น ไม่ต้องชะเง้อคอเลย เคี้ยวกินหน่อของไทรอ่อนนี้ เมื่อเป็นอย่างนี้ เราจึงรู้จักต้นไทรนี้ ตั้งแต่เวลายังเป็นต้นเล็ก ๆ

ลำดับนั้น สหายทั้งสองจึงถามนกกระทา โดยนัยก่อนนั่นแหละ นกกระทานั้นกล่าว ว่า สหายทั้งหลาย เมื่อก่อน ต้นไทรใหญ่ได้มีอยู่ในที่โน้น เรากินผลของมันแล้วถ่ายอุจจาระลงในที่นี้ แต่นั้น ต้นนี้จึงเกิดเป็นอย่างนั้น เราจึงรู้จักต้น ไทรนี้ ตั้งแต่มันยังไม่เกิด เพราะฉะนั้น เราจึงเป็นผู้แก่กว่าท่านทั้งหลายโดยกำเนิด

เมื่อนกกระทากล่าวอย่างนี้ ลิงและช้างจึงกล่าวกะนกกระทาผู้เป็นบัณฑิตว่า สหาย ท่านเป็นผู้แก่กว่าเราทั้งหลาย จำเดิมแต่นี้ไป พวกเราจักกระทำสักการะ การเคารพ การนับถือ การไหว้ การบูชา และการอภิวาท การลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม แก่ท่าน และจักตั้งอยู่ในโอวาทของท่าน อนึ่ง ตั้งแต่นี้ไป ท่านพึงให้โอวาทและอนุศาสนีแก่เราทั้งหลาย ตั้งแต่นั้นมา นกกระทาได้ให้โอวาทแก่ลิงและช้างเหล่านั้นให้ตั้งอยู่ในศีล แม้ตนเอง ก็สมาทานศีล สหายแม้ทั้งสามนั้นตั้งอยู่ในศีล ๕ มีความเคารพยำเกรงกันและกัน มีความประพฤติเป็นสภาคกัน ในเวลาสิ้นชีวิต ได้เป็นผู้มีเทวโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้า การสมาทานของสหายทั้งสามนั้น ได้ชื่อว่าติดติรพรหมจรรย์.

พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ชื่อว่าสัตว์เดียรัจฉานเหล่านั้น ยังมีความเคารพ มีความยำเกรงกันและกันอยู่ ฝ่ายเธอทั้งหลายก็บวชในพระธรรมวินัยที่เรากล่าวดีแล้วอย่างนี้ เพราะเหตุไร จึงไม่เคารพยำเกรงกันและกันอยู่

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตั้งแต่นี้ไป เราอนุญาตการอภิวาท การลุกรับ การอัญชลีกรรม สามีจิกรรม ตามผู้ที่แก่กว่า อาสนะเลิศ น้ำเลิศ ก้อนข้าว เลิศ ตามผู้ที่แก่กว่า แก่เธอทั้งหลาย ตั้งแต่นี้ไปผู้ใหม่กว่าไม่พึงห้ามเสนาสนะผู้แก่กว่า ภิกษุใดห้าม ภิกษุนั้นต้องอาบัติทุกกฏดังนี้

ครั้นทรงนำพระธรรม เทศนานี้มาอย่างนี้แล้ว ทรงเป็นผู้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ ว่า

นรชนเหล่าใด ฉลาดในธรรม นอบน้อมคนผู้ใหญ่

นรชนเหล่านั้น เป็นผู้ได้รับความสรรเสริญในปัจจุบันนี้

และมีสุคติเป็นที่ไปในเบื้องหน้า

พระศาสดาตรัสคุณของธรรม คือการอ่อนน้อมต่อผู้เจริญอย่างนี้แล้ว ทรงสืบประชุมชาดกว่า ช้างผู้ประเสริฐในกาลนั้น ได้เป็น พระโมคคัลลานะ ลิงในกาลนั้น ได้เป็นพระสารีบุตร ส่วนนกกระทาผู้เป็นบัณฑิตในกาลนั้น ได้เป็นเราเองแล.

จบติตติรชาดก

http://www.dharma-gateway.com/buddha/chadok-01-01/chadok-010407.htm
783  พระไตรปิฏก / พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ / 7. ติตติรชาดก สหายธรรม เมื่อ: พฤษภาคม 27, 2011, 09:18:41 am
ติตติรชาดก

          ณ ต้นไทรใหญ่ต้นหนึ่งในป่าหิมพานต์ เป็นที่อาศัยของสัตว์สามชนิด คือ ช้าง ลิง และ นกกระทา สัตว์ทั้งสามไม่ค่อยชอบหน้ากันโดยช้างถือว่าตนมีร่างกายแข็งแรงใหญ่โต ลิงถือว่าตนแคล่วคล่องว่องไว ส่วนนกกระทาก็ถือว่าตนนั้นบินได้เก่ง จึงพยายามหาทางกลั่นแกล้งกันและกันอยู่เสมอ

          วัน หนึ่ง ช้างซึ่งคิดว่าตนเองแข็งแรงที่สุด มีรูปร่างใหญ่โต ต้องมีอำนาจมากกว่าสัตว์อื่น จึงแผดเสียงดังสนั่นหวั่นไหวจนลิงและนกกระทาตกใจนอนไม่หลับ ทำให้สัตว์ทั้งสองโกรธแค้นเป็นอันมาก

วัน หนึ่ง ลิงเห็นช้างกำลังกินหน่อไม้ริมทางอย่างเพลิดเพลิน ก็แกล้งโยนรังมดแดงใส่หลัง มดแดงรุมกัดช้างจนร้องลั่น ลิงหัวเราะชอบใจแล้วหันไปรื้อรังนกกระทา

          นก กระทาแค้นใจเป็นอันมากที่ถูกช้างและลิงกลั่นแกล้งจึงพยายามหาทางแก้แค้นคืน บ้าง พอเห็นลิงและช้างเผลอ ก็บินขึ้นไปและถ่ายมูลรดหัวช้างและลิงเป็นการแก้แค้น

ทั้งสามต่างแกล้งกันอยู่อย่างนี้ทุกวันจนไม่เป็นอันทำมาหากิน เป็นผลให้สัตว์ทั้งสามมีร่างกายผ่ายผอมอ่อนแอ จิตใจเสื่อมโทรมลงทุกวัน

          ใน ที่สุดสัตว์ทั้งสามเห็นว่าการกลั่นแกล้งกันทำให้เกิดความเดือดร้อน มีแต่ผลเสีย จึงปรึกษากันว่าควรจะเลือกผู้ที่มีอายุมากที่สุดเป็นหัวหน้า โดยใช้วิธีการสืบสาวเรื่องราวว่าใครรู้จักต้นไทรนี้ก่อนกัน

ช้างตอบว่า “ข้ารู้จักต้นไทรต้นนี้ตั้งแต่ต้นไทรสูงไม่เกินระดับท้องของข้า”

          ส่วนเจ้าลิงกลัวจะน้อยหน้าเพื่อนจึงตอบว่า “ข้านี่นะ รู้จักไทรต้นนี้ตั้งแต่ยังต้นเล็กนิดเดียวเท่านั้น”

นกกระทาได้ยินช้างกับลิงตอบเช่นนั้นจึงตอบอย่างมั่นอกมั่นใจว่า “นี่ แน่ะเพื่อนรัก ข้าจะบอกอะไรให้ เมื่อก่อนต้นไทรต้นนี้ไม่มีหรอก ข้าต้องบินไปกินผลไทรในป่าโน้นกินเสร็จก็บินกลับมาที่นี่ แล้วพอดีเกิดปวดท้องจนทนไม่ไหวจึงถ่ายมูลไว้ตรงนี้ เมล็ดไทรจากมูลที่ข้าถ่ายไว้นั่นเองที่เกิดเป็นต้นไทรขึ้น”

          เมื่อซักถามประวัติกันเรียบร้อยแล้ว ปรากฏว่านกกระทาเป็นผู้มีอายุมากที่สุด ได้รับการยกย่องให้เป็นพี่ใหญ่ ช้างและลิงต้องเชื่อฟัง

          นับ ตั้งแต่นั้นมา นกกระทาทำหน้าที่เป็นผู้ปลุกน้อง ๆ ให้ตื่นแต่เช้าแล้วบินขึ้นที่สูง เพื่อสำรวจแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ พาช้างและลิงไปที่นั่น

          โดยให้ลิงเป็นฝ่ายขึ้นไปเก็บผลไม้มากินกัน และบรรทุกผลไม้ที่เหลือไว้บนหลังช้าง เก็บไว้เป็นอาหารมื้อต่อไป

          ใน ที่สุดสัตว์ทั้งสามก็มีสุขภาพกายจิตดีขึ้นเรื่อย ๆ ต่างพร้อมใจกันทำหน้าที่ที่ตนถนัด ทำให้สามารถอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขด้วยการพึ่งพาอาศัยกันและกัน

          ชาดก เรื่องนี้สอนให้รู้ว่าการนับถือกันตามลำดับวัยวุฒิ รู้จักเคารพซึ่งกันและกัน และรู้จักเอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่กันย่อมนำมาซึ่งความสุขในการอยู่ร่วมกัน

http://www.oknation.net/blog/preeeecha/2010/02/17/entry-6

784  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: ผู้ชนะย่อมก่อเวร ผู้แพ้ย่อมนอนเป็นทุกข์ เมื่อ: พฤษภาคม 26, 2011, 08:03:00 am
การระงับเวร

อกฺโกจฺฉิ มํ อวธิ มํ อชินิ มํ อหาสิ เม
เย เจ ตํ อุปนยฺหนฺติ เวรํ เตสํ น สมฺมติ
อกฺโกจฺฉิ มํ อวธิ มํ อชินิ มํ อหาสิ เม
เย จ ตํ นูปนยฺหนฺติ เวรํ เตสูปสมฺติ

คำแปล

บุคคล ใด ผูกเวรว่า ผู้นี้ได้ด่าเรา
ได้ตีเรา ได้ชนะเรา ได้ลักของเรา
เวรของผู้นั้น ย่อมไม่ระงับลงได้
ส่วนบุคคลใด มิได้ผูกเวรไว้เช่นนั้น
 เวรของผู้นั้นย่อมระงับลงได้

อธิบายความ คำว่าผูกเวร ในความหมายทางศาสนา หมายถึงการผูกใจเจ็บหรือพยาบาทนั่นเอง

 บุคคล ผู้ดำรงชีวิตอยู่ในโลกยิ่งนานเท่าใด ก็ยิ่งถูกมรสุมแห่งชีวิตมากเท่านั้น มรสุมดังกล่าวนี้เช่น มีคนด่าเสียดสีบ้าง มีคนมาทุบตีประหัตประหารบ้าง ในการแข่งขันในเกมชีวิต เขาชนะเราบ้าง และเราอาจถูกลักถูกขโมยของอันเป็นที่รักบ้าง

เมื่อ ถูกกระทำเช่นนี้ ใครผูกเวร ผูกพยาบาท ก็ต้องจองเวรกันอยู่เรื่อยไป มีการกระทำและกระทำตอบอยู่เสมอไม่สิ้นสุดลงได้ บางทีหลายชั่วอายุคน จองเวรกันอยู่หลายชาติก็มี

ส่วนบุคคลผู้พิจารณาเห็นโทษของการจองเวร ไม่ผูกเวรใครผิดพลาดต่อตนก็ให้อภัยเสีย ประกอบด้วยขันติและเมตตา มีอุดมคติ ยึดคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นทางดำเนินชีวิต และถือว่าบุคคลประกอบกรรมอันใด ย่อมจะได้รับผลแห่งกรรมอันนั้นด้วยตนเอง พยายามคุ้มครองรักษาตนให้บริสุทธิ์อยู่ด้วยใจอันมั่นคง บุคคลเช่นนี้ย่อมไม่มีเวร เมื่อไม่มีเวร ภัยจักมีจากไหน

แนว คิดอย่างนี้ มีส่วนสัมพันธ์กับความเชื่อในเรื่องกฎแห่งกรรมและการเกิดใหม่ จงดูตัวอย่างเรื่องพระจักขุบาลในเรื่องที่หนึ่งตามที่กล่าวมาแล้ว ท่านมีเวรในอดีตด้วยการประกอบยา ทำให้หญิงคนหนึ่งตาบอด มาในชาติสุดท้าย ท่านจึงมีภัย คือการตาบอดในขณะทำความเพียร อาจมีคนคัดค้านว่า ท่านตาบอดเพราะทำความเพียรโดยไม่นอนต่างหาก หาใช่เพราะกรรมเก่าแต่ประการใดไม่ ถามว่าก็อะไรเล่าชักนำ หรือดลบันดาลใจให้ท่านเห็นดีเห็นงามในการประพฤติเช่นนั้น มิใช่แรงบันดาลแห่งกรรมเก่าดอกหรือ? แรงกรรมมีอำนาจเหนือสติปัญญา สมดังที่พระศาสดาตรัสว่า "นตฺถิ กมฺมสมํ พลํ" ไม่มีกำลังใดเสมอด้วยกำลังแห่งกรรม" ถ้าสติปัญญามีอำนาจเหนือแรงกรรมแล้ว จะมีนักปราชญ์ หรือบัณฑิตใดเล่า จะต้องตกอับ หรือผิดพลาดในชีวิต
ดังนั้น บัณฑิตจึงไม่ควรก่อเวร ไม่ควรผูกเวร เพื่อจักได้ระงับเวรทั้งในปัจจุบันและอนาคต

เรื่องประกอบ พระติสสะ


พระ ติสสะ เกี่ยวข้องเป็นพระญาติของพระพุทธเจ้าคือเป็นพระโอรสแห่งพระปิตุฉาของพระ ศาสดา จึงนับเนื่องเป็นเจ้าชายพระองค์หนึ่งแห่งศากยวงศ์ พระติสสะ บวชเมื่อแก่แล้ว ปรากฏว่าเป็นคนมีลาภสักการะมากผู้หนึ่ง ชอบห่มจีวรสีสวย รีดเรียบ และนั่งวางภูมิอยู่ที่โรงฉันซึ่งมีเสนาสนะสงฆ์ล้อมรอบ

วันหนึ่งภิกษุ อาคันตุกะหลายรูป มาเฝ้าพระศาสดาผ่านมาเห็นพระติสสะ นั่งภูมิฐานอยู่ เข้าใจว่าเป็นพระเถระ จึงเข้าไปทำความเคารพ

พระติสสะ ทำเฉยไม่แสดงความเคารพตอบพระผู้ใหญ่ ไม่รู้จักประมาณตน มิได้กระทำสิ่งที่ควร เช่น สามีจิกรรม (การแสดงความเคารถอันควรแก่ฐานะ) เป็น ต้น จึงถูกพระอาคันตุกะตำหนิพระติสสะก็เกิดขัตติยมานะขึ้น ถือตนว่าเป็นพระญาติของพระศาสดา พระศาสดาตรัสตำหนิพระติสสะนานาประการที่ไม่ได้กระทำกิจอันควรแก่อาคันตุกะ เช่น มิได้ลุกขึ้นต้องรับ มิได้ถามถึงการรับบริขาร มิได้ถามถึงธรรมเนียม, ความต้องการน้ำดื่ม ไม่นำอาสนะมาให้ มิได้ถามโดยเอื้อถึงการนวดมือนวดเท้า เป็นต้น

แล แล้ว พระพุทธองค์รับสั่งให้พระติสสะขอโทษพระอาคันตุกะเหล่านั้นเสีย แต่พระติสสะไม่ยอมทำ อ้างว่าพระเหล่านั้นด่าท่านก่อน พระพุทธองค์ตรัสว่า "ติสสะ! โทษของเธอมีอยู่ จงขอโทษพระเหล่านี้เสีย" ถึงกระนั้นพระติสสะก็หายอมไม่ พระทั้งหลายจึงทูลว่าพระติสสะหัวดื้อ ว่ายากสอนยาก

พระ พุทธเจ้าตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย! พระติสสะจะเป็นผู้ว่ายากสอนยากแต่ในบัดนี้ก็หาไม่ แม้ในชาติก่อนก็เคยเป็นผู้ว่ายากสอนยากมาแล้วเหมือนกัน"

เมื่อภิกษุทั้งหลายทูลขอร้องให้เล่าเรื่องในอดีต พระศาสดาจึงทรงนำเรื่องในอดีตมาตรัสเล่าว่า

ใน อดีตกาล มีดาบสรูปหนึ่ง ชื่อเทวละ อยู่ในเขตหิมวันตประเทศ 8 เดือนแล้ว เข้ามาสู่เมืองพาราณสีต้องการพักอยู่สัก 4 เดือน เพื่อได้ลิ้มรสเปรี้ยวและเค็มบ้าง มาขอพักอาศัยอยู่ ณ โรงทำหม้อของช่างหม้อคนหนึ่ง

ในเย็นวันเดียวกันนั้นมีดาบสอีกรูปหนึ่ง ชื่อนารทะมาจากหิมวันตประเทศเหมือนกัน และมาขอพักที่โรงทำหม้อของช่างหม้อคนเดียวกัน

"ท่านผู้มีอายุ!" นารทะกล่าว "ถ้าไม่เป็นการหนักใจ ข้าพเจ้าขอพักในโรงทำหม้อของท่านสักคืนหนึ่งเถิด"

ช่าง หม้อต้องการหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบ จึงกล่าวว่า "ท่านผู้เจริญ! ในโรงทำหม้อของข้าพเจ้ามีดาบสท่านหนึ่งมาพักอยู่แล้ว ก่อนหน้าท่านเพียงเล็กน้อย หากท่านตกลงกับดาบสนั้นได้ก็เชิญท่านตามสบายเถิด"

นารทะจึงทำความตกลงกับเทวละๆ ยินยอม บอกว่าท่านเลือกนอนเอาได้ตามปรารถนา

เมื่อ ถึงเวลานอน นารทะได้กำหนดไว้แล้วว่า เทวละนอนตรงนั้นๆ เพื่อตนออกไปธุระเวลากลางคืนจักได้ไม่กระทบกระทั่งกัน แต่พอเวลานอนจริง เทวละกลับไปนอนขวางประตูเสีย

ตอน ดึก นารทะออกไป จึงเหยียบเอาชฎา และก้านคอเทวละโกรธมาก แม้นารทะพยายามขอโทษเท่าไรก็ไม่ยอม กล่าวคำสาปว่า เมื่อพระอาทิตย์ขึ้นมาให้ศีรษะของนารทะแตกเป็น 7 เสี่ยง

ฝ่ายนารทะก็กล่าวบ้างว่า ใครมีความผิดขอให้ศีรษะของผู้นั้น แตกเป็น 7 เสี่ยง

ก็ นารทะนั้นเป็นผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมา ระลึกชาติและเหตุการณ์ได้ถึง 80 กัปป์ คือในอดีต 40 กัปป์ ในอนาคต 40 กัปป์ จึงลองใคร่ครวญดูว่า เมื่อพระอาทิตย์ขึ้นมา ศีรษะของใครจักแตก ได้รู้ว่า ศีรษะของเทวละจักแตก เกิดจิตเมตตา จึงใช้อานุภาพของตนห้ามพระอาทิตย์ไม่ให้ขึ้น

เมื่อ พระอาทิตย์ไม่ขึ้น กลางคืนนานเกินไป ประชาชนก็เดือดร้อน จึงพากันเฝ้าพระราชา ขอให้ทำให้พระอาทิตย์ขึ้น พระราชาทรงสำรวจพระจริยาวัตรทั้งปวงของพระองค์ ก็ไม่ทรงเห็นข้อบกพร่องไรๆ ทรงเฉลียวพระทัยถึงการวิวาทของพวกนักพรตว่าอาจมีในนครของพระองค์ จึงตรัสถามประชาชน, ทรงทราบว่า เมื่อวานนี้มีนักพรตประเภทดาบสสองท่านมาพักที่บ้านช่างหม้อใกล้เมือง

พระ ราชาทรงแน่พระทัยว่า การที่พระอาทิตย์ไม่ขึ้นครั้งนี้ คงเนื่องมาจากการทะเลาะของดาบสทั้งสองเป็นแน่นอน จึงเสด็จไปพร้อมด้วยข้าราชบริพารและประชาชนเป็นอันมาก ได้ทรงทราบเรื่องทั้งปวงจากเทวละดาบส ตรัสถามว่าทำอย่างไรเทวละจึงจะพ้นอันตราย นารทะดาบสถวายพระพรว่า ต้องให้เทวละขอโทษท่าน เมื่อท่านคลายฤทธิ์ พระอาทิตย์ขึ้นมา เทวละก็จะปลอดภัย พระราชาทรงขอร้องให้เทวละดาบสขอโทษ แต่เทวละไม่ยอม พระราชาจึงรับสั่งให้จับเทวละดาบสแล้วให้หมอบลงแทบเท้าของนารทะ

นา รทะทูลว่า การขอโทษดังนี้ เทวละมิได้ทำด้วยความเต็มใจ หาพ้นโทษไม่ เมื่อพระอาทิตย์ขึ้นมาศีรษะจะต้องแตกเป็น 7 เสี่ยง นารทะจึงออกอุบายให้นำเทวละลงไปแช่ในสระน้ำให้เอาดินเหนียวพอกศีรษะไว้ พอท่านคลายฤทธิ์ ให้เทวละดำไปผุดที่อื่นเสีย

เทวละดาบสได้ทำดังนั้น นารทะคลายฤทธิ์ พระอาทิตย์ขึ้นมา เทวละดำน้ำลงไปผุดในที่อีกแห่งหนึ่ง ส่วนดินเหนียวได้แตกเป็น 7 เสี่ยง

พระศาสดาตรัสประชุมชาดกว่า พระราชาในกาลนั้นคือ พระอานนท์ เทวละดาบสเป็นพระติสสะหัวดื้อ ส่วนนารทะดาบส คือพระองค์เอง

แลแล้วได้ตรัสกับพระติสสะว่า

"ดู ก่อนติสสะ! เมื่อภิกษุคิดอยู่ว่า ผู้โน้นฆ่าเรา ประหารเรา ชนะเรา ลักสิ่งของๆ เรา เวรของผู้นั้นย่อมไม่ระงับลงได้ ส่วนผู้ใดไม่คิดดังนั้นเวรของเขาย่อมระงับลง"

(โดยอาจารย์ วศิน อินทสระ)


http://www.oknation.net/blog/diamond/2009/07/04/entry-1
785  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: คนพาลย่อมสำคัญว่าเป็นสุข เมื่อบาปยังไม่ให้ผล เมื่อ: พฤษภาคม 26, 2011, 08:01:03 am
ลักษณะ ของคนพาลที่สำคัญ  คือคนพาลนั้นมักจะอ้างเหตุผลที่ไม่มีทางเกิดขึ้นจริงได้  เพื่อให้ตนเป็นฝ่ายชนะ  เหตุผลที่คนพาลหยิบยกนำมาอ้างนั้นจึงเป็นสิ่งที่มิได้ปฏิบัติจริง  ฉะนั้นแล้วการถกเถียงกันเพื่อให้ตนเองชนะจึงไม่เกิดประโยชน์  เพราะตนเองชนะแต่นำสิ่งที่ตนเถียงแล้วไปปฏิบัติให้เห็นเป็นรูปธรรมได้อย่าง แท้จริงชนะไปก็เท่านั้น  สู้ยอมเป็นผู้แพ้แต่สิ่งที่ตนนำเสนอด้วยเหตุและผลนำไปปฏิบัติได้จริงก็ไม่ ได้

ลักษณะของคนพาลนั้นเป็นคนฉลาด  มีความสามารถพลิกแพลงรวมทั้งการมีเชาน์ไหวพริบมาก  แต่ตามธรรมชาติของคนพาลนั้นย่อมขาดความเฉลียวใจเสมอ  เพราะความเฉลียวนั้นจะทำให้คนพาลกลายเป็นไม่พลาลได้  ด้วยเหตุนี้การที่เราจะเอาชนะคนพาลได้นั้นเราต้องมีความเฉลียวในเหตุผลที่คน พาลยกมา  คิดตามสิ่งที่คนพาลพูดแล้วลองพิจารณาว่าปฏิบัติตามที่คนพาลยกมาได้หรือไม่  ตามปกติแล้วเหตุและผลที่คนพาลยกมานั้นย่อมนำมาปฏิบัติไม่ได้จริงทั้งโลก สมมุติในคติการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5  แลชะโลกแห่งความเป็นจริงคือการใช้ประสาทสัมผัสที่ 6

คนพาลจึงหนีไม่พ้นคนถือตัวกอร์ปด้วยมานะทิฐิเป็นที่ตั้ง  ซึ่งคนปกติก็สามารถเป็นคนพาลได้หากได้รับอิทธพลแห่งมานะทิฐิเข้าครอบงำ  มานะทิฐิจะเกิดได้มากกับผู้ที่มีความรู้มาก  ผู้ที่มีความรู้จากตำราจะใช้วิธีการคิดหาเหตุผลด้วยปัญญาที่เกิดขึ้นโดยการ ใชสมอง  แต่ผู้ที่ปฏิบัติจนชำนาญจะใช้บทเรียนสิ่งที่เกิดขึ้นกับตนมาใช้เป็นคำตอบแทน ที่การใช้สมอง  ฉะนั้นผู้มีปัญญามากจึงใช้สมองน้อยแล้วผู้มีปัญญาน้อยจะใช้สมองมาก  นั่นหมายความว่าผู้มีปัญญาจะใช้เรื่องที่เกิดขึ้นจริง  แต่ผู้ไร้ปัญญาจะใช้เรื่องสมมุติ  ซึ่งอาจจะมาจากการคิด  การคาดคะเน  รวมทั้งการตั้งสมมุติฐานโดยไม่ลงมือพิสูจน์สิ่งนั้น

ดังนั้นลักษณะ ของคนพาลจึงเป็นคนฉลาดแต่ไม่มีปัญญา  เพราะคนพาลจะเต็มไปด้วยเรื่องที่สมมุติขึ้น  การหาเหตุผลมาหักล้างจะมาจากสิ่งที่ตนเองคิดขึ้นจากการคาดคะเน  แต่ผู้มีประสบการณ์จากการปฏิบัติเหตุผลทีนำมาหักล้างจะมาจากเรื่องจริง  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดก็ตามเรื่องนั้นจะเกิดขึ้นจริงกับตนหรืออย่างน้อยเกิด ขึ้นกับคนอื่นแล้วตนเป็นผู้รับรู้  ด้วยเหตุนี้คนพาลจึงไม่สามารถเอาชนะคนปกติที่ไม่พาลได้

ด้วยเหตุนี้ หากเราเป็นนักเรียนปริยัติ  จึงจำเป็นที่จะต้องนำปริยัตินั้นไปปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงปฏิเวธให้ได้  เพราะตัวปฏิเวธจะเป็นตัวสนับสนุนหรือหักล้างปริยัติที่เรารู้มาได้อย่างมี ประสิทธิภาพที่สุด  นี่จึงเป็นเหตุอีกประการที่ทำให้ผู้เรียนปริยัติอย่างเดียว  ต่างจากผู้นำปริยัติไปปฏิบัติจนเกิดปฏิเวธอย่างสิ้นเชิง  โดยเฉพาะการเรียนพุทธศาสนาความเข้าใจในปริยัติสำคัญมาก  เราคนไทยเข้าใจสิ่งที่รู้มาให้เป็นภาษาไทย  คนอังกฤษก็เข้าใจเป็นภาษาอังกฤษ ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องไปเข้าใจให้เป็นภาษาบาลีหรือสันสฤต  เข้าใจเป็นภาษาไทยนี่แหล่ะ  ปฏิบัติให้ได้จะเกิดปฏิเวธเอง  ปฏิเวธจะเป็นตัวชีวัดว่าปริยัติที่รู้มาถูกต้องหรือไม่

ดังนั้นการ ที่เรานำทฤษฎีมาปฏิบัติจนบังเกิดผลกับตนเอง  จะช่วยให้เราหลุดพ้นจากการเป็นคนพาลได้  เพราะคนพาลเป็นคนที่ไม่ยอมรับความเป็นจริงที่เกิดขึ้น  ดังนั้นคนพาลจึงมีลักษณะของการยึดติดความรู้ที่ตนมีเป็นอุปทานเป็นที่ตั้ง  หากผู้ใดนำความรู้ในเรื่องใดแล้วเรื่องนั้นขัดแย้งกับสิ่งที่ตนรู้มาจะเกิด ความขัดแย้งขึ้นมาทันที  นี่เป็นลักษณะเฉพาะของคนพาลที่เกิดขึ้นและมีอยู่ในปัจจุบัน

http://www.dhumma.net/index.php?option=com_content&view=article&id=295&Itemid=312
786  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / คนพาลย่อมสำคัญว่าเป็นสุข เมื่อบาปยังไม่ให้ผล เมื่อ: พฤษภาคม 26, 2011, 07:58:39 am
"คนพาลย่อมสำคัญว่าเป็นสุข เมื่อบาปยังไม่ให้ผล ถ้าบาปให้ผลเมื่อใด คนพาลย่อมได้รับทุกข์เมื่อนั้น ผู้ฆ่าย่อมถูกฆ่าตอบ ผู้ชนะย่อมได้รับการชนะตอบ ผู้ด่าย่อมถูกด่าตอบ ผู้โกรธย่อมได้รับการโกรธตอบ เพราะความหมุนเวียนแห่งกรรม"

สังคามวัตถุสูตร ๑๕/๑๑๙


787  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ผู้ชนะย่อมก่อเวร ผู้แพ้ย่อมนอนเป็นทุกข์ เมื่อ: พฤษภาคม 26, 2011, 07:55:56 am


พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารบุพพาราม เมืองสาวัตถี ภิกษุทั้งหลายได้กราบทูลพระพุทธเจ้าถึงพระอชาตศัตรูยกทัพไปตีแคว้นกาสี พระเจ้าปเสนธิโกศลได้ยกทัพไปป้องกันแต่พ่ายแพ้กลับมา ทรงทราบและได้ตรัสว่า

    "ภิกษุทั้งหลาย! วันนี้พระเจ้าปเสนธิโกศล ทรงแพ้มาแล้วอย่างนี้ จะบรรทมเป็นทุกข์ตลอดคืนนี้"

    และทรงแสดงผลแห่งสงคราม เป็นคติเตือนใจว่า

    "ผู้ชนะย่อมก่อเวร ผู้แพ้ย่อมนอนเป็นทุกข์ บุคคลละความชนะและความแพ้เสียแล้วจึงสงบระงับ(เวร)นอนเป็นสุข"
788  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / สวดพระปริตรและอธิษฐานจิตเพื่อประเทศไทย วันที่ ๒๙ พ.ค. ๕๔ ณ พระอุโบสถ วัดพระแก้ว เมื่อ: พฤษภาคม 22, 2011, 07:19:36 am
สวดพระปริตรและอธิษฐานจิตเพื่อประเทศไทย วันที่ ๒๙ พ.ค. ๒๕๕๔ ณ พระอุโบสถ วัดพระแก้ว

ขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชนและพี่น้องประชาชนชาวไทย

"สวดพระปริตรและอธิษฐานธรรม เพื่อแผ่นดินไทย" ครั้งที่ ๓๐

นำสวดโดย พระอาจารย์อารยวังโส

เจ้าอาวาสวัดป่าพุทธพจน์หริภุญไชย จังหวัดลำพูน

 

ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) กทม.

วันที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๔

เวลา ๐๗.๐๐-๐๙.๓๐ น.


 

มีหนังสือสวดมนต์แจกหน้างาน

 

หมายเหตุ

ท่านใดที่เคยได้รับแจกเข็มกลัดให้ติดเสื้อมาด้วยนะคะ

ท่านที่เคยได้รับแจกหนังสือสวดมนต์แล้ว โปรดนำติดตัวไปด้วย

เพื่อจะได้มีหนังสือไว้แจกแด่...ท่านที่มาใหม่ ค่ะ

 

การแต่งกาย: ชุดสุภาพสีขาว หรือ สีสุภาพ

งดเว้น กางเกงขาสั้น  กระโปรงสั้น

*******************************************************







ก็ขอเชิญสาธุชน ที่ทราบข่าวไปร่วมงานนี้ด้วยกันนะจ๊ะ

789  เรื่องทั่วไป / แนะนำเว็บไซท์ สายธรรมะ กันหน่อยจ้า / http://www.jitsabuy.com บ้านจิตสบาย เมื่อ: พฤษภาคม 20, 2011, 07:31:57 am


http://www.jitsabuy.com



เมนูหลัก

    * หน้าหลัก
    * กิจกรรมบ้านจิตสบาย
    * ปฎิทินธรรม
    * วิดีโอบรรยายธรรม
    * สาระจากพระไตรปิฎก
    * หนังสือธรรมะ

แผนที่บ้านจิตสบาย

 

การเดินทาง
1. เข้าทางด้านถนนกาญจนภิเษก จุดสังเกตหลัก คือ สมาคมชาวปักษ์ใต้ (ตรงข้ามเนติบัณฑิตฯ)
2. มาจากถนนบรมราชชนนี เลี้ยวเข้าถนนพุทธมณฑลสาย 2
เข้าสู่ถนนสุขาภิบาลบางระมาด (ห่างจากถนนพุทธมณฑลสาย 2 ประมาณ 150 เมตร)
3. มาจากถนนเพชรเกษม เลี้ยวเข้าถนนพุทธมณฑลสาย 2
เข้าสู่ถนนสุขาภิบาลบางระมาด (ห่างจากถนนพุทธมณฑลสาย 2 ประมาณ 150 เมตร)

 

รถประจำทางที่ผ่าน  สาย 157, 123, ปอ.พ.79
790  พระไตรปิฏก / พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ / Re: 5 ทุรานชาดก หญิงผู้ประพฤตินอกใจสามี เมื่อ: พฤษภาคม 20, 2011, 06:18:15 am
มลิตฺถิยา ทุจฺจริตฺตํ
ความประพฤติชั่วเป็นมลทินของหญิง
791  พระไตรปิฏก / พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ / Re: 5 ทุรานชาดก หญิงผู้ประพฤตินอกใจสามี เมื่อ: พฤษภาคม 20, 2011, 06:12:59 am
ทุรานชาดก

                
ภาวะของหญิง รู้ได้ยาก
   
     [๖๔]     " ท่านอย่าดีใจว่า  หญิงปรารถนาเรา   อย่า
     เศร้าโศก    ว่าหญิงนี้ไม่ปรารถนาเรา    ภาวะของ
       หญิงทั้งหลาย     รู้ได้ยากเหมือนทางไปของปลา
           ในน้ำ  ฉะนั้น "
                  จบ  ทุรานชาดกที่  ๔
                  
อรรถกถาทุรานชาดกที่ ๔

   พระศาสดาเมื่อประทับอยู่    ณ    พระเชตวันมหาวิหาร
ทรงปรารภอุบาสกคนหนึ่ง    ตรัสพระธรรมเทศนานี้   มีคำเริ่มต้น
ว่า   มา  สุ  นนฺทิ   อิจฺฉติ  มํ  ดังนี้.
   ได้ยินมาว่า   อุบาสกชาวเมืองสาวัตถีผู้หนึ่ง     ดำรงมั่นใน
สรณะทั้ง  ๓  ในศีลทั้ง  ๕  เป็นพุทธมามกะ   (ยึดถือพระพุทธเจ้า
ว่าเป็นของเรา)     เป็นธัมมมามกะ     (ยึดถือพระธรรมว่าเป็นของ
เรา)    เป็นสังฆมามกะ    (ยึดถือพระสงฆ์ว่าเป็นของเรา).    ส่วน
ภรรยาของเขา    เป็นหญิงทุศีล    มีบาปธรรม   วันใดได้ประพฤติ
นอกใจผัว    วันนั้นจะสดชื่นเหมือนนางทาสีที่ไถ่มาด้วยทรัพย์
๑๐๐    กษาปณ์   แต่ในวันไหนไม่ได้คบชู้   ก็จะเป็นเหมือนเจ้านาย
ที่ดุร้าย  หยาบคาย.  เขาอ่านใจนางไม่ออก  เมื่อเป็นเช่นนั้น  ก็เกิด
เอือมระอาในนางผู้เป็นภรรยา  ไม่ได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า.  ภายหลัง
วันหนึ่ง     เขาถือเครื่องสักการะมีของหอม     และดอกไม้เป็นต้น
ไปถวายบังคมแล้วนั่งอยู่     พระศาสดาตรัสว่า     เป็นอย่างไรหรือ
จึงไม่ได้มายังสำนักของตถาคตถึง    ๗ - ๘       วัน.   เขากราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ       แม่เรือนของข้าพระองค์     บางวันก็เป็น
เหมือนดังนางทาสีที่เขาไถ่มาด้วยทรัพย์นับร้อยกษาปณ์    บางวัน
ก็ทำเป็นเหมือนเจ้านาย     ดุร้ายหยาบคาย     ข้าพระองค์อ่านนาง
ไม่ออกเลย    ข้าพระองค์เกิดเอือมระอาในนาง    จึงไม่ได้เข้ามาเฝ้า
พระเจ้าข้า.    ครั้นพระศาสดาทรงสดับคำของเขาแล้ว   จึงตรัสว่า
อุบาสก  ขึ้นชื่อว่า   สภาพของมาตุคามรู้ได้ยากจริง  แม้ในครั้งก่อน
บัณฑิตทั้งหลายก็เคยบอกกับท่านแล้ว      แต่ท่านไม่อาจกำหนดได้
เพราะเกิด  ๆ    ดับ ๆ    ระหว่างภพต่อภพมากำบังไว้   อันอุบาสก
กราบทูลอาราธนาแล้ว  จึงทรงนำเรื่องในอดีตมาสาธก   ดังต่อไปนี้ :-
   ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน   กรุง-
พาราณสี     พระโพธิสัตว์เป็นอาจารย์ทิศาปาโมกข์    ให้มาณพ
๕๐๐   คน   ศึกษาศิลปะ   ครั้งนั้น   มาณพผู้หนึ่งอยู่นอกแว่นแคว้น
มาเรียนศิลปะในสำนักของท่าน    เกิดมีจิตปฏิพัทธ์ในหญิงนางหนึ่ง
ได้นางเป็นภรรยา    พำนักอยู่ในกรุงพาราณสีนั่นแหละ    ไม่ได้
ไปอุปัฏฐากอาจารย์เพียง   ๒-๓   เวลา    ส่วนหญิงผู้เป็นภรรยาของ
เขา    เป็นหญิงมีนิสัยชั่ว    ใฝ่ต่ำ    ในวันที่ประพฤตินอกใจสามีได้
จะสดชื่นเหมือนนางทาสี  (ที่เขาไถ่มาด้วยทรัพย์   ๑๐๐   กษาปณ์)
ในวันที่ประพฤติไม่ได้   ก็จะเป็นเหมือนเจ้านายที่ดุร้าย   หยาบคาย.
เขาไม่อาจทราบความประพฤติของนางได้     จึงเกิดเอือมระอา
ขุ่นข้องหมองใจนาง   ไม่ได้ไปสู่ที่บำรุงของอาจารย์.   ครั้นล่วงมา
๗-๘   วันจึงได้มา   ท่านอาจารย์จึงถามว่า   พ่อมาณพ   เป็นอะไร
ไปหรือ   จึงไม่มาเลย.   เขาบอกว่า   ท่านอาจารย์ขอรับ   ภรรยา
ของกระผมบางวันดูปรารถนากระผม    ต้องการกระผม    เป็น
เหมือนนางทาสีที่หมดมานะ   บางวันก็เป็นเหมือนเจ้านาย   กระด้าง
หยาบคาย     กระผมไม่อาจอ่านสภาพใจของนางออกได้เลย     จึง
เกิดเอือมระอา     ขุ่นข้องหมองใจ     มิได้มาปรนนิบัติท่านอาจารย์.
อาจารย์กล่าวว่า    ดูก่อนมาณพ    เรื่องนี้ก็เป็นอย่างนั้น   ขึ้นชื่อว่า
หญิงที่นิสัยชั่ว    ในวันที่ประพฤตินอกใจสามีได้    ก็ย่อมโอนอ่อน
ผ่อนตามสามี    เหมือนทาสีที่หมดมานะแล้ว    แต่ในวันที่ประพฤติ
นอกใจไม่ได้    จะกลายเป็นหญิงกระด้างด้วยมานะ    ไม่ยอมรับ
นับว่าเป็นสามี    ขึ้นชื่อว่าหญิงมีความประพฤติใฝ่ต่ำ    นิสัยชั่ว
เหล่านี้    ก็เป็นอย่างนี้   ชื่อว่า   สภาพของหญิงเหล่านั้น   รู้ได้ยาก
ในเมื่อพวกนางจะต้องการก็ตาม     ไม่ต้องการก็ตาม     พึงตั้งตน
เป็นกลางเข้าไว้   แล้วกล่าวคาถานี้   โดยมุ่งให้โอวาทแก่เขาว่า  :-
           " อย่ายินดีเลยว่า    นางปรารถนาเรา    อย่า         
   เสียใจเลยว่านางไม่ปรารถนาเรา   สภาพของหญิง
         รู้ได้ยาก  เหมือนรอยของปลาในน้ำ "  ดังนี้.

   บรรดาบทเหล่านั้น  สุ  อักษรในบาทคาถาว่า  มา  สุ  นนฺทิ
อิจฺฉติ    นํ   เป็นเพียงนิบาติ   ความก็ว่า   อย่ายินดีเลยว่า   หญิงนี้
ต้องการเรา  คือมีความปรารถนา มีความสิเน่หาในเรา
   บทว่า  มา   สุ  โสจิ   น   อิจฺฉติ  ความว่า  ทั้งไม่ต้องเสียใจ
ไปว่า    " หญิงนี้ไม่ต้องการเรา "    ขยายความว่า    เมื่อนางต้องการ
ก็ไม่ต้องชื่นชม   เมื่อนางไม่ต้องการ  ก็ไม่ต้องโศกเศร้า.  ทำใจ
เป็นกลางเข้าไว้.
   บทว่า   ถีนํ  ภาโว  ทุราชาโน   ความว่า  ขึ้นชื่อว่า   ภาพของ
หญิงทั้งหลาย  รู้ได้ยาก  เพราะมีมายาหญิงปกปิดไว้.
   เหมือนอะไร  ?
   เหมือนการไปของปลาในน้ำรู้ได้ยาก     เพราะน้ำปกปิดไว้
ด้วยเหตุนี้แล   เมื่อชาวประมงมา   ปลาก็กำบัง   การแหวกว่ายไป
ด้วยน้ำ   หนีรอดไป   ไม่ให้จับตัวได้ฉันใด   หญิงทั้งหลายก็ฉันนั้น
เหมือนกัน    กระทำความชั่วแม้ใหญ่หลวง     ก็ปกปิดกรรมที่ตน
กระทำเสีย    ด้วยมายาหญิง    คือลวงสามีว่า   ดิฉันไม่ได้กระทำ
อย่างนี้   ขึ้นชื่อว่าหญิงเหล่านี้   มีบาปธรรม   มีความประพฤติชั่ว
อย่างนี้  ต้องทำใจให้เป็นกลางในนางเหล่านั้น  จึงจะมีความสุข.
   พระโพธิสัตว์    ได้ให้โอวาทแก่ศิษย์อย่างนี้    ตั้งแต่นั้นมา
เขาก็เริ่มวางมาดเหนือหญิงเหล่านั้น.      ถึงแม้ภรรยาของเขา
พอรู้ว่า     ได้ยินว่าท่านอาจารย์รู้ความประพฤติชั่วของเราแล้ว
ตั้งแต่นั้นมา  ก็เลิกประพฤติชั่ว.

   แม้พระบรมศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว    ทรง
ประกาศสัจจะทั้งหลาย    ในเวลาจบสัจจะ        อุบาสกดำรงค์อยู่ใน
โสดาปัตติผลแล้ว     พระศาสดาทรงสืบอนุสนธิประชุมชาดกว่า
เมียผัวทั้งสองในครั้งนั้น    ได้มาเป็นสองเมียผัวในครั้งนี้     ส่วน
อาจารย์ได้มาเป็นเราตถาคต   ฉะนี้แล.

                          จบ  อรรถกถาทุรานชาดกที่  ๔
792  กรรมฐาน มัชฌิมา / ธรรมะสัญจร / Re: ธรรมสัญจร วันวิสาขบูชา 2554 เมื่อ: พฤษภาคม 19, 2011, 07:50:09 am
อ้างถึง

ภาพถ่ายครั้งแรก nokia n72

ภาพถ่ายครั้งที่ 2 nokia n72

ทั้งสองภาพก็เป็นภาพเดียวกันนะจ๊ะ
793  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / เมื่อเจอคนศาสนาอื่น พูดย่ำยีหลักคำสอน ของพระพุทธศาสนาควรทำอย่างไรคะ เมื่อ: พฤษภาคม 19, 2011, 06:46:28 am




เมื่อเจอเพื่อนที่เป็นคนศาสนาอื่น พูดย่ำยีหลักคำสอน ของพระพุทธศาสนาควรทำอย่างไรคะ



 
   ตอนนี้ในประเทศไทยมีเพียงศาสนาเดียวที่กล่าวโจมตีศาสนาื่ือื่น ๆ และพยายามเปลี่ยนวัฒนธรรมของคนไทย
สำหรับเรื่องนี้ มีการพูดมากแล้วจึงไม่ขอหยิบยกมากล่าวในนี้

  กรณีนี้เป็นเรื่องธรรมดา ปกติ วาสนาบารมีมีไม่เท่ากัน ไม่ต้องหนักใจอะไร และไม่ต้องไปสนใจ เพราะจากประสพการณ์ีที่ผ่านมาทราบดีว่า ไม่มีใครในศาสนาอื่น ๆ ที่่จะสามารถโน้มน้าวชักนำให้เปลี่ยนศาสนา หรือนับถือศาสนาใด ๆ ได้ง่าย ด้วยคำพูดที่ไม่กี่นาที
 
 คนนับถือศาสนา ส่วนใหญ่ เป็นไปตามกำเนิด ตามสังคม ตามหน้าที่การงาน
ส่วนที่นับถือ เพราะพึ่งพาศาสนาทางใจนั้น หรือ เป็นไปเพื่อสันติจริง ๆ มีน้อยมาก

 ดังนั้นอย่าป่วยการกล่าวถึงคนศาสนาอื่น ๆ เลย แม้คนศาสนาเดียวกัน ก็ยังพูดจากกล่าวคำย่ำยี ซึ่งกันและกัน
อย่างสาหัส ก็มากมาย

 ดังนั้นสรุป อย่าส่งจิตไปสนใจ เรื่องราวเหล่านี้เลย อายุพระพุทธศาสนาถูกพยากรณ์ไว้แล้วโดยพระพุทธเจ้า
หน้าที่เรา รีบภาวนาก่อนที่ศาสนาจะหมดไปเสียเถิด เพราะความทุกข์ที่จะมีหลังจากศาสนาหมดแล้ว มีมากมาย
และยาวนาน มาก....
794  พระไตรปิฏก / พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ / ชื่อชาดก ตามลำดับ เืผื่อท่าน สาธุชน จะร่วมโพสต์ เมื่อ: พฤษภาคม 19, 2011, 06:38:18 am
ชื่อชาดก ตามลำดับ เืผื่อท่าน สาธุชน จะร่วมโพสต์ ( อันไหนโพสต์แล้ว ก็จะเขียนว่าโพสต์แล้ว นะจ๊ะ )

1.เตมิยชาดก  พระเตมีย์ ( โพสต์แล้ว )
2.มังสชาดก  วาทะธรรมของพรานป่า ( โพสต์แล้ว )
3.นันทวิสาลชาดก โคนันทะวิศาล ( โพสต์แล้ว )
4.คันทธารชาดก คันธาระฤาษี ( โพสต์แล้ว )
5.ทุรานชาดก หญิงผู้ประพฤตินอกใจสามี ( โพสต์แล้ว )
6.ติปัลสัตมิคชาดก แม่เนื้อเจ้าปัญญา ( โพสต์แล้ว )
7.ติตริชาดก สหายธรรม ( โพสต์แล้ว )
8.มกสชาดก เด็กฆ่ายุง
9.จัมสาฏกะชาดก นักบวชสาฏกะ
10.วิคติจฉชาดก ฤาษีนักโต้วาที

10 ชาดกแรก นะจ๊ะ
 :25: :25: :25: Aeva Debug: 0.0004 seconds.
795  พระไตรปิฏก / พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ / Re: 3 นันทิวิสาลชาดก โคเจ้าปัญญา โคจอมพลัง เมื่อ: พฤษภาคม 19, 2011, 06:28:11 am


โคนันทิวิสาล

ใน สมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วันเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารภการพูดเสียดแทงให้เจ็บใจของพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า… กาล ครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ในสมัยของพระเจ้าคันธาระครองเมืองตักกศิลา แคว้นคันธาระ พระโพธิสัตว์เกิดเป็นโคนามว่า นันทิวิสาล เป็นโคมีรูปร่างสวยงาม มีพละกำลังมาก มีพราหมณ์คนหนึ่งได้เลี้ยงและรักโคนั้นเหมือนลูกชาย โคนั้นคิดจะตอบแทนบุญคุณการเลี้ยงดูของพราหมณ์ในวันหนึ่ง ได้พูดกะพราหมณ์ว่า
“พ่อ จงไปท้าพนันกับโควินทกเศรษฐีว่า โคของเราสามารถลากเกวียนหนึ่งร้อยเล่ม ที่ผูกติดกันให้เคลื่อนไหวได้ พนันด้วยเงินหนึ่งพันกหาปณะเถิด”
พราหมณ์ได้ไปที่บ้านเศรษฐีและตกลงกันตามนั้น นัดเดิมพันกันในวันรุ่งขึ้น ใน วันเดิมพัน พราหมณ์ได้เทียมโคนันทิวิสาลเข้าที่เกวียนเล่มแรก เพื่อลากเกวียนหนึ่งร้อยเล่มผูกติดกันซึ่งบรรทุกทราย กรวดและหินเต็มลำ แล้วขึ้นไปนั่งบนเกวียน เงื้อปฏักขึ้นพร้อมกับตวาดว่า
“ไอ้โคโกง โคโง่ เจ้าจงลากเกวียนไปเดี๋ยวนี้”
ฝ่ายโคนันทิวิสาลเมื่อได้ยินพราหมณ์พูดเช่นนั้น ก็คิดน้อยใจว่า
“พราหมณ์เรียกเราผู้ไม่โกง ว่าโกง ผู้ไม่โง่ ว่าโง่”
จึง ยืนนิ่งไม่เคลื่อนไหว โควินทกเศรษฐีจึงเรียกให้พราหมณ์นำเงินหนึ่งพันกหาปณะมาให้แล้วกลับบ้านไป ฝ่ายพราหมณ์ผู้แพ้พนันเงินหนึ่งพันกหาปณะ ปลดโคแล้วก็เข้าไปนอนเศร้าโศกเสียใจอยู่ในบ้าน ส่วนโคนันทิวิสาลเห็นพราหมณ์เศร้าโศกเสียใจเช่นนั้น จึงเข้าไปปลอบและกล่าวว่า
“พ่อ ฉันอยู่ในเรือนของท่านตลอดมา เคยทำภาชนะอะไรแตกไหม เคยเหยียบใครๆ เคยถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะในที่อันไม่ควรหรือไม่ เพราะเหตุใด ท่านจึงเรียกเราว่า โคโกง โคโง่ ครั้งนี้เป็นความผิดของท่านเอง ไม่ใช่ความผิดของฉัน บัดนี้ ขอให้ท่านไปเดิมพันกับโควินทกเศรษฐีใหม่ด้วยเงินสองพันกหาปณะ ขออย่างเดียว ท่านอย่าได้เรียกฉันว่า โคโกง โคโง่ ท่านจะได้ทรัพย์ตามที่ท่านปรารถนา ฉันจะไม่ทำให้ท่านเศร้าเสียใจ”
พราหมณ์ได้ทำตามที่โคนันทิวิสาลบอก ในวันเดิมพัน พราหมณ์จึงพูดหวานว่า
“นันทิวิสาลลูกรัก เจ้าจงลากเกวียนทั้งร้อยเล่มนี้ไปเถิด”
โค นันทวิสาลได้ลากเกวียนร้อยเล่มที่ผูกติดกัน ด้วยการออกแรงลากเพียงครั้งเดียวเท่านั้น ทำให้เกวียนเล่มสุดท้ายไปตั้งอยู่ที่เกวียนเล่มแรกอยู่ ทำให้พราหมณ์ชนะพนัน ด้วยเงินสองพันกหาปณะพระพุทธองค์เมื่อนำอดีตนิทานมาสาธกแล้วตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่า คำหยาบ ไม่เป็นที่ชอบใจของใครๆ แม้กระทั่งสัตว์เดียรัจฉาน”
แล้วได้ตรัสพระคาถาว่า
“บุคคล ควรพูดแต่คำที่น่าพอใจเท่านั้น ไม่ควรพูดคำที่ไม่น่าพอใจในกาลใดๆ เมื่อพราหมณ์พูดคำที่น่าพอใจ โคนันทิวิสาลได้ลากสัมภาระอันหนักได้ ทั้งยังทำให้หราหมณ์ผู้นั้นได้ทรัพย์อีกด้วย ส่วนตนเองก็เป็นผู้ปลื้มใจ เพราะการช่วยเหลือนั้นด้วย”

 
ข้อคิดจากชาดก

๑. แม้คนที่กตัญญูรู้คุณ ตั้งใจจะทดแทนคุณ ยอมทำตามใจเราทุกอย่าง ก็ยิ่งมีสิ่งที่เขาทนไม่ได้คือ ถ้อยคำที่ไม่ไพเราะ คำพูดที่เสียดแทงใจ เพราะฉะนั้นไม่ว่ากาลไหนๆ ใครๆ ก็ไม่ควรพูดคำหยาบเลย
๒. การพูดด้วยคำพูดที่ดีพร้อมในทุกแง่ทุกมุม เป็นมงคลอย่างยิ่ง จัดอยู่ในมงคลชีวิต มงคลที่ ๑๐ มีวาจาสุภาษิต
๓. องค์ประกอบของวาจาสุภาษิต (๑) พูดด้วยจิตประกอบด้วยเมตตา มีเจตนาดี (๒) พูดแต่คำจริง (๓) พูดแต่คำสุภาพอ่อนน้อม (๔) พูดแต่คำที่เป็นประโยชน์ (๕) พูดตามกาลอันสมควร รู้ว่าเมื่อไรควรพูด เมื่อไรควรนิ่ง


ขอบคุณเนื้อหาจาก
http://katerngmatt.wordpress.com/2011/01/30/%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87-%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A5/
796  พระไตรปิฏก / พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ / Re: 4 คันธาระชาดก พระคันธาระฤาษี เมื่อ: พฤษภาคม 19, 2011, 06:26:01 am
นิธีนํว ปวตฺตารํ ยํ ปสฺเส วชฺชทสฺสินํ
นิคฺคยฺหวาทึ เมธาวึ ตาทิสํ ปณฺฑิตํ ภเช
 ตาทิสํ ภชมานสฺส เสยฺโย โหติ น ปาปิโย

"บุคคลพึงเห็นผู้มีปัญญาใด ซึ่งเป็นผู้กล่าว นิคคหะ
ชี้โทษ ว่าเป็นเหมือนผู้บอกขุมทรัพย์ให้, พึงคบผู้มีปัญญาเช่นนั้น
ซึ่งเป็นบัณฑิต, ( เพราะว่า) เมื่อคบท่านผู้เช่นนั้น
มีแต่คุณอย่างประเสริฐ ไม่มี โทษที่ลามก."

แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิธีนํ ได้แก่ หม้อแห่งขุมทรัพย์อัน เต็มด้วยเงินทองเป็นต้น ซึ่งเขาฝังเก็บไว้ในที่นั้น ๆ บทว่า ปวตฺตารํ คือ เหมือนอย่างผู้ทำความอนุเคราะห์คนเข็ญใจ ซึ่งเป็นอยู่โดยฝืดเคือง แล้วชักชวนว่า " ท่านจงมา, เราจักชี้อุบาย เลี้ยงชีพโดยสะดวกแก่ท่าน" ดังนี้แล้ว นำไปยังที่ขุมทรัพย์แล้ว เหยียด มือออกบอกว่า " ท่านจงถือเอาทรัพย์นี้เลี้ยงชีพตามสบายเถิด." วินิจฉัยในบทว่า วชฺชทสฺสินํ ภิกษุผู้ชี้โทษมี ๒ จำพวก คือ ภิกษุคอยแส่หาโทษ ด้วยคิดว่า "เราจักข่มภิกษุนั้นด้วยมารยาทอันไม่ สมควร หรือด้วยความพลั้งพลาดอันนี้ในท่ามกลางสงฆ์" ดังนี้ จำพวก ๑, ภิกษุผู้ดำรงอยู่แล้วตามสภาพ ด้วยสามารถแห่งการอุ้มชูด้วยการแลดูโทษ นั้น ๆ เพื่อประโยชน์จะให้รู้สิ่งที่ยังไม่รู้ เพื่อต้องการจะได้ตามถือเอาสิ่ง ที่รู้แล้ว เพราะความเป็นผู้ปรารถนาความเจริญแห่งคุณมีศีลเป็นต้นแก่ผู้
797  พระไตรปิฏก / พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ / Re: 4 คันธาระชาดก พระคันธาระฤาษี เมื่อ: พฤษภาคม 19, 2011, 06:22:42 am
เทหดาบส ข้าแต่ท่านอาจารย์ ในวันก่อนคนทั้งหลายได้ถวายเกลือมาก กระผมจึงเก็บเกลือที่เกินความต้องการไว้ด้วยตั้งใจว่า จักใช้ในวันที่อาหารมีรสจืด
พระ โพธิสัตว์จึงต่อว่าวิเทหดาบสว่า โมฆบุรุษเอ๋ย ท่านละทิ้งวิเทหรัฐประมาณ ๓ ร้อยโยชน์มาแล้ว ถึงความไม่มีกังวลอะไร บัดนี้ ยังเกิดความทะยานอยากในก้อนเกลืออีกหรือ เมื่อจะตักเตือนท่าน จึงได้กล่าวคาถาที่ ๑ ว่า:
[๑๐๔๓] ท่านสละหมู่บ้านอันบริบูรณ์ถึงหมื่นหกพันตำบล และคลังที่เต็มไปด้วย
ทรัพย์มาแล้ว บัดนี้ ทำไมยังมาทำการสะสมเพียงก้อนเกลืออีกเล่า?
วิ เทหดาบสถูกตำหนิอยู่อย่างนี้ ทนคำตำหนิไม่ได้ ก็กลายเป็นปฏิปักษ์ไป เมื่อจะแย้งว่า ข้าแต่ท่านอาจารย์ ท่านไม่เห็นโทษของตัวเอง เห็นแต่โทษของผมอย่างเดียว ท่านดำริว่า เราจะประโยชน์อะไร ด้วยคนอื่นที่ตักเตือนเรา เราจักเตือนตัวเราเอง ทอดทิ้งราชสมบัติออกบวชแล้ว แต่วันนี้เหตุไฉนท่านจึงตักเตือนผม จึงได้กล่าวคาถาที่ ๒ ว่า:
[๑๐๔๔] ท่านสู้สละคันธารวิสัย อันบริบูรณ์ด้วยทรัพย์มากมาย เลิกการสั่งสม ๑
มาแล้ว บัดนี้ ทำไมยังมาสอนข้าพเจ้าให้สั่งสมในที่นี้อีกเล่า?
๑ ท่านทิ้งคันธารรัฐ หนีจากการปกครอง ในราชธานีอันนั้น บัดนี้ ยังจะปกครองในที่นี้อีก
พระโพธิสัตว์ได้ฟังคำนั้นแล้ว ได้กล่าวคาถาที่ ๓ ว่า:
[๑๐๔๕] ดูกรท่านวิเทหดาบส ข้าพเจ้าย่อมกล่าวแต่คำที่เป็นธรรม ข้าพเจ้าไม่พอ
ใจกล่าวคำที่ไม่เป็นธรรม เมื่อข้าพเจ้ากล่าวคำที่เป็นธรรมอยู่ บาปย่อม
ไม่เข้ามาติดอยู่เลย
วิ เทหดาบสฟังถ้อยคำของพระโพธิสัตว์นั้นแล้ว กล่าวว่า ข้าแต่ ท่านอาจารย์ บุคคลแม้เมื่อกล่าวถ้อยคำที่อิงประโยชน์ ก็ไม่ควรกล่าวกระทบเสียดแทงผู้อื่น ท่านกล่าวคำหยาบคายมาก เหมือนโกนผมด้วยมีดโกนไม่คม แล้วจึงกล่าวคาถาที่ ๔ ว่า:
[๑๐๔๖] บุคคลอื่นได้รับความโกรธเคือง เพราะถ้อยคำอย่างใดอย่างหนึ่ง ถึงหาก
ถ้อยคำนั้นจะมีประโยชน์มาก บัณฑิตก็ไม่ควรกล่าว
๒ เนื้อความว่า บุคคลไม่ควรกล่าววาจาที่ประทุษร้ายบุคคลอื่น แม้วาจานั้นจะมีประโยชน์มากมาย
ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์จึงกล่าวคาถาที่ ๕ แก่วิเทหดาบสนั้น ว่า:
[๑๐๔๗] บุคคลทำกรรมที่ไม่สมควร เมื่อถูกตักเตือนอยู่ จะโกรธเคืองก็ตาม ไม่
โกรธเคืองก็ตาม หรือจะทิ้งเสียเหมือนโปรยข้าวลีบก็ตาม เมื่อข้าพเจ้า
กล่าวคำที่เป็นธรรมอยู่ บาปย่อมไม่เข้าติดอยู่เลย ๓
๓ มี คำอธิบายว่า บุคคลผู้ทำกรรมไม่สมควร เมื่อถูกตักเตือนว่า ท่านทำกรรมไม่สมควรแล้ว จะโกรธก็ตาม หรือไม่โกรธก็ตาม อีกอย่างหนึ่งเขาจะเขี่ยทิ้งเหมือนกำแกลบหว่านทิ้งก็ตาม แต่ว่าเมื่อเรากล่าวคำเป็นธรรมอยู่ ขึ้นชื่อว่าบาปย่อมไม่มี
ก็ แหละพระโพธิสัตว์ ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ได้ดำรงอยู่ในข้อปฏิบัติที่สมควรแก่โอวาทของพระสุคตนี้ว่า ดูก่อนอานนท์ เราตถาคต จักไม่ทะนุถนอมเลย เหมือนช่างหม้อทะนุถนอมภาชนะดินเหนียวที่ยังดิบๆ ฉะนั้น เราตถาคตจักบำราบเอา บำราบเอา ผู้ใดหนักแน่นเป็นสาระ ผู้นั้นก็จักดำรงอยู่ได้ เมื่อจะตักเตือนวิเทหดาบสอีก เพื่อแสดง ให้เห็นว่า ท่านตักเตือนบำราบแล้ว ตักเตือนบำราบอีก จึงรับบุคคลทั้งหลายผู้เช่นกับภาชนะดินที่เผาสุกแล้วไว้ เหมือนช่างหม้อเคาะดูแล้ว เคาะดูอีก ไม่รับเอาภาชนะดินที่ยังดิบไว้ รับเอาเฉพาะภาชนะดินที่เผาสุกแล้วเท่านั้นไว้ฉะนั้น ดังนี้แล้ว จึงได้กล่าวคาถา ๒ คาถาไว้ว่า:
[๑๐๔๘] ถ้าสัตว์เหล่านี้ไม่พึงมีปัญญาของตนเอง หรือไม่พึงได้ศึกษาวินัยดีแล้ว
ชนเป็นอันมากก็จะเที่ยวไป เหมือนกระบือตาบอดเที่ยวไปในป่า ฉะนั้น
[๑๐๔๙] ก็แลบุคคลบางพวกในโลกนี้ ได้ศึกษาวินัยมาเป็นอย่างดีในสำนักอาจารย์
เพราะฉะนั้น เขาทั้งหลาย จึงมีวินัยอันอาจารย์แนะนำแล้ว เป็น
นักปราชญ์ มีจิตตั้งมั่นดี เที่ยวไป
คาถา นี้มีเนื้อความว่า ดูก่อนสหายวิเทหะ เพราะว่าถ้าหากสัตว์เหล่านี้ ไม่มีปัญญาหรือไม่มีวินัยคืออาจารบัญญัติที่ศึกษาดีแล้วเพราะ อาศัยเหล่าบัณฑิตผู้ให้โอวาทไซร้ เมื่อเป็นเช่นนี้คนเป็นอันมากก็จะเป็นเช่นท่าน เที่ยวไปเหมือนกระบือตาบอด ไม่รู้ที่ๆ เป็นที่โคจรหรือ อโคจร มีสิ่งที่น่ารังเกียจหรือไม่มีสิ่งที่น่ารังเกียจ เที่ยวไปในพงหญ้า และเถาวัลย์เป็นต้น
แต่ เพราะเหตุที่สัตว์บางพวกในโลกนี้ ที่ปราศจากปัญญาของตน ศึกษาดีแล้วด้วยอาจารบัญญัติในสำนักอาจารย์ เพราะฉะนั้น สัตว์เหล่านั้นชื่อว่ามีวินัยที่แนะนำแล้ว เพราะตนเป็นผู้ที่อาจารย์แนะนำแล้ว ด้วยวินัยที่เหมาะสม คือเป็นผู้มีจิตตั้งมั่นแล้ว ได้แก่เป็นผู้มีจิตเป็นสมาธิเที่ยวไปดังนี้
ด้วย คาถานี้ท่านคันธารดาบส แสดงคำนี้ไว้ว่า จริงอยู่ คนนี้เป็นคฤหัสถ์ ก็ศึกษาสิกขาที่สมควรแก่ ตระกูลของตน เป็นบรรพชิตก็ศึกษาสิกขาที่สมควรแก่บรรพชิต อธิบายว่า ฝ่ายคฤหัสถ์เป็นผู้ศึกษาดีในกสิกรรมและโครักขกรรมเป็นต้น ที่เหมาะสมแก่ตระกูลของตนแล้วเที่ยว ก็จะเป็นผู้มีความเป็นอยู่สมบูรณ์ มีใจมั่นคงเที่ยวไป ส่วนบรรพชิต เป็นผู้ศึกษาดีในอาจาระมีการก้าวไป ข้างหน้าและการถอยกลับเป็นต้น และในอธิสีลสิกขา อธิจิตสิกขาและ อธิปัญญาสิกขาทั้งหลายที่เหมาะสมแก่บรรพชิต ที่น่าเลื่อมใสแล้วก็เป็น ผู้ปราศจากความฟุ้งซ่านมีจิตตั้งมั่นเที่ยวไป เพราะว่าในโลกนี้:
ความเป็นพหูสูต ๑ วินัยที่ศึกษาดีแล้ว ๑
วาจาที่เป็นสุภาษิต ๑ สามอย่างนี้เป็นมงคลอัน
สูงสุดดังนี้
วิ เทหดาบสได้ฟังคำนั้นแล้ว ไหว้ขอขมาพระมหาสัตว์ว่า ข้าแต่ท่านอาจารย์ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ขอท่านจงตักเตือนจงพร่ำสอนเราเถิด เรากล่าวกะท่านเพราะความเป็นผู้ไม่มีความยับยั้งใจโดยกำเนิด ขอท่านจงให้อภัยแก่เราเถิด ท่านทั้ง ๒ นั้นอยู่สมัครสมานกันแล้วได้พากันไปป่าหิมพานต์อีกนั่นแหละ ณ ที่นั้นพระโพธิสัตว์ได้บอกกสิณบริกรรมแก่วิเทหดาบส ท่านสดับแล้วยังอภิญญาและสมาบัติให้เกิดขึ้น ทั้ง ๒ ท่านนั้นเป็นผู้มีฌานไม่เสื่อมแล้ว ได้เป็นผู้มีพรหมโลก เป็นที่ไปในเบื้องหน้า
พระ ศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุมชาดกไว้ว่า วิเทหราชาในครั้งนั้น ได้แก่พระอานนท์ในบัดนี้ ส่วน คันธารราชา ได้แก่เราตถาคต ฉะนี้แล
จบ คันธารชาดก


ขอบคุณเนื้อหา

http://fws.cc/leavesofeden/index.php?action=printpage;topic=148.0
798  พระไตรปิฏก / พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ / 4 คันธาระชาดก พระคันธาระฤาษี เมื่อ: พฤษภาคม 19, 2011, 06:22:06 am
ใน อดีตกาล พระโพธิสัตว์ทรงเป็นโอรสของพระเจ้าคันธาระ ในคันธารรัฐ เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ โดยพระราชบิดาทิวงคตแล้ว ทรงครองราชย์โดยธรรม แม้ในมัชฌิมประเทศ พระเจ้าวิเทหะก็ทรงครองราชย์ในวิเทหรัฐ พระราชาทั้ง ๒ พระองค์นั้นทรงเป็นพระสหายที่ไม่เคยเห็นกัน แต่ก็ทรงมีความคุ้นเคยกันอย่างมั่นคง คนสมัยนั้นมีอายุยืนดำรงชีวิตอยู่ได้ถึง ๓ แสนปี ดังนั้นในวันอุโบสถกลางเดือน พระเจ้าคันธาระก็ทรงสมาทานศีลเป็นครั้งคราว แล้วเสด็จไปประทับบน พระบวรบัลลังก์ภายในชั้นที่โอ่โถง ทรงตรวจดูโลกธาตุด้านทิศตะวันออก ทางสีหปัญชรที่เปิดไว้ ตรัสถ้อยคำที่ประกอบด้วยธรรมแก่เหล่าอำมาตย์ ขณะนั้นพระราหูได้บดบังดวงจันทร์เต็มดวง เหมือนกระโดดโลดเต้นไปในท้องฟ้า แสงจันทร์อันตรธานหายไป อำมาตย์ทั้งหลายไม่เห็นแสงพระจันทร์ จึงทูลพระราชาถึงภาวะที่ดวงจันทร์ถูกราหูยึดไว้
พระ ราชาทรงทอดพระเนตรพระจันทร์ ทรงพระดำริว่า พระจันทร์นี้ เศร้าหมองอับแสงไปเพราะสิ่งเศร้าหมองที่จรมา แม้ข้าราชบริพารนี้ก็เป็นเครื่องเศร้าหมองสำหรับเราเหมือนกัน แต่การที่เราจะเป็นผู้หมดสง่าราศีเหมือนดวงจันทร์ที่ถูกราหูยึดไว้นั้น ไม่สมควรแก่เราเลย เราจักละราชสมบัติออกบวช เหมือนดวงพระจันทร์สัญจรไปในท้องฟ้าที่บริสุทธิ์ ฉะนั้น จะมีประโยชน์อะไรด้วยผู้อื่นที่เราตักเตือนแล้ว เราจักเป็นเสมือนผู้ไม่ข้องอยู่ด้วยตระกูลและหมู่คณะ ตักเตือนตัวเองเท่านั้นเที่ยวไป นี้เป็นสิ่งที่เหมาะสำหรับเรา
แล้ว ทรงมอบราชสมบัติให้แก่เหล่าอำมาตย์ ด้วยพระดำรัสว่า ท่านทั้งหลายจงพากันแต่งตั้งผู้ที่ท่านทั้งหลายต้องประสงค์ให้เป็นพระราชา เถิด พระราชาแห่งคันธารรัฐนั้นทรงสละราชสมบัติเสด็จออกทรงผนวชเป็นฤๅษี ยังฌานและอภิญญาให้เกิดขึ้นแล้ว ทรงเอิบอิ่มด้วยความยินดีในฌาน สำเร็จการอยู่ในท้องถิ่นดินแดนหิม พานต์
ฝ่ายพระเจ้าวิเทหะตรัสถามพวกพ่อค้าทั้งหลายว่า พระราชาอันเป็นพระสหายของเราสบายดีหรือ ? ทรงทราบว่าพระองค์เสด็จออกทรงผนวชแล้วทรงดำริว่า เมื่อสหายของเราทรงผนวชแล้ว เราจักทำอย่างไรกับราชสมบัติ แล้วจึงทรงสละราชสมบัติในมิถิลนครกว้างยาว ๗ โยชน์ คลังที่เต็มเพียบอยู่ในหมู่บ้าน ๑๖,๐๐๐ หมู่บ้าน ในวิเทหรัฐประมาณ ๓๐๐ โยชน์และหญิงฟ้อน ๑๖,๐๐๐ นาง ไม่ทรงคำนึงถึงพระราชโอรส และพระราชธิดา เสด็จสู่ท้องถิ่นดินแดนหิมพานต์ทรงผนวชแล้ว เสวยผลไม้ตามที่มี ประทับอยู่ไม่เป็นประจำเที่ยวสัญจรไป
ทั้ง ๒ ท่านนั้น ประพฤติพรตและอาจาระสม่ำเสมอ ภายหลังได้มาพบกันแต่ก็ไม่รู้จักกัน ชื่นชมกันประพฤติพรตและอาจาระสม่ำเสมอกัน ครั้งนั้นวิเทหดาบส ทำการอุปัฏฐากท่านคันธารดาบส ในวันเพ็ญวันหนึ่ง เมื่อท่านทั้ง ๒ นั้นนั่งกล่าวกถาที่ประกอบด้วยธรรมกัน ณ ควงไม้ต้นใดต้นหนึ่ง พระราหูบดบังดวงจันทร์ ที่ลอยเด่นอยู่ท้องฟ้า ท่านวิเทหดาบสคิดว่า แสงพระจันทร์หายไปเพราะอะไรหนอ จึงมองดูเห็นพระจันทร์ถูกราหูยึด ไว้ จึงเรียนถามว่า ข้าแต่ท่านอาจารย์อะไรหนอนั่น ได้บดบังพระจันทร์ ทำให้หมดรัศมี
ท่าน คันธารดาบสตอบว่า ดูก่อนอันเตวาสิก นี้ชื่อว่าราหูเป็นเครื่องเศร้าหมองอย่างหนึ่งของพระจันทร์ ไม่ให้พระจันทร์ส่องแสงสว่าง แม้เราเห็นดวงจันทร์ถูกราหูบังแล้ว คิดว่าดวงจันทร์ที่บริสุทธิ์นี้ก็กลายเป็นหมดแสงไป เพราะเครื่องเศร้าหมองที่จรมา ราชสมบัตินี้ก็เป็นเครื่องเศร้าหมองแม้สำหรับเรา เราจักบวชอยู่จนกระทั่งราชสมบัติจะไม่ทำให้เราอับแสงเหมือนราหูบังดวงจันทร์ แล้วทำดวงจันทร์ที่ถูกราหูบังนั่นเองให้เป็นอารมณ์ ทอดทิ้งราชสมบัติใหญ่หลวงบวชแล้ว
วิเทหดาบสถามว่า ข้าแต่ท่านอาจารย์ ท่านเป็นพระเจ้าคันธาระหรือ ?
คันธารดาบส ถูกแล้วผมเป็นพระเจ้าคันธาระ
วิเทหดาบส ข้าแต่ท่านอาจารย์ กระผมเองก็ชื่อว่าพระเจ้าวิเทหะ ในมิถิลนครในวิเทหรัฐ พวกเราเป็นสหายที่ยังไม่เคยเห็นกันมิใช่หรือ ?
คันธารดาบส ก็ท่านมีอะไรเป็นอารมณ์ จึงออกบวช ?
วิ เทหดาบส กระผมได้ทราบว่าท่านบวชแล้ว คิดว่า ท่านคงได้เห็นคุณมหันต์ของการบวชแน่นอน จึงทำท่านนั่นแหละให้เป็นอารมณ์ แล้วสละราชสมบัติออกบวช
ตั้งแต่ นั้นมาดาบสทั้ง ๒ นั้น สมัครสมานกันชื่นชมกันเหลือเกิน เป็นผู้มีผลไม้เท่าที่หาได้เป็นโภชนาหาร ท่องเที่ยวไป ก็แหละทั้ง ๒ ท่านอยู่ด้วยกัน ณ ที่นั้นมาเป็นเวลานาน จึงพากันลงมาจากป่าหิมพานต์ เพื่อต้องการลิ้มรสเค็มรสเปรี้ยว ลุถึงชายแดนตำบลหนึ่ง คนทั้งหลายเลื่อมใสในอิริยาบถของท่าน ถวายภิกษารับปฏิญญาแล้ว พากันสร้างที่พักกลางคืนเป็นต้นให้ท่านอยู่ในป่า แม้ในระหว่างทางก็พากันสร้างบรรณศาลาไว้ในที่ๆ มีน้ำสะดวกเพื่อต้องการให้ท่านทำภัตกิจ
ท่าน พากันเที่ยวภิกขาจารที่บ้านชายแดนนั้นแล้ว นั่งฉันที่บรรณศาลาหลังนั้นแล้ว จึงไปที่อยู่ของตน คนแม้เหล่านั้นเมื่อถวายอาหารท่าน บางครั้งก็ถวายเกลือใส่ลงในบาตร บางคราวก็ห่อใบตองถวาย บางคราวก็ถวายอาหารที่มีรสไม่เค็มเลย
วัน หนึ่งพวกเขาได้ถวายเกลือจำนวนมากในห่อใบตองแก่ท่านเหล่านั้น วิเทหดาบสถือเอาเกลือไป ในเวลาภัตกิจของพระโพธิสัตว์ก็ถวายเกลือจนพอ ฝ่ายตนเองก็หยิบเอาประมาณพอควร ที่เกินต้องการก็ห่อใบตองแล้วเก็บไว้ที่ต้นหญ้า ด้วยคิดว่า จักใช้ในวันที่ไม่มีเกลือ
อยู่ มาวันหนึ่งเมื่อได้อาหารจืด ท่านวิเทหดาบสถวายภาชนะภิกษาแก่ท่านคันธาระแล้ว นำเกลือออกมาจากต้นหญ้าแล้วกล่าวว่า ข้าแต่ท่านอาจารย์ นิมนต์ท่านรับเกลือ คันธารดาบสถามว่า วันนี้คนทั้งหลายไม่ได้ถวายเกลือ ท่านได้มาจากไหน ?


799  พระไตรปิฏก / พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ / Re: 3 นันทิวิสาลชาดก โคเจ้าปัญญา โคจอมพลัง เมื่อ: พฤษภาคม 19, 2011, 06:20:13 am
โมกโข กลฺยาณิยา สาธุ
เปล่งวาจางาม ยังประโยชน์ให้สำเร็จ


 :25:
800  พระไตรปิฏก / พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ / Re: เตมิยชาดก เมื่อ: พฤษภาคม 18, 2011, 09:11:01 am
อปี อตรมานานํ  ผลาสาว สมิชฺฌติ

อันความหวังในผล ย่อมสำเร็จแก่ผู้ไม่ใจเร็วด่วนได้
หน้า: 1 ... 18 19 [20] 21 22 ... 26