กรรมฐาน มัชฌิมา > ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน

เข้าพรรษาปี พ.ศ. ๒๕๖๓

(1/15) > >>

ธัมมะวังโส:
วันที่ 1 6 ก.ค. 63

สำหรับ พรรษานี้ ถึงแม้ พอจ จะมีอาการอาพาธ แต่ก็จะพยายาม หาทาง หาเวลาเข้ากรรมฐาน ให้ได้ต่อเนื่อง สัก 5 วัน สักครั้ง ก็จะพยายามดู ในช่วงเข้าพรรษา

ขอให้ทุกท่านที่ฝึกกรรมฐาน ก็จงทบทวนตัวกรรมฐาน ให้คล่องแคล่ว ที่ไม่ได้พูด ก็เพราะว่าป่วยด้วย แต่ส่วนหนึ่ง ก็อยากให้ท่านทั้งหลาย ได้ศึกษาวิชาที่ข้ามไปกันให้เข้าใจ

ดังนั้นตัวกรรมฐาน ถ้าข้ามไป มันก็จะขาดอารมณ์ธรรม ไม่ได้อารมณ์แห่งสมาธิ ยิ่งข้ามก็ยิ่งช้า ท่านจึงบอกว่า อยากไวให้ซ้ำพื้นฐานให้มากที่สุด ผู้ฝึกวิชาส่วนใหญ่ ก็จะต้องฝึกซ้ำในขั้นต้นให้คล่องแคล่ว

เวลาฝึกก็พยายาม อย่าบีบคั้นตัวเองมากไป แต่ให้ทำอารมณ์ประหนึ่งได้ปล่อยวางโลกลง แล้วมีเวลาเข้าไปดูตัวเอง ถ้าทำอย่างนี้ มันจะได้ผลเร็วกว่าสร้างความอยากสำเร็จ เพราะถ้าสร้างความอยากสำเร็จ มันก็จะไม่ค่อยสำเร็จ

กรรมฐานที่พระพุทธเจ้า ล้วนแล้วมีหลักการ คือการปล่อยวาง ยิ่งปล่อยวางอารมณ์จากกามคุณทั้ง 5 ได้มากเท่าไหร่ กรรมฐานก็จะยิ่งชัดเจนมากขึ้น และถึงความสำเร็จได้ไว

ดังนั้นในพรรษานี้อาจจะไม่ค่อยโพสต์อะไร เพื่อฝึนกายภาพเข้ากรรมฐาน ขอให้ทุกท่าน จงขยันฝึกฝนกรรมฐานให้ชำนาญเพิ่มขึ้น ไปถึงแก่นของกรรมฐาน โดยไว พลัน เทอญ

เจริญธรรม / เจริญพร

ธัมมะวังโส:
วันที่ ๒ ( ๗ ก.ค. ๖๓ ๐๔.๔๕ )
สำหรับวันนี้ ก็ไม่มีอะไรมาก อธิษฐานการเข้าพรรษาแล้ว ก็จำวัตร (นอน) นอนตอน ๔ โมงเย็น ตื่น ๒ ทุ่ม ก็ยาวตามประสาพระที่ไม่มีงานแบบชาวบ้าน ก็คงจะหลับประมาณ บ่าย ๆ

ทบทวนกรรมฐาน สำหรับวันนี้ พอจ ทบทวนกรรมฐาน และหาขั้นตอนที่เหมาะสม กับการอาพาธที่จะสามารถทำกรรมฐาน ต่อเนื่องได้ ตั้งใจในพรรษานี้ จะเข้าสัก ๕ วัน ๕ คืน

ตอนนี้ก็เลยต้องฝืนสังขารเข้ากรรมฐานแบบ ๘ ชม ( ๑ กะ ) วันหนึ่ง มี ๒๔ ชม ก็ 3 กะ ต้องทำให้ได้อย่างน้อย ๑ กะ สำหรับการเตรียมตัวเข้ากรรมฐาน หลายวัน หลายคืน

ธรรมที่ปรากฏใน ธัมมวิจยะ วันนี้ ขณะสรงน้ำ ( อาบน้ำ ) ได้พิจารณากาย เสโท ( เหงื่อ ) เมโท ( มัน ) สองอย่างรวมกัน เรียกว่า ขี้ไคล กำกับกำหนดว่า ขี้ไคล อย่างนี้ น่าขยะแขยง ส่งกลิ่น ไม่มีความงาม เป็นที่รังเกียจแม้แต่ตนเอง ไฉนมนุษย์จึงพยายามหลงไหล มังสัง ( เนื้อหนัง ) ที่ประกอบด้วย เสโท และ เมโท อย่างไม่ลืมหูลืมตา ก็เพราะว่า จิตไม่ได้พิจารณาความจริง เห็นหญิงชาย รักกันก็หวาน จากกันก็ขมขื่น

วันนี่้อยู่กับคนนั้น วันนั้นอยู่กับคนนี้ หาความจริงใจในตัณหานั้นไม่ได้ เมื่อมนุษย์ประกอบด้วยตัณหา ก็เข้าใจว่า นี่เขาเป็นของเรา เป็นตัวเป็นตนของเรา และก็พากันหึงหวง ตามฆ่า ตามราวี เมื่อจากกัน

มนุษย์ที่ประเสริฐ ย่อมมีคู่เพียงคู่เดียว ไม่เปลี่ยนแปลงไม่หน่ายแหนง กินอยู่ร่วมกัน ตายจากกันไป อย่างนี้ชือว่าประเสริฐอยู่ ก็ยังมีบ้าง แต่กํยังวนเวียนอยู่ในโลก เกิดตายกันต่อไป

พระศาสดา พระองค์จึงทรงชี้แจงความเป็นจริง ให้กับมนุษย์ เจริญตามวัฒนธรรม อริยะ ตั้งแต่ โสดาบัน ให้รู้ว่า ที่มีอยู่ก็ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา แม้กายเราเอง ก็ยังไม่ใช่ตัวตนที่จะไปบังคับตามจิต ตามใจได้เลย ไฉน ในโลก นี้จะมีอะไรเป็นของเรา มาตัวเปล่า ก็จากไปตัวเปล่าไม่สามารถเอาอะไรติดกายไปได้เลย แม้กายสังขารนี้ก็ยังทิ้งไว้ในโลก

ยามไร้ชีวิต คนก็พารังเกียจ ไม่อยากมอง ไม่อยากจ้อง สะอิดสะเอียนความเน่าเหม็นของกายนี้

ไหน ฤา จะมีกายที่สวยงามไปได้ มีแต่เพียงกายทิพย์ ที่ยังพอเรืองรอง ด้วย บุญกรรม ที่สร้างไว้

พระอริยะย่อมไม่ใยดี การมีกาย และการมีอยู่ ย่อมไม่สนใจการเกิด อีกต่อไป คงหมดสิ้นกับการอาลัย ทุกสิ่งทุกอย่างในวัฏจักรนี้

รูป ก็เป็นเพียงนามธรรมที่เกิดดับ
เสียง ก็เป็นเพียงนามธรรมที่เกิดดับ
กลิ่น ก็เป็นเพียงนามธรรมที่เกิดดับ
รส ก็เป็นเพียงนามธรรมที่เกิดดับ
สัมผัส ก็เป็นเพียงนามธรรมที่เกิดดับ
อารมณ์ ว่างแล้วจากความยึดถึอทั้งหลายทั้งปวง

สงบก็เป็นสุข เคลื่อนไหวก็เป็นทุกข์
อุเบกขา ( ปล่อยวาง ) กิเลสทั้งหลายลง ก็จะมีความสุข
ถึงกายจะทุกข์ ก็ถึงสุขที่สุดแห่งธรรมนั่นเอง

เจริญธรรม /เจริญพร

ธัมมะวังโส:
วันที่ ๓ ( ๗ ก.ค. ๖๓ ๐๒.๐๐)

สำหรับวันนี้ นอนน้อยลง วันนี้นอนน้อยเพียง 2 ชม เป็นการฝืนกายสังขารครั้งแรก ในรอบเดือน ในวันนี้ยังไม่ได้เข้าสมาธิแต่ใด ๆ แต่ กระทำการกำหนดธรรม ขึ้นมา

การกำหนดธรรม มีอยู่สองอย่าง

หนึ่งคือการกำหนดธรรมที่เป็น มรรค ( หมายถึงวิธีปฏิบัติ ) เช่นการมีสติ สัมปชัญญะ หิริ(ความละอาย) โอตตัปปะ(ความเกรงกลัวต่อบาป) อปจายนะ(ความอ่อนน้อม) สัทธา(ความเชื่อ) เป็นต้น ธรรมเหล่านี้ต้องปฏิบัติตาม จึงเรียกว่า มรรค( วิธีการปฏิบัติ)

สองก็คือการกำหนดธรรมที่เป็น ผล ( หมายถึงได้สภาวะแล้ว ) เช่น สัมปชัญญะ เป็นผลมาจากสติ ปีติ เป็นผลมาจาก วิตก วิจาร ยุคลธรรม เป็นผลมาจาก ปีติดับลงในสมาธิ เป็นต้น ธรรมเหล่านี้เรียกว่า เป็นปัจจัยที่เกิดจากปัจจัยของธรรมที่ต่อเนื่องกันจึงทำให้ธรรมเหล่านั้นเกิดขึ้นไปตามสภาวะ เรียกว่า ธัมมารัมมะณัง สภาวะที่เกิดขึ้นมีธรรมอื่น เป็นปัจจัย

ดังนั้นผู้ที่เข้าสมาธิเพื่อธรรม ต้องรู้จักกำหนดธรรม

การกำหนดธรรม ก็คือ ปัญญา ( ความรอบรู้ ) หากไม่มีปัญญา การกำหนดธรรมก็จะมีไม่ได้

ดังนั้นขอให้ท่านทั้งหลายจงรู้จักกำหนดธรรม ให้มีในจิตใจของท่าน

การกำหนดมีสองสภาวะ

กำหนดธรรมด้วยสังขาร ( ยังมีกิเลส ) เช่นการคิด ข้อมูล ความเกี่ยวเนื่องของธรรม เหล่านี้เกิดด้วย สังขาร แต่เป็นปุญญาภิสังขาร เพราะเกิดด้วยกุศลธรรม

กำหนดธรรมด้วยสภาวะดับกิเลส ซึ่งเป็นเหตุในปฏิจจสมุมปบาท การดับกิเลส ต้องมาจากสภาวะ ปล่อยวาง จากความยึดมั่นในตัวในตน เข้าสภาวะไม่มีบุรุษบุคคล ไม่มีสัตว์สิ่งของ เป็น ธรรมสภาวะ ที่เป็นกลาง ไม่มีศัตรู ไม่มีคนรัก ไม่มีสิ่งที่รัก ไม่มีสิ่งใดให้ยึดถือ ดั่งสายลมที่พัดผ่าน ดั่งคลื่นทะเลที่ซัดสาด ดั่งเปลวไฟที่ลุกโชน ดั่งแผ่นดินที่แผ่กว้าง ดั่งอากาศที่เป็นช่องว่าง ดั่งใจที่ไม่มีสภาวะที่เป็นตัวเป็นตน

ดังนั้นการกำหนดธรรมเริ่มจากเบาไปหาหนัก

ในทางกรรมฐาน เริ่มจากการกำหนดฐานจิต เมื่อกำหนดฐานจิตได้ จึงกำหนดตัวบริกรรมในที่นี้ คือ พุทโธ จากนั้นก็หล่อหลอมคำบริกรรม ลงไปรวมในฐานจิต เมื่อรวมในฐานจิตได้ อำนาจสมาธิก็จะเริ่มเกิดเป็นลำดับ เริ่มตั้งแต่ สัทธา ปราโมทย์ ฉันทะสมาธิ ปีติ ยุคลธรรม สุข ไปตามลำดับนั่นเอง

ขอให้ท่านทั้งหลาย รู้จักกำหนดธรรม ให้ต่อเนื่อง ให้สมกับความเป็นศิษย์เชี่ยวชาญในการฝึกฝนกรรมฐาน ไปพร้อมๆ กัน

เจริญธรรม / เจริญพร

ธัมมะวังโส:
วันที่ ๔ ( ๗ ก.ค. ๖๓ ๐๑.๓๐ )

วันนี้เพราะไม่ได้หลับมาตั้งแต่เมื่อวาน พยายามทำการกำหนดธรรม ต่อเนื่อง แต่ในที่สุดสภาพสังขาร ก็เลยต้องมาหลับ ตอน หกโมงเย็น ตื่นอีกครั้ง ก็เที่ยงคืน เมื่อตื่นแล้วก็ทำกิจวัตร ส่วนตัวประจำก่อน แล้วก็เริ่มมาทำการบันทึกกว่าจะทำกิจส่วนตัวเสร็จ ก็ หนึ่งชั่วโมงครึ่ง จึงมาทำบันทึกได้

ดังนั้นในวันนี้ ก็จะเป็นการฝึกเข้าสมาธิ เป็นช่วง

การฝึกเข้าสมาธิ ก็จะมี ตั้งแต่ กำหนดพระลักษณะ พระรัศมี กำหนดปีติ กำหนดยุคลธรรม กำหนดพระสุข แล้วเข้าพระสุขสมาธิ กับ อุปจาระสมาธิ สำหรับวันนี้ ก็จะทำการทบทวน กลับไป กลับมาอย่างนี้ สัก ประมาณหลายๆ รอบ ก็ยังไม่รู้ว่าได้สักกี่รอบ ก็จะเริ่มทำประมาณ ตีสี่ ขึ้นไป

ก็ขอให้ทุกชีวิต จงมีความสุข อยู่รอด ปลอดภัยทุกท่านทุกคน เทอญ

เจริญธรรม / เจริญพร

ธัมมะวังโส:
วันที่ ๔ ( ๙ ก.ค. ๖๓ )
-------------------------------------
ก่อนเข้ากรรมฐาน ให้ทำการทบทวนปัญญา ทางธรรมด้วยการมองขันธ์ ๕

ขันธ์ ๕ เป็นที่บอกาย สามส่วน

๑ กายธาตุ ประกอบ ด้วย มหาภูตรูป ๔ มี ดิน ไฟ น้ำ ลม รวมเรียกว่า รูปขันธ์ สำหรับกายนี้ มนุษย์ ก็คือ กายเนื้อ

๒.กายธรรม ประกอบ ด้วย นามธรรม ๓ มี เวทนา ( รู้สึก ) สัญญา ( จำ ) สังขาร ( คิด ) สามประการนี้เรียกว่า กายธรรม เป็นที่เกิด ที่ดับ นามธรรม กุศล อกุศล เกิดขึ้นด้วยกายธรรม

กายหยาบ กายละเอียด กายทิพย์ สามกายนี้ เป็นกายธรรม

๓.กายวัฏฏะจักร หรือ ภาษา เรียกว่า กายจิต ในที่นี้หมายถึง วิญญาณ ( รับรู้ ) ตัว วิญญาณ เป็นตัวรู้ขันธ์ ทั้งหมด กายที่บรรลุ อยู่ในกายวัฏฏะจักร ภาษากรรมฐาน เรียกว่า กายอริยะ

กายอริยะ มี ๔ กาย แบ่งออกเป็น ๘ ระยะ มีสองส่วน
สองส่วนมีดังนี้
๑ กายมรรค
๒ กายผล
มีปรากฏในโลกนี้ และ ในอนันตจักรวาล ไปตามสัดส่วน

กายบรรลุ ชื่อว่า กายนิพพาน
กายนิพพาน ทางกรรมฐาน ไม่ถือว่าเป็นกาย ไม่สามารถระบุอะไรได้ เพราะไม่อาศัยขันธ์ ต่อไป ไม่มีการเกิด ไม่มีรูปลักษณ์ ไม่มีตำแหน่ง ไม่มีที่ระบุ เหมือน หายไปจาก อนันตจักรวาล

สำหรับกายนิพพาน เป็น กายสุดท้ายของอริยะ
ดังนั้น การบำเพ็ญภาวนา ของ บุคคลทุกคนก็เพื่อจะได้กาย ต่าง ๆ ไปตามลำดับ พอจะสรุปได้ดังนี้

๑.กายเนื้อ เรียกว่า กายกำเหนิด การได้กายเนื้อนี้ต้องบำเพ็ญกุศล ทาน ศีล 2 อย่าง คนจะดำ ขาว เตี้ย สูง สวย ไม่สวย กายเนื้อ เป็นที่ระบุของกุศล และ อกุศล ทำอกุศลมาก กายเนื้อก็ชั่ว พิกล พิการ ไม่สวย ขี้เหร่ เป็นโรค เบียดเบียน เป็นต้น ถ้าสร้างกุศล กายก็งดงาม ดังนั้นกายเนื้อ เป็นกายที่อาศัยกุศล และ อกุศล เป็นผู้ปรุงแต่ง

๒. กายหยาบ เรียกว่า กายธรรมเริ่มต้น เป็นกายที่มีการฝึกฝนด้านเนื้อหาทางจิต หรือ การทำใจให้สงบ กายหยาบ นี้จัดเป็นระดับสมาธิ ขณิกะสมาธิ ผู้ฝึกฝน หรือ ผู้ได้สมาธิขั้นต้น ชื่อว่าได้ กายหยาบ กายหยาบ จัดเป็นกายกุศล และ อกุศล เพราะอาศัย นันทิ ( ความเพลิดเพลิน ) เป็นกำเนิดให้จิตอยู่เรื่องใดเรื่องหนึ่ง ดังนั้นในกายหยาบนี้จึงไม่สามารถเข้าไปบรรลุธรรมได้

๓.กายละเอียด เรียกว่า การธรรมขึ้นกลาง เป็นกายที่เกิดจากการฝึกฝนทางด้านจิตโดยตรง กายนี้เป็น อุปจาระสมาธิ ดับนิวรณ์ ๕ ได้ ชั่วระยะหนึ่ง มีปรากฏในธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสแสดงไว้บ่อย ๆ ชื่อว่า อนุสสติ ๖ มีพุทธานุสสติ เป็นต้น ผู้ที่ได้กายละเอียด สามารถเข้าไปบรรลุธรรม เป็นอริยะบุคคลประเภท ปัญญาวิมุตติ ตั้งแต่ โสดาบัน จนถึง อรหันต์

กายละเอียด เป็นกายเทวดาได้

๔.กายทิพย์ เรียกว่า กายสมาบัติ เป็นกายวิเศษแตกต่างจากกายทั้ง 3 ข้างต้น ผู้ที่ได้กายนี้ มีอีกชื่อหนึ่งว่า กายโอปปาติกะ

กายทิพย์นี้ เป็น พรหม เท่านั้นไม่ตกต่ำกว่านี้เพราะการประกอบกายนี้เกิดได้ด้วยการดับกิเลส หรือ นิวรณ์ ชั่วคราวดังนั้นกายทิพย์ จึงมีคุณสมบัติตรง ๆ ที่กายพรหม

กายพรหม เกิดขึ้นได้ในสมาบัติ ผู้ที่เข้าสมาบัติ หมายถึง สมาบัติ ๔ และ สมาบัติ ๘ สามารถ นิรมิตถอดกายทิพย์ จาก กายเนื้อ ได้ในขณะที่มีชีวิตบนโลกมนุษย์

สรุป กายทิพย์ เป็น อัปปนาจิต เท่านั้น

๕.กายอริยะอรหันต์ปัญญาวิมุตติ เป็นกายของผู้ที่ได้อุปจาระสมาธิ และตัดสังโยชน์ ๑๐ ด้วยปัญญา ละทิ้งด้วยปัญญา

( หมายเหตุ โสดาบัน สกทาคามี อนาคามี แบบปัญญาวิมุตตินั้นไม่มี เพราะผู้บรรลุแบบปัญญาวิมุตติ มีเพียง อรหันต์เท่านั้น )

๖.กายอริยะโสดาบัน เป็นกายของผู้ที่ได้อัปปนาสมาธิ และตัดสังโยชน์ ๓ ประการ

๗.กายอริยะสกทาคามี เป็นกายของผู้ที่ได้อัปปนาสมาธิ และตัดสังโยชน์ ๓ ประการ และ สังโยชน์ อีก สองประการเบาบางลง เกือบหมดจด

๘.กายอริยะอนาคามี เป็นกายของผู้ที่ได้อัปปนาสมาธิ และตัดสังโยชน์ ๒ ประการ

๙. กายอริยอรหันต์ เป็นกายของผู้ที่ได้อัปปนาสมาธิ และตัดสังโยชน์ ๕ ประการ

๑๐. กายนิพพาน เป็นกายละอัตภาพของทุกกายของผู้ที่เป็น อรหันต์

ดังนั้นถ้าตั้งเป้าหมาย ด้วย กาย ก็จะทำให้รู้ว่า เราควรภาวนาอะไร ตรงไหน และศึกษาอะไร ข้อจำกัดของแต่ละกาย ก็จะทำให้ผู้ที่ภาวนา ไม่สะเปะสะปะ ภาวนาเรื่อยเปื่อย ซี้ซั๊วะไปเรื่อย

ดังนั้นผู้ที่ภาวนาจึงจำเป็นต้องกำหนดขันธ์ ๕ แล้ว ขันธ์ ๕ ก็จะพาเข้าไปกำหนดกาย แต่ละกายให้รู้ภาระหน้าที่ในการภาวนา นั่นเอง

เจริญธรรม / เจริญพร

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป