ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: "ศรีเทพ" เมืองศักดิ์สิทธิ์ ปาฏิหาริย์ดินแดนต้องห้าม  (อ่าน 60 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28456
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
.



"ศรีเทพ" เมืองศักดิ์สิทธิ์ ปาฏิหาริย์ดินแดนต้องห้าม

“เมืองศรีเทพ” กรมศิลปากร ระบุไว้ว่า เป็นเมืองโบราณในตำบลศรีเทพ อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ จัดอยู่ในเขตที่สูงถูกเชื่อมโยงเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนสินค้า วัฒนธรรมระหว่างพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ...มีความสำคัญมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์

รวมไปถึงวัฒนธรรมเขมรโบราณ (พุทธศตวรรษที่ 8-18) โดยมีพื้นที่รวมประมาณ 2,889 ไร่ หรือประมาณ 4.7 ตารางกิโลเมตร ลักษณะเป็นเมืองที่มีคูน้ำคันดินล้อมรอบแบบเมืองในวัฒนธรรมทวาราวดี ที่ยังคงสามารถรักษารูปแบบแต่เดิมไว้ได้อย่างสมบูรณ์มากที่สุด โดยไม่ถูกเปลี่ยนแปลงแห่งหนึ่งของประเทศไทย

สิ่งที่น่าสนใจคือ “ที่ตั้ง” ของ “เมืองศรีเทพ” นั้น แตกต่างจากเมืองอื่นๆในอดีต ซึ่งปกติแล้วเมืองที่มีความเจริญจะตั้งอยู่ใกล้แม่น้ำหรือไม่ไกลทะเล แต่เมืองศรีเทพกลับอยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดิน






แล้วเหตุใดถึงเจริญรุ่งเรืองได้? และในช่วงสมัยเดียวกันก็ยังเป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรืองที่สุดด้วย เมื่อประมาณพันปีที่ผ่านมา ผศ.ดร.กังวล คัชชิมา อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากรและผู้เชี่ยวชาญด้านปรัชญา พุทธศาสนา ภาษาศาสตร์ (เขมร) ตั้งข้อสังเกต

“เมืองศรีเทพ” มาก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งเดิมทีที่ตรงนี้ก็มีคนอาศัยอยู่ก่อนประมาณ 1,700-1,800 ปีก่อน แต่ปัญหาของเมืองศรีเทพนั้น ไม่ค่อยมีการเขียนจารึกไว้...เท่าที่ดูซากโบราณสถาน โบราณวัตถุ ก็เชื่อว่าผู้คนที่อาศัยมีอารยธรรมและเทคโนโลยีอยู่พอสมควร

เช่น การขนหินจากที่อื่นที่ไม่ใช่ประเทศไทย การสร้างเครื่อง ประดับต่างๆ ฯลฯ

@@@@

อัตลักษณ์ของเมืองศรีเทพ คือ “องค์สุริยเทพองค์ใหญ่” มีหลายองค์ ซึ่งที่น่าแปลกคือที่ผ่านมาไม่เคยค้นเจอในแถบบ้านเราเลย ที่สำคัญคืออารยธรรมที่ปรากฏมีลักษณะแบบ “เอเชียกลาง” สิ่งที่เห็นได้คือชุดที่ใส่ โดยมีอารยธรรมโบราณและมีการผสมผสาน

ผศ.ดร.กังวล บอกอีกว่า ที่แปลกที่สุดที่มีปรากฏเฉพาะในเมืองศรีเทพคือ พระพิมพ์ดินเผา ชุดหนึ่งที่มีชื่อของ “หลวงจีน” รูปหนึ่งสลักไว้ด้านหลังองค์พระที่สร้างขึ้น หลังจากทางเข้ามาในเมืองศรีเทพ

คาดว่าน่าจะสร้างช่วงพุทธศตวรรษที่ 13-14 หรือประมาณ 1,200 กว่าปีก่อน




นี่คือความชัดเจนที่เห็นได้ว่ามีคนต่างชาติเดินทางเข้ามาในเมืองศรีเทพ ซึ่งนอกจากจะมีอารยธรรมทางอินเดียมาแล้วยังมีคนจีนเข้ามาด้วย การมีหลวงจีนปรากฏในเมืองศรีเทพ สำคัญอย่างไร...ที่ผ่านมาเราอาจจะทราบว่ามี “พระถังซัมจั๋ง” ไปทางอินเดีย หลวงจีนอี้จิง หลวงจีนฟาเหียนเดินทางไปทะเล ไปอินโดฯก่อนไปอินเดีย แต่ทำไมหลวงจีนองค์นี้ ต้องตะเกียกตะกายเดินทางมา ที่ศรีเทพ

แปลว่าที่ตรงนี้ต้องเป็น...แหล่งศักดิ์สิทธิ์

หรือมีความสำคัญมากในภูมิภาคหรือเปล่า และจากการสำรวจเขาคลังนอก มีการระบุว่า มีความคล้ายกับ “นาลันทา” ซึ่งเป็นวิทยาลัยสงฆ์แห่งแรกในอินเดียเลย หรือนี่อาจจะเป็นเหตุผลคล้ายกับของพระถังซัมจั๋ง ก็เดินทางไปอินเดีย นี่เป็นข้อสันนิษฐาน...

แปลว่า “ศรีเทพ” ก็ไม่ใช่เมืองแห่งการค้าขาย และก็ไม่แน่ใจว่าเป็นเมืองศักดิ์สิทธิ์ สำคัญในทางพุทธศาสนาหรือไม่ สาเหตุที่ไม่มีความชัดเจนทางใดทางหนึ่ง เพราะไม่มี “จารึก”บ่งบอก




พุ่งเป้าไปที่ที่ตั้งของเมือง รูปลักษณ์ สิ่งแวดล้อม ส่วนประกอบต่างๆอย่างเขาถมอรัตน์ ก็อาจจะหมายถึง “ดินแดนศักดิ์สิทธิ์” นี่แหละ...เพียงแต่ว่าสิ่งที่ขาดคือ “จารึก” ที่เขียนบอกอย่างชัดเจน

น่าสนใจด้วยว่า...ถ้ำบนยอดเขาถมอรัตน์ก็เป็นสถานที่ซึ่งรวมรูปเคารพทั้งพระโพธิสัตว์...รูปเคารพของศาสนาพุทธในคติแบบมหายาน และพระพุทธรูป เสาธรรมจักร สถูปจำลอง ซึ่งเป็นคติแบบเถรวาท

การผสมผสานคติความเชื่อทั้งสองรูปแบบนี้นับได้ว่าเป็นลักษณะเด่นประการหนึ่งของคติความเชื่อแบบ “ศรีเทพ”...เป็นสังคมที่มีการผสมผสานแนวคิดทั้งสองแบบเข้าด้วยกัน

@@@@

ศิลปวัฒนธรรม (10 ม.ค.67) อนุชิต อุ่นจิต เขียนถึง “เมืองศรีเทพ” ไว้ว่า เมืองโบราณแห่งนี้มีลักษณะเป็น...เมืองซ้อนเมือง แล้วมีเนินดินสูงล้อมรอบคล้ายกำแพงเมือง ด้านนอกของเนินดินเป็นบึงน้ำขนาดใหญ่ล้อมรอบอีกชั้นหนึ่ง การขุดค้นเมืองโบราณแห่งนี้เริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2521 โดยกรมศิลปากร

และ...เป็นที่น่าแปลก ที่ว่าภายในพื้นที่บริเวณเขตเมืองโบราณนั้น ไม่มีชาวบ้านคนไหนเข้าไปตั้งถิ่นฐานอยู่ภายในเลย แต่กลับสร้างบ้าน ตั้งถิ่นฐานอยู่รอบนอกเขตเมืองโบราณเท่านั้น






ชาวบ้านเล่าว่า พื้นที่ดังกล่าวมีความเชื่อว่า...เป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่อยู่ของเทพเทวดา เมืองโบราณแห่งนี้...เทพเทวดาได้สร้างเอาไว้ก่อนจะขึ้นไปอยู่บนสวรรค์ ในสมัยก่อนจึงไม่มีใครกล้าเข้าไปอยู่อาศัย

ทั้งยังมีความเชื่อด้วยว่า...หากใครเข้าไปอยู่ในพื้นที่เมืองโบราณแห่งนี้ ก็จะเกิดอาเพศกับตนเองและครอบครัว

บางคนอาจล้มป่วยโดยไม่มีสาเหตุ หรือบางคนถึงขั้นเสียสติ เมื่อเข้าไปอยู่อาศัยในสถานที่แห่งนี้ ชาวบ้านในพื้นที่ทำได้เพียงอาศัยพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ประกอบอาชีพเท่านั้น ซึ่งในสมัยก่อนก็จะมีการประกอบอาชีพการเกษตร ล่าสัตว์ เก็บของป่า ...พิธีกรรมความเชื่อสำคัญในสมัยก่อนชาวบ้านจะไปกราบไหว้ นำเครื่องเซ่นไหว้ไปไหว้ศาลที่ตั้งไว้บนเนินดินบริเวณขอบเมืองโบราณหรือเนินที่กรมศิลปากรเชื่อว่าน่าจะเป็นกำแพงเมือง

และ...หลังจากเมืองโบราณเปลี่ยนเป็นอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพแล้ว ได้มีการอัญเชิญศาลแห่งนี้ลงมาไว้ด้านล่าง โดยเทวรูปที่ประดิษฐานอยู่ภายในศาล ชาวบ้านเรียกกันว่า...“เจ้าพ่อศรีเทพ”




ชาวอำเภอศรีเทพจะจัดพิธีบวงสรวงเจ้าพ่อศรีเทพเป็นประจำทุกปี ในวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 เพื่อความเป็นสิริมงคลและความเจริญรุ่งเรืองของชาวอำเภอศรีเทพ โดยเครื่องบวงสรวงประกอบด้วยข้าวต้มมัด ขนมจีนน้ำยา และอาหารท้องถิ่นของชาวอำเภอศรีเทพ

หลังเสร็จสิ้นพิธีบวงสรวงจะได้มีการแจกจ่ายข้าวต้มมัดแก่ผู้ร่วมงาน ซึ่งถือว่าผู้ได้รับประทาน ข้าวต้มมัดจะมีความเจริญรุ่งเรือง มั่งมีศรีสุข และมีความรักความสามัคคีกลมเกลียวกัน

“ศรัทธา” นำมาซึ่ง “ปาฏิหาริย์” เชื่อไม่เชื่ออย่างไรโปรดอย่าได้ “ลบหลู่”.

                                รัก-ยม




Thank to : https://www.thairath.co.th/lifestyle/culture/2772850
24 มี.ค. 2567 06:49 น. | ไลฟ์สไตล์ > วัฒนธรรม > รัก-ยม
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ