ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: รางวัลเสาเสมาธรรมจักร คืออะไร  (อ่าน 7579 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

รักหนอ

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +22/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 369
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
รางวัลเสาเสมาธรรมจักร คืออะไร
« เมื่อ: พฤศจิกายน 25, 2010, 08:04:24 am »
0
   

รางวัลเสาเสมาธรรมจักร เป็นรางวัลเกียรติยศที่มอบให้แก่บุคคล หรือหน่วยงานที่ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา และมีสิทธิ์ได้รับเพียงครั้งเดียวเพราะถือว่าสูงสุดในชีวิต



ทั้งนี้ มีแนวคิดว่าพระธรรมจักรเป็นเครื่องหมายแห่งการประกาศพระพุทธศาสนา และผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการ ช่วยจรรโลงพระพุทธศาสนา ช่วยเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้ไพศาลยิ่ง ๆ ขึ้นไปด้วย

รางวัลเสาเสมาธรรมจักร สร้างจากวัสดุธรรมดาทั่วไป เช่น หล่อด้วยเรซินแล้วปิดทอง โดยจะมีพิธีมอบรางวัลแด่ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา ในงานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา เนื่องในเทศกาลวิสาขะบูชา ของทุก ๆ ปี

ความเป็นมาของการมอบรางวัลเสาเสมาธรรมจักร

การคัดเลือกผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา เริ่มในปี ๒๕๒๕ ซึ่งเป็นปีแรกของการคัดเลือก และได้เว้นว่างไป ๑ ปี จนถึงปี ๒๕๒๗ ซึ่งเป็นปีที่มีการก่อตั้งศูนย์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย กรมการศาสนาร่วมกับศูนย์ส่งเสริม ฯ จึงได้นำโครงการคัดเลือกผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาขึ้นมาพิจารณาอีก ครั้งหนึ่ง จากการคัดเลือกผู้ทำคุณต่อพระพุทธศาสนา ตั้งแต่ปี ๒๕๒๕ – ปัจจุบัน มีผู้ได้ผ่านการคัดเลือกทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ จำนวน ๒,๗๕๘ รูป/คน


การพิจารณามอบรางวัลเสาเสมาธรรมจักร

รางวัลเสาเสมาธรรมจักร จึงเป็นรางวัลเกียรติยศสูงสุดที่คณะกรรมการฝ่ายคัดเลือกผู้ทำคุณประโยชน์ต่อ พระพุทธศาสนา พิจารณามอบให้แก่ผู้ที่ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา เพื่อส่งเสริมยกย่องคุณความดีและประกาศเกียรติคุณแด่บุคคล องค์กร และหน่วยงาน ที่บำเพ็ญประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาให้ปรากฏแก่พุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป เป็นแบบอย่างแก่สังคมและเยาวชนของชาติ เป็นเกียรติ เป็นกำลังใจในการเผยแผ่ พระพุทธศาสนา ซึ่งได้ผ่านการเสนอชื่อการพิจารณาคัดเลือกกลั่นกรองจากคณะอนุกรรมการ และการอนุมัติจากคณะกรรมการฝ่ายคัดเลือกในโครงการสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธ ศาสนา เนื่องในเทศกาลวิสาขบูชา

ผู้ควรแก่รางวัลจะได้รับพระราชทานเสาเสมาธรรมจักร พร้อมด้วยประกาศเกียรติคุณจากสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งเสด็จ ฯ เป็นองค์ประธานเปิดงานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา เนื่องในเทศกาล วิสาขบูชา ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวงเป็นประจำทุกปี

หน่อยงานที่รับผิดชอบการพิจารณามอบรางวัลเสาเสมาธรรมจักร ปัจจุบันอยู่ที่กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม โดยจะมีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิเศษเพื่อพิจารณาผู้สมควรได้รับรางวัลขึ้น ใหม่ทุกปี โดยแบ่งพิจารณาเป็น ๑๐ สาขา เช่น สาขาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศ  สาขาการแต่งหนังสือทางพระพุทธศาสนา เป็นต้น การคัดเลือกผู้สมควรได้รับรางวัลมีสองวิธีการคือ พิจารณาจากผู้ทำประโยชน์ผู้ที่มีชื่อเสียง และคัดเลือกจากเอกสารที่ผู้เสนอขอตามลำดับชั้นจากสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด ขึ้นมา โดยแบ่งเป็นจังหวัดละ ๑ หรือ ๒ รางวัล ตามแต่ขนาดของประชากรในจังหวัด โดยไม่มีการแยกฆราวาสหรือพระภิกษุ ทำให้บางครั้งการได้รับรางวัลของฆราวาสหรือพระภิกษุในบางปี ในบางจังหวัด จะตกอยู่ที่ผู้ใกล้ชิดกับการ

ประเภทส่งเสริมการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
สาขาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศ
ปกครอง คณะสงฆ์หรือข้าราชการฝ่ายปกครองระดับจังหวัด เพราะการพิจารณาจากคณะกรรมการที่จังหวัดแต่งตั้ง สามารถเสนอได้เพียง ๑ หรือ ๒ รางวัล ตามแต่เกณฑ์ที่กำหนดไว้ จึงทำให้พระสงฆ์หรือฆราวาสที่ส่งเอกสารหรือไม่ทราบความเคลื่อนไหวการเสนอขอ หรือพระสงฆ์หรือฆราวาสที่ตั้งใจทำงานเพื่อพระพุทธศาสนาที่ไม่สนใจทำเรื่อง เสนอขอรางวัล ไม่ได้รับเลือกให้ได้รับรางวัลเสาเสมาธรรมจักร อย่างที่ควรจะเป็น


 ประเภทของการคัดเลือกผู้สมควรได้รับรางวัลเสาเสมาธรรมจักร

สืบเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๕ – ปัจจุบัน มีการปรับเพิ่มประเภทตามที่คณะกรรมการ ฯ กำหนด ในปี พ.ศ. ๒๕๔๙ คณะกรรมการฝ่ายคัดเลือกผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา ได้แบ่งประเภทการคัดเลือกออกเป็น ๑๐ ประเภท คือ

ประเภทส่งเสริมการศึกษาพระพุทธศาสนา
ประเภทการศึกษาสงเคราะห์
ประเภทส่งเสริมการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
ประเภทส่งเสริมการปฏิบัติธรรม
ประเภทส่งเสริมกิจการคณะสงฆ์
ประเภทสงเคราะห์ประชาชนและส่งเสริมการพัฒนาชุมชนโดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
ประเภทส่งเสริมและอนุรักษ์วัฒนธรรมมรดกไทยทางพระพุทธศาสนา
ประเภทสื่อมวลชนที่ส่งเสริมพระพุทธศาสนา
ประเภทสมาคม องค์กร มูลนิธิ สถาบัน และหน่วยงานที่มีกิจกรรมส่งเสริมพระพุทธศาสนา
ประเภทผู้ประกอบอาชีพที่มีคุณธรรมและส่งเสริมพระพุทธศาสนา


ที่มา
ข้อมูลจาก มจร. วัดมหาธาตุ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 25, 2010, 08:06:00 am โดย รักหนอ »
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28487
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: รางวัลเสาเสมาธรรมจักร คืออะไร
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 17, 2016, 09:33:28 am »
0


สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
เป็นองค์ประธานในพิธีพระราชทานรางวัลเสาเสมาธรรมจักรแด่ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา



รางวัลเสาเสมาธรรมจักร

รางวัลเสาเสมาธรรมจักร เป็นรางวัลเกียรติยศที่มอบให้แก่บุคคล หรือหน่วยงานที่ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา บุคคลหรือองค์กรที่ได้รับรางวัลนี้จะมีสิทธิ์ได้รับเพียงครั้งเดียว เพราะถือว่าเป็นรางวัลทรงเกียรติสูงสุดในชีวิตแล้ว

รางวัลเสาเสมาธรรมจักร สร้างจากวัสดุธรรมดาทั่วไป เป็นรูปกงล้อธรรมจักรประดิษฐานบนเสากลม ภายใต้แนวคิดว่าพระธรรมจักรเป็นเครื่องหมายแห่งการประกาศพระพุทธศาสนา และผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาก็ได้ชื่อว่าเป็นเสาหลักของพระพุทธศาสนา เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการช่วยจรรโลงพระพุทธศาสนา ช่วยเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้ไพศาลยิ่ง ๆ ขึ้นไป

ปัจจุบัน พิธีพระราชทานรางวัลเสาเสมาธรรมจักร จัดขึ้น ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง ในช่วงงานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา เนื่องในเทศกาลวิสาขบูชา ของทุก ๆ ปี โดยมีสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นองค์ประธานในพิธีพระราชทานรางวัลเสาเสมาธรรมจักรแด่ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา


ความเป็นมาของการมอบรางวัลเสาเสมาธรรมจักร

การคัดเลือกผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา เริ่มในปี 2525 ซึ่งเป็นปีแรกของการคัดเลือก และได้เว้นว่างไป 1 ปี จนถึงปี 2527 ซึ่งเป็นปีที่มีการก่อตั้งศูนย์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย กรมการศาสนาร่วมกับศูนย์ส่งเสริม ฯ จึงได้นำโครงการคัดเลือกผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาขึ้นมาพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง จากการคัดเลือกผู้ทำคุณต่อพระพุทธศาสนา ตั้งแต่ปี 2525 – ปัจจุบัน มีผู้ได้ผ่านการคัดเลือกทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ จำนวน 2,758 รูป/คน

การพิจารณามอบรางวัลเสาเสมาธรรมจักร

รางวัลเสาเสมาธรรมจักร เป็นรางวัลเกียรติยศสูงสุดที่คณะกรรมการฝ่ายคัดเลือกผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา พิจารณามอบให้แก่ผู้ที่ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา เพื่อส่งเสริมยกย่องคุณความดีและประกาศเกียรติคุณแด่บุคคล องค์กร และหน่วยงาน ที่บำเพ็ญประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาให้ปรากฏแก่พุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป เป็นแบบอย่างแก่สังคมและเยาวชนของชาติ เป็นเกียรติ เป็นกำลังใจในการเผยแผ่ พระพุทธศาสนา ซึ่งได้ผ่านการเสนอชื่อการพิจารณาคัดเลือกกลั่นกรองจากคณะอนุกรรมการ และการอนุมัติจากคณะกรรมการฝ่ายคัดเลือกในโครงการสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา เนื่องในเทศกาลวิสาขบูชา

ผู้ควรแก่รางวัลจะได้รับพระราชทานเสาเสมาธรรมจักร พร้อมด้วยประกาศเกียรติคุณจากสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งเสด็จ ฯ เป็นองค์ประธานเปิดงานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา เนื่องในเทศกาล วิสาขบูชา ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวงเป็นประจำทุกปี

หน่วยงานที่รับผิดชอบการพิจารณามอบรางวัลเสาเสมาธรรมจักร ปัจจุบันอยู่ที่กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม โดยจะมีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิเศษเพื่อพิจารณาผู้สมควรได้รับรางวัลขึ้นใหม่ทุกปี โดยแบ่งพิจารณาเป็น 10 สาขา เช่น สาขาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศ สาขาการแต่งหนังสือทางพระพุทธศาสนา เป็นต้น การคัดเลือกผู้สมควรได้รับรางวัลมีสองวิธีการคือ พิจารณาจากผู้ทำประโยชน์ผู้ที่มีชื่อเสียง และคัดเลือกจากเอกสารที่ผู้เสนอขอตามลำดับชั้นจากสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดขึ้นมา โดยแบ่งเป็นจังหวัดละ 1 หรือ 2 รางวัล ตามแต่ขนาดของประชากรในจังหวัด



รางวัลเสาเสมาธรรมจักร


ประเภทของการคัดเลือกผู้สมควรได้รับรางวัลเสาเสมาธรรมจักร

สืบเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 – ปัจจุบัน มีการปรับเพิ่มประเภทตามที่คณะกรรมการ ฯ กำหนด ในปี พ.ศ. 2549 คณะกรรมการฝ่ายคัดเลือกผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา ได้แบ่งประเภทการคัดเลือกออกเป็น 10 ประเภท คือ

    1. ประเภทส่งเสริมการศึกษาพระพุทธศาสนา
    2. ประเภทการศึกษาสงเคราะห์
    3. ประเภทส่งเสริมการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
    4. ประเภทส่งเสริมการปฏิบัติธรรม
    5. ประเภทส่งเสริมกิจการคณะสงฆ์
    6. ประเภทสงเคราะห์ประชาชนและส่งเสริมการพัฒนาชุมชนโดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
    7. ประเภทส่งเสริมและอนุรักษ์วัฒนธรรมมรดกไทยทางพระพุทธศาสนา
    8. ประเภทสื่อมวลชนที่ส่งเสริมพระพุทธศาสนา
    9. ประเภทสมาคม องค์กร มูลนิธิ สถาบัน และหน่วยงานที่มีกิจกรรมส่งเสริมพระพุทธศาสนา
  10. ประเภทผู้ประกอบอาชีพที่มีคุณธรรมและส่งเสริมพระพุทธศาสนา



อ้างอิง :-
1. กรมการศาสนา. (2554). รางวัลพระราชทาน เสาเสมาธรรมจักร พ.ศ. 2552. [ออน-ไลน์].
แหล่งที่มา : http://www.dra.go.th/module/attach_media/sheet4520090520112726.pdf
2. โครงการอุดหนุนการส่งเสริมศีลธรรมประชาชนรายการยกย่องผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา.
เว็บไซต์ กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม. เรียกข้อมูลเมื่อ 11-5-52

ขอบคุณบทความจาก : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี https://th.wikipedia.org/wiki/รางวัลเสาเสมาธรรมจักร
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28487
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: รางวัลเสาเสมาธรรมจักร คืออะไร
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤษภาคม 17, 2016, 10:25:18 am »
0



หลักเกณฑ์การคัดเลือก
ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา


๑. ประเภทของผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา

๑. ประเภทส่งเสริมการศึกษาพระพุทธศาสนา มี ๓ สาขา
    ๑.๑ สาขาการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกธรรม แผนกบาลี
    ๑.๒ สาขาการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา
    ๑.๓ สาขาการแต่งหนังสือทางพระพุทธศาสนา
๒. ประเภทการศึกษาสงเคราะห์ มี ๒ สาขา
    ๒.๑ สาขาการศึกษาศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์
    ๒.๒ สาขาการศึกษาศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด
๓. ประเภทส่งเสริมการเผยแผ่พระพุทธศาสนา มี ๒ สาขา
    ๓.๑. การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศ
    ๓.๒ การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศ
๔. ประเภทส่งเสริมการปฏิบัติธรรม
๕. ประเภทส่งเสริมกิจการคณะสงฆ์
๖. ประเภทสงเคราะห์ประชาชนและส่งเสริมการพัฒนาชุมชนโดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนามี ๒ สาขา 
    ๖.๑ สาขาสงเคราะห์ประชาชนและชุมชน
    ๖.๒ สาขาส่งเสริมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
๗. ประเภทส่งเสริมและอนุรักษ์วัฒนธรรมมรดกไทยทางพระพุทธศาสนา
๘. ประเภทสื่อมวลชนที่ส่งเสริมพระพุทธศาสนา
๙. ประเภทสมาคม องค์กร มูลนิธิ สถาบัน และหน่วยงานที่มีกิจกรรมส่งเสริมพระพุทธศาสนา
๑๐. ประเภทผู้ประกอบอาชีพที่มีคุณธรรมและส่งเสริมทางพระพุทธศาสนา



๒. คุณสมบัติของผู้ที่จะได้รับการคัดเลือก

๑. เป็นผู้มีศรัทธาในพระพุทธศาสนา
๒. เป็นผู้ที่มีคุณธรรม มีความประพฤติดีงาม เป็นที่ยอมรับของสังคม
๓. ประกอบอาชีพสุจริตไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดี หรือเป็นที่รังเกียจของสังคม
๔. เป็นผู้ไม่เคยถูกลงโทษหรือต้องคําพิพากษาของศาลถึงที่สุดหรืออยู่ในระหว่างถูกสอบสวน
๕. ไม่เคยได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้ทําคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนามาก่อน
๖. เป็นผู้ที่ทําคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาตามประเภทที่กําหนด ประเภทใด ประเภทหนึ่ง
๗. มีประวัติและผลงานเป็นที่ยอมรับและปรากฏผลดีเด่นในด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้าน  โดยมีการจัดกิจกรรมติดต่อกันมาไม่น้อยกว่า ๕ ปี



๓. การเสนอรายชื่อผู้สมควรได้รับการคัดเลือก ผู้สมควรได้รับการคัดเลือก

๑. มีคุณสมบัติตามที่คณะกรรมการฯ กําหนด 
๒. ศึกษาข้อกําหนดเฉพาะของผู้ทําคุณประโยชน์ ๑๐ ประเภท แนวทางการกรอกรายละเอียด 
๓. มีผลงานตรงกับข้อกําหนดเฉพาะของผู้ทําคุณประโยชน์ ๑๐ ประเภท 
๔. ส่วนกลาง ขอรับแบบฟอร์มที่สํานักงานเขตทุกเขตในกรุงเทพมหานคร, กรมการศาสนา  ส่วนภูมิภาค ขอรับแบบฟอร์มที่สํานักงานวัฒนธรรมจังหวัดทุกจังหวัด ดาวน์โหลดจาก www.dra.go.th 
    ๔.๑ บรรพชิต จัดทําประวัติและผลงาน ตามแบบ ศน. ๑ 
    ๔.๒ คฤหัสถ์ จัดทําประวัติและผลงาน ตามแบบ ศน. ๒
    ๔.๓ หน่วยงาน จัดทําประวัติและผลงาน ตามแบบ ศน. ๓
๕. มีผลงานย้อนหลัง ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๔๗-๒๕๕๑) 
๖. ผลงานที่เคยเสนอจนได้รับรางวัลในนามบุคคลหรือหน่วยงานมาแล้ว  จะนําผลงานนั้น  ไปเสนอ รับรางวัล ประเภทอื่นอีกไม่ได้
๗. จัดทําเป็นรูปเล่ม ๑ เล่ม พร้อม ประกอบด้วย 
     - ภาพถ่ายหน้าตรง ๒ ภาพ ไม่ใช้ภาพถ่ายสําเนา
     - ภาพกิจกรรมตรงกับประเภทที่ขอรับการคัดเลือก และมีเจ้าของผลงาน อยู่ในภาพนั้น อย่างน้อย ๑๐ ภาพ
     - การบริจาคเงิน ต้องมีสําเนาใบอนุโมทนาบัตร และรับรองสําเนาโดยบุคคล/หน่วยงาน ที่ได้รับบริจาค
     - สําเนาใบประกาศเกียรติคุณ
     - สรุปผลงานย้อนหลัง ๕ ปี (๑ หน้ากระดาษ เอ ๔ ) ใส่แผ่นซีดี



๔. การนําเสนอผลงาน

๑. คณะกรรมการ
   ๑) เสนอรายชื่อผู้สมควรได้รับการคัดเลือก จะเป็นบรรพชิตหรือหรือคฤหัสถ์ก็ได้ ใน ๑๐ ประเภท ไม่เกิน ๑ ราย
 
๒. ส่วนกลาง
   ๑) ผู้มีความประสงค์จะเสนอผลงานฯ นําข้อมูลประวัติและผลงานเสนอเจ้าคณะเขต ร่วมกับผู้อํานวยการเขต
พิจารณา เสนอรายชื่อผู้สมควรได้รับการคัดเลือก จะเป็นบรรพชิตหรือคฤหัสถ์ก็ได้ ประเภทละไม่เกิน ๑ ราย 
       * ในกรณีที่ผู้ถูกเสนอชื่ออยู่ในเขตการปกครองคณะสงฆ์ แต่ไม่ได้อยู่ในเขตปกครองบ้านเมือง ให้ใช้เขตปกครองบ้านเมืองของผู้ถูกเสนอชื่อเป็นเกณฑ์ เพื่อให้ผู้อํานวยการเขตรับรอง
   ๒) ผู้อํานวยการเขตหรือเจ้าคณะเขต มีหนังสือถึงกรมการศาสนา
 
๓. ส่วนภูมิภาค
    ๑) ผู้มีความประสงค์จะเสนอผลงานฯ นําข้อมูลประวัติและผลงานเสนอวัฒนธรรมจังหวัด
    ๒) วัฒนธรรมจังหวัด นําผลงานเสนอคณะกรรมการคัดเลือกผู้ทําคุณประโยชน์ ระดับจังหวัด เพื่อพิจารณาคัดเลือกตามจํานวนที่คณะกรรมการ ฯ กําหนด

๔. ต่างประเทศ
    ๑) พระภิกษุสงฆ์ ฝ่ายมหานิกายในประเทศสหรัฐอเมริกาให้ยื่นต่อประธานสมัชชาสงฆ์ไทย
    ๒) พระภิกษุสงฆ์ ฝ่ายธรรมยุต ในประเทศสหรัฐอเมริกาให้ยื่นต่อประธานสงฆ์ คณะธรรมยุต
    ๓) พระภิกษุสงฆ์ในประเทศอื่นๆ ให้ยื่นต่อเจ้าอาวาสต้นสังกัดในประเทศไทย
 
๕. ชาวต่างประเทศ
    ๑) เจ้าอาวาสวัดไทยประเทศสหรัฐอเมริกา เสนอชื่อชาวต่างประเทศต่อประธาน สมัชชาสงฆ์ไทย, ประธานสงฆ์คณะธรรมยุต
    ๒) เจ้าอาวาสวัดไทยในประเทศอื่นๆ ยื่นต่อมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้ง ๒ แห่ง โดยประสานข้อมูลจากสถานทูตหรือ สถานกงสุลในประเทศนั้นๆ 



๕. จํานวนผู้สมควรได้รับการคัดเลือก

๑. ส่วนกลาง กรุงเทพมหานคร ตามที่คณะกรรมการฯ กําหนด 
๒. ส่วนภูมิภาค ๗๕ จังหวัด 
    - จังหวัดขนาดเล็ก (มีอําเภอไม่เกิน ๑๐ อําเภอ) จังหวัดละไม่เกิน ๑ ราย
    - จังหวัดขนาดกลาง (มีอําเภอระหว่าง ๑๐-๒๐ อําเภอ) จังหวัดละไม่เกิน ๒ ราย 
    - จังหวัดขนาดใหญ่ (มีอําเภอเกิน ๒๐ อําเภอขึ้นไป) จังหวัดละไม่เกิน ๓ ราย 
๓. ต่างประเทศ ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศอังกฤษ ประเทศออสเตรเลีย เป็นต้น ตามที่คณะกรรมการฯ กําหนด 



๖. กระบวนการคัดเลือก

๑. ส่วนกลาง : กรมการศาสนา
    ก. การเสนอชื่อ
       (๑) เจ้าคณะเขตและผู้อํานวยการเขต พิจารณาแล้ว ผู้อํานวยการเขตหรือ เจ้าคณะเขต มีหนังสือนําส่งกรมการศาสนา
       (๒) คณะกรรมการฯ ระดับจังหวัดพิจารณาดําเนินการคัดเลือกระดับจังหวัดแล้ว  ผู้ว่าราชการจังหวัดมีหนังสือนําส่งกรมการศาสนา พร้อมรายงานการประชุมแนบท้าย
       (๓) ลงทะเบียนผู้ได้รับการเสนอชื่อจากผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้อํานวยการเขต ในกรุงเทพมหานคร,  ประธานสมัชชาสงฆ์ไทย ประธานสงฆ์คณะธรรมยุตในประเทศสหรัฐอเมริกา,  เจ้าอาวาสในประเทศไทย เสนอพระภิกษุสงฆ์ในประเทศอื่น ๆ แยกตามประเภท

    ข. ตรวจสอบคุณสมบัติ ผู้ได้รับการเสนอชื่อ ดังนี้ 
       (๑) การกรอกประวัติและผลงานของพระภิกษุ ฆราวาส หน่วยงาน ถูกต้อง ตามแบบฟอร์มผ่านการรับรองตามที่คณะกรรมการ ฯ กําหนด
       (๒) ภาพถ่ายหน้าตรง ๒ ภาพ
       (๓) ผลงานและสถิติย้อนหลังครบ ๕ ปี 
       (๔) ผลงานตรงตามข้อกําหนดเฉพาะของผู้ทําคุณประโยชน์
       (๕) ภาพกิจกรรม/ผลงาน ตรงกับประเภทที่ขอรับการคัดเลือก ฯ
       (๖) สําเนาใบประกาศเกียรติคุณ
       (๗) การบริจาคเงิน ต้องมีสําเนาใบอนุโมทนาบัตร และรับรองสําเนาโดยบุคคลหน่วยงานที่ได้รับบริจาค
       (๘) สรุปผลงาน ๕ ปี ๑ หน้ากระดาษ เอ ๔ 

   ค. วิธีการคัดเลือก
       (๑) ประชุมคณะอนุกรรมการกลั่นกรองการคัดเลือกผู้ทําคุณประโยชน์ส่วนกลางและต่างประเทศ นําเสนอคณะกรรมการฝ่ายคัดเลือกผู้ทําคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา พิจารณาให้ความเห็นชอบ
       (๒) ประชุมคณะอนุกรรมการกลั่นกรองการคัดเลือกผู้ทําคุณประโยชน์ส่วนภูมิภาค นําเสนอคณะกรรมการฝ่ายคัดเลือกผู้ทําคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา พิจารณาให้ความเห็นชอบ
       (๓) สรุปผลการคัดเลือกของคณะอนุกรรมการกลั่นกรองการคัดเลือกผู้ทําคุณประโยชน์ ฯ  ส่วนกลางและต่างประเทศ
ส่วนภูมิภาค นําเสนอคณะกรรมการฝ่ายคัดเลือกผู้ทําคุณประโยชน์ ฯ พิจารณาให้การเห็นชอบ
       (๔) คณะกรรมการฝ่ายคัดเลือกผู้ทําคุณประโยชน์ พิจารณาให้การเห็นชอบ
       (๕) ประกาศผลการคัดเลือกผู้ทําคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา ประจําปี ๒๕๕๒

๒. ส่วนภูมิภาค
    ก. การเสนอชื่อ
       (๑) เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ รวมทั้งหลักเกณฑ์ แนวทาง วิธีการไปยังกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้อง 
       (๒) ให้คําแนะนํา แก่ผู้ที่จะเสนอผลงานเข้ารับการคัดเลือก 
       (๓) ผู้เสนอผลงาน ฯ  นําข้อมูลประวัติและผลงานเพื่อประกอบการพิจารณา ให้เจ้าคณะจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัด รับรองตามแบบ ศน. ๑, ๒, ๓
       (๔) นําผลงานส่งสํานักงานวัฒนธรรมจังหวัด ภายในเดือน ธันวาคม
       (๕) ลงทะเบียนผู้ส่งผลงาน แยกตามประเภท ๑๐ ประเภท

    ข. ตรวจสอบคุณสมบัติ ผู้ได้รับการเสนอชื่อ ดังนี้ 
       (๑) การกรอกประวัติและผลงานของพระภิกษุ ฆราวาส หน่วยงาน ถูกต้อง ตามแบบฟอร์มผ่านการรับรองตามที่คณะกรรมการฯ กําหนด
       (๒) ภาพถ่ายหน้าตรง ๒ ภาพ
       (๓) ผลงานและสถิติย้อนหลังครบ ๕ ปี 
       (๔) ผลงานตรงตามข้อกําหนดเฉพาะของผู้ทําคุณประโยชน์
       (๕) ภาพกิจกรรม/ผลงาน ตรงกับประเภทที่ขอรับการคัดเลือก ฯ
       (๖) สําเนาใบประกาศเกียรติคุณ
       (๗) การบริจาคเงิน ต้องมีสําเนาใบอนุโมทนาบัตร และรับรองสําเนาโดยบุคคล/หน่วยงานที่ได้รับบริจาค
       (๘) สรุปผลงาน ๕ ปี ๑ หน้ากระดาษ เอ ๔
 
    ค. วิธีการคัดเลือก
       (๑) แต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองระดับจังหวัด ประกอบด้วย เจ้าคณะจังหวัด ทั้ง ๒ ฝ่าย เป็นที่ปรึกษา ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน รองผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นรองประธาน เจ้าคณะอําเภอ นายอําเภอ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัด และผู้ทรงคุณวุฒิทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ ไม่เกิน ๑๐ รูป/คน เป็นกรรมการ วัฒนธรรมจังหวัด เป็นกรรมการและเลขานุการ 
       (๒) ประชุมคัดเลือกผู้ทําคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา ในระดับจังหวัด  จะเป็นบรรพชิตหรือคฤหัสถ์ก็ได้ ตามจํานวนที่คณะกรรมการฝ่ายคัดเลือก ฯ กําหนด
          - จังหวัดขนาดเล็ก (มีอําเภอไม่เกิน ๑๐ อําเภอ) จังหวัดละไม่เกิน ๑ ราย
          - จังหวัดขนาดกลาง (มีอําเภอระหว่าง ๑๑-๒๐ อําเภอ) จังหวัดละไม่เกิน ๒ ราย 
          - จังหวัดขนาดใหญ่ (มีอําเภอเกิน ๒๐ อําเภอขึ้นไป) จังหวัดละไม่เกิน ๓ ราย และ จะมีต้องรายงานการประชุมการคัดเลือกแนบ ส่งกรมการศาสนา ส่งภายในเดือนมกราคม ๒๕๕๒

๓. ต่างประเทศ
    ก. การเสนอชื่อ
       (๑) ประธานสมัชชาสงฆ์ไทย และประธานสงฆ์คณะธรรมยุต ในประเทศสหรัฐอเมริกาเสนอพระภิกษุ คฤหัสถ์ จะเป็นบรรพชิตหรือคฤหัสถ์ก็ได้ ประเภทละ ๑ ราย 
       (๒) เจ้าอาวาสในประเทศไทย เสนอพระภิกษุสงฆ์ ที่ปฏิบัติหน้าที่ในประเทศอื่น ๆ เป็นผู้ทําคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา ประเภทละ ๑ ราย 
       (๓) ประธานสมัชชาสงฆ์ไทย และประธานสงฆ์คณะธรรมยุต ในประเทศสหรัฐอเมริกา และเจ้าอาวาสในประเทศไทย ที่พระภิกษุสงฆ์ไปปฏิบัติหน้าที่ในประเทศอื่น ๆ  ให้การรับรองตามแบบ  ศน. ๑, ๒, ๓

       ชาวต่างประเทศ
       (๑) เจ้าอาวาสวัดไทยประเทศสหรัฐอเมริกา เสนอชื่อชาวต่างประเทศ ต่อประธานสมัชชาสงฆ์ไทย, ประธานสงฆ์คณะธรรมยุต
       (๒) เจ้าอาวาสวัดไทยในประเทศอื่นๆ ยื่นต่อมหาวิทยาลัยสงฆ์ ทั้ง ๒ แห่ง โดยประสานข้อมูลจากสถานทูตหรือ สถานกงสุลในประเทศนั้น ๆ
 
   ข. ตรวจสอบคุณสมบัติ ผู้ได้รับการเสนอชื่อ ดังนี้ 
       (๑) การกรอกประวัติและผลงานของพระภิกษุ ฆราวาส หน่วยงาน ถูกต้องตามแบบฟอร์ม ผ่านการรับรองตามที่คณะกรรมการ ฯ กําหนด
       (๒) รายชื่อผู้ที่สามารถติดต่อได้ในประเทศไทย
       (๓) ภาพถ่ายหน้าตรง ๒ ภาพ
       (๔) ผลงานและสถิติย้อนหลังครบ ๕ ปี 
       (๕) ผลงานตรงตามข้อกําหนดเฉพาะของผู้ทําคุณประโยชน์
       (๖) ภาพกิจกรรม/ผลงานตรงกับประเภทที่ขอรับการคัดเลือก ฯ จํานวนไม่น้อยกว่า ๑๐ ภาพ
       (๗)  สําเนาใบประกาศเกียรติคุณ
       (๘) การบริจาคเงิน ต้องมีสําเนาใบอนุโมทนาบัตร และรับรองสําเนาโดยบุคคลหน่วยงานที่ได้รับบริจาค
       (๙)  สรุปผลงาน ๕ ปี ๑ หน้ากระดาษ เอ ๔
 
   ค. วิธีการคัดเลือก
       (๑) กรมการศาสนา แต่งตั้งคณะอนุกรรมการกลั่นกรองการคัดเลือกผู้ทําคุณประโยชน์ ฯ ส่วนกลางและต่างประเทศ เพื่อพิจารณาดําเนินการคัดเลือก ฯ 


๗. การตัดสิน

๑. คณะอนุกรรมการกลั่นกรองการคัดเลือกผู้ทําคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา ส่วนกลางและต่างประเทศ, ส่วนภูมิภาค เป็นผู้พิจารณา ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง แก้ไข ผลการคัดเลือกในระดับจังหวัด เพื่อนําเสนอคณะกรรมการฝ่ายคัดเลือกผู้ทําคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาได้ โดยไม่แจ้งให้จังหวัดทราบ 
๒. คณะกรรมการฝ่ายคัดเลือกฯ เป็นผู้พิจารณาตัดสิน โดยพิจารณาจากรายชื่อพร้อมประวัติและผลงานที่ผ่านการพิจารณาของคณะอนุกรรมการกลั่นกรองฯ แล้ว
๓. คณะกรรมการฝ่ายคัดเลือกฯ สงวนสิทธิ์ที่จะไม่ให้รางวัลใดก็ได้ หากไม่มีผู้สมควรได้รับรางวัลนั้น
๔. การตัดสินของคณะกรรมการฝ่ายคัดเลือก ฯ ถือเป็นยุติไม่สามารถยกขึ้นมาพิจารณาได้อีก 



๘. ประกาศผลการคัดเลือก 

๑. ส่วนกลาง
    ๑) คณะกรรมการฝ่ายคัดเลือกผู้ทําคุณประโยชน์ พิจารณาสรุปผลการคัดเลือก ฯ 
    ๒)  แจ้งประกาศผล ผู้ได้รับการคัดเลือกเป็นผู้ทําคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา ประจําปี  ๒๕๕๒  เจ้าคณะกรุงเทพมหานคร เจ้าคณะเขต ผู้อํานวยการเขต ประธานสมัชชาสงฆ์ไทย ประธานสงฆ์คณะธรรมยุต ในประเทศสหรัฐอเมริกา และเจ้าอาวาสวัดไทยฯ เพื่อเตรียมเข้ารับเสาเสมาธรรมจักร ในงานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา เนื่องในเทศกาลวิสาขบูชา ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง

๒. ส่วนภูมิภาค
    ๑)  กรมฯ แจ้งเจ้าคณะจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัด สํานักงานวัฒนธรรมจังหวัด 
    ๒)  สํานักงานวัฒนธรรมจังหวัด แจ้งผู้ได้รับการคัดเลือกในจังหวัด เพื่อเตรียมเข้ารับ เสาเสมาธรรมจักรในงานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา เนื่องในเทศกาลวิสาขบูชา 
    ๓)  สํานักงานวัฒนธรรมจังหวัด จัดงานแสดงความยินดีแก่ผู้ได้รับพระราชทานรางวัล ประจําปี ๒๕๕๒ โดยจังหวัดเป็นเจ้าภาพในการจัดงาน และเชิญอดีตผู้ได้รับพระราชทานรางวัลทุกรูป/คนมาร่วมแสดงความยินดี



๙. รางวัล

ผู้ทําคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา ประจําปี ๒๕๕๒ แต่ละประเภท ซึ่งเป็นบรรพชิต คฤหัสถ์ องค์กร เข้ารับพระราชทานรางวัลเสาเสมาธรรมจักร และเกียรติบัตร ในงานสัปดาห์ส่งเสริม พระพุทธศาสนา เนื่องในเทศกาลวิสาขบูชา


(ยังมีต่อ)


บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28487
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: รางวัลเสาเสมาธรรมจักร คืออะไร
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: พฤษภาคม 17, 2016, 11:23:07 am »
0


ข้อกําหนดเฉพาะของผู้ทําคุณประโยชน์


๑. ประเภทส่งเสริมการศึกษาพระพุทธศาสนา มี ๓ สาขา

     ๑.๑ สาขาการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกธรรมหรือแผนกบาลี

     ๑.๒ สาขาการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา
     การศึกษาพระพุทธศาสนา หมายถึง การศึกษาซึ่งคณะสงฆ์เป็นผู้จัดตั้งและดําเนินการ  ไม่ว่าจะเป็นแผนกบาลี แผนกธรรม และแผนกสามัญศึกษา พระเถระรูปใดรูปหนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็น เจ้าสํานักเรียน หรือพระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่งหรือหลายรูป หรือคฤหัสถ์คนใดคนหนึ่งหรือหลายคน เป็นกําลังสําคัญในการดําเนินการจนเป็นผลสําเร็จด้วยดี มีประสิทธิภาพในการเรียนการสอน มีอาคารสถานที่เป็นเอกเทศ  มีจํานวนผู้สอนและผู้เรียน มีปริมาณสูงพอสมควร เป็นสํานักเรียนที่มีชื่อเสียง เป็นที่เชิดหน้าชูตาในเขตหรือท้องที่นั้นๆ จนเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป  ในการประเมินคุณค่าของสํานักเรียนแต่ละแห่งนั้น จะพิจารณาจากบทบาทของเจ้าสํานักเรียน หรือพระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่ง หรือคฤหัสถ์คนใดคนหนึ่ง ซึ่งได้รับมอบหมายและมีบทบาทสําคัญในการดําเนินงานอย่างมีประสิทธิผล

    ทั้งนี้ โดยประเมินผลจาก
    ✦ การสนับสนุนการศึกษา ความพร้อมในการดําเนินงานในด้านอาคารสถานที่ อุปกรณ์ การเรียนการสอน ทุนการศึกษา เป็นต้น
    ✦ งบประมาณในการดําเนินงานแต่ละปี การอุปถัมภ์บํารุงพระภิกษุสามเณรหรือ เด็กและเยาวชนผู้ศึกษาเล่าเรียนในวัด ด้วยปัจจัยสี่และการเรียนการสอน
    ✦ จํานวนผู้สอนและผู้เรียน ประสิทธิภาพและผลสัมฤทธิ์จํานวนผู้สอบไล่ได้ โดยเปรียบเทียบกับกลุ่มทั้งหมดในสาขาเดียวกัน และพิจารณาจากผลลัพธ์หรือสถิติในรอบ ๕ ปี สํานักเรียนเก่าแก่ที่วัดตั้งมานาน สามารถรักษามาตรฐานในการจัดการศึกษาอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพสูง

    ๑.๓ สาขาการแต่งหนังสือทางพระพุทธศาสนา การแต่งหนังสือทางพระพุทธศาสนา ถือได้ว่าเป็นความสามารถเฉพาะตัวของผู้แต่ง  เป็นที่ยอมรับของคนทั่วไปว่า หนังสือเป็นอุปกรณ์สําคัญในการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาในระบบ ตามหลักสูตรหรือนอกระบบ ซึ่งมีผลจากการอ่านเป็นความรู้และสติปัญญา นอกจากนี้หนังสือ ทางพระพุทธศาสนายังเป็นสิ่งสําคัญและจําเป็นต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา 

     การพิจารณาจะคํานึงถึง
     ✦ ด้านคุณภาพ คือ เนื้อหาสาระของเรื่องว่ามีความถูกต้องตรงตามหลักธรรม ของพระพุทธศาสนา ให้ความจริงและเหตุการณ์ที่ถูกต้อง มีสํานวนกระชับน่าอ่านเป็นที่ใคร่ธรรม ชวนให้ประพฤติปฏิบัติตาม มีคุณค่าต่อการศึกษาพระพุทธศาสนาในด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้าน
     ✦ ด้านปริมาณ มีจํานวนพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นผลงานหนังสือที่จัดพิมพ์ เป็นรูปเล่ม จํานวนมากกว่า ๕  เล่มขึ้นไป อาจมีผลงานด้านบทความทางวิชาการประกอบด้วยก็ได้ ว่าโดยรูปแบบอาจจะเป็นเรื่องแต่ง เรื่องแปล ปาฐกถา หรือบทความ รวมพิมพ์เป็นเล่ม
     ✦ หนังสือประเภทแบบเรียนตามหลักสูตรวิชาศีลธรรมหรือจริยธรรมศาสนาหรือปรัชญา จะไม่ได้รับการพิจารณาเป็นผลงานหลัก แต่อาจใช้เป็นผลงานประกอบเท่านั้น



๒. ประเภทการศึกษาสงเคราะห์ มี ๒ สาขา

     ๒.๑ สาขาการศึกษาศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์
     การศึกษาศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ หมายถึง การจัดการศึกษาเพื่อสงเคราะห์บุตรหลานของประชาชนให้มีความรู้ความเข้าใจในพระพุทธศาสนา อันจะนําไปสู่การประพฤติปฏิบัติที่ดีงามในสังคม 

     การพิจารณาจะคํานึงถึง
     ✦ การสนับสนุนการศึกษา มีความพร้อมในด้านการดําเนินงานอาคารสถานที่ อุปกรณ์ การเรียนการสอน ทุนอุปถัมภ์ในการดําเนินงาน มีระบบการบริหารที่ชัดเจน จริงจัง และจริงใจในการฝึกอบรม
     ✦ คุณภาพในการจัดการศึกษา มีทั้งหลักสูตรและกิจกรรมช่วยเหลือสังคม  การบําเพ็ญประโยชน์และแบบอย่างที่ดีในการดําเนินชีวิตของเยาวชน
     ✦ ปริมาณของผู้สอนและผู้เรียน มีจํานวนเพิ่มขึ้นแต่ละปี จํานวนผู้สมัครเล่าเรียน และยอดผู้จบการศึกษาในแต่ละชั้นมีความสมดุลกัน

     ๒.๒   สาขาการศึกษาศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์
     การศึกษาศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ หมายถึง การจัดการศึกษาแก่เด็กในระดับอนุบาลหรือก่อนระดับเข้าเกณฑ์ประถมศึกษา เป็นการจัดแบบให้เปล่า เป็นการแบ่งเบาหน้าที่ของรัฐบาลและ ประชาชนโดยไม่หวังกําไรหรือผลตอบแทน เป็นการสงเคราะห์ประชาชนอีกทางหนึ่ง และสร้างความผูกพันแก่เด็กในทางพระพุทธศาสนา ตั้งแต่ระยะแรกเริ่มเรียนหรือเยาว์วัย สร้างทัศนคติที่ดีแก่ผู้ปกครอง ในการที่วัดจัดการศึกษาสงเคราะห์แก่ประชาชน ทําให้ประชาชนสํานึกและเห็นคุณค่าของสถาบันวัด

     การพิจารณาจะคํานึงถึง
     ✦ ความพร้อมในการจัดการศึกษาด้านอาคารสถานที่ ผู้สอน อุปกรณ์การเรียนการสอนสุขอนามัย การควบคุมดูแล และการเข้าร่วมกิจกรรมของผู้ปกครอง
     ✦ ความพร้อมในการดําเนินงาน ระบบการบริหาร งบประมาณที่ทางวัดสามารถ จัดได้อย่างพอเพียง โดยมิหวังพึ่งเงินงบประมาณแผ่นดิน
     ✦ คุณภาพและปริมาณของครูและนักเรียน สวัสดิการของครู พัฒนาการและความพร้อม ของนักเรียน
     ✦ งบประมาณในการดําเนินงาน เป็นการกุศลอย่างแท้จริงโดยไม่เรียกเก็บ ค่าบํารุงหรือค่าเล่าเรียน งบประมาณอาจได้มาจากการอุปถัมภ์บริจาคภายนอก



๓. ประเภทส่งเสริมการเผยแผ่พระพุทธศาสนา มี ๒ สาขา

     ๓.๑ สาขาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศ
     การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในที่นี้ หมายถึง บทบาทของพระสงฆ์หรือคฤหัสถ์ผู้ทําหน้าที่เผยแพร่สั่งสอนประชาชนให้มีความรู้ความเข้าใจหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา จะเป็นในรูปของการแสดงธรรม การปาฐกถาธรรม การอภิปรายในหมู่ประชาชน ทั้งในกลุ่มบุคคล ทางวิทยุ โทรทัศน์ และ/หรือสื่อมวลชนประเภทต่าง ๆ มีวารสารและหนังสือพิมพ์ เป็นต้น
     ลักษณะการดําเนินงาน มิได้จํากัดเพียงหน้าที่ของพระสงฆ์ซึ่งมีการแสดงธรรม แก่ประชาชน มีระบบการดําเนินงานที่ชัดเจน ต่อเนื่อง และหวังผลต่อกลุ่มประชาชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเป็นเป้าหมาย อาจเป็นประชาชนโดยทั่วไป กลุ่มเจ้าภาพ ครูและนักเรียนตามโรงเรียนต่างๆ ทั้งนี้รวมถึงการจัดกิจกรรมเพื่อเผยแพร่สัจธรรมด้วย พร้อมทั้งมีผลงานที่ปรากฏชัดเจน ๕ ปี

     การพิจารณาจะคํานึงถึง
     ✦ ลักษณะการดําเนินงาน ความต่อเนื่อง รูปแบบของกิจกรรม และกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน
     ✦ คุณภาพและปริมาณของผลงาน ระยะเวลา งบประมาณที่ใช้
     ✦ ประโยชน์ที่เกิดจากการดําเนินงานหรือคาดหวังว่าจะได้รับทั้งต่อสถาบันพระพุทธศาสนาและสังคม
     ✦ เป็นการดําเนินงานในประเทศไทยเท่านั้น

   ๓.๒ สาขาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศ เป็นบทบาทของพระสงฆ์หรือคฤหัสถ์ ผู้ทําหน้าที่เผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศ  มีวัด/สํานักสงฆ์/ที่พํานักเป็นหลักแหล่งเป็นที่ดําเนินการแน่นอน มิใช่เป็นการเดินทางไปรับกิจนิมนต์หรือทัศนศึกษาเพียงชั่วครั้งชั่วคราว แต่เป็นการปฏิบัติศาสนกิจอยู่ประจํา หรือเป็นคนของประเทศนั้นๆ  มีระยะเวลาติดต่อกัน ไม่ควรจะน้อยกว่า ๕  ปี  มีผลงานเป็นที่ปรากฏ มีศีลาจารวัตรเป็นที่เคารพเลื่อมใส ทั้งในหมู่ชาวไทยและชาวต่างประเทศในประเทศนั้นๆ 

     การพิจารณาจะคํานึงถึง
     ✦ กิจกรรมการเผยแพร่ของวัด/สํานักสงฆ์หรือบุคคลในประเทศนั้นๆ มีการแสดงธรรม บรรยายธรรม สอนปฏิบัติสมาธิทั้งภายในวัดและนอกวัด ตลอดจนการบรรยายวิชาการทางพระพุทธศาสนาแก่สถาบันการศึกษาและองค์การต่าง ๆ
     ✦ มีการจัดกิจกรรมต่างๆ  เพื่อเผยแพร่ประเพณีและวัฒนธรรมไทยทั้งภายในวัดและ นอกวัด เช่น การจัดประเพณีเทศกาลต่างๆ การจัดการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนาและภาษาไทย ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีอื่นๆ มีมารยาทไทย เป็นต้น
     ✦ เป็นที่พึ่งทางใจแก่กลุ่มคนไทยในต่างประเทศ เป็นที่ปรึกษาหลักธรรม แก่ชาวต่างประเทศที่สนใจ
     ✦ มีการทําวัตรสวดมนต์ มีศีลาจารวัตรอันดีงาม เป็นแบบอย่างพระสงฆ์ไทยในต่างประเทศ
     ✦ มีคุณภาพและปริมาณงานเป็นที่น่าอนุโมทนา



๔. ประเภทส่งเสริมการปฏิบัติธรรม
 
การปฏิบัติธรรม หมายถึง การแสดงบทบาทของวัด หรือพระสงฆ์ หรือคฤหัสถ์ที่ส่งเสริม ในการปฏิบัติธรรมของประชาชนอย่างเป็นกลุ่ม เป็นคณะ มีระยะเวลาและจํานวนผู้ปฏิบัติที่ชัดเจน และเป็นกิจลักษณะ โดยเฉพาะมุ่งถึงสํานักปฏิบัติธรรมทั้งสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน มิได้หมายถึง การเทศนาหรือบรรยายธรรมตามปกติของพระสงฆ์หรือคฤหัสถ์โดยทั่วไป โดยมีผลงานเป็นที่ปรากฏชัดเจน ๕ ปี

     การพิจารณาจะคํานึงถึง
     ✦ กิจกรรมการดําเนินงานของศูนย์หรือสํานักปฏิบัติธรรมนั้นๆ  รูปแบบและระบบ ในการจัดกิจกรรม ระยะเวลา และความต่อเนื่อง
     ✦ ปัจจัยที่เอื้อต่อการปฏิบัติธรรมอันเป็นสัปปายะอื่นๆ เช่น อาคารสถานที่ อาณาบริเวณที่ร่มรื่น เงียบสงบ
     ✦ คุณภาพและปริมาณของผู้ดําเนินการริเริ่ม ผู้เข้าร่วมปฏิบัติธรรม ผลประโยชน์ ที่สังคมและพระพุทธศาสนาได้รับ
     ✦ งบประมาณที่ใช้ดําเนินงาน



๕. ประเภทส่งเสริมกิจการคณะสงฆ์

กิจการคณะสงฆ์ หมายถึง สถาบันสงฆ์ที่สามารถดํารงอยู่ได้ ก็ด้วยการอุปถัมภ์บํารุงของ พุทธศาสนิกชนที่มีศรัทธาตั้งมั่นในพระพุทธศาสนา และด้วยความเอาใจใส่เป็นภารธุระของพระสังฆาธิการในระดับต่างๆ ซึ่งขวนขวายในหน้าที่น้อยใหญ่ เพื่อยังการพระศาสนาให้เป็นไปด้วยความราบรื่น เรียบร้อยและมั่นคง โดยเฉพาะสาธุชนผู้เป็นกําลังสําคัญในการบํารุงพระพุทธศาสนา ในด้านการก่อสร้าง การศึกษา การเผยแพร่ หรือเข้ามาช่วยกิจการคณะสงฆ์ในด้านต่างๆ ทั้งเป็นการทั่วไปไม่จํากัดวัดใดวัดหนึ่งโดยเฉพาะ เพียงแห่งเดียวหรือหลายแห่ง และมีผลงานปรากฏชัดเจนเป็นที่ยอมรับของประชาชนในพื้นที่ไม่น้อยกว่า  ๕ ปี ผู้อุปถัมภ์บํารุงพระพุทธศาสนาโดยทั่วไปก็จัดอยู่ในประเภทนี้ด้วย

     การพิจารณาจะคํานึงถึง
     ✦ ผลงานทั้งในแง่คุณภาพและปริมาณ ระยะเวลา ความต่อเนื่อง
     ✦ งบประมาณที่ใช้ดําเนินการ
     ✦ ผลประโยชน์ที่คณะสงฆ์โดยส่วนรวมจะพึงได้รับ



๖. ประเภทสงเคราะห์ประชาชนและส่งเสริมการพัฒนาชุมชนโดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา มี ๒ สาขา

    ๖.๑ สาขาสงเคราะห์ประชาชนและชุมชน
    การสงเคราะห์ประชาชนและชุมชน หมายถึง การแสดงบทบาทในการสนับสนุนส่งเสริมของพระสงฆ์หรือคฤหัสถ์  ในด้านการสงเคราะห์ เช่น เป็นผู้นําประชาชนและชุมชนในการบริจาคช่วยผู้ประสบภัยพิบัติต่างๆ สงเคราะห์ผู้ขาดแคลนและยากไร้ ทั้งในรูปของกองทุนหมุนเวียน สิ่งของอุปโภคบริโภค  การเยียวยารักษาแพทย์แผนโบราณ การจัดตั้งโรงพยาบาลเพื่อสงเคราะห์คนยากจน ในด้านการสาธารณูปโภค เช่น เป็นผู้นําประชาชนและชุมชนในการพัฒนาชุมชนหรือสังคมให้ดีขึ้น สร้างถนนหนทาง สะพาน การขุดคลอง การขุดบ่อน้ํา การพัฒนาแหล่งน้ํา ฯลฯ  การเข้าร่วมโครงการหรือการให้ความร่วมมือกับหน่วยราชการหรือประชาชนในการส่งเสริมอาชีพที่สุจริต เพื่อความเป็นอยู่ดีกินดีของประชาชนในท้องถิ่นต่างๆ โดยมีผลงานปรากฏชัด ๕ ปี
 
     การพิจารณาจะคํานึงถึง
     ✦ กิจกรรมการดําเนินงาน ความต่อเนื่อง คุณภาพและปริมาณงาน ความยากลําบาก และระยะเวลาในการดําเนินงาน
     ✦ งบประมาณที่ใช้
     ✦ ประโยชน์ที่ประชาชนและสังคมจะพึงได้รับ ผลดีต่อพระพุทธศาสนาและสังคม

๖.๒ สาขาส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
     สิ่งแวดล้อม หมายถึง ทรัพยากรธรรมชาติที่เอื้อประโยชน์ในการดํารงชีวิตของมนุษย์และสัตว์ใหญ่ดียิ่งๆ  ขึ้น  และหมายรวมถึง การจัดมลภาวะที่ทําลายทรัพยากรธรรมชาติไปโดยเปล่าประโยชน์
    โดยทั่วไปสิ่งแวดล้อมจะหมายถึง ป่าเขาลําเนาไพร ห้วย หนอง คลอง บึง แนวน้ํา ลําธาร ตลอดจนทะเลและมหาสมุทร รวมถึงสัตว์ป่าต่างๆ  ในลักษณะใกล้ตัว อาจหมายถึง การจัดหรือปรับปรุงสิ่งแวดล้อม ในบริเวณ ที่อยู่อาศัยให้สะอาด ร่มรื่น น่าอยู่ มีร่มไม้เขียวขจี ปราศจากมลภาวะทั้งเรื่องแสง สี เสียง และควันพิษที่เป็นรูปธรรมที่สุด ได้แก่ การอนุรักษ์และการปลูกป่า การดํารงรักษาสภาพแนวน้ําลําคลองให้ใสสะอาดและไม่ตื้นเขิน เป็นต้น

     การพิจารณาจะคํานึงถึง
     ✦  กิจกรรมและรูปแบบในการดําเนินงาน เช่น การรณรงค์เพื่อการอนุรักษ์การต่อต้าน การทําลายทรัพยากรธรรมชาติของผู้เห็นแก่ตัว การเป็นผู้นําทั้งในแง่กระทําเองและปลูกสํานึกให้ประชาชน เห็นคุณค่าและช่วยกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมไว้ เพื่อเป็นศาสนสมบัติของชาติ สําหรับภายในวัด มีการอนุรักษ์ และส่งเสริมรูปแบบสถาปัตยกรรมภายในวัดและจัดตบแต่งภูมิทัศน์บริเวณวัดและศาสนสถานให้ร่มรื่น สะอาดสะอ้านสมกับเป็นอารามทางพระพุทธศาสนา ควรแก่การทัศนา
     ✦ คุณภาพและปริมาณงาน ระยะเวลา และความต่อเนื่อง
     ✦ ประโยชน์ที่ประชาชน ประเทศชาติ และพระพุทธศาสนาจะพึงได้รับ
     ✦ งบประมาณที่ใช้ดําเนินการ



๗. ประเภทส่งเสริมและอนุรักษ์วัฒนธรรมมรดกไทยทางพระพุทธศาสนา

การส่งเสริมและอนุรักษ์วัฒนธรรมมรดกไทยทางพระพุทธศาสนา หมายถึง การแสดงบทบาทของพระสงฆ์หรือคฤหัสถ์ที่สนับสนุนส่งเสริมเพื่อให้มีการสงวนรักษามรดกไทยทางพระพุทธศาสนาทั้งใน แง่ศิลปะและวรรณคดีขึ้น
     ในแง่ศิลปะ หมายถึง การดูแลรักษาโบราณสถาน โบราณวัตถุ ตลอดจนศิลปะวัตถุอื่นๆ เช่น ประติมากรรม จิตรกรรม และงานพุทธศิลปะอื่นๆ รวมทั้งศิลปะ โบราณคดีพื้นบ้านหรือท้องถิ่นนั้นๆ 
     ในแง่ของวรรณคดี หมายถึง วรรณคดีพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นคัมภีร์เก่าแก่อยู่ในรูปแบบของศิลาจารึก สมุดข่อย ใบลาน กระดาษสา ทั้งที่เป็นพระพุทธศาสนา นิทานพื้นบ้าน ที่เกี่ยวกับชาดก หรือ หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ตํานานท้องถิ่นฯลฯ การดําเนินงานอาจเป็นการสะสมรวบรวม ซึ่งมีปริมาณเพียงพอที่จะจัดเป็นห้องหรือหอพิพิธภัณฑ์ได้
     อนึ่งอาจเป็นบทบาทของนักโบราณคดีที่ให้ความร่วมมืออย่างจริงจังกับวัดในการรวบรวมและจัดตั้งห้องหรือหอพิพิธภัณฑ์ขึ้นมาก็ได้ การครอบคลุมถึงบุคคล ผู้มีบทบาทสําคัญในการเผยแพร่ความรู้และรณรงค์เพื่อการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมดังกล่าวด้วย และ มีผลงานปรากฏเด่นชัดไม่น้อยกว่า ๕ ปี
 
     การพิจารณาจะคํานึงถึง
     ✦ ลักษณะ กิจกรรม รูปแบบ และวิธีดําเนินงาน
     ✦ คุณภาพและปริมาณ ระยะเวลา ความต่อเนื่อง ผลประจักษ์ที่เกิดจากการมี บทบาทหรือส่วนร่วม
     ✦ งบประมาณที่ใช้ในการดําเนินงาน
    หมายเหตุ  : ประเภทนี้ต้องไม่เป็นผลงานที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานตามตําแหน่งหน้าที่โดยปกติ



๘. ประเภทสื่อมวลชนที่ส่งเสริมพระพุทธศาสนา

สื่อมวลชน ความหมายในที่นี้จํากัดเฉพาะตัวบุคคลหรือองค์กรที่ทําหน้าที่เป็นสื่อกลาง มิได้หมายความถึงตัวสื่อ ภาษาที่ใช้สื่อ หรือองค์ประกอบอื่นๆ กล่าวคือ หน่วยงานหรือตัวบุคคลซึ่งมีบทบาทสําคัญในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์หลักธรรมและจัดกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาเป็นประจําต่อเนื่อง และเป็นการสร้างสรรค์ จรรโลง ยกย่อง เชิดชูพระพุทธศาสนาให้เป็นรูปธรรมในโอกาสต่างๆ จะเป็นวิทยุ โทรทัศน์ วารสาร หนังสือพิมพ์ หรือสื่อในรูปแบบต่างๆ ที่ไม่ขัดจารีตประเพณี ซึ่งหมายถึง บทบาทของเจ้าของหน่วยงานนั้นๆ ที่เป็นผู้สนับสนุนให้มีรายการทางพระพุทธศาสนาขึ้น อาจเป็นผู้จัดรายการทางวิทยุหรือโทรทัศน์ หรือผู้ควบคุม/เจ้าของคอลัมน์ในวารสาร/หนังสือพิมพ์ต่างๆ มีผลงานปรากฏเด่นชัดไม่น้อยกว่า ๕  ปี

     การพิจารณาจะคํานึงถึง
     ✦ บทบาทในการนําเสนอเรื่อง ซึ่งช่วยในการเผยแพร่หลักธรรมและการประชาสัมพันธ์ กิจกรรมทางพระพุทธศาสนา
     ✦ คุณภาพและปริมาณงาน ระยะเวลา ความถี่ และความต่อเนื่องของรายการ ความถูกต้องของเนื้อหาสาระ
     ✦ งบประมาณที่ใช้ ทั้งนี้ เป็นกิจกรรมโดยไม่หวังผลกําไรจากการดําเนินรายการเป็น ค่าตอบแทน



๙. ประเภทสมาคม องค์กร มูลนิธิ สถาบัน และหน่วยงานที่มีกิจกรรมส่งเสริมพระพุทธศาสนา

หน่วยงานที่เป็นนิติบุคคล ซึ่งมีบทบาทส่งเสริมกิจการพระพุทธศาสนา ส่งเสริมการศึกษา การเผยแผ่ และการปฏิบัติธรรม เช่น จัดกิจกรรมส่งเสริมพระพุทธศาสนา จัดให้มีการปฏิบัติธรรมจัดกิจกรรมส่งเสริมความซื่อสัตย์ กตัญญูกตเวที โดยพิจารณาในด้านการเผยแผ่หลักธรรมและการประชาสัมพันธ์ เช่น พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย สภาสังคมสงเคราะห์ เป็นต้น และไม่รวมวัดซึ่งเป็นนิติบุคคล หรือ หน่วยราชการที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาโดยตรงอยู่แล้ว เช่น กรมการศาสนา เป็นต้น

     การพิจารณาจะคํานึงถึง
     ✦ บทบาท ลักษณะ รูปแบบ วิธีการในการจัดกิจกรรมส่งเสริมพระพุทธศาสนา
     ✦  คุณภาพและปริมาณ ระยะเวลา ความต่อเนื่อง ประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ที่ประเทศชาติและพระพุทธศาสนาจะพึงได้รับ ซึ่งมีผลต่อความสงบสุขของประชาชนโดยส่วนรวม
     ✦  งบประมาณที่ได้ดําเนินการ



๑๐. ประเภทผู้ประกอบอาชีพที่มีคุณธรรมและส่งเสริมพระพุทธศาสนา

ผู้ประกอบอาชีพที่มีคุณธรรมและส่งเสริมพระพุทธศาสนา หมายถึง คฤหัสถ์ที่ประกอบอาชีพสุจริต คือ นายจ้าง
ลูกจ้าง อาชีพอื่นๆ หรือตัวบุคคลที่มีคุณธรรม ต้องไม่ใช่อาชีพรับราชการและอาชีพครู ทั้งภาครัฐและเอกชน เป็นแบบอย่างที่ดีแก่นายจ้างหรือผู้ประกอบการทั่วไป ซึ่งไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีงาม มีความซื่อสัตย์สุจริต ประกอบสัมมาชีพ เว้นจากมิจฉาวณิชชา คือ การค้าขายที่ผิดศีลธรรม มีเมตตากรุณาต่อคนงานและลูกจ้าง มีสวัสดิการที่ดี บําเพ็ญตนเป็นแบบอย่างที่ดีต่อสังคม ละเว้นอบายมุข และมีศรัทธาเข้าร่วมในกิจกรรมส่งเสริมพระพุทธศาสนาทางใดทางหนึ่ง หรือเป็นผู้อุปถัมภ์ บํารุงส่งเสริมกิจการ พระพุทธศาสนา โดยมีผลงานที่ปรากฏเด่นชัดไม่น้อยกว่า ๕ ปี 

     การพิจารณาจะคํานึงถึง
     ✦ ลักษณะพฤติกรรมที่แสดงออกต่อผู้อื่น เช่น    ลูกจ้างและเพื่อนร่วมงาน ว่าเป็น ผู้มีคุณธรรม เป็นที่ยอมรับของมหาชนในชุมชนหรือหน่วยงานนั้น ๆ
     ✦  แบบอย่างที่ดีของสังคม ความสม่ําเสมอในการวางตน ในด้านการดํารงชีวิต ส่วนบุคคลและการปฏิบัติต่อผู้อื่น
     ✦  บทบาทที่ทําร่วมในกิจกรรมส่งเสริมพระพุทธศาสนา



ขอบคุณข้อมูลจาก ระบบฐานข้อมูลสื่อสิ่งพิมพ์ กรมการศาสนา
http://sys.dra.go.th/emedia/booklist.php?groupid=11
ดาวน์โหลด pdf file ได้ที่ http://sys.dra.go.th/module/attach_media/sheet5320090520112945.pdf
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 17, 2016, 12:00:33 pm โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28487
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: รางวัลเสาเสมาธรรมจักร คืออะไร
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: พฤษภาคม 17, 2016, 11:59:16 am »
0









ขอบคุณข้อมูลจาก http://srnnew.srn2.go.th/
ดาวน์โหลด pdf file ได้ที่ http://srnnew.srn2.go.th/doc/a0t3j7qefb35r18cpvj6u0e50t425022015024335.pdf
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28487
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: รางวัลเสาเสมาธรรมจักร คืออะไร
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: พฤษภาคม 17, 2016, 01:29:02 pm »
0
เสาเสมาธรรมจักรสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า
พสกนิกรแห่งสยาม สร้างในมหามงคล
๖ รอบพระชนมพรรษา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
๕ ธันวาคม พระพุทธศักราช ๒๕๔๒



รางวัลพระราชทานเสาเสมาธรรมจักร ๒๕๕๒

ในปีมหามงคลพุทธศักราช ๒๕๔๒ เป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงเจริญพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒ พุทธบริษัททั้งมวลได้มีความเห็นพ้องกันว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นองค์เอกอัครศาสนูปถัมภกและทรงเป็นพุทธมามกะ พระองค์ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาเป็นอย่างดียิ่งตลอดมา ยังความปลื้มปีติยินดีแก่เหล่าพสกนิกรชาวพุทธ อย่างหาที่สุดมิได้

พุทธบริษัททั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ มีสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกทรงเป็นองค์ประธาน จึงได้ร่วมแรงร่วมใจกันจัดสร้างพระธรรมจักรทองคำ อันเป็นสัญลักษณ์แห่งพระพุทธศาสนา เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในฐานะที่พระองค์ทรงเป็นพระมหาธรรมิกราชาธิราช เจ้าพระธรรมจักรทองคำ

ออกแบบโดยกรมศิลปากร มีความสูง ๗๒ กระเบียด ใช้ทองคำหนัก ๔,๐๔๘.๖ กรัม ประดับพลอยสีแดง ๒๐๘ เม็ด รอบพระธรรมจักร และพลอยบุษราคัมสีเหลือง ๑๐ เม็ด ประดับเลข ๙ ที่เสาพระธรรมจักร ซึ่งหมายถึงรัชกาลที่ ๙ ทรงทศพิธราชธรรม ๑๐ ประการ รวมใช้พลอย ๒๑๘ เม็ด เป็นสัญลักษณ์ ๒๑๘ ปี แห่งกรุงรัตนโกสินทร์


      :25: :25: :25: :25:

     สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงประทานชื่อพระธรรมจักรทองคำว่า   
     “เสาเสมาธรรมจักร สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า”
     และประทานข้อความจารึกที่ฐานพระธรรมจักรทองคำว่า 
     “พสกนิกรแห่งสยาม สร้างในมหามงคล ๖ รอบ พระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ๕ ธันวาคม พระพุทธศักราช ๒๕๔๒”

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ ทรงรับพระธรรมจักรทองคำ ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันจันทร์ที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๒ เวลา ๑๗.๓๐ น. ทั้งนี้โดยมีสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เป็นองค์ประธาน ฯพณฯ นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี เป็นผู้กราบบังคมทูล และมีคณะกรรมการอำนวยการจัดสร้างพระธรรมจักรทองคำเข้าเฝ้าฯรวมจำนวน ๔๕ ราย ทั้งฝ่ายบรรพชิตและคฤหัสถ์

รางวัลเสาเสมาธรรมจักรนี้ แรกเริ่มเดิมทีศูนย์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทยโดยความร่วมมืของกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงศึกษาธิการ ได้ร่วมกันจัดงานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาเนื่องในเทศกาลวิสาขบูชา เริ่มมาแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๗ (ความจริงได้ริเริ่มมาอย่างไม่เป็นทางการมาแต่ปีพ.ศ. ๒๕๒๕ แล้ว) และในการนี้ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการคัดเลือกผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาในประเภทและสาขาต่างๆ เพื่อเข้ารับพระราชทานเสาเสมาธรรมจักร ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง กรุงเทพมหานคร (มีบางปีจัดที่พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม) ทั้งนี้ โดยมีแนวคติว่า พระธรรมจักรเป็นเครื่องหมายแห่งการประกาศพระพุทธศาสนา และผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาก็ได้ชื่อว่า เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการช่วยจรรโลงพระพุทธศาสนาและการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้ไพศาลยิ่งๆ ขึ้นไปด้วย





รางวัลสำหรับผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาที่ได้รับการคัดเลือกในแต่ละปีประกอบด้วย เสาเสมาธรรมจักร ที่สร้างขึ้นจากวัสดุธรรมดาทั่วไป เช่น ที่หล่อด้วยโลหะแล้วปิดทอง เป็นต้น พร้อมด้วยใบประกาศเกียรติคุณ ผู้เข้ารับพระราชทานมีทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ ทั้งที่มีถิ่นพำนักอยู่ในประเทศไทยแลต่างประเทศ และพิธีพระราชทานรางวัลเสาเสมาธรรมจักรจะจัดขึ้น ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง ในงานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา เนื่องในเทศกาลวิสาขบูชา ระหว่างวันขึ้น ๘ ค่ำ-วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ของทุก ๆ ปี

จำนวนผู้เข้ารับพระราชทานรางวัลแต่ปีแรก ถึงปี ๒๕๔๒ ประมาณ ๒,๔๘๔ รายคณะกรรมการอำนวยการคัดเลือกผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา มีดำริที่จะจัดสร้างเสาเสมาธรรมจักรขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๘ โดยถือกำหนดปีมหามงคลกาญจนาภิเษก พ.ศ. ๒๕๓๙ เป็นที่ตั้ง  ทั้งนี้ โดยพิจารณาว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นองค์อัครพุทธศาสนูปถัมภก ดำรงพระองค์เป็นสมเด็จพระมหาธรรมิกราชาธิราชเจ้า ผู้ทรงพระคุณธรรมอันประเสริฐ

อย่างไรก็ดี การจัดสร้างต้องพิจารณาความเหมาะสมหลายด้าน จึงได้ยับยั้งเรื่อยมา โดยกำหนดเอาปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๗๒ พรรษา วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ เป็นที่ตั้งโดยมีหลักการว่าการจัดสร้างนั้นเนื่องในมหามงคลสมัย ควรคู่แก่พระเกียรติยศ และเป็นเครื่องหมายแห่งความเทิดทูนและจงรักภักดีในเบื้องพระยุคลบาทของพสกนิกรชาวพุทธทุกหมู่เหล่าในการจัดสร้างนั้น ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการทูลเกล้าฯ ถวายเสาเสมาธรรมจักรทองคำขึ้นคณะหนึ่ง มีปลัดกระทรวศึกษาธิการเป็นประธาน เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๑


 st11 st11 st11 st11

ทั้งนี้ คณะกรรมการชุดนี้ได้มอบหมายให้กรมศิลปากรเป็นผู้ดำเนินการออกแบบและจัดสร้าง นายนพวัฒน์ สมพื้น นายช่างศิลปกรรม ๑๐ กรมศิลปากร เป็นผู้ออกแบบ ส่วนการจัดสร้างมอบหมายให้ส่วนช่างสิบหมู่ สถาบันศิลปกรรม กรมศิลปากร ดำเนินการ ทั้งนี้ อยู่ในความกำกับดูแลเป็นพิเศษของอธิบดีกรมศิลปากร(นายนิคม มุสิกะคามะ) และรองอธิบดีกรมศิลปากร (นายอารักษ์ สังหิตกุล)

    วัสดุที่ใช้สร้างเสาเสมาธรรมจักรทองคำ ใช้ทองคำ ๔,๖๐๒ กรัม
    ซึ่งสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ วัดปากน้ำภาษีเจริญ บริจาค ๓,๐๐๐ กรัม
    พระธรรมราชานุวัตร วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม บริจาค ๑,๖๐๒ กรัม
    พระเทพประสิทธิมนต์ วัดจักรวรรดิราชาวาส บริจาคพลอยธรรมชาติ ๒๑๘ เม็ด เป็นพลอยสีแดง๒๐๘ เม็ด พลอยสีเหลืองบุษราคัม ๑๐ เม็ด พร้อมค่าใช้จ่ายในการประดับพลอยด้วย
    และมูลนิธิศูนย์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทยรับผิดชอบเรื่องค่าดำเนินการจัดสร้าง รวมค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นประมาณ ๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท


     ans1 ans1 ans1 ans1

    เสาเสมาธรรมจักรทองคำนี้ เดิมคณะกรรมการดำเนินการฯ กำหนดชื่อว่า
    “เสาเสมาธรรมจักร สมเด็จพระมหาธรรมิกราชาธิราชเจ้า”
    และกรมการศาสนา ขอประทานพระมติจากองค์สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงประทานชื่อมาใหม่ว่า
    “เสาเสมาธรรมจักรสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า”
    โดยให้มีข้อความจารึกที่ฐานเสาว่า
    “พสกนิกรแห่งสยามสร้างในมหามงคล ๖ รอบพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ๕ ธันวาคม พระพุทธศักราช ๒๕๔๒”

เมื่อการจัดสร้างทั้งปวงเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงได้ขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาสนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารเป็นผู้แทนพระองค์ทรงรับ ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันจันทร์ที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๒ ดังกล่าวแล้วข้างต้น

ขอสมเด็จพระมหาธรรมิกราชาธิราชเจ้าแห่งกรุงสยามพระองค์นี้ ทรงพระเจริญยิ่งยืนนานเป็นมิ่งขวัญแห่งพสกนิกรไทยทุกหมู่เหล่าชั่วนิจนิรันดร์


     นายทรงวิทย์ แก้วศรี
           เรียบเรียง


(ยังมีต่อ)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 17, 2016, 01:31:42 pm โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28487
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: รางวัลเสาเสมาธรรมจักร คืออะไร
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: พฤษภาคม 17, 2016, 01:51:14 pm »
0

เสาเสมาธรรมจักร


สัญลักษณ์และความหมาย

สัญลักษณ์ คือเครื่องหมายเป็นที่กำหนดรู้กันว่า หมายถึงเรื่องราวประวัติความเป็นมาอย่างไร มีความสำคัญอย่างไร และใช้หมายถึงสิ่งไร เช่น สัญลักษณ์สถาบันของชาติไทยเรา คือธงไตรรงค์ หรือธงชาติไทยที่ใช้อยู่ใoปัจจุบัน มีความหมาย ตามพระราชนิพนธ์บรรยายของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ว่า

     ขอร่ำรำพันบรรยายความคิดเครื่องหมาย แห่งสีทั้งสามงามถนัด
     ขาว คือ บริสุทธิ์ ศรีสวัสดิ์ หมาย พระไตรรัตน์ และธรรมะคุ้มจิตไทย
     แดง คือ โลหิตเราไซร้ ซึ่งยอมสละได้ เพื่อรักษ์ชาติศาสนา
     น้ำเงิน คือ สีโสภา อันจอมประชา ธ โปรดเป็นของส่วนองค์ จัดริ้วเป็นทิวไตรรงค์ จึงเป็นสีธง ที่รักแห่งเราชาวไทยฯ

นอกจากนี้แล้ว ในประเทศถิ่นฐานหรือสถาบันที่มีความเจริญรุ่งเรืองต่าง ๆ มักจะมีตราสัญลักษณ์ปรากฏให้เห็นกันอยู่ทั่วไป ยิ่งพระพุทธศาสนาของเราซึ่งมีความเจริญรุ่งเรืองผ่านมาแล้วนับด้วยพันปี จนสืบเนื่องมาถึงประเทศไทย ของเรา และเป็นที่ยอมรับนับถือว่าเป็นศาสนาประจำชาติแล้วนักปราชญ์ราชบัณฑิตได้บัญญัติตราสัญลักษณ์ขึ้นมากมาย สัญลักษณ์อย่างหนึ่งที่ชาวไทยเราเห็นอยู่เสมอ ๆ และทั่ว ๆ ไปก็คือ “ธงเสมาธรรมจักร” ซึ่งจัดทำขึ้นในคราวงานสมโภช ๒๕ พุทธศตวรรษ ในสมัยรัฐบาลฯพณฯ จอมพล ป.พิบูลสงคราม พ.ศ. ๒๕๐๐ ที่จังหวัดพระนคร (กรุงเทพมหานครในปัจจุบัน)


 :25: :25: :25: :25:

ย้อนหลังไปดูถิ่นกำเนิดของธรรมจักรในสมัยอดีต เราจะพบวงล้อธรรมจักรใหญ่กับกวางหมอบคู่กันอีกสัญลักษณ์หนึ่ง ก็เป็นสัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาเป็นสัญลักษณ์ที่ขุดได้จากอาณาจักรทวาราวดี จังหวัดนครปฐม โดยกรมศิลปากร และตั้งแสดงให้ประชาชนได้เข้าชมและศึกษาอยู่ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร

สัญลักษณ์นี้เป็นสัญลักษณ์อันประเดิมเริ่มแรกประวัติศาสตร์ของพระพุทธศาสนาทีเดียว คือ เป็นสัญลักษณ์การประกาศพระพุทธศาสนาครั้งแรกของพระพุทธเจ้า โดยทรงเทศนาโปรดพระปัญจวัคคีย์ ๕ ท่าน คือ พระโกณฑัญญะ พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะ และพระอัสสชิด้วยพระธรรมเทศนา ชื่อว่า “ธัมมจักกัปปวัตนะ” ซึ่งเป็นกำเนิดของวงล้อธรรมะอันจะหมุนเคลื่อนตัวไปรอบแล้วรอบเล่า เพื่อจะให้เข้าถึงประชาหมู่สัตว์ทั่วๆ ไป ดุจวงล้อของราชรถ ที่พระราชาประทับขับเคลื่อนไป ฉะนั้น ส่วนกวางหมอบเป็นสัญลักษณ์ของสถานที่ เป็นที่แสดงธรรมของพระสัมมาสัมพุทธะ นั่นคือราวป่าเป็นที่อยู่อาศัยของบรรดาสรรพสัตว์เขตปลดปล่อยโดยสวัสดิภาพ มีชื่อเรียกว่า “ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน”


 st12 st12 st12 st12

นักปราชญ์ทางศาสนาจึงกำหนดเอาวงล้อเป็นดุจธรรมคลาเคลื่อน และรูปสัตว์กวางเป็นสถานที่ประกาศธรรมะมารวมกัน หมายว่า เป็นสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาประการหนึ่ง เรียกว่า “ธรรมจักร” เป็นสัญลักษณ์อันประเดิมเริ่มแรกของพระพุทธศาสนา

หลังจากนั้น ถัดมาอีกประมาณ ๒๓๐ กว่าปี ในรัชสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช ผู้ยิ่งใหญ่ของชมพูทวีปในประเทศอินเดีย ทรงนับถือและเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่งจนถึงกับทรงยอมรับเป็นศาสนูปถัมภกในคราวที่พระองค์ทรงโปรดให้พระภิกษุสงฆ์ชำระและทำสังคายนา พระพุทธศาสนานับเป็นการทำสังคายนาครั้งที่ ๓ ภายหลังจากเสร็จสิ้นการสังคายนาแล้ว พระองค์ทรงโปรดให้พระสงฆ์หัวหน้าทำสังคายนาคัดเลือกส่งพระสงฆ์ผู้มีความสามารถไปประกาศพระพุทธศาสนายังประเทศต่าง ๆ หลายสาย


 ans1 ans1 ans1 ans1

ประเทศไทยของเราก็มีส่วนได้รับการเผยแผ่พระพุทธศาสนาครั้งนี้ด้วย โดย พระโสณะเถระและพระอุตตรเถระได้มาเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่สุวรรณภูมิประเทศ (อาณาจักรทวาราวดี) และพระเจ้าอโศกมหาราช ได้ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาเป็นการใหญ่ โดยเฉพาะคือพระองค์ได้สร้างอนุสาวรีย์สถานในสังเวชนียสถานทั้ง ๔ คือ สถานที่ประสูติ สถานที่ตรัสรู้ สถานที่แสดงปฐมเทศนา และสถานที่ปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ณ สถานที่นั้น ๆ

พระองค์ได้ทรงสร้างสถูปเจดีย์ไว้อย่างมั่นคงและแข็งแรง ยังมีปรากฏให้เห็นอยู่ในชมพูทวีป ประเทศอินเดียถึงทุกวันนี้ และที่สำคัญ คือสถานที่นั้น ๆ พระองค์ได้ทรงสร้างเสาหินใหญ่ไว้ทุกแห่ง บนยอดของเสาหินนั้น มีรูปสิงห์ยืนผงาดอยู่ทั้ง ๔ ทิศ ยืนหันหลังให้กันและกันที่หน้าอกของสิงห์ แต่ละตัวสลักรูปเสมาธรรมจักรไว้ทุกตัว โดยมีกงล้อถึง ๒๔ กงด้วยกัน และเป็นสัญลักษณ์ให้รู้กันว่า ณ สถานที่นี้มีความเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา และพระพุทธศาสนาเคยมีความมั่นคง ณ สถานที่นี้


 :96: :96: :96: :96:

ดังนั้น จึงทำให้เกิดสัญลักษณ์ที่เรียกว่า “เสาเสมาธรรมจักร” ขึ้น ซึ่งมีความหมายทั้งเสาเสมา เสาที่เป็นเขตแดนความมั่นคง และวงล้อธรรมจักรอันหมายถึงการประกาศเผยแผ่หลักธรรมในพระพุทธศาสนาให้เข้าถึงประชาชน รวมเป็น “เสาเสมาธรรมจักร” โดยกรมการศาสนาได้จำลองรูปแบบส่วนหนึ่งมาเป็นสัญลักษณ์และมอบให้แก่ผู้บำเพ็ญคุณประโยชน์ ต่อพระพุทธศาสนาในงานสัปดาห์ส่งเสริพระพุทธศาสนาเนื่องในวันวิสาขบูชาทุกปี

สำหรับตราธรรมจักรนั้น บางท่านอยากจะทราบต่อไปอีกก็ได้ว่า บางตรามี ๔ มี ๘ มี ๑๖ มี ๓๗ หรืออาจมีมากกว่านี้ก็มีนั้น ขอเรียนว่านั่นเป็นเครื่องหมายที่นักปราชญ์ทางศาสนาท่านคิดค้นหลักธรรมในทางพระพุทธศาสนาย่อมาใส่ไว้เป็นกงหนึ่ง ๆ ในตราธรรมจักรนั้น เช่น
     ๔ กง อาจหมายถึง หลักของอริยสัจจ์ ๔ ก็ได้
     ๘ กง อาจหมายถึง มรรคมีองค์ประกอบ ๘ ประการก็ได้ อาจหมายถึงมรรค ๔ ผล ๔ ก็ได้
   ๑๖ กง อาจหมายถึง ญาณ ๑๖ ในวิปัสสนากัมมัฏฐานก็ได้
   ๒๔ กง อาจหมายถึง ปัจจยาการ ๑๒ (อิทัปปัจจยตา) ทั้งฝ่ายอนุโลมและฝ่ายปฏิโลมรวมเป็น ๒๔ ก็ได้
   ๓๗ กงอาจหมายถึง โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการก็ได้ หรืออาจหมายถึงอย่างอื่นอีกสุดแต่จะกำหนดความหมายเอาหลักธรรมที่ตนเองเลื่อมใสหรือปฏิบัติมาย่อเข้านั่นเอง

     ธงชัย สุมนจักร
      ผู้เรียบเรียง



 
เสาเสมาธรรมจักร “สิรินธราภิวัฒนทีฆายุตตมมงคล”
พุทธศาสนิกชนแห่งสยามสร้างในมหามงคล พระชนมพรรษา ๕๐
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
๒ เมษายน พระพุทธศักราช ๒๕๔๘



เสาเสมาธรรมจักร “สิรินธราภิวัฒนทีฆายุตตมมงคล”
พุทธศาสนิกชนแห่งสยาม สร้างในมหามงคล พระชนมพรรษา ๕๐
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
๒ เมษายน พระพุทธศักราช ๒๕๔๘


สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นแบบอย่างของพสกนิกรในการอนุรักษ์ส่งเสริมมรดกวัฒนธรรมไทย ทรงมีพระวิริยะอุตสาหะบำเพ็ญพระราชกรณียกิจในการอนุรักษ์มรดกของชาติ โดยเฉพาะในด้านศิลปวัฒนธรรม ดนตรี ขนบธรรมเนียมประเพณี วรรณคดี ภาษา และพระพุทธศาสนา พระเกียรติคุณและพระราชกรณียกิจอันยิ่งใหญ่ ที่ได้ทรงบำเพ็ญแล้วจะจารึกอยู่ในประวัติศาสตร์ของชาติไทยตลอดไป

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เป็นแม่กองบูรณปฏิสังขรณ์ วัดพระศรีรัตนศาสดารามและพระบรมมหาราชวัง ซึ่งเป็นอภิปูชนียสถาน มรดกสถาปัตยกรรมอันล้ำค่าของ เมืองไทย ในโอกาสฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี เมื่อพุทธศักราช ๒๕๒๕ ซึ่งขณะนั้นสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระชนมายุ ๒๗ พรรษาเท่านั้น พระราชกรณียกิจและพระเกียรติคุณดังกล่าวเป็นที่ชื่นชมโสมนัสแซ่ซ้องสดุดี และประทับอยู่ในความทรงจำ ของชาวไทยและชาวโลกมิรู้ลืม

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงได้รับการยกย่องว่าเป็นองค์อุปถัมภก มรดกวัฒนธรรมไทย เนื่องในวโรกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพเวียนมาบรรจบครบ ๓๐ พรรษา ในวันที่ ๒
เมษายน ๒๕๒๘ คณะรัฐมนตรี ซึ่งมี ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีมติในการ
ประชุมเมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๘ ประกาศให้วันที่ ๒ เมษายน เป็นวันอนุรักษ์มรดกของชาติ ตามข้อเสนอของกรมศิลปากร


 :25: :25: :25: :25:

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี เฉพาะในด้านการส่งเสริมพระพุทธศาสนานั้น ทรงเป็นประธานในการบำเพ็ญพระราชกุศล เวียนเทียน เนื่องในวันมาฆบูชาและวันวิสาขบูชา ณ พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ทรงเป็นประธาน พระราชทานเสาเสมาธรรมจักร แก่บุคคลผู้บำเพ็ญประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวงมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๗ จนถึงปัจจุบัน

ในพระราชนิพนธ์เรื่อง “ในประสบการณ์, ๒๕๒๐” มีข้อความตอนหนึ่งว่า “หลักความคิดของคนไทยเราที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนานั้น นับว่าเหมาะสมกับสภาพบ้านเมืองของเราเป็นอย่างดี ถ้าเราสามารถนำเอาปรัชญาพุทธศาสนา (แม้เพียงข้อเล็ก ๆ) มาเป็นวัตรปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ก็น่าจะช่วยให้เกิดความสุขสวัสดีในสังคมไทยได้มากทีเดียว”


 ans1 ans1 ans1 ans1

ขออัญเชิญพระราชนิพนธ์คำโคลงพุทธศาสนสุภาษิต ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มาลงไว้บางบท ดังนี้

    อตฺตา หิ กิร ทุทฺทโม
    ได้ยินว่า ตนแลฝึกได้ยาก (ขุ.ธ. ๒๕/๓๖)


    การฝึกอันยากนั้น    ฝึกฝน  ตนนา
    สอนพร่ำแนะนำคน  อื่นได้
    บุคคลใดเห็นตน     ทำผิด เลยนอ
    เมื่อไม่เป็นผิดไซร้   ก็เว้นฝึกปรือ.


    สาธุ โข สิปฺปกํ นาม อปิ ยาทิสกีทิสํ
    ขึ้นชื่อว่าศิลปะ แม้เช่นใดเช่นหนึ่งก็ยังประโยชน์ให้สำเร็จ (ขุ.ชา.เอก. ๒๗/๓๕)


    ศิลปกรรมนำสุขพ้น    พรรณนา
    เครื่องประกอบพิทยา  เพริศแพร้ว
    รู้ศิลป์สิ่งเดียวพา      เรืองรุ่ง
    ศิลปะศึกษาแล้ว       เลิศล้ำมงคล


 :25: :25: :25: :25:

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจเป็นคุณูปการ อันยิ่งใหญ่ต่อพระพุทธศาสนา เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นประธานเปิดงานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา เนื่องในเทศกาลวิสาขบูชาเป็นประจำทุกปี คณะกรรมการจัดงานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา เนื่องในเทศกาลวิสาขบูชา ซึ่งมีกรมการศาสนาเป็นเจ้าของเรื่อง มีความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น จึงถวายความจงรักภักดีด้วยการจัดทำเสาเสมาธรรมจักรทองคำอันเป็นสัญลักษณ์ของผู้ทำคุณประโยชน์ นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย เนื่องในมงคลวโรกาสที่ทรงมีพระชนมายุครบ ๕๐ พรรษา เมื่อวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๔๘

โดยมอบให้ กาญจนาภิเษกวิทยาลัย ช่างทองหลวง ในพระบรมมหาราชวัง เป็นผู้ดำเนินการจัดทำ มีรูปแบบดังนี้
    ๑. ใช้ทองคำเปอร์เซ็นต์ไม่ต่ำกว่า ๙๕%
    ๒. ใช้ทองคำน้ำหนัก ๗๗๕.๒ กรัม หรือทองคำหนัก ๕๑ บาท
    ๓. ความสูงจากฐานสุดวงล้อธรรมจักร ๓๗ เซนติเมตร
    ๔. เส้นผ่าศูนย์กลางฐาน ๑๐ เซนติเมตร ขอบฐานจารึกอักษร
    ๕. เส้นผ่าศูนย์กลางรอบนอก ๑๐.๕ เซนติเมตร หนา ๑.๕ เซนติเมตร
    ๖. จำนวนซี่กงล้อธรรมจักร ๑๒ ซี่
    ๗. ประดับพลอยม่วงตามวงล้อ โดยใช้พลอยด้านละ ๕๑ เม็ด ๒ ด้าน ๑๐๒ เม็ด
    ๘. เสาทำด้วยไม้แกะสลักปิดทองคำเปลวบางส่วนที่เป็นลวดลาย และบางส่วนบุด้วยทองคำสลักดุน


 st12 st12 st12 st12

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ได้ประทานนามเสาเสมาธรรมจักรนี้ว่า เสาเสมาธรรมจักร “สิรินธราภิวัฒนทีฆายุตตมมงคล”
      ดังนั้น ให้จารึกข้อความไว้ที่ฐานเสาว่า
      “เสาเสมาธรรมจักร “สิรินธราภิวัฒนทีฆายุตตมมงคล” พุทธศาสนิกชนแห่งสยาม สร้างในมหามงคล พระชนมพรรษา ๕๐ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ๒ เมษายน พระพุทธศักราช ๒๕๔๘”

ทั้งนี้ คณะกรรมการจัดงานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา เนื่องในเทศกาลวิสาขบูชา ได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในการเสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นองค์ประธานเปิดงานสัปดาห์วิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก ประจำปี ๒๕๔๙ ในวันจันทร์ที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๔๙ เวลา ๑๗.๐๐ น. ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง

    ขอจงทรงพระเจริญและรุ่งเรืองในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นนิตย์เทอญ

        นายทรงวิทย์ แก้วศรี



ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.dra.go.th/
ดาวน์โหลด pdf file ได้ที่ http://www.dra.go.th/module/attach_media/sheet4520090520112726.pdf
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 17, 2016, 01:55:25 pm โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28487
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: รางวัลเสาเสมาธรรมจักร คืออะไร
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: พฤษภาคม 17, 2016, 02:06:14 pm »
0


วันวิสาขะบูชาที่จะถึงนี้ ใครไปเวียนเทียนที่วัดไหน ถ่ายรูปมาแชร์กันบ้างนะ


 ask1 ans1 ask1 ans1

โพสต์นี้ใช้เวลาครึ่งวัน เนื่องจากต้องแปลงข้อมูลจาก pdf file ลงเว็บ จำเป็นต้องจัดฟอนต์ จัดพารากราฟใหม่หมด และต้องนำภาพมาลงด้วย ทำให้เสียเวลามากๆ รู้สึกปวดตา และก็หิวข้าว โพสต์นี้ยกเครดิตให้คุณรักหนอ คิดถึงคุณรักหนอจัง...อย่างไงก็ขอเสียงหน่อยนะจ๊ะ

 :49:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ