ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: อัพยัคคนิมิต  (อ่าน 2664 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ปัญญสโก ภิกขุ

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 403
  • อริยสโก
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
อัพยัคคนิมิต
« เมื่อ: พฤษภาคม 09, 2013, 12:24:36 pm »
0
อยากทราบว่า "อัพยัคคนิมิต" คืออะไร ?
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28495
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: อัพยัคคนิมิต
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 10, 2013, 08:12:34 am »
0



พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
หมวด ๖ แห่งโพชฌงค์ที่ ๖ อาหารสูตร


   อาหารของโพชฌงค์
   [๕๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นอาหารให้
   สมาธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดเกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์.?

   ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธินิมิต อัพยัคคนิมิต (นิมิตรแห่งจิตอันมีอารมณ์ไม่ฟุ้งซ่าน) มีอยู่
   การกระทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในนิมิตนั้น
   นี้เป็นอาหารให้สมาธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์.

____________________________________________________________
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=19&A=3082&Z=3189




อรรถกถา สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค โพชฌงคสังยุตต์ หมวด ๖
๑. อาหารสูตร

     ธรรม ๑๑ ประการย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดแห่งสมาธิสัมโพชฌงค์   คือ
                         ความทำวัตถุให้สละสลวย ๑
                         ความปรับอินทรีย์ให้เสมอกัน ๑
                         ความฉลาดในนิมิต ๑
                         ความยกจิตในสมัย ๑
                         ความข่มจิตในสมัย ๑
                         ความทำจิตให้ร่าเริงในสมัย ๑
                         ความเพ่งดูจิตอยู่เฉยๆ ในสมัย ๑
                         หลีกเว้นบุคคลผู้มีจิตไม่เป็นสมาธิ ๑
                         คบหาบุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิ ๑
                         พิจารณาวิโมกข์ ๑
                         น้อมจิตไปในสมาธินั้น ๑.


     บรรดาบทเหล่านั้น ความทำวัตถุให้สละสลวย และความปรับอินทรีย์ให้เสมอกัน พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้ว.
     ความฉลาดในการถือเอากสิณนิมิต ชื่อว่าความฉลาดในนิมิต.
     บทว่า สมเย จิตฺตสฺส ปคฺคณฺหณตา ความว่า ในสมัยใดมีจิตหดหู่ เพราะเหตุมีความเพียรย่อหย่อนนักเป็นต้น ในสมัยนั้น ยกจิตนั้นด้วยการให้ธัมมวิจยะวิริยะและปีติสัมโพชฌงค์ตั้งขึ้น.


     บทว่า สมเย จิตฺตสฺส นิคฺคณฺหณตา ความว่า ในสมัยใดมีจิตฟุ้งซ่าน เพราะเหตุปรารภความเพียรเกินไปเป็นต้น ในสมัยนั้นข่มจิตนั้นด้วยการให้ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ตั้งขึ้น.

     บทว่า สมเย สมฺปหสนตา ความว่า ในสมัยใด จิตไม่มีอัสสาทะเพราะความพยายามทางปัญญาอ่อนไปก็ดี เพราะไม่ได้ความสุขอันเกิดแต่ความสงบก็ดี ในสมัยนั้น พระโยคาวจรย่อมพิจารณาวัตถุอันให้เกิดสังเวช ๘ อย่าง.

     วัตถุทั้งหลาย คือชาติ ชรา พยาธิและมรณะเป็น ๔ อบายทุกข์เป็นที่ ๕ ทุกข์มีวัฏฏะเป็นมูลในอดีต ทุกข์มีวัฏฏะเป็นมูลในอนาคต ทุกข์มีการแสวงหาอาหารเป็นมูลในปัจจุบัน ชื่อว่าสังเวควัตถุ ๘.
     เธอย่อมยังความเลื่อมใสให้เกิดด้วยการระลึกถึงคุณแห่งพระรัตนตรัย นี้เรียกว่าความทำจิตให้ร่าเริงในสมัย.

     ชื่อว่า ความเพ่งดูจิตอยู่เฉยๆ ในสมัย ได้แก่ ในสมัยใด จิตอาศัยความปฏิบัติชอบ เป็นจิตไม่หดหู่ ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่มีอัสสาทะ เป็นไปสม่ำเสมอในอารมณ์ ดำเนินไปสู่วิถีแห่งสมถะ. ในสมัยนั้น เธอไม่ต้องขวนขวายในการยก การข่มและการทำให้มันร่าเริง ดุจสารถีเมื่อม้าทั้งหลายวิ่งไปเรียบร้อย ก็ไม่ขวนขวายฉะนั้น นี้เรียกว่าความเพ่งดูจิตอยู่เฉยๆ ในสมัย.

    การหลีกเว้นไกลบุคคลผู้มีจิตฟุ้งซ่าน ยังไม่ถึงอุปจาระหรืออัปปนา ชื่อว่าหลีกเว้นบุคคลผู้มีจิตไม่เป็นสมาธิ.
    การเสพ การคบหา การเข้าไปนั่งใกล้บุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิด้วยอุปจาระ หรืออัปปนา ชื่อว่าการคบหาบุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิ.
    ความที่จิตน้อมไป โน้มไป โอนไปเพื่อเกิดสมาธิในอิริยาบถทั้งหลาย มีการยืนและการนั่งเป็นต้น ชื่อว่าความน้อมจิตไปในสมาธินั้น. 
    ก็เธอเมื่อปฏิบัติอย่างนี้ สมาธิสัมโพชฌงค์นั้นย่อมเกิดขึ้น.
    ก็สมาธิสัมโพชฌงค์นั้นเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ ย่อมเจริญเต็มที่ได้ด้วยอรหัตมรรค.

___________________________________________________
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=522




     บทว่า สมาธินิมิตฺตํ ได้แก่ สมถะบ้าง อารมณ์ของสมถะบ้าง.
     บทว่า อพฺยคฺคนิมิตฺตํ เป็นไวพจน์ของบทว่า สมาธินิมิตฺตํ นั้น.

____________________________________________
อรรถกถากายสูตรที่ ๒  อรรถกถา สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค โพชฌงคสังยุตต์ ปัพพตวรรคที่ ๑
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=357     


     ไวพจน์ คำที่มีรูปต่างกันแต่มีความหมายคล้ายกัน,
           คำสำหรับเรียกแทนกัน เช่น
           คำว่า มทนิมฺมทโน เป็นต้น เป็นไวพจน์ของวิราคะ
           คำว่า วิมุตติ วิสุทธิ สันติ อสังขตะ วิวัฏฏ์ เป็นต้น เป็นไวพจน์ของนิพพาน ดังนี้เป็นต้น 
 

______________________________________________
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)   
ขอบคุณภาพจาก http://www.dhammada.net/,http://learners.in.th/,http://www.dhammajak.net/

      ans1 ans1 ans1
     
      อัพยัคคนิมิต คือ สมาธินิมิต นั่นเอง
      ในเวลาปฏิบัตินั้น คำบริกรรมว่า "พุทโธ" ถือว่าเป็นสมาธินิมิต

       :25: :25: :25:
     
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

MICRONE

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 310
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อัพยัคคนิมิต
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤษภาคม 10, 2013, 09:11:14 am »
0
 st11 st12

    ทั้งช่างถาม และ ช่างตอบ จริง ๆ ครับ

  thk56
บันทึกการเข้า
อบอุ่นใจด้วยคุณธรรม จุดเล็ก ๆ ที่ไม่ควรมองข้าม