ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ชมภาพชุด "ทะเลสีเขียว" ถนนที่สวยที่สุดในโลก  (อ่าน 3223 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28489
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


ชมภาพชุด "ทะเลสีเขียว" ถนนที่สวยที่สุดในโลก

ถนนที่ชื่อว่า Rua Goncalo de Carvalho ตั้งอยู่ที่เมือง Porto Alegre ประเทศบราซิลได้ชื่อว่าเป็นถนนที่สวยที่สุดในโลกสายหนึ่ง พวกมันเหมือนทะเลสีเขียวที่อยู่ทามกลางป่าคอนกรีต

ถนนเส้นนี้มีความยาว 500 เมตร สองข้างทางปกคลุมไปด้วยต้น Rosewood ลำต้นสูงใหญ่กว่า 100 ต้น ต้นไม้เหล่านี้ถูกปลูกโดยคนงานโรงเบียร์ชาวเยอรมันจากเมืองใกล้ ตั้งแต่ปี 1930

เนื่องจากเมืองที่เจริญขึ้นเจ้าของธุรกิจบางรายจึงมีแนวความคิดที่จะโค่นต้นไม้เหล่านี้ลงเพื่อขยายธุรกิจ แต่ก็ถูกชาวเมืองต่อต้าน และในปี 2006 มันก็ได้รับการประกาศเป็นมรดกทางสภาพแวดล้อมของลาตินอเมริกา









ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1340642085&grpid=09&catid=20&subcatid=2001
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28489
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ชมภาพชุด "ทะเลสีเขียว" ถนนที่สวยที่สุดในโลก
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มิถุนายน 26, 2012, 12:58:06 pm »
0


ถนนสายงาม ต้นยาง เชียงใหม่-ลำพูน

ขอบคุณสำหรับ คอมเม้นของคุณพี่แตบ(บทความที่แล้ว)นะคะ ถ้าหากว่าเอาคนชั่วมาให้โคลนดูดนี่พื้นที่คงจะไม่พอเพราะคนชั่วมันเยอะ 555+ เอาไปมัดขาถ่วงน้ำดีก่า อิอิ และตามคำแนะนำค่ะ วันนี้ก็เลยหยิบยกเอา ถนนสายงาม ต้นยาง เชียงใหม่-ลำพูน มาโพสกันในวันนี้ แต่ก่อนอื่นก็ต้องขอเล่าประวัติก่อนนะคะ กล่าวกันว่า.....

สมัยเจ้าอินทรวิชัยยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 7 ระหว่าง พ.ศ. 2416-2440 ซึ่งเป็นพระราชบิดาพระราชชายาเจ้าดารารัศมี ในรัชกาลที่ 5 ในรัชสมัยของพระองค์ มหาอำมาตย์โทเจ้าพระยาสุรสีวิศิษฐ์ศักดิ์ (เชย กัลญาณมิตร) สมุหเทศาภิบาล มณฑล พายัพ ได้นำพันธุ์ต้นยางกว่า 1,500 ต้น ปลูกตั้งแต่เชิงสะพานนวรัฐ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ จนถึงเขตติดต่อ อ.เมือง จ.ลำพูน ระยะทาง 10 กิโลเมตร เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2425

พระ ยาสุรสีวิศิษฐ์ศักดิ์ ได้กำชับว่า ถ้าต้นยางปลูกตรงกับหน้าบ้านผู้ใด ก็ให้เจ้าของบ้านผู้นั้น เอาใจใส่ทำรั่วล้อมรอบ เพื่อกันวัวควายมาเหยียบย่ำ และให้หมั่นรดน้ำพรวนดินดายหญ้าใส่ปุ๋ย

นับจากวันนั้นมาจนถึงปัจจุบัน ต้นยางมีอายุ 125 ปีแล้ว



เมื่อ ปี 2536 แขวงการทางเชียงใหม่ที่ 2 กรมทางหลวง สำรวจตรวจนับต้นยางที่อยู่ในเขตทางหลวงมี 1,011 ต้น แต่มีต้นยางบางต้นยืนแห้งตาย จึงประสานสำนักงานป่าไม้จังหวัด ให้องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) ตัดไม้ยางออก ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 ที่กำหนดไว้ว่า การตัดโค่นไม้ยางต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ หากตัดโดยพลการจะมีความผิดตามกฎหมาย

นาย ปกรณ์ ธีรธำรง นายช่างแขวงการทางเชียงใหม่ที่ 2 กล่าวว่า
    ตั้งแต่ปี 2537 – 2546 มีต้นยางยืนตาย ถูกฟ้าผ่า พายุพัดโค่นล้ม 7 ต้น
    และกรมโยธาขอตัดออก เพื่อก่อสร้างถนนวงแหวน รอบกลาง สาย “ฌ” อีกต้น รวม 75 ต้น
    ปัจจุบันเหลือต้นยาง 936 ต้น


ใน ช่วงที่ก่อสร้างถนนวงแหวนรอบกลาง ตัดผ่านสายเชียงใหม่-ลำพูน หรือสารภีสายเก่า เมื่อปี 2540-2542 ชาวบ้าน อ.สารภี ได้คัดค้านการตัดต้นยางออก เกิดการต่อต้านเป็นวงกว้าง กระทั่ง นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี ขณะนั้น ต้องลงมาดูพื้นที่ พร้อมให้สร้างทางลอดใต้ดิน จุดที่ตัดถนนสารภีสายเก่า หลีกเลี่ยงตัดต้นยาง พร้อมสั่งห้ามตัดต้นยางออกอีก



นายวิริยะ ช่วยบำรุง ป่าไม้จังหวัดเชียงใหม่เล่าให้ฟังว่า

“โดย ทั่วไป ต้นยางมีอายุ 100-150 ปี เมื่อนับอายุต้นยางสารภีแล้วใกล้สิ้นอายุขัย ประกอบกับการสร้างถนนสายสารภี มีการตัดทับรากฝอยที่ดูดซับธาตุอาหารหล่อเลี้ยง ใช้ซีเมนต์ล้อมต้นยาง ตะปูตอกติดป้ายโฆษณา หรือใช้น้ำยาฉีดพ่นให้ตายยืนต้น เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ต้นยางใกล้สิ้นลมหายใจ”

“ขณะ นี้มีต้นยางที่แห้งตาย รอการตัดออกไปอีก 6-7 ต้น เนื่องจากเป็นอันตรายต่อผู้สัญจรใช้รถใช้ถนน ที่ผ่านมามีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต จากอุบัติเหตุกิ่งไม้ร่วงหล่นใส่หลายราย และเกิดอุบัติเหตุรถยนต์และรถจักรยานยนต์ชนต้นยางบ่อยครั้ง”

“จึง มีแนวคิดขยายเพาะพันธุ์ต้นยางสารภีไปปลูกยังถนนเลียงทางรถไฟเชียงใหม่-ลำพูน แทน เนื่องจากประสบผลสำเร็จการเพาะพันธุ์ต้นยางที่ศูนย์พัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องจากพระราชดำริ อ.ดอยสะเก็ด และแจกจ่ายพันธุ์ให้ชาวบ้านไปปลูกนับแสนต้นแล้ว หากอนุรักษ์ต้นยางสารภี เป็นรูปธรรม จะเสนอผู้ว่าราชการจังหวัด ตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการต้นยางสารภีแบบบูรณาการ เพราะมีหน่วยงานและองค์กรประชาชนหลายแห่งเกี่ยวข้อง”



นาย สุวัฒน์ ตันติพัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า จะให้ถนนสารภีสายเก่า เป็นถนนนำร่องอนุรักษ์และพัฒนาแบบบูรณาการ หรือซีอีโอ เนื่องจากเป็นถนนสายสำคัญทางประวัติศาสตร์และมีการส่วนร่วมของเอกชน จังหวัดจะตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการ เพื่อสำรวจตรวจสอบต้นยางทุกต้น ว่าต้นไหนจะอนุรักษ์ ต้นไหนจะต้องฟื้นฟูหรือตกแต่งกิ่ง ไม่ให้เกิดอันตรายต่อผู้สัญจร และต้นไหนที่แห้งตายต้องตัดออก ไม่ให้กระทบความรู้สึกชุมชนที่ร่วมรักษาต้นยางเหล่านี้

นับจากนี้ไป คงนับเวลาถอยหลังที่ต้นยางสารภีจะสิ้นอายุขัยตามกาลเวลา พร้อมกับอนุรักษ์เพาะพันธุ์ไปปลูกที่แห่งใหม่
คงไม่ใช่การสิ้นสุดหรือล่มสลายของต้นยางบนถนนสายประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวพันตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แต่อย่างใดค่ะ

ที่กล่าวมาข้างต้นก็คือประวัติความเป็นมาของ ถนนสายต้นยางงามแห่งนี้นะคะ ขอบอกว่า เทศกาลสงกรานถนนสายนี้เล่นกันอย่างมันส์ สาดกันแบบแทบไม่ลืมหูลืมตากันเลย ถือว่าเป็นถนนที่ ควรคู่ต่อการรักษาเอาไว้นะคะ หาเราไม่ช่วยกันแล้วใครเล่าจะมาช่วยเรา เพื่อโลกเพื่อตัวเราเองค่ะ



อ้างอิง
travel and food,Thailand
เขียนโดย memorry ที่ Thursday, November 20, 2008
http://travel-and-food.blogspot.com/2008/11/blog-post_20.html
ขอบคุณภาพจาก http://1.bp.blogspot.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28489
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ชมภาพชุด "ทะเลสีเขียว" ถนนที่สวยที่สุดในโลก
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มิถุนายน 26, 2012, 01:13:42 pm »
0


การสูญพันธุ์ของถนนสายต้นยางเชียงใหม่-ลำพูน

เป็นวาบความคิดหลังการสนทนาบล็อกเกอร์ภาคเหนือเมื่อวันที่ 8 มีนาคม ที่ผ่านมาเกี่ยวกับประเด็นผังเมืองเชียงใหม่ผลกระทบต่อชุมชน และได้มีการแตะไปถึงการขยายตัวของเมืองและโครงข่ายคมนาคมของเมืองเชียงใหม่ ซึ่งเกี่ยวพันไปกับทุนอสังหาริมทรัพย์ที่กระจายตัวล้อมรอบตัวเมือง ซึ่งมีประเด็นหนึ่งได้กล่าวถึงการขยายถนนจากย่านวัดเกตุ ยางไปถึงถนนสายต้นยาง (นา) เชียงใหม่ – ลำพูน ก็อดเป็นห่วงไม่ได้ว่าอนาคตจะยังเหลือถนนที่มีต้นยางที่สวยงามที่สุดในประเทศแห่งนี้หรือไม่

ไม่มีใครรับประกัน เพราะถนนสายหนึ่งที่เคยถูกกระทำมาแล้วคือถนนต้นพะยอม หรือคะยอม ที่ถูกตัดไปในช่วงครบ 700 ปี เมืองเชียงใหม่เพื่อให้มีการขยายถนนสุเทพหลังมช. และถึงปัจจุบันคนก็ลืมเลือนไปว่ากาดต้นพะยอมมีความเป็นมาจากอะไร

ผมชอบมากหากไปลำพูนแบบไม่รีบเร่งต้องไปถนนสายนี้ ซี่งไม่สามารถขับรถเร็วได้ หากต้องการเดินทางไปด่วนต้องไปถนนสายเชียงใหม่ – ลำปาง แต่ช่วงหลังยอมรับว่าเวลาทำให้ผมใช้เส้นทางนี้น้อยลง แต่ไม่สามารถลืมถนนเส้นนี้ได้เพราะเป็นเอกลักษณ์ของเชียงใหม่ เพราะมีความยาวตั้งแต่ย่านหนองหอยจนถึงสารภี แม้ขับรถอยู่ถนนไกล ๆ ก็ยังเห็นต้นยางสูงตระหง่านเป็น Land Mark อยู่ตลอด




เบื้องต้นผมประมวลการสูญพันธุ์ของถนนประวัติศาสตร์สายต้นยางเชียงใหม่ – ลำพูนแห่งนี้ไว้ 4 -5 ด้านด้วยกัน

     1.) การทำร้ายของมนุษย์ด้วยความโลภ หรือความไม่รู้ บางคนต้องการขยายหน้าร้านพื้นที่เพิ่มก็เอาสว่านเจาะ ใช้ดินประสิวใช้น้ำร้อน ตะปูตอกติดป้ายโฆษณา การเทซีเมนต์ล้อมรอบโคนต้น ทำลายราก ให้ต้นไม้ตายซากเพื่อจะได้โค่นทิ้ง กระทั่งมีการกำหนดกลยุทธ์ออกมาว่าหากใครทำลายต้นยางนา จะมีบาปกรรมเทียบเท่ากับการฆ่าพระฆ่าเณร ก็รักษามาได้ระดับหนึ่งแต่ปัจจุบันนี้มีแนวโน้มว่าคำขู่นี้จะอ่อนแรงทุกที
     2.) การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของเมืองด้วยถนนตัดใหม่ หรือตามกฎหมายผังเมืองที่จะขยายถนนกว้าง 20 เมตร
     3.) ด้วยอายุขัยของต้นไม้ หรือธรรมชาติเอง เช่น จากลมพายุ หรือถูกเชื้อราและแมลงเข้าไปทำลายทำให้เนื้อไม้ผุและเกิดเป็นโพรง เป็นต้น
     4.) การสร้างอันตรายกับการสัญจรก็เป็นทั้งข้อเท็จจริงและข้ออ้างในการตัดต้นยางไปหลายต้นแล้ว
     5.) การหลงลืมความเป็นถนนประวัติศาสตร์ของคนรุ่นหลัง



แต่ในทางการดูแลรักษาผมทราบว่าล่าสุดถนนสายนี้อยู่ภายใต้การดูแลของ องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่แล้ว แต่หากมีการเปลี่ยนแปลงที่จะผิดปกติไปจากธรรมชาติผมคิดว่าเป็นเรื่องไม่ถูกต้องครับ โดยเฉพาะเรื่องการที่คนโลภหรือไม่รักต้นไม้รังแก หรือการรังแกด้วยกฎหมาย และการไม่หวงแหนสิ่งที่มีค่าที่สุดกับเมืองเชียงใหม่ นี่สำคัญมากกว่า

ผมมีความคิดเกี่ยวกับการพัฒนาถนนนี้เชิงการท่องเที่ยว-อนุรักษื คือ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย อบจ. อบต.ในพื้นที่น่าจะจัดงานเชิงประวัติศาสตร์ – วัฒนธรรมของถนนสายนี้ในปีที่ 125 เป็นถนนที่ปลูกต้นยางใหญ่ซึ่งไม่มีที่ไหนในโลก   ที่สวยงาม เก่าแก่  ในประเทศไทยมีที่นี่แห่งเดียว  900 กว่าต้น ซึ่งแต่ละต้นมีขนาดใหญ่ มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณเมตรครึ่ง ปลูกมานานกว่า 100 ปี สามารถจัดเป็น Unseenได้อีกแห่ง และสามารถจัด Event ตลอดทั้งสายให้ย้อนยุคเป็นล้อเกวียน การขายของแบบโบราณ ซึ่งสามารถดึงนักท่องเที่ยวได้อย่างมหาศาล หากจัดได้จะเป็นงานระดับนานาชาติของเชียงใหม่อีกงานหนึ่งเลยทีดียว

หากจะประมาณการต้นยางในปัจจุบันแล้วผมคิดว่าน่าจะมีไม่เกิน  900 ต้น แต่ก่อนหน้านั้นในปี 2537 – 2546 มีต้นยางยืนตาย ถูกฟ้าผ่า พายุพัดโค่นล้ม 7 ต้น และกรมโยธาขอตัดออก เพื่อก่อสร้างถนนวงแหวน รอบกลาง สาย “ฌ” อีก ต้น รวม 75 ต้น ปัจจุบันเหลือต้นยาง 936 ต้น


ถนนสายเชียงใหม่ - ลำพูน เส้นทางประวัตศาสตร์ที่มีต้นยางใหญ่ 2 ข้างทางที่อยู่ในเขตพื้นที่อำเภอสารภี จำนวน  600 กว่าต้น
พอย่างถึงเดือน มีนาคม - เมษายน จะมีดอกเอื้องบานสะพรั่งที่ติดตามต้นยางในเขตอำเภอสารภี

    ขณะที่มีตัวเลขอีกด้านหนึ่งเมื่อปี พศ. 2539 มีจำนวน 1107 ต้น ( Pooma, 1996) ต้นยางนาที่เหลืออยู่ บางต้นอยู่ในสภาพทรุดโทรม ต้นที่ตายแล้วจะต้องถูกตัดทิ้ง บางต้นลำต้นหรือกิ่งเป็นโพรงผุ หรือเป็นแผลขนาดใหญ่ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการกระทำของมนุษย์

เช่น การบดอัดผิวถนน การเทซีเมนต์ล้อมรอบโคนต้นและพื้นที่โดยรอบ ขับขี่ยานพาหนะเข้าชนหรือกระแทก การทิ้งขยะสารเคมี และสิ่งของต่างๆ แล้วเผา บริเวณโคนต้น การติดป้ายโฆษณาหรือที่เป็นอันตรายอย่างยิ่งคือ การจงใจทำให้ต้นยางนาตายโดยใส่สารพิษบริเวณโคนต้นให้รากดูดซับเข้าไป สำหรับสาเหตุที่เกิดจากธรรมชาติได้แก่ การถูกลมพัดทำให้โค่นล้มหรือกิ่งหัก ถูกเชื้อราและแมลงเข้าไปทำลายทำให้เนื้อไม้ผุและเกิดเป็นโพรง เป็นต้น

ปี 2536 แขวงการทางเชียงใหม่ที่ 2 กรมทางหลวง สำรวจตรวจนับต้นยางที่อยู่ในเขตทางหลวงมี 1,011 ต้น แต่มีต้นยางบางต้นยืนแห้งตาย จึงประสานสำนักงานป่าไม้จังหวัด ให้องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) ตัดไม้ยางออก ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 ที่กำหนดไว้ว่า การตัดโค่นไม้ยางต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ หากตัดโดยพลการจะมีความผิดตามกฎหมาย



อ้างอิง
1.) www.chiangmainews.co.th
2.)  เว็บของเทศบาลตำบลสารภี http://www.saraphi.com / เทศบาลตำบลยางเนิ้ง www.theyang.go.th
3.)  http://watket.wordpress.com/
บทความ การสูญพันธุ์ของถนนสายต้นยางเชียงใหม่-ลำพูน เมื่อ มีนาคม 2551
ภาพและข้อมูลจาก http://www.oknation.net/blog/print.php?id=228026
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ