สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

กรรมฐาน มัชฌิมา => ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน => ข้อความที่เริ่มโดย: sutthitum ที่ สิงหาคม 05, 2011, 11:17:30 am



หัวข้อ: ใครมี อารมณ์ อย่างนี้บ้าง คือ เห็นและปล่อยชีวิตไปวัน ๆ ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: sutthitum ที่ สิงหาคม 05, 2011, 11:17:30 am
คือปฏิบัติ มาก็นานแล้ว ทุกวันนี้พอถึงเวลา ก็มักจะปล่อยเวลาไปเฉย ๆ โดยที่ไม่รู้จะทำอะไรในการภาวนา
ดังนั้น ที่ผมสงสัยคือ ผู้ฝึกภาวนาควร นั่ง ยืน เดิน นอน เพืี่อภาวนากรรมฐาน ตลอดเวลาเลยหรือไม่ครับ
แท้ที่จริงการภาวนานั้น เป็นการฝึก แล้ว เราต้องฝึกตลอดเวลาหรือไม่ หรือว่า การภาวนาไม่ใช่การฝึก

 ผมอาจจะให้ความหมายในการภาวนา ผิด ก็คงเป็นไปได้ครับ จึงมีอารมณ์อย่างนี้ ไม่ทราบว่าเพื่อน ๆ มีความเห็นอย่างไรกับเรื่องการภาวนา หรือ ไม่ภาวนาปล่อยชีวิตไปวัน ๆ ครับ

  :s_hi: :13:


หัวข้อ: Re: ใครมี อารมณ์ อย่างนี้บ้าง คือ เห็นและปล่อยชีวิตไปวัน ๆ ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: ธุลีธวัช (chai173) ที่ สิงหาคม 05, 2011, 08:23:24 pm
            (http://t3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRzZo1Rkuza-Ex_MlcpEmdeDQ97OFYU2CIqAaDtp9iuZrUOBXRw)          (http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/571/981/original_179754.png?1285782980)

มีโอกาสใกล้ชิดครูบาอาจารย์ สิ่งที่ท่านบอกกล่าวพร่ำสอนก็ต้องน้อมนำปฏิบัติจะนิ่งเฉยไม่เอาธุระเป็นไม่ได้ เมื่อ

ภาวนาแล้วก็ต้องแน่วแน่ไปสู่เป้าหมายแห่งวิถีภาวนานั้น สิ่งหนึ่งที่ปรากฏขึ้นในใจผม ณ วันนี้คือ เวลาไร้ค่า ทำไมจึง

รู้สึกได้เยื้องนี้ เพราะขณะที่โลกหมุน เราขุ่นอยู่กับตัณหา ชีวิตจึงไร้ค่า เวลาหยุดจึงไม่มี ดังนั้นภาวนาชั่วขณะหนึ่งพึง

มีต่อวัน เพียงเพื่อหยุด นิวรณ์อย่าข้อง ประหนึ่งใจต้องชำระทุกวันให้พร้อมตื่นขึ้นสู้กับกิเลสในใจตนค้นหาคุณค่าใน

ตัวที่ตนมี "ปรารภความดี มีภาวนาทุกวัน" ครับ...สวัสดี




http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=mira6625&month=07-2009&date=22&group=19&gblog=35
http://www.gotoknow.org/blog/jams07/366152 (http://www.gotoknow.org/blog/jams07/366152)


หัวข้อ: Re: ใครมี อารมณ์ อย่างนี้บ้าง คือ เห็นและปล่อยชีวิตไปวัน ๆ ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ สิงหาคม 06, 2011, 05:52:41 am
 
(http://image.dek-d.com/23/2271363/103711993)

สิกขา ๓ หรือ ไตรสิกขา (ข้อที่จะต้องศึกษา, ข้อปฏิบัติที่เป็นหลักสำหรับศึกษา คือ ฝึกหัดอบรมกาย วาจา จิตใจ และปัญญา ให้ยิ่งขึ้นไปจนบรรลุจุดหมายสูงสุดคือพระนิพพาน)

๑. อธิสีลสิกขา (สิกขาคือศีลอันยิ่ง, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมในทางความประพฤติอย่างสูง)
๒. อธิจิตตสิกขา (สิกขาคือจิตอันยิ่ง, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกหัดอบรมจิตเพื่อให้เกิดคุณธรรมเช่นสมาธิอย่างสูง )
๓. อธิปัญญาสิกขา (สิกขาคือปัญญาอันยิ่ง, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมปัญญา เพื่อให้เกิดความรู้แจ้งอย่างสูง )



เสขะ ผู้ยังต้องศึกษา ได้แก่ พระอริยบุคคลที่ยังไม่บรรลุอรหัตตผล
       โดยพิสดารมี ๗ คือ ท่านผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค ในโสดาปัตติผล ในสกทาคามิมรรค
       ในสกทาคามิผล ในอนาคามิมรรค ในอนาคามิผล และในอรหัตตมรรค,
       พูดเอาแต่ระดับเป็น ๓ คือ พระโสดาปัน พระสกทาคามี พระอนาคามี

อเสขะ ผู้ไม่ต้องศึกษา เพราะศึกษาเสร็จสิ้นแล้ว
       ได้แก่ บุคคลผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตผล คือ พระอรหันต์;  คู่กับ เสขะ
     


จรณะ ๑๕ (ความประพฤติ, ปฏิปทา, ข้อปฏิบัติอันเป็นทางบรรลุวิชชาหรือนิพพาน)

๑. สีลสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศีล คือ ประพฤติถูกต้องดีงาม สำรวมในพระปาฏิโมกข์ มีมารยาทเรียบร้อย ประพฤติเคร่งครัดในสิกขาบททั้งหลาย)

๒. อปัณณกปฏิปทา ๓ 
    ๒.๑ อินทรียสังวร (การสำรวมอินทรีย์ คือระวังไม่ให้บาปอกุศลธรรมครอบงำใจ เมื่อรับรู้อารมณ์ด้วยอินทรีย์ทั้ง ๖ )
    ๒.๒โภชเน มัตตัญญุตา (ความรู้จักประมาณในการบริโภค คือรู้จักพิจารณารับประทานอาหารเพื่อหล่อเลี้ยงร่างกายใช้ทำกิจให้ชีวิตผาสุก มิใช่เพื่อสนุกสนาน มัวเมา)
    ๒.๓ ชาคริยานุโยค (การหมั่นประกอบความตื่น ไม่เห็นแก่นอน คือ ขยันหมั่นเพียรตื่นตัวอยู่เป็นนิตย์ ชำระจิตมิให้มีนิวรณ์ พร้อมเสมอทุกเวลาที่จะปฏิบัติกิจให้ก้าวหน้าต่อไป )
 
๓. สัทธรรม ๗  
    ก. มีศรัทธา
    ข. มีหิริ
    ค. มีโอตตัปปะ
    ง. เป็นพหูสูต
    จ. มีความเพียรอันปรารภแล้ว
    ฉ. มีสติมั่นคง
    ช. มีปัญญา

๔. ฌาน ๔ 
    ๔.๑ ปฐมฌาน (ฌานที่ ๑)  มีองค์ ๕ คือ  วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
    ๔.๒ ทุติยฌาน (ฌานที่ ๒)  มีองค์ ๓ คือ  ปีติ สุข เอกัคคตา
    ๔.๓ ตติยฌาน (ฌานที่ ๓ )  มีองค์ ๒ คือ  สุข เอกัคคตา
    ๔.๔ จตุตถฌาน (ฌานที่ ๔ )  มีองค์ ๒ คือ  อุเบกขา เอกัคคตา


อ้างอิง  พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต
ขอบคุณภาพประกอบจาก http://image.dek-d.com/ (http://image.dek-d.com/)




    สำหรับผมแล้ว การภาวนา คือ การศึกษาในไตรสิกขา

    เสขะบุคคล หมายถึง ผู้ยังต้องศึกษาอยู่ (โสดา สกทาคามี อนาคามี)
    อเสขะบุคคล หมายถึง ผู้ไม่ต้องศึกษา(อีกแล้ว) คือ อรหันต์
    คุณสุทธิธรรม เป็นปุถุชน หรือ เสขะบุคคล หรือ อเสขะบุคคล
   
    การไม่ทำอะไรเลย อยู่เฉยๆ พระพุทธเจ้า เรียกว่า ประมาท
    ขอให้พิจารณา จรณะ ๑๕ คุณมีพร้อมแล้วหรือยัง

    อัตตนา โจทยัตตานัง จงเตือนตนด้วยตนเอง

     :welcome: :49: :25: ;)
   



หัวข้อ: Re: ใครมี อารมณ์ อย่างนี้บ้าง คือ เห็นและปล่อยชีวิตไปวัน ๆ ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: หมิว ที่ สิงหาคม 07, 2011, 10:04:32 am
คำพูด ครูอาจารย์ ให้มองเห็น รู้ตัว มีสติ สัมปชัญญะ ไม่ประมาท สั้น ๆ ว่า

  เห็นตัวแก่ หรือ เห็นแก่ตัว

  ถ้าเห็นแล้ว ก็ ละความเห็นแก่ตัว

 ถ้าเราละความเห็นแก่ตัว ได้จริง ๆ ก็จะมองเห็นความสำคัญของการภาวนา

  การภาวนา คือ การนั่งปิดหู ปิดตา ปิดปาก หรือไม่ ? ท่านทั้งหลายอาจจะคิดแค่นี้

  การภาวนา คือ ศิลปะของการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข โดยไม่มีความทุกข์ เพราะเข้าใจแก่นของทุกข์

 การภาวนา ที่แท้ก็คือ การทำหน้าที่ การทำงาน ก็คือ การปฏิบัติธรรม

  ปฏิบัติ หน้าที่ ของความเป็น มนุษย์ โดยที่สุด ไม่หวังแม้แต่คำว่าขอบใจ


  อสาเร สารมติโน
สาเร จ อสารทสฺสิโน
เต สารํ นาธิคจฺฉนฺติ
มิจฉาสงฺกปฺปโคจรา . . . ฯ ๑๑ ฯ

ผู้ใดเห็นสิ่งที่ไม่เป็นสาระ ว่าเป็นสาระ
เห็นสิ่งที่เป็นสาระ ว่าไร้สาระ
ผู้นั้นมีความคิดผิดเสียแล้ว
ย่อมไม่ประสบสิ่งที่เป็นสาระ


In the unessential they imagine the essential,
In the essential they see the unessential;
They who feed on wrong thoughts as such
Never achieve the es

 
 


หัวข้อ: Re: ใครมี อารมณ์ อย่างนี้บ้าง คือ เห็นและปล่อยชีวิตไปวัน ๆ ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: วิชชุดา ที่ กันยายน 28, 2012, 02:35:16 pm
อนุโมทนา สาธุ คะ
ที่มีคำแนะนำที่ดี ๆ ในยามที่ชีวิต ต้องการหาคำว่า ปล่อยวาง


 :25: :c017:


หัวข้อ: Re: ใครมี อารมณ์ อย่างนี้บ้าง คือ เห็นและปล่อยชีวิตไปวัน ๆ ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ ตุลาคม 01, 2012, 11:53:35 am
ผู้ใดเห็นสิ่งที่เป็น สาระ ว่าเป็น สาระ นั้นประเสิรฐ
ผู้ใดเห็นสิ่งที่ไม่เป็น สาระ ว่าเป็น สาระ นั้นอยากมาก และ แย่จริง ๆ

  การเห็น สาระ ว่าเป็น สาระ นั้นเป็นอย่างไร

  สาระ ในที่นี้หมายถึง มรรค ผล นิพพาน อันนี้เป็น สาระ
  การเห็นใน สาระ ก็คือ การภาวนา ในสาระ นั้น ๆ

 การเกิด ทุกคราว เป็นทุกร่ำไป

 เจริญธรรม / เจริญพร

  ;)