ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: พระธุดงค์ กับ พระจาริก ต่างกันอย่างไร คะ  (อ่าน 3972 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

แก้ว

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 99
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
พระธุดงค์ กับ พระจาริก ต่างกันอย่างไร คะ

  พระธุดงค์ คือ พระธรรมยุต ใช่หรือไม่คะ

  พระจาริก คือ พระมหานิกาย หรือไม่คะ

  ไม่ค่อยจะเข้าใจ ขอความรู่้เรื่อง นี้ด้วยคะ

  เวลาพระธุดงค์ จะเข้าห้องน้ำทำอย่างไรคะ ( สงสัยมาก ๆ )

 :smiley_confused1: :c017:


บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28492
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: พระธุดงค์ กับ พระจาริก ต่างกันอย่างไร คะ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มกราคม 19, 2012, 12:49:37 pm »
0


ธุดงคญ, ธุดงค์
    น. องค์คุณเครื่องกําจัดกิเลส, ชื่อวัตรปฏิบัติอย่างเคร่งครัดของภิกษุ มี ๑๓ อย่าง เช่น การอยู่ในป่า การอยู่โคนไม้. (ป. ธูตงฺค).


จาริก, จารึก ๑
    น. ผู้ท่องเที่ยวไปเพื่อสั่งสอนหรือแสวงบุญเป็นต้น.ก. ท่องเที่ยวไปเพื่อสั่งสอนหรือแสวงบุญเป็นต้น.


ที่มา พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒
ขอบคุณภาพจาก http://www.pantip.com/



ธุดงค์ องค์คุณเครื่องกำจัดกิเลส,
       ชื่อข้อปฏิบัติประเภทวัตร ที่ผู้สมัครใจจะพึงสมาทานประพฤติได้ เป็นอุบายขัดเกลากิเลส ส่งเสริมความมักน้อยสันโดษเป็นต้น มี ๑๓ ข้อคือ

      หมวดที่ ๑ จีวรปฏิสังยุต - เกี่ยวกับจีวร มี
           ๑. ปังสุกูลิกังคะ ถือใช้แต่ผ้าบังสุกุล
           ๒. เตจีวริกังคะ ใช้ผ้าเพียง ๓ ผืน;
       หมวดที่ ๒ ปิณฑปาตปฏิสังยุต - เกี่ยวกับบิณฑบาต มี
           ๓. ปิณฑปาติกังคะ เที่ยวบิณฑบาตเป็นประจำ
           ๔. สปทานจาริกังคะ บิณฑบาตตามลำดับบ้าน
           ๕. เอกาสนิกังคะ ฉันมื้อเดียว
           ๖. ปัตตปิณฑิกังคะ ฉันเฉพาะในบาตร
           ๗. ขลุปัจฉาภัตติกังคะ ลงมือฉันแล้วไม่ยอมรับเพิ่ม;
       หมวดที่ ๓ เสนาสนปฏิสังยุต - เกี่ยวกับเสนาสนะมี
           ๘. อารัญญิกังคะ ถืออยู่ป่า
           ๙. รุกขมูลิกังคะ อยู่โคนไม้
           ๑๐. อัพโภกาสิกังคะ อยู่กลางแจ้ง
           ๑๑. โสสานิกังคะ อยู่ป่าช้า
           ๑๒. ยถาสันถติกังคะ อยู่ในที่แล้วแต่เขาจัดให้;
       หมวดที่ ๔ วิริยปฏิสังยุต - เกี่ยวกับความเพียร มี
           ๑๓. เนสัชชิกังคะ ถือนั่งอย่างเดียวไม่นอน

       (นี้แปลเอาความสั้นๆ ความหมายละเอียด พึงดูตามลำดับอักษรของคำนั้นๆ)

ปิณฑปาติกธุดงค์ องค์คุณเครื่องขจัดกิเลสแห่งภิกษุเป็นต้น ผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร
       หมายถึง ปิณฑปาติกังคะ นั่นเอง


ปิณฑปาติกังคะ องค์แห่งผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร คือ ไม่รับนิมนต์หรือลาภพิเศษอย่างอื่นใด ฉันเฉพาะอาหารที่บิณฑบาตมาได้
       (ข้อ ๓ ใน ธุดงค์ ๑๓)

อรัญญิกธุดงค์ องค์คุณเครื่องขจัดกิเลสของผู้ถืออยู่ในป่าเป็นวัตร
       ได้แก่ ธุดงค์ข้อ อารัญญิกังคะ


ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
ขอบคุณภาพจาก http://www.pantip.com/



จาริก เที่ยวไป, เดินทางเพื่อศาสนกิจ

บิณฑจาริกวัตร วัตรของผู้เที่ยวบิณฑบาต,
       ธรรมเนียมหรือข้อควรปฏิบัติสำหรับภิกษุที่จะไปรับบิณฑบาต เช่น
           นุ่งห่มให้เรียบร้อย
           สำรวมกิริยาอาการ
           ถือบาตรภายในจีวรเอาออกเฉพาะเมื่อจะรับบิณฑบาต
           กำหนดทางเข้าออกแห่งบ้านและอาการของชาวบ้านที่จะให้ภิกขาหรือไม่
           รับบิณฑบาตด้วยอาการสำรวม
           รูปที่กลับมาก่อน จัดที่ฉัน รูปที่มาทีหลัง ฉันแล้วเก็บกวาด


พุทธจาริก การเสด็จจาริกคือเที่ยวไปประกาศพระศาสนาของพระพุทธเจ้า

มานัตตจาริกภิกษุ ภิกษุผู้ประพฤติมานัต

สปทานจาริกังคะ องค์แห่งผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตไปตามลำดับบ้านเป็นวัตร คือรับตามลำดับบ้านตามแถวเดียวกัน ไม่รับข้ามบ้านข้ามแถว,
       เที่ยวบิณฑบาตไปตามตรอก ตามห้องแถวเรียงลำดับเรื่อยไปเป็นแนวเดียวกัน ไม่ข้ามไปเลือกรับที่โน้นที่นี่ตามใจชอบ
       (ข้อ ๔ ในธุดงค์ ๑๓)


อภิสมาจาริกวัตร วัตรเกี่ยวด้วยความประพฤติอันดี, ธรรมเนียมเกี่ยวกับมรรยาทและความเป็นอยู่ที่ดีงาม

อภิสมาจาริกาสิกขา หลักการศึกษาอบรมในฝ่ายขนบธรรมเนียมที่จะชักนำความประพฤติ ความเป็นอยู่ของพระสงฆ์ให้ดีงามมีคุณยิ่งขึ้นไป,
       สิกขาฝ่ายอภิสมาจาร;
       เทียบ อาทิพรหมจริยกาสิกขา


ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
ขอบคุณภาพจาก http://www.oknation.net/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28492
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: พระธุดงค์ กับ พระจาริก ต่างกันอย่างไร คะ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มกราคม 19, 2012, 01:08:54 pm »
0
พระธุดงค์ กับ พระจาริก ต่างกันอย่างไร คะ

  พระธุดงค์ คือ พระธรรมยุต ใช่หรือไม่คะ

  พระจาริก คือ พระมหานิกาย หรือไม่คะ

  ไม่ค่อยจะเข้าใจ ขอความรู่้เรื่อง นี้ด้วยคะ

  เวลาพระธุดงค์ จะเข้าห้องน้ำทำอย่างไรคะ ( สงสัยมาก ๆ )


    ผมไม่เคยธุดงค์ครับ ผมจะตอบเท่าที่ตอบได้ (บางคำถามผู้เป็นพระควรมาตอบ)
    คำว่า ธุดงค์ กับ จาริก คำแปลตรงๆ ก็มีอยู่
    แต่ถ้าจะหมายเอากริยาที่ท่องเที่ยวไป ก็พอจะอนุโลมได้ว่า มีความหมายที่คล้ายกัน


    ความแตกต่างที่ชัดเจนอยู่ที่"การสมาทาน" เนื่องจากการธุดงค์จำเป็นต้องอธิษฐาน จะอธิษฐานอย่างไรนั้น
    เท่าที่ทราบมา ไม่จำเป็นต้องอธิษฐานทั้ง ๑๓ ข้อ (รายละเอียดคงต้องถามพระ)
    ส่วนคำว่า "จาริก" นั้น เป็นคำทั่วไป นำมาใช้ในภาพรวมๆได้ ไม่ได้มีข้อกำหนดใดๆ

   
    คำถามเกี่ยว ธรรมยุตและมหานิกายนั้น ขอตอบว่า สมัยพุทธกาลไม่ได้มีการแบ่งเหมือนในปัจจุบัน
    ดังนั้น ภิกษุทุกรูปต้องอยู่ภายใต้ "ธรรมวินัย" เดียวกัน


    ขอคุยเป็นเพื่อนเท่านี้ครับ
:49:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ