สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

กรรมฐาน มัชฌิมา => ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน => ข้อความที่เริ่มโดย: ธัมมะวังโส ที่ มีนาคม 08, 2012, 09:59:08 am



หัวข้อ: เทศนาเรื่องมารยาทการพูด จากพระไตรปิฏก
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ มีนาคม 08, 2012, 09:59:08 am
(http://www.madchima.net/images/527_card_33.jpg)

พระสุตตันตปิฎก  ทีฆนิกาย  ปาฎิกวรรค  [๕.  สัมปสาทนียสูตร]
 เทศนาเรื่องมารยาทการพูด  เป็นต้น

เล่มที่ 11 หน้า 113

เทศนาเรื่องมารยาทการพูด เป็นต้น
[๑๕๓]    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  อีกประการหนึ่ง เทศนาที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมในเรื่องมารยาทการพูดก็นับว่ายอดเยี่ยม

         คือ บุคคลบางคนในโลกนี้    ไม่พูดวาจาเกี่ยวด้วยมุสาวาท    ไม่พูดวาจาอันทำความแตกร้าวกัน ไม่พูดวาจาอันส่อเสียด ไม่มุ่งเอาชนะกันกล่าววาจาอันเกิดจากความแข่งดีกัน    กล่าวแต่วาจาอันมีหลักฐานด้วยปัญญาชื่อว่ามันตา ตามกาลอันควร
   ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ    นี้คือเทศนาอันยอดเยี่ยมในเรื่องมารยาทการพูด
   ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ    อีกประการหนึ่ง    เทศนาที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรม
ในเรื่องมารยาทคือศีลของบุรุษก็นับว่ายอดเยี่ยม

         คือ    บุคคลบางคนในโลกนี้    เป็นคนมีสัจจะ    มีศรัทธา    ไม่พูดหลอกลวง(๑)   
 ไม่พูดป้อยอ(๒)    ไม่ทำนิมิต(๓)    ไม่พูดบีบบังคับ(๔)    ไม่แสวงหาลาภด้วยลาภ(๕) 
       คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย   รู้จักประมาณในการบริโภค    ทำพอเหมาะพอดี ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนือง ๆ ไม่เกียจคร้าน ปรารภความเพียร เพ่งฌาน มีสติ    พูดมี ปฏิภาณดี    มีคติ มีปัญญาทรงจำ มีความรู้ ไม่ติดอยู่ในกาม มีสติ มีปัญญาเครื่องรักษาตน

  ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ    นี้คือเทศนาอันยอดเยี่ยมในเรื่องมารยาทคือศีลของบุรุษ



๑ หลอกลวง  หมายถึงลวงด้วยอาการ  ๓  คือ  (๑)  พูดเลียบเคียง  (๒)  แสร้งแสดงอิริยาบถ  คือ  ยืน  เดิน
   นั่ง  นอน  ให้น่าเลื่อมใส  (๓)  แสร้งปฏิเสธปัจจัย  (อภิ.วิ.  (แปล)  ๓๕/๘๖๑/๕๕๓,  องฺ.ปญฺจก.อ.  ๓/๘๓/๔๑,
   วิสุทฺธิ.  ๑/๑๖/๒๔)
๒ พูดป้อยอ  หมายถึงพูดยกย่องมุ่งหวังลาภสักการะและชื่อเสียง  (อภิ.วิ.  (แปล)  ๓๕/๘๖๒/๕๕๓,องฺ.ปญฺจก.อ.
   ๓/๘๓/๔๑,  วิสุทฺธิ.  ๑/๑๖/๒๔)
๓ ทำนิมิต  หมายถึงแสดงอาการทางกาย  ทางวาจา  เพื่อให้คนอื่นให้ทาน  เช่น  การพูดเป็นเลศนัย  พูดเลียบเคียง
   (อภิ.วิ.  (แปล)  ๓๕/๘๖๓/๕๕๓,  อภิ.วิ.อ.  ๘๖๖/๘๒๓,  วิสุทฺธิ.  ๑/๑๖/๒๔)
๔ พูดบีบบังคับ  หมายถึงด่า  พูดข่ม  พูดนินทา  ตำหนิโทษ  พูดเหยียดหยาม  และการนำเรื่องไปประจาน
   ตลอดถึงการพูดสรรเสริญต่อหน้า  นินทาลับหลัง  (อภิ.วิ.  (แปล)  ๓๕/๘๖๔/๕๕๔,  อภิ.วิ.อ.  ๘๖๔/๕๒๔,
   วิสุทฺธิ.  ๑/๑๖/๒๔-๒๕)
๕ แสวงหาลาภด้วยลาภ  หมายถึงได้อะไรเอามาฝากเขา  ทำให้เขาเกรงใจ  ต้องให้ตอบแทน  (อภิ.วิ.  (แปล)  ๓๕/
   ๘๖๕/๕๕๔,  วิสุทฺธิ.  ๑/๑๖/๒๕)




หัวข้อ: Re: เทศนาเรื่องมารยาทการพูด จากพระไตรปิฏก
เริ่มหัวข้อโดย: GodSider ที่ มีนาคม 08, 2012, 05:33:57 pm
อ่านแล้วซึ้งเลยครับ เหมือนพระอาจารย์แนะนำเรื่องการโพสต์ ทางอ้อมเลยนะครับ

  :25: :25: :25:


หัวข้อ: Re: เทศนาเรื่องมารยาทการพูด จากพระไตรปิฏก
เริ่มหัวข้อโดย: mitdee ที่ กรกฎาคม 20, 2012, 04:26:50 pm
เป็นหลักการที่ เอาไว้ใช้ตอบกระทู้ได้นะครับ
 :25: :s_good: :welcome: