ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: "ถีนมิทธะ" เกิดจากการบริโภคอาหาร แก้อย่างไร.?  (อ่าน 2178 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28448
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


"ถีนมิทธะ" เกิดจากการบริโภคอาหาร แก้อย่างไร.?

[๓๘๙] ข้าพระองค์(นาลกดาบส)ได้รู้ตามคำของอสิตฤาษีโดยแท้ เพราะเหตุนั้นข้าแต่พระโคดม ข้าพระองค์ทูลถามพระองค์ผู้ถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง พระองค์อันข้าพระองค์ทูลถามแล้ว ขอจงตรัสบอก มุนีและปฏิปทาอันสูงสุดของมุนีแห่งบรรพชิตผู้แสวงหาการเที่ยวไป เพื่อภิกษาแก่ข้าพระองค์เถิด

พระผู้มีพระภาคตรัสพยากรณ์ว่าเราจักบัญญัติปฏิปทาของมุนีที่บุคคลทำได้ยากให้เกิดความยินดีได้ยาก แก่ท่าน เอาเถิดเราจักบอกปฏิปทาของมุนีนั้นแก่ท่าน....

    ...............ฯลฯ..............

    "พึงเป็นผู้มีท้องพร่อง(ไม่เห็นแก่ท้อง) มีอาหารพอประมาณ มีความปรารถนาน้อย ไม่มีความโลภเป็นผู้หายหิว ไม่มีความปรารถนาด้วยความปรารถนา ดับความเร่าร้อนได้แล้วทุกเมื่อ"

     ...............ฯลฯ..............

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เราจักบอกปฏิปทาของมุนีแก่ท่าน ภิกษุผู้ปฏิบัติปฏิปทาของมุนี
    "พึงเป็นผู้มีคมมีดโกนเป็นเครื่องเปรียบ กดเพดานไว้ด้วยลิ้นแล้ว พึงเป็นผู้สำรวมที่ท้อง มีจิตไม่ย่อหย่อน และไม่พึงคิดมาก"



ที่มา : นาลกสูตรที่ ๑ (ยกมาแสดงบางส่วน)
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕  พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=9556&Z=9695
ขอบคุณภาพจาก : https://pix10.agoda.net/



อรรถกถานาลกสูตรที่ ๑๑ (ยกมาแสดงบางส่วน)

เมื่อจะทรงแสดงศีล คือ การบริโภคปัจจัยด้วยหัวข้อ โภชเนมัตตัญญุตา คือ ความรู้จักประมาณในการบริโภค และปฏิปทาตราบเท่าถึงการบรรลุพระอรหัตโดยทำนองนั้นก่อน จึงตรัสคาถาว่า
     อโนทโร มิตาหาโร อปฺปิจฺฉสฺส อโลลุโป สทา อิจฺฉาย นิจฺฉาโต อนิจฺโฉ โหติ นิพฺพุโต.
     "พึงเป็นผู้มีท้องพร่อง มีอาหารพอประมาณมีความปรารถนาน้อย ไม่มีความโลภ เป็นผู้หายหิว ไม่มีความปรารถนาด้วยความอยาก ดับความเร่าร้อนได้แล้วทุกเมื่อ."

     @@@@@@

     อีก ๔-๕ คำ จะอิ่ม ให้หยุดกิน แล้วดื่มน้ำตาม

     บทนั้นมีความดังนี้ ท่านอธิบายไว้ว่า ภิกษุเมื่อได้ปัจจัยมีจีวรเป็นต้นตามมีตามได้โดยธรรมโดยเสมอแล้ว เมื่อจะฉันอาหารพึงอย่าเห็นแก่ท้อง โดยนัยที่ท่านกล่าวไว้ว่า
    จตุตาโร ปญฺจ อาโลเป อภุตฺวา อุทกํ ปิเว อลํ ผาสุวิหาราย ปหิตตฺตสฺส ภิกฺขุโน
    "ภิกษุผู้มีความเพียร ไม่บริโภคอาหารอีก ๔-๕ คำ พึงดื่มน้ำเพื่ออยู่ผาสุก."

     ไม่ควรมีท้องพองเหมือนเครื่องสูบเต็มด้วยลม พึงป้องกันถีนมิทธะ เพราะเมาอาหารเป็นเหตุ.
     ภิกษุพึงเป็นผู้จำกัดอาหารโดยคุณและโทษด้วยการพิจารณา มีอาทิว่า
     ภิกษุพึงเป็นผู้ไม่เห็นแก่ท้องมีอาหารพอประมาณ พึงรู้จักประมาณในการบริโภค ไม่บริโภคเพื่อเล่นดังนี้.
     แม้เป็นผู้มีอาหารพอประมาณอย่างนี้ ก็พึงเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย ด้วยมีความปรารถนาน้อย ๔ อย่าง คือปัจจัย ธุดงค์ ปริยัติ และอธิคม.


     @@@@@@

     จริงอยู่ ภิกษุผู้ปฏิบัติโมเนยยปฏิปทาโดยส่วนเดียว พึงเป็นผู้มีความปรารถนาน้อยอย่างนี้.
     - ความสันโดษด้วยสันโดษ ๓ อย่าง ในปัจจัยหนึ่งๆ นั้น ชื่อว่า ความเป็นผู้ปรารถนาน้อยในปัจจัย.
     - ความที่ภิกษุผู้ทรงธุดงค์อย่างเดียว ไม่ปรารถนาว่าชนเหล่าอื่นจงรู้จักเราว่าเป็นผู้มีสติ มีธุดงค์ ดังนี้ ชื่อว่า ความเป็นผู้มีความปรารถนาน้อยในธุดงค์.
     - ความที่ภิกษุผู้เป็นพหูสูตอย่างเดียว ไม่ปรารถนาว่า ชนเหล่าอื่นจงรู้จักเราว่าเป็นผู้มีสติเป็นพหูสูต ชื่อว่า  ความเป็นผู้มีความปรารถนาน้อยในปริยัติ ดุจความปรารถนาน้อยของพระมหามัชฌันติกเถระ ฉะนั้น.
     - ความที่ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยอธิคมอย่างเดียว ไม่ปรารถนาว่า ชนเหล่าอื่นจงรู้จักเราว่าท่านผู้นี้มีสติบรรลุกุศลธรรม ชื่อว่า เป็นผู้มีความปรารถนาน้อยในอธิคม.
     ก็ความเป็นผู้ปรารถนาน้อยในอธิคมนั้น พึงทราบว่าความปรารถนานี้ ต่ำกว่าการบรรลุพระอรหัต. เพราะนี้เป็นปฏิปทาเพื่อบรรลุพระอรหัต.

     @@@@@@

     อนึ่ง แม้ภิกษุผู้มีความปรารถนาน้อยอย่างนี้ ก็ละความทะเยอทะยาน และความโลภเสียได้ด้วยอรหัตมรรค พึงเป็นผู้ไม่มีความโลภ.
     จริงอยู่ ผู้ไม่มีความโลภอย่างนี้ เป็นผู้ไม่มีความปรารถนา เพราะสละความปรารถนาเป็นต้น เป็นผู้ดับความเร่าร้อนได้แล้วทุกเมื่อ สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้หิวด้วยความปรารถนาอันใด ไม่อิ่ม ดุจเดือดร้อนเพราะหิวกระหาย
     ภิกษุเป็นผู้ไม่ปรารถนาด้วยความปรารถนานั้น และชื่อว่า เป็นผู้หมดหิว
     เพราะเป็นผู้ไม่ปรารถนา ไม่เดือดร้อน ถึงความอิ่มเต็มที่ ชื่อว่า เป็นผู้ดับความเร่าร้อนได้ คือ สงบจากความเร่าร้อนคือกิเลสทั้งปวง เพราะเป็นผู้ไม่ปรารถนา.


     ...............ฯลฯ..............

    บัดนี้ เพราะจิตเกิดขึ้นแก่พระนาลกเถระ เพราะฟังคาถาเหล่านี้ว่า ชื่อว่า ปฏิปทาของมุนีมีเพียงเท่านี้ ก็ทำได้โดยง่าย ไม่ยากนัก สามารถบำเพ็ญได้ด้วยความลำบากเล็กน้อย ดังนี้
    ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงว่า ปฏิปทาของมุนีทำได้ยากแก่พระนาลกเถระ
    จึงตรัสคาถามีอาทิว่า โมเนยฺยนฺเต อุปญฺญิสฺสํ เราจักบอกปฏิปทาของมุนีแก่ท่านอีก.

    ในบทเหล่านั้น บทว่า อุปญฺญิสฺสํ ท่านอธิบายไว้ว่า เราจักบอก.
    ชื่อว่า ขุรธารูปโม เพราะเป็นผู้มีคมมีดโกนเป็นเครื่องเปรียบ.
    บทว่า ภเว แปลว่า พึงเป็น.

    @@@@@@

    มีอธิบายไว้อย่างไร
    ท่านอธิบายว่า ภิกษุผู้ปฏิบัติปฏิปทาของมุนี พึงประพฤติในปัจจัยทั้งหลายทำคมมีดโกนเป็นเครื่องเปรียบ เมื่อได้ปัจจัยโดยชอบธรรมแล้วบริโภค พึงรักษาจิตให้พ้นจากกิเลส เหมือนการเลียคมมีดโกนที่มีหยาดน้ำผึ้ง ย่อมรักษาลิ้นเกรงจะขาด ฉะนั้น.
    จริงอยู่ ปัจจัยทั้งหลายที่พึงได้โดยวิธีอันบริสุทธิ์ แต่ไม่อาจบริโภคได้โดยง่าย
    เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสถึง การอาศัยปัจจัยเท่านั้นไว้โดยมาก.

     @@@@@@

    กดเพดานไว้ด้วยลิ้น บรรเทาความอยากในรส

    บทว่า ชิวฺหาย ตาลุ ํ อาหจฺจ อุทเร สํยโต สิยา กดเพดานไว้ด้วยลิ้นแล้ว พึงเป็นผู้สำรวมที่ท้อง.
    ความว่า กดเพดานไว้ด้วยลิ้นบรรเทาความอยากในรส พึงเป็นผู้สำรวมที่ท้อง เพราะไม่เสพปัจจัยที่เกิดขึ้นด้วยทางอันเศร้าหมอง.

    บทว่า อลีนจิตฺโต จ สิยา พึงเป็นผู้มีจิตไม่ท้อแท้.
    ความว่า พึงเป็นผู้มีจิตไม่เกียจคร้าน เพราะทำให้มั่นคงในการบำเพ็ญกุศลธรรมเป็นนิจ.
    บทว่า น จาปิ พหุ จินฺตเย ไม่พึงคิดมาก คือ ไม่พึงคิดมากโดยวิตกถึงญาติ ชนบทและเทวดา


ที่มา : อรรถกถานาลกสูตรที่ ๑๑ 
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=388
ขอบคุณภาพจาก : https://q-ak.bstatic.com/



๒. สารีปุตตเถรคาถา คาถาสุภาษิตของพระสารีบุตรเถระ

พระสารีบุตรเถระ ครั้นสำเร็จแห่งสาวกบารมีญาณ ดำรงอยู่ในตำแหน่งพระธรรมเสนาบดีอย่างนี้แล้ว เมื่อจะทำประโยชน์แก่หมู่สัตว์ วันหนึ่งเมื่อพยากรณ์อรหัตผลโดยมุขะ คือ ประกาศความประพฤติของตนแก่เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย จึงได้กล่าวคาถาความว่า

[๓๙๖] ผู้ใดสมบูรณ์ด้วยศีล สงบระงับ มีสติ มีความดำริชอบ ไม่ประมาท ยินดีแต่เฉพาะกรรมฐานภาวนาอันเป็นธรรมภายใน มีใจมั่นคงอย่างยิ่ง อยู่ผู้เดียว ยินดีด้วยปัจจัยตามมีตามได้ ปราชญ์ทั้งหลายเรียกผู้นั้นว่าภิกษุ

      "ภิกษุเมื่อบริโภคอาหารจะเป็นของสดหรือของแห้งก็ตาม ไม่ควรติดใจจนเกินไป ควรเป็นผู้มีท้องพร่อง มีอาหารพอประมาณ มีสติอยู่ การบริโภคอาหารยังอีก ๔-๕ คำจะอิ่ม ควรงดเสีย แล้วดื่มน้ำ เป็นการสมควรเพื่ออยู่สบายของภิกษุผู้มีใจเด็ดเดี่ยว"

    อนึ่งการนุ่งห่มจีวรอันเป็นกัปปิยะ นับว่าเป็นประโยชน์ จัดว่าพอ เป็นการอยู่สบายของภิกษุผู้มีใจเด็ดเดี่ยว
    การนั่งขัดสมาธินับว่าพอ เป็นการอยู่สบายของภิกษุ ผู้มีใจเด็ดเดี่ยว
    ภิกษุรูปใดพิจารณาเห็นสุข โดยความเป็นทุกข์ พิจารณาเห็นทุกข์โดยความเป็นลูกศรปักอยู่ที่ร่าง ความถือมั่นว่าเป็นตัวเป็นตนในอทุกขมสุขเวทนา ไม่ได้มีแก่ภิกษุนั้น...ฯลฯ...



ที่มา : พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_item.php?book=26&item=396#
ขอบคุณภาพจาก : https://www.touronthai.com/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 20, 2018, 09:20:03 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

manzac0072

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: "ถีนมิทธะ" เกิดจากการบริโภคอาหาร แก้อย่างไร.?
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มิถุนายน 20, 2018, 10:26:44 am »
0
 st12 เป็นบทความที่ทรงคุณค่ามากทำให้คนท่ไม่ได้เข้าวัดเข้าวามีโอกาสได้ใกล้ชิดพระธรรม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 24, 2018, 08:02:25 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28448
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: "ถีนมิทธะ" เกิดจากการบริโภคอาหาร แก้อย่างไร.?
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มิถุนายน 21, 2018, 09:57:14 am »
0



     บุคคลผู้รู้จักประมาณในโภชนะ เป็นไฉน

    ความเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ ในข้อนั้นเป็นไฉน
    บุคคลบางคนในโลกนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้วบริโภคอาหาร ไม่บริโภคเพื่อจะเล่น ไม่บริโภคเพื่อมัวเมา ไม่บริโภคเพื่อประดับ ไม่บริโภคเพื่อตกแต่งประเทืองผิว

    บริโภคเพียงเพื่อความตั้งอยู่แห่งกายนี้ เพื่อให้กายเป็นไป เพื่อจะกำจัดความเบียดเบียนลำบาก คือ ความหิวอาหารเสีย เพื่อจะอนุเคราะห์พรหมจรรย์
    ด้วยคิดว่า ด้วยการเสพเฉพาะอาหารนี้ เราจักกำจัดเวทนาเก่าเสีย ไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้นด้วย ความที่กายจักเป็นไปได้นานจักมีแก่เรา ความเป็นผู้ไม่มีโทษความอยู่สบายด้วย จักมีแก่เรา

    ความเป็นผู้สันโดษ ความเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะนั้น ความพิจารณาในโภชนะนั้นอันใด นี้เรียกว่า ความเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ
    บุคคลผู้ประกอบแล้วด้วยความเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ นี้ชื่อว่า เป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ




ที่มา : พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๖ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๓ ธาตุกถา-ปุคคลบัญญัติปกรณ์
www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/item.php?book=36.2&item=74&items=1&preline=0&pagebreak=0
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28448
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


การประพฤติพรหมจรรย์ ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ ต้องกระทำดังนี้

[๙] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อจะเรียกนันทะให้ถูกต้อง ควรเรียกว่า ‘กุลบุตร’
    เมื่อจะเรียกนันทะให้ถูกต้อง ควรเรียกว่า ‘ผู้มีกำลัง’
    เมื่อจะเรียกนันทะให้ถูกต้อง ควรเรียกว่า ‘ผู้น่ารัก‘(๑-)
    เมื่อจะเรียกนันทะให้ถูกต้อง ควรเรียกว่า ‘ผู้มีราคะจัด‘(๒-)

ภิกษุทั้งหลาย เว้นแต่ว่า นันทะจะเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้จักประมาณในการบริโภค ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนืองๆ ประกอบด้วยสติและสัมปชัญญะ นันทะจึงจะสามารถประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ได้

    @@@@@@

    ภิกษุทั้งหลายในข้อนั้น วิธีคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย สำหรับนันทะ ดังนี้ คือ
    หากนันทะจำเป็นต้องมองดูทิศตะวันออก นันทะต้องสำรวมจิตทั้งหมด มองดูทิศตะวันออกด้วยคิดว่า
    ‘เมื่อเรามองดูทิศตะวันออกอยู่อย่างนี้ บาปอกุศลธรรม คือ อภิชฌาและโทมนัสจักครอบงำจิตของเราไม่ได้’
    นันทะต้องเป็นผู้มีสัมปชัญญะในการมองดูนั้นอย่างนี้

    หากนันทะจำเป็นต้องมองดูทิศตะวันตก ฯลฯ
    จำเป็นต้องมองดูทิศเหนือ ฯลฯ
    จำเป็นต้องมองดูทิศใต้ ฯลฯ
    จำเป็นต้องมองดูทิศเบื้องบน ฯลฯ
    จำเป็นต้องมองดูทิศเบื้องล่าง ฯลฯ
    จำเป็นต้องมองดูทิศเฉียง
    นันทะต้องสำรวมจิตทั้งหมดมองดูทิศเฉียง ด้วยคิดว่า
    ‘เมื่อเรามองดูทิศเฉียงอยู่อย่างนี้ บาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและโทมนัสจักครอบงำจิตของเราไม่ได้’
    นันทะต้องเป็นผู้มีสัมปชัญญะในการมองดูนั้นอย่างนี้
    ภิกษุทั้งหลาย นี้แล คือ วิธีคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายสำหรับนันทะ


     @@@@@@

    วิธีรู้จักประมาณในการบริโภค สำหรับนันทะ ดังนี้ คือ
    นันทะต้องพิจารณาโดยแยบคายแล้วฉันอาหาร ไม่ใช่เพื่อเล่น ไม่ใช่เพื่อความมัวเมา(๓-) ไม่ใช่เพื่อประดับ(๔-)ไม่ใช่เพื่อตกแต่ง(๕-) แต่เพื่อให้กายนี้ดำรงอยู่ได้ เพื่อให้ชีวิตินทรีย์เป็นไป เพื่อบำบัดความหิว
    เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์ ด้วยคิดเห็นว่า
    ‘โดยอุบายนี้เราจักกำจัดเวทนาเก่าเสียได้ และจักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น ความดำรงอยู่แห่งชีวิต ความไม่มีโทษและการอยู่โดยผาสุกจักมีแก่เรา’
    ภิกษุทั้งหลาย นี้แล คือวิธีรู้จักประมาณในการบริโภคสำหรับนันทะ

    @@@@@@

    วิธีประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนืองๆ สำหรับนันทะ ดังนี้ คือ
    นันทะต้องชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเครื่องกางกั้น(๖-) ด้วยการจงกรม ด้วยการนั่งตลอดวัน
    ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเครื่องกางกั้นด้วยการจงกรม ด้วยการนั่ง ตลอดปฐมยามแห่งราตรี
    สำเร็จสีหไสยาโดยตะแคงข้างขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติ-สัมปชัญญะ ทำอุฏฐานสัญญา(ความหมายใจว่าจะลุกขึ้น)ไว้ในใจ ในมัชฌิมยามแห่งราตรี
    ลุกขึ้นชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเครื่องกางกั้นด้วยการจงกรม ด้วยการนั่ง ตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรี
    ภิกษุทั้งหลาย นี้แล คือวิธีประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนืองๆ สำหรับนันทะ


    @@@@@@

    วิธีมีสติสัมปชัญญะ สำหรับนันทะ ดังนี้ คือ
    เวทนาปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏตั้งอยู่ และปรากฏดับไปแก่นันทะ สัญญาปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏตั้งอยู่ และปรากฏดับไปแก่นันทะ วิตกปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏตั้งอยู่ และปรากฏดับไปแก่นันทะ
    ภิกษุทั้งหลาย นี้แล คือ วิธีมีสติสัมปชัญญะสำหรับนันทะ

    @@@@@@

    ภิกษุทั้งหลาย เว้นแต่ว่า นันทะจะเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้จักประมาณในการบริโภค ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนืองๆ ประกอบด้วยสติและสัมปชัญญะ นันทะจึงจะสามารถประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ได้อย่างนี้แล


เชิงอรรถ :-
(๑-) ผู้น่ารัก ในที่นี้หมายถึงผู้ถึงพร้อมด้วยรูปสมบัติ (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๙/๒๑๖)
(๒-) ผู้มีราคะจัด ในที่นี้หมายถึงมีราคะมาก (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๙/๒๑๖)
(๓-) เพื่อความมัวเมา หมายถึงความถือตัว ความลำพองตน ความทะนงตน ความเห่อเหิม ในที่นี้หมายถึง ความถือตัวว่ามีกำลังเหมือนนักมวยปล้ำ ความถือตัวเพราะมานะ และความถือตัวว่าเป็นชาย(องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๕๘/๑๕๕) และดู องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๑๖/๑๕๙-๑๖๐, องฺ.ฉกฺก. (แปล) ๒๒/๕๘/๕๔๙, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๘๔๕/๕๕๐
(๔-) เพื่อประดับ ในที่นี้หมายถึงเพื่อให้ร่างกายอ้วนพีอวบอิ่มเหมือนหญิงแพศยา (องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๕๘/๑๕๕, วิสุทธิ. ๑/๑๘/๓๓)
(๕-) เพื่อตกแต่ง ในที่นี้หมายถึงเพื่อประเทืองผิวให้งดงามเหมือนหญิงนักฟ้อน (องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๕๘/๑๕๕, วิสุทธิ. ๑/๑๘/๓๓)
(๖-) ธรรมเครื่องกางกั้นในที่นี้หมายถึงนิวรณ์ ๕ ประการ คือ
     ๑) กามฉันทะ (ความพอใจในกาม)
     ๒) พยาบาท(ความคิดร้าย)
     ๓) ถีนมิทธะ (ความหดหู่และเซื่องซึม)
     ๔) อุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ)
     ๕) วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) (องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๕๑/๘๙)

อ้างอิง :-
นันทสูตร ว่าด้วยพระนันทะ
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
http://www.84000.org/tipitaka/_mcu/m_siri.php?B=23&siri=82
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 27, 2018, 08:08:52 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ