ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ตาปะขาวชีผ้าขาว..ตนหล่อ 'พระพุทธชินราช'  (อ่าน 3299 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


ตาปะขาวชีผ้าขาว..ตนหล่อ 'พระพุทธชินราช'
ตาปะขาว ชีผ้าขาวพระอินทร์นฤมิตรตนหล่อ 'พระพุทธชินราช' : ท่องไปในแดนธรรม เรื่องและภาพ โดยไตรเทพ ไกรงู

      วัดตาปะขาวหาย ต.หัวรอ หรือ ศีรษะรอ ในโฉนดที่ดินเก่า อ.เมืองพิษณุโลก แต่อดีตบางครั้งเรียกว่า วัดชีปะขาวหาย หรือ วัดชีผ้าขาวหาย เป็นวัดในตำนานประวัติศาสตร์การสร้างพระพุทธชินราช ปรากฏในพงศาวดารเหนือ ปรากฏความตอนหนึ่งว่า พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก เจ้าเมืองเชียงแสน โปรดให้จ่าการบุญ และจ่านกร้อง สองทหารเอก มาหาที่สร้างเมืองใหม่ทางทิศตะวันตกของเขาสมอแคลง และเสด็จมาถึงในยามพิษณุ จึงตั้งชื่อว่า “เมืองพิษณุโลก”

     ในครั้งนั้นทรงมีพระราชศรัทธาหล่อ ๓ องค์ คือ พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา
     แต่พระพุทธชินราช หล่อไม่สำเร็จ ทองแล่นไม่สมบูรณ์ ถึง ๓ ครั้ง
     จึงทรงตั้งสัตยาธิษฐานเสี่ยงบุญบารมี รักษาอุโบสถศีล บำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐาน

     ดังที่ปรากฏในตำนานพงศาวดารเหนือ กล่าวว่า

     “ท้าวสักกะรินทร์เทวราช (พระอินทร์) นฤมิตรตน เป็นชีผ้าขาว มาช่วยปั้นและหล่อพระพุทธชินราชจนแล้วเสร็จ มีพุทธลักษณะงดงามเป็นหนึ่งในสยาม พร้อมกับทำสัญลักษณ์ คือ ตรีศูล ไว้ที่พระพักตร์ เฉกเช่น ทิพย์เนตรของพระองค์ เมื่อวันพฤหัสบดีขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะเส็ง นพศักราช ๓๑๙ แล้วเดิน ออกประตูเมืองด้านทิศเหนือ เมืองพิษณุโลก" (วัดโพธิญาณ ตำบลหัวรอ กรุพระนางวัดโพธิ์ (นางโรงทอ) พิมพ์มีหู และไม่มีหู และพระพิมพ์ชินราชซุ้มเส้นคู่ เนื้อชิน อันโด่งดัง )

      เมื่อพอถึงหมู่บ้านตำบลหนึ่งก็หายตัวไป จึงเป็นที่มาของนาม บ้านตาปะขาว และปรากฏตำนานศาลาช่องฟ้า ที่เล่าขานว่า ฟ้าเปิดเป็นช่องเหนือศาลาไม้และบ่อน้ำโบราณ เหนือวัดตาปะขาวไปราว ๘๐๐ เมตร ขณะชีผ้าขาวหายตัวไป มีแสงพุ่งขึ้นไปตรงช่อง จึงเรียกว่า ศาลาช่องฟ้า และมีการสร้างเทวรูป เทพตาปะขาวหายไว้สักการบูชาทั้ง ๒ แห่ง



     วัดตาปะขาวหาย บางครั้งนิยมเรียกว่า “วัดเตาไห" หรือเรียกเพี้ยนมาเป็น "เต่าไห"
     เนื่องจากเป็นชุมชนโบราณริมแม่น้ำน่านฝั่งตะวันออก เป็นแหล่งผลิต เครื่องปั้นดินเผา ประเภท ชาม ครก และ ไห เนื้อแกร่ง ลายอุมาแต่โบราณ มีการขุดสำรวจ ระหว่าง พ.ศ.๒๕๐๘-๒๕๒๗ พบแหล่งโบราณคดี เตาเผาไห แบบเตาทุเรียง สมัยสุโขทัย กว่า ๕๐ เตา ตลอดริมน้ำน่านหน้าวัดตาปะขาวหาย


     นอกจากนี้ยังมีการสำรวจพบซากเรือสำเภาใต้อ่าวไทย พบเครื่องปั้นดินเผาลายอุ จากเตาไห จึงได้ภูมินามของ “บ้านเตาไห” มาจนทุกวันนี้ และเป็นสถานที่พักทัพที่จะเข้าล้อมตีเมืองพิษณุโลกทางด้านเหนือมาแต่สมัยอยุธยา จนถึงธนบุรี

     ศูนย์พิษณุโลกศึกษา โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาภาคเหนือ ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นที่ตำบลหัวรอ ได้ร่วมกับภาคประชาสังคม อาทิ เทศบาลตำบลหัวรอ สภาวัฒนธรรมตำบลหัวรอ ได้จัดการเสวนาภูมิปัญญา ประชาคมหัวรอ-เตาไห ครั้งที่ ๑ ขึ้น ในวันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๕๖ (ตรงกับวันยุทธหัตถีของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช) ณ ห้องโสตทัศนศึกษา โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาภาคเหนือ โดยระดมสรรพกำลังองค์ความรู้จากผู้อาวุโสและปราชญ์ชาวบ้านตลอดจนผู้ทรงคุณวุฒิด้านประวัติศาสตร์ของเมืองพิษณุโลก อาทิ

     ดร.ปรีชา เรืองจันทร์ ผู้ว่าฯ พิษณุโลก จ.ส.อ.ดร.ทวี บูรณะเขตต์ (คนบ้านเตาไห) ร.ศ.ดร.มังกร ทองสุขดี อ.ขวัญทอง สอนศิริ (ครูโจ้)  ผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์และศิลปะพระเครื่องเมืองพิษณุโลก เป็นต้น ร่วมเสวนาจากมติอดีตสู่ปัจจุบันของภูมิปัญญาประชาคมหัวรอ-เตาไห
     เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้สู่การขับเคลื่อน สืบสานการพัฒนาแก่ชุมชนประวัติศาสตร์ หัวรอ-เตาไห-เทพตาปะขาวหาย ไปสู่แหล่งท่องเที่ยวทางศาสนา โบราณคดี และวัฒนธรรม ของเมืองพิษณุโลกสืบต่อไป



พระกรุดวัดตาปะขาวหาย
      วัดตาปะขาวหาย ยังปรากฏพบสกุลพระเครื่องที่พบจากวัดเก่าที่พังลงแม่น้ำน่าน สกุลพระพิมพ์หลวงพ่อโต พิมพ์เนื้อดินละเอียดมาก ปางสมาธิ ประทับนั่งบนฐานบัวคว่ำบัวหงาย สองชั้น พุทธลักษณะทรงพิมพ์ เดี่ยวกันพระหลวงพ่อโต กรุบางกระทิง อยุธยา

      แต่ปรากฏพบเฉพาะพิมพ์ปางสมาธิเท่านั้น ส่วนลวงพ่อโต กรุบางกระทิง มีทั้งพิมพ์ปางสมาธิและพิมพ์ปางมารวิชัย แต่หลวงพ่อโต กรุวัดตาปะขาวหาย มีพุทธศิลป์ที่งดงามกว่าและมีขนาดเล็กกว่า พบ ๓ พิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และพิมพ์เล็ก มีพุทธคุณสูงส่งเป็นยิ่งนัก และเป็นสุกลพระหลวงพ่อโตยอดนิยมอันดับหนึ่งของเมืองไทย

      รวมทั้งปรากฏพบพระปิดตา พิมพ์สามเหลี่ยมเนื้อผง และเนื้อโลหะผสม ซึ่งพระปิดตายอดนิยมของเมืองพิษณุโลกมี ๒ พิมพ์ คือ พิมพ์แขนหักศอก กับพิมพ์แขนกลม รวมทั้งพระพิมพ์สี่เหลี่ยมซุ้มประภามณฑล เนื้อผงขาวและผงดำ ส่วนเนื้อโลหะผสมพบน้อยมาก และพระพิมพ์นาคปรก สมาธิเพชร บนขนดนาคสามชั้น เนื้อผงพุทธคุณขาวและเนื้ออมเขียว มีพิมพ์หลังเรียบ กับหลังยันต์ นะชาลีติ

     ทั้งนี้ ท่านพระครูต่วน อดีตเจ้าอาวาสวัดตาปะขาวหาย (เกิด พ.ศ.๒๔๑๗ อุปสมบท พ.ศ.๒๔๓๙ มรณภาพ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ สิริอายุ ได้ ๕๓ ปี ๓๑ พรรษา) สร้างขึ้น มีทั้งที่แจกสมนาคุณร่วมสร้างมณฑปรอยพระพุทธบาทจำลอง หลังคาจัตุรมุข และหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ชัยนาท

    ซึ่งคุ้นเคยกับท่านพระครูต่วน ได้มีเมตตาร่วมสร้างมณฑปและปลุกเสกพระพิมพ์เนื้อผงและโลหะให้ท่านพระครูต่วนในราว ปี พ.ศ.๒๔๖๔ และได้นำออกแจกและนำบรรจุกรุ หมู่เจดีย์รายด้านเหนือมณฑป ซึ่งมีการลักลอบขุดกรุแตกออกมาเป็นระยะๆ นับแต่ปี พ.ศ.๒๕๐๕ เป็นต้นมา และพระเครื่องที่นิยมแสวงหากันมากยอดนิยมของเมืองพิษณุโลกเพราะมีพุทธคุณสูงส่งเป็นยิ่งนัก


ขอบคุณภาพข่าวจาก
www.komchadluek.net/detail/20130118/149644/ตาปะขาวชีผ้าขาวตนหล่อพระพุทธชินราช.html#.UPyrePLjrRd
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

sinjai

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 144
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ตาปะขาวชีผ้าขาว..ตนหล่อ 'พระพุทธชินราช'
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มกราคม 22, 2013, 10:08:42 am »
0
ผู้ปิดทอง หลังพระ ไม่ใช่ ผู้สร้างพระที่ไม่ประสงค์ออกนาม

 เป็นเรื่องมหัสจรรย์ สำหรับการสร้างพระสมัยนั้น จริง ๆ

 :13: st11 st12
บันทึกการเข้า