ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ปาฏิหาริย์.! 'น้ำทะเลจืด' หน้าหลวงพ่อโต วัดเสาธงหิน อ.บางใหญ่  (อ่าน 921 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28487
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0





ปาฏิหาริย์.! 'น้ำทะเลจืด' หน้าหลวงพ่อโต วัดเสาธงหิน อ.บางใหญ่

ปาฏิหาริย์!'น้ำทะเลจืด'หน้าหลวงพ่อโตวัดเสาธงหิน อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี พ.ศ.๒๔๘๕ : ท่องไปในแดนธรรม เรื่องและภาพ ไตรเทพ ไกรงู

เหตุการณ์สำคัญในตำนานชีวประวัติ “หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด” นั้น ตำนานกล่าวไว้ว่า ครั้งที่ท่านโดยสารเรือสำเภาเดินทางไปศึกษาพระธรรมที่กรุงศรีอยุธยานั้น เมื่อไปถึงกลางทะเลปรากฏว่าเรือแล่นต่อไปไม่ได้ เจ้าของเรือคิดว่าท่านเป็นกาลกิณี ท่านจึงแสดงอภินิหารเหยียบน้ำทะเลจืด ทำให้เป็นที่เคารพสักการะของผู้คนบนเรือ ตำนานนี้เมื่อถูกเล่าขานสืบต่อกันทำให้กลายเป็นเรื่องจริง

แต่ยังมีเรื่องเล่าที่เกี่ยวกับน้ำทะจืดและเกิดขึ้นจริง คือ “ปาฏิหาริย์! น้ำทะเลจืด” หน้าหลวงพ่อโต วัดเสาธงหิน อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี ซึ่งเป็นที่กล่าวขานของชาวนนทบุรี และเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๕ ซึ่งยังไม่ถึง ๑๐๐ ปี


 :25: :25: :25: :25:

พระครูปลัดไพฑูรย์ ฐิตาวิทูโร เจ้าอาวาสวัดเสาธงหิน เล่าให้ฟังว่า เมื่อครั้งน้ำท่วมกรุงเทพฯ พ.ศ.๒๔๘๕ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ ๘ น้ำได้ท่วมตามสถานที่สำคัญต่างๆ ในกรุงเทพฯ เช่น อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ภูเขาทอง ถนนราชดำเนิน อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ รวมถึงพระที่นั่งอนันตสมาคม ซึ่งถือว่าเป็นปีหนึ่งที่มีน้ำท่วมรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์

น้ำทะเลหนุนขึ้นมาสูงถึงจังหวัดนนทบุรีจนชาวบ้านแถบนั้นเดือดร้อนเพราะไม่สามารถใช้น้ำเพื่อดื่มกินได้เลย แต่เป็นที่น่าแปลกใจว่า น้ำบริเวณหน้าวัดเสาธงหินแห่งนี้กลับจืดสนิทและสามารถใช้ดื่มกินได้จนประทังชีวิตชาวบ้านแถบนั้นและบริเวณใกล้เคียงให้รอดพ้นช่วงน้ำทะเลหนุนสูงในครั้งนั้นได้ ชาวบ้านแถบนั้นต่างเชื่อว่าสาเหตุที่น้ำบริเวณหน้าวัดเสาธงหินจืดก็เพราะว่าอานุภาพความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อโตนั่นเอง และทุกวันนี้ชาวบ้านมาบนบานอยู่เสมอทั้งเรื่องโรคภัยและโชคลาภ ซึ่งมักจะประสบความสำเร็จ จึงพากันสักการะเป็นประจำ

 st12 st12 st12 st12

สำหรับความเป็นมาของ “หลวงพ่อโต” มีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่า ผู้สร้างองค์หลวงพ่อโต แต่เดิมชื่อเดิมว่า “โต” เดิมทีท่านเป็นเด็กเกิดในราชนิกูลตระกูลของพระราชาสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีตอนกลาง เมื่อตอนเป็นเด็กท่านเป็นคนตัวเล็กและขี้โรค พระบิดาและพระมารดาจึงเปลี่ยนชื่อให้ใหม่ว่า “โต” ให้เป็นมงคลนามในรัชสมัยนั้น

พระบิดาและพระมารดาพาเด็กชายโตไปที่วัดบ่อยๆ เพื่อสนทนาปราศรัยในเรื่องศีลธรรมตามสำนักของพระอาจารย์ต่างๆ เพื่อให้ได้รู้ข้อวัตรปฏิบัติทางพระพุทธศาสนา และให้เห็นเป็นที่คุ้นเคยกับครูบาอาจารย์ตลอดมา จิตใจก็จะได้เลื่อมใสในคำสั่งสอนทางพระพุทธศาสนาและครูบาอาจารย์ พยายามชักจูงให้เอนเอียงไปในทางพุทธศาสนาเป็นส่วนมาก ไม่ให้มีใจคิดสืบตระกูลที่จะปกครองบ้านเมือง


 st11 st11 st11 st11

เมื่ออายุครบ ๒๐ ปี พระบิดาพระมารดาก็จัดการบวชให้อยู่ในสำนักปฏิบัติกรรมฐาน พระภิกษุโตพยายามค้นคว้าศึกษาเล่าเรียนพระกรรมฐานกับพระอาจารย์จนช่ำชอง สามารถที่จะปกครองตัวเองได้แล้วก็ลาพระอาจารย์ออกเดินธุดงค์ไปตามจังหวัดต่างๆ ในปีนั้นท่านออกธุดงค์ไปที่ จ.สุพรรณบุรี และปักกรดอยู่ข้างวัดป่าเลไลยก์ก็เกิดมีความศรัทธาในองค์พระปฏิมาปางเลไลยก์ขึ้น คิดอยู่ในใจว่าถ้าได้ค้นพบสถานที่ไหนมีสัปปายะดี ๔ ประการเมื่อใดก็จะก่อสร้างพระปางป่าเลไลยก์ขึ้นให้ได้ ท่านก็ลาพระอาจารย์ออกเดินธุดงค์ลงมาทางทิศใต้ถึง จ.นนทบุรี ก็มาปักกรดลง ณ ที่ตรงนี้

หลังจากปักกรดอยู่ที่นี่สักระยะหนึ่งได้ทำความคุ้นเคยกับญาติโยมดีแล้ว ท่านก็ชักชวนญาติโยมโค่นต้นสักต้นหนึ่งแล้วก็เปิดปีกเป็นสี่เหลี่ยม ทำเป็นลิ้นชักและท่านก็ได้ทำตะกรุดขึ้น ๓ ดอกคือ ทองคำ ๑ ดอก นาก ๑ ดอก และเงิน ๑ ดอก เรียกว่าตะกรุดสามกษัตริย์เสร็จแล้วท่านนำไปบรรจุไว้ในลิ้นชักนั้นโดยให้ช่างปูนพอกและท่านได้ทำการปั้นด้วยมือของท่านเองเป็นองค์พระปางป่าเลไลยก์จนสำเร็จตามความประสงค์ที่ท่านปรารถนาไว้

 ans1 ans1 ans1 ans1

หลังจากการปั้นเสร็จสมบูรณ์แล้วท่านก็ได้ฉลองพระพุทธรูปของท่าน โดยท่านได้ไปนิมนต์พระอาจารย์ของท่านและพระอาจารย์ต่างๆ สายวิปัสสนากรรมฐานทางกรุงศรีอยุธยามาช่วยกันปลุกเสกและแผ่พลังจิตลงไปในพระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์อยู่หลายวันหลายคืนจนสำเร็จ เพื่อเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชาในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสืบต่อไป

“เมื่อพระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์เสร็จตามปรารถนาแล้วท่านก็หยุดธุดงค์และจำพรรษาอยู่ ณ ที่นี่ตลอดมา ต่อมาไม่นานท่านก็มรณภาพลง ณ สถานที่นี้ พวกญาติโยมชาวบ้านเสาธงหินก็ฌาปนกิจสรีระของท่านจนเรียบร้อย ประชาชนทั้งหลายในสถานที่นี้จึงพากันเคารพกราบไหว้บูชาองค์หลวงพ่อ คือ พระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์องค์นี้ตลอดมา และถวายพระนามท่านว่า หลวงพ่อโต ตามพระนามของพระภิกษุโต หรือพระอาจารย์ผู้สร้างที่มรณภาพไปแล้วนั่นเอง” พระครูปลัดไพฑูรย์ กล่าว





๑๔ พ.ค.๕๙ บุญใหญ่ยกหลวงพ่อโต

พุทธลักษณะของพระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ของวัดเสาธงหินและของวัดป่าเลไลยก์ จ.สุพรรณบุรี นั้น จะมีความแตกต่างกันตรง “พระหัตถ์” จะคว่ำและหงายมือคนละข้างกัน โดยพระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ของวัดเสาธงหินจะคว่ำพระหัตถ์ขวาและหงายพระหัตถ์ซ้าย ส่วนของวัดป่าเลไลยก์ จ.สุพรรณบุรี จะคว่ำพระหัตถ์ซ้ายและหงายพระหัตถ์ขวา

เมื่อก่อนหลวงพ่อโตองค์นั้นตากแดดตากฝนอยู่กลางแจ้ง จนกระทั่งต่อมาราวประมาณ พ.ศ.๒๔๖๔ ในสมัยหลวงปู่พิณเป็นเจ้าอาวาส มีโยมผู้หญิงคนหนึ่งชื่อว่า “เหมือน” มีศรัทธาเป็นเจ้าภาพสละเงินค่าวัสดุก่อสร้างทำเป็นวิหารรององค์หลวงพ่อโตขึ้นหลังหนึ่ง ตั้งแต่นั้นมาองค์หลวงพ่อโตก็ได้รับความร่มเย็น ไม่ตากแดดตากฝนอีกต่อไป

 :96: :96: :96: :96: :96:

เนื่องจากวัดเสาธงหินนี้อยู่ใกล้คลองอ้อมนนท์ นับตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๑๘ เป็นต้นมา เมื่อถึงฤดูน้ำหลากจะปรากฏว่าน้ำท่วมองค์หลวงพ่อโตทุกปี ตั้งแต่สมัยพระครูนนทปัญญาภรณ์ และพระครูนันทธรรมธัช อดีตเจ้าอาวาส ได้บูรณะวิหารหลวงพ่อโตและองค์หลวงหลวงพ่อโตเรื่อยมา เพื่อให้เป็นที่ศรัทธาแก่ผู้กราบไหว้จนปัจจุบันนี้นั่นเอง

อย่างไรก็ตามด้วยเหตุที่วิหารหลวงพ่อโตหลังเดิมชำรุดทรุดโทรม รวมทั้งน้ำท่วมขังทุกปี พระครูปลัดไพฑูรย์ จึงสร้างวิหารหลังใหม่มูลค่ากว่า ๔๐ ล้านบาท โดยในวันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๙ เวลา ๑๔.๐๐ วัดจัดให้ “มีพิธียกหลวงพ่อโตขึ้นวิหาร” และทอดผ้าป่าสามัคคี เวลา ๑๒.๓๐ น. ผู้มีจิตศรัทธาร่วมบุญได้ที่วัดเสาธงหิน โทร. ๐๙-๔๔๑๘-๑๑๑๑

         
 st11 st11 st11 st11

เสาธงหิน สมเด็จพระเจ้าตาก

“วัดสัก” หรือ “วัดเสาธงหิน” ในปัจจุบัน ตามคำบอกเล่าจากผู้เฒ่าผู้แก่ที่สูงอายุสืบต่อกันมาว่า ในสมัยของสมเด็จพระเจ้ากรงธนบุรี หรือสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เมื่อพระองค์เสด็จกรีธาทัพเพื่อที่จะทำการกู้ชาติไทยจากพม่าข้าศึก ได้เสด็จนำทัพผ่านมาทางวัดสัก เมื่อทอดพระเนตรเห็นต้นสักจำนวนมากเป็นที่ร่มรื่นจึงรับสั่งให้หยุดทัพพักพลรบ ณ ที่วัดสักแห่งนี้ เพื่อพักเอาแรงและกำลังต่อไป

ไม่ว่าจะเป็นทัพของผู้ใดย่อมมีธงชัยประจำทัพ หรือธงประจำตัวของแม่ทัพคนนั้นๆ ทัพของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชก็เช่นเดียวกัน มีรับสั่งให้ปักธงประจำทัพของพระองค์ลงบนกองทราย ณ ตำบลนั้น โดยให้หัวหมู่ทหารนำพลพรรคไปหาเอาหินก้อนใหญ่ๆ มากองทัพเสาธงและล้อมรอบธงไว้เพื่อกันมิให้ธงล้ม

หลังจากนั้นเพื่อเป็นพระอนุสรณ์แด่พระองค์ว่าครั้งหนึ่งได้เสด็จนำทัพผ่านมาและเสด็จประทับพักพลรบ ณ ตำบลนี้เพื่อไปรบกับพม่าข้าศึก เช่นชาวบ้านค่าย “บางระจัน” แม่ทัพนายกองและไพร่พลทั้งหลายจึงพากันเรียกขานแต่นั้นมาว่าจุดหมาย “เสาธงหิน” จากปากต่อปากเรียกกันมาเรื่อยๆ จนกระทั่งถึงทุกวันนี้


ขอบคุณภาพและบทความ
http://www.komchadluek.net/detail/20160422/226331.html
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0

    ขออนุโมทนาสาธุ ครับ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา