ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: มนุษย์งานต้องรู้! เช็กเทคนิคทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ คุณเข้าข่ายไหน?  (อ่าน 1414 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28456
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


มนุษย์งานต้องรู้! เช็กเทคนิคทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ คุณเข้าข่ายไหน?

ลองเช็กพฤติกรรมการทำงานของคุณสักหน่อย ว่าจะเลือกทำงานแบบไหน Work Hard หรือ Work Smart เพื่อปลายทางสุ่ความสำเร็จของผลงาน…

ขึ้นชื่อว่า "วัยทำงาน" คุณนึกถึงภาพอะไรเกี่ยวกับคำนี้... แน่นอนว่าไลฟ์สไตล์และรูปแบบการทำงานของแต่ละคนย่อมแตกต่างกันไป บางคนเลือก Work Hard บางคนชอบ Work Smart แต่คุณเคยสงสัยหรือเปล่า ว่าการทำงานแบบไหนถึงจะเหมาะสมกับตัวเอง เพื่อสร้างประสิทธิภาพให้การทำงานและความสำเร็จได้อย่างแท้จริง

สำหรับการทำงานแบบ Work Smart เชื่อว่าจะช่วยให้คนทำงานมีความคิดสร้างสรรค์ ไม่เคร่งเครียดกับงานมากเกินไป ส่วนการทำงานแบบ Work Hard หลายคนมองว่าเป็นพฤติกรรมที่ตั้งใจทุ่มเทให้งาน เพื่อสร้างสรรค์งานให้ออกมามีประสิทธิภาพ

ลองไปเช็กกันหน่อยดีมั้ย คุณเป็นมนุษย์เงินเดือนประเภทไหนกัน...?


ลักษณะคนทำงานแบบ Work Hard…

1. มาเช้ากลับดึก
ขณะที่คนทำงานคนอื่นๆ ทยอยกันกลับบ้าน แต่คนทำงานแบบ Work Hard จะยังคงนั่งปั่นงานต่อไป เพราะคนทำงานประเภทนี้จะมีงานเยอะอยู่ตลอดเวลา ทำงานชิ้นหนึ่งเสร็จ ก็จะมีงานชิ้นอื่นๆ ต่อคิวให้ทำอีกหลายต่อหลายชิ้น จนทำให้คนทำงานแบบ Work Hard ต้องอยู่ทำงานต่อที่ออฟฟิศจนดึก หรือประเภทมาเช้ากลับดึก


เคร่งเครียดแบบ Work Hard

2. เสาร์-อาทิตย์ ยังจมอยู่กับงาน
แม้จะอยู่ทำงานที่ออฟฟิศจนดึก แต่งานก็ยังไม่มีวี่แววว่าจะเสร็จ คนทำงานแบบ Work Hard จึงต้องหอบงานกลับไปทำต่อที่บ้านด้วย ไม่ว่าจะเป็นตอนกลางคืนหลังจากที่กลับมาจากออฟฟิศแล้ว หรือแม่แต่วันหยุดสุดสัปดาห์อย่างวันเสาร์-อาทิตย์ คนทำงานแบบ Work Hard ก็ยังคงเคลียร์งานต่อไปอย่างขะมักเขม้น


3. งานสำคัญกว่าทุกสิ่ง!
การทำงานนี่แหละใช่ที่สุด สำหรับคนทำงานแบบ Work Hard ไม่มีอะไรจะสำคัญไปกว่างานแล้วอีกแล้ว ใครจะไปไหน ทำอะไรก็ตาม แต่คนทำงานประเภทนี้ทำงานดีกว่า ไม่ค่อยให้เวลากับ แฟน ครอบครัว หรือคนรอบตัว


4. ตั้งใจและทุ่มเทเพื่อเป้าหมาย
คนทำงานแบบ Work Hard จะทุ่มเทกับการทำงานอย่างเต็มที่ ถ้างานยังไม่สำเร็จตามเป้าหมาย ก็จะยังคงทำงานต่อไป เพื่อให้งานลุล่วงไปได้


 ask1 ans1 ask1 ans1

สไตล์คนทำงานแบบ Work Smart…

1. มาและเลิกงานตามเวลา
เมื่อถึงเวลาเลิกงาน คนทำงานแบบ Work Smart จะเก็บของกลับบ้านทันที แต่อย่าเพิ่งมองว่าคนประเภทนี้ไม่ใส่ใจการทำงาน แต่พวกเขารู้จักจัดสรร บริหารเวลาระหว่างเวลาการทำงาน และเวลาส่วนตัวได้อย่างสมดุล


Work Smart วางแผนและจัดระบบงานก่อนลงมือเสมอ

2. วิเคราะห์ วางแผนการทำงานอย่างเป็นระบบ
คนทำงานแบบ Work Smart มีความสามารถในการจัดสมดุลชีวิตกับงานของตัวเองได้ เนื่องจากพวกเขามีการวางแผนการทำงานอย่างเป็นระบบ เมื่อได้รับมอบหมายงานมาก็จะนำมาวิเคราะห์ จัดเรียงลำดับความสำคัญของงาน กำหนด Timeline และ Deadline เพื่อให้ได้ทราบว่างานอะไรที่ต้องทำก่อนหรือทำหลัง


3. จัดการงานอย่างมีระเบียบ
เมื่อมีการวางแผนการทำงานแล้ว คนทำงานแบบ Work Smart ก็จะสามารถทำงานที่ได้รับมอบหมายมาได้อย่างเป็นระเบียบ ตามขั้นตอน งานที่สำเร็จออกมาก็จะเป็นผลงานที่สมบูรณ์


4. เต็มที่ในเวลางาน
ในเวลางานคนทำงานแบบ Work Smart จะเต็มที่กับการทำงาน เพื่อให้งานแต่ละชิ้นสำเร็จตาม Timeline และ Deadline ที่ได้กำหนดไว้ และถ้าหากงานเสร็จก่อนกำหนด คนทำงานพวกนี้ก็ยังสามารถกลับมาตรวจทานงานได้อีกด้วย


นอกจากขั้นตอนและพฤติกรรมที่มนุษย์งานนิยมทำ คุณสงสัยหรือไม่? การทำงานทั้ง 2 ประเภทนั้นให้ข้อดีและข้อเสียอย่างไร...


เลือกทำงานแบบไหน? Work Hard หรือ Work Smart

ผลจากการทำงานแบบ Work Hard นั้น คุณอาจทำงานสำเร็จตามเป้าหมาย ได้รับคำชื่นชมจากหัวหน้างาน ได้รับการประเมินผลงานเป็นที่น่าพอใจ ได้รับความไว้วางใจจากหัวหน้างาน แต่…คุณอาจไม่มีเวลาพักผ่อน เนื่องจากทุ่มเทเวลาให้กับการทำงานอย่างเต็มที่ สุขภาพเสื่อมโทรมจากการนอนน้อย นอนดึก และทานอาหารไม่เป็นเวลา ไม่มีเวลาเหลือสำหรับการดูแลตัวเอง ครอบครัว และคนรอบข้าง

ส่วนการทำงานแบบ Work Smart แน่นอนว่า...งานจะสำเร็จตามเป้าหมาย อาจได้คำชมจากหัวหน้างาน ได้รับการประเมินผลงานเป็นที่น่าพอใจ ได้รับความไว้วางใจจากหัวหน้า นอกจากนี้ก็ยังมีเวลาว่างสำหรับการพักผ่อนหรือกิจกรรมพัฒนาตนเองด้านอื่นๆ ทั้งยังมีวิธีจัดการกับความเครียดได้ดี ไม่มีความเครียดสะสม มีเวลาออกกำลังกาย และได้ทานอาหารตรงตามเวลา

แม้จะดูเหมือนการ Work Hard จะมีผลเสียมากกว่า Work Smart แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าทุกคนจะเหมาะสมกับการทำงานในรูปแบบเดียวกัน เอาเป็นว่าจะเลือกเป็นมนุษย์งานประเภทไหน ก็ลองปรับใช้ให้เข้ากับสไตล์และรูปแบบงานของคุณ ดีกว่า…!


ที่มา : JobsDB.com
http://www.thairath.co.th/content/509006
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

noobmany

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 79
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ขอพูดในภาษา ที่เข้าใจง่าย ๆ ของคนทำงาน จริง ๆ ก็แล้วกัน

   ส่วนตัวนั้นเป็นแบบที่ 1 นะจึะ
   
   แต่เรื่องนี้ มันต้องบอกว่า ชีวิตเราแขวนไว้กับงาน บริษัท ไม่มีหลักประกันว่า จะเลิกจ้างกันวันไหน ?
   ชีวิตการทำงาน แบบที่ 1 นั้นบอกได้เลยว่า ถูกกดดัน ด้วย ครอบครัว เป็นส่วนใหญ่ ....  คือเพื่อปากท้อง ส่วนตัวไม่ได้มีความรู้มาก บริษัทจากมาในราคา เริ่มต้น เพียง 4500 ทำงาน มา 20 ปี ได้เงินเดือน อยู่ ที่ 14000 บาท แต่ 4500 ต้องผ่อนบ้านเดือนละ 4500 เลี้ยงดู พ่อ แม่ ที่ไม่ได้ทำงาน อีก ดังนั้นเงินเดือนไม่ได้ใช้ประทังชีวิต เลย ต้องไปจ่ายให้กับธนาคารทันที ที่ เข้า คิดดูสิ ซื้อบ้านราคา 360000 สัญญาจ่ายกับธนาคารต่ำสุด 20 ปี คือ 4500 x 12 x 20 ( เงินต้น 360000 รวมดอกเบี้ย แล้ว เป็น 1080000 โหดไหม ?

    ดังนั้น ชีวิตการทำงานที่หนัก เมื่อเจ้านายรู้ถึงความลำบาก ก็จำเป็นต้อง ปล่อย OT เพื่อช่วยลูกน้อง เราก็อาศัย OT นี่แหละ เป็นค่าอาหาร เลี้ยงดูตนเอง ทำงานวันละ 16 ชม. ( ดีนะที่ บริษัทเจ้านาย ช่วย แบบนี้ )
 
    งานเยอะไหม ? ก็ต้องตอบว่า เมื่อเราต้องทำ OT แล้ว เจ้าของงานเขาก็ต้องจ่ายงานให้คุ้ม เพราะหลังจาก ชม ที่ 9 ไปแล้ว ค่าแรงจะเพิ่มเป็น 1.5 ของ เรียกว่า OT 16 ชม. แต่ถ้าเกิน 16 ชม. ไปจะเป็น 3 เท่า และถ้าเกิน 24 ชม. มันจะเป็น 3 เท่า + วันหยุด ถ้าไม่หยุดทำงานต่อ ก็จะกลายเป็น OT 1  คือ 1.5 เท่า

     สูตร อย่างเงินเดือน เรา 4500 / 30 / 8 = ทำงาน ชม. ละ 18.75 บาท ในเวลาปกติ
          แต่ถ้าทำเป็น OT 1 x 1.5 = ทำงาน ชม. ละ 28.125 บาท นี่คือ OT 1 ( 8 ชม แรก )
          แต่ถ้าทำเป็น OT 2 x 3 = ทำงาน ชม. ละ 54.75 บาท นี่คือ OT 2 ( ทำ OT เกิน 8 ชม นับ ชม.ที่ เกินเป็น OT 2 X
          แต่ถ้าทำเป็น OT 3 x 3 ได้วันหยุด 1 วัน หมายถึงทำ OT เกิน 16 ชม + ทำงานปกติ อีก 8 ได้วันหยุด 1 วัน คือต้องให้หยุด แต่ส่วนใหญ่ ก็จะไม่ได้หยุด เพราะถ้าหยุดงานปกติ จะสะสมทันที

       โชคดีที่สายงาน ที่ทำเป็นงาน ด้านเอกสาร แต่ต้องอาศัยความรอบคอบเป็นอย่างมาก ทุกวันจะมีรายงานการผลิต ทุกแผนกเข้ามาที่หน่วยงาน เอกสารทุกอย่าง ต้องถูก คีย์ Data ให้ทันต่อการผลิต งานจึงมีทุกวันไม่หยุด แต่เนื่องด้วยบริษัทเป็นมหาชน จึงต้องหยุดวันเสาร์ อาทิตย์ แต่ กะเป็น 4 กะ  พนักงานทำงานกันอย่างต่อเนื่องทั้งปี ทำให้งาน 2 วัน เสาร์อาทิตย์ มันมากองอยู่วันจันทร์ เป็นจำนวน 2 วัน ทุกอาทิตย์อย่างนี้ เนื่องด้วยตำแหน่งนี้ มีตำแหน่งเดียว จึงไม่มีมือสอง มาทำงานอย่างคนอื่น OT ก็เลยต้องให้ไปทำงานวันเสาร์ หรือ อาทิตย์ 1 วัน ทุกสัปดาห์ นั่นเอง การทำ OT มีข้อดีคือ เลือกเวลาไป ตามใจ แต่ให้กลับก่อนตรงเวลาที่ OT 1 เท่านั้น ก็ต้องขอบคุณเจ้านาย ที่เมตตา ให้ทำงานมีเงินใช้อยู่

       ทุกเดือนเท่ากับมีเงินเดิอนเพิ่มมา ที่ 900 บาท ทำงาน OT 1 28.125 บาท  x 8 ชม x 4 วัน 

     นี่คือชีวิตของคนทำงาน แบบ Hard
     พวกที่ทำงาน แบบนี้ ส่วนมาก็จะเป็น System product เช่น พวก ช่างซ่อมบำรุง เป็นต้น   
 

    ที่นี้พวก Smart นั้น กลับบ้านเลิกงานตรงเวลานั้น น่าจะมีสองประเภท
     
      คือ 1. พวกสั่งงาน พวกเจ้านาย หัวหน้า พวกนี้เงินเดือนเยอะ สั่งงาน ให้คนอื่นทำ แล้วตัวเองก็กลับไป
          2. พวกที่ทำงานเป็นกะ มีคนเปลี่ยน งานพวกนี้ ไม่มีสะสม มีคนรับงานเปลี่ยนกันทุกกะ ไม่มีเอกสารค้างคา แต่อย่างใดเพราะงานจบกันในกะ นั้น กะต่อไปก็รับช่วงทำงาน   

     ดังนั้นใครได้ วิถีงานแบบไหน ? ก็ต้อง บอกว่า ดี กว่า ตกงาน นะ เป็นโขคดี ของคุณที่เรียนมาดี


 :s_hi:
บันทึกการเข้า

บุญเอก

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 516
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
ทำงานอาสา หวังช่วยคนตกยาก แม้จะลำบาก แต่ก็จะทำโดยความไม่หนักใจ
อาสากตัญญู พัทยา ยินดีรับใช้