ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
หน้า: [1] 2 3 ... 10
 1 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 06:10:59 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan

เขาพระสุเมรุ ล้อมรอบด้วย เขาสัตตบริภัณฑ์ และสีทันดร (ภาพจาก สมุดภาพไตรภูมิ ฉบับกรุงศรีอยุธยา-ฉบับกรุงธนบุรี เล่ม 1)


สำนวน “ร้อยเอ็ดเจ็ดย่านน้ำ” หมายถึงอะไร “เจ็ดย่านน้ำ” มีอะไรบ้าง.?

สำนวน “ร้อยเอ็ดเจ็ดย่านน้ำ” พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน อธิบายว่าเป็นภาษาปาก, เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง “ทั่วทุกแห่งหน” มักใช้ในรูปประโยคเช่น ฉันไปเที่ยวมาร้อยเอ็ดเจ็ดย่านน้ำแล้ว โดยนอกจากร้อยเอ็ดเจ็ดย่านน้ำ ก็ยังมี ร้อยเอ็ดเจ็ดคาบสมุทร, ร้อยเอ็ดเจ็ดพระนคร, ร้อยเอ็ดเจ็ดหัวเมือง ซึ่งใช้ในความหมายเช่นเดียวกันทั้งหมด

“ร้อยเอ็ด” ไม่ใช่จำนวน หรือเลข 101 แต่มีความหมายโดยเปรียบเทียบว่ามีจำนวนมากมาย เพราะมากกว่าร้อยไปหนึ่ง หรือ 100+1

ส่วนคำว่า “เจ็ดย่านน้ำ” อาจเชื่อมโยงกับทะเลทั้ง 7 แห่ง ตามคติความเชื่อโบราณ

ใน “ไตรภูมิ” กล่าวถึง “เขาพระสุเมรุ” ซึ่งตั้งอยู่ท่ามกลางจักรวาล มีทิวเขาล้อมรอบสลับกันเป็นชั้น ๆ ได้ 7 ชั้น ทิวเขาทั้ง 7 มีชื่อเรียกต่างกัน โดยลำดับคือ ยุคนธร อิสินธร กรวิก สุทัสนะ เนมินธร วินตกะ และอัสกัณ รวมกันเรียกว่า เขาสัตตบริภัณฑ์ (สัตตะ หมายถึง เจ็ด) โดยระหว่างทิวเขาแต่ละแห่งก็จะคั่นด้วยทะเล 7 แห่ง และมีชื่อเดียวกันทั้งหมดว่า “สีทันดร”

เนื่องจากสีทันดรเป็นทะเลที่มีความกว้างใหญ่ไพศาล จึงอาจเป็น “เจ็ดย่านน้ำ” ที่ถูกนำมาเชื่อมกับ “ร้อยเอ็ด” กลายเป็น “ร้อยเอ็ดเจ็ดย่านน้ำ”

สีทันดรไม่เพียงมีขนาดกว้างใหญ่ แต่ยังลึกสุดขั้ว ไม่มีสิ่งใดลอยอยู่ได้แม้กระทั่งขนนก (แววหางนกยูง) การจะข้ามทะเลแห่งนี้ต้องเหาะเพียงอย่างเดียว ขนาดพญาครุฑยังต้องใช้พละกำลังมากกว่าจะข้ามพ้น ดังที่บทละครเรื่องกากี ได้พรรณนาถึงสีทันดรว่า

……..   สัตตภัณฑ์คั่นสมุทรใสสี
แม้นจะขว้างแววหางมยุรี   ก็จมลงถึงที่แผ่นดินดาล
ด้วยนํ้านั้นสุขุมละเอียดอ่อน   จึ่งชื่อสีทันดรอันไพศาล
ประกอบหมู่มัจฉากุมภาพาล   คชสารเงือกนํ้าแลนาคินทร์
ผู้ใดข้ามนทีสีทันดร   ก็ม้วยมรณ์เป็นเหยื่อแก่สัตว์สิ้น
แสนมหาพระยาครุฑยังเต็มบิน   จึ่งล่วงสินธุถึงพิมานทอง

@@@@@@@

อย่างไรก็ตาม “เจ็ดย่านน้ำ” อาจมีความเชื่อมโยงกับทะเล 7 แห่ง ใน “คัมภีร์อินเดีย” [สุจิตต์ วงษ์เทศ อ้างจากหนังสือ ภูมิศาสตร์สุนทรภู่ ของ กาญจนาคพันธุ์ พิมพ์ครั้งที่สี่ พ.ศ. 2515 หน้า 37-40] ดังนี้

   1. ทะเลน้ำเค็ม เรียกว่า ลาวัณย์ เป็นทะเลล้อมชมพูทวีป (อินเดีย)
   2. ทะเลน้ำอ้อย เรียกว่าอิกษุรโสทะ เป็นทะเลล้อมปลักษะทวีป (หมายถึงพม่า)
   3. ทะเลน้ำผึ้ง เรียกว่าสุรา (บางแห่งเป็นเมรัย) เป็นทะเลล้อมศาลมาลีทวีป (หมายถึงมลายู)
   4. ทะเลเปรียง เรียกว่าสระปี เป็นทะเลล้อมกุศะทวีป (หมายถึงหมู่เกาะซุนดา)
   5. ทะเลน้ำนมเปรี้ยว เรียกว่าทธิมัณฑะ เป็นทะเลล้อมเกราญจะหรือโกญจาทวีป (หมายถึงจีนใต้)
   6. ทะเลน้ำนม เรียกว่าทุคธะ หรือกษิร (เกษียรสมุทร) เป็นทะเลล้อมศักกะทวีป (หมายถึงสยามกัมโพช)
   7. ทะเลน้ำธรรมดา เรียกว่าชล หรือโตยัมพุธิ เป็นทะเลล้อมบุษกรทวีป (หมายถึงจีนเหนือ)

ไม่ว่า “เจ็ดย่านน้ำ” จะหมายถึงมหาสมุทรหรือทะเล 7 แห่งที่ใด เรื่องนี้อาจเป็นเพียง “การลากเข้าความ” เพื่อเชื่อมโยง “เจ็ด” เข้ากับเรื่องหรือคติความเชื่อนั้น ๆ หรือแท้จริงแล้ว คำว่า “เจ็ดย่านน้ำ” ที่ตามมาหลัง “ร้อยเอ็ด” อาจไม่ได้หมายถึงทะเลแห่งใด แต่อาจพูดขึ้นเพื่อให้สัมผัสกับคำว่า “เอ็ด” ตามลักษณะคำคล้องจองของไทย เพียงเท่านั้น…


อ่านเพิ่มเติม :-

    • จับได้ “คาหนังคาเขา” สำนวนนี้มีที่มาอย่างไร?
    • สำนวน “สุ่มสี่สุ่มห้า” กับการใช้ “สุ่มปลา” ที่ให้บทเรียนชีวิตติดปากจนวันนี้




อ้างอิง :-
- เสฐียรโกเศศ. “เล่าเรื่องในไตรภูมิ”. พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นายนุ่ม ภูมมะภูติ นางสาวดารณี ภูมมะภูติ ณ เมรุวัดประยุรวงศาวาส ธนบุรี 7 มิถุนายน 2512
- สุจิตต์ วงษ์เทศ. “เมืองร้อยเอ็ด ไม่ใช่ ‘เมืองสิบเอ็ด’”. เข้าถึงเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2566. จาก, https://www.matichonweekly.com/column/article_306966
- สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. “ร้อยเอ็ด”. เข้าถึงเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2566. จาก, http://bit.ly/3kSJDsH
- ห้องสมุดดิจิทัลวัชรญาณ. “กากีกลอนสุภาพ,” ใน วรรณคดี เจ้าพระยาพระคลัง (หน). เข้าถึงเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2566. จาก, https://bit.ly/3T12770

ขอขอบคุณ :-
ผู้เขียน : กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม
เผยแพร่ : วันอาทิตย์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ.2567
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรก : เมื่อ 8 มีนาคม 2566
URL : https://www.silpa-mag.com/culture/article_103416

 2 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 05:53:55 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan


ภาพประกอบเนื้อหา ภาพชาวบ้านสามัญชนขณะเดินทางค้าขายหรือค้าเร่ มีโจรผู้ร้ายฉุดคร่าชิงทรัพย์และข่มขืนด้วย, จิตรกรรม วัดเขียน จังหวัดอ่างทอง (จากหนังสือ มนุษย์อยุธยา ประวัติศาสตร์สังคม จากข้าวปลา หยูกยา ตำรา Sex)


ทำไมต้อง “โจรห้าร้อย” คำนี้เขียนเป็นตัวหนังสือไม่ใช่ตัวเลข เพราะเป็นสำนวน

มีคำถามว่าทำไม สำนวนไทย ต้อง โจรห้าร้อย.? ความจริงคำว่า “ห้าร้อย” ในความหมายเดิมแท้นั้นไม่ได้หมายถึงหน่วยนับ หากหมายถึง การประมาณว่าจำนวนหนึ่งเท่านั้น

เพราะหน่วยนับของอินเดียแต่โบราณกาลมา ถือหน่วยนับพันเป็นหน่วยสูงสุด เป็นเท่านั้นเท่านี้พัน และความรู้ในการถือหน่วยนับนี้ได้แพร่หลายไปยังดินแดนอื่น รวมทั้งพวกฝรั่ง ดังนั้นพวกฝรั่งจึงนิยมใช้หน่วยนับเป็นพัน

ความหมายของคำว่า “ห้าร้อย” นอกจากจะหมายถึง จำนวนครึ่งหนึ่งของทั้งหมดแล้ว ยังหมายความว่าไม่เต็ม คือไม่เต็มพัน หรือไม่เต็มที่นั่นเอง ดังนั้นในสมัยโบราณจึงเรียกคนที่มีสติไม่สมประกอบว่าคนบ้าห้าร้อย บ้างก็เรียกว่าพวกไม่เต็มเต็ง

หนักๆ เข้าก็กลายเป็นคำด่า เช่นคำด่าที่ว่า ไอ้โจรห้าร้อย มาจากคำว่า โจรบ้าห้าร้อย


@@@@@@@

เพิ่มเติม คำว่าโจรห้าร้อย เดิมเป็นคำกล่าวเปรียบว่าโจรมีจำนวนมาก สำนวนโจรห้าร้อย น่าจะมาจากอรรถกถาของคัมภีร์ธรรมบท กล่าวถึง เดียรถีร์ 500 คนกับโจร 500 คนร่วมกันวางแผนสังหารพระโมคคัลลาน์ เนื่องจากพระโมคคัลลาน์ทำให้สาวกจำนวนมากของเหล่าเดียรถีร์หันมานับถือพระพุทธศาสนา

คำว่า ห้าร้อย นอกจากจะปรากฏในสำนวนว่า โจรห้าร้อยแล้ว ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนายังปรากฏคู่กับคำอื่นอีกด้วย เช่น อนาถบิณฑิกเศรษฐีถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุ 500 รูป.

ต่อมาเมื่อใช้คำว่าโจรห้าร้อย มีความหมายว่า โจร, โจรชั่ว เช่น จันทโครพพานางโมราเดินป่าไปพบโจรห้าร้อยผู้หนึ่งระหว่างทาง ปัจจุบันเมื่อตัดใช้แต่เพียง ห้าร้อย ก็หมายถึง คนเกเร คนไม่ดี เช่น ไอ้เด็กห้าร้อย วัน ๆ ไม่เรียนหนังสือ เอาแต่ซิ่งมอเตอร์ไซค์ไปทั่ว

คำว่า “โจรห้าร้อย” สำนวนไทย เขียนเป็นตัวหนังสือไม่ใช่ตัวเลข เพราะเป็นสำนวน

อ่านเพิ่มเติม :-

    • จับได้ “คาหนังคาเขา” สำนวนนี้มีที่มาอย่างไร?
    • สำนวน “ร้อยเอ็ดเจ็ดย่านน้ำ” หมายถึงอะไร “เจ็ดย่านน้ำ” มีอะไรบ้าง?
    • “ไปไม่กลับ หลับไม่ตื่น ฟื้นไม่มี หนีไม่พ้น” ถ้อยคำบนตาลปัตรสวดศพ สำนวนนี้ของใคร มีที่มาอย่างไร?






ขอขอบคุณ :-
ผู้เขียน : กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม
เผยแพร่ : วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ.2567
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรก : เมื่อ 6 มิถุนายน 2562
URL : https://www.silpa-mag.com/culture/article_33788

อ้างอิง : บทวิทยุรายการ “รู้ รัก ภาษาไทย” ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2553 เวลา 7.00-7.30 น

 3 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 01:43:18 am 
เริ่มโดย todaytimepost11 - กระทู้ล่าสุด โดย todaytimepost11
ที่นอนยางพาราแท้ ผลิตจากน้ำยางธรรมชาติ 100% ที่นอนสำหรับคนปวดหลัง มีความยืดหยุ่นสูง นอนแล้วไม่ยุบไม่ยวบ ลดแรงสั่นสะเทือนเวลาพลิกตัว สามารถรองรับสรีระและน้ำหนักตัวได้ดี ช่วยให้นอนสบาย ช่วยลดอาการปวดหลัง ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายที่นอนยางพารา เราผลิตและจำหน่ายที่นอนยางพาราอัดแน่น หลากหลายขนาด ตั้งแต่ ที่นอนขนาด 3 ฟุต ขนาด 90 x 198 x 24.5 ซม. 3.5 ฟุต ขนาด 105 x 198 x 24.5 ซม. 5 ฟุต ขนาด 150 x 198 x 24.5 ซม. 6 ฟุต ขนาด 180 x 198 x 24.5 ซม  ช่วยระบายอากาศได้ดี ทั้งยังไม่กักเก็บฝุ่นและความชื้น รองรับน้ำหนักและรองรับสรีระได้ดี ช่วยให้นอนหลับสบาย ไม่ร้อน และยังไม่เป็นที่สะสมของฝุ่นและเชื้อโรค

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

คุณ กราฟ

Tel: 099-236-6645

Bedisupreme.com

1364-68 ถ.สุขุมวิท ใกล้ซอย76 (ฝั่งเดียวกับอิมพีเรียลสำโรง)

สมุทรปราการ 10270

Tel: 0866004332

Line ID:  @bedisupreme


E-mail: info@bedisupreme.com 

https://www.ที่นอนยางพารา.net

https://www.xn--72c5aga0awj9e3bcb0a1w.net

Keyword::   ที่นอนยางพารา




 4 
 เมื่อ: เมษายน 30, 2024, 06:30:37 pm 
เริ่มโดย todaytimepost11 - กระทู้ล่าสุด โดย todaytimepost11
ขออนุญาต อัพเดทกระทู้

 5 
 เมื่อ: เมษายน 30, 2024, 04:08:34 pm 
เริ่มโดย todaytimepost11 - กระทู้ล่าสุด โดย todaytimepost11
ขออนุญาต อัพเดทกระทู้

 6 
 เมื่อ: เมษายน 30, 2024, 01:27:59 pm 
เริ่มโดย todaytimepost11 - กระทู้ล่าสุด โดย todaytimepost11
ขออนุญาต อัพเดทกระทู้

 7 
 เมื่อ: เมษายน 30, 2024, 11:29:00 am 
เริ่มโดย aventure1 - กระทู้ล่าสุด โดย aventure1
ดันกระทู้ 

 8 
 เมื่อ: เมษายน 30, 2024, 09:58:37 am 
เริ่มโดย todaytimepost11 - กระทู้ล่าสุด โดย todaytimepost11
ขออนุญาต อัพเดทกระทู้

 9 
 เมื่อ: เมษายน 30, 2024, 08:17:40 am 
เริ่มโดย aventure1 - กระทู้ล่าสุด โดย aventure1
ดันกระทู้ 

 10 
 เมื่อ: เมษายน 30, 2024, 06:10:39 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.



พระพุธ : เทพเจ้าแห่งความเฉลียวฉลาดในอินเดีย แต่เป็นเทพเจ้าแห่งวาจาและการพาณิชย์ในไทย

“พระพุธ” ไม่เพียงเป็นเทพเจ้าประจำดาวพุธ และเทพผู้ครองวันพุธแต่เพียงเท่านั้น แต่ตามความเชื่อของพ่อพราหมณ์ในอินเดียนั้น ท่านยังเป็นเทพเจ้าแห่งความเฉลียวฉลาดอีกด้วย

ตามปรัมปราคติของพวกพราหมณ์-ฮินดู เล่าว่า “พระพุธ” ทรงเป็นผู้บุตรของพระโสมะ ซึ่งก็คือ “พระจันทร์” (แน่นอนว่า พระจันทร์ของพวกพราหมณ์เป็นผู้ชาย) กับนางตารา แต่บางตำราก็ว่า พระพุธเป็นบุตรของนางโรหิณี ซึ่งเป็นพระชายาองค์โปรด ในบรรดาชายาทั้ง 27 องค์ของพระจันทร์ต่างหาก

แต่ตำนานที่ว่าเป็นบุตรของนางตารานั้น มีเนื้อหาที่น่าจับใจกว่ามาก เพราะมีรายละเอียดในท้องเรื่องว่า นางตารานั้นไม่ใช่ชายาของพระจันทร์มาแต่เดิม มเหสีของพระพฤหัสบดี เป็นพระจันทร์ท่านไปฉุดคร่าเอาเมียของดาวครูอย่าง พระพฤหัสบดีมาเฉยๆ เสียอย่างนั้น และเมื่อเกิดเรื่องดังนั้นแล้ว พระพฤหัสบดีก็ไปขอเมียคืนจากพระจันทร์อย่างสุภาพชน

แต่พระจันทร์ได้ประกอบพิธีราชสูยะ (คืองานเถลิงราชย์พระราชา ให้เป็นใหญ่เหนือราชาทั้งปวง) ไปก่อนหน้านั้นแล้ว จึงมีฤทธิ์มากขึ้นกว่าแต่ก่อน

แน่นอนว่า พระจันทร์ย่อมไม่ยอมคืนให้ เรื่องราวจึงกลายเป็นมหากาพย์ที่ใหญ่โตขึ้นกว่าจะเป็นแค่เรื่องในมุ้งของเทวดาเพียงสองสามองค์ จนถึงขนาดเทพเจ้าผู้เป็นใหญ่อย่างพระพรหมต้องออกหน้ามาไกล่เกลี่ยให้ พระจันทร์ก็ยังดื้อ ไม่ยอมคืนนางตาราให้กับพระพฤหัสบดี คราวนี้จึงได้เกิดสงครามของเหล่าเทพเจ้าขึ้นในระดับมหากาพย์

“พระศุกร์” ซึ่งทรงหมั่นหนังหน้ากับพระพฤหัสบดี ด้วยท่านเป็นพระครูของเจ้าแห่งอสูร อย่างท้าวพลีสูร (ในขณะที่พระพฤหัสบดีเปรียบได้กับปุโรหิตของเหล่าเทวดา) ตามปรัมปราคติพราหมณ์ ก็ย่อมเข้าข้างพระจันทร์ เช่นเดียวกับบรรดาสานุศิษย์ของพระศุกร์ ไม่ว่าจะเป็น อสูร แทตย์ และทานพ (สองชนิดหลังนี่ที่จริงแล้วทั้งคู่ต่างก็เป็นอสูรประเภทหนึ่งนั่นเอง)


@@@@@@@

ในขณะเดียวกันบรรดาเทวดา ที่นำโดยราชาแห่งเทพอย่าง “พระอินทร์” ก็ย่อมต้องเข้าข้างพระพฤหัสบดี ดังนั้น จึงเกิดเป็นสงครามสวรรค์ครั้งยิ่งใหญ่ รบกันไปรบกันมา โดยไม่ทราบความเสียหาย เพราะไม่มีนักข่าวสำนักไหนรายงาน พระพรหมท่านก็ทรงห้ามทัพได้สำเร็จ สุดท้ายพระจันทร์ก็ทรงต้องจำยอมคืนนางตารา กลับสู่อ้อมอกของพระพฤหัสบดีท่านแต่โดยดี

แต่ปรากฏว่าคืนไม่คืนเปล่า พระจันทร์ยังได้ทรงมอบของแถมให้กับพระพฤหัสบดี คือลูกน้อยๆ ในท้องของนางตาราด้วย แน่นอนว่า เจ้าหนูน้อยคนนั้นชื่อว่า “พระพุธ” ไม่อย่างนั้นผมคงไม่บอกไว้ตั้งแต่ต้นว่า พระพุธเป็นผู้บุตรของพระจันทร์

แต่ก็ไม่มีตำนานฉบับไหนระบุไว้ว่า ระหว่างพระพฤหัสบดี นางตารา และพระพุธ จะมีปัญหาภายในครอบครัวใดๆ อันเกิดแต่สงครามชิงนางครั้งนั้นหรอกนะครับ แถมพระพฤหัสบดีท่านยังใจดีกับเด็กน้อยพระพุธ เพราะนอกจากจะยอมเลี้ยงดูแล้ว ยังสั่งสอนศิลปวิทยาการต่างๆ ให้จนหมดไส้หมดพุง (ย้ำอีกทีว่า พระพฤสบดีนั้นเป็นดาวครู) จนเมื่ออายุครบ 30 ปีพระพุธก็จดจำศาสตร์ได้ทุกแขนง แล้วกลายเป็นเทพเจ้าแห่งความฉลาดปราดเปรื่องไปนั่นเอง

ปรัมปราคติเกี่ยวกับพระพุธ (ที่หาอ่านได้ยากเย็น) ยังมีที่สำคัญอยู่อีกเรื่องหนึ่งก็คือ เรื่องของนางอิลา ซึ่งอันที่จริงแล้วนางงามนางนี้ เดิมทีนั้นเป็นผู้ชาย เรื่องของเรื่องก็คือ มีกษัตริย์อยู่องค์หนึ่งชื่อ “ท้าวอิลราช” ได้เสด็จประพาสป่า แล้วหลงเข้าไปในดินแดนลับแลของพระอิศวร ซึ่งขณะนั้นกำลังหยอกเย้ากับพระแม่อุมา ด้วยการจำแลงพระวรกายเป็นหญิงอยู่ แต่ด้วยพลังเวทย์อันรุนแรงของพระองค์ ทำให้อะไรต่อมิอะไรในดินแดนนั้นก็กลายเป็นหญิงไปทั้งหมดด้วย แน่นอนว่า ท้าวอิลราช และคณะผู้ติดตามก็ไม่รอด

เมื่อคณะของท้าวอิลราชกลายเป็นผู้หญิงกันยกชุดก็ตกใจเป็นอย่างมาก จึงพากันไปเข้าเฝ้าพระอิศวร แต่พระอิศวรกริ้วหนัก (คงเพราะพวกท้าวอิลราชไปขัดพระเกษมสำราญ) จึงไม่แก้คำสาปให้ แต่ยังดีที่พระแม่อุมามีจิตเมตตา จึงผ่อนผันโทษให้ โดยให้เป็นชาย 1 เดือน หญิง 1 เดือนสลับกันไป ขณะที่เป็นชายก็ให้ลืมเรื่องราวตอนเป็นหญิง ส่วนในขณะที่เป็นหญิงก็ลืมเรื่องขณะที่เป็นชายเสียให้สิ้น ที่สำคัญคือเมื่อเป็นหญิงจะมีความงามเป็นเลิศ และมีชื่อว่า “นางอิลา”




พระพุธจะเข้ามามีบทบาทในท้องเรื่องก็ตอนต่อจากนี้แหละครับ เพราะต่อมาพวกนางอิลาได้หลงทาง (อีกแล้ว) ไปยังบริเวณที่พระพุธบำเพ็ญตบะอยู่ เมื่อพระพุธได้พบนางอิลาก็ตะลึงในความงามจนถึงขึ้นตบะแตก และสุดท้ายก็ได้นางอิลาเป็นเมีย จนที่สุดนางอิลาก็มีโอรสพระองค์น้อยๆ ให้กับพระพุธ

แน่นอนที่พระพุธย่อมทรงทราบดีว่า นางอิลา เป็นผู้ชายคือ ท้าวอิลราช มาก่อน ต่อมาพระพุธจึงทรงรวบรวมสมัครพรรคพวกไม่ว่าฤๅษีชีพราหมณ์ มาร่วมกันประกอบพิธีอัศวเมธ เพื่อล้างบาปให้กับนางอิลา

“พิธีอัศวเมธ” คือการปล่อยม้าสำคัญ โดยมีกองทัพเดินทางตามไปหนึ่งปี ถ้าม้าตัวนั้นเข้าไปในอาณาเขตของดินแดนใด ผู้ครองแคว้นต้องแสดงความเคารพ ไม่อย่างนั้นก็ต้องเปิดศึกสงครามกับกองทัพที่ตามหลังม้ามา เมื่อครบหนึ่งปีก็ต้อนม้ากลับเมือง แล้วฆ่าเจ้าม้าตัวนั้นเพื่อบูชายัญ (ดังนั้น ผมจึงไม่แน่ใจว่านี่เป็นการล้างบาป หรือทำบาปเพิ่ม?)

แปลกดีที่พระอิศวรกลับปลื้มปีติกับการที่พระพุธประกอบพิธีนี้เสียอย่างจงหนัก จนถึงขนาดถอนคำสาปให้นางอิลา กลับเป็นท้าวอิลราชตามเดิมมันเสียอย่างนั้น เอาเป็นว่าอย่าไปเดาพระทัยของเทพเจ้ากันเลยครับ ก็แค่ใจมนุษย์ก็เดากันไม่ค่อยจะออกแล้ว

แต่เรื่องของพระพุธที่คนไทยรู้จักกันมากที่สุดคงไม่ใช่ทั้งสองเรื่องที่ผมเล่ามาข้างต้น เพราะส่วนใหญ่แล้วจะรู้จักกันในฐานะเทพนพเคราะห์ (คือเทพเจ้าประจำดวงดาวสำคัญทั้งเก้า) ซึ่งสัมพันธ์อยู่กับเรื่องโหราศาสตร์มากกว่า


@@@@@@@

ตำราโหราศาสตร์ทั้งหลาย ที่ก็แต่งกันขึ้นมาในอุษาคเนย์ แถมเผลอๆ ก็มีที่มาจากในประเทศไทยเองนี่แหละ ระบุว่า พระอิศวรสร้าง ‘พระพุธ’ ขึ้นมาจากช้าง 17 ตัว (ไม่รู้ว่าเป็นตัว หรือเป็นเชือก เพราะตำราไม่ได้ระบุว่าเป็นช้างที่ผ่านการฝึกมาหรือยัง? เพราะช้างป่านับเป็นตัว ส่วนช้างฝึกนับเป็นเชือก) เอามาป่น แล้วปะพรมน้ำมนต์จนเกิดเป็นเทพบุตรคือ “พระพุธ” ที่มีพระวรกายสีเขียวมรกตขึ้นมา

ความตรงนี้ต่างจากปรัมปราคติของพราหมณ์อินเดียที่ว่า พระพุธ ทรงได้ชื่อว่า “ศยามานฺคะ” เพราะมีพระวรกายสีดำ แถมนี่ยังไม่ใช่ความแตกต่างเพียงอย่างเดียวของพระพุธในไทย กับอินเดียอีกด้วยนะครับ

เพราะตามคติไทยจะเชื่อว่าพระพุธนั้นทรง “ช้าง” เป็นพาหนะ แถมยังทรง “ขอสับช้าง” เอาไว้ในพระหัตถ์ข้างหนึ่งเสมอด้วย (ซึ่งก็ไม่แปลกอะไรนัก เมื่อคำนึงถึงการที่ถูกพระอิศวรปลุกเสกขึ้นมาจากช้างแทบจะยกโขลง) แต่พระพุธในอินเดียจะทรงกริช, คทา และดาบ โดยมีราชสีห์เป็นพาหนะ

ในตำราโหราศาสตร์ของไทยยังถือด้วยว่า พระพุธเป็นเทพเจ้าแห่งวาจา และการพาณิชย์ นี่ก็ต่างไปจากอินเดียที่ถือว่าพระองค์เป็นเทพแห่งความเฉลียวฉลาดอย่างที่ผมบอกไว้ตั้งแต่ในย่อหน้าแรกของข้อเขียนชิ้นนี้ต่างหาก

เอาเข้าจริงแล้ว ถึงภูมิภาคอุษาคเนย์ และไทยเราจะอิมพอร์ตเทพเจ้าและปรัมปราคติต่างๆ จากอินเดียเข้ามามาก แต่ก็มีการปรับเปลี่ยนตามความเชื่อ หรือคตินิยมของเราเองอยู่บ่อยครั้ง จนแตกต่างไปจากความเชื่อดั้งเดิมของชมพูทวีป

เรื่องราวของอะไรที่เรียกว่า “พระพุธ” ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งในนั้น •


 


ขอขอบคุณ :-
ที่มา : มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 26 เมษายน - 2 พฤษภาคม 2567
คอลัมน์ : On History
ผู้เขียน : ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ
เผยแพร่ : วันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน พ.ศ.2567
URL : https://www.matichonweekly.com/column/article_763791

หน้า: [1] 2 3 ... 10