ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
    Messages   Topics Attachments  

  Messages - raponsan
หน้า: 1 ... 706 707 [708] 709
28281  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ไปวัดวันหยุด แต่ก็ไม่ได้เบิกบานจิต เมื่อ: ธันวาคม 23, 2009, 01:14:09 pm
ส่งจิตออกนอกตามชื่อกระดานนี้จริงๆ
แต่ฉันเชื่อว่าคุณนิมิต แกล้งบ่นเท่านั้นแหละเพราะฉันตามอ่านกระทู้ของคุณนิมิต แล้วก็รู้ว่าต้องเป็นผู้ศึกษาหลักธรรมมาก โดยเฉพาะการตั้งปณิธานเป็นพระสาวกภูมิ นี้ นับถือจริงๆ เพราะผู้ที่จะตัดสินใจอย่างนี้ต้องผ่านวิปัสสนาญาณถึงขัี้นนิพพิทาญาณแล้ว :P :angel: :angel: :angel:

คุณฟ้าใสครับ(สะกดผิดขออภัย)คุณกล่าวถึงนิพพิทาญาณ
หากเป็นไปได้ ช่วยตั้งกระทู้เรื่องวิปัสสนาญาณให้หน่อย
จะได้คุยกันให้กว้างกว่านี้

ขออนุโมทนากับทุกท่านที่เข้ามาแสดงความเห็นครับ
28282  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / อานิสงฆ์ของการถวาย ดอกไม้ เมื่อ: ธันวาคม 19, 2009, 11:53:47 am
ชาดกในพระไตรปิฎก มี ๕๐๐ กว่าเรื่อง ที่คุณ utapati กล่าวถึงนั้น

ผมก็ได้ฟังมาจาก อาจารย์สนธยา แต่ยังหาไม่เจอ

ส่วนคำถามของคุณนิมิต นั้น ขอตอบว่า

การถวายวัตถุทานทุกอย่าง(อามิสบูชา) มีอานิสงฆ์ทั้งนั้น

ส่วนการถวายโดยจินตนาการไว้ในใจ โดยไม่มีของสิ่งนั้นอยู่เลย

อันนี้ตอบยาก แต่ผมมีสมมุติฐานมาให้คิด คือ

หากขณะนั้น จิตเป็นกุศล มันอาจจะได้อานิสงฆ์ ก็ได้นะครับ


แต่ขอแนะนำคุณนิมิตว่า หากไม่ค่อยชอบที่จะถวาย ดอกไม้ ธูป เทียน (เหมือนผมเลย)

อนุโมทนา กับ ดอกไม้ ธูป เทียน ของคนอื่นก็ได้นะครับ ไ้ด้บุญแน่นอน

ทุกคน มีจริต นิสัย ความชอบ ไม่ชอบ ที่ต่างกันไป

มันเป็นเรื่องปรกติ แต่ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ

เป็นเรื่องที่สั่งสมมาในอดีตชาติ

แต่ปัจจุบันชาติ ลองเอาศรัทธานำดูบ้าง จะดีไหม




จากนี้เป็น ชาดก ว่าด้วยอานิสงฆ์ของการถวายดอกไม้

เชิญหาความสำราญกันได้เลยครับ

นิทานชาดก...พระสุมนปัจเจกพุทธเจ้า

 




สมัยที่องค์สมเด็จพระสมณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้ายังทรงพระชนมชีพอยู่นั้น มีชายยากจนเข็ญใจคนหนึ่ง มีอาชีพขายดอกไม้ให้แก่สำนักพระราชวังแห่งกรุงราชคฤห์มหานคร โดยมีสัญญาผูกพันว่า เขาจะต้องส่งดอกมะลิ ๘ ทะนาน ให้แก่สำนักพระราชวังแต่เช้าตรู่โดยคิดเป็นมูลค่าทะนานละ ๑ กหาปณะ เป็นประจำทุกวัน จักขาดเสียมิได้ ไม่ว่าจะกรณีใดๆ ทั้งสิ้น เขาได้อาศัยอาชีพขายดอกไม้นี้เลี้ยงดูบุตรและภรรยา ให้ได้รับความสุขตามอัตภาพนี้เรื่อยมา เช้าวันหนึ่งขณะที่เดินทางออกจากบ้านเพื่อนำเอาดอกมะลิไปส่งสำนักพระราชวัง ตามปกตินั้น พอย่างเท้าเข้าเขตพระบรมมหาราชวังก็พลันได้พบองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งแวดล้อมไปด้วยหมู่พระอริยสงฆ์สาวกเป็นจำนวนมาก กำลังเสด็จโคจรบิณฑบาตอยู่ด้วยพุทธลีลาอันงามเลิศเพริศแพร้วด้วยฉัพพัณ ณรังสีเข้าพอดี ตามธรรมดานั้นองค์พระชินสีห์สัมมาสัมพุทธเจ้าท่านย่อมทรงปกปิดพระฉัพพัณณรัง สีอันสร้านออกจากพระวรกาย ไม่มีพุทธประสงค์จักให้ใครเห็น ทรงแสดงองค์เหมือนพระภิกษุธรรมดารูปหนึ่ง ซึ่งมีปกติบิณฑบาตเป็นวัตร แต่ในบางคราว พระองค์ผู้ทรงไว้ซึ่งพระรัศมีย่อมทรงเปล่งฉัพพลัณณรังสีให้ซ่านออกจากพระ วรกายงามเพริศพริ้งพรรณรายสุดพรรณนา ดุจในคราที่เสด็จไปสู่กรุงกบิลพัสดุ์ เพื่อโปรดพระญาติทั้งหลาย และในเช้าวันนี้ก็เช่นกัน พระองค์ทรงเปล่งฉัพณณรังสีแผ่ซ่านอยู่ท่ามกลางเหล่าอริยสงฆ์หมู่ใหญ่เพื่อ เสด็จเข้าไปบิณฑบาตในพระนครราชคฤห์ ด้วยพุทธานุภาพอันยิ่งใหญ่



เมื่อชายขายดอกไม้ได้ยลโฉมแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันงามบริสุทธิ์แพรวพราวด้วยรัศมีประกอบด้วยลักษณะมหาบุรุษ ๓๒ ประการ และด้วยพระอสีตยานุพยัญชนะ ๘๐ ประการเช่นนั้น ก็พลันงงแลตะลึงครุ่นคิดคำนึงอยู่ว่า



"เราจักทำการบูชาพระพุทธองค์ด้วยอะไรดีหนอ จึงจักสมกับความเลื่อมใสอันเกิดขึ้นมากมายแก่เราในบัดนี้" เมื่อไม่เห็นสิ่งใดที่จะพึงหยิบฉวยเอาในขณะนั้นได้ทันเวลา จึงตัดสินใจว่า


"เราจักทำการบูชาพระพุทธองค์ด้วยดอกมะลิที่เราถืออยู่ในมือนี้ ถูกแล้ว! ดอกไม้เหล่านี้ เป็นดอกไม้ที่เรามีสัญญาผูกพันต้องส่งให้สำนักพระราชวัง เพื่อนำขึ้นทูลเกล้าถวายสมเด็จพระราชาธิบดีเป็นประจำทุกวัน จะขาดเสียไม่ได้ และหากทรงไม่ได้ดอกไม้เหล่านี้ จักทรงพระพิโรธโกรธเคือง แล้วจักมีพระราชดำรัสสั่งให้ขังเราไว้ในคุก หรืออาจสั่งให้ประหารชีวิตเราเสียหรืออาจจักให้เนรเทศเราเสียก็เป็นได้ สุดแล้วก็ตามแต่เวรกรรมของเราเถิด เราเกิดความเลื่อมใสขึ้นในดวงใจแล้ว จักต้องถวายดอกไม้เหล่านี้เพื่อเป็นพุทธบูชาให้ได้ คงจักมีอานิสงส์แก่เรามากมายเพราะแม้เราเอาดอกไม้ที่เรามีอยู่เพียงเท่านี้ ไปให้แก่สำนักพระราชวัง อย่างดีก็คงได้ทรัพย์เพียงเล็กน้อยสำหรับเลี้ยงชีวิตในชาตินี้เท่านั้น แต่การที่เราจักถวายดอกไม้เป็นพุทธบูชาในครานี้ย่อมจะเกิดประโยชน์โสตถิผล อำนวยความสุขความเจริญแก่เราเป็นเวลานาน ประมาณหลายแสนโกฏิกัปนัก เป็นไรเป็นกัน เราจักถวายบุปผทาน แด่องค์อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในกาลบัดนี้!"



เมื่อคิดสละชีวิตเพื่อจักถวายบุปผทานแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเช่น นี้เล้ว ก็มีจิตผ่องแผ้วโสมนัส เกิดปีติซึมซาบเอิบอาบใจขึ้นเป็นทับทวี แล้วก็เริ่มถวายบุปผทานเพื่อเป็นการบูชาพระพุทธองค์



ชายเข็ญใจน้อมกายถวายนมัสการเฉพาะพระพักตร์แล้ว จึงซัดดอกมะลิ ๒ ทะนาน ขึ้นไปในอากาศเบื้องบนแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว บัดนั้น เกิดอัศจรรย์ขึ้นทันใด บรรดาดอกมะลิทั้งหลายเหล่านั้น ได้พากันคลี่คลายขยายกลีบบานสะพรั่งแล้วเรียงรายขยายแถวเสมอกัน เป็นเพดานกั้นอยู่บนอากาศเบื้องพระเศียรแห่งสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า โดยมิได้ล่วงหล่นลงมายังพื้นพสุธาเหมือนดั่งดอกไม้ธรรมดาที่บุคคลขว้างปา ทั่วไปไม่ เมื่อเขาได้เห็นความอัศจรรย์ดังนั้น ก็ซัดดอกมะลิเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาไปอีก ๒ ทะนาน ดอกไม้เหล่านั้นลอยขึ้นไปในอากาศตามกำลังโยนซัดแล้ว ก็ค่อยๆ ขยายกลีบบานและลอยลงมา เรียงแถวประดิษฐานอยู่ ณ ข้างพระหัตถ์เบื้องขวาแห่งสมเด็จพระพุทธองค์อีกเช่นกัน เขาจึงซัดดอกไม้เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาอีก ๒ ทะนาน ดอกไม้เหล่านั้นก็พลันลอยขึ้นไปในอากาศ แล้วค่อยๆ ขยายกลีบบานสะพรั่งและลอยลงมาเรียงแถวประดิษฐานอยู่ข้างหลังพระพุทธองค์ และเมื่อเขาซัดดอกมะลิไปเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาเป็นครั้งสุดท้ายอีก ๒ ทะนาน ดอกมะลิเหล่านั้นก็ขยายกลีบคลี่บานสะพรั่ง ลอยขึ้นไปในอากาศตามกำลังซัดและลอยต่ำลงมาเรียงแถวประดิษฐาน ณ ข้างพระหัตถ์เบื้องซ้ายแห่งองค์พระชินสีห์ และลอยอยู่อย่างนั้นเป็นระเบียบด้วยดี หาได้หล่นลงสู่พื้นปฐพีไม่ และเมื่อพระองค์เสด็จพุทธดำเนินไปที่ใดดอกมะลิเหล่านั้นก็ห้อมล้อมลอยตามไป ด้วย เมื่อพระองค์หยุดดอกไม้ก็หยุดตาม ความงามแห่งพุทธลีลาเมื่อโคจรบิณฑบาตในเช้านี้ เป็นทัศนียภาพอันนำมาซึ่งความเลื่อมใสศรัทธาแห่งประชาชนผู้ได้พบเห็น ทั้งยังทรงเปล่งพระฉัพพัณณรังสีออกซ่านทั่วพระวรกายยังความอัศจรรย์ใจแก่ ประชาชนทั้งหลายเป็นยิ่งนัก



ฝ่ายนายมาลาการผู้เข็ญใจ ผู้ถวายดอกไม้เป็นพุทธบูชาสำเร็จเป็นทิฏฐธัมมเวทนียกรรมฝ่ายกุศลแล้ว ก็มีจิตผ่องแผ้วปีติยิ่งกว่าผู้อื่น เดินน้ำตาไหลด้วยความปลาบปลื้มใจตามสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าไปอย่างไม่รู้ ตัว พอได้สตินึกขึ้นได้ว่าตนลืมกระเช้าดอกไม้ไว้ก็รีบวิ่งกลับมาถือเอากระเช้า เปล่ากลับไปบ้านตน เมื่อถูกภรรยาถามว่า



"ข้าแต่สามี! เหตุไฉนวันนี้ท่านจึงกลับมาเร็วเหลือเกินไม่เหมือนวันก่อนๆ ท่านเอาดอกไม้ไปส่งสำนักพระราชวังเรียบร้อยแล้วหรือประการใด?" จึงตอบขึ้นด้วยความภาคภูมิใจว่า



"ดูกรภรรยาที่รัก! วันนี้เราไม่ได้ไปส่งดอกไม้ยังพระราชวังดังเคย เพราะเราเกิดความเลื่อมใสจึงได้ถวายดอกมะลิเป็นพุทธบูชาแด่องค์สมเด็จพระ สัมมาสัมพุทธเจ้าจนหมดสิ้นจนไม่มีเหลือแม้แต่ดอกเดียว"



"อ้าว! แล้วกัน ทำไมทำเช่นนั้นเล่า เจ้าก็รู้อยู่ว่าจักต้องมีความผิด เพราะเรามีสัญญาว่าจะต้องมีดอกไม้ส่งถวายพระราชาทุกวันเป็นประจำ หากเป็นเช่นนี้จักต้องได้รับโทษประหารชีวิตอาจต้องถึงคอขาด ๗ ชั่วโคตร ก็เป็นได้"



"ผิดก็ผิดๆ ไป! จะทำอย่างไรได้เล่า เพราะเราเกิดความศรัทธาเลื่อมใสในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหลือเกิน จึงได้ถวายดอกไม้เป็นพุทธบูชา เมื่อในหลวงไม่ได้รับดอกไม้จากเราแล้ว จักทรงพิโรธรับสั่งให้เรารับโทษอย่างรุนแรงถึงขั้นประหารชีวิตเราก็ยอม! นี่แน่ะ! ดอกไม้ที่เราถวายแด่องค์พระชินสีห์ผู้เป็นองค์อรหันต์ มีอาการประหลาดน่าอัศจรรย์ ผู้คนได้พบเห็นต่างก็แซ่ซ้องก้องเป็นที่โกลาหลด้วยความปีติยินดีเจ้าไม่ได้ ยินบ้างหรือ? ขอเจ้าจงยังจิตให้ปสันนาการเลื่อมใสในทานร่วมกันกับเราด้วยเถิด"



ภรรยาของนายมาลาการผู้มีสันดานอันธพาลหาได้ยินดีด้วยไม่ กลับออกเสียงด่าลั่นตวาดว่า



"ร่วมยินดีกับเจ้าให้ข้าคอขาดด้วยนะซี่ ใครจะไปยอมร่วมด้วย เจ้าโง่! เจ้าจงรอความตายอยู่คนเดียวเถิดเจ้างั่ง! xxxคนไม่มีเงาหัวเอ๋ย เรายังไม่อยากตายและจะไม่ยอมตายกับเจ้าในครั้งนี้เป็นอันขาด"



ว่าแล้วก็รีบเก็บข้าวของเสื้อผ้าอันเป็นสมบัติแห่งตนจนหมดสิ้น ด้วยความประสงค์ว่าจะไปแจ้งความแก่พระราชาให้ทรงทราบไว้ก่อนว่า ตนหย่าขาดมิได้เกี่ยวข้องเป็นภรรยาแห่งสามีผู้หน้าโง่ผู้จักต้องเป็นนักโทษ ประหารในอนาคตแล้ว ครั้นไปถึงราชสำนักและเมื่อถูกพระเจ้าพิมพิสารผู้เป็นพระราชาซักถามก็กราบ บังคมทูลว่า

 

"ข้าแต่องค์ราชา! สามีของหม่อมฉันซึ่งมีหน้าที่ต้องเอาดอกไม้มาส่งยังพระราชสำนักเป็นประจำทุก วัน เช้าตรู่วันนี้ เขามีจิตโมหันธ์บ้าศรัทธาเอาดอกไม้สำหรับทูลเกล้าถวาย ไปทำการบูชาพระศาสดาสมณโคดมเสียจนหมดสิ้น ไม่สามารถที่จะหาดอกไม้ที่ไหนมาทูลเกล้าถวายพระองค์ได้อีก หม่อมฉันมีความเสียใจและเกรงต่อราชภัยจึงได้ด่าว่าเขาอย่างหนัก แต่เขากับตอบว่า ขอยอมตายแม้จักต้องราชภัยก็ตามเพียงขอให้เขาได้ถวายดอกไม้เพื่อเป็นพุทธบูชา แด่องค์สมเด็จพระสมณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้นก็พอใจแล้ว ฉะนั้น ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป การกระทำของเขาไม่ว่าจะเป็นการกระทำดีหรือชั่วก็ตาม ก็ขอจงเป็นของเขาแต่เพียงผู้เดียวเถิด หม่อมฉันไม่ยอมรับผิดชอบด้วย ขอพระองค์จงรับทราบด้วยเถิด หม่อมฉันกับสามีได้หย่าขาดจากกันแล้ว"



อันสมเด็จพระเจ้าพิมพิสารราชาธิบดี ซึ่งเป็นพระบรมมหากษัตริย์แห่งกรุงราชคฤห์มหานครนี้ พระองค์ทรงได้บรรลุพระโสดาปัตติผล สำเร็จเป็นพระอริยบุคคลขั้นพระโสดาบันในพระบวรพุทธศาสนาตั้งแต่ครั้งที่ พระองค์ได้พบเห็นและสดับฟังพระธรรมเทศนาของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็น ครั้งแรก ด้วยเหตุนี้พระองค์จึงมีจิตเลื่อมใสคงมั่นในพระรัตนตรัยอย่างไม่หวั่นไหว สั่นคลอน ยิ่งกว่าปุถุชนคนธรรมดาสามัญ เมื่อสดับฟังคำกราบบังคมทูลของหญิงผู้เข็ญใจไร้ปัญญาเช่นนั้น ก็พลันเกิดความสังเวชสลดพระทัยเป็นยิ่งนักด้วยว่า นายมาลาการผู้ยากเข็ญอุตส่าห์ประกอบกรรมดีอันเป็นมหากุศล โดยได้ถวายบุปผทานแด่องค์สมเด็จพระทศพลเป็นอัศจรรย์ปานนี้ แทนที่จะยินดีอนุโมทนากลับเห็นว่าเป็นโทษเป็นผิด เพราะคิดเห็นแต่ประโยชน์ส่วนตัวมากไป อีกนานสักเท่าใดหนอ สันดานของหญิงนี้จึงจักดีขึ้น ทรงสังเวชพระทัยแล้วแกล้งทำเป็นอากัปกิริยาดั่งว่าโกรธเคือง แล้วตรัสถามด้วยสุรเสียงอันดังว่า



"ไฉน! สามีเจ้าจึงทำเช่นนั้น ดีแล้วเจ้าทอดทิ้งไม่เกี่ยวข้องกับคนเช่นนี้เป็นการดีแล้ว ทีนี้ก็เป็นหน้าที่ของเราเอง ที่จะได้พิจารณาว่าจักทำประการใด แก่เจ้าคนซึ่งมีน้ำใจขบังอาจเอาดอกไม้ของข้าไปทำการบูชาแด่องค์สมเด็จพระ สัมมาสัมพุทธเจ้า เอาล่ะเจ้าไปได้แล้ว"



เมื่อรับสั่งแล้วพระเจ้าพิมพิสารก็รีบเสด็จไปยังถนนที่สมเด็จพระชินสีห์ กำลังเสด็จบิณฑบาตอยู่พร้อมกับหมู่อริยสงฆ์ทั้งหลาย เมื่อได้ทรงทอดพระเนตรเห็นพระพุทธองค์ซึ่งทรงดำเนินไปด้วยพุทธานุภาพอันมี เหล่าดอกมะลิลอยตามรายล้อม ดังนั้นก็ให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธายิ่งนัก ครั้นสมเด็จพระพิชิตมารเสด็จไปยังประตูพระบรมมหาราชวังจึงเสด็จเข้าไปรับ บาตรจากพระหัตถ์แล้วทรงอาราธนาให้เสด็จเข้าไปในปราสาท แต่สมเด็จพระพุทธองค์หาได้เสด็จเข้าไปตามที่ทูลไม่ หากแต่ทรงแสดงอาการว่าจะประทับที่พระลานหลวงด้วยว่าองค์สมเด็จพระสัมมา สัมพุทธเจ้าทรงดำริว่า ถ้าจักเสด็จเข้าไปในปราสาทแล้วไซร้ ประชาชนทั้งหลายผู้ติดใจใคร่จะดูซึ่งพระพุทธานุภาพ จักไม่ได้เห็นพระองค์ และอีกประการหนึ่งดอกไม้ที่ลอยเด่นอยู่รอบพระวรกายเป็นอัศจรรย์ ที่นายมาลาการผู้เข็ญใจถวายเป็นพุทธบูชานั้น บัดนี้ก็ยังปรากฎอยู่ หากพระองค์เสด็จเข้าไปในปราสาทที่รโหฐานแล้วประชาชนจะไม่ได้เห็นความ อัศจรรย์ เพราะพระพุทธองค์ต้องการให้ชื่อเสียงแห่งนายมาลาการผู้ถวายดอกไม้ปรากฎขจร ขจายไป ประชาชนจักได้ร่วมอนุโมทนาในมหากุศลครั้งนี้ของเขา ครั้นสมเด็จพระเจ้าพิมพิสารถวายภัตตาหารเสร็จเรียบร้อยแล้วก็มีรับสั่งให้นำ นายมาลาการมาเข้าเฝ้า



"เจ้าผิดสัญญา และนำดอกไม้ของเราไปบูชาสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพราะเหตุใด?"



เจ้าคนผู้เข็ญใจผู้เกรงความผิดตอบด้วยอาการตัวสั่นงันงกว่า "เพราะข้าพระองค์เกิดความเลื่อมใสศรัทธาจนอดใจไว้ไม่ได้ จึงได้ถวายดอกไม้เป็นพุทธบูชาไป พระเจ้าข้า" เมื่อได้สดับฟังพระเจ้าพิมพิสารจึงตรัสขึ้นว่า



"ตอนที่เจ้าถวายเจ้าไม่เกรงกลัวต่อราชภัยเลยหรือไรเล่า?"



"ข้าพระองค์คิดว่า พระเจ้าข้า! หากแม้นองค์ราชาไม่ได้รับดอกไม้แล้ว มาตรว่าพระองค์จักประหารชีวิตของข้าพระองค์หรือจักลงอาญาแก่ข้าพระองค์โดย ประการใดก็ตาม ข้าพระองค์ก็ยินดีที่จักรับโทษทัณฑ์นั้น ด้วยความเต็มใจ ข้าพระองค์ได้ตั้งจิตอธิษฐานว่าจักขอถวายชีวิตบูชาองค์สมเด็จพระสัมมา สัมพุทธเจ้า ด้วยการถวายดอกไม้เป็นพุทธบูชาให้ได้ในครั้งนี้ พระเจ้าข้า"



"เจ้าเป็นมหาบุรุษ เจ้าควรได้รับการยกย่องเพราะเป็นผู้มีจิตศรัทธา องอาจกล้าหาญในการบริจาคทานยิ่งนัก สมควรที่จักได้รับรางวัลจากเราผู้เป็นพระราชาในกาลบัดนี้" พระเจ้าพิมพิสารบรมกษัตริย์อริยบุคคลโสดาบันตรัสขึ้นด้วยความพอพระทัย แล้วทรงมีพระบรมราชโองการให้เจ้าพนักงานจัดหาสิ่งของให้ โดยมี ช้าง ๘ เชือก ม้า ๘ ตัว เครื่องประดับอันมีค่าและเสื้อผ้า ๘ ชุด ทาส ๘ คน ทาสี ๘ คน นารีซึ่งประดับด้วยสรรพอลังการ ๘ นาง พร้อมพระราชทานบ้านส่วย ๘ ตำบล ให้เขาดูแลจัดหาผลประโยชน์เอาเองและพระราชทานทรัพย์อีก ๘,๐๐๐ กหาปณะ



เมื่อข่าวของนายมาลาการผู้เข็ญใจรู้ไปถึงหมู่พระภิกษุสงฆ์แล้ว พระอานนทเถรเจ้าจึงกราบทูลถามสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า



"ข้าแต่พระพุทธองค์ผู้มีพระภาค! ชายเข็ญใจผู้ถวายดอกไม้เป็นพุทธบูชาในวันนี้ได้รับพระราชทานลาภยศจากพระ ราชาธิบดีเป็นอันมากในปัจจุบันชาตินี้เท่านั้นหรือพระเจ้าข้า!" สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงมีพุทธฎีกาตรัสว่า



"ดูกรอานนท์! เธออย่าได้กำหนดว่า กุศลกรรมที่นายมาลาการกระทำในวันนี้ เป็นกรรมกุศลเพียงน้อยนิด หากแต่เขาได้ถวายบุปผทานเป็นพุทธบูชา ด้วยการเอาชีวิตเข้าเป็นเดิมพัน เหตุนี้ทานของเขาจึงมีอานิสงส์มากคือ นอกจากเขาจะได้รับลาภยศมากมายในปัจจุบันชาติทันตาเห็นแล้ว เมื่อเขาดับขันธ์สิ้นชีวิตจากมนุษยโลกนี้ไป เขาจักไม่ไปเกิดในทุคติภูมิเป็นเวลานานถึง ๑๐๐,๐๐๐ มหากัป ในชาติสุดท้ายจักได้บรรลุปัจเจกโพธิญาณสำเร็จเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า มีนามว่า พระสุมนปัจเจกพุทธเจ้า อย่างแท้จริง"



หากแม้นสาธุชนผู้มีจิตเลื่อมใสศรัทธามั่นในพระรัตนตรัย มีความตั้งใจในการถวายดอกไม้หอมนานาชนิดเป็นพุทธบูชาดั่งนายมาลาการผู้เข็ญ ใจ แม้นดอกหญ้าเพียงดอกเดียว ก็ส่งผลให้เกิดความสุขทั้งใจกายให้แก่ตนเองและยังความปลื้มปีติใจแก่ผู้ที่ ได้พบเห็น ซึ่งนับว่าเป็นการประกอบกุศลกรรมดี ผู้เขียนขออนุโมทนาบุญกับสาธุชนผู้นำดอกบัว ดอกไม้หอมนานาชนิด ถวายแด่องค์สมเด็จพระบรมพุทธเจ้า และพระเจดีย์ อันจักเป็นการนำมาซึ่งวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของผู้ที่ได้ชื่อว่า พุทธศาสนิกชน ทั้งยังเป็นตัวอย่างการปฏิบัติตนอันทรงคุณค่าแห่งความเป็นพุทธศาสนิกชนไว้ ให้แก่ลูกหลานและเยาวชนของชาติสืบต่อไป



________________________________________
เอื้อเฟื้อข้อมูลโดย
ชมรมพัฒนาจริยธรรมและคุณธรรม พระจอมเกล้าลาดกระบัง
http://patji.net/patji-club/index.php?option=com_wrapper&Itemid=40
www.dhammajak.net/forums
28283  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ดอกบัวหิมะ VS บัวสี่เหล่า เมื่อ: ธันวาคม 18, 2009, 09:05:28 pm
คุณหวานใจ ส่งจิตมาพร้อมกับดอกไม้งามๆ ให้กับห้องส่งจิตออกนอก

ผมขอถือวิสาสะ รับเอาไว้ด้วยใจ

และขอมอบ ดอกไม้อันงามยิ่ง เป็นการตอบแทน นี่เลยครับ



บัวสี่เหล่า




บัวสี่เหล่า คือ สิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถของคนที่เรียนรู้เรื่องต่างๆ เป็น 4 ระดับ คือ...

1.พวกมีสติปัญญา ฉลาดเฉลียว เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมก็สามารถรู้และเข้าใจในเวลาอันรวดเร็ว เปรียบเสมือน ดอกบัวที่อยู่พ้นน้ำ เมื่อต้องแสงพระอาทิตย์ก็จะเบ่งบานทันที (อุคฆฏิตัญญู)

2.พวกที่มีสติปัญญาปานกลาง เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจราณาตามและได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มเติม ก็จะสามารถรู้และเข้าใจได้ในเวลาไม่ช้า เปรียบเสมือน ดอกบัวที่อยู่ปริ่มน้ำ ซึ่งจะบานในวันถัดไป (วิปัจจิตัญญู)

3.พวกที่มีสติปัญญาน้อย แต่ เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มอยู่เสมอ มีความขยันหมั่นเพียรไม่ย่อท้อ มีสติมั่นประกอบด้วยศรัทธาปสาทะ ในที่สุดก็สามารถรู้และเข้าใจได้ในวันหนึ่งข้างหน้า เปรียบเสมือน ดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ ซึ่งจะค่อยๆโผล่ขึ้นเบ่งบานได้ในวันหนึ่ง (เนยยะ)

4.พวกที่ไร้สติปัญญาและยังเป็น มิจฉาทิฏฐิ แม้ฟังธรรมก็ไม่อาจเข้าใจความหมายหรือรู้ตามได้ทั้งยังขาดศรัทธาปสาทะ ไร้ซึ่งความเพียรเปรียบเสมือน ดอกบัวที่จมอยู่โคลนตม ยังแต่จะตกเป็นอาหารของเต่าปลาอีกด้วย ไม่มีโอกาสโผล่ขึ้นพ้นน้ำเพื่อเบ่งบานได้อีก (ปทปรมะ)


บุคคลสี่จำพวก
มืด............ หมกมุ่นหม่นไหม้.....อวิชชา
มา............ อุปกิเลส มา.....ปิดไว้
มืด............ จิตอัปภัสรา.....ขันธา ทุกโข
ไป............ สู่ทุกข์คติไซร้.....เร่าร้อน รานตน...

มืด............แบกทุกข์ท่วมท้น.....อาตมัน
มา............ผ่านกี่กัปกัลป์.....ล่วงแล้ว
สว่าง.......ณ ปัจจุปปัน.....สัมปชัญโญ
ไป............สู่ที่ เพริศแพร้ว.....แจ่มแจ้ง ปัญญา....

สว่าง.......จวนดีเลิศแล้ว.....มานมน
มา............จ่อมจมธราดล.....โลกหล้า
มืด...........มิอาจ ยินยล.....สำเนียง เสียงธรรม
ไป...........ใฝ่ต่ำไขว่คว้า.....แทะทึ้ง โลกีย์...

สว่าง.......เบิกบานจิตพร้อม.....วิชชา
มา............พึ่งพระปัญญา.....แนบเกล้า
สว่าง........ว่างเหตุปัจจยา....ใน-นอก พิสุทธิ์
ไป............ปราศทุกข์รอนร้าว.....จบสิ้น สังสาร....

เครดิตโดยคุณ อธิมุตโต
http://www.palungjit.com/board/forumdisplay.php?f=10



คุณหวานใจครับ ผมขออย่างหนึ่่ง

ช่วยหาคนที่ใช้ user name ว่า หวานตา

มาเป็นสมาชิกเว็บนี้หน่อย จะได้เป็นคู่แฝดกับคุณหวานใจ ไงครับ
28284  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / แด่ผู้ที่ศรัทธาใน สมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังษี) เมื่อ: ธันวาคม 18, 2009, 04:15:44 pm
คุณแสนหวานกับคุณหวานใจ ไม่รู้เป็นคู่แฝดกันรึเปล่า

ผมขอ อนุโมทนา กับศรัทธาในสมเด็จโต ของคุณทั้งสอง

ผมได้หาบทความที่เกี่ยวเนื่่องกับคำถามมาให้พิจารณากัน

สงสัยอะไร ไม่เข้าใจตรงไหน ผมยินดีให้คำตอบทุกเมื่อ

เชิญอ่านได้เลยครับ



ชื่อกระทู้   หลวงปู่โตปรารถนาพุทธภูมิ หรือเข้านิพพาน แล้ว

ตั้งกระทู้โดยคุณ เงินไหลมา

ผมได้ยินอาจารย์ท่านนึงที่ฝึกมโนยิทธิ กำลังใจท่านดี จิตแจ่มใส ท่านบอกทีแรกได้ยินประวัติหลวงปู่โตที่เล่าๆกันมาบอกว่าท่านปรารถนาพุทธภูมิ ท่านก็สงสัย ก็เลยขึ้นไปถามพระครับ(พระในที่นี้คือพระพุทธเจ้า) ท่านก็พาไปพบที่วิมานที่แดนนิพพาน ตอนนี้ท่านลาพุทธภูมิแล้วครับ เข้านิพพานไปแล้ว ถ้าใครอยากพบพี่เขาบอกมาต้องหมั่นฝึกจิตบ่อยๆ ตามแนวมโนยิทธิหรือธรรมกาย ขอบารมีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพาไปไปพบในสิ่งที่สงสัย บารมีเต็มเมื่อไหร่เดี๋ยวท่านจะสงเคราะห์เองครับ ถึงแม้ท่านจะเข้านิพพานแล้วแต่ญาณจิตยังอยู่ บารมีหลวงปู่ยังคอยช่วยลูกศิษย์คนที่นับถือศรัทธาท่านอยู่เหมือนเดิมหรือทุก ท่านคิดเห็นประการใดครับ


ความเห็นที่ ๑ โดยคุณ อ็อดจ.ส.
เมื่อ ประมาณ20กว่าปีมาแล้ว หลวงปู่โตเคยเข้าฝัน(มาโปรด) ผมยังถือว่าท่านยังอยู่ดูแลทุกๆๆคนที่ปฏิบัติธรรมและเป็นคนดีเสมอครับ ขอเพียงระลึกถึงท่าน


ความเห็นที่ ๒ โดยคุณ  somdeth

หลวงพ่อโต อยู่ชั้นดุสิตครับ เหมือนกับ พระเจ้าตากสิน และพระนเรศวร ครับ
ยังไม่นิพพานครับ

ความเห็นที่ ๓ โดยคุณ  cap5123
พระโพธิสัตย์

ความเห็นที่ ๔ โดยคุณ  stangdaeng
หลวงปู่ฤาษีฯ ท่านเทศน์บอกไว้ในประวัติสมเด็จโตว่า "หลวงพ่อโตท่านเป็นพระอรหันต์ปฏิสัมภิทาญาณ" ครับ หาฟังได้ครับ

ความเห็นที่ ๕ โดยคุณ  b_bom1104
พระเจ้าตากสินท่านนิพานแล้วครับส่วนพระนเรศวรท่านลงมาเกิดแล้วครับ

ความเห็นที่ ๖ โดยคุณ  aodbu
หลวง พ่อโตท่านยังห่วงลูกหลานเชื้อพระวงศ์และประเทศชาติ ท่านจึงไม่ได้บำเพ็ญสายอรหันต์ครับ ธรรมะที่คุณอ่านในเวปนี้เกือบ 100 เปอร์เซนต์ก็มาจากตอนที่ท่านมาเทศน์ที่สำนักปู่สวรรค์ครับ สนใจดูตามลิงค์นี้ครับ
http://www.poosawan.org


ความเห็นที่ ๖ โดยคุณ  เงินไหลมา
หลวง พ่อฤาษีลิงดำท่านเป็นพระอรหันต์ปฏิสัมภิทาญาณ หลวงปู่สี วัดถ้ำเขาบุนนาค หลวงปู่บุดดา ถาวโร และอรหันต์อีกหลายองค์ ต่างยกย่องว่าท่านเป็นเลิศยิ่งนักคิดอยากจะรู้อะไรก็รู้หมด ดังนั้นสิ่งไหนที่หลวงพ่อเคยบอกไว้ย่อมเป็นจริงทุกประการ พิสูจน์ได้ด้วยเหตุและผล หากท่านใดที่ยังไม่เชื่อ ก็ต้องลองปฏิบัติให้เป็นผลสำเร็จก่อนจึงค่อยมาพิสูจน์กันการ ที่จะพบพระอริยะเจ้าที่ทรงคุณวิเศษญาณระดับสูงนั้นเป็นเรื่องยาก ทางเดียวที่จะพบได้คือ ต้องหมั่นบริกรรมจิตฝึกกรรมฐานให้เชี่ยวชาญ ให้จิตแจ่มใส ถ้าถามพระ คุยกับพระได้เมื่อไหร่ เมื่อนั้นแหละเราจะเกิดปัญญาตาสว่าง คิดจะรู้อะไรหรือสงสัยอะไร ก็ขึ้นไปถามพระที่แดนนิพพานได้ครับ เหมือนที่หลวงพ่อเคยบอกไว้

ความเห็นที่ ๖ โดยคุณ  ฅนเมืองพริบพรี
มาช่วยยืนยัน นอนยัน อีกอีกว่า
หลวงปู่โต ท่านเข้านิพพานแล้ว ท่านจบกิจเป็นพระอรหันต์ปฏิสัมภิทาญาณ

(หลวงพ่อฤาษี ท่านกล่าวไว้ ผมได้ฟังต่อมาจากคุณลุงหมอ สมศักดิ์ สืบสงวนครับ
ด้วยความเคารพ กราบหลวงปู่โต และหลวงพ่อ ครูบาอาจารย์ ด้วยเศียรเกล้า
ขอตามไปอยู่กับท่านในชาตินี้ด้วยเทอญ สาธุ

ที่มา    http://board.palungjit.com



ชื่อเรื่อง  สมเด็จโตว่า "จำเอาไว้นะ ถ้าไปพบที่ไหนเข้า นั่นแหละพระโพธิ์สัตว์มาบำเพ็ญบารมีละ"

โพสต์โดยคุณ พระที่12

เรื่องเบ็ดเตล็ดต่าง ๆ

ในคราวหนึ่งมีลูกศิษย์เก่าสองคน ได้ปรึกษากันเพื่อจะไปขอหวยต่อเจ้าพระคุณสมเด็จฯ คนหนึ่งเข้าไปนวดเจ้าพระคุณสมเด็จฯ บนหอสวดมนต์ อีกคนหนึ่งแอบฟังอยู่ใต้ถุนคนที่นวดก็พยายามขอหวยต่อเจ้าพระคุณสมเด็จฯๆ ทำนองนิ่งเสียโดยไม่ยอมพูดว่ากระไรเลย เพราะท่านทราบ ด้วยญาณว่า มีอีกคนหนึ่งแอบอยู่ใต้ถุน เกรงว่าถ้ากล่าวถ้อยคำอันใดออกไปเจ้าคนที่อยู่ใต้ถุนจะเอาไปแทงหวย ครั้นพอคะเนว่าถึงบอกให้ ก็จะไปแทงไม่ทัน ท่านจึงกล่าวขึ้นเปรยๆ ว่า "บอกให้ก็ได้ แต่กลัวหวยจะรอดช่อง" หมายความว่ากลัวเจ้าคนที่อยู่ใต้ถุงจะได้ยินเข้า พอคนที่อยู่ใต้ถุนได้ยินเช่นนั้นก็รีบวิ่งออกจากวัดระฆังฯ ไปโดยเร็วตั้งใจจะไปแทงตัว ร. และ ช. แต่ไปไม่ทัน หวยออกเสียก่อนแล้วคือ ร. และตัว ช. นั่นเอง

ในสมัยนั้น มีหมอนวดอยู่คนหนึ่ง ชื่ออะไรจำไม่ได้เสียแล้ว เป็นหมอนวดประจำองค์เจ้าพระคุณสมเด็จฯ แกชำนาญในเรื่องการนวดมาก และเคยนวดเจ้านายและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่มาเป็นอันมาก แต่การนวดใครก็ตามไม่เคยประหลาดใจเหมือนนวดเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทั้งนี้ เพราะทุกครั้งที่แกนวดแขนท่าน แกรู้สึกว่าเจ้าพระคุณสมเด็จฯ มีกระดูกแขนท่อนล่างเป็นแท่งเดียว แทนที่จะมีกระดูกคู่เหมือนสามัญชนทั่วไป ใน วันหนึ่งขณะที่แกกำลังนวดเจ้าพระคุณสมเด็จฯ อยู่ ตั้งใจจะกราบเรียนถามถึงเรื่องนี้ แต่ไม่กล้าเอ่ยปากถาม แกจึงนวดแรงๆ อยู่เฉพาะตรง ที่แขนท่องล่างของท่านอยู่เป็นเวลานาน เจ้า พระคุณสมเด็จฯก็ล่วงรู้ความในใจของตาหมอนวดได้ จึงกล่าวเปรยๆ ถามขึ้นว่า "นวดมากี่ปีแล้ว" ตาหมอนวดกราบเรียนว่า "นวดมา ๑๐ กว่าปีแล้ว" เจ้าพระคุณสมเด็จฯถามต่อไปว่า " เคยเห็นคนมีกระดูกแขนชิ้นเดียวไหม?" ตาหมอนวด กราบเรียนว่า "ตั้งแต่นวดมายังไม่เคยเห็นเลยนอกจาก..." แกจะพูดต่อไปว่านอกจากเจ้าพระคุณสมเด็จฯ แต่เจ้าพระคุณสมเด็จฯชิงพูด เสียก่อนว่า "จำเอาไว้นะ ถ้าไปพบที่ไหนเข้า นั่นแหละพระโพธิ์สัตว์มาบำเพ็ญบารมีละ"

ผู้ เขียนขอเรียนด้วยใจจริงว่า มีความเชื่ออย่างแน่นแฟ้นว่า เจ้าพระคุณสมเด็จฯเป็นพระโพธิ์สัตว์ปางหนึ่ง มาบังเกิดในโลกเพื่อสร้างสมพระบารมี และการที่เชื่อถือทั้งนี้มิได้เกิดจากอุปทาน เกิดจากการศึกษาพิจารณาชีวประวัติของท่านอย่างละเอียด และยังไม่เคยมีความศรัทธาในพระสงฆ์รูปใดเท่า ชาติกำเนิดก็ดี และอัจฉริยภาพทุกประการก็ดี ของท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯองค์นี้ ซาบซึ้งใจผู้เขียนยิ่งนัก ไม่อาจจะหาพระเกจิอาจารย์ องค์ใดมาเทียบเคียงได้เลย

ในคราวหนึ่ง เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ถูกนิมนต์ให้เข้าไปสวดมนต์ในพระบรมมหาราชวังพระ บาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงกำชับกับมหาดเล็ก ผู้ไปนิมนต์ว่า ให้เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ครองไตรแพรมาให้ได้ (ไตรแพรที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงพระราชทานถวาย เป็นรางวัลในคราวที่เทศน์ว่า - ธรรมะใดมหาบพิตรก็ทรงทราบดีแล้ว-) เพื่อมิให้ด้อยกว่าพระสมณศักดิ์อีกหลายรูป ที่ได้รับการนิมนต์คราวเดียวกันนั้น เพราะพระองค์เห็นว่าเจ้าพระคุณสมเด็จฯครองจีวรรุ่มร่ามและเก่าคร่ำคร่าอยู่ เสมอ (ทรงพระราชดำรัสบ่อยๆว่า "ขรัวโตนี่ยิ่งแก่เข้ายิ่งรุ่มร่ามคร่ำคร่า" ซึ่งเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทราบเข้าก็พูดเปรยๆ เสมอว่า "โตดีกลับหาว่าว่าโตบ้า ที่โตบ้ากลับหาว่าโตดี"

หมายความว่า แต่ก่อนเมื่อท่านยังไม่สำเร็จมรรคผลนั้นจึงย่อมมีความหลงผิด ยังยินดีในลาภสักการ ครองผ้าก็รัดกุมสีสดใส ใครๆ ก็ชมว่า ท่านดี ที่แท้ท่านว่าตัวท่านยังบ้าอยู่ แต่พอท่านสำเร็จมรรคผลเป็นบางอย่างจึงละสิ่งเหล่านี้จดหมด กลับมีคนเข้าใจว่าท่านบ้า และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ยังทรงตรัสว่าท่านรุ่มร่าม) เมื่อใกล้จะถึงกำหนดเวลาสวดมนต์ ยังไม่เห็นเจ้าพระคุณสมเด็จฯมา มหาดเล็ก จึงเร่งนิมนต์อีก ครั้นเมื่อไปถึงวัดระฆังฯเห็นเจ้าคุณพระนั่งอยู่บนกุฎิ ตรงหน้ามีลูกสุนัขตัวหนึ่งนอนทับไตรแพอยู่ มหาดเล็กจึ่งเข้าไปนิมนต์ว่า
"เจ้า พระคุณต้องรีบหน่อยเพราะจวนเวลาเต็มที่แล้ว พระทุกรูปมาพร้อมกันหมดแล้ว ยังขาดแต่เจ้าพระคุณ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็เสด็จแล้ว พร้อมทั้งเจ้านายฝ่ายนอกฝ่ายในตลอดจนข้าราชการ" เจ้าพระคุณสมเด็จฯชี้ให้ดูลูกสุนัขที่กำลังนอนหลับไตรแพรนั้น มหาดเล็กจึงกราบเรียนให้ไล่ลูกสุนัขตัวนั้นไปเสีย เจ้าพระคุณสมเด็จฯกล่าวว่า "ไม่ได้ดอกจ้ะ เพราะเราไม่รู้ว่าจะเป็นพระโพธิสัตว์หรือเปล่า" (พระโพธิสัตว์เคยเสวยพระชาติเป็นสุนัขดังความปรากฎในเรื่องชาดก)

ใน หนังสือ "ประวัติขรัวโต" ของพระยาทิพโกษากล่าวว่า แม้เจ้าพระคุณสมเด็จฯ จะเดินไปตามทางซึ่งมีสุนัขนอนขวางอยู่ก็จะกล่าวว่า "ฉันขอไปทีจ้ะ" แล้วก็ค่อยๆ หลีกไปเสียทางหนึ่ง ปรากฏว่าไม่เคยข้ามสุนัขเลย
จาก: www.lekpluto.org/monk/monk01.htm
[/size]
28285  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / การถวายข้าวพระพุทธ โดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เมื่อ: ธันวาคม 18, 2009, 03:09:49 pm
การถวายข้าวพระพุทธ
โดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)


:: ขอกราบเท้าถามหลวงพ่อว่า ทำไมจึงมีการถวายข้าวพระพุทธ โดยมีผู้อธิบายแตกต่างไปหลายนัย

อันการถวายข้าวพระนั้น แต่เดิมครั้งสมัยพุทธันดร ขณะที่องค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ยังทรงพระชนม์ชีพอยู่ พระอานนท์พุทธอุปฐาก แห่งองค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น เป็นผู้ที่มีความซื่อสัตย์กตัญญู มีความเคารพนับถือองค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างยิ่ง ไม่มีอย่างอื่นใดจะเปรียบได้

เมื่อครั้งที่องค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า จักเสด็จไปในที่ใดพระอานนท์พุทธอุปฐากนั้นไซร์ก็ได้ติดตามไปใกล้ชิดพระยุคลบาทมิได้ห่างเหินเลย ครั้นทรงอาพาธด้วยโรคอย่างใด พระอานนท์พุทธอุปฐากก็ได้พยายามปรนนิบัติรักษาอย่างเต็มความสามารถเสมอ

การถวายภัตตาหารก็ดี น้ำฉันก็ดี ปูอาสนะนั่งนอนก็ดีนั้น เป็นหน้าที่ของพระอานนท์พุทธอุปฐาก และได้กระทำสม่ำเสมอมา ไม่ว่าพระพุทธองค์จะทรงเสด็จไปในที่แห่งใด เมื่อเป็นเช่นนี้พระอานนท์จึงเป็นผู้ที่มีความใกล้ชิดต่อองค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างยิ่ง

และยิ่งกว่านั้นยังเป็นผู้ที่กระทำตนให้เหมือนตู้แห่งพระธรรม ที่องค์สมเด็จพระบรมศาสดาฯ ตรัสออกจากพระโอษฐ์เพื่อเทศนาสั่งสอนปุถุชนเวไนยสัตว์ทั้งหลายก็ตาม พระอานนท์ย่อมจะต้องเป็นผู้รับรู้ซึ่งธรรมอันนั้นด้วย

ในการที่จะแก้ปัญหาธรรมและตอบแก่ผู้มาถามทุกฝ่าย การปฏิบัติต่อองค์สมเด็จพระบรมศาสดาฯ ขององค์พระอานนท์พุทธอุปฐากนี้ ย่อมกระทำเป็นกิจวัตรตลอดมา โดยมิได้มีการเปลี่ยนแปลงและกระทำโดยสม่ำเสมอ

เมื่อครั้งองค์สมเด็จพระบรมศาสดาฯ เสด็จดับขันธ์เข้าสู่พระปรินิพพานแล้ว พระอานนท์พุทธอุปฐากก็ยังระลึกถึงองค์สมเด็จพระบรมศาสดาอยู่มิรู้วาย พระอานนท์คิดเสมอเหมือนหนึ่งว่า องค์สมเด็จพระบรมศาสดาฯ ยังทรงพระชนม์ชีพอยู่

แม้ว่าพระพุทธองค์จะเป็นผู้ขันธปรินิพพานไปแล้วก็ตาม แต่การปฏิบัติของพระอานนท์พุทธอุปฐากก็หาได้ยุติลงไม่ เหตุทั้งนี้ก็เพื่อเป็นเครื่องแสดงซึ่งกตัญญูกตเวทิตาคุณต่อองค์สมเด็จพระบรมศาสดาฯ เมื่อภายหลังประชาชนทั้งหลายได้ทราบเรื่อง จึงพากันซุบซิบนินทาว่า พระอานนท์ได้ปฏิบัติการไปนั้นไม่เป็นการถูกต้องสมควร
[/color]
แต่ได้มีพระมหากัสสปเถระผู้เป็นใหญ่ แก้ปัญหาข้อนี้ว่า

การที่พระอานนท์กระทำไปหมายถึงว่า พระอานนท์ได้ระลึกถึงพระคุณขององค์สมเด็จพระบรมศาสดาฯ อยู่ตลอดเวลา การปฏิบัติถวายข้าวพระ น้ำดื่ม ปูอาสนะนั่งนอน แม้เมื่อองค์สมเด็จพระบรมศาสดาฯ ได้เสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้ว ก็ยังแสดงซึ่งกตัญญูกตเวทิตาคุณแก่ผู้มีพระคุณดังนี้

การปูอาสนะที่นั่งนอนและภัตตาหารทั้งหลาย น้ำผลไม้หรืออัฏฐบาล น้ำดื่ม น้ำใช้ทั้งปวง เมื่อพระอานนท์เคยจัดอย่างไร เมื่อสมัยที่พระบรมศาสดาฯ ยังทรงพระชนม์ชีพอยู่ พระอานนท์ก็ได้จัดไว้เช่นนั้น จนตราบเท่าที่พระอานนท์ดับขันธปรินิพพานไปเช่นเดียวกัน

การกระทำเช่นนี้เป็นการแสดงกตเวทิตาธรรม อันวิญญูชนทั้งหลายพึงทราบความเป็นจริง ตามที่กล่าวมานี้ เข้าใจหรือยัง


: คำสั่งสอนอบรม
: โดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

http://www.dhammajak.net/forums/view...p?f=23&t=19706

28286  พระไตรปิฏก / พระธรรมตามพระไตรปิฏก / พระไตรปิฏกมหาจุฬาฯ ภาษาไทย ๔๕ เล่ม ฉบับซีดี-รอม เมื่อ: ธันวาคม 18, 2009, 03:04:38 pm
พระไตรปิฏกมหาจุฬาฯ ภาษาไทย ๔๕ เล่ม ฉบับซีดี-รอม
วันที่29/09/2008


พระไตรปิฎก เป็นแหล่งประมวลหลักธรรมวินัยอันเป็นหลักการใหญ่ของพระพุทธศาสนา เป็นมาตรฐานกลางในการตรวจสอบความถูกต้องทางพระพุทธศาสนา


ตามที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้ชำระพระไตรปิฏกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งเป็นภาษาสมัยใหม่ ทันสมัย เหมาะแก่การค้นคว้าวิจัย มีเนื้อหาอ่านเข้าใจง่าย ซึ่งได้จัดพิมพ์จำหน่ายหลายต่อหลายครั้ง ต่อมามหาวิทยาลัยได้พัฒนาโปรแกรมการสืบค้นพระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จำนวน ๔๕ เล่ม บรรจุในแผ่นซีดี-รอม จำนวน ๒ แผ่น แผ่นที่ ๑ เนื้อหาเกี่ยวกับวิวิฒนาการพระไตรปิฎก ความหมาย ความสำคัญ การทำสังคยนาและพัฒนาของพระไตรปิฎกจากชมพูทวีบ-ถึงประเทศไทยด้วยสื่อมัลติมีเดียที่ร่วมสมัย แผ่นที่ ๒ เนื้อหาประกอบด้วย พระไตรีปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จำนวน ๔๕ เล่ม พร้อมระบบสืบค้น สมบูรณ์แบบ แผ่นซีดี-รอม แผ่นที่สองจะต้องลงทะเบียนผ่านระบบอินเตอร์เน็ต หรือติดต่อยืนยันการลงทะเบียนด้วย โดยได้ป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ไว้ด้วย

มื่อต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา ศาสตราจารย์ ดร. พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้สั่งการให้ดำเนินการผลิตและเผยแผ่พระไตรปิฎกซีดี-รอม ชุดดังกล่าวเพื่อมอบแก่ประมุขสงฆ์และมหาวิทยาลัยต่างๆ ในคราวประชุมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติ และการสัมมนาวิชาการระดับนานาชาติครั้งที่ ๑ เมื่อวันที่ ๑๒-๑๕ กันยายน ๒๕๕๑ ที่ผ่านมา โดยสำนักหอสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นเจ้าภาพในการพัฒนา

พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับซีดี-รอม จะเป็นประโยชน์มากแก่ผู้ศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎก เนื่องจากสามารถค้น "ทรัพย์,วลี,หน้า,เล่ม หรือดรรชนีท้ายเล่ม" เป็นต้น เบื้องต้นมหาวิทยาลัยได้ผลิตจำนวน ๑,๐๐๐ ชุด หรือ ๒,๐๐๐ แผ่น เพื่อเผยแผ่ส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งเพื่อจำหน่ายนำเงินมาเป็นกองทุนพัฒนาปรับปรุงพระไตรปิฏกซีดี-รอมต่อไป

ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ สำนักหอสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ โทร ๐-๒ ๒๒๖-๖๐๒๘ หรือ www.mcu.ac.th/mcutrai

http://www.mcu.ac.th/site/news_in.php?group_id=1&NEWSID=3497



พระไตรปิฎกคืออะไร


พระไตรปิฎก ก็คือคัมภีร์ที่ประมวลเอาคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามาจารึกไว้ พระไตรปิฎกจึงเป็นที่รวบรวม บรรจุไว้ หรือจารึกไว้ ซึ่งพระพุทธศาสนานั้นเอง
ในเมื่อพระพุทธศาสนาแปลว่าคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า และพระไตรปิฎกเป็นที่ประมวลไว้ซึ่งพระพุทธศาสนาคือคำสอนของพระพุทธเจ้า เพราะฉะนั้น การรักษาพระไตรปิฎกจึงเป็นการรักษาพระพุทธศาสนา

ถ้าตอบอย่างสั้นที่สุด ก็พูดได้ว่า พระไตรปิฎกกับการธำรงพระพุทธศาสนาเป็นเรื่องเดียวกัน การธำรงพระไตรปิฎกก็คือการธำรงพระพุทธศาสนา นี้เป็นความหมายอย่างง่ายที่สุด

รักษาพระไตรปิฎก เท่ากับรักษาพระพุทธเจ้า

ถ้าพูดให้ลึกลงและให้กว้างออกไป พระไตรปิฎกมีความสำคัญต่อการธำรงรักษาพระพุทธศาสนาอีกหลายอย่าง นอกจากมองพระพุทธศาสนาในความหมายที่เป็นคำสั่งสอนแล้ว พระพุทธศาสนายังหมายถึง การเล่าเรียน การศึกษา การปฏิบัติ และการจัดการต่าง ๆ ให้มีการเล่าเรียนศึกษา และเป็นพระพุทธศาสนาที่ประชาชนทั่วไปเข้าใจ ในความหมายนี้ พระไตรปิฎกก็มีความสำคัญต่อการธำรงพระพุทธศาสนา ดูง่าย ๆ ดังต่อไปนี้

พระพุทธเจ้าตรัสไว้เองก่อนปรินิพพาน ซึ่งเราจำกันแม่นทีเดียวว่า เมื่อพระองค์ปรินิพพานล่วงไป ไม่ได้ทรงตั้งพระภิกษุองค์ใดเป็นศาสดาแทนพระองค์ ชาวพุทธได้รู้กันว่า พระธรรมวินัยนั้นแหละเป็นพระศาสดาแทนพระองค์ พระธรรมวินัยเป็นศาสดาแทนพระพุทธเจ้า พระธรรมวินัยนี้ก็คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านั้นเอง พระธรรมวินัยจึงเท่ากับเป็นองค์พระศาสดา และเป็นตัวพระพุทธศาสนา
พระธรรมวินัยนี้ประมวลอยู่ในพระไตรปิฎก พระไตรปิฎกจึงเป็นที่สถิตของพระธรรมวินัย พระไตรปิฎกจึงเป็นที่สถิตของพระบรมศาสดาของชาวพุทธ เมื่อรักษาพระไตรปิฎกไว้ จึงเท่ากับดำรงรักษาพระพุทธเจ้าไว้และรักษาพระพุทธศาสนาด้วยนั่นเอง
เพราะฉะนั้น ในความหมายนี้ พระไตรปิฎกก็มีความสำคัญต่อการรักษาพระพุทธศาสนาอย่างเต็มที่ (รู้จักพระไตรปิฎกเพื่อเป็นชาวพุทธที่แท้. พระพรหมคุณาภรณ์ : ป.อ. ปยุตโต)


CD - ROM แผ่นที่ ๑ Graphic&Multimedia
เรียนรู้ความหมาย ความสำคัญ การทำสังคายนา และ การพัฒนาการของพระไตรปิฏกจากชมพูทวีปแดนพุทธภูมิสู่ศรีลังกาสุวรรณภูมิ และประเทศไทย ผ่านสื่อมัลติมิเดียร่วมสมัย

CD - ROM แผ่นที่ ๒ ระบบสืบค้นพระไตรปิฏก
ระบบสืบค้น โดย คำ วลี ระบบสืบค้นแบบเชื่อมโยง การเข้าถึงผ่านสารบัญ เล่ม ข้อ หน้า และผ่านดรรชนีท้ายเล่ม พร้อมบทนำสรุปสาระสำคัญของพระไตรปิฎกทั้ง 45 เล่ม



พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
บน CD – ROM : MCUTARI Version 1.0

อำนวยการผลิต โดย
สำนักหอสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย


www.mcu.ac.th/mcutrai/menu5.htm[/size]

28287  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ไม่มี"อมิตาพุทธ" มีแต่ เมื่อ: ธันวาคม 18, 2009, 10:05:29 am
ขอนำความเห็นจากเว็บพันธ์ทิพย์และเว็บวาไรตี้ไทยซ่า มาให้พิจารณา

ความเห็นเรื่องอมิตาพุทธ จากเว็บพันธ์ทิพย์
เครดิตโดย คุณ : Dirghayus (dirghayus)

ไม่มี"อมิตาพุทธ" มีแต่......


เห็นเจอหลายท่าน เขียนว่า "อามิตาพุทธ" "อมิตาพุทธ" "อมิตพุทธ" ซึ่งไม่มีในเอกสารเล่มไหน

และไม่เคยได้ยิน นอกจากหนังจีนเรื่อง"ไซอิ๋ว"หรือเรื่องอื่น ๆ ที่มีพระออกมา แล้วท่อง"อา-มิ-ตา-พุทธ"

ก็เข้าใจ ว่าเคยชินครับ

เราท่องตามหนังจีน เนื่องจากภาษาจีนไม่สามารถออกเสียงตามภาษาบาลี-สันสกฤตได้ เลยตัดแค่ว่า"ออ-นี-ทอ-ฮุก"

ออ-นี-ทอ-ฮุก เขียนเต็ม ๆ ว่า"นำ-โมว-ออ-นี-ทอ-ฮุก" มาจาก "นโม อมิตาภพุทฺธาย"

แล้วหวังว่าคงไม่มี"อมิตาพุทธ"โผล่มาอีกนะครับ เพราะมีแต่"อมิตาภพุทธ"
อมิตาภาพุทธ
อมิตา - นับไมได้ วัดไม่ได้ ประมาณไม่ได้
อาภา - แสงสว่าง

อมิตาภาพุทธ - พระพุทธเจ้าผู้ทรงไว้ซึ่งความสว่าง(ปัญญา) อันหาประมาณไม่ได้



[/color]

ความเห็นเรื่องอมิตตพุทธ จาก http://variety.thaiza.com

ชอบอ่านหนังสือกำลังภายใน ชอบหลวงจีนเส้าหลิน หรือคุนลุ้น เวลาประจันกับศัตรูผู้มุ่งร้าย ท่านจะไม่ทำร้ายตอบ ถ้าถูกสถานการณ์บีบบังคับให้ต้อง "ลงมือ" ก็จะเอ่ยคำ "อมิตตพุทธ" ก่อนจะลงมือ ถ้าเมื่อใดหลวงจีนท่านร้อง "อมิตตพุทธ" ละก็ ให้ระวังให้จงหนัก ชั่วพริบตาเดียวอาจจะลงไปกองอยู่กับพื้นโดยไม่ทันรู้ตัวก็ได้ รวดเร็วปานนั้นแหละขอรับ

อมิตตพุทธ คงจะเป็นคำเพี้ยนมาจากอมิตาภพุทธ ซึ่งเป็นคำยาวเกินไป ออกเสียงเร็วๆ มันจึงหดสั้นเข้าเหลือแต่ "อมิตตพุทธ" ดุจดังผู้พิพากษาเหลือเพียง "พูกษา" มหาวิทยาลัยเหลือเพียง "มหาลัย" (หรือถ้าออกเสียงเร็วกว่านั้นจะได้ยินว่า "หมาลัย" เลยทีเดียวไม่เชื่อผมลองสังเกตดีๆ เถอะครับ)

อมิ ตาภพุทธเป็นพระนามพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง ซึ่งเกิดจากพระพุทธเจ้าผู้เป็น "ต้นเดิม" (อาทิพุทธ) พูดอย่างนี้ชาวพุทธเถรวาทไม่เข้าใจดอกต้องอธิบาย

ตาม ความเชื่อของชาวพุทธฝ่ายมหายาน เขาเชื่อกันว่า มีพระพุทธเจ้าผู้เป็นองค์เดิมแท้อยู่องค์เดียว เรียกว่า อาทิพุทธ เรียกว่า ธรรมกาย เรียกว่า วัชรสัตว์ พระพุทธเจ้าผู้เป็นองค์เดิมแท้นี้เป็นอมตะ ไม่มีเกิด ไม่มีตาย ประทับอยู่โน่น "พุทธเกษตร" (แดนแห่งพระพุทธะ) หรือชาวจีนเรียกว่า "สุขาวดี"

จาก พระพุทธเจ้าผู้เป็นต้นเดิมแท้นี้ จึงเกิดพระพุทธเจ้าอื่นๆ อีกหลายองค์ เรียกว่า เกิดจากฌานของพระอาทิพุทธ พระพุทธเจ้าเหล่านี้มีมากมายยิ่งกว่าเม็ดทราย นับไม่ถ้วนว่ามีเท่าไร แต่ที่แน่ๆ คือมีมากมายไพศาล

ที่ปรากฏพระนามดังๆ เป็นที่รู้กันทั่วไปก็มี 5 องค์คือ

1.พระไวโรจนพุทธ

2.พระอักโษภยพุทธ

3.พระรัตนสัมภวพุทธ

4.พระอมิตาภพุทธ

5.พระอโมฆสิทธิพุทธ

อมิ ตภพุทธบังเอิญดังกว่าองค์อื่น ทั้งชาวจีน ชาวญี่ปุ่นก็รู้จักกันดี จึงถูกกล่าวขานถึงบ่อยๆ ในหนังกำลังภายในก็จะถูกเอ่ยถึงบ่อย จนกลายเป็นคำอุทาน "อมิตตพุทธ" ดังกล่าวข้างต้น

พระ อมิตาภพุทธเป็นที่เคารพนับถือมาก ถึงกับเชื่อกันว่าถ้าสวดมนต์เอ่ยพระนามพระอมิตาภพุทธบ่อยๆ จะได้รับเข้าไปอยู่ในแดนสุขาวดีของพระองค์ ทำให้เกิดการ "ยึดติด" ในพิธีกรรม คือสวดมนต์อ้อนวอน โดยไม่อยู่บนพื้นฐานของการฝึกฝนอบรมตน

อาจารย์ เซ็นท่านหนึ่งหวังจะเตือนชาวพุทธที่ติดอยู่กับพิธีกรรมอันเป็นเปลือกกระพี้ มากกว่าจะใส่ใจใน "แก่น" ท่านจึงลงทุนปฏิบัติให้เป็นตัวอย่าง โดยทิ้งวัดไปอยู่กับพวกขอทานใต้สะพาน ยังชีพด้วยข้าวคลุก "มิโสะ" เอาชีวิตรอดไปวันๆ

ท่านเอารูปพระอมิตภพุทธออกมาตั้งไว้บนหัวนอน เขียนข้อความว่า "นา ยอมิตาภพุทธเอ๋ย ที่อยู่ไม่สมเกียรติเจ้าเท่าใดนัก อย่าถือสาและอย่าคิดว่าข้าจะสวดอ้อนวอนเจ้าให้เจ้าช่วยให้ข้าไปเกิดในแดน สุขาวดีของเจ้าเป็นอันขาด"

นัยว่าท่านลงทุน "เล่น" กับพระพุทธรูปขนาดนี้ก็เพื่อสะกิดให้ชาวพุทธได้คิดว่า เพียงสวดอ้อนวอนพระพุทธเจ้ามิได้ช่วยให้หลุดพ้นดอก ต้องลงมือปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า จึงจะบรรลุถึงเป้าหมายของชีวิต

พูด ถึงวิธีเตือนสติคนที่ยึดติดในตัวบุคคล นึกถึงอีกเรื่องหนึ่ง อาจารย์เซ็นท่านหนึ่งไปงานศพเพื่อนอาจารย์ด้วยกันที่เพิ่งมรณภาพเห็นบรรดา ศิษย์ร้องห่มร้องไห้หน้าศพอาจารย์จึงเดินอาดๆ เข้าไปเอาไม้เท้าเคาะโลงร้องว่า

"เฮ้ย เพื่อนรัก เพื่อนสอนศาสนาประสาอะไร จึงทำให้เหล่าลูกศิษย์ยึดติดในตัวเพื่อนปานฉะนี้วะ"

ว่าแล้วก็เดินลงศาลาไป

อมิตตพุทธ



28288  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: สัมมาทิฏฐิ คืออะไร? เมื่อ: ธันวาคม 17, 2009, 11:54:38 pm
ผมขอนำข้อธรรมใน พจนานุกรมพุทธศาสน์ ของ ท่าน ป.อ.ปยุตโต
มาปูพื้นให้เข้าใจกันก่อนนะครับ

สัมมาทิฏฐิ หมายถึง เห็นชอบ ได้แก่ ความรู้อริยสัจ ๔ หรือ เห็นไตรลักษณ์ หรือ รู้อกุศลและอกุศลมูลกับกุศลและกุศลมูล หรือเห็นปฏิจจสมุปบาท  เป็นธรรมข้อแรกของมรรคมีองค์ ๘

ปัจจัยที่ทำให้เกิดสัมมาทิฏฐิ มีดังนี้

ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิ ๒ (ทางเกิดแห่งแนวคิดที่ถูกต้อง, ต้นทางของความดีงามทั้งปวง : sources or conditions for the arising of right view)

๑. ปรโตโมสะ (เสียงจากผู้อื่น การกระตุ้นหรือชักจูงจากภายนอก คือ การรับฟังคำแนะนำสั่งสอน เล่าเรียนความรู้ สนทนาซักถาม ฟังคำบอกเล่าชักจูงของผู้อื่น โดยเฉพาะการสดับสัทธรรมจากท่านผู้เป็นกัลยาณมิตร : another’ s utterance; inducement by others; hearing or learning from others)
 
๒. โยนิโสมนสิการ (การใช้ความคิดถูกวิธี ความรู้จักคิด คิดเป็น คือกระทำในใจโดยแยบคาย มองสิ่งทั้งหลายด้วยความคิดพิจารณา รู้จักสืบสาวหาเหตุผล แยกแยะสิ่งนั้น ๆ หรือปัญหานั้น ๆ ออก ให้เห็นตามสภาวะและตามความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย : reasoned attention; systematic attention; genetical reflection; analytical reflection)

ข้อธรรม ๒ อย่างนี้ ได้แก่ ธรรมหมวดที่ (๑) และ (๒) นั่นเอง แปลอย่างปัจจุบันว่า “องค์ประกอบของการศึกษา” หรือ “บุพภาคของการศึกษา” โดยเฉพาะข้อที่ ๑ ในที่นี้ใช้คำกว้าง ๆ แต่ธรรมที่ต้องการเน้น ก็คือ กัลยาณมิตตตา

ปัจจัยให้เกิดมิจฉาทิฏฐิ ก็มี ๒ อย่าง คือ ปรโตโฆสะ และ อโยนิโสมนสิการ ซึ่งตรงข้ามกับที่กล่าวมานี้.



ต่อไปนี้เป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ

พระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชโช ได้เคยบอกว่า

พระพุทธเจ้าเคยตรัสว่า

“หากตถาคตไม่รู้แจ้งอริยสัจ จะไม่ประกาศว่าบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ”

ผมเลยสรุปเอาเองว่า พระอรหันตผลเท่านั้น ที่รู้แจ้งอริยสัจ

จากความหมายของสัมมาทิฏฐิข้างต้น ที่หมายถึง การรู้อริยสัจ

ผมเลยสรุปเอาเอง(อีกแล้วครับท่าน)ว่า

“คนที่มีสัมมาทิฏฐิที่สมบูรณ์ ควรจะเป็นอรหันตผลเท่านั้น”

(ผมเคยถามความเห็นนี้กับอาจารย์สนธยา อาจารย์พยักหน้าเห็นด้วย)

หากจะถามว่า แล้ว โสดาบัน สกทาคา  อนาคามี ไม่มีสัมมาทิฏฐิหรือไง

ตอบว่า มี แต่ไม่สมบูรณ์ เนื่องจากยังตัดกิเลสไม่หมด คือ เห็นและเข้าใจอริยสัจ

ได้เพียงบางส่วนเท่านั้น




จากนี้ขอนำ ข้อความในพระสุตตันตปิฎกบางส่วน มาให้อ่านกัน

๙. สัมมาทิฏฐิสูตร ว่าด้วยความเห็นชอบ

[๑๑๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก
เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้น ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายแล้ว ภิกษุพวกนั้น
รับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ที่เรียกว่า
สัมมาทิฏฐิๆ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ อริยสาวกจึงจะชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไป
ตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้ พวกภิกษุกล่าวว่า
ดูกรท่านผู้มีอายุ พวกกระผมมาจากที่ไกล ก็เพื่อจะรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิตนี้ ในสำนักของท่าน
พระสารีบุตร ดังพวกกระผมขอโอกาส เนื้อความแห่งภาษิตนี้ จงแจ่มแจ้งกะท่านพระสารีบุตรเถิด
ภิกษุทั้งหลายได้ฟังต่อท่านพระสารีบุตรแล้ว จักทรงจำไว้ ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ถ้าอย่างนั้น
จงฟังเถิด ท่านผู้มีอายุ จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุพวกนั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว.

[๑๑๑] ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดอริยสาวกรู้ชัดซึ่ง
อกุศลและรากเง่าอกุศล รู้ชัดซึ่งกุศลและรากเง่าของกุศล แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่า
เป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้วประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่
พระสัทธรรมนี้ ก็อกุศลเป็นไฉน? ได้แก่ ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ
พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ อยากได้ของผู้อื่น ปองร้ายเขา เห็นผิด อันนี้เรียกว่า
อกุศลแต่ละอย่างๆ รากเง่าของอกุศลเป็นไฉน? ได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ อันนี้เรียกว่ารากเง่า
ของอกุศลแต่ละอย่างๆ กุศลเป็นไฉน? ได้แก่ ความเว้นจากฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิด
ในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ ไม่อยากได้ของผู้อื่น ไม่ปองร้ายเขา
เห็นชอบ อันนี้เรียกว่า กุศลแต่ละอย่างๆ รากเง่าของกุศลเป็นไฉน? ได้แก่ อโลภะ อโทสะ
อโมหะ อันนี้เรียกว่า รากเง่าของกุศลแต่ละอย่างๆ

ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอกุศลและรากเง่าของอกุศลอย่างนี้ๆ
รู้ชัดซึ่งกุศลและรากเง่าของกุศลอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย
ถอนทิฏฐานุสัย และมานานุสัยว่า เรามีอยู่โดยประการทั้งปวง ละอวิชชา
ยังวิชชาให้เกิด ย่อมกระทำที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบันนี้เทียว แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้
อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว
ประกอบด้วยความเลื่อมใสอัน แน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้


[๑๑๒] ภิกษุเหล่านั้นชื่นชม อนุโมทนาภาษิตของท่านพระสารีบุตรว่า สาธุ ท่านผู้มีอายุ
แล้วได้ถามปัญหากะท่านพระสารีบุตรต่อไปว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือปริยายแม้อย่างอื่น
ที่อริยสาวกซึ่งชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใส
อันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.


[๕๒] สัมมาทิฏฐิ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
   ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมาย
ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความ
รู้แจ่มแจ้ง  ความค้นคิด  ความใคร่ครวญ  ปัญญาเหมือนแผ่นดิน   ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส
ปัญญาเครื่องนำทาง  ความเห็นแจ้ง  ความรู้ชัด  ปัญญาเหมือนปฏัก  ปัญญา  ปัญญินทรีย์
ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศาตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่าง
คือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรม
ความเห็นชอบ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัมมาทิฏฐิ มีในสมัยนั้น.

[/color]
28289  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ผลสมาบัติ คืออะไรครับ เมื่อ: ธันวาคม 17, 2009, 09:41:57 pm
เสี้ยนหนามของทุติยฌาน

          เสี้ยนหนามของปฐมฌานได้แก่เสียง  เสียงเป็นศัตรูคอยทำลายปฐมฌาน เมื่อใดถ้าจิต
ยุ่งกับเสียง คือทนรำคาญไม่ไหว ก็หมายความว่า ปฐมฌานเสื่อมเสียแล้ว สำหรับทุติฌานนี้ มีวิตก
วิจารเป็นเสี้ยนหนามศัตรู  เมื่อขณะที่จิตทรงสมาธิอยู่ในระดับทุติยฌาน  จิตคอยจะเคลื่อนเลื่อน
ลงมาหาอารมณ์ปฐมฌาน คือคอยจะยึดเอาคาถาภาวนาเป็นอารมณ์ เพราะคาถาภาวนาเป็นวิตกวิจาร
จึงจำต้องคอยระมัดระวังไว้ อย่าปล่อยสติสัมปชัญญะให้คลาดเคลื่อน คุมอารมณ์ทุติยฌานอย่าให้
เลือนไปได้ ฝึกหัดตั้งกำหนดเวลาทรงฌานเข้าไว้ แล้วทำให้ชินตามกำหนดเวลา

อานิสงส์ทุติยฌาน

          ฌานทั้งหมด เป็นอารมณ์สมาธิที่ทำจิตใจให้พร้อมด้วยสติสัมปชัญญะ เวลาจะทำการงาน
ก็มีความทรงจำดี จิตใจไม่เลอะเลือนฟุ้งซ่าน เป็นอารมณ์รักษาโรคประสาทได้ดีที่สุด นอกจากนี้
เวลาจะตายก็มีสติสัมปชัญญะดีไม่หลงตาย ถ้าตายในระหว่างฌานท่านว่าทุติยฌานที่เป็นโลกียฌาน
ให้ผลดังนี้
          ก. ทุติยฌานหยาบ   ให้ผลไปเกิดในพรหมโลกชั้นที่  ๔
          ข. ทุติยฌานกลาง   ให้ผลไปเกิดในพรหมโลกชั้นที่  ๕
          ค. ทุติยฌานละเอียด ให้ผลไปเกิดในพรหมโลกชั้นที่  ๖
          ถ้าเอาอารมณ์ทุติยฌานไปเป็นกำลังของวิปัสสนาญาณแล้ว สมาธิระดับทุติยฌานจะมีกำลัง
ช่วยให้วิปัสสนาญาณกำจัดกิเลสได้ดีและรวดเร็วกว่ากำลังของปฐมฌานมาก ท่านอาจมีหวังถึงที่สุด
ของพรหมจรรย์ในชาติปัจจุบันก็ได้ ถ้าท่านมีความเพียรดี ปฏิบัติตรงต่อพระพุทธพจน์ของ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และปฏิบัติพอดีพอควร ไม่ยิ่งหย่อนนัก เรียกว่าปฏิบัติพอเหมาะพอดี การปฏิบัติ
พอเหมาะพอดีนี้ปฏิบัติอย่างไร ท่านก็ศึกษาจากตัวของท่านเองนั่นแหละตรงต่อความเป็นจริง
 
ตติยฌานหรือตติยสมาบัติ

          ปฐม แปลว่าที่ ๑ ทุติยะ แปลว่าที่ ๒ ตติยะ แปลว่าที่ ๓ ตติยฌานจึงแปลว่า ฌานที่ ๓
ตติยสมาบัติ แปลว่า การเข้าถึงอารมณ์ฌานที่ ๓ ฌานที่ ๓ นี้ มีอารมณ์ ๒ คือ
          ๑. สุข ได้แก่ความสุขที่ปราศจากปีติ คือความสุขทางจิตโดยเฉพาะ ไม่มีความสุข
ที่เนื่องด้วยกาย
          ๒. เอกัคคตา มีอารมณ์เป็นหนึ่ง ที่ไม่มีอารมณ์ห่วงใยในกาย เป็นอาการที่สงัดจากกาย
ฌานนี้ท่านว่าเป็นฌานที่กายกับจิตแยกกันเด็ดขาด
          อาการของฌานที่ ๓ นี้  เป็นอาการที่จิตตัดปีติ ความเอิบอิ่มใจในฌานที่ ๒ ออกเสียได้
เมื่ออารมณ์จิตเข้าถึงฌานที่ ๓ นี้ จะรู้สึกว่า อาการขนพองสยองเกล้าก็ดี น้ำตาไหลก็ดี กายโยกโคลง
ก็ดี อาการซู่ซ่าทางกาย คล้ายกายเบา กายใหญ่ กายสูงจะไม่ปรากฏเลย มีอาการทางกายเครียด
คล้ายกับใครมาจับมัดไว้จนแน่น หรือคล้ายหลักที่ปักจนแน่นไม่มีการโยกโคลงได้ฉันนั้น จงจำไว้ว่า
ตั้งแต่ฌานที่ ๒ เป็นต้นมา ไม่มีการภาวนาเลย ถ้ายังภาวนาอยู่ และหูได้ยินเสียงชัด แต่ไม่รำคาญ
ในเสียง เป็นฌานที่ ๑ ตั้งแต่ฌานที่ ๒ มาไม่มีการภาวนา และเรื่องเสียงเกือบไม่มีความหมาย คือ
ไม่มีความสนใจในเสียงเลย เสียงมีอยู่ก็เหมือนไม่มี เพราะจิตไม่รับเสียง ลมหายใจจะค่อยๆ น้อย
อ่อนระรวยลงทุกขณะ ในฌานที่ ๓ นี้ลมหายใจยังปรากฏ แต่ก็รู้สึกเบาเต็มที่มีอาการคล้าย
จะไม่หายใจ แต่ก็พอรู้สึกน้อยๆ ว่าหายใจ จิตสงัดไม่มีการหวั่นไหว ไม่มืด มีความโพลงอยู่
มีอารมณ์แน่นในสมาธิมากจนรู้ตัวว่าอารมณ์แนบแน่นกว่าสองฌานที่ผ่านมา อย่างนี้ท่านเรียกว่า
เข้าถึงฌานที่ ๓ ต้องฝึกเข้าฌานออกฌานให้แคล่วคล่องว่องไวตามที่กล่าวมาแล้ว
 
เสี้ยนหนามของฌานที่ ๓

          ปีติ เป็นเสี้ยนหนามของ ฌานที่ ๓ เพราะฌานที่ ๓ ตัดปีติเสียได้ แต่ถ้าอารมณ์
ตกลงไปปีติจะปรากฏขึ้น ถ้าปีติปรากฏขึ้นเมื่อไร พึงทราบเถิดว่า ขณะนี้อารมณ์จิตเคลื่อน
จากฌานที่ ๓ มาอยู่ระดับฌาน ๒ แล้วถ้าปรากฏว่ามีการภาวนาด้วย แต่จิตยังไม่รำคาญในเสียง
ก็ยิ่งร้ายใหญ่ เพราะอารมณ์สมาธิไหลออกจนเหลือเพียงฌาน ๑ ท่านให้ระมัดระวังด้วยการทรง
สติสัมปชัญญะ อย่าให้อารมณ์สมาธิรั่วไหลเป็นอันขาด เพราะจะเป็นอันตรายแก่ฌาน ๓

อานิสงส์ฌานที่ ๓


          ฌานที่ ๓ นี้ ถ้าทรงไว้ได้จนตาย ในขณะตาย ตายในระหว่างฌานที่ ๓ ท่านว่าจะไม่
หลงตาย เมื่อมีชีวิตอยู่ ก็จะเป็นคนมีอารมณ์แช่มชื่นเบิกบานตลอดเวลา หน้าตาสดชื่นผ่องใส
เมื่อตายแล้ว ฌาน ๓ ย่อมส่งผลให้เกิดเป็นพรหม คือ
          ๑. ฌานที่ ๓ หยาบ   ให้ผลไปเกิดเป็นพรหมชั้นที่  ๗
          ๒. ฌานที่ ๓ กลาง   ให้ผลไปเกิดเป็นพรหมชั้นที่  ๘
          ๓. ฌานที่ ๓ ละเอียด ให้ผลไปเกิดเป็นพรหมชั้นที่  ๙
          ฌาน  ๓  ที่เป็นโลกียฌานให้ผลอย่างนี้ ถ้าเอาฌาน ๓ ไปเป็นกำลังของวิปัสสนาญาณ
วิปัสสนาจะมีกำลังกล้า ตัดกิเลสให้เด็ดขาดได้โดยรวดเร็ว อาจได้บรรลุมรรคผลเบื้องสูงในชาตินี้
โดยไม่ชักช้านัก ผลของท่านที่ทรงฌาน ๓ ไว้ได้มีผลดังกล่าวมาแล้วนี้

จตุตถฌาน หรือ จตุตถสมาบัติ


          จตุตถะ แปลว่าที่ ๔ จตุตถฌานจึงแปลว่าฌานที่ ๔ ฌานที่ ๔ นี้มีอารมณ์ ๒ เหมือน
ฌาน ๓ แต่ผิดกันที่ฌาน ๓ มีสุขกับเอกัคคตา สำหรับฌานที่ ๔ นี้ ตัดความสุขออกเสียเหลือแต่
เอกัคคตา และเติมอุเบกขาเข้ามาแทน ฉะนั้น อารมณ์ของฌาน ๔ จึงมีอารมณ์ผิดแผกจาก
ฌาน ๓ ตรงที่ตัดความสุขออกไป และเพิ่มการวางเฉยเข้ามาแทนที่

อาการของฌาน ๔ เมื่อปฏิบัติถึง

          ฌาน  ๔ เมื่อนักปฏิบัติ ปฏิบัติถึงมีอาการดังนี้
          ๑. จะไม่ปรากฏลมหายใจเหมือนสภาพฌานอื่นๆ เพราะลมละเอียดจนไม่ปรากฏว่ามี
ลมหายใจ ในวิสุทธิมรรคท่านว่าลมหายใจไม่มีเลย แต่บางอาจารย์ท่านว่า ลมหายใจนั้นมี
แต่ลมหายใจละเอียดจนไม่มีความรู้สึกว่าหายใจ ตามนัยวิสุทธิมรรคท่านกล่าวถึงคนที่ไม่มี
ลมหายใจไว้ ๔ จำพวกด้วยกัน คือ ๑. คนตาย ๒. คนดำน้ำ ๓. เด็กในครรภ์มารดา
๔.ท่านที่เข้าฌาน ๔ รวมความว่า ข้อสังเกตที่สังเกตได้ชัดเจนในฌาน ๔ ที่เข้าถึงก็คือ
ไม่ปรากฏว่ามีลมหายใจการที่ฌาน ๔ เมื่อเข้าถึงแล้ว และขณะที่ทรงอยู่ในระดับของฌาน ๔
ไม่ปรากฏว่ามีลมหายใจนี้เป็นความจริง มีนักปฏิบัติหลายท่านที่พบเข้าแบบนี้ถึงกับร้องเอะอะโวยวาย
บอกว่าไม่เอาแล้ว เพราะเกรงว่าจะตายเพราะไม่มีลมหายใจ บางรายที่อารมณ์สติสมบูรณ์หน่อย
ก็ถึงกับค้นคว้าควานหาลมหายใจ เมื่ออารมณ์จิตตกลงระดับต่ำกว่าฌานที่ ๔ ในที่สุดก็พบลมหายใจ
ที่ปรากฏอยู่กับปลายจมูกนั่นเอง
          ๒.  อารมณ์จิตเมื่อเข้าสู่ระดับฌาน ๔ จะมีอารมณ์สงัดเงียบจากอารมณ์ภายนอกจริง ๆ
ดับเสียง คือ ไม่ได้ยินเสียง ดับสุข ดับทุกข์ทางกายเสียจนหมดสิ้น มีอารมณ์โพลงสว่างไสวเกินกว่า
ฌานอื่นใด มีอารมณ์สงัดเงียบ ไม่เกี่ยวข้องด้วยร่างกายเลย กายจะสุข จะทุกข์ มดจะกิน ริ้นจะกัด
อันตรายใดๆ จะเกิด จิตในระหว่างตั้งอยู่สมาธิที่มีกำลังระดับฌาน ๔ จะไม่รับรู้อะไรทั้งสิ้น เพราะฌานนี้
กายกับจิตแยกกันเด็ดขาดจริงๆ ไม่สนใจข้องแวะกันเลย ดังจะเห็นในเรื่องของลมหายใจ ความจริง
ร่างกายนี้จำเป็นมากในเรื่องหายใจ เพราะลมหายใจเป็นพลังสำคัญของร่างกาย พลังอื่นใดหมดไป
แต่อัสสาสะ ปัสสาสะ คือลมหายใจยังปรากฏ ที่เรียกกันตามภาษาธรรมว่า ผัสสาหารยังมีอยู่ ร่างกายก็ยัง
ไม่สลายตัว ถ้าลมหายใจที่เรียกว่าผัสสาหารหยุดเมื่อไร เมื่อนั้นก็ถึงอวสานของการทรงอยู่ของร่างกาย
ฉะนั้น ผลการปฏิบัติที่เข้าถึงระดับฌาน ๔ จึงจัดว่าลมหายใจยังคงมีตามปกติ ที่ไม่รู้ว่าหายใจก็เพราะ
ว่าจิตแยกออกจากกายอย่างเด็ดขาดโดยไม่รับรู้อาการของร่างกายเลย

อาการที่จิตแยกจากร่างกาย

          เพื่อให้เข้าใจชัดว่า จิตแยกออกจากร่างกายได้จริงเพียงใด เมื่อท่านเจริญสมาธิถึงฌาน ๔
จนคล่องแคล่วชำนิชำนาญดีแล้ว ให้ท่านเข้าสู่ฌาน ๔ แล้วถอยจิตออกมาหยุดอยู่เพียงอุปจารฌาน
แล้วอธิษฐานว่า ขอร่างกายนี้จงเป็นโพรงและกายอีกกายหนึ่งจงปรากฏ แล้วเข้าฌาน ๔ ใหม่ ออกจาก
ฌาน ๔ มาหยุดอยู่เพียงอุปจารฌาน ท่านจะเห็นกายเป็นโพรงใหญ่ มีกายของเราเองปรากฏขึ้นภายใน
กายเดิมอีกกายหนึ่ง ที่ท่านเรียกในมหาสติปัฏฐานว่ากายในกาย จะบังคับให้กายในกายท่องเที่ยวไป
ในร่างกายทุกส่วน แม้แต่เส้นประสาทเล็กๆ กายในกายก็จะไปได้สะดวกสบายเหมือนเดินในถ้ำใหญ่ ๆ
ต่อไปจะบังคับกายใหม่นี้ออกไปสู่ภพใด ๆ  ก็ไปได้ตามประสงค์ ที่ท่านเรียกว่า "มโนมยิทธิ แปลว่า
มีฤทธิ์ทางใจนั่นเอง" พลังของฌาน ๔ มีพลังมากอย่างนี้ ท่านที่ได้ฌาน ๔ แล้วท่านจะฝึกวิชชาสาม
อภิญญาหก หรือปฏิสัมภิทาญาณ ก็ทำได้ทั้งนั้น เพราะวิชชาการที่จะฝึกต่อไปนั้น ก็ใช้พลังจิตระดับ
ฌาน ๔ นั่นเอง จะแตกต่างกันอยู่บ้างก็เพียงอาการในการเคลื่อนไปเท่านั้น ส่วนอารมณ์ที่จะใช้
ก็เพียงฌาน ๔ ซึ่งเป็นของที่มีอยู่แล้วเปรียบเสมือนนักเพาะกำลังกาย  ถ้ามีกำลังกายสมบูรณ์แล้ว
จะทำอะไรก็ทำได้ เพราะกำลังพอ จะมีสะดุดบ้างก็ตรงเปลี่ยนแนวปฏิบัติใหม่ จะยุ่งใจบ้างในระยะต้น
พอเข้าใจเสียแล้วก็ทำได้คล่อง เพราะกำลังพอ ท่านที่ได้ฌาน ๔ แล้วก็เช่นเดียวกัน เพราะงานส่วน
อภิญญาหรือวิชชาสาม ก็ใช้พลังจิตเพียงฌาน ๔ เท่านั้น ท่านที่ได้ฌาน ๔ จึงเป็นผู้มีโอกาสจะทำ
ได้โดยตรง

เสี้ยนหนามของฌาน ๔

          เสี้ยนหนาม หรือศัตรูตัวสำคัญของฌาน ๔ ก็คือ "ลมหายใจ" เพราะถ้าปรากฏว่ามีลมหายใจ
ปรากฏเมื่อเข้าฌาน ๔ ก็จงทราบเถิดว่า จิตของท่านมีสมาธิต่ำกว่าฌาน ๔ แล้ว จงอย่าสนใจกับ
ลมหายใจเลยเป็นอันขาด

อานิสงส์ของฌาน ๔

          ๑. ท่านที่ทรงฌาน ๔ ไว้ได้ ในขณะที่มีชีวิตอยู่ จะมีอารมณ์แช่มชื่นตลอดวันเวลา จะแก้ปัญหา
ของตนเองได้อย่างอัศจรรย์
          ๒. ท่านที่ได้ฌาน ๔ สามารถจะทรงวิชชาสาม อภิญญาหก ปฏิสัมภิทาญาณได้ถ้าท่านต้องการ
          ๓. ท่านที่ได้ฌาน  ๔ สามารถจะเอาฌาน ๔ เป็นกำลังของวิปัสสนาญาณชำระกิเลสให้หมดสิ้นไป
อย่างช้าภายใน ๗ ปี อย่างกลางภายใน ๗ เดือน อย่างเร็วภายใน ๗ วัน
          ๔. หากท่านไม่เจริญวิปัสสนา ท่านทรงฌาน ๔ ไว้มิให้เสื่อม ขณะตาย ตายในระหว่างฌาน
ที่จะได้ไปเกิดในพรหมโลกสองชั้นคือ ชั้นที่ ๑๐ และชั้นที่ ๑๑

รูปสมาบัติหรือรูปฌาน


          ฌานหรือสมาบัติที่กล่าวมาแล้วทั้ง ๔ อย่างนี้ ท่านเรียกว่ารูปฌาน หรือรูปสมาบัติ ถ้ายังไม่สำเร็จ
มรรคผลเพียงใด ท่านเรียกว่าโลกียสมาบัติ หรือโลกียฌาน ถ้าเจริญวิปัสสนาญาณจนสำเร็จมรรคผล
ตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป ท่านเรียกว่า โลกุตตรสมาบัติ หรือโลกุตตรญาณ ศัพท์ว่า โลกุตตระ ตัดออกเป็น
สองศัพท์ มีรูปเป็น โลกะ และ อุตตระ สนธิคือเอาโลกะกับอุตตระมาต่อกันเข้า เอาตัว อ. ออกเสีย เอา
สระอุผสมกับตัวตัว ก. เป็นโลกุตตระ โลกะ แปลตามศัพท์ว่าโลก อุตตระ แปลว่าสูงกว่า รวมความว่าสูง
กว่าโลก โลกุตตระท่านจึงแปลว่าสูงกว่าโลก โลกุตตรฌาน แปลว่าฌานที่สูงกว่าโลกโลกุตตรสมาบัติ
แปลว่าสมาบัติที่สูงกว่าโลก หมายความว่ากรรมต่างๆ ที่โลกนิยมนั้น ท่านพวกนี้พ้นไปแล้ว แม้บาปกรรม
ที่ชาวโลกต้องเสวยผล ท่านที่ได้โลกุตตระ ท่านก็ไม่ต้องรับผลกรรมนั้นอีก เพราะกรรมของชาวโลก
ให้ผล ท่านไม่ถึง ท่านจึงได้นามว่าโลกุตตรบุคคล
          รวมความว่าฌานประเภทที่กล่าวมาแล้วนั้นเป็นรูปฌาน เพราะมีรูปเป็นอารมณ์ เรียกตามชื่อ
สมาบัติว่า รูปสมาบัติ สำหรับรูปฌาน หรือรูปสมาบัตินั้น มีแยกออกไปอีก ๔ อย่าง ดังจะกล่าวให้ทราบ
ต่อไป

อรูปสมาบัติหรืออรูปฌาน

   
          ๑. อากาสานัญจายตะ เพ่งอากาศ ๆ เป็นอารมณ์
          ๒. วิญญาณัญจายตะ กำหนดหมายเอาวิญญาณเป็นอารมณ์
          ๓. อากิญจัญญายตนะ กำหนดว่าไม่มีอะไรเลยเป็นอารมณ์
          ๔. เนวสัญญานาสัญญายตนะ กำหนดหมายเอาการไม่มีวิญญาณ คือไม่รับรู้รับทราบ
อะไรเลยเป็นสำคัญ
          ทั้ง ๔ อย่างนี้เรียกว่าอรูปฌาน  เพราะการเจริญไม่กำหนดหมายรูปเป็นอารมณ์ กำหนด
หมายเอาความไม่มีรูปเป็นอารมณ์ จึงเรียกว่าอรูปฌาน ถ้าเรียกเป็นสมาบัติ ถ้าเรียก

สมาบัติ ๘

          ท่านที่ทรงสมาบัติในรูปสมาบัติ ๔ และทรงอรูปสมาบัติอีก ๔ รวมทั้งรูปสมาบัติ ๔
อรูปสมาบัติ ๔ เป็นสมาบัติ ๘

ผลสมาบัติ 

          คำว่าผลสมาบัติ ท่านหมายถึงการเข้าสมาบัติตามผลที่ได้ ผลสมาบัตินี้จะเข้าได้ต้องเป็น
พระอริยเจ้าตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป ท่านที่เป็นพระอริยเจ้าที่ไม่ได้สมาบัติแปดมาก่อน ท่านเข้า
นิโรธสมาบัติไม่ได้ ท่านก็เข้าผลสมาบัติ คือท่านเข้าฌานนั่นเอง ท่านได้ฌานระดับใด ท่านก็เข้า
ระดับนั้น แต่ไม่ถึงสมาบัติแปดก็แล้วกัน และท่านเป็นพระอริยเจ้า จะเป็น พระโสดา สกิทาคา อนาคามี
อรหันต์ก็ตาม เมื่อท่านเข้าฌาน ท่านเรียกว่าเข้าผลสมาบัติ ท่านที่ไม่เป็นพระอริยเจ้าเข้าฌาน
ท่านเรียกว่าเข้าฌาน  เพราะไม่มีมรรคผล ต่างกันเท่านี้เอง กิริยาที่เข้าก็เหมือนกัน ต่างกันแต่เพียงว่า
ท่านเป็นพระอริยเจ้า หรือไม่ใช่พระอริยเจ้าเท่านั้นเอง 

นิโรธสมาบัติ

          นิโรธสมาบัติ ท่านที่จะเข้านิโรธสมาบัติได้ ต้องเป็นพระอริยะขั้นต่ำตั้งแต่พระอนาคามี
เป็นต้นไป และพระอรหันต์เท่านั้น และท่านต้องได้สมาบัติแปดมาก่อน ตั้งแต่ท่านเป็นโลกียฌาน
ท่านที่ได้สมาบัติแปด เป็นพระอริยะต่ำกว่าพระอนาคามีก็เข้านิโรธสมาบัติไม่ได้ ต้องได้มรรคผลถึง
อนาคามีเป็นอย่างต่ำจึงเข้าได้

ผลของสมาบัติ

          สมาบัตินี้ นอกจากจะให้ผลแก่ท่านที่ได้แล้ว ยังให้ผลแก่ท่านที่บำเพ็ญกุศลต่อท่านที่ได้
สมาบัติด้วย ท่านสอนว่าพระก่อนบิณฑาตตอนเช้ามืดที่ท่านสอนให้เคาะระฆังก็เพื่อให้พระวิจัย
วิปัสสนาญาณ และเข้าฌานสมาบัติ เพื่อเป็นการสนองความดีของทายกทายิกาผู้สงเคราะห์ในตอนเช้า
พระที่บวชใหม่ก็ทบทวนวิชาความรู้และซักซ้อมสมาธิเท่าที่จะได้ ผลของสมาบัติมีอย่างนี้
          ๑. นิโรธสมาบัติ สมาบัตินี้เข้ายาก ต้องหาเวลาว่างจริง ๆ เพราะเข้าคราวหนึ่งใช้เวลา
อย่างน้อย ๗ วัน อย่างสูงไม่เกิน ๑๕ วัน ใครได้ทำบุญแก่ท่านที่ออกจากนิโรธสมาบัตินี้ จะได้ผลใน
วันนั้น หมายความว่าคนจนก็จะได้เป็นมหาเศรษฐีในวันนั้น
          ๒. ผลสมาบัติ เป็นสมาบัติเฉพาะพระอริยเจ้า ท่านออกจากผลสมาบัติแล้ว สมาบัตินี้เข้าออก
ได้ทุกวันและทุกเวลา ท่านที่ทำบุญแด่ท่านที่ออกจากผลสมาบัติ ท่านผู้นั้นจะมีผลไพบูลย์ในความเป็น
อยู่ คือมีฐานะไม่ฝืดเคือง
          ๓. ฌานสมาบัติ ท่านที่บำเพ็ญกุศลแก่ท่านที่ออกจากฌานสมาบัติ จะทรงฐานะไว้ด้วยดี
ไม่ยากจนกว่าเดิม มีวันแต่จะเจริญงอกงามขึ้นเป็นลำดับ

เข้าผลสมาบัติ

          ก่อนที่จะเลยไปพูดเรื่องอื่น เกิดห่วงการเข้าผลสมาบัติขึ้นมา จึงขอย้ำถึงเรื่องเข้าผลสมาบัติ
เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้เข้าใจสักนิด การเข้าผลสมาบัติ กับเข้าฌานสมาบัติ ต่างกันอยู่หน่อยหนึ่ง คือ
การเข้าฌานสมาบัติ ท่านสอนให้ทำจิตให้ห่างเหินนิวรณ์ คือระมัดระวังมิให้นิวรณ์เข้ามารบกวนใจ
เมื่อจิตว่างจากนิวรณ์แล้ว อารมณ์ของสมาธิก็ไม่มีอะไรรบกวน เข้าฌานสมาบัติได้ทันที สำหรับผล
สมาบัตินั้น  เป็นสมาบัติของพระอริยเจ้าท่านเข้าดังนี้  เมื่อท่านพิจารณาว่าเวลานี้ธุระอย่างอื่นไม่มีแล้ว
มีเวลาว่างพอที่จะเข้าผลสมาบัติได้ ท่านก็เริ่มเข้าสู่ที่สงัด นั่งตั้งกายตรง ดำรงจิตมั่นคงแล้วก็พิจารณา
สังขารตามแบบวิปัสสนาญาณ โดยพิจารณาในวิปัสสนาญาณทั้ง ๘ ย้อนไป ย้อนมา หรือพิจารณาตามแบบ
ขันธ์ห้ารวม คือพิจารณาเห็นว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณทั้งห้าอย่างนี้ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา
เราไม่มีในขันธ์ห้า ขันธ์ห้าไม่มีในเรา อย่างนี้ก็ได้ตามแต่ท่านจะถนัด รวมความว่า ท่านเป็นพระอริยะ
เพราะท่านพิจารณาวิปัสสนาญาณแบบใดท่านก็พิจารณาแบบนั้น เพราะท่านคล่องของท่านอยู่แล้ว
เมื่อพิจารณาขันธ์ห้าจนอารมณ์ผ่องใสแล้ว ท่านก็เข้าสมาบัติตามกำลังฌานที่ท่านได้ อย่างนี้เป็นวิธี
เข้าผลสมาบัติ เพราะท่านพิจารณาวิปัสสนาญาณก่อนจึงเข้าฌาน นำมากล่าวเพิ่มเติมไว้เพื่อท่านผู้อ่าน
จะได้รับทราบไว้ แต่สำหรับท่านที่เป็นพระอริยเจ้านั้น ไม่มีอะไรจะสอนท่าน
 
 
ที่มา.......คำสอนของ ลพ.ฤาษีลิงดำ จากเว็บพลังจิต
28290  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ผลสมาบัติ คืออะไรครับ เมื่อ: ธันวาคม 17, 2009, 09:35:29 pm
สมาบัติ

          คำว่า สมาบัติ แปลว่าถึงพร้อม แปลเหมือนกันกับคำว่า สมบัติ ศัพท์เดิมว่า สัมปัตติ
แปลว่าถึงพร้อม มาแปลงเป็นบาลีไทย หมายความว่าศัพท์นั้นเป็นศัพท์บาลี แต่เรียกกันเป็นไทย ๆ 
เสีย ก็เลยเพี้ยนไปหน่อย เล่นเอาผู้รับฟังปวดเศียรเวียนเกล้าไปตามๆ กัน
          สมาบัติ แปลว่าเข้าถึงนั้น หมายเอาว่าเข้าถึงอะไร ข้อนี้น่าจะบอกไว้เสียด้วย ขอบอก
ให้รู้ไว้เลยว่า ถึงจุดของอารมณ์ที่เป็นสมาธิหรือที่เรียกว่า ฌาน นั่นเอง เมื่ออารมณ์ของสมาธิที่ยังไม่เข้าระดับฌาน ท่านยังไม่เรียกว่า สมาบัติ เช่น

ขณิกสมาธิ

          ขณิกสมาธิ แปลว่า ตั้งใจมั่นได้เล็กน้อย หรือนิดๆ หน่อยๆ คำว่า สมาธิ แปลว่า
ตั้งใจมั่น ต้องมั่นได้นิดหน่อย เช่น กำหนดจิตคิดตามคำภาวนา ภาวนาได้ประเดี่ยวประด๋าว
จิตก็ไปคว้าเอาความรู้สึกนึกคิดอารมณ์ภายนอกคำภาวนามาคิด ทิ้งองค์ภาวนาเสียแล้ว กว่าจะรู้ตัวว่า
จิตซ่าน ก็คิดตั้งบ้านสร้างเรือนเสียพอใจ อารมณ์ตั้งอยู่ในองค์ภาวนาไม่ได้นานอย่างนี้ ตั้งอยู่ได้
ประเดี๋ยวประด๋าว อารมณ์จิตก็ยังไม่สว่างแจ่มใส ภาวนาไปตามอาจารย์สั่งขาดๆ เกินๆ อย่างนี้แหละ
ที่เรียกว่า ขณิกสมาธิ ท่านยังไม่เรียก ฌาน เพราะอารมณ์ยังไม่เป็นฌาน ท่านจึงไม่เรียกว่า
สมาบัติ เพราะยังไม่เข้าถึงกฎที่ท่านกำหนดไว้

ฌาน


          ขอแปลคำว่าฌานสักนิด ขอคั่นเวลาสักหน่อย ประเดี๋ยวเลยไปจะยุ่ง จะไม่รู้ว่า ฌาน
แปลว่าอะไร คำว่า ฌาน นี้ แปลว่า เพ่ง หมายถึงการเพ่งอารมณ์ตามกฎแห่งการเจริญกรรมฐาน
ถึงอันดับที่ ๑ เรียกว่าปฐมฌาน คือ ฌาน ๑ ถึงอันดับที่ ๒ เรียกว่าทุติยฌาน แปลว่า ฌาน ๒
ถึงอันดับที่ ๓ เรียกว่า ตติยฌาน แปลว่าฌาน ๓ ถึงอันดับที่ ๔ เรียกว่า จตุตถฌาน แปลว่า ฌาน ๔
ถึงอันดับที่แปด คือ ได้อรูปฌานถึงฌาน ๔ ครบทั้ง ๔ อย่าง เรียกว่า ฌาน  ๘
           ถ้าจะเรียกเป็นสมาบัติก็เรียกเหมือนฌาน ฌาน ๑ ท่านก็เรียกว่า ปฐมสมาบัติ ฌานที่ ๒
ท่านก็เรียกว่า ทุติยสมาบัติ ฌาน ๓ ท่านก็เรียก ตติยสมาบัติ ฌาน ๔ ท่านก็เรียกจตุตถสมาบัติ
ฌาน ๘ ท่านเรียก อัฎฐสมาบัติ หรือสมาบัติแปดนั่นเอง

อุปจารสมาธิ

          อุปจารสมาธินี้เรียกอุปจารฌานก็เรียก เป็นสมาธิที่มีความตั้งมั่นใกล้จะถึงปฐมฌานหรือ
ปฐมสมาบัตินั่นเอง อุปจารสมาธิคุมอารมณ์สมาธิไว้ได้นานพอสมควร มีอารมณ์ใสสว่างพอใช้ได้
เป็นพื้นฐานเดิมที่จะฝึกทิพยจักษุญาณได้ อารมณ์ที่อุปจารสมาธิเข้าถึงนั้นมีอาการดังนี้
          ๑. วิตก คือความกำหนดจิตนึกคิดองค์ภาวนาหรือกำหนดรูปกสิณ จิตกำหนดอยู่ได้
ไม่คลาดเคลื่อน ในเวลานานพอสมควร
          ๒. วิจาร การใคร่ครวญในรูปกสิณนิมิต ที่จิตถือเอาเป็นนิมิตที่กำหนด มีอาการเคลื่อนไหว
หรือคงที่ มีสีสันวรรณะเป็นอย่างไร เล็กหรือใหญ่ สูงหรือต่ำ จิตกำหนดรู้ไว้ได้ ถ้าเป็นองค์ภาวนา
ภาวนาครบถ้วนไหม ผิดถูกอย่างไร กำหนดรู้เสมอ ถ้ากำหนดลมหายใจ ก็กำหนดรู้ว่า หายใจเข้า
ออกยาวหรือสั้น เบาหรือแรง รู้อยู่ตลอดเวลาอย่างนี้ เรียกว่าวิจาร
          ๓. ปีติ ความปลาบปลื้มเอิบอิ่มใจ มีจิตใจชุ่มชื่นเบิกบาน ไม่อิ่มไม่เบื่อในการเจริญภาวนา
อารมณ์ผ่องใส ปรากฏว่าเมื่อหลับตาภาวนานั้นไม่มืดเหมือนเดิม มีความสว่างปรากฏคล้ายใคร
นำแสงสว่างมาวางไว้ใกล้ๆ บางคราวก็เห็นภาพและแสงสีปรากฏเป็นครั้งคราว แต่ปรากฏอยู่ไม่นาน
ก็หายไป อาการของปีติมีห้าอย่างคือ
          ๓.๑ มีการขนลุกขนชัน ท่านเรียกว่าขนพองสยองเกล้า
          ๓.๒ มีน้ำตาไหลจากตาโดยไม่มีอะไรไปทำให้ตาระคายเคือง
          ๓.๓ ร่างกายโยกโคลง คล้ายเรือกระทบคลื่น
          ๓.๔ ร่างกายลอยขึ้นเหนือพื้นที่นั่ง บางรายลอยไปได้ไกลๆ และลอยสูงมาก
          ๓.๕ อาการกายซู่ซ่า คล้ายร่างกายโปร่ง และใหญ่โตสูงขึ้นอย่างผิดปกติ
          อาการทั้งห้าอย่างนี้ แม้อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอาการของปีติ ข้อที่ควรสังเกตก็คือ
อารมณ์จิตชุ่มชื่นเบิกบานแม้ร่างกายจะสั่นหวั่นไหว บางรายตัวหมุนเหมือนลูกข่างแต่จิตใจก็เป็นสมาธิ
แนบแน่นไม่หวั่นไหว มีสมาธิตั้งมั่นอยู่เสมอ การกำหนดจิตเข้าสมาธิก็ง่าย คล่อง ทำเมื่อไร เข้าสมาธิได้
ทันที อาการของสมาธิเป็นอย่างนี้
          ๔. สุข ความสุขชื่นบาน เป็นความสุขที่ละเอียดอ่อน ไม่เคยปรากฏการณ์มาก่อนเลยในชีวิต
จะนั่งสมาธินานแสนนานก็ไม่รู้สึกปวดเมื่อย อาการปวดเมื่อยจะมีก็ต่อเมื่อคลายสมาธิแล้ว ส่วนจิตใจ
มีความสุขสำราญตลอดเวลา สมาธิก็ตั้งมั่นมากขึ้น อารมณ์วิตกคือการกำหนดภาวนา ก็ภาวนาได้ตลอด
เวลา การกำหนดรู้ความภาวนาว่าจะถูกต้องครบถ้วนหรือไม่เป็นต้น ก็เป็นไปด้วยดี มีธรรมปีติชุ่มชื่น
ผ่องใส ความสุขใจมีตลอดเวลา สมาธิตั้งมั่น ความสว่างทางใจปรากฏขึ้นในขณะหลับตาภาวนา อาการ
ตามที่กล่าวมาทั้งหมดนี้แหละ ที่เรียกว่า อุปจารสมาธิ หรือเรียกว่า อุปจารฌาน คือเฉียดๆ จะถึง
ปฐมฌานอยู่แล้ว ห่างปฐมฌานเพียงเส้นยาแดงผ่า ๓๒ เท่านั้นเอง ตอนนี้ท่านยังไม่เรียกฌานโดยตรง
เพราะอารมณ์ยังไม่ครบองค์ฌาน ท่านจึงยังไม่ยอมเรียกว่าสมาบัติ เพราะยังไม่ถึงฌาน

ปฐมฌาน หรือ ปฐมสมาบัติ

          ปฐมฌาน หรือปฐมสมาบัตินี้ ท่านกำหนดองค์ของปฐมฌาน หรือปฐมสมาบัติไว้ ๕ อย่าง
ดังต่อไปนี้
          ๑. วิตก จิตกำหนดนึกคิด โดยกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ว่าหายใจเข้าหรือออก ถ้าใช้คำ
ภาวนา ก็รู้ว่าเราภาวนาอยู่ คือภาวนาไว้มิให้ขาดสาย ถ้าเพ่งกสิณ ก็กำหนดจับภาพกสิณอยู่ตลอดเวลา
อย่างนี้เรียกว่าวิตก
           ๒. วิจาร ถ้ากำหนดลมหายใจ ก็ใคร่ครวญกำหนดรู้ไว้เสมอว่า เราหายใจเข้าหรือหายใจออก
หายใจเข้าออกยาวหรือสั้น หายใจเบาหรือแรง ในวิสุทธิมรรคท่านให้รู้กำหนดลมสามฐานคือ หายใจเข้า
ลมกระทบจมูก กระทบอก กระทบศูนย์เหนือสะดือนิดหน่อย หายใจออกลมกระทบศูนย์ กระทบอก
กระทบจมูกหรือริมฝีปาก
           ถ้าภาวนา ก็กำหนดรู้ไว้เสมอว่า เราภาวนาถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ประการใด
           ถ้าเพ่งภาพกสิณ ก็กำหนดหมายภาพกสิณว่า เราเพ่งกสิณอะไร มีสีสันวรรณะเป็นอย่างไร
ภาพกสิณเคลื่อนหรือคงสภาพ สีของกสิณเปลี่ยนแปลงไปหรือคงเดิม ภาพที่เห็นอยู่นั้นเป็นภาพกสิณ
ที่เราต้องการ หรือภาพหลอนสอดแทรกเข้ามา ภาพกสิณเล็กหรือใหญ่ สูงหรือต่ำ ดังนี้เป็นต้น อย่างนี้
เรียกว่า วิจาร
          ๓. ปีติ ความชุ่มชื่นเบิกบานใจ มีเป็นปกติ
          ๔. ความสุขเยือกเย็น เป็นความสุขทางกายอย่างประณีต ซึ่งไม่เคยมีมาในกาลก่อน
          ๕. เอกัคคตารมณ์ มีอารมณ์เป็นหนึ่ง คือ ตั้งมั่นอยู่ในองค์ทั้ง ๔ ประการนั้นไม่คลาดเคลื่อน
          ข้อที่ควรสังเกตก็คือ ปฐมฌานหรือปฐมสมาบัตินี้ เมื่อขณะทรงสมาธิอยู่นั้นหูยังได้ยินเสียง
ภายนอกทุกอย่าง แต่ว่าอารมณ์ภาวนาหรือรักษาอารมณ์ไม่คลาดเคลื่อน ไม่รำคาญในเสียง เสียงก็ได้ยิน
แต่จิตก็ทำงานเป็นปกติ อย่างนี้ท่านเรียกว่า ปฐมฌาน คือ อารมณ์เพ่งอยู่ โดยไม่รำคาญในเสียง
ทรงความเป็นหนึ่งไว้ได้ ท่านกล่าวว่า กายกับจิตเริ่มแยกตัวกันเล็กน้อยแล้ว ตามปกติจิตย่อมสนใจ
ในเรื่องของกาย  เช่นหูได้ยินเสียง จิตก็คิดอะไรไม่ออกเพราะรำคาญในเสียง แต่พอจิตเข้าระดับ
ปฐมฌาน กลับเฉยเมยต่อเสียง คิดคำนึงถึงอารมณ์กรรมฐานได้เป็นปกติ ที่ท่านเรียกว่าปฐมสมาบัติ
ก็เพราะอารมณ์สมาธิเข้าถึงเกณฑ์ของปฐมฌาน ที่จิตกับกายเริ่มแยกทางกันบ้างเล็กน้อยแล้วนั่นเอง

อารมณ์ปฐมฌาน และปฐมสมาบัติ

          เพื่อให้จำง่ายเข้า จะขอนำอารมณ์ปฐมฌานมากล่าวโดยย่อเพื่อทราบไว้ อารมณ์ปฐมฌาน
โดยย่อมีดังนี้
          ๑. วิตก ความตรึกนึกคิดถึงอารมณ์ภาวนา
          ๒. วิจาร ความใคร่ครวญทบทวนถึงองค์ภาวนานั้นๆ ครบถ้วนถูกต้องหรือไม่เพียงใด
          ๓. ปีติ ความเอิบอิ่มใจ มีความชุ่มชื่นเบิกบานหรรษา
          ๔. สุข มีความสุขสันต์ทางกายและจิตใจอย่างไม่เคยมีมาในกาลก่อน เป็นความสุขอย่าง
ประณีต
          ๕. เอกัคคตา มีอารมณ์เป็นหนึ่ง คือ ทรงวิตก วิจาร ปีติ สุข ไว้ได้โดยไม่มีอารมณ์อื่นเข้ามา
แทรกแซง
          องค์ปฐมฌาน หรือ ปฐมสมาบัติ ๕ อย่างที่กล่าวมาแล้วนี้ ต้องปรากฏพร้อมๆ กันไป คือนึก
คิดถึงองค์ภาวนา ใคร่ครวญในองค์ภาวนานั้น ๆ ว่าครบถ้วนถูกต้องหรือไม่ประการใด มีความชุ่มชื่น
เบิกบานใจ มีอารมณ์ผ่องใสสว่างไสวในขณะภาวนา มีความสุขสันต์หรรษา มีอารมณ์จับอยู่ในองค์ -
ภาวนา ไม่สนใจต่ออารมณ์ภายนอก แม้แต่เสียงที่ได้ยินสอดแทรกเข้ามาทำให้ได้ยินชัดเจน แต่จิตใจ
ก็ไม่หวั่นไหว ไปตามเสียงนั้น จิตใจคงมั่นคงอยู่กับอารมณ์ภาวนาเป็นปกติ

เสี้ยนหนามของปฐมฌาน


          เสี้ยนหนามหรือศัตรูตัวสำคัญของปฐมฌาน หรือ ปฐมสมาบัตินี้ ก็ได้แก่เสียง เสียงเป็นศัตรู
ที่คอยทำลายอารมณ์ปฐมฌาน ถ้านักปฏิบัติทรงสมาธิอยู่ได้ โดยไม่ต้องระแวงหวั่นไหวในเสียง คือ
ไม่รำคาญเสียงที่รบกวนได้ก็แสดงว่าท่านเข้าถึงปฐมฌานแล้ว ข้อที่ไม่ควรลืมก็คือ ฌานโลกีย์นี้
เป็นฌานระดับต่ำ เป็นฌานที่ปุถุชนคนธรรมดาสามารถจะทำให้ได้ถึงทุกคน เป็นฌานที่เสื่อมโทรมง่าย
หากจิตใจของท่านไปมั่วสุมกับนิวรณ์ห้าประการอย่างใดอย่างหนึ่งเข้า แม้แต่อย่างเดียว ฌานของท่าน
ก็จะเสื่อมทันที ต่อว่าเมื่อไร ท่านขับไล่นิวรณ์ไม่ให้เข้ามารบกวนจิตใจได้ ฌานก็เกิดขึ้นแก่จิตใจของ
ท่านต่อไป ฌานจะเสื่อม หรือ เจริญก็อยู่ที่นิวรณ์ ด้านนิวรณ์ไม่ปรากฏ จิตว่างจากนิวรณ์ จิตก็เข้าถึงฌาน
ถ้านิวรณ์มารบกวนจิตได้ ฌานก็จะสลายตัวไป ฌานตั้งแต่ฌานที่ ๑ ถึง ฌานที่ ๘ มีสภาพเช่นเดียวกัน
คือต้องระมัดระวังนิวรณ์ไม่ให้เข้ามายุ่งแทรกแซงเหมือนกัน ก่อนที่จะพูดถึงฌานที่ ๒ จะขอนำเอานิวรณ์
ศัตรูร้ายผู้คอยทำลายฌานมาให้ท่านรู้จักหน้าตาไว้เสียก่อน
 
นิวรณ์ ๕

          อกุศลธรรมที่คอยทำลายล้างความดีที่เป็นกุศล คือ ฌาน ท่านเรียกว่า นิวรณ์ มี ๕ อย่าง คือ
          ๑. กามฉันทะ ความพอใจใน รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส  อันเป็นวิสัยของกามารมณ์
          ๒. พยาบาท ความผูกโกรธ จองล้างจองผลาญ
          ๓. ถีนมิทธะ ความง่วงเหงาหาวนอน ในขณะเจริญสมณธรรม
          ๔.อุทธัจจกุกกุจจะ ความคิดฟุ้งซ่าน และความรำคาญหงุดหงิดใจ
          ๕.วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยในผลของการปฏิบัติ ไม่แน่ใจว่าจะมีผลจริงตามที่คิดไว้หรือไม่
เพียงใด
          อารมณ์ทั้ง ๕ ประการนี้ เป็นเพื่อนสนิทกับจิตใจมานับจำนวนปีไม่ถ้วน ควรจะพูดว่าจิตใจ
ของเราคบกับนิวรณ์มานานหลายร้อยหลายพันชาติ เมื่อจิตใจเราสนิทสนมกับอารมณ์ของนิวรณ์
มานานอย่างนี้ เป็นธรรมดาอยู่เองที่จิตใจจะต้องอดคบหาสมาคมกับนิวรณ์ไม่ได้ เมื่อเรามาแนะนำ
ให้คบหาสมาคมกับฌาน ซึ่งเป็นเพื่อนหน้าใหม่ มีนิสัยตรงข้ามกับเพื่อนเก่าก็เป็นการฝืนอารมณ์
อยู่ไม่น้อย ฉะนั้น ในฐานะที่นิวรณ์กับจิตเป็นเพื่อนสนิทกันมานาน ก็อดที่จะแอบไปคบหาสมาคม
กันไม่ได้ อารมณ์ที่จะคอยหักล้างนิวรณ์ คืออกุศลห้าประการนี้ได้ ก็อารมณ์ ๕ ประการของปฐมฌาน
นั่นเอง เมื่อจิตกับนิวรณ์เป็นมิตรสนิทกันมานาน ฉะนั้น การดำรงจิตอยู่ในอารมณ์ฌานจึงทรงอยู่ได้
ไม่นาน ทรงอยู่ได้ชั่วครู่ชั่วขณะ จิตก็เลื่อนเคลื่อนออกจากอารมณ์ฌานคลานเข้าไปหานิวรณ์ อาการ
อย่างนี้เป็นกฎธรรมดาของท่านที่เข้าถึงฌานในระยะต้น หรือที่มีความช่ำชองชำนาญในฌานยังน้อยอยู่
ต่อเมื่อไรได้ฝึกการดำรงฌาน กำหนดเวลาตามความต้องการได้แล้ว เมื่อนั้นแหละความเข้มข้น
เข้มแข็งของกำลังจิตที่จะทรงฌานอยู่ได้นานตามความต้องการจึงจะปรากฏมีขึ้น ขอนักปฏิบัติจงเข้าใจ
ไว้ด้วยว่าจิตที่เข้าสู่ระดับฌาน คือ ปฐมฌาน หรือฌานอื่นใดก็ตาม ถ้ายังไม่ฝึกฝนจนชำนาญ เข้าฌาน
ออกฌานตามกำหนดเวลาได้แล้ว จิตก็จะยังทรงสมาธิไว้ได้ไม่นาน จิตจะค่อยถอยหลังเข้าหานิวรณ์ ๕
ประการอย่างใดอย่างหนึ่งเมื่ออารมณ์ฌานย่อหย่อน เมื่อมีอาการอย่างนั้นบังเกิดขึ้นก็จงอย่าท้อใจ
หมั่นฝึกฝนเข้าฌานโดยการกำหนดเวลาว่า ต่อแต่นี้ไปเราจะดำรงอยู่ในฌาน ตั้งแต่เวลานี้ถึงเวลา
เท่านั้น แล้วเริ่มทำสมาธิเข้าสู่ระดับฌาน ทรงฌานไว้ตามเวลา จนกว่าเมื่อถึงเวลาแล้วจิตจะเคลื่อน
จากฌาน มีความรู้สึกตามปกติเอง เมื่อทำได้แล้วหัดทำบ่อย ๆ จากเวลาน้อย ไปหาเวลามาก คือ
๑ ชั่วโมง ไปหา ๒-๓-๔-๕-๖ จนถึง ๑ วัน ๒-๓-๔-๕-๖-๗ พอครบกำหนด จิตก็จะคลายตัวออกเอง
โดยไม่ต้องตั้งนาฬิกาปลุกหรือคนเรียก เมื่อชำนาญอย่างนี้ ชื่อว่าท่านเอาชนะนิวรณ์ได้ แต่ก็อย่าประมาท
เพราะฌานโลกีย์ ถึงอย่างไรก็ดี ยังไม่พ้นอำนาจนิวรณ์อยู่นั่นเอง นิวรณ์ที่ไม่มารบกวนนั้น
ไม่ใช่นิวรณ์สูญไปหรือสลายตัวเพียงแต่เพลียไปเท่านั้นเอง ต่อเมื่อไรท่านได้โลกุตตรฌาน คือ บรรลุ
พระอริยะตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไปนั่นแหละท่านพอจะไว้ใจตัวได้ว่า ท่านไม่มีวันที่จะต้องตกมาอยู่
ใต้อำนาจนิวรณ์ คืออกุศลธรรมต่อไปอีก เพราะโลกุตตรฌานคือได้ฌานโลกีย์แล้วเจริญวิปัสสนาญาณ
จนบรรลุอริยมรรคอริยผล เป็นพระอริยบุคคลแล้ว อกุศลคือนิวรณ์ ๕ ประการเข้าครองจิตไม่ได้สนิทนัก
สำหรับพระอริยะต้น พอจะกวนบ้างเล็กๆ น้อยๆ แต่ก็จักจูงใจให้ทำตามนิวรณ์สั่งไม่ได้ นิวรณ์บางอย่าง
เช่น กามฉันทะ ความพอใจในความสวยงามของ รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส ความโกรธ ความขัด -
เคือง พระโสดาบัน พระสกิทาคามียังมี แต่ก็มีเพียงคิดนึกไม่ถึงกับลงมือทำ เรียกว่าอกุศลกวนใจนิด -
หน่อย พอทำได้ แต่จะบังคับให้ทำไม่ได้ สำหรับพระอนาคามี ยังตกอยู่ใต้อำนาจของอุทธัจจะ คือความคิด
ฟุ้งซ่าน แต่ก็คิดไปในส่วนที่เป็นกุศลใหญ่มากกว่า ความคิดฟุ้งเลอะเลือนเล็กๆ น้อย ๆ พอมีบ้าง
แต่ไม่มีอะไรเป็นภัย เพราะพระอนาคามีหมดความโกรธ ความพยาบาทเสียแล้ว
          อำนาจของนิวรณ์มีอย่างนี้ บอกให้รู้ไว้ จะได้คอยยับยั้งชั่งใจคอยระมัดระวังไว้ไม่ปล่อยให้ใจ
ระเริงหลงไปกับนิวรณ์ ที่ชวนให้จิตมีความรู้สึกนึกคิดไปในส่วนที่เป็นอกุศลยับยั้งตนไว้ในอารมณ์ของ
ฌานเป็นปกติ ท่านที่มีอารมณ์จิตเข้าถึงอารมณ์ฌานและเข้าฌานไว้เป็นปกติ ท่านผู้นั้นมีหน้าตาแช่มชื่น
เอิบอิ่มอยู่เสมอ มีอารมณ์เบิกบานไม่หดหู่ เห็นน่ารักอยู่ตลอดเวลา ฌานแม้แต่เพียงปฐมฌานจัดว่า
เป็นฌานเบื้องต้น ก็มีผลไม่น้อยถ้าทรงไว้ได้ไม่ปล่อยให้เสื่อม ตายไปในขณะที่ทรงฌาน ก็สามารถ
ไปเกิดในพรหมโลกได้สามชั้น คือ ปฐมฌานหยาบ เกิดเป็นพรหมชั้นที่ ๑ ปฐมฌานกลาง เกิดเป็น
พรหมชั้นที่ ๒ ปฐมฌานละเอียด เกิดเป็นพรหมชั้นที่ ๓ ถ้าท่านเอาสมาธิในปฐมฌานมาเป็นกำลังของ
วิปัสสนาญาณแล้วอำนาจสมาธิของปฐมฌานก็สามารถเป็นกำลังให้วิปัสสนาญาณกำจัดกิเลสเป็น
สมุจเฉทปหาน คือตัดกิเลสได้เด็ดขาด จนบรรลุอรหัตตผลได้สมความปรารถนา อำนาจฌานแม้แต่
ฌานที่ ๑ มีอานุภาพมากอย่างนี้ ขอท่านนักปฏิบัติจงอย่าท้อใจ ระมัดระวังใจ อย่าหลงใหลในนิวรณ์
จนเสียผลฌาน

ทุติยฌานหรือทุติยสมาบัติ


          ทุติยฌาน แปลว่าฌานที่ ๒ ทุติยสมาบัติ แปลว่าสมาบัติที่ ๒ ฌานและสมาบัติ ได้อธิบาย
มาแล้วแต่ฌานต้นคือ ปฐมฌาน จะไม่อธิบายอีก ปฐมฌานมีอารมณ์ ๕ ตามที่กล่าวมาแล้วใน
ฌานที่ ๑ สำหรับทุติยฌานนี้ มีอารมณ์ ๓
          อารมณ์ ๓ ของทุติยฌานมีดังต่อไปนี้

อารมณ์ทุติยฌานมี ๓
          ๑. ปีติ ความเอิบอิ่มใจ
          ๒. สุข ความสุขอย่างประณีต
          ๓. เอกัคคตา มีอารมณ์เป็นหนึ่ง
          อารมณ์ทุติยฌานนี้ ก็ตัดเอามาจากอารมณ์ปฐมฌานนั่นเอง ท่านที่ทรงสมาธิเข้าถึง
ทุติยฌานนี้ ท่านตัดวิตก วิจารอันเป็นอารมณ์ของปฐมฌานเสียได้ คงเหลือแต่ ปีติ สุข เอกัคคตา
อาการตัดวิตก วิจารนั้นมีความรู้สึกอย่างไรในเวลาปฏิบัติจริง ข้อนี้นักปฏิบัติสนใจกันมากเป็นพิเศษ 
เพราะเพียงอ่านรู้แล้วยังหาความเข้าใจจริงไม่ได้ การตัดก็มิใช่จะตัดออกไปเฉยๆ ได้ตามอารมณ์ 
วิตกแปลว่าตรึก นึกคิด วิจาร แปลว่า ไตร่ตรอง ใคร่ครวญ ท่านลองพิจารณาดูเถิดว่า วิตกวิจารนี้
เป็นอารมณ์ที่ตัดไม่ได้ง่ายเลย ใคร ๆ ที่ไหนจะมาห้ามความรู้สึกนึกคิดกันง่าย ๆ ได้  เคยฟังท่านสอน
เวลาเรียน ท่านสอนว่าให้ตัดวิตกวิจารออกเสียได้แล้ว ทรงอยู่ในปีติ สุข เอกัคคตา เท่านี้ก็ได้ทุติยฌาน
ท่านพูดของท่านถูก ฟังก็ไม่ยาก แต่ตอนทำเข้าจริง ๆ พอมาเจอตัวตัดวิตก วิจารเข้าจริง ๆ กลับไม่
เข้าใจ จะพูดให้ฟังถึงการตัดวิตกวิจาร

ตัดวิตกวิจารตามผลปฏิบัติ
 
          ตามผลปฏิบัตินั้น วิตกวิจารที่ถูกตัด มิได้ตัดด้วยการยกเว้น คืองดการนึกคิดเอาเอง เฉย ๆ
ท่านตัดด้วยการปฏิบัติเข้าถึงระดับ คือ ในระยะแรกก็เจริญภาวนาคาถา ภาวนาตามท่านอาจารย์สอน
จะภาวนาว่าอย่างไรก็ได้ ท่านไม่ได้จำกัดไว้ คาถาภาวนาเป็นสายเชือกโยงใจเท่านั้น ให้ใจมีหลักเกาะไว้
ไม่ให้สอดส่ายไปในอารมณ์นอกจากคำภาวนา อย่างนี้ท่านเรียกว่า "บริกรรมภาวนา" ขณะที่ภาวนาอยู่
จิตคิดถึงคำภาวนานั้น ท่านเรียกว่า " วิตก" จิตที่คอยประคับประคองคำภาวนา คิดตามว่า เราภาวนา
ถูกตามอาจารย์สอนหรือไม่ ครบถ้วนหรือไม่ อย่างนี้ท่านเรียกว่า " วิจาร " การตัดวิตกวิจาร ก็ภาวนา
ไปอย่างนั้น จนเกิดปีติ สุขและเอกัคคตา คือมีอารมณ์คงที่ จิตไม่สนใจกับอารมณ์ภายนอก รักษาอารมณ์
ภาวนา และอาการเอิบอิ่ม สุขสันต์อยู่ตลอดเวลา ลมหายใจชักจะอ่อนลงทุกที รู้สึกว่าหายใจเบา อารมณ์-
จิตโปร่งแจ่มใส หลับตาแล้ว แต่คล้ายกับมีใครเอาประทีปมาวางไว้ใกล้ ๆ ในระยะนี้เอง จิตจะหยุดภาวนา
เอาเฉยๆ มีอารมณ์นิ่งดิ่งสบายกว่าขณะที่ภาวนามาก รู้สึกว่าลมหายใจอ่อนระรวยลง หูได้ยินเสียงภาย-
นอกแต่เบาลงกว่าเดิม จิตไม่สนใจกับอะไร มีอารมณ์เงียบสงัดดิ่งอยู่ บางรายพอรู้สึกตัวว่าหยุดภาวนา
ก็ตกใจ รีบคิดถึงคำภาวนา บางรายก็คว้าต้นชนปลายไม่ถูก คำภาวนาภาวนามาจนคล่อง กลับคิดไม่ออก
ว่าอะไรเป็นต้นเป็นปลาย กึกกักอึกอักอยู่ครู่หนึ่ง จึงจับต้นชนปลายถูก อาการที่จิตสงัดปล่อยคำภาวนา 
มีอารมณ์เฉยไม่ภาวนานั่นแหละ เป็นการละวิตกวิจาร ละด้วยอารมณ์เข้าถึงสมาธิอันดับฌาน  ๒
ไม่ใช่อยู่ ๆ ก็จะมาหยุดภาวนาไปนั้น ตอนนั้นจิตตกอารมณ์ทุติยฌาน เข้าสู่อารมณ์ปฐมฌานตามเดิม
บางรายก็เข้าสู่ภวังค์คืออารมณ์ปกติธรรมดาเอาเลย
          พูดมาอย่างนี้  คิดว่าท่านผู้อ่านคงจะเข้าใจแล้วว่า การละหรือตัดวิตกวิจารนั้น ก็การที่ภาวนาไป
จนมีอารมณ์สงัด จิตปล่อยคำภาวนานั่นเอง  เมื่อจิตปล่อยคำภาวนาแล้ว ก็เหลือแต่ความชุ่มชื่นหรรษา
มีความสุขสันต์ทางกายอย่างประณีต มีอารมณ์ใจดิ่งอยู่อย่างไม่สนใจกับอารมณ์ใด หูเกือบจะไม่ได้ยิน
เสียงอะไร เป็นอารมณ์จิตที่มีความสุขสบายยอดเยี่ยมกว่าฌานที่ ๑ มาก เพราะฌานที่ ๑ ยังต้องมีกังวล
อยู่กับการภาวนาและต้องระมัดระวังบทภาวนาให้ถูกต้องครบถ้วน จัดว่ามีกังวลมาก สำหรับทุติยฌานนี้
ตัดคำภาวนาออกเสียได้ด้วยการเข้าถึงอารมณ์ที่ละเอียดกว่า มีแต่ความชุ่มชื่นหรรษาด้วยอำนาจปีติ
มีความสุขละเอียดอ่อนประณีต เพราะสู่ความสุขอันประณีตด้วยอำนาจสมาธิที่ตั้งมั่นกว่าปฐมฌาน
จิตเป็นหนึ่ง คือมีอารมณ์สงัดจากอารมณ์ภายนอก แม้แต่คำภาวนาก็ไม่แยแส นี่แหละที่ท่านเรียกว่า
ได้ทุติยฌาน หรือทุติยสมาบัติ เมื่อได้แล้วต้องฝึกฝนให้คล่องว่องไว คิดจะเข้าทุติยฌานเมื่อไร ก็เข้าได้
ทันท่วงที หรือจะทรงทุติยฌานอยู่นานเท่าใด ก็กำหนดเวลาได้ตามความประสงค์ อย่างนี้จึงจะชื่อว่า
ได้ทุติยฌานแน่นอน แต่ทว่าเมื่อได้แล้วก็อย่าประมาท ถ้าพลั้งพลาดปล่อยให้อกุศลมารบกวนใจ หรือ
จิตใจไปใคร่ในอกุศลเข้าเมื่อไร ทุติยฌานก็ทุติยฌานนั่นแหละ เป็นเสื่อมทรามลงทันที ฉะนั้นท่านจึงว่า
ฌานโลกีย์นี้ระมัดระวังยาก ต้องคอยประคับประคองประคบประหงมยิ่งกว่าเด็กอ่อนนอนเบาะเสียอีก
28291  พระไตรปิฏก / พระธรรมตามพระไตรปิฏก / พระไตรปิฎก มีหลายเวอร์ชั่น ครับ เมื่อ: ธันวาคม 17, 2009, 09:06:55 pm
พระไตรปิฎก มีหลายเวอร์ชั่น ครับ  แหล่งที่จัดทำมีอยู่ ๒ สถาบัน คือ


- มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (วัดบวรนิเวศฯ บางลำภู) และ

- มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (วัดมหาธาตุฯ ท่าพระจันทร์)


เวอร์ชั่นที่เป็นมาตรฐาน และได้รับความนิยมมากที่สุด คือ

ฉบับสยามรัฐ 45 เล่ม ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

ติดต่อได้ที่

E-mail : books@mahamakuta.inet.co.th
มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์
241 ถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
โทร. (66) 02-6291417 ต่อ 106 , 2811085  Fax. (66) 02-6294015



แต่ถ้าจะซื้อมาอ่านเองขอแนะนำ
 
พระไตรปิฎก ฉบับประชาชน(๑ เล่ม) ของ อ.สุชีพ ปุญญานุภาพ  สุดยอดครับ

ลองไปดูที่  พระไตรปิฏกฉบับประชาชน
http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/
รับประกันความผิดหวัง
28292  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: พระพุทธเจ้าในอนาคตกาล ๑๐ พระองค์ เมื่อ: ธันวาคม 17, 2009, 01:12:03 pm
อานิสงส์กถา

พระบรมโพธิสัตว์ อันจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาลเบื้องหน้า ๑๐ พระองค์นั้น
- ที่ ๑ คือพระศรีอาริยเมตไตรย์ พระองค์มีพระชนม์ชีพได้ ๘ หมื่นปี พระสรีระกายสูงได้ ๘๘ ศอก มีไม้กากะทิงเป็นพระมหาโพธิในภัทรกัปป์นี้ฯ
- ที่ ๒ คือพระรามเจ้า พระองค์มีพระชนม์ได้ ๙ หมื่นปี พระสรีรกายสูงได้ ๘๐ ศอก มีไม้จันทร์แดงเป็นพระศรีมหาโพธิ ในมัณฑกัปป์ฯ
- ที่ ๓ คือพระเจ้าปเสนธิโกศล จะได้ตรัสเป็นพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระธรรมราชา พระองค์มีพระชนม์ได้ ๕ หมื่นปี พระสรีรกายสูงได้ ๑๖ ศอก มีไม้กากะทิงเป็นพระศรีมหาโพธิ ในมัณฑกัปป์ฯ
- ที่ ๔ คือพระยามาราธิราช จะได้ตรัสเป็นพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระธรรมสามี พระองค์มีพระชนม์ได้ ๑๐ หมื่นปี มีพระสรีระกายสูงได้ ๘๐ ศอก มีไม้รังเป็นพระศรีมหาโพธิ ในสารกัปป์ฯ
- ที่ ๕ คือพระยาอสุรินทราหู จะได้ตรัสเป็นพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระนารทะ พระองค์มีพระชนม์ได้หมื่นปี มีพระสรีรกายสูงได้ ๒๐ ศอก มีไม้จันทร์เป็นพระศรีมหาโพธิ ในมัณฑกัปป์ฯ
- ที่ ๖ คือโสณพราหมณ์ จะได้ตรัสเป็นพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระรังสีมุนี พระองค์มีพระชนม์ได้ ๕ พันปี มีพระสรีรกายสูงได้ ๖๐ ศอก มีไม้ดีปลีก็ว่า ไม้เลียบก็ว่าเป็นพระศรีมหาโพธิ ในมัณฑกัปป์ฯ
-ที่ ๗ คือสุภพราหมณ์ จะได้ตรัสเป็นพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระเทวเทพ พระองค์มีพระชนม์ได้ ๘ หมื่นปี มีพระสรีรกายสูงได้ ๘๐ ศอก มีไม้จำปาเป็นพระศรีมหาโพธิ ในมัณฑกัปป์ฯ
- ที่ ๘ คือโตไทยพราหมณ์ จะได้ตรัสเป็นพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระนรสีหะ พระองค์มีพระชนม์ได้ ๘๐ ปี มีพระสรีรกายสุงได้ ๖๐ ศอก มีไม้แคฝอยเป็นพระศรีมหาโพธิ ในมัณฑกัปป์ฯ
- ที่ ๙ คือช้างนาฬาคีรี จะได้ตรัสเป็นพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระติสสะ พระองค์มีพระชนม์ได้ ๘ หมื่นปี มีพระสรีรกายสูงได้ ๘๐ ศอก มีไม้ไทรเป็นพระศรีมหาโพธิ ในมัณฑกัปป์ฯ
- ที่ ๑๐ คือช้างปาลิไลย จะได้ตรัสเป็นพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระสุมงคล พระองค์มีพระชนม์ได้ ๑๐ หมื่นปี มีพระสรีรกายสูงได้ ๖๐ ศอก มีไม้กากะทิงเป็นพระศรีมหาโพธิ ในมัณฑกัปป์ฯ
รวม ๑๐ พระองค์

นมัสการพระพุทธเจ้าทั้ง ๑๐ พระองค์ว่าดังนี้ฯ
เมตฺเตยฺยา เมตฺเตยฺโย นาม ราโม จ รามสมฺพุทฺโธ
โกสโล ธมฺมราชา จ มารมาโร ธมฺมสานมี
ทีฆชงฺฆี จ นารโท โสโณ รํสิมุนี ตถา
สุภูเต เทวเทโว โตเทยฺโย นรสีหโก
ติสฺโม นาม ธนปาโล ปาลิเลยฺโย สุมงฺคโล
เอเต ทส พุทฺธา นาม ภวิสฺสนฺติ อนาคเต
กปฺปสตสหสฺสานิ ทุคฺคตึ โส น คจฺฉติฯ

นมัสการพระศรีมหาโพธิทั้ง ๑๐ ต้นว่าดังนี้ฯ
เมตฺเตยฺโย นาครุกฺโข จ ไม้กากะทิงฯ
รามพุทโธปิ จนฺทนํ ไม้จันทร์หอมฯ
ธมฺมราชา นาครุกฺโข ไม้กากะทิงฯ
ธมฺมสามี สาลรุกฺโข ไม้รังใหญ่ฯ
นารโท จนฺทนรุกฺโข จ ไม้จันทร์ฯ
รํสิมุนิ จ ปิปฺผลิ ไม้เลียบฯ
เทวเทโว จมฺปโก จ ไม้จำปาฯ
นรสีโห จ ปาตลี ไม้แคฝอยฯ
ติสฺสมฺพุทฺโธ นิโครฺโธ ไม้ไทรฯ
นาครุกฺโข สุมงฺคโล ไม้กากะทิงฯ
เอเต ทส โพธิรุกฺขา ภวิสฺสนฺติ อนาคเต
อิเม ทส จ สมฺพุทฺเธ โย นโรปิ นมสฺสติ
กปฺปสตสหสฺสานิ นิรยํ โส น คจฺฉติฯ

ผู้ใดเจริญได้เป็นนิตย์ปิดอบายภูมิ และคงจะได้ประสพพบพระพุทธองค์เจ้าองค์ใดองค์หนึ่งเป็นเที่ยงแท้ อย่าสนเท่ห์เลยท่านทั้งหลายฯ

เอวัง ก็มี ด้วยประการฉะนี้ฯ
__________________


ที่มา........ http://www.84000.org/anakot/index.html
เครดิตโดย......เว็บพลังจิต โดยคุณWisdom
28293  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: พระพุทธเจ้าในอนาคตกาล ๑๐ พระองค์ เมื่อ: ธันวาคม 17, 2009, 01:11:05 pm
ครั้งนั้นสมเด็จพระผู้ทรงพระภาคเจ้า จึงมีพระพุทธฎีกาตรัสว่า ดูก่อนคฤหบดีแก้ว เราหรือมีนามชื่อว่าพระศาสดาจารย์ คฤหบดีจึงถามอีกว่าฯ ดูก่อนมาณพผู้เจริญท่านมีนามชื่อว่าศาสดาจารย์ด้วยเหตุเป็นดังฤาฯ จึงทรงพระมหากรุณาตรัสว่า ดูก่อนคฤหบดีแก้ว เราชื่อพระศาสดาจารย์นั้นเพราะเหตุประกอบไปด้วยอาจริยคุณ ๓๑ ประการฯ คฤหบดีจึงถามว่า คุณ ๓๑ ประการแห่งท่านปรากฏเป็นประการใด จึงได้ชื่อว่าอาจริยคุณฯ สมเด็จพระกุกกุสนธเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนคฤหบดีแก้ว คุณเป็นอาทิคือ อิติปิ โส ภควา นี่แหละเป็นคุณแห่งเรา ปรากฏกิตติศัพท์ไปทั่วโลก จึงมีนามว่า พระศาสดา จริยคุณทั้ง ๓๑ ประการฯ เมื่อคฤหบดีแก้วได้สดับพระพุทธวจนะดังนั้น จึงจารึกเอาพระ อิติปิ โส ภควา เป็นอาทิ ลงไว้ในแผ่นทองเป็นตัวอักษรเสร็จแล้ว จึงถามพระผู้ทรงพระภาคเจ้าว่า ดูก่อนมาณพผู้เจริญ ท่านรู้คุณวิเศษมีประมาณเท่านี้แลหรือ หรือว่าคุณวิเศษอย่างอื่นยังมีอยู่เป็นประการใดฯ จึงมีพระพุทธฎีกาตรัสว่าดูก่อนคฤหบดีแก้ว อันว่าคุณวิเศษอย่างอื่นแห่งเรามีอยู่เป็นอันมากฯ คฤหบดีแก้วก็ให้พระกุกกุสันธเจ้าแสดงต่อไปฯ สมเด็จพระพุทธเจ้าจึงตรัสพระสัทธรรมเทศนา ทรงแสดงซึ่งคุณในกายคตาสติกัมมัฏฐาน บอกอาการ ๓๒ มี เกศา โลมา เป็นอาทิ ให้แก่คฤหบดีแก้ว คฤหบดีแก้วก็จารึกพระรูปพระโฉมของสมเด็จพระกุกกุสนธเจ้าอันงาม พร้อมด้วยทวัตติงสมหาบุรุษลักษณะเป็นอันดีลงในแผ่นทอง แล้วจึงกำหนดพระองค์สูงประมาณ ๖๐ ศอก ลงในแผ่นทองทั้ง ๒ เสร็จแล้ว คฤหบดีแก้วก็เหาะนิวัตตนากลับมายังสำนักสมเด็จพระบรมจักรมหาปนาทถวายซึ่ง แผ่นพระสุวรรณบัตร ให้ทอดพระเนตรพระรูปพระโฉมของสมเด็จพระกุกกุสนธเจ้า กับทั้งตัวอักษรที่จารึกพระพุทธคุณมานั้นฯ


ฝ่ายสมเด็จพระบรมจักรมหาปนาททอดพระเนตรพระอักษร ซึ่งจารึกพระพุทธคุณในแผ่นพระสุวรรณบัตรนั้นฯ ทรงอ่านแล้วก็มิได้ทรงรู้จักว่าเป้นพระพุทธคุณจึงตรัสถามพราหมณ์ปุโรหิตว่า ดูก่อนท่านอาจารย์ อันว่าอักษรที่คฤหบดีจารึกมานั้น จะเป็นพระพุทธคุณจริงแลหรือประการใด ฝ่ายว่าพราหมณ์ปุรหิตนั้น เป็นผู้ทรงคุณวิชชาไสยศาสตร์ จึงกราบทูลว่า มหาราชข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐอันว่าอักษรนี้เป็นคุณอันวิเศษแน่แล้ว เป็นยอดคุณทั้งปวงสิ้น ก็คุณวิเศษอย่างอื่นๆนั้นจะได้ยิ่งขึ้นไปกว่านี้หาบ่มิได้ อักษรนี้เป็นพระพุทธคุณเที่ยงแล้ว สมเด็จพระบรมจักรมหาปนาทำด้ทรงฟังพราหมณ์ปุโรหิตกราบทูลดังนั้น ก็ทรงพระโสมนัส ปิติ ปลาบปลื้มพระทัย สลบลงกับที่ฯ ครั้นพระองค์ฟื้นสมประดีแล้ว ตรัสถามพราหมณ์ปุโรหิตว่า ดูก่อนท่านอาจารย์ เราได้ฟังว่า คุณวิเศษนี้เป็นพระพุทธคุณจริงดังนั้นหรือประการใด ปุโรหิตก็กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ อันว่าคุณวิเศษนี้ พระองค์อย่าได้สงสัยในพระกมลหฤทัยเลย เป็นพระพุทธคุณของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเที่ยงแท้แล้ว ครั้นได้ทรงสดับฟังพราหมณ์ปุโรหิตกราบทูลซ้ำอีกดังนั้น พระองค์ทรงปิติ ปลื้มพระทัย สลบลงอีกครั้งหนึ่งเป็นคำรบ ๒ แล้วพระองค์ก็ฟื้นขึ้น จึงตรัสถามปุโรหิตอีกว่ารูปภาพที่คฤหบดีแก้ววาดเขียนมานี้ เป็นอย่างพระพุทธรูปจริงหรือประการใด ปุโรหิตก็กราบทูลว่าพระรูปพระโฉมที่คฤหบดีแก้ววาดเขียนมานี้ คือ พระรูปพระโฉมของสมเด็จพระพุทธเจ้าเที่ยงแท้ พระองค์อย่าได้สงสัยเลยฯ สมเด็จพระบรมจักรมหาปนาทได้ทรงฟังว่าเป็นพระพุทธรูปของสมเด็จพระพุทธเจ้า จริงแน่ ก็สลบสิ้นสติสมปฤดีไปอีกครั้งหนึ่งเป็นคำรบ ๓ ฯ

ครั้นได้พระสติขึ้นมา จึงตรัสแก่คฤหบดีแก้วว่า บัดนี้เราได้ฟังประพฤติเหตุแห่งสมเด็จพระพุทธเจ้าอันเป็นดวงแก้วหาค่ามิได้ เพราะเหตุตัวของท่านอันเราใช้ไป เครื่องสักการบูชาสิ่งอื่นหาควรจะกระทำสักการบูชาแก่ท่านไม่ ด้วยท่านมีความชอบครั้งนี้แก่เราเป็นที่สุด เราจะยกสมบัติจักรพรรดิอันยิ่งในมนุษย์โลกนี้ กระทำสักการบูชาแก่ตัวท่าน ตรัสประภาษสรรเสริญคฤหบดีแก้วดังนี้แล้ว จึงอภิเษกคฤหบดีแก้วให้เสวยศิริราชสมบัติจักรวรรดิยศ ยกให้เป็นบำเหน็จความชอบแก่คฤหบดีแก้ว ในครั้งนั้นคฤหบดีแก้วก็ตั้งอยู่ในศิริราชสมบัติบรมจักร เสวยอิสริยยศสมบัติสืบต่อไปฯ

ส่วนสมเด็จพระบรมจักรมหาปนาทนั้นแต่พระองค์เดียว ก็เสด็จบทจรไต่เต้าไปตามมรรคาหนทางโดยทิศาภาค ในที่สถิตแห่งสมเด็จพระบรมครูกุกกุสนธเจ้านั้นฯ ครั้นไปถึงมหานิโครธไทรใหญ่ต้นหนึ่ง ก็ทรงประทับนั่งอาศัยอยู่ใต้ต้นไทรนั้นพอหายเหนื่อยเป็นอันดีแล้ว ก็ยกอัญชลีประนมถวายนมัสการลงด้วยเบญจางคประดิษฐ์อันได้สดับว่าสมเด็จพระ พุทธเจ้าอยู่ตรงนี้ ทรงกระทำอธิษฐานปรารถนาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงพระภาคเป็นอันงาม ความปิติโสมนัสแห่งข้าพระพุทธเจ้าบังเกิดมีในพระองค์แล้ว ด้วยเดชะความสัตยืนี้ขอให้เครื่องอัฏฐบริขาร ๘ ประการ อันเป็นทรัพย์มรดกแห่งพระภิกษุสงฆ์ จงเลื่อนลอยมายังสำนักแห่งข้าพระพุทธเจ้า ครั้งนั้นสมเด็จพระกุกกุสนธสัพพัญญูทรงทราบวาระน้ำจิตแห่งบรมจักรมหาปนาท ปรารถนาจะบรรพชาบวชในพระพุทธศาสนา จึงมีพระพุทธฎีกาตรัสว่า ดูก่อนอัฏฐบริขาร ๘ ประการ บัดนี้บุคคลมีชื่อโน้น ปรารถนาจะทรงบรรพชา ท่านจงไปยังสำนักแห่งบุคคลผู้นั้นเถิดฯ ขณะนั้นเครื่องอัฏฐบริขารทั้ง ๘ ประการ ก็ลอยมาตกลงตรงพระพักตร์แห่งสมเด็จพระเจ้ามหาปนาทด้วยพุทธานุภาพฯ

ครั้นสมเด็จพระบรมจักรมหาปนาท ทรงเห็นเครื่องอัฏฐบริขาร ๘ ประการพร้อมแล้ว ด้วยพระเดชานุภาพแห่งสมเด็จพระพุทธเจ้าเป็นอัศจรรย์ยิ่งนัก ก็ทรงยกเครื่องอัฏฐบริขารขึ้นทูนเหนือพระเศียรเกล้าแล้วออกพระวาจาว่า ดูก่อนอัฏฐบริขาร ๘ ประการผู้เจริญ เราอาศัยซึ่งท่านจักใคร่ออกจากสังสารทุกข์ ให้ได้พบเห็นพระนิพพานอันประเสริฐสุดโลกวิสัย ตรัสเท่านั้นแล้วก็เปลื้องเครื่องราชอาภรณ์ของพระองค์ออกจากพระสรีรกาย ทรงสบง จีวร สังฆาฏิ คาดกายพันมั่นคง ทรงบรรพชาเป็นพระภิกษุภาวะเสร็จแล้ว จึงเอาพระมงกุฎแก้ววางลงในฝ่าพระหัตถ์ตรัสว่า ดูก่อนมงกุฏแก้ว ท่านจงไปยังสำนักแห่งสมเด็จพระพุทธเจ้า กราบทูลแจ้งประพฤติเหตุข่าวศาสน์แก่พระองค์ว่า บัดนี้พระเจ้ามหาปนาทบรมจักร เสียสละศิริราชสมบัติออกทรงบรรพชาในพระพุทธศาสนาแล้ว มีความปรารถนาเพื่อจะมายังสำนักสมเด็จพระทศพลญาณ ท่านจงไปกราบทูลศาสน์แด่องค์สมเด็จพระพุทธองค์ด้วยประการดังนี้ฯ พระองค์ทรงพระอธิษฐานฉะนี้แล้ว มงกุฏแก้วก็ลอยเลื่อนไปในอากาศเวหาประดุจว่าพระยาสุวรรณราชหงส์ลงยังสำนัก แห่งสมเด็จพระพุทธเจ้า ตั้งอยู่แทบฝ่าพระบาท กราบทูลประพฤติเหตุดังนั้นแก่สมเด็จพระกุกกุสนธ ประดุจดังว่ามีจิตวิญญาณ สมเด็จพระบรมโลกุตตมาจารย์ก็มีพระพุทธฎีการับว่าสาธุฯ

ลำดับนั้นพระยามหาปนาทซึ่งทรงเพศเป็นภิกษุ ก็เที่ยวโคจรบิณฑบาตไปตามบ้าน ได้อาหารพอเป็นยาปนมัตต์ บริโภคสำเร็จแล้วก็เจริญพระกัมมัฏฐานอยู่ในที่อันสมควร พิจารณาซึ่งพระพุทธคุณมีพระ อิติปิ โส ภควา เป็นอาทิ และพระกายคตาสติกัมมัฏฐาน มีเกศาเป็นต้น เจริญไปด้วยความอุตสาหะดังนั้น ยังโลกียฌานให้บังเกิดขึ้นในขณะนั้นแล้วเหาะไปโดยอากาศเวหาถึงสำนักสมเด็จ พระพุทธเจ้า ได้ทัศนาการพระรูปพระโฉมของสมเด็จพระกุกกุสนธ อันประดับไปด้วยพระทวัตติงสมหาบุรุษลักษณะ และพระอสีตยานุพยัญชนลักษณะ งามบริบูรณ์พร้อมทุกประการ ก็บังเกิดความปิติเต็มตื้นซาบทั่วสรรพางค์ ตลอดสิ้นสกลกายก็สลบลงในที่นั้น สมเด็จพระภควันตบพิตรเจ้าก็ทรงเอาอุทกวารีมาประพรมลงเหนือพระอุระ ก็ฟื้นสมปฤดีขึ้นมา แล้วถวายนมัสการกราบลงด้วยเบญจางคประดิษฐ์แทบพระบาท กราบทูลอาราธนาให้สมเด็จพระพุทธองค์ทรงประทานพระสัทธรรมเทศนาฯ

ครั้งนั้นสมเด็จพระกุกกุสนธบรมทศพลญาณ ก็ทรงประทานพระสัทธรรมเทศนาว่า ดูก่อนภิกษุ ท่านจงพิจารณาซึ่งสภาวธรรมที่จะนำตนไปสู่พระนิพพานเถิด มีพระพุทธบรรหารตรัสดังนี้ ฝ่ายพระเจ้ามหาปนาทบรมพุทธางกูรได้ทรงสดับกระแสพระพุทธฎีกาตรัสเป็นนัย ดังนั้นพระองค์ก็มีปิติซาบซ่านทั่วสกลกาย จึงทรงพระอธิษฐานเด็ดพระเศียรเกล้าด้วยเล็บของพระองค์ ทรงกระทำสักการบูชาแทบพระบาทมูลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ฝ่ายพระเศียรเกล้านั้นจึงกราบทูลพระกรุณาว่า ภนเต ภควา ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงพระภาคเจ้า พระองค์ได้โปรดฝูงสัตว์ทั้งหลายก่อนข้าพระบาท ข้าพระบาทก็มีความปรารถนาเป็นเป็นพระพุทธเจ้าเมื่อภายหลัง ด้วยผลศีลทานของข้าพระบาทในครั้งนี้ ขอเชิญองค์อัครมุนีผู้ทรงพระภาคเจ้าจงเสด็จเข้าสู่พระนิพพานก่อนข้าพระบาท เถิด ข้าพระบาทขอตามเสด็จพระพุทธองค์เจ้าเข้าสู่พระนิพพานต่อภายหลัง พอขาดคำลงแล้วพระเจ้ามหาปนาทก็ดับขันธ์สิ้นชีวิตอินทรีย์ ไปบังเกิดในดุสิตาสวรรค์ เสวยทิพยศิริสมบัติเป็นสุขสถาพร ไปในอนาคตกาลเบื้องหน้า จะได้ตรัสเป็นองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่าพระสุมงคลฯ

ดูก่อนสำแดงสารีบุตร ฝูงสัตว์ทั้งหลายไม่ได้มรรคและผลธรรมวิเศษในศาสนาพระพุทธเจ้าทั้งหลายมีพระ ตถาคตเป็นต้น มีพระติสสะเป็นปริโยสานแล้ว ก็ให้มหาชนปรารถนาไปให้พบเห็นพระศาสนาช้างปาลิไลยหัตถี ที่ได้เป็นพระบรมจักรมหาปนาทนี้ ซึ่งจะได้ตรัสเป็นองค์สมเด็จพระพุทธเจ้าในอนาคตกาลทรงพระนามว่า พระสุมงคลสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น จะได้มรรคและผลธรรมอันวิเศษสิ้นสังสารทุกข์ทั้งปวง เข้าสู่พระอมตะมหานครนิพพานฯ แสดงมาด้วยเรื่องราวช้างปาลิไลยหัตถีบรมโพธิสัตว์เป็นคำรบ ๑๐ ก็สิ้นความยุติแต่เพียงนี้ฯ


__________________

บทสรุป

องค์ สมเด็จพระมหามุนีธิคุณเจ้าแห่งเราทั้งหลายตรัสพระสัทธรรมเทศนาแก่พระสารี บุตรว่า นานไปเบื้องหน้าพระโพธิสัตว์ทั้ง ๑๐ พระองค์นั้น จะได้ตรัสรู้แด่พระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณเป็นลำดับกันฯ คือ
- องค์พระศรีอาริยเมตไตรยเจ้าเป็นปฐมที่ ๑
- ถัดนั้นจึง พระรามโพธิสัตว์จะได้ตรัสที่ ๒
- ถัดนั้นจึง พระเจ้าปเสนธิโกศลจะได้ตรัสเป็นพระธรรมราชาที่ ๓
- ถัดนั้น พระยามาราธิราช จะได้ตรัสเป็นพระธรรมสามีที่ ๔
- ถัดนั้น อสุรินทราหู จะได้ตรัสเป็นพระนารทะที่ ๕
- ถัดนั้น โสณพราหมณ์ จะได้ตรัสเป็นพระรังสีมุนีที่ ๖
- ถัดนั้น สุภพราหมณ์ จะได้ตรัสเป็นพระเทวเทพที่ ๗
- ถัดนั้น โตไทยพราหมณ์ จะได้ตรัสเป็นพระนรสีหะที่ ๘
- ถัดนั้น ช้างธนบาลหัตถีนาฬาคีรี จะได้ตรัสเป็นพระติสสะที่ ๙
- ถัดนั้น ช้างปาลิไลยหัตถี จะได้ตรัสเป็นพระสุมงคลที่ ๑๐


พระองค์ได้ตรัสเป็นลำดับกันโดยนิยมดังนี้
อันว่าไม้พระศรีมหาโพธิอปราชิตบัลลังค์ที่นั่งทรงพิจารณาพระปฏิจจสมุปบาทธรรม แล้วตรัสรู้เป็นพระสัพพัญญูเจ้านั้น
- พระศรีอาริยเมตไตรยเจ้า คือไม้กากะทิงเป็นที่ตรัส ๑
- พระรามเจ้า คือ ไม้แก่นจันทร์แดงเป็นที่ตรัส ๒
- พระธรรมราชาเจ้า คือ ไม้กากะทิงเป็นที่ตรัส ๓
- พระธรรมสามีเจ้า คือ ไม้รังใหญ่เป็นที่ตรัส ๔
- พระนารทะเจ้า คือ ไม้แก่นจันทร์แดงเป็นที่ตรัส ๕
- พระรังสีมุนีเจ้า คือ ไม้ดีปลีใหญ่เป็นที่ตรัส ๖ (บางคัมภีร์ว่าเป็นไม้เลียบ)
- พระเทวเทพเจ้า คือ ไม้จำปาเป็นที่ตรัส ๗
- พระนรสีหะเจ้า คือ ไม้แคฝอยเป็นที่ตรัส ๘
- พระติสสะเจ้า คือ ไม้ไทรเป็นที่ตรัส ๙
- พระสุมงคลเจ้า คือ ไม้กากะทิงเป็นที่ตรัส ๑๐
อันว่าไม้พระมหาโพธิ ๑๐ ต้นนี้ เป็นที่ได้ตรัสรู้พระสัพพัญญู แห่งสมเด็จพระพุทธเจ้าทั้ง ๑๐ พระองค์ อันจะบังเกิดในอนาคตกาลเบื้องหน้าฯ

อันว่านรชาติหญิงชายทั้งหลายจำพวกใด ได้ถวายนมัสการกราบไหว้ซึ่งสมเด็จพระพุทธเจ้าทั้งสิบพระองค์กับทั้งไม้พระ ศรีมหาโพธิ ๑๐ ต้น ดังพรรณนามานี้ อันว่านรชาติหญิงชายจำพวกนั้นจะมีผลานิสงส์คือ มิได้ไปบังเกิดในนรกสิ้นกาลช้านานถึงแสนกัปป์ ด้วยกุศลเจตนาของอาตมาที่ระลึกถึงพระพุทธเจ้าทั้งสิบพระองค์นั้นฯ สมเด็จพระสรรเพ็ชญ์พุทธเจ้าของเราทรงบัณฑูรพระธรรมเทศนาว่า แท้จริงกัปป์ที่เรียกสุญญกัปนั้น คือเปล่าเสียจากท่านผู้ทรงพระคุณ กัปป์ที่มิได้สูญจากท่านผู้ทรงพระคุณนั้นมี ๕ ประการ คือ
- สารกัปป์ ๑
- มัณฑกัปป์ ๑
- วรกัปป์ ๑
- สารมัณฑกัปป์ ๑
- ภัทรกัปป์ ๑

อันว่าแผ่นดินทั้ง ๕ ประการนี้ มีสมเด็จพระพุทธเจ้าบังเกิดใน สารกัปนั้น ๑ พระองค์, ในมัณฑกัปป์ ๒ พระองค์, ในวรกัปป์ ๓ พระองค์, ในสารมัณฑกัปป์ ๔ พระองค์, ในภัทรกัปป์ ๕ พระองค์ เหมือนกับแผ่นดินเราทุกวันนี้ ชื่อว่าภัทรกัปบังเกิดพระพุทธเจ้าถึง ๕ พระองค์ฯ คือ
- พระกุกกุสนธเจ้าพระองค์ ๑
- พระโกนาคมนเจ้าพระองค์ ๑
- พระกัสสปเจ้าพระองค์ ๑
- พระพุทธเจ้าของเราอันทรงพระนามว่า พระศรีศากยมุนีโคดมพระองค์ ๑
- ไปในอนาคตเบื้องหน้า พระศรีอาริยเมตไตรยเจ้า ซึ่งจะได้มาตรัสนั้น พระองค์ ๑
เป็นพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ด้วยกัน บังเกิดในภัทรกัปอันนี้ฯ

เมื่อองค์สมเด็จพระศรีอาริยเมตไตรยเจ้า ตรัสแล้วล่วงลับดับขันธ์เข้าสู่พระนิพพาน สิ้นพระศาสนาของพระองค์เจ้าแล้วล่วงไปจนถึงไฟประลัยโลก สิ้นแผ่นดินแผ่นฟ้าตลอดกาลช้านาน จึงบังเกิดแผ่นดินขึ้นมาใหม่เรียกว่า สุญญกัปป์ เปล่าเสียจากท่านผู้ทรงพระคุณวิเศษนั้นนานถึง อสงไขยแผ่นดิน โลกทั้งหลายมืดสิ้นไม่มีท่านผู้วิเศษเลย ต่อสิ้นกาลช้านานแห่งสุญญกัปป์นั้น นับได้อสงไขยแผ่นดินล่วงไปแล้ว เกิดกัปใหม่ตั้งแผ่นดินขึ้นใหม่เรียกว่ามัณฑกัปป์ จะมีสมเด็จพระพุทธเจ้า พระปัจเจกโพธิเจ้า และสมเด็จบรมจักร ในกาลครั้งนั้นจึงมีพระรามเจ้าเป็นอาทิจะได้ตรัสรู้ก่อน พระบรมโพธิสัตว์ทั้งหลายที่สมควรจะได้ตรัสนั้น ก็ได้ตรัสรู้เป็นพระสัพพัญญูสัมมาสัมพุทธเจ้าสืบๆกันไปตามนัยดังแสดงแล้วแต่ หนหลัง ด้วยวาสนาภูมิบารมีของพระบรมโพธิสัตว์สร้างมานั้นต่างๆกัน
- ที่เป็นอุคฆติตัญญูโพธิสัตว์ สร้างพระบารมี ๔ อสงไขยแสนกัปป์ เรียกชื่อว่า ปัญญาธิกะ ยิ่งด้วยปัญญาฯ
- ที่เป็นวิปจิตัญญูโพธิสัตว์ สร้างพระบารมี ๘ อสงไขยแสนกัปป์ เรียกชื่อว่า สัทธาธิกะ ยิ่งด้วยศรัทธาฯ
- ที่เป็นเนยยโพธิสัตว์ สร้างพระบารมี ๑๖ อสงไขยแสนกัปป์ เรียกชื่อว่า วิริยาธิกะ ยิ่งด้วยความเพียรฯ
ตามประเพณีพุทธภูมิโพธิสัตว์ทั้ง ๓ จำพวก อันมีในคัมภีร์พระอนาคตวงศ์ ตามองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราตรัสพระสัทธรรมเทศนา แก่พระธรรมเสนาบดีสารีบุตร ก็สิ้นเนื่อความยุติลงแต่เพียงเท่านี้ฯ
__________________

28294  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: พระพุทธเจ้าในอนาคตกาล ๑๐ พระองค์ เมื่อ: ธันวาคม 17, 2009, 01:07:40 pm
ยังเหลืออยู่แต่เจ้าธรรมเสนกุมารผู้เป็นพี่ชาย อาศัยอยู่ในเมืองนั้น ยังมีพระฤๅษีทั้งหลายประมาณ ๘ หมื่น มาแต่ป่าหิมพานต์ เหาะมาโดยอากาศเวหาลงในเมืองนั้น แล้วก็เข้าไปโคจรบิณฑบาตในท่ามกลางเมือง เจ้าธรรมเสนกุมารทัศนาเห็นพระดาบสทั้งหลายเดินตามกันมาเป็นอันมาก จึงคิดว่าเรารู้วิชาการศิลปศาสตร์มาแต่สำนักตักศิลา ก็เรียนมามากอยู่แล้วยังไม่เหาะไปในอากาศได้ พระดาบสทั้งหลายเหล่านี้ ล้วนแต่เหาะได้ด้วยกันสิ้นทุกองค์ จะเป็นเหตุดังฤาหนอ จำจะเข้าไปไต่ถามพระดาบสดูสักหน่อย คิดแล้วเจ้าธรรมเสนก็เข้าไปหาพระดาบสทั้งหลายถามว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายผู้เจริญ พระผู้เป็นเจ้านี้เหาะได้ด้วยเหตุดังฤา พระดาบสทั้งหลายจึงตอบว่า ดูก่อนมาณพพระฤาษีทั้งหลายเหล่านี้ ย่อมไปอาศัยอยู่ในมหาวันต์ราวป่าใหญ่ แล้วได้ซึ่งวิชาการเหาะได้ในอากาศ เหตุดังนั้นเราจึงได้มาถึงเมืองนี้ฯ เจ้าธรรมเสนกุมารจึงว่า ข้าพเจ้าก็มีศิลปะศาสตร์เชี่ยวชาญชำนาญอยู่ ในเมืองจำปากนครหาผู้จะเสมอมิได้ เหตุไรข้าพเจ้าจึงมิอาจเหาะไปได้ฯ ถ้าข้าพเจ้ารู้วิชชาศิลปะศาสตร์เหาะได้ด้วยอุบายของพระผู้เป็นเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าจะขอเป็นทาสของพระผู้เป็นเจ้า ขอพระผู้เป็นเจ้าจงได้กรุณาข้าพเจ้าด้วยเถิดฯ พระดาบสได้ฟังพระราชกุมารว่าดังนั้นก็มีความเอ็นดูกรุณา แล้วจึงแสดงอิทธิฤทธิ์พากุมารธรรมเสนนั้น เหาะไปยังป่าหิมพานต์ ให้ธรรมเสนราชกุมารบวชเป็นดาบส แล้วก็สอนให้กระทำสมถะบริกรรมภาวนาเจริญฌาน ยังอภิญญาสมาบัติให้บังเกิดบริบูรณ์ ได้ซึ่งตาทิพย์ รู้จิตผู้อื่น ระลึกชาติหนหลังได้ ทรงอิทธิฤทธิ์ เป็นศิลปศาสตร์อันประเสริฐ

พระดาบสธรรมเสนนั้น ได้ซึ่งของอันวิเศษแล้ว ก็คิดว่าเราจะไปแสดงศิลปศาสตร์ให้พระราชบิดาเห็นเป็นอัศจรรย์ คิดแล้วก็ลาพระดาบสทั้งหลายด้วยวาจาว่าจะไปแสดงศิลปศาสตร์แก่พระราชบิดา กราบนมัสการลาพระดาบสแล้วก็เข้าฌานกระทำอิทธิฤทธิ์เหาะมา ในอากาศเวหา มีเฉพาะหน้าเมืองจำปากะฯ ชาวเมืองเห็นพระดาบสธรรมเสนก็ชวนกันสรรเสริญยิ่งนักหนา ฝ่ายพระดาบสธรรมเสนก็เข้าไปสู่สำนักพระราชบิดา พระธรรมราชาธิราชทอดพระเนตรเห็นพระโอรสทรงเพศเป็นบรรพชิตดาบสเข้ามาหาดัง นั้น ก็บังเกิดความเสน่หาเป็นอันมาก ยังพระธรรมเสนดาบสราชโอรสให้นั่งบนตัก แล้วก็ตรัสไต่ถามประพฤติเหตุทั้งปวงว่า ดูก่อนพ่อพระกนิษฐ กุมารทั้ง ๔ คนนั้น ไปอยู่ในที่ดังฤา จึงมาแต่พ่อผู้เดียวดังนี้ฯ พระดาบสธรรมเสนจึงเล่าความแต่หนหลัง ตั้งแต่ต้นจนอวสานให้พระบิดาฟังสิ้นทุกสิ่งทุกประการฯ สมเด็จพระเจ้าธรรมราชาธิราชได้ทรงฟัง จึงตรัสว่า ดูก่อนพ่อธรรมเสนผู้ลูกรัก บัดนี้บิดาแก่ชราอายุมากแล้ว บิดาจะยกศิริราชสมบัติมิ่งมไหศวรรย์เศวตฉัตรมอบให้ในกาลบัดนี้ฯ เมื่อพระธรรมเสนดาบสได้สดับฟังพระบิดาตรัสดังนั้นก็รับเอาศิริราชสมบัติไว้ ตามพระบิดาให้ฯ


จึง มีโจทย์เข้ามาว่า พระธรรมเสนดาบสนั้น ทรงเพศบรรพชิต สำเร็จอิทธิฤทธิ์อภิญญาสมาบัติทุกประการอยู่แล้ว เหตุไรเล่าจึงรับเอาศิริราชสมบัติในครั้งนี้ฯ
พระอรรถกถาจารย์เจ้าผู้เป็นปราชญ์วิสัชนาแก้ว่า พระธรรมเสนนั้นเป็นหน่อพุทธางกูร จะใคร่ก่อสร้างพระบารมีแสวงหาพระโพธิญาณ ถ้ายับยั้งอยู่ด้วยเพศบรรพชิตดังนี้แล้ว ก็มิอาจจะกระทำทานมหาบริจาคอันใดได้ ด้วยไม่มี บุตร ภรรยายอดรัก ข้าทาสหญิงชาย และ โค มหิงส์ ช้าง ม้า ราชรถ สรรพสิ่งทั้งปวง ซึ่งจะสละเป็นมหาบริจาค แม้อยู่เป็นฆราวาสประกอบไปด้วยบุตร ภรรยาแล้ว จึงอาจสามารถยังมหาทานให้บังเกิดกองทานบารมี เป็นปรมัตถมงกุฏได้โดยสะดวก เหตุดังนั้นพระธรรมเสนดาบสบรรพชิตบรมโพธิสัตว์ จึงรับเอาศิริราชสมบัติที่สมเด็จพระราชบิดายกให้ฯ


ครั้งนั้นพระบรมโพธิสัตว์ธรรมเสนก็เปลื้องเครื่องบริขารบรรพชิตออกเสียจาก สรีรกาย ทรงเพศเป็นคฤหัสถ์ แล้วก็กล่าวประกาศถ้อยคำเป็นอธิษฐาน ดูก่อนอัฐบริขารผู้เจริญเอ๋ย ท่านจงไปยังสำนักพระดาบสทั้งหลายเถิด ในขณะขาดคำอธิษฐานแห่งพระบรมโพธิสัตว์เจ้าครั้งนั้น เครื่องบริขารทั้ง ๘ ก็ปลิวลอยไปในอากาศเวหา ลงยังสำนักแห่งพระดาบสทั้งหลาย ส่วนสมเด็จพระธรรมราชาธิราชผู้เป็นพระบิดา ก็ให้ตีกลองร้องป่าวชาวพระนคร ให้มหาชนทั้งหลายสันนิบาตประชุมพร้อมกันแล้ว จึงกระทำอภิเษกสมเด็จพระบรมโพธิสัตว์ผู้เป็นพระราชโอรส กับด้วยนางลัมภุสสราชเทวี เป็นอัครมเหสีครอบครองกรุงจำปากมหานครเป็นสุขสำราญมา ตนพระราชเทวีอัครมเหสีทรงพระครรภ์ ถ้วนทศมาสแล้วก็คลอดพระราชบุตร เมื่อพระราชบุตรบทจรยกย่างได้ถนัดแล้ว นางก็ทรงครรภ์อีก ประสูติพระราชธิดา ลำดับนั้น พระเจ้าธรรมเสนผู้เป็นบรมกษัตริย์แสวงหาพระโพธิญาณ เสด็จด้วยพระราชโอรส พระราชธิดา และพระราชมเหสี ไปประพาสนอกพระนคร เพื่อจะลงสรงสาครเล่นให้สุขสำราญ กับด้วยราชบริวารสาวสนมกรมในทั้งปวง และหมู่มุขมนตรีทั้งหลายก็ลงเล่นน้ำสำราญใจฯ

ครั้งนั้น ยังมียักษ์ตนหนึ่งได้ทัศนาการเห็นพระกุมาร และกุมารีทั้งสองพระองค์ ก็มีความปรารถนาเพื่อจะกินเป็นภักษาหาร บ่มิอาจอดกลั้นความอยากอยู่ได้ จึงเดินมาสำแดงกานให้ปรากฏเฉพาะหน้าแห่งพระเจ้าธรรมเสนบรมกษัตริย์ แล้วก็ร้องขอด้วยคำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นกษัตริย์อันประเสริฐ ข้าพเจ้ามาบัดนี้มีความปรารถนาจะขอรับพระราชทาน พระกุมาร และพระกุมารี ทั้ง ๒ ของพระองค์ พระองค์จงทรงพระกรุณาข้าพเจ้า โปรดเกล้าพระราชทานกุมาร และกุมารี ให้แก่ข้าพเจ้ากินเป็นภักษาหารในกาลบัดนี้เถิดฯ เมื่อพระเจ้าธรรมเสนบรมโพธิสัตว์ ได้ทรงฟังยักษ์ทูลขอพระลูกรักทั้ง ๒ ดังนั้น ก็เกิดความกรุณาจิตขึ้นมา จึงตรัสว่า ดูก่อนยักษ์ผู้เจริญ ท่านกล่าวถ้อยคำดังนี้เพราะนักเป็นสุนทรวาจาอันยิ่ง ตรัสแล้วก็เสด็จอุฏฐาการ จูงเอาข้อพระหัตถ์กุมาร และกุมารีทั้ง ๒ องค์มาส่งให้แก่ยักษ์ แล้วตรัสว่าเชิญท่านมารับเอาปิยบุตรทานของเรา แล้วก็จับเอาพระเต้าทอง มาหล่อหลั่งอุทกวารีลงเหนือมือยักษ์ จึงตรัสว่า ราชกุมาร และราชกุมารีทั้ง ๒ องคืนี้ ใช่เราจะไม่มีความเสน่หาอาลัยหามิได้ แต่เรามีความรักพระสัพพัญญุตญาณนั้นยิ่งกว่ากุมารทั้ง ๒ ได้ร้อยเท่าพันทวี ด้วยเดชะผลทานของเราที่สละกุมารทั้ง ๒ องค์ให้เป็นทานแก่ท่านบัดนี้ บอให้บังเกิดมีผลเป็นที่สุดถึงพระสัพพัญญูสรรเพชุดาญาณ ในอนาคตกาลเบื้องหน้า พระองค์ประกาศแก่ฝูงเทพเจ้าทั้งหลายแล้ว มหัศจรรย์ก็บังเกิดมีต่างๆนาๆ เป็นต้นว่าแผ่นดินไหวทั่วโลกธาตุฯ ครั้นว่ายักษ์ได้รับพระราชทานแล้ว ก็กินกุมารทั้ง ๒ องค์เป็นอาหาร แล้วก็เข้าสู่อรัญญราวป่าฯ ฝ่ายพระเจ้าธรรมเสนบรมกษัตริย์กับพระราชมเหสีก็เสด็จกลับเข้าพระนครฯ

ในกาลเมื่อเสด็จถึงประตูเมือง พระองค์ทอดพระเนตรบุรุษแก่คนหนึ่งนั่งเป็นทุกข์อยู่ในที่นั้น จึงมรพระราชโองการตรัสถามว่า เหตุไฉนบุรุษแก่ท่านจึงมานั่งเป็นทุกข์อยู่ในที่นี้ บุรุษนั้นจึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ จำเดิมแต่เกล้ากระหม่อมเกิดมา จนอายุถึงเพียงนี้แล้ว บุตร ภรรยา ก็หามีไม่ ข้าพระบาทจึงมานั่งเศร้าโศกอยู่ในที่นี้ฯ พระองค์ได้สดับฟังบุรุษแก่กราบทูลดังนั้นฯ จึงตรัสว่าเราจะยกพระราชมเหสีให้เป็นทานบารมีอันยิ่งแก่ท่าน ตรัสแล้วก็จับเอาข้อพระหัตถ์พระราชมเหสีลงจากยานุมาศ พาพระนางเข้าไปให้ใกล้บุรุษแก่นั้นแล้วตรัสว่า ท่านจงมารับเอาองค์พระราชมเหสีของเราไปโดยเร็วเถิด เรายกให้เป็นทานแก่ท่านบัดนี้ แล้วก็หลั่งอุทกวารีให้ตกลงเหนือมือบุรุษแก่ แล้วก็ประกาศด้วยวาจาปรารถนาว่า เดชะผลทานที่เราได้ยกนางลัมภุสสราชเทวีอัครมเหสีให้แก่ท่านครั้งนี้ ขอให้เป็นปัจจัยแก่พระสร้อยสรรเพชุดาญาณเถิดฯ ในกาลครั้งนั้น อัศจรรย์ก็บังเกิดมีแผ่นดินไหวเป็นอาทิ ดุจสำแดงมาแล้วแต่หนหลังฯ ครั้นบุรุษแก่ได้รับพระราชทานพระราชมเหสีแล้ว จึงมีวาจาปราศรัยกับพระนางว่า ดูก่อนเจ้าผู้เจริญ ตัวของเรานี้เป็นคนแก่เฒ่า อนึ่งเล่าทรัพย์สมบัติทั้งปวงก็ไม่มี ดังฤาเจ้าจะอยู่ด้วยพี่ได้ฯ

ครั้นพระเจ้าธรรมเสนได้ทรงฟังบุรุษแก่กล่าววาจากับด้วยพระนางดังนั้น จึงทรงคิดว่าเราจะยกราชสมบัติให้กับบุรุษแก่เสียแล้วจะออกทรงบรรพชาเป็นดาบส เห็นว่าจะประเสริฐ ดำริดังนี้แล้วจึงให้หาตัวบุรุษผู้นั้นมา แล้วก็พระราชทานราชสมบัติทั้งปวงให้แก่บุรุษนั้น แล้วก็ร้องประกาศตั้งความปรารถนาดุจในหนหลัง อัศจรรย์ก็บังเกิดเหมือนแต่ก่อนฯ แล้วก็ทรงพระอธิษฐานว่า ดูก่อนอัฐบริขารทั้ง ๘ ประการ เชิญมายังสำนักแห่งเราในกาลบัดนี้ ในขณะนั้นอันว่าเครื่องบริขารบรรพชิตทั้ง ๘ ประการ ก็เลื่อนลอยมาตกลงตรงพระพักตร์ดุจดังว่ามีจิตวิญญาณ พระบรมโพธิสัตว์ก็ทรงเพศบรรพชาเป็นดาบส เจริญบริกรรมภาวนา ยังอภิญญา ๕ สมาบัติ ๘ ให้บังเกิดขึ้นเหมือนครั้งก่อน แล้วก็เหาะไปในอากาศลงยังป่าพระหิมพานต์ เข้าไปสู่สำนักแห่งหมู่พระฤาษีทั้งหลายฯ

ในกาลครั้งนั้น ยังมีพระอริยะสาวกองค์หนึ่ง แห่งพระโกนาคมนเจ้า เข้าไปสำราญอยู่ในป่าพระหิมพานต์ พระฤาษีทั้งหลายได้ทัศนาเห็นพระอรหันต์อันวิเศษมาก็มีความเลื่อมใสไหว้กราบ สักการบูชาพระอริยสาวกเจ้า นิมนต์ให้ยับยั้งอยู่สิ้นราตรีหนึ่ง ครั้นรุ่งขึ้นเป็นเวลาเช้าพระดาบสธรรมเสนบรมโพธิสัตว์นั้น ก็เหาะมายังสำนักสมเด็จพระโกนาคมนเจ้าพร้อมด้วยพระอริยสาวก แล้วก็เข้าไปกราบนมัสการแทบพระบาทมูลแห่งสมเด็จพระสัพพัญญู พิจารณาดูทวัตติงสมหาบุรุษลักษณะ แล้วก็เกิดความโสมนัสยินดีขึ้นมา จึงกราบทูลอาราธนาพระโกนาคมนเจ้าให้ตรัสพระสัทธรรมเทศนาฯ ครั้งนั้นสมเด็จพระผู้ทรงพระภาคเจ้าจึงทรงพระมหากรุณาตรัสพระสัทธรรมเทศนา ว่าฯ ดูก่อนธรรมเสนดาบสผู้เจริญ บัดนี้สมควรตัวท่านจะพินิจพิจารณาซึ่งกิริยาอันจะให้ไปสู่เมืองแก้ว คือพระอมตมหานครนิพพาน จึงจะชอบแก่ตัวท่านฯ จึงมีพระพุทธฎีกา ตรัสเป็นนัยคัมภีรภาพด้วยประการดังนั้น

พระธรรมเสนดาบสได้สดับก็บังเกิดความเลื่อมใสศรัทธา คิดว่าจะตัดซึ่งเศียรเกล้าออกกระทำสักการบูชาพระสัทธรรมเทศนา แห่งสมเด็จพระโกนาคมนเจ้าเถิด จึงกระทำอธิษฐานเล็บของพระองค์ให้คมดุจดาบ ตรัสซึ่งเศียรเกล้าให้ขาด แล้วก็วางไว้ในฝ่าพระหัตถ์ ชูขึ้นกระทำสักการบูชาสมเด็จพระพุทธเจ้า กล่าวเป็นพระคาถาตั้งความปรารถนาว่า พระองค์ทรงพระนามว่าพระโกนาคมนเจ้า ได้ตรัสรู้เป็นพระสัพพัญญูผู้ประเสริฐแล้ว นานไปในอนาคตกาลเบื้องหน้า ข้าพระบาทขอปรารถนาให้ได้สำเร็จพระศรีสรรเพ็ชญ์พุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง ด้วยศีลทานของข้าพระบาทนี้ อนึ่งเล่าพระองค์ผู้ทรงพระมหากรุณาเป็นที่พึ่งแก่ไตรโลกแล้ว จะล่วงลับดับขันธ์เข้าสู่เมืองแก้วก่อนข้าพระบาทเล่า ข้าพระบาทขอปรารถนาให้สำเร็จพระนิพพานในกาลเบื้องหน้า ด้วยเดชะผลศีลทานของข้าพระบาทในครั้งนี้ฯ กล่าวพระคาถาเป็นใจความสองข้อด้วยประการดังนี้แล้ว ดาบสธรรมเสนก็จุติไปบังเกิดในดุสิตาสวรรค์ อัศจรรย์ก็บังเกิดมีดุจในหนหลังฯ

อันว่าช้างนาฬาคีรีเป็นบรมโพธิสัตว์แต่ครั้งสาสนาพระโกนาคมน์ ได้สร้างพระบารมีมาเป็นอันยิ่ง นานไปเบื้องหน้าจะได้ตรัสเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า พระติสสะสัพพัญญูฯ
แสดงมาด้วยเรื่องราว ช้างนาฬาคีรีหัตถีบรมโพธิสัตว์คำรบ ๙ ก็สิ้นเนื้อความยุติลงแต่เท่านี้ฯ
เอวํ ก็มี ด้วยประการฉะนี้
__________________

๑๐. พระสุมงคล (ช้างปาลิไลยกะ)

ภควา อันว่าองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าแห่งเรา ตรัสพระสัทธรรมเทศนาว่า เมื่อองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงพระนามว่า พระติสสะสัพพัญญูพุทธเจ้า เสด็จล่วงลับดับขันธ์เข้าสู่พระปรินิพพานสิ้นกาลช้านานแล้วฯ ในลำดับนั้น อันว่าช้างปาลิไลยหัตถีตัวรี้ก็เป็นพระบรมโพธิสัตว์สร้างพระบารมีมาเป็นอัน มาก จักได้ตรัสเป็นสมเด็จพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าพระสุมงคลในอนาคตกาล พระสุมงคลทศพลญาณเจ้านั้น
- มีพระองค์สูงได้ ๖๐ ศอก
- พระชนมายุมีประมาณแสนปีเป็นกำหนด
- ไม้กากะทิงเป็นพระศรีมหาโพธิ
- ประดับด้วยพระพุทธรัศมีรุ่งเรืองสว่าง ดังสีทองเป็นอันงามประดุจกลางวัน
- แล้วจะบังเกิดมีไม้กัลปพฤกษ์ต้นหนึ่ง ห้อยย้อยไปด้วยสิ่งของเครื่องประดับ มีประการต่างๆด้วยพระพุทธานุภาพ
ฝูงมนุษย์ทั้งหลายในพระศาสนาของพระสุมงคล มิได้กระทำซึ่งกสิกรรม วาณิชกรรม ได้อาศัยซึ่งต้นกัลปพฤกษ์นั้น ประพฤติเลี้ยงชีวิตแห่งอาตมา มนุษย์ทั้งหลายมีความผาสุกสบาย ขวนขวายแต่การเล่นเต้นรำแต่งตัวอยู่เป็นนิจ เสมอเหมือนเทพบุตร เทพธิดา ซึ่งได้ทิพยสมบัติในสวรรค์เทวโลกฯ สมเด็จพระสุมงคลทศพลญาณเจ้า ก่อสร้างพระบารมีมาทั้ง ๑๐ ประการ จึงสำเร็จแก่พระพุทธสมบัติเห็นปานดังนี้ฯ อันว่ากองพระบารมีครั้งหนึ่ง พระองค์กระทำมาแต่ยังเป็นพระบรมโพธิสัตว์อยู่นั้น ปรากฏเป็นปรมัตถบารมีอันยิ่งยอดอย่างเอกอุดมทานฯ

ดูก่อนสำแดงสารีบุตร แต่กาลก่อนล่วงลับไปแล้วช้านาน ช้างปาลิไลยตัวนี้เป็นพระบรมโพธิสัตว์ บังเกิดเป็นสมเด็จพระบรมจักรพรรตราธิราช ทรงพระนามว่าพระเจ้ามหาปนาทบรมจักร ในภัทรกัปป์อันนี้ และมีแก้ว ๗ ประการคือ
- จักรแก้ว ๑
- นางแก้ว ๑
- แก้วมณีโชติ ๑
- ช้างแก้ว ๑
- ม้าแก้ว ๑
- ปรินายกแก้ว ๑
- คฤหบดีแก้ว ๑
สมเด็จพระเจ้ามหาปนาทบรมจักร ได้เสวยศิริราชสมบัติอยู่ในทวีปทั้ง ๔ มีทวีปน้อย ๒ พันเป็นบริวาร พระองค์ทรงพระสำราญอบู่เป็นปรกติ มาจนถึงกาลสมเด็จพระกุกกุสันธสัมมาสัมพุทธเจ้าบังเกิดในโลก กาลครั้งนั้นสมเด็จพระเจ้ามหาปนาทบรมจักรได้ทรงทราบว่า สมเด็จพระพุทธเจ้าได้ตรัสในโลกแล้ว

จึงตรัสประกาศสั่งจักรแก้วว่า ดูก่อนจักรแก้วผู้เจริญ ท่านจงไปยังท้องพระมหาสมุทรถือเอาซึ่งดวงแก้วมณีมาให้แก่เรา จักรแก้วนั้นก็ไปยังท้องพระมหาสมุทร ดุจดังว่ามีจิตวิญญาณ นำเอาแก้วมณีมาถวายฯ
แล้วอยู่มาภายหลังพระองค์จึงตรัสสั่งช้างแก้วว่า ดูก่อนช้างแก้วผู้เจริญท่านจงไปที่ฉัตรทันต์สระ แล้วพาช้างแก้วมาให้แก่เราฯ ครั้งนั้นช้างแก้วก็เหาะไปยังฉัตรทันต์สระ พาเอาช้างชาติฉัตรทันต์ทั้งหลายประมาณ ๘ หมื่นมาถวายฯ
แล้วพระองค์จึงสั่งกับม้าแก้วว่า ดูก่อนม้าแก้วผู้เจริญท่านจงไปยังท่าสินธพนที แล้วพาม้าแก้วทั้งหลายมาให้แก่เรา ม้าแก้วนั้นก็เหาะไปในอากาศ ถึงริมฝั่งสินธพนที แล้วพาม้าแก้วมาถวายฯ
แล้วพระองค์จึงตรัสสั่งนางแก้วพระราชมเหสีนั้นว่า ภทฺเท ดูก่อนเจเาผู้มีพักตร์อันเจริญ เจ้าจงไปยังแว่นแคว้นอุดรกุรุทวีปพานางแก้วทั้งหลายมาให้แก่เราฯ ขณะนั้นนางแก้วผู้เป็นพระราชมเหสีก็เหาะไปยังอุดรกุรุทวีป พาเอานางแก้วทั้งหลายประมาณ ๘ หมื่นมาถวายฯ
แล้วพระองค์จึงตรัสสั่งแก้วมณีโชติว่า ดูก่อนแก้วมณีโชติผู้เจริญ ท่านจงไปยังเขาวิบุลบรรพต นำเอาแก้วมณีมาให้แก่เราฯ อันว่าแก้วมณีโชติก็เลื่อนลอยไปยังเขาวิบุลบรรพตพาเอาแก้วมณีทั้งหลายประมาณ ๘ หมื่นดวงมาถวายฯ
แล้วพระองค์ตรัสสั่งปรินายกขุนพลแก้วของพระองค์ว่า ดูก่อนปรินายกแก้วผู้เจริญ ท่านจงไปยังอุดรกุรุทวีป และอมรโคยานทวีป และบุพพวิเทหทวีป ทั้ง ๓ ถอดเอาดวงแก้วในยอดเขากัมพูฉัตรมาให้แก่เราฯ ฝ่ายขุนพลแก้วผู้เป็นปรินายกรับพระราชโองการแล้ว ก็เหาะไปยังทวีปทั้ง ๓ จึงถอดเอาดวงแก้วมณีที่ยอดเศวตฉัตรแห่งมหากษัตริย์ผู้เสวยศิริราชสมบัติใน ทวีปทั้ง ๓ มาถวายฯ
แล้วพระองค์ก็ตรัสสั่งคฤหบดีแก้วผู้เป็นขุนคลังว่า ดูก่อนคฤหบดีแก้ว ท่านจงไปในโสฬสมหานครใหญ่ทั้ง ๑๖ เมืองนั้น นำเอาดวงแก้วมณีมาให้แก่เราฯ คฤหบดีแก้วก็เหาะไปในโสฬสมหานคร ครั้นถึงแล้วได้ทัศนาการเห็นสมเด็จพระพุทธกุกกุสนธสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จยับยั้งอยู่ในพระวิหารในกาลนั้น คฤหบดีแก้วก็มิได้รู้จักซึ่งสมเด็จพระกุกกุสนธเจ้า ว่าเป็นองค์พระสัมมาสัมพุทโธ จึงเข้าไปยังสำนักกุกกุสนธเจ้าแล้วถามว่า มณว ดูก่อนมาณพผู้เจริญ ตัวท่านนี้มีนามชื่อไร จึงมีรูปโฉมงามบริสุทธิ์เป็นอันดีฯ

28295  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: พระพุทธเจ้าในอนาคตกาล ๑๐ พระองค์ เมื่อ: ธันวาคม 17, 2009, 01:03:52 pm
๘. พระนรสีหะ (โตไทยพราหมณ์)

ในเมื่อพระศาสนาแห่งพระเทวเทพสัพพัญญูเจ้านั้นเสื่อมสูญสิ้นแล้ว ในมัณฑกัปนั้น โตไทยพราหมณ์ผู้เป็นบรมโพธิสัตว์จะได้ตรัสเป็นพระพุทธเจ้าสืบต่อไปทรงพระนาม ว่า พระนรสีหสัพพัญญู สมเด็จพระพุทธเจ้านรสีหะนั้น มีพระกายสูงได้ ๖๐ ศอก ประกอบไปด้วยพระพุทธรัศมีรุ่งเรืองสว่างเป็นอันงาม ประดุจดังดวงแก้วมณีโชติแห่งสมเด็จบรมจักร พระองค์มีพระชนมายุ ๘๐ ปี เป็นกำหนดอายุขัย มีไม้แคฝอยเป็นพระมหาโพธิ ด้วยเดชานุภาพของพระองค์แผ่นดินบังเกิดมรข้าวสาลีอันหอม ประกอบไปด้วยโอชารสเป็นปรกติ มนุษย์ทั้งหลายได้อาศัยบริโภคข้าวสาลีเลี้ยงชีวิต แล้วเกิดมีไม้กัลปพฤกษ์ต้นหนึ่ง ประกอบไปด้วยสิ่งของมีประการต่างๆบังเกิดมีในไม้กัลปพฤกษ์นั้น มนุษย์ทั้งหลายก็มีรูปงามมีผิวพรรณเหลืองดังสีทอง ถึงมิได้ตกแต่งสรีรกายด้วยเครื่องประดับก็งามอยู่เองเป็นปรกติ มนุษย์ทั้งหลายมีความสุขเป็นอันมาก สมเด็จพระนรสีหะนั้นแม้เสด็จอยู่ในที่ใดแล้ส เศวตฉัตรแก้วก็บังเกิดขึ้นมากางกั้นพระองค์อยู่เป็นนิจจกาล จะได้เปล่าจากเศวตฉัตรแก้วนั้นหามิได้ ด้วยพระบารมีคุณของพระองค์ ทรงพระอุตสาหะก่อสร้างมาพร้อมทั้ง ๑๐ ประการ แต่กองพระบารมีครั้งหนึ่งปรากฏเป็นมหัศจรรย์ยกขึ้นเป็นยอดมิ่งมงกุฎพระบารมี เป็นปรมัตถคุณ ควรนักปราชญ์ทั้งหลายจะกล่าวสรรเสริญ เหตุดังนั้นพระนรสีหสัพพัญญูจึงได้พระพุทธสมบัติเห็นปานดังนี้ฯ

ดูก่อนสารีบุตรผู้เป็นพระยาธรรมของพระตถาคต ในเมื่อว่างพระศาสนาแห่งสมเด็จพระพุทธเจ้า ๒ พระองค์ คือพระกัสสปสัพพัญญู และศาสนาพระตถาคตต่อกันนั้น เป็นกาลควรพระพุทธเจ้าจวนจะมาตรัสอยู่แล้ว ในท่ามกลางระหว่างศาสนานั้น โตไทยพราหมณ์ผู้นี้เกิดเป็นวาณิชผู้หนึ่ง มีชื่อว่านันทมาณพ ไปเที่ยวค้าขายในประเทศต่างๆ ครั้งหนึ่งยังมีพระปัจเจกโพธิเจ้าองค์หนึ่ง เสด็จไปเที่ยวโคจรบิณฑบาต นันทมาณพเห็นองค์พระปัจเจกโพธิเจ้าก็บังเกิดมีความเลื่อมใสศรัทธายกเอาผ้ากำ พลสีแดงผืนหนึ่งกับทองแสนตำลึง กระทำเป็นเครื่องไทยธรรมถวายแก่พระปัจเจกโพธิเจ้าเป็นมหาบริจาค แล้วจึงตั้งปณิธานความปรารถนาว่า ข้าแต่พระปัจเจกโพธิผู้ตรัสรู้ธรรมวิเศษต่างๆ พระคุณเจริญมากหาที่สุดมิได้ ข้าพเจ้าถวายทานบัดนี้ ขอจงเป็นปัจจัยแก่พระสัพพัญญุตญาณในเบื้องหน้า ด้วยเดชะผลทานนี้ พระปัจเจกโพธิเจ้ารับเอาผ้ากำพลผืนนั้นมาคลุมพระองค์ลง ผ้ากำพลนั้นปกปิดพระองค์โดยรอบคอบยังเหลือแต่พระหัตถ์และพระบาทในเบื้องบน นั้นมีประมาณศอกหนึ่ง นันทมาณพเห็นดังนั้นจึงตั้งความปรารถนาเป็นสองประการอีกเล่าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นานไปในอนาคตเบื้องหน้าโน้น ขอให้ข้าพระพุทธเจ้ามีเดชานุภาพแผ่ทั่วอาณาจักรไปในภายใต้แผ่นพื้นปฐพีนั้น โยชน์หนึ่ง ด้วยเดชะผลทานในครั้งนี้ ครั้นนันทมาณพตั้งความปรารถนาแล้ว พระปัจเจกโพธิเจ้าจึงอนุโมทนาทานของนันทมาณพแล้วคมนาการไปจากที่นั้น ไปถึงกลางมรรคา ยังมีนางกุมารีสาวน้อยผู้หนึ่งเห็นพระปัจเจกโพธิเจ้าห่มผ้าแดงเดินมา นางจึงถามว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าผู้เจริญพระเจ้าข้า ผ้าผืนนี้ที่พระผู้เป็นเจ้าห่มมีสีแดงงามบุคคลผู้ใดถวายแก่พระผู้เป็นเจ้า พระปัจเจกโพธิจึงบอกว่า ดูก่อนสีกา ผ็าแดงผืนนี้พาณิชนันทมาณพถวายแก่อาตมา พระเจ้าข้าพระผู้เป็นเจ้าเขาถวายผ้ากัมพลแล้วเขากระทำความปรารถนาดังฤา พระปัจเจกโพธิบอกว่าดูก่อนสีกา มาณพนั้นถวายผ้าแล้วกระทำความปรารถนาสองประการ คือ ปรารถนาพระสัพพัญญูประการหนึ่ง ปรารถนาศิริราชสมบัติประการหนึ่ง นางกุมารีได้สดับดังนั้นจึงยกเอาผ้าของอาตมาถวายแก่พระปัจเจกโพธิเจ้า แล้วก็ตั้งความปรารถนาว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงพระคุณอันยิ่ง ถ้าแม้ว่ามาณพพาณิชนั้นได้เสวยศิริราชสมบัติเป็นบรมกษัตริย์แล้ว ข้าพเจ้าขอปรารถนาเป็นนางพระยาราชมเหสีแห่งพาณิชผู้นั้น ด้วยเดชะนาง
กุมารีพลอยกระทำบุญตามพาณิชนั้น คนทั้งสองนั้นก็ได้สมัครสังวาสอยู่กินเป็นภรรยาสามีในปัจจุบันชาตินั้นมา แล้ว ก็คิดอ่านการกุศลสร้างศาลาหลังหนึ่งไว้ในที่นั้น ยังให้นายช่างสลักเป็นรูปพระปัจเจกโพธิเจ้า ประดิษฐานตั้งไว้ในศาลา ฝ่ายว่านางกุมารีจึงโกนซึ่งเกศ เอาเกศามาชุบน้ำมันหอมกระทำสักการบูชาพระปัจเจกโพธิเจ้า กระทำผมของต่างไส้ประทีปตามถวาย

ครั้งนั้น คนทั้งสองได้กระทำกุศลด้วยประการดังนี้ ครั้นกระทำกาลกิริยาตายก็ได้ไปบังเกิดในดาวดึงสพิภพเทวโลกเสวยทิพยสมบัติ อยู่ช้านาน จนประมาณนับด้วยปีในมนุษย์นี้ได้ ๓ โกฏิ ๖๐ แสนปีเป็นกำหนด ครั้นสิ้นอายุแล้วจุติลงมาเกิดเป็นบรมกษัตริย์ทรงทศพิธราชธรรมทั้ง ๑๐ ประการ เสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงทวารวดีมหานคร ส่วนว่านางฟ้ากุมารีนั้น ก็จุติลงมาเกิดในสกุลมหาเศรษฐี อันประกอบไปด้วยสมบัติมากในกรุงทราวดี ครั้นนางกุมารีธิดาจำเริญชันษาได้ ๑๖ ปี ก็ได้มาเป็นพระราชอัครมหาเศรษฐีแห่งบรมกษัตริย์นั้นทรงพระนามว่า พระมงคลราชเทวี มีแสนสาวสุรางค์แวดล้อมเป็นยศศักดิ์บริวารประมาณ ๑๐ แสน วันหนึ่งสมเด็จพระเจ้ากรุงทราวดีเสด็จแวดล้อมพร้อมด้วยพระสนมข้างในประมาณ ๑๖ แสน ประสงค์พระทัยจะทดลองบุญแห่งพระมงคลราชมเหสีนั้น ให้ปรากฏแก่หมู่สาวสนมทั้งหลาย จึงมีพระราชโองการตรัสสั่งแก่หมู่นางทั้งหลาย ให้จัดแจงแต่งสำรับเข้าคนละสำรับให้ถ้วนทุกตัวนาง แล้วพระองค์ให้นั่งบริโภคอยู่ตรงหน้าพระที่นั่ง เหล่านางทั้งหลายก็นั่งบริโภคโภชนาหารเป็นปรกติ จะได้เห็นประหลาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งหามิได้ แต่องค์พระมงคลราชมเหสีนั้น นางนั่งอยู่ในที่สุวรรณภาชน์ ล้างพระหัตถ์ลงในที่สุวรรณภาชน์นั้นแล้วก็รับเอาอาหารกระทำเป็นคำขึ้นเข้าไป ในพระโอษฐ์ อันว่านิ้วพระหัตถ์ของนางที่จับเอาคำข้าวไว้นั้นก็กลายเป็นทองทุกนิ้วพระ หัตถ์ ทุกคำเสวยในที่นั้น ด้วยเดชะผลทานที่พระนางได้ตกแต่งเป็นการกุศลอันประณีตบรรจงแต่บุพพชาติหน หลัง เหล่านางสนมทั้งหลายได้เห็นนิ้วพระหัตถ์พระลงคลราชมเหสี เป็นทองปรากฏแก่อาตมา ก็รู้แจ้งว่านางพระยาเจ้ามีบุญหาควรที่เราท่านทั้งหลายจะเกิดความริษยาหึง หวงไม่ ตั้งแต่วันนั้นมาก็ยำเกรงพระราชมเหสีเป็นอันมากฯ

สมเด็จพระเจ้ากรุงทราวดีนั้นก็มีความเสน่หาในพระมงคลราชมเหสี เสด็จบรรทมเหนือแท่นอันเดียวกัน ก็ได้ทรงตั้งพระนางนั้นไว้ในที่เป็นเอกอัครราชเทวี ผู้มีบุญหานางจะเปรียบเสมอสองมิได้ ด้วยเดชะผลทานของพระนางและของพระองค์ได้กระทำมาเสมอกันแต่บุพพชาติจึงได้ เสวยศิริราชสมบัติดังนั้นฯ สมเด็จพระสัพพัญญูเจ้าของเรา ตรัสพระสัทธรรมเทศนาแก่พระสารีบุตรว่า โตไทยพราหมณ์ได้กระทำบุญมาแต่ก่อน จึงได้เสวยสมบัติในสวรรค์และมนุษย์ บัดนี้จึงได้บังเกิดเป็นพราหมณ์ในศาสนาของตถาคต นานไปเบื้องหน้าโน้น โตไทยพราหมณ์จักได้เกิดเป็นพระสัพพัญญูสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่านรสีหะ ด้วยเดชะผลทานอันเป็นปรมัตถบารมีปรากฏดุจกล่าวมาฉะนี้
แสดงมาด้วยเรื่องราวโตไทยพราหมณ์ บรมโพธิสัตว์คำรบ ๘ ก็ยุติแต่เพียงนี้ฯ
เอวํ ก็มี ด้วยประการฉะนี้
__________________




๙. พระติสสะ (ช้างนาฬาคีรี)

สมเด็จพระจอมโมลีศรีสรรเพ็ชร์พุทธเจ้าของเรา ตรัสแก่พระสารีบุตรเถระเจ้าว่า ในเมื่อสิ้นศาสนาพระนรสีหะแล้ว แผ่นอินมัณฑกัปก็เกิดไฟประลัยโลกพินาศสังหารล้างผลาญโลกให้ฉิบหาย จนเกิดกัปป์ตั้งแผ่นดินขึ้นมาใหม่ในกาลนั้นเป็นสุญญกัปแผ่นดินหนึ่ง ในเมื่อสุญญกัปฉิบหายล่วงแล้วและเกิดแผ่นดินขึ้นมาใหม่มรนามว่ามัณฑกัปอีก เล่า พระพุทธเจ้า ๒ พระองค์ จะบังเกิดในมัณฑกัปป์นั้น
- คือช้างนาฬาคีรีหัตถี ที่พระเทวทัตให้พระเจ้าอชาตศัตรูปล่อยออกมา ปรารถนาจะให้แทงองค์สมเด็จพระพุทธเจ้านั้น ก็เป็นบรมโพธิสัตว์สัพพัญญูพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า พระติสสะสัพพัญญู
- คือช้างปาลิไลยหัตถีนั้นตัวหนึ่ง ก็เป็นบรมโพธิสัตว์จักได้ตรัสเป็นพระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่าพระสุมงคลพระพุทธเจ้า
สองพระองค์นั้นได้ตรัสในมัณฑกัปป์อันเดียวกัน แต่ช้างธนบาลหัตถีคือนาฬาคีรีนั้นจักได้ตรัสเป็นพระพุทธเจ้าก่อน ทรงพระนามว่าพระติสสะสัพพัญญูพุทธเจ้า เมื่อพระติสสะสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสนั้น
- พระองค์มีพระวรกายสูงได้ ๘๐ ศอก
- ไม้ไทรเป็นไม้พระศรีรัตนมหาโพธิ
- มีพระชนมายุยืนได้ ๘ หมื่นปี เป็นกำหนด
- พระพุทธรัศมีสว่างเสมอดังเปลวเพลิง อันสุกรุ่งเรืองยังโลกธาตุทั้งปวงให้สว่างไปสิ้นทั้งกลางวันกลางคืน
- พระพุทธรัศมีที่พุ่งผุดออกจากพระสรีรกายเป็นเกลียวอันเดียวกัน แล้วก็แตกออกไปเป็นสีต่างๆ ก็มี
- พระพุทธรัศมีอย่างหนึ่งเวียนเป็นทักขิณาวัฏ เวียนขวาขาวดุจสีสังข์
- พระพุทธรัศมีอย่างหนึ่ง ปรากฏเป็นพุ่มกลุ่มออกไป เปรียบประดุจเศวตฉัตรก็มี
- พระพุทธรัศมีอย่างหนึ่งพุ่งพวยเรียวรีดเร็วออกไปนั้น เปรียบเหมือนชายธงก็มี
- พระพุทธรัศมีที่ออกจากพระสรีรกายแล้วล้อมพระองค์ไว้นั้น ห้อยย้อยแพรวพราวเป็นสายงามประดุจดังว่าระบายสายเศวตฉัตร ประมาณพันหนึ่งก็มี
- ตกว่าพระพุทธรัศมีทั้งหลาย ที่ออกจากพระสรีรกายนั้น ดูเป็นช่อพัวพันพระองค์อยู่โดยรอบคอบ ควรจะเกิดมหัศจรรย์ยิ่งนัก
- ครั้งนั้นด้วยเดชาพระพุทธานุภาพ เกิดไม้กัลปพฤกษ์ขึ้นมา ให้สำเร็จประโยชน์แก่หมู่มนุษย์ทุกสิ่งทุกประการ มิได้ขัดสนได้บริโภคเลี้ยงชีวิต ประดับประดาสรรพาภรณ์ทั้งหลายทั้งปวงเป็นผาสุกภาพโดยสะดวกฯ

ดูก่อนสำแดงธรรมเสนาบดีสารีบุตร อันว่าช้างนาฬาคีรีหัตถีบรมโพธิสัตว์นั้น ได้กระทำกุศลสร้างพระบารมีมาเป็นอันมากอยู่แล้ว แต่กองพระบารมีครั้งหนึ่งปรากฏเป็นยอดยิ่งพระบารมี เป็นปรมัตถคุณอันล้ำเลิศประเสริฐในโลกนี้ มีพระพุทธฎีกาฉะนี้แล้วจึงนำมาซึ่งอดีตนิทานมาตรัสพระสัทธรรมเทศนาว่า อตีเต กาเล ในอดีตกาลล่วงลับไปแล้วช้านาน เมื่อครั้งศาสนาพระโกนาคมน์เจ้านั้น ช้างนาฬาคีรีหัตถีตัวนี้เป็นพระราชโอรสผู้ใหญ่แห่งสมเด็จบรมกษัตริย์พระองค์ หนึ่ง ทรงพระนามว่า พระยาธรรมราชผู้ประเสริฐ เสวยศิริราชสมบัติในจำปากนคร บรมกษัตริย์พระธรรมราชนั้น มีโอรสผู้ชาย ๕ พระองค์ ช้างธนบาลหัตถีนาฬาคีรีตัวนี้ เป็นบรมโพธิสัตว์ได้เป็นพระราชโอรสผู้ใหญ่มีนามว่า ธรรมเสนกุมาร ๑ น้องรองลงไปชื่อว่า ภัททกุมารองค์ ๑ ชื่อว่ารามกุมารองค์ ๑ ชื่อว่าปมาทกุมารองค์ ๑ ชื่อว่าธัชชกุมารองค์ ๑ เป็นพระราชกุมาร ๕ พระองค์ด้วยกัน

ครั้งนั้นสมเด็จพระราชบิดาสั่งให้พระราชโอรสทั้ง ๕ พระองค์นั้น ไปเรียนศิลปศาสน์ในสำนักแห่งทิศาปาโมกข์อาจารย์ ณ เมืองตักศิลา พระราชกุมารทั้งหลายก็ไปเรียนได้วิชชาศิลปะศาสตร์คนละอย่างละอย่าง
- เจ้าธรรมเสนกุมารผู้เป็นพระเชษฐาพี่ชายใหญ่นั้น รู้วิชชาการกล่าวแก้ในทานและศีลเป็นศิลปศาสตร์ฯ
- เจ้าภัททกุมารนั้น รู้วิชชาศรธนูอันมีพิษเป็นศิลปศาสตร์ฯ
- เจ้ารามกุมารนั้น รู้วิชชาดอกไม้ไฟเป็นศิลปะศาสตร์ฯ
- เจ้าปมาทกุมารนั้น รู้วิชชาช่างทองเป็นศิลปะศาสตร์ฯ
- เจ้าธัชชกุมารนั้น รู้วิชชามนต์บำราบอสรพิษเป็นศิลปะศาสตร์ฯ

อันว่าพระราชกุมารทั้ง ๕ พระองค์เรียนได้ชำนิชำนาญแล้ว ก็ลาอาจารย์ออกจากเมืองตักศิลามาถึงกรุงจำปากนครแล้ว ก็เข้าไปยังสำนักสมเด็จพระราชบิดา ถวายบังคมลาแล้วจึงกราบทูลสำแดงศิลปะศาสตร์แห่งตนที่เรียนมา ถวายแก่สมเด็จพระบิดาต่างๆกัน สมเด็จพระบิดาได้ทัศนาเห็นศิลปศาสตร์ของพระราชโอรสก็ดีพระทัยนัก ตรัสสรรเสริญพระราชกุมารทั้งหลาย แล้วก็พระราชทานบำเหน็จรางวัลให้พระราชโอรสตามสมควร

อยู่จำเนียรกาลมา พระราชโอรสมีวัยเจริญขึ้น สมควรที่จะครอบครองศิริราชสมบัติได้แล้ว ส่วนสมเด็จพระราชบิดานั้นทรงคิดว่าเรามีความเสน่หาในลูกทั้งหลายเป็นอันมาก เมื่ออยู่พร้อมกันทั้ง ๕ คนนี้แม้เรายกสมบัติให้แก่ลูกผู้ใดแล้ว ลูกทั้งหลายที่ไม่ได้ราชสมบัติ ก็จะเกิดรบพุ่งฆ่าฟันกันชิงเอาราชสมบัติเป็นอันแท้ ด้วยว่าราชกุมารทั้งหลายนี้ ล้วนมีศิลปศาสตร์เรียนมาแต่สำนักอาจารย์ทั้งสิ้น ถ้าชาวเมืองทั้งหลายอื่นๆสรรเสริญซึ่งศิลปศาสตร์ของกุมารคนใดแล้ว เราก็จะยกศิริราชสมบัติให้แก่กุมารคนนั้น เมื่อพระองค์ทรงจินตนาดังนี้แล้ว ก็สั่งให้จัดแจงแต่งนาวาไว้พร้อม จึงได้หาพระราชกุมารทั้ง ๕ พระองค์มา แล้วตรัสว่าดูก่อนเจ้าทั้งหลาย ผู้เป็นลูกรักของบิดา บิดาได้ทรงทราบว่าเจ้าทั้งหลายเรียนศิลปะศาสตร์ได้คนละอย่างต่างๆกัน บิดาก็มีความยินดี บัดนี้เจ้าจงพากันไปในพระนครอื่น แล้วจงสำแดงศิลปศาสตร์ให้มนุษย์ชาวเมืองเห็น ถ้ามหาชนทั้งหลายในเมืองอื่นนั้น กล่าวชมสรรเสริญศิลปศาสตร์ ของเจ้าคนใด บิดาจะยกศิริราชสมบัติให้แก่เจ้าผู้นั้นมีพระราชโองการตรัสดังนั้นแล้ว ก็ให้พระราชกุมารทั้งหลายไปในสาคร

.เมื่อพระราชกุมารทั้งหลายไปถึงท่ามกลางมหาสมุทรเข้าแล้ว ฝ่ายพระราชกุมารมีเจ้าภัททกุมารเป็นอาทิ ซึ่งเป็นพระอนุชาแห่งเจ้าธรรมเสนบรมโพธิสัตว์ทั้ง ๔ พระองค์ ไม่มีสติปัญญาสำคัญผิดคิดมิชอบ หลงใหลไปในท้องสมุทร
- ครั้งนั้นเจ้าภัททกุมารเข้าใจว่าลูกศรอันเป็นพิษ ที่อาจารย์สั่งสอนมานั้นว่า มีอยู่ภายใต้ท้องพระมหาสมุทร โดยคิดว่าเราจะโจนลงไปในน้ำ สำแดงศิลปศาสตร์ภายใต้ท้องพระมหาสมุทร มีชัยชนะได้ลูกศรอันมีพิษขึ้นมา เมื่อพระบิดาได้ทรงฟังว่าเรามีชัยก็จะยกศิริราชสมบัติให้แก่เรา เจ้าภัททกุมารคิดดังนี้แล้ว ก็โจนลงไปในท้องมหาสมุทร ครั้งนั้นมหามัจฉาปลาใหญ่ก็กินกุมารนั้นเสียฯ
- ครั้นสำเภาแล่นไปในเบื้องหน้า จนถึงเวลาเที่ยงคืน น้ำในท้องมหาสมุทรเป็นสีพราย เปรียบเหมือนดอกไม้ไฟ เจ้ารามกุมารสำคัญในใจว่าเพลิงดอกไม้ไฟนั้น มีอยู่ในท้องมหาสมุทรถ้าเราลงไปเอาขึ้นมา ทราบถึงพระบิดาก็จะยกศิริราชสมบัติให้แก่เรา คิดแล้วก็โจนลงไปในท้องมหาสมุทร ปลาใหญ่ก็กินกุมารนั้นเสียฯ
- ครั้นเวลารุ่งสว่างขึ้นมา ถึงตะวันเที่ยงสำเภาแล่นไป เจ้าปมาทกุมารนั้น เห็นดวงพระอาทิตย์ปรากฏในท้องพระมหาสมุทร ก็สำคัญว่าทองคำเนื้อบริสุทธิ์ปราศจากราคีมีอยู่ในน้ำ ถ้าเราลงไปดำเอาขึ้นมาได้ เห็นว่าชัยชนะจะพึงมีแก่อาตมา พระบิดาทรงทราบแล้วก็จะยกศิริราชสมบัติให้แก่เรา คิดแล้วก็โจนน้ำดำลงไป ปลาใหญ่ก็กินกุมารนั้นเสียฯ
- สำเภาแล่นไปจนถึงเมืองหนึ่งเข้า เจ้าธัชชกุมารนั้นขึ้นไปในเมือง เพื่อจะสำแดงศิลปะศาสตร์ของตน จึงร่ายมนต์แล้วก็แปลงกายเป็นอสรพิษเลื้อยไปในท่ามกลางมหาชนทั้งหลาย ชาวเมืองเห็นงูร้ายเลื้อยมาดังนั้นก็ชวนกันกลุ้มรุมตีด้วยไม้ค้อนก้อนดิน กระทำให้พินาศฉิบหายตายอยู่ในที่นั้นฯ
ตกว่าพระราชกุมารทั้ง ๔ ตายสิ้น ด้วยศิลปะศาสตร์ของอาตมาอันหาปัญญาสำคัญมิได้ ด้วยคิดวิปลาสผิดไป ก็ได้ซึ่งความฉิบหายดังนั้น



28296  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: พระพุทธเจ้าในอนาคตกาล ๑๐ พระองค์ เมื่อ: ธันวาคม 17, 2009, 12:58:09 pm
๖. พระรังสีมุนีนาท (โสณพราหณ์)
ลำดับนั้น โสณพราหมณ์จะได้บังเกิดเป็นพระพุทธเจ้าสืบต่อไปในอนาคตกาล ทรงพระนามว่าพระรังสีมุนีนาถศาสดาจารย์เจ้านั้น
- พระองค์มีพระวรกายสูงได้ ๖๐ ศอก
- มีพระชนมายุยืนได้ ๕ พันปีเป็นกำหนด
- คัมภีร์หนึ่งว่าไม้เลียบ คัมภีร์หนึ่งว่าไม้ดีปลี เป็นพระมหาโพธิ
- ประกอบไปด้วยพระพุทธรัศมีดุจสีทองรุ่งเรืองสว่างทั้งกลางวันและกลางคืนเป็นอันงาม
- ในศาสนาพระพุทธรังสีมุนีนั้น มนุษย์ทั้งปวงกระทำการงานเลี้ยงชีวิตของอาตมาเหมือนมนุษย์ทุกวันนี้
พระพุทธเจ้าผู้ทรงพระนามว่า รังสีมุนี นั้น ได้สร้างพระบารมีทั้ง ๑๐ ประการมาเป็นอาทิ คือทานและศีล แต่กองพระบารมีครั้งหนึ่ง เป็นปรมัตถบารมีปรากฏอัศจรรย์หวั่นไหวจึงได้พระพุทธสมบัติทั้งปวง พระองค์ตรัสดังนั้นแล้วจึงนำมาซึ่งอดีตนิทาน ของพระรังสีมุนีนาถว่า อตีเต กาเล ในอดีตกาลล่วงลับไปแล้วช้านาน ในเมื่อพระศาสนาพระกุกกุสันธสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสในโลก

.ครั้งนั้นโสณพราหมณ์บรมโพธิสัตว์ บังเกิดเป็นมาณพผู้หนึ่งมีนามว่า มาฆมานพ เป็นมหาวาณิชพ่อค้าสำเภา มีความปรารถนามักมาก ไปค้าสำเภาเป็นปฐมนั้น ราคาสินค้าอันหนึ่งขายได้กำไร ๑๐ เท่าแล้วประมวญทรัพย์กลับสำเภาแล่นมานาวาก็จมลงในน้ำแต่ตัวนั้นรอดมาได้ มาฆมานพก็จัดแจงสำเภาไปใหม่เป็นคำรบ ๒ สินค้าอันเดียวขายได้กำไร ๑๐ เท่า ได้ทรัพย์แล้วกลับมาสู่บ้านเรือนได้ ๗ วันก็เกิดเพลิงไหม้เรือนสิ้นข้าวของทั้งหลายเป็นอันมาก จึงจัดแจงสำเภาไปค้าขายอีกเป็นคำรบ ๓ ก็ขายของสิ่งเดียวได้กำไรอีก ๑๐ เท่า ได้ทรัพย์แล้วกลับมายังบ้านเรือนก็มีโจรทั้งหลายเข้าสะกดหลับเก็บเอาทรัพย์ สิ่งของทองเงินทั้งปวงไปสิ้น ในขณะนั้นมฆมานพจัดแจงแต่งสินค้าไปขายเป็นคำรบ ๔ ก็ได้ราคาขายของสิ่งเดียวบังเกิดผลถึง ๑๐ เท่า ได้ทรัพย์แล้วกลับถึงบ้านเรือน ในวันนั้นพระมหากษัตริย์ให้ราชบุรุษทั้งหลายไปเก็บเอาทรัพย์สิ่งของแห่งมา ฆมาณพนั้น มาเข้าท้องพระคลังจนหมดจนสิ้น ตกลงว่ามาฆมาณพผู้เป็นมหาวาณิชนั้น ได้ซึ่งความพินาศฉิบหายถึง ๔ ครั้ง มาฆมาณพกับภรรยาสองคนผัวเมีย ก็เกิดความทุกข์ยากวิวาทกับภรรยาเมื่อคราวจนแล้ว ส่วนตัวได้ผ้าแดงผืนหนึ่งกับทองแสนหนึ่ง หย่ากันกับภรรยาเสียแล้วก็ลงจากเรือนไปเที่ยวค้าขาย คิดว่าครั้งนี้เราจะไปกระทำวาณิชกรรมในที่ดังฤา ก็เที่ยวไปในประเทศจนถึงเมืองโกสัมพี ในกาลนั้นเป็นวันปัณณรสีอุโบสถ มาณพนั้นก็รักษาศีลสำรวมจิตปรกติ ฝ่ายว่าชาวเมืองโกสัมพีและชาวนิคมชนบททั้งหลายก็ชวนกันเดินไปมาในท่ามกลาง พระนครตามความปรารถนา

ในกาลนั้น พระสาวกองค์หนึ่งแห่งพระกุกกุสันธสัพพัญญูพระผู้เป็นเจ้าพระองค์นั้นเข้าสู่ ผลสมาบัติ ครั้นว่าออกจากษมาบัติแล้วพระผู้เป็นเจ้าจินตนาว่า ใครหนอมีความทุกข์เบียดเบียนเป็นอันมาก เล็งแลดูด้วยทิพยจักษุญาณก็เห็นแจ้งว่ามาฆมาณพผู้เป็นบรมโพธิสัตว์นั้น ประกอบด้วยมหันตทุกข์มากนัก ควรอาตมาจะยังมาณพผู้นี้ให้บังเกิดผลเห็นเป็นทิฏฐธรรมเวทนีย์ ให้ได้เสวยผลในอัตภาพชาตินี้ พระผู้เป็นเจ้าคิดแล้วก็จับบาตรและจีวรประดับกายพร้อมแล้วเหาะมาโดยอากาศ ลงในท่ามกลางเมืองโกสัมพี ยืนอยู่ในที่ใกล้มรรคาหนทาง พอมาฆมาณพเดินมาตามมรรคาเห็นพระสาวกแล้วก็เข้าไปกราบไหว้ถามว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าจะปรารถนาสิ่งดังฤา ดูก่อนมาณพ อาตมาภาพมายืนอยู่เพื่อจะรับทานของท่าน มาณพได้ฟังดังนั้นก็มีจิตเลื่อมใสศรัทธา ประกอบไปด้วยความโสมนัส เปรียบเหมือนบุรุษยากไร้เข็ญใจ ได้ซึ่งถุงทรัพย์พันตำลึงอันท่านมาวางลงในมือแห่งตน จึงกล่าวว่าข้าแต่พระผู้เจริญศีลาธิคุณ ตัวของข้าพเจ้าเป็นปุถุชนวาณิช เที่ยวค้าขายได้กำไรถึง ๔ หน ก็บังเกิดมหันตทุกข์เป็นอันมาก บัดนี้ข้าพเจ้าขอกระทำพระนิพพานเป็นวาณิชกรรมแห่งข้าพเจ้าแล้ว จะยังจิตให้เที่ยวไปค้าขายในเมืองแก้ว ให้ได้สมบัติโลกุตระในเบื้องหน้า ครั้นว่าแล้วก็เอาทองแสนหนึ่งกับผ้าแดงผืนหนึ่งถวายแก่พระสาวก ด้วยจิตโสมนัสศรัทธาเลื่อมใสเป็นอันดี แล้วก็กระทำความปรารถนาว่า เดชะผลทานในกาลบัดนี้จงเป็นปัจจัยให้สำเร็จแก่พระสัพพัญญุตญาณเถิด พระสาวกเจ้าก็รับเอาไทยทานแล้วก็อนุโมทนาว่า ดูก่อนอุบาสกผู้รู้พระไตรสรณาคุณแก้วสามประการ อันว่าความปรารถนาของท่านมีประการใด ขิปฺปํ สมิจฺฉตุ จงสำเร็จเป็นอันเร็วแก่ท่านดังความปรารถนานั้นเถิด พระผู้เป็นเจ้ากล่าวอนุโมทนาแล้วก็เหาะไปในอากาศเวหา ในเมื่อพระสาวกนั้นหายไปลับจักษุมาณพแล้ว ในที่ถวายทานแห่งมาณพนั้นก็บังเกิดมีไม้กัลปพฤกษ์ขึ้นมาต้นหนึ่ง ฝ่ายมาณพก็ขึ้นอาศัยไม้กัลปพฤกษ์นั้น เปรียบเหมือนเทพบุตรผู้มีฤทธิ์ไปนั่งอยู่บนยอดเขายุคนธรบรรพต

ครั้งนั้นพระเจ้าโกสัมพีเสด็จแวดล้อมมาด้วยมหาชนเป็นบริวาร ออกมาถึงสถนที่นั้น ทอดพระเนตรเห็นมาณพนั่งอยู่ใต้ต้นกัลปพฤกษ์นั้น ประดุจดังทิพยพิมาน จึงเสด็จเข้าไปใกล้ต้นกัลปพฤกษ์ ฝ่ายว่าเทพารักษ์ที่รักษาต้นกัลปพฤกษ์นั้น ก็จับเอาพระศอพระยาโกสัมพีเสือกไสออกมา จึงทรงพิโรธ สั่งให้ราชบุรุษทั้งหลายเอาไฟมาเผาทิพยพิมานนั้นเสีย ในที่นั้นก็บังเกิดเป็นดอกประทุมชาติผุดขึ้นมารองรับเอามาณพนั้นไว้ให้นั่ง อยู่บนดอกบัวเป็นอันงาม ฝ่ายพระยาโกสัมพีทรงเห็นเป็นอัศจรรย์ จึงสั่งให้จับตัวมาณพบรมโพธิสัตว์ให้เอาไปถ่วงน้ำเสีย เมื่อมหาชนเอามาณพไปถ่วงน้ำครั้งนั้นดอกบัวใหญ่ก็ผุดขึ้นมารับเอามาณพไว้มิ ได้เป็นอันตราย ครั้นพระยาโกสัมพีเห็นอัศจรรย์ดังนั้น จึงถามมาณพว่า ไม้กัลปพฤกษ์ต้นนี้บุคคลดังฤาให้แก่ท่าน มาณพจึงทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐไม้วิมานทิพย์นี้พระสาวกให้แก่ข้าพระบาท จึงตรัสว่าท่านจงไปหาพระสาวกให้มายังสำนักแห่งเรา เราจึงจะเชื่อถ้อยฟังคำของท่าน ครั้งนั้นมาฆมาณพจึงตั้งจิตอธิษฐาน เพื่อจะให้พระผู้เป็นเจ้ามา ด้วยวาจาว่าข้าแต่พระผู้เจริญคุณเป็นอันมาก บัดนี้จงอนุเคราะห์แก่ข้าพเจ้ากลับมายังสำนักข้าพเจ้าก่อนเถิด พอขาดคำอธิษฐานลง องค์พระสาวกผู้ประเสริฐก็เล็งแลด้วยทิพยจักษุญาณ รู้แจ้งแล้วก็เหาะลอยลงมายืนประดิษฐานอยู่ณที่ใกล้แห่งมาณพนั้น พระผู้เป็นเจ้าจึงบอกแก่กษัตริย์กรุงโกสัมพีว่า ดูก่อนพระองค์ผู้ทรงเป็นสมมติเทวราช ถ้าแลพระองค์ขืนกระทำประทุษร้ายแก่มาณพหน่อพุทธางกูรผู้นี้ ในพระนครของพระองค์ก็จะทรุดจมลงไปในแผ่นปฐพีหมดสิ้น พระผู้เป็นเจ้ากล่าวดังนั้นแล้ว ก็กลับเหาะไปในอากาศเวหา ลงยังสำนักของพระผู้เป็นเจ้า พระยาโกสัมพีได้ฟังพระมหาเถระกล่าวดังนั้น ก็ตกใจสะดุ้งกลัวแต่ภัยยิ่งนัก จึงตรัสว่าดูก่อนมาณพผู้เจริญ เราขออภัยโทษแก่ท่านเสียเถิด ตั้งแต่วันนี้ไปท่านจงเป็นที่อนุชาธิราชของเรา พระยาโกสัมพีกตั้งมาฆมาณพบรมโพธิสัตว์ไว้ในที่เป็นอนุชาธิราชของพระองค์ฯ

ดูก่อนธรรมเสนาบดีสารีบุตร อันว่ามาณพนั้นได้ซึ่งมหาสมบัติทั้งปวงเป็นอันมาก เมื่อได้ตรัสเป็นพระสัพพัญญูเจ้า ทรงพระนามว่าพระรังสีมุนี จึงมีพระพุทธรัศมี และได้ซึ่งสมบัติบริบูรณ์อันประเสริฐยิ่งนัก แสดงมาด้วยเรื่องราวโสณพราหมณ์บรมโพธิสัตว์ คำรบ ๖ ก็ยุติแต่เพียงนี้




๗. พระเทวเทพ (สุภพราหมณ์)
ในกาลเมื่อสิ้นพระศาสนาของพระรังสีมุนีแล้ว มัณฑกัปป์ที่ทรงพระพุทธเจ้าทั้งสองพระองค์นั้นก็ล่วงลับดับสูญไป เกิดแผ่นดินขึ้นมาใหม่ ก็ชื่อว่ามัณฑกัปทรงพระพุทธเจ้าสองพระองค์เหมือนกัน คือสุภพราหมณ์บุตรแห่งโตไทยพราหมณ์นั้นคนหนึ่ง เป็นบรมโพธิสัตว์ จะได้ตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จพระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า พระเทวเทพสัพพัญญูฯ กับโตไทยพราหมณ์นั้นคนหนึ่งเป็นบรมโพธิสัตว์จะได้ตรัสเป็นองค์สมเด็จพระ พุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระนรสีหสัพพัญญู ในมัณฑกัปป์อันเดียวกันฯ

สุภพราหมณ์บรมโพธิสัตว์จะได้ตรัสเป็นองค์สมเด็จพระพุทธเจ้าก่อนนั้นทรงพระนามว่า พระเทวเทพ
- มีสรีรกายสูงได้ ๘๐ ศอก
- มีพระชนมายุยืนได้ ๘ หมื่นปี
- ไม้จำปาเป็นพระมหาโพธิ
- ประกอบด้วยพระพุทธรัศมียังโลกธาตุทั้งปวงให้สว่างรุ่งเรืองอยู่เป็นนิจจกาล ปราศจากฤดูเย็นและร้อน อันว่าฉัพพรรณรังสีทั้ง ๖ ประการ มีสัณฐานเปรียบเหมือนช่อฝักบัวเมื่อยังอ่อนๆอยู่นั้น
- ด้วยเดชะพุทธานุภาพ พื้นแผ่นปฐพีบังเกิดข้าวสาลี มีกลิ่นโอชารสหอมวิเศษ
- และต้นไม้กัลปพฤกษ์ ประกอบไปด้วยสรรพสิ่งต่างๆ มนุษย์ทั้งหลายได้อาศัยบริโภคข้าวสาลีและประดับประดาสรีรกาย มิได้กระทำการถากไร่ไถนาค้าขาย ผิวพรรณแห่งมนุษย์ทั้งหลายนั้นก็งามผุดผ่องเป็นสีทองโดยปรกติ ถึงไม่แต่งตัวก็งามอยู่เองเป็นอัตรา ด้วยสรีรกายนั้นเหลืองเป็นสีทองเนื้อละเอียดเป็นอันดีงามฯ

ดูก่อนสำแดงสารีบุตร พระเทวเทพสัพพัญญูเจ้า ครั้งเมื่อเป็นบรมโพธิสัตว์ ได้สร้างพระบารมี ๑๐ ประการ บริบูรณ์ด้วยทานและศีล แต่กองพระบารมีครั้งหนึ่งเป็นยอดพระบารมี ปรากฏเป็นปรมัตถบารมีมกุฏทาน เหตุดังนั้นพระองค์จึงได้ซึ่งพระพุทธสมบัติเป็นอันมาก ตรัสดังนั้นแล้วจึงนำซึ่งอดีตนิทานมาตรัสพระสัทธรรมเทศนาว่า อตีเต กาเล ในอดีตกาลล่วงลับไปแล้วช้านาน สุภพราหมณ์นี้เมื่อครั้งศาสนาสมเด็จพระโกนาคมน์สัมมาสัมพุทธเจ้า ได้บังเกิดเป็นพระยาฉัททันต์ตัวประเสริฐ อาศัยอยู่แทบฝั่งฉัททันต์สระที่ป่าหิมพานต์ ครั้งหนึ่งพระอัญญาโกณฑัญญเถระเจ้า ผู้เป็นพระสาวกแห่งสมเด็จพระโกนาคมน์เจ้า มีพระชนมายุสังขารจวนจะสิ้นแล้ว เข้าสู่นิพพานแทบฝั่งฉัตรทันต์สระ ในกาลครั้งนั้น อันว่าพระยาช้างศรีเศวตมงคลขาวขาวสะอาดดังไกลาสเงินยวงเป็นอันงาม ก็มีความปรารถนาซึ่งพระสัพพัญญุตญาณ พระบรมฉัตรทันตชาติคชสารตัวประเสริฐ บังเกิดเป็นโพธิสัตว์เสพอาศัยอยู่ในขอบฝั่งสระนั้น ครั้นเที่ยวไปได้ทัศนานุตตริยาคุณเห็นกองบุญก็บังเกิดความยินดีโสมนัสที่ได้ พบเห็นพระสรีรกายแห่งองค์พระขีณาสพ พระอัญญาโกณฑัญญเถระ พระยาช้างเผือกผู้โพธิสัตว์จึงตั้งจิตอธิษฐานลงว่า เราจะกระทำการปลงพระสรีรกายพระมหาสาวกนั้นในประเทศนี้ แล้วก็ร้องประกาศแก่ฝูงเทพยดาทั้งหลายว่า เชิญท่านมาช่วยด้วย อันว่ากองกุศลใดเราได้กระทำไว้แต่ชาติปางก่อนแม้นมีอยู่แล้วขอจงมาอุปถัมภก ยกเอาเลื่อยทิพย์อันหนึ่งมาให้ในสำนักแห่งเรา ด้วยเดชะกองกุศลของพระยาช้างตั้งจิตอธิษฐานดังนั้น อันว่าเลื่อยทิพย์ก็บันดาลลอยมาตกลงตรงหน้าแห่งพระยาช้าง พระยาช้างก็ตัดงาทั้งสองให้ขาดแล้วก็เอางาของตัวข้างหนึ่งกระทำเป็นโกศ อีกข้างหนึ่งกระทำเป็นรูปนกยูงทองประดับเป็นอันงาม จะกระทำฌาปนกิจเผาสรีรกายพระขีณาสพนั้นฯ
จึง มีคำพระอาจารย์กล่าวโจทย์ว่า พระยาช้างฉัตรทันต์เป็นชาติเดียรฉาน เหตุดังฤาจึงเอางาของอาตมากระทำเป็นโกศ มีรูปนกยูงทองประดับเป็นอันงามได้ พึงให้นักปราชญ์ผู้มีปัญญากล่าววิสัชนาแก้ด้วยประการดังนี้ว่า พระยาช้างฉัตรทันต์นั้นเป็นสัตว์เดียรัจฉานก็จริงแล แต่ว่าเป็นบรมโพธิสัตว์ก่อสร้างพระบารมีมามากแล้ว เดชะพระบารมีทั้งหลายของพระยาช้างก็ร้อนขึ้นไปถึงอาสน์แห่งสมเด็จอมรินทราธิ ราช จึงมีเทวบัญชาสั่งพระวิษณุกรรมเทพบุตร ให้ลงมานิรมิตสรรพการเครื่องฌาปนกิจทั้งปวงสำเร็จแล้ว

ครั้งนั้นพระยาช้างแก้วก็ถอนเอาผมในศีรษะของอาตมากระทำเป็นไส้ประทีปตามถวาย เป็นเครื่องสักการบูชา ฝ่ายว่าช้างบริวารทั้งหลายก็มาประชุมแวดล้อมพร้อมกันทั้ง ๘ หมื่น ๔ พัน กระทำสมโภชรื่นเริงบันเทิงใจเล่นเป็นโกลาหลด้วยพวกพลช้างนั้นถ้วนถึง ๗ วัน แล้วก็เชิญอสุภกัมมัฏฐาน คือพระกเฬวระสรีรกายพระขีณาสพเจ้าออกจากโกศยกขึ้นวางในรูปนกยูงทอง จึงเอาแก่นจันทร์แดงมีกลิ่นอันหอมลงรองเรียบไว้เป็นอันดี แล้วก็ตั้งลงซึ่งพระอสุภกัมมัฏฐานแห่งองคืพระขีณาสพเจ้า แล้วจึงเชิญขึ้นวางไว้บนเศียรเกล้าของอาตมา แล้วก็เอาเพลิงจุดเผาพระศพสรีร ณ เบื้องบนแห่งศีรษะตนนั้น ครั้นเตโชธาตุเผาผลาญสังหารพระสรีรศพย่อยยับลงแล้ว รูปนกยูงทองที่เป็นเชิงตะกอนซึ่งตั้งอยู่บนศีรษะพระยาช้างนั้น ก็ประดุจดังว่ามีจิตวิญญาณแล้วก็บินไปบนอากาศเวหา อันว่าอสุภกัมมัฏฐานแห่งองค์พระขีณาสพเจ้านั้นก็อันตรธานสาบสูญหายไปสิ้น มิได้มีเศษแต่พระสรีรธาตุทั้งหลายนั้นตกลงเรี่ยรายอยู่บนแผ่นดิน ในที่นั้นฝูงเทพยดาทั้งหลายก็ตกแต่งเจดีย์บรรจุพระสรีรธาตุไว้

ในกาลนั้นพระยาช้างฉัตรทันต์จึงกระทำปณิธานความปรารถนาว่า เดชะที่ข้าพเจ้าได้เลื่อยงาทั้ง ๒ ของข้าพเจ้ากระทำเป็นเครื่องสักการบูชาพระอสุภกัมมัฏฐานของพระสาวกเจ้านี้ ขอให้เป็นปัจจัยได้สำเร็จแก่พระสร้อยเพชชุดาญาณ ในอนาคตกาลเถิดฯ ครั้นพระยาช้างสิ้นชีวิตก็ได้ขึ้นไปบังเกิดในดุสิตเทวโลก เป็นเทพบุตรเสวยทิพยสมบัติในวิมานอันเกษมนิราศภัยฯ

ดูก่อนสำแดงสารีบุตรผู้เจริญ อันว่าสุภพราหมณ์นี้ แต่ครั้งพระโกนาคมน์เจ้าได้ก่อสร้างพระบารมีดังนี้ จะได้ตรัสเป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งทรงพระนามว่า พระเทวเทพสัพพัญญูผู้ประเสริฐในอนาคตกาลโน้น
แสดงมด้วยเรื่องราวพระสุภพราหมณ์บรมโพธิสัตว์คำรบ ๗ ก็ยุติแต่เพียงนี้ฯ


28297  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: พระพุทธเจ้าในอนาคตกาล ๑๐ พระองค์ เมื่อ: ธันวาคม 17, 2009, 12:55:51 pm
๔. พระธรรมสามี (พระยามาธิราช)
สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสแสดงพระธรรมเทศนาแก่พระสารีบุตรว่า ในกาลเมื่อสมเด็จพระพุทธเจ้าสองพระองค์ คือพระรามเจ้าและพรเจ้ากรุงโกศลราช ได้ตรัสในมัณฑกัปป์เดียวกัน ล่วงลับดับขันธ์เข้าสู่พระปรินิพพานแล้วในมัณฑกัปอันนั้น ตั้งอยู่ถ้วนกำหนดกาลช้านานครบ ๖๔ อันตรากัปป์เข้าแล้ว แผ่นดินนั้นก็บังเกิดกัปวินาศฉิบหายไปด้วยไฟ ไฟไหม้อยู่สิ้นกาลช้านาน จนถึง ๓ อสงไขย ล่วงไปได้ ๖๔ อันตรากัปป์ ๓ หนแล้ว ในกาลนั้นมีแผ่นดินตั้งขึ้นใหม่เป็นกัปป์อันหนึ่ง ชื่อว่าสารกัปป์ ในสารกัปแผ่นดินนานได้ ๖๔ อันตรากัปนั้น บังเกิดมีพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งมาตรัสในสารกัปนั้นคือ พระยามาราธิราช จักได้ตรัสเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทะเจ้าพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่าพระธรรมสามีสัพพัญญูผู้ประเสริฐ
- พระองค์มีพระชนมายุได้ ๑๐ หมื่นปีเป็นกำหนด
- พระวรกายสูงได้ประมาณ ๘๐ ศอก
- มีไม้รังเป็นพระมหาโพธิ
- ประกอบไปด้วยพระพุทธรัศมีรุ่งเรืองสว่างประดุจดวงพระจันทร์ พระอาทิตย์ และสายฟ้าแลบ
- ในเมื่อพระองค์ทรงพระดำเนินก็ดี ทรงนั่งก็ดี ไสยาสน์ก็ดี อยู่ในที่ใดๆ บังเกิดมีพระบวรเศวตฉัตร สูงและกว้างใหญ่ได้ประมาณ ๓๐ โยชน์ ผุดขึ้นมาในประเทศกลางเวหา
- ด้วยเดชานุภาพพระสัพพัญญูเจ้า บังเกิดมีขุมทองอันหนึ่งใหญ่สำเร็จในโลก มนุษย์ทั้งหลายในพระพุทธศาสนาพระยามาราธิราชนั้น ได้อาศัยขุมทองประพฤติเลี้ยงชีวิตเป็นสุข

ดูก่อนสำแดงสารีบุตร พระยามาราธิราชบรมโพธิสัตว์ ได้ก่อสร้างบารมี ๑๐ ประการ มีทานและศีลเป็นอาทิมามากแล้ว แต่กองบารมีอันหนึ่ง ปรากฏเป็นยอดยิ่งมิ่งมงกุฎบารมี เป็นปรมัตถคุณควรจะได้สำเร็จซึ่งพระพุทธสมบัติทั้งปวง พระองค์ตรัสดังนี้แล้ว จึงนำมาซึ่งอดีตนิทานแห่งพระยามาราธิราชบรมโพธิสัตว์ เป็นใจความว่า เมื่อครั้งพระพุทธศาสนาพระพุทธกัสสปทศพลญาณเจ้านั้น พระยามาราธิราชองค์นี้ได้บังเกิดเป็นมหาเสนาบดีใหญ่แห่งสมเด็จพระเจ้ากิงกิส สมหาราชา มีนามว่า โพธิอำมาตย์ อยู่มาวันหนึ่งองค์สมเด็จพระพุทธกัสสปสัพพัญญูเจ้าเข้าสู่ผลสมาบัติเชยชมพระ นิพพานเป็นบรมสุข ถ้วนกำหนดกาลแล้วออกจากผลสมาบัติในที่ภายใต้ต้นไทรใหญ่ ส่วนสมเด็จบรมกษัตริย์พระเจ้ากิงกิสสราชทรงพระจินตนาในพระหฤทัยว่า แท้จริงอันว่า พระมหากรุณาธิคุณเจ้าเสด็จออกจากผลสมาบัติใหม่ๆนี้ ถ้าแม้นบุคคลผู้ใดได้ถวายทานแก่พระพุทธองค์เจ้าแล้ว จะบังเกิดผลอานิสงส์หาที่สุดมิได้ บัดนี้ควรเราจะทำทานรักษาศีลสดับตรับฟังพระสัทธรรมเทศนาขององค์สมเด็จพระ พุทธเจ้า ทรงพระจินตนาดังนี้แล้วจึงมีพระราชโองการดำรัสสั่งราชบุรุษทั้งหลาย ให้ตีกลองร้องป่าวชาวเมือง ให้ทั่วกันว่า ถ้าบุคคลผู้ใดไปถวายทานแก่สมเด็จพระพุทธเจ้าก่อนเรา จะให้ลงพระราชอาญาผู้นั้น แล้วตรัสสั่งสหชาติโยธาทั้งหลาย ไปแวดล้อมพิทักษ์รักษาพระเชตุพนมมหาวิหารไว้โดยรอบ

ในกาลครั้งนั้น โพธิอำมาตย์ ได้ทราบเหตุดังนั้นแล้ว ก็มีความปรารถนาจะถวายทานแก่องค์สมเด็จพระพุทธเจ้าบ้าง ถึงว่าราชบุรุษทั้งหลายจะจับตัวอาตมาไปถวายพระมหากษัตริย์ พระมหากษัตริย์จะประหารชีวิตเราเสียด้วยความเพียรในการกุศลครั้งนี้ เสยฺโย ประเสริฐโดยวิเศษอันยิ่งแล้วเราจะคิดเกรงกลัวพระราชอาญานั้นด้วยเหตุใด โพธิอำมาตย์คิดดังนี้แล้ว ก็ไปบอกกับบุตร ภรรยา ให้แจ้งดังพรรณนามานี้ว่า เจ้าจงจัดแจงแต่งอาหารเครื่องไทยทาน กระทำเป็นห่อใหญ่ให้แก่เราสักห่อหนึ่ง กับผ้าสักผืนหนึ่ง ฝ่ายภรรยาได้ฟังสามีบอกดังนั้น ก็เกิดมีศรัทธารับวาจาว่าสาธุแล้ว ครั้นเวลารุ่งเช้า นางก็ไปจัดแจงแต่งเครื่องไทยทานทั้ง ๒ สิ่งนั้น เสร็จแล้วนำมาให้แก่สามี แล้วกระทำเครื่องไทยทานอีกส่วนหนึ่งให้เป็นของแห่งตน ฝากสามีให้ไปถวายทานด้วย ครั้นโพธิอำมาตย์ได้เครื่องไทยทานดังปรารถนาแล้ว ก็ตรงไปยังพระวิหารโดยเร็ว ครั้งนั้นพวกเสนาทั้งหลายที่แวดล้อมอยู่นั้นเห็นโพธิอำมาตย์เดินตรงมา จึงถามว่า โภเสนาบดี ดูก่อนท่านเสนาบดี เหตุดังฤาท่านจึงองอาจมายังสำนักสมเด็จพระพุทธเจ้า โพธิอำมาตย์ได้ฟังก็คิดว่า ถ้าเราจะบอกแก่คนทั้งหลายด้วยถ้อยคำมุสาวาทว่า พระมหากษัตริย์ใช้ให้เรามาอาราธนาองค์สมเด็จพระพุทธเจ้าเข้าไปยังพระราช นิเวศน์ก็จะได้ แต่ทว่าหาควรที่เราจะกล่าวมุสาไม่ เราก็ตั้งใจว่าจะถวายทานแก่สมเด็จพระพุทธเจ้า เมื่อเรากล่าวมุสาวาทแล้ว ทานของเราจะมีผลานิสงส์หามิได้ ควรแก่เราจะบอกแก่คนทั้งหลายโดยความจริงเถิด เสนาบดีคิดแล้วก็บอกแก่ราชบุรุษทั้งหลายว่า เราจะไปถวายทานแก่องค์สมเด็จพระพุทธเจ้า ราชบุรุษได้ฟังถ้อยคำแห่งโพธิอำมาตย์ ก็มีความขึ้งโกรธ กรูกันเข้าจับเอาตัวโพธิอำมาตย์ มัดมือไพล่หลัง ไปถวายแก่พระมหากษัตริย์ กราบทูลเหตุนั้นให้ทรงทราบ พระเจ้ากิงกิสสราชก็ทรงพระพิโรธ สั่งให้นายเพชฌฆาตเอาตัวไปตัดศีรษะเสียให้สิ้นชีวิต ฝ่ายเพชฌฆาตและนักการทั้งหลายก็พาเอาตัวโพธิอำมาตย์ไปตามรับสั่ง ถึงที่ป่าช้าเข้าเพื่อว่าจะฆ่าเสียฯ

ขณะนั้นองค์สมเด็จพระกัสสปทศพลญาณเจ้า ทรงทราบประพฤติเหตุดังนั้นแล้ว ทรงคิดว่าโพธิอำมาตย์นี้ เป็นหน่อบรมโพธิสัตว์ เสมอวงศ์แห่งพระตถาคต มีอภินิหารเหตุได้กระทำมาแต่ก่อน จะกระทำกาลกิริยาตายเสียในเวลาวันนี้ สมเด็จพระกัสสปสัพพัญญูเจ้า ทรงพระมหากรุณาแก่โพธิอำมาตย์จึงนิรมิตเป็นองค์สมเด็จพระพุทธเจ้า ให้สถิตอยู่ในพระเชตวันวิหาร ส่วนพระองค์ยังพระพุทธรูปขององค์ให้อันตรธานหายเสด็จไปประดิษฐานอยู่ในที่ สุสานประเทศ ครั้งนั้นบังจักษุแห่งนายเพชฌฆาตไว้ให้เป็นมหาละลวยละลายไป นายเพชฌฆาตเห็นรูปสมเด็จพระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนกับเหล่าราชบุรุษทั้งหลาย ที่มานั่งอยู่นั้น กระทำแต่จักษุโพธิอำมาตย์ผู้เดียวให้เห็นเป็นรูปพระพุทธองค์ จึงมีพุทธฎีกาตรัสว่า ดูก่อนโพธิอำมาตย์ผู้เจริญ ท่านจงละชีวิตของท่านเสียเถิด อย่ากระทำอาลัยในชีวิตอยู่เลย อันว่าปัจจัยทานของท่านมีประการใด ท่านจงให้ทานยังน้ำจิตให้เลื่อมใสในพระตถาคตเถิด อันว่าเครื่องปัจจัยทานของโพธิอำมาตย์นั้น ราชบุรุษทั้งหลายเอามาวางไว้ตรงหน้าแห่งโพธิอำมาตย์ด้วยเดชะพุทธานุภาพ โพธิอำมาตย์ได้สดับฟังพระพุทธฎีกาดังนั้น ก็บังเกิดมีจิตโสมนัสหาที่จะอุปมามิได้ ก็ถือเอาเครื่องปัจจัยทานของอาตมาส่วนหนึ่ง ของภรรยาส่วนหนึ่ง ถวายแก่สมเด็จพระพุทธกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยเบญจางคประดิษฐ์ แล้วกราบทูลว่าข้าแต่พระองค์เป็นที่พึ่งแก่สรรพสัตวโลกทั้งหลาย อันว่าชีวิตข้าพระบาทเสียสละแล้ว ด้วยเดชะผลทานของข้าพระพุทธเจ้าในกาลบัดนี้ ขอให้ได้บังเกิดเป็นองค์สมเด็จพระพุทธเจ้าเห็นปานดังพระองค์ ในอนาคตกาลโน้นเถิด

โพธิอำมาตย์กระทำปณิธานความปรารถนาดังนั้น สมเด็จพระภควันตบพิตรผู้ประเสริฐ ทรงพระอนุเคราะห์ยื่นพระหัตถ์ไปปรามาสเหนือศีรษะแห่งโพธิอำมาตย์ แล้วมีพระพุทธฎีกาว่า ตัวท่านยังความสุขเป็นอันมากให้บังเกิดแก่ตน จะได้พ้นจากวัฏฏทุกข์ในสงสาร ท่านปรารถนาประการใด ความปรารถนานั้นจงพลันสำเร็จแก่ท่านเถิด ดูก่อนโพธิอำมาตย์ผู้เจริญเอ๋ย ในอนาคตเบื้องหน้าโน้น ท่านจะได้บังเกิดเป็นองค์สมเด็จพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง สมดังความปรารถนาของท่าน ทรงพยากรณ์ทำนายโพธิอำมาตย์แล้วก็เสด็จกลับยังเชตวันมหาวิหาร กระทำภัตตกิจซึ่งปัจจัยทานบิณฑบาต ที่โพธิอำมาตย์ถวายสำเร็จแล้ว ขณะนั้นนายเพชฌฆาตก็ตัดศีรษะโพธิอำมาตย์ผู้เป็นเจ้าของทาน ขาดตกลงกระเด็นไปจากกาย โพธิอำมาตย์กระทำกาลกิริยาตาย มหาปฐพีอันใหญ่ก็ไหวหวาดเป็นมหัศจรรย์โกลาหล ครั้งนั้นเศวตฉัตรแห่งสมเด็จพระเจ้ากิงกิสสราชก็หักทบลง พระองค์เห็นเศวตฉัตรหักก็ประหลาดพระทัยนักให้สะดุ้งพระทัยไหวหวั่น สั่งให้ปิดประตูพระทวารให้มั่นฯ

ลำดับนั้น อันว่าทิพย์วิมานทอง อันประกอบไปด้วยนางเทพอัปสรสาวสวรรค์ประมาณพันนาง ก็บังเกิดผุดขึ้นมาในสุสานประเทศที่กระทำกาลกิริยาตายแห่งโพธิอำมาตย์นั้น กับขุมทองทั้งหลาย ๑๖ ขุม และไม้กัลปพฤกษ์ด้วยต้นหนึ่ง ประกอบไปด้วยสรรพสิ่งสาระพันต่างๆ บังเกิดขึ้นในที่นั้น อันว่าบุตร ภรรยา โพธิอำมาตย์นั้น ก็ได้อาศัยอยู่ในวิมานทอง ได้บริโภคซึ่งขุมทอง และไม้กัลปพฤกษ์ประพฤติเลี้ยงชีวิตสืบมา ถ้วนถึง ๕๐๐ ปีเป็นกำหนด ฝ่ายโพธิอำมาตย์ก็ได้ขึ้นไปบังเกิดในดุสิตาสวรรค์เสวยทิพยสมบัติด้วยเดชะผล ทานนั้นฯ

ดูก่อนสำแดงสารีบุตร เมื่อครั้งศาสนาของพระยามาราธิราชนี้
- มหาชนทั้งหลายได้บริโภคซึ่งข้าวสาลีเป็นนิจจกาล ด้วยเดชะผลทานข้าวสุกห่อหนึ่งถวายแก่พระพุทธกัสสป ในกาลเมื่อเป็นโพธิอำมาตย์
- เมื่อพระยามาราธิราชได้ตรัสแล้ว บังเกิดมีเศวตฉัตรแก้วสูงได้ ๓ โยชน์ ด้วยเดชะผลทานถวายผ้าผืนหนึ่ง
- และพระองค์มีพระชนมายุประมาณถึงแสนปีนั้น ด้วยเดชะผลทานที่สละซึ่งชีวิตฯ

ดูก่อนสำแดงสารีบุตร พระยามาราธิราชองค์นี้ ต่อไปในอนาคตกาลจักได้ตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า พระธรรมสามี
สำแดงมาด้วยเรื่องราวพระยามาราธิราชบรมโพธิสัตว์คำรบ ๔ ก็ยุติแต่เพียงนี้ฯ
_______________

๕.พระนารทะ (พระยาอสุรินทราหู)

สมเด็จพระบรมครูสัพพัญญูเจ้าของเราตรัสพระธรรมเทศนาว่า ในกาลเมื่อสิ้นศาสนาพระยามาราธิราช ผู้เป็นธรรมสามีสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว โลกทั้งหลายจะสูญจากสมเด็จพระพุทธเจ้าสิ้นกาลช้านานถึง ๘ กัปป์ แผ่นดินตั้งขึ้นมาใหม่ได้แสนแผ่นดิน แผ่นดินนั้นสูญเปล่าเป็นสุญญกัปป์ หาบังเกิดสมเด็จพระพุทธเจ้าไม่ ในเมื่อสุญญกัปนับได้แสนแผ่นดินล่วงไปแล้ว จึงบังเกิดแผ่นดินมาใหม่ มีชื่อว่ามัณฑกัปนั้น เป็นแผ่นดินทรงพระพุทธเจ้าได้ตรัส ๒ พระองค์ คือ
- พระยาอสุรินทราหู ๑
- โสณพราหมณ์ ๑
อันว่าพระยาอสุรินทราหูจะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก่อน ลำดับนั้นโสณพราหมณ์จักได้ตรัสเป็นพระพุทธเจ้าสืบไปฯ
เมื่อพระยาอสุรินทราหูได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ทรงพระนามว่าพระนารทะ
- มีพระองค์สูงได้ ๒๐ ศอก
- มีพระชนมายุยืนได้หมื่นปีเป็นกำหนด
- มีไม้จันทร์เป็นพระมหาโพธิ
- ประกอบไปด้วยรัศมีสว่างรุ่งเรืองทั้งกลางวันและกลางคืน เปรียบประดุจดังว่าสายฟ้าในกลีบเมฆ พระพุทธรัศมีที่เป็นแผ่นแผ่ทึบเป็นแท่งเดียวนั้น ปรากฏสัณฐานดุจดอกปทุมชาติอันตั้งขึ้นมา
- ครั้นศาสนาพระยาอสุรินทราหูนั้น ในแผ่นดินประเทศทั้งปวงเกิดรสภักษาหาร ๗ ประการ มนุษย์ทั้งหลายได้บริโภคภักษาหาร ๗ ประการ อันเกิดแก่แผ่นดิน ก็ประพฤติเลี้ยงชีวิตของอาตมาเป็นสุขสำราญมิได้ขาด

ดูก่อนสำแดงสารีบุตร อันว่าพระนารทผู้ทรงพระภาคนั้น มีพระรัศมีเห็นปานดังนี้ คือพระยาอสุรินทราหูแต่ก่อนได้สร้างบำเพ็ญพระบารมีทั้งหลาย ๑๐ ประการมาเป็นอันมากแล้ว จึงได้ตรัสเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาลฯ แต่กองบารมีอันหนึ่ง พระยาอสุรินทราหูได้กระทำเป็นปรมัตถบารมีอันยิ่ง ปรากฏเป็นอัศจรรย์ พระองค์มีพระพุทธฎีกาดังนั้นแล้ว จึงนำมาซึ่งอดีตนิทานมาตรัสพระธรรมเทศนาว่า อตีเต กาเล ในอดีตกาลล่วงแล้วช้านาน ในเมื่อพระสาสนาพระพุทธกัสสปทศพลญาณ พระยาอสุรินทราหูนี้ได้เสวยพระชาติเป็นบรมกษัตริย์ เสวยศิริราชสมบัติอยู่ในมัลลนคร เป็นเอกราชอันประเสริฐ ทรงพระนามว่า พระยาสิริคุตตมหาราช มีพระราชอัครมเหสีพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า ลัมภุราชเทวี มีพระราชบุตร พระราชธิดา ๒ พระองค์ พระราชบุตรมีนามว่า เจ้านิโครธกุมาร พระราชธิดามีนามว่า นางโคตมี อยู่มาวันหนึ่งยังมีพราหมณ์ ๘ คน พากันมาสู่สำนักแห่งพระยาสิริคุตต์ กราบทูลขอพระนคร พระองค์ก็ทรงโสมนัสบังเกิดพระราชศรัทธาโปรดพระราชทานพระนครให้แก่พราหมณ์ ทั้ง ๘ ยังแต่พระราชอัครมเหสีและพระราชโอรสกับพระราชธิดาทั้ง ๒ ก็พากันออกจากพระนครเข้าไปในอรัญประเทศ กระทำอาศรมอาศัยอยู่บนยอดเขาใหญ่ พร้อมกันทั้งสี่กษัตริย์ทรงเพศเป็นบรรพชิตอยู่ในอาศรมบทฯ

ในกาลครั้งนั้นยังมียักษ์ตนหนึ่ง มีนามว่ายันตะ ยักษ์ใหญ่สูงได้ ๑๒๐ ศอก ออกจากประเทศราวป่ามาเฉพาะต่ออาศรมแห่งกษัตริย์ทั้ง ๔ องค์ ยืนอยู่ในที่นั้นแล้วจึงกล่าววาจาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นกษัตริย์อันประเสริฐ ข้าพเจ้านี้เกิดมาเป็นยักษ์รักษาพนาลี มีแต่เลือดและเนื้อเป็นภักษาหารเลี้ยงชีวิต ข้าพเจ้ามาทั้งนี้ ปรารถนาจะขอพระราชโอรสและพระราชธิดา ทั้ง๒องค์ เป็นภักษาหาร ถ้าพระองค์ทรงพระราชศรัทธาโปรดพระราชทานให้แล้ว ไปในอนาคตเบื้องหน้า พระองค์จะได้ตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งเป็นแม่นมั่น เมื่อหน่อพระชินวงศ์ได้ทรงฟังยันตะยักษ์ทูลขอพระราชโอรสและพระราชธิดาทั้ง ๒ นั้น พระยาสิริคุตตราชฤาษีผู้แสวงหาพระโพธิญาณก็ชื่นบานในกมลหฤทัยแสนทวี ท้าวเธอจึงมีสุนทรสารทีตรัสแก่ยันตะยักษ์ว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญเอ๋ย พระราชกุมารและพระราชกุมารีทั้ง ๒ องค์นี้ ใช่ว่าเราจะไม่มีความเสน่หาอาลัยหามิได้ ด้วยเรารักใคร่ในพระโพธิญาณยิ่งกว่ากุมารทั้ง ๒ ได้ แสนเท่าพันทวี เราจะสละพระราชโอรสและพระราชธิดาทั้ง ๒ ศรี ให้เป็นทานแก่ท่านในกาลบัดนี้ ตรัสแล้วเท่านั้นก็เสด็จลุกจากอาสน์ จูงเอาข้อพระหัตถ์พระราชโอรสและพระราชธิดาทั้ง๒ ผู้ร่วมพระราชหฤทัย มาพระราชทานให้แก่ยันตะยักษ์ แล้วหล่อหลั่งอุทกธาราให้ตกลงเหนือมือแห่งยักษ์ พระองค์จึงประกาศแก่ฝูงเทพเจ้าและนางพระธรณีให้เป็นสักขีพยานว่า เดชะแห่งผลทานนี้จงสำเร็จแก่พระสร้อยเพชุดาญาณในอนาคตกาลด้วยเถิด พอสิ้นความปรารถนาก็บังเกิดมหัศจรรย์ทั่วโลกทุกห้องจักรวาล ปานแผ่นพสุธาจะทรุดจะทำลายฯ
เบื้องหน้ายันตะยักษ์ครั้นได้รับพระราชทานพระราชกุมารและพระราชกุมารีแล้ว ก็บังเกิดมีความชื่นชมยินดี พาตรุณสองศรีไปยังหลังพระบรรณศาลา ก็ก้มศีรษะลงกัดเอาคอกุมารและกุมารีทั้งสองให้ขาดด้วยอำนาจของอาตมา แล้วก็ดื่มโลหิตกินเป็นภักษาหาร แล้วก็เคี้ยวซึ่งเนื้อและกระดูกกลืนเข้าไป เสียงเคี้ยวนั้นดังกร้วมๆ พระฤๅษีผู้เป็นบิดาและมารดาเห็นเห็นหยาดเลือดย้อยลงจากปากยันตะยักษ์ในขณะ เมื่อเคี้ยวนั้น มิได้มีพระทัยไหวหวาดด้วยโลกธรรม จึงร้องประกาศแก่ฝูงเทพเจ้าทุกหย่อมหญ้าลดาวัลย์ทั้งปวงจงมาชื่นชม ด้วยทานของเราบัดนี้เป็นอันประเสริฐแล้วฯ

ดูก่อนสำแดงสารีบุตร ในเมื่อพระศาสนาของของพระยาอสุรินทราหูได้ตรัสรู้เป็นพระสัพพัญญูสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว
- ฝูงชนทั้งปวงประกอบไปด้วยรูปศิริวิลาสเป็นอันงาม ควรจะนำมาซึ่งความสิเนหา ด้วยเดชะผลานิสงส์ที่ให้ลูกทั้งสองเป็นทานฯ
- ซึ่งพระองค์ประกอบได้ด้วยพระพุทธรัศมีส่องสว่างสิ้นทั้งกลางวันและกลางคืน นั้นด้วยเดชะผลานิสงส์ที่เห็นโลหิตกุมารทั้ง ๒ หยดย้อยลงจากปากยักษ์ มิได้มีความหวาดหวั่นไหวในมหาทานเลย
แสดงมาด้วยเรื่องราบพระยาอสุรินทราหูบรมโพธิสัตว์คำรบ ๕ ก็ยุติแต่เพียงนี้ฯ




28298  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: พระพุทธเจ้าในอนาคตกาล ๑๐ พระองค์ เมื่อ: ธันวาคม 17, 2009, 12:36:39 pm
๒.พระรามเจ้า
สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเทศนาแก่พระสารีบุตรสืบต่อไปว่า ในกาลเมื่อพระพุทธศาสนา แห่งองค์สมเด็จพระศรีอาริยเมตไตรยเสื่อมสูญสิ้นแล้ว อันว่าประทีปแก้ว คือพระสัทธรรมนั้น ก็สูญสิ้น ฝูงสัตว์ทั้งหลายก็มืดมัวไม่รู้จักบาปและบุญ คุณและโทษ ประโยชน์และไม่ประโยชน์ ประการใด จนถึงไฟประลัยโลกล้างวินาศฉิบหายสิ้นทั้งแสนโกฏิจักรวาล เพลิงประลัยกัลป์เกิดขึ้นไหม้แผ่นดินภัทรกัปอันนี้ฉิบหายหมดแล้ว สิ้นกาลช้านาน จึงบังเกิดแผ่นดินใหม่ขึ้นมา มีมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายบังเกิดมีมาสำหรับแผ่นดิน ก็มีมาเสียเปล่า กัปป์แผ่นดินที่มีมาในเบื้องหน้านั้นเป็นสุญญกัปนับได้อสงไขยแผ่นดิน จะได้มีสมเด็จพระพุทธเจ้า ปัจเจกพุทธเจ้า และพระยาจักรผู้ประเสริฐบังเกิดมีมานั้นหามิได้ จึงมีนามว่าสุญญกัปป์ เกิดมีแต่มนุษย์ทั้งหลายหาบุณหาวาสนาบารมีมิได้ฯ เมื่อแผ่นดินเกิดขึ้นมา สูญเสียจากท่านผู้ทรงพระคุณแล้ว ฉิบหายไปด้วยไฟ ด้วยน้ำ ด้วยลม แล้วเกิดขึ้นใหม่อีกเล่าจนถ้วนอสงไขย แผ่นดินล่วงลับไปนับด้วยอสงไขยแผ่นดินแล้วฯ

ในกาลนั้น บังเกิดแผ่นดินขึ้นมาใหม่เรียกชื่อว่ามัณฑกัปป์ พระพุทธเจ้าจักได้บังเกิด ๒ พระองค์ คือ
- พระรามโพธิสัตว์ ๑
- พระเจ้าปเสนทิโกศล ๑
แรกปฐมกัปป์เกิดก็มีอายุยืนได้อสงไขยหนึ่ง แล้วลดน้อยถอยลงมาอยู่เพียง ๙ หมื่นปีฯ ครั้งนั้นพระรามโพธิสัตว์ จะได้ตรัสเป็นพระพุทธเจ้าก่อนพระเจ้าปเสนทิโกศล พระองค์มีพระชนม์อายุได้ ๙หมื่นปี พระสรีรกายสูงประมาณ ๘๐ ศอก ไม้จันทร์เป็นไม้พระศรีมหาโพธิ มีพระรัศมีส่องสว่างไปในอากาศอยู่เป็นนิจจกาล ปรากฏงามเปรียบด้วยรัศมีของพระจันทร์สว่างทั่วโลกธาตุ ด้วยเดชะพระพุทธานุภาพนั้น โลกทั้งปวงบังเกิดมีไม้กัลปพฤกษ์ มหาชนได้อาศัยไม้ทิพย์นั้นประพฤติเลี้ยงชีวิต เป็นบรมสุขทุกเมื่อมิได้ขาด ครั้งเมื่อพระพุทธศาสนาพระรามโพธิสัตว์สัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ฝูงสัตว์ทั้งหลายได้บังเกิดในสวรรค์เป็นอันมาก

ดูก่อนสารีบุตร พระรามโพธิสัตว์เจ้าได้บำเพ็ญกองบารมีทั้งหลายมาช้านานเป็นอันมากแล้ว แต่กองบารมีธรรมครั้งหนึ่งนั้น ปรากฏเป็นยอดปรมัตถบารมีอันประเสริฐ เพราะเหตุดังนั้นพระรามสัพพัญญูเจ้า จึงได้พระพุทธสมบัติเห็นปานดังนี้สมเด็จพระศรีสรรเพ็ชญ์จึงตรัสพระสัทธรรม เทศนาแก่พระสารีบุตรว่า ในเมื่อครั้งพระศาสนาพระพุทธกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น พระรามองค์นี้เป็นบรมโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ มีนามว่านารทมาณพ วันหนึ่งนารทมาณพได้ทัศนาการเห็นองค์พระพุทธกัสสปสัพพัญญูบรมครูเจ้าครั้ง นั้น ก็มีความโสมนัสยินดีปรีดา คิดว่าจะกระทำสักการบูชาแก่พระองค์ให้เห็นศรัทธาของอาตมา มิได้คิดแก่ชีวิตอินทรีย์ คิดแล้วจึงเอาผ้า ๒ ผืนชุบน้ำมัน พันสรีรกายตั้งแต่เศียรเกล้าตลอดปลายเท้าทั้ง ๒ แล้วก็จุดไฟขึ้นบนศีรษะเป็นประทีปกระทำสักการบูชา ถวายแก่องค์สมเด็จพระพุทธเจ้า แล้วตั้งปณิธานความปรารถนาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงพระภาคเป็นอันงาม อันว่าองค์อวัยวะน้อยใหญ่ในสรีรกายของข้าพระพุทธเจ้า คือเลือดเนื้อเป็นอาทิ กระทำเป็นทานถวายแก่พระองค์ในกาลบัดนี้ ปัจจโย โหตุ จงบังเกิดมีเป็นปัจจัย ให้อุปการคุณอุปถัมภกยกชูข้าพระพุทธเจ้าให้ได้สำเร็จแก่พระสร้อยสรรเพชุดา ญาณ ในอนาคตกาลเบื้องหน้าโน้นเถิด

ครั้งนั้นองค์สมเด็จพระพุทธกัสสปเจ้า จึงตรัสพยากรณ์ทำนายนารทมาณพนั้นในท่ามกลางบริษัททั้ง ๔ มีพระพุทธฎีกาว่า ดูก่อนมาณพผู้เจริญ ในเมื่อภัทรกัปนี้ฉิบหายไปแล้ว บังเกิดมีกัปป์ตั้งขึ้นมาใหม่ เป็นสุญญกัปอยู่สิ้นกาลช้านาน นับได้อสงไขยแผ่นดินล่วงไปแล้ว ครั้งนั้นจึงบังเกิดมัณฑกัปป์ ในกาลเบื้องหน้าคือตัวของมาณพนี้จะได้บังเกิดเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่าพระรามสัพพัญญูในมัณฑกัปป์อันนั้น พระองค์ทรงพยากรณ์ทำนายมาณพดังนี้แล้ว ครั้นเวลาราตรียังรุ่ง ก็กระทำกายของมาณพเป็นประทีปถวายต่างเครื่องสักการบูชาสมเด็จพระพุทธเจ้า เป็นอันดี ครั้นนารทมาณพดับจิต ก็ได้ไปบังเกิดในดุสิตาสวรรค์เทวโลก ในที่เผาสรีรกายกระทำสักการบูชาแห่งมาณพนั้นก็บังเกิดดอกบัวผุดขึ้นมา มหาชนเห็นเป็นอัศจรรย์จึงกล่าวสรรเสริญชมว่า จะหามนุษย์ผู้ใดเปรียบเสมอสองหามิได้ นานไปจะได้บังเกิดเป็นสมเด็จพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง
- ด้วยผลอานิสงส์ที่ท่านมิได้เอื้อเฟื้อแก่สรีรกายและชีวิตของอาตมากระทำเป็นมหาบริจาค เจตนาอันใหญ่ยิ่งกว่าบารมีทั้งหลายทั้งปวง
- ด้วยเดชะอานิสงส์ที่บูชาสรีรกายของอาตมานั้นเมื่อได้ตรัสเป็นพระพุทธเจ้า มีสรีรกายสูง ๘๐ ศอก
- สละชีวิตเป็นทาน เป็นปรมัตถบารมีอันอุดมอุกฤษฏ์นั้น จะมีพระชนมายุได้ ๙ หมื่นปีเป็นกำหนด
- เวลาราตรียังรุ่งตามประทีปแล้ว คือ สรีรกายของอาตมากระทำสักการบูชานั้น จะบังเกิดพระรัศมีรุ่งเรืองงามสว่างไปทั้งกลางวันและกลางคืนเป็นนิจจกาล อาจปกปิดเสียซึ่งแสงพระจันทร์และพระอาทิตย์ กระทำให้อัปภาคย์แพ้พระรัศมีของพระองค์ฯ
สำแดงมาด้วยเรื่องราวพระรามโพธิสัตว์คำรบ ๒ ก็ ยุติแต่เพียงนี้ฯ




๓. พระธรรมราชา (พระเจ้าปเสนทิโกศล)
ลำดับนั้น พระผู้ทรงพระภาคเจ้าจึงตรัสพระสัทธรรมเทศนาแก่พระสารีบุตรสืบต่อไปว่า ในกาลเมื่อสิ้นศาสนาของพระรามเจ้าแล้ว มนุษย์ทั้งหลายในมัณฑกัปก็มีอายุเรียวน้อยถอยลดลงไปพ้นจาก ๘ หมื่นปีลงมา กำหนดอายุของมนุษย์ทั้งหลายในกาลครั้งนั้นได้ ๕ หมื่นปีเป็นอายุขัย แล้วพระเจ้าปเสนทิโกศลราชบรมโพธิสัตว์นี้ จักได้บังเกิดเป็นพระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า พระธรรมราชา มีพระองค์สูงได้ ๑๖ ศอก พระชนมายุยืนได้ ๕ หมื่นปีเป็นกำหนด ไม้กากะทิงเป็นพระมหาโพธิ เมื่อเสด็จพระพุทธดำเนินไปนั้น จะบังเกิดดอกบัวทองทั้งสองผุดขึ้นมาจากแผ่นดินเข้ารับรองเอาพระบาท อนึ่ง จะบังเกิดดอกบัวแก้ว ๗ ประการผุดขึ้นมาจากแผ่นดินเข้ารับพระองค์ไว้ เป็นอาสนะของพระองค์เมื่อทรงนั่งและยืนและไสยาสน์นั้น ประการหนึ่งเล่าในพระพุทธศาสนาพระเจ้าปเสนทิโกศลสัพพัญญูผู้ประเสริฐนั้น บังเกิดมีไม้กัลปพฤกษ์ต้นหนึ่งให้สำเร็จประโยชน์เป็นเครื่องบริโภคแห่ง มนุษย์ทั้งหลาย มนุษย์ทั้งหลายได้อาศัยซึ่งไม้กัลปพฤกษ์นั้นแล้วก็ประพฤติเลี้ยงชีวิตอาตมา เป็นสุขสบาย มิได้กระทำการถากไร่ไถนาค้าขาย ด้วยพระพุทธานุภาพแห่งสมเด็จพระเจ้าปเสนทิโกศลสัพพัญญูนั้น

ดูก่อนสำแดงสารีบุตร พระเจ้าปเสนทิโกศลราช ได้ก่อสร้างพระบารมีทั้งหลายมาเป็นอันมากแล้ว แต่กองบารมีครั้งหนึ่งปรากฏเป็นปรมัตถบารมีอันยิ่ง จึงได้พระพุทธสมบัติเห็นปานดังนี้ พระองค์จึงนำมาซึ่งอดีตนิทานแห่งกองบารมีของพระเจ้าปเสนทะโกศลราชว่า อตีเต กาเล ในกาลเมื่อครั้งพระศาสนาพระโกนาคมน์สัมมาสัมพุทธเจ้านั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลราชได้บังเกิดเป็นมาณพผู้หนึ่ง มีนามว่าสุททมาณพ ไปรักษาสระบัวอยู่แห่งหนึ่ง แล้วเก็บเอาดอกบัวนั้นมาวันละสองดอกเอามาขายเลี้ยงชีวิตทุกวัน

มาวันหนึ่ง สุททมาณพไปเก็บดอกบัวมาสองดอก เดินมาตามมรรคาเพื่อว่าจะขายดอกบัวนั้น ในกาลนั้นเป็นเวลาเช้า สมเด็จพระโกนาคมน์สัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จพระพุทธดำเนินไปเที่ยวโคจรบิณฑบาต ทอดพระเนตรเห็นสุททมาณพ พระองค์พิจารณาเห็นในขณะนั้น ก็ทรงทราบด้วยพระญาณว่า สุททมาณพคนนี้เป็นวงศ์แห่งสมเด็จพระพุทธเจ้า ได้บำเพ็ญพระบารมีมามากอยู่แล้ว จะได้ตรัสรู้เป็นพระสัพพัญญูสัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคตกาล บัดนี้ควรพระตถาคตจะให้พยากรณ์ทำนายแก่สุททมาณพในท่ามกลางมหาชนเถิด ทรงพระจินตนาดังนี้แล้วก็เกิดโสมนัสจิตต์อันประกอบกับพระญาณ แย้มพระโอษฐ์อันงามทรงพระสรวลในดวงพระพักตร์ สุททมาณพเห็นสมเด็จพระสัพพัญญูเจ้าเบิกบานแย้มพระโอษฐ์ดังนั้น จึงกระทำนมัสการกราบทูลถามว่า ข้าแต่พระโลกนาถผู้ประเสริฐ ข้าพระบาทนี้มิใช่ญาติวงศ์พงศ์ตระกูลของพระผู้ทรงพระภาคเจ้า อนึ่งเล้าจะได้เป็นมิตรสหาย วิสาสะคุ้นเคยกันกับพระองค์มาก็หามิได้ เหตุประการดังฤา พระองค์ทอดพระเนตรแล้วจึงแย้มพระโอษฐ์ดังนี้ สมเด็จพระสัพพัญญูเจ้าจึงมีพระพุทธฎีกาตรัสว่า ดูก่อนสุททมาณพเอ๋ย ท่านหารู้ไม่หรือประการใด ตัวของท่านนี้แหละเป็นน้องของพระตถาคต ท่านร่วมบิดาร่วมมารดาเดียวกันกับพระตถาคตเป็นไรเล่า สุททมาณพได้สดับพระพุทธฎีกาดังนั้น ก็ยิ่งบังเกิดความพิศวงงงงวยไป แล้วกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระบาทนี้เป็นน้องของพระพุทธองค์ในกาลเมื่อครั้งใด

จึงทรงพยากรณ์ทำนายว่า ดูก่อน สุททมาณพ ในเมื่อภัทรกัปป์อันนี้ล่วงไปแล้วช้านาน บังเกิดมีกัปอันหนึ่งชื่อว่ามัณฑกัปป์ ในมัณฑกัปป์นั้น พระพุทธเจ้าบังเกิดสองพระองค์ คือ พระรามพระองค์หนึ่ง จักได้บังเกิดเป็นสมเด็จพระพุทธเจ้าก่อนท่าน ในเมื่อสิ้นพระศาสนาพระรามเจ้าแล้วได้พุทธันดรหนึ่ง ตัวท่าน สุททมาณพ ครั้งนั้นจะได้ตรัสรู้เป็นพระสัพพัญญูสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่าพระ ธรรมราชาผู้ประเสริฐพระองค์หนึ่ง บัดนี้พระตถาคตเป็นพระพุทธเจ้าเสียก่อนท่านแล้ว นานไปในอนาคตกาลเบื้องหน้าโน้น ตัวท่านก็จักได้เป็นพระพุทธเจ้าเหมือนดังพระตถาคตต่อภายหลัง เหตุดังนั้น พระตถาคตจึงว่า ตัวท่านเป็นน้องของพระตถาคตฯ

เมื่อสุททมาณพได้สดับพระพุทธฎีกาพยากรณ์ทำนายดังนั้น ก็เกิดความปสันนาการเลื่อมใสโสมนัสเป็นที่ยิ่ง จึงดำริว่า บัดนี้มีชีวิตอยู่ด้วยมูลค่าแห่งดอกบัว ๒ ดอกเท่านี้จะได้มีสิ่งอื่นนอกจากดอกบัวหามีไม่แล้ว ควรอาตมาจะเสียสละชีวิต ยกดอกบัวสองดอกนี้กระทำเป็นสักการบูชาถวายสมเด็จพระพุทธเจ้าเถิด สุททมาณพคิดดังนี้แล้ว ก็ก้มเศียรเกล้าลงน้อมนำดอกบัวเข้าไปถวายแก่สมเด็จพระโกนาคมน์เจ้า ด้วยเจตนาของอาตมานั้นเป็นสิ้นสุดศรัทธาแต่เท่านั้น สมเด็จพระโกนาคมน์เจ้าจึงเสด็จขึ้นทรงนั่งในเบื้องบนแห่งดอกบัวทั้งสองนั้น ส่วนว่าสุททมาณพได้เห็นพระพุทธปาฏิหาริย์ก็พิศวงว่า สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จขึ้นทรงนั่งเหนือดอกบัวนี้ ในเบื้องบนหาสิ่งจะปิดบังแสงพระอาทิตย์ไม่ จะคิดเป็นประการใดจึงจะมิให้แสงพระอาทิตย์อันร้อนมาถูกต้องพระผู้ทรงพระภาค ได้ สุททมาณพจึงเอาไม้อ้อมาสี่ลำ กระทำเป็นเสาดาดด้วยผ้าสองผืนบังแสงพระอาทิตย์ไว้ให้สมเด็จพระโกนาคมน์เจ้า ทรงนั่งอยู่ในที่นั้นประมาณสิ้นกลางวันกลางคืนยังรุ่ง แล้วกระทำปณิธานความปรารถนาว่า ข้าพระพุทธเจ้าได้ถวายดอกบัวสองดอกกับผ้าสองผืนนี้เป็นเครื่องสักการบูชาแก่ พระองค์ตามยากตามมี เดชะผลทานนี้ขอให้เป็นปัจจัยได้สำเร็จแก่พระสร้อยสรรเพชุดาญาณในอนาคตกาล โน้นเถิดฯ

ครั้งนั้น สมเด็จพระโกนาคมน์เจ้า จึงตรัสพระสัทธรรมเทศนาพยากรณ์ทำนาย เป็นใจความว่า ความปรารถนาของท่านที่คิดไว้ประการฉันใด จงสำเร็จแก่ท่านโดยเร็วด้วยประการฉันนั้น พระสุรสำเนียงพระสัพพัญญูเจ้าที่ตรัสว่า จงสำเร็จ นั้นดังสนั่นถึงภายใต้ที่อยู่แห่งพระยาภุชงค์นาคราช เบื้องบนจนกระทั่งพรหมโลก ฝูงเทพยดา อินทร์ พรหม ยม ยักษ์ ทั้งหลายได้ยินทั่วกันแล้วออกจากพิภพของอาตมามายังสำนักพระโกนาคมน์เจ้า แล้วก็ถวายนมัสการกราบทูลถามว่า พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายได้สดับพระสุรสำเนียงของพระองค์ตรัสพระธรรมเทศนาว่า สำเร็จนั้น ด้วยเหตุผลสิ่งไร บุคคลดังฤาสำเร็จพระพุทธเจ้าข้า จึงมีพระพุทธฎีกาตรัสว่าดูก่อนฝูงเทพยดาผู้เจริญ สุททมาณพผู้นี้ได้ถวายดอกบัวกับผ้าแก่พระตถาคต ยังพระตถาคตให้นั่ง ได้บังแสงแดดสิ้นเวลากลางวัน ได้บังน้ำค้างสิ้นเวลาราตรียังรุ่ง มีความปรารถนาจะให้ได้พระสัพพัญญุตญาณในอนาคตกาลเบื้องหน้า พระตถาคตทำนายว่า อิจฺฉิตํ อิจฺฉิตํ จงสำเร็จตามความปรารถนาของสุททมาณพเถิด ฝ่ายฝูงเทพยดามหาพรหมทั้งหลายก็กระทำสักการบูชา พากันโถมนาการด้วยองค์สมเด็จพระโกนาคมน์เจ้าเป็นอันมากฯ

นี่แหละ ดูก่อนสารีบุตร เมื่อพระธรรมราชาสัพพัญญูสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสนั้น
- จึงบังเกิดดอกบัวทองทั้งคู่ประมาณเท่าจักรรถ ผุดขึ้นมาแต่พื้นแผ่นดินเข้ารองรับฝ่าพระบาทไว้ในเมื่อยกย่างไปมาทุกก้าวพระ บาทนั้น ด้วยอานิสงส์ที่ได้ถวายดอกบัวแก่องค์สมเด็จพระโกนาคมน์เจ้า
- ที่บังเกิดมีไม้กัลปพฤกษ์นั้น ด้วยอานิสงส์ขันติอดใจของสุททมาณพบรมโพธิสัตว์
- เมื่อพระธรรมราชาสัพพัญญูเจ้าจะเสด็จทรงนั่งก็ดี ยืนก็ดี ไสยาสน์ก็ดี ณ ที่นั้นๆบังเกิดมีห้องแก้ว ๗ ประการควรจะชื่นชมยินดี ด้วยผลทานที่กระทำเพดานผ้าบังแดดและน้ำค้างถวายแก่พระโกนาคมน์เจ้า ในกาลเมื่อยังเป็นสุททมาณพ
- เมื่อพระองค์ได้ตรัสนั้น มีชนมายุยืนได้ ๕ หมื่นปี แล้วจึงล่วงลับดับขันธ์เข้าสู่พระปรินิพพานฯ
แสดงมาด้วยเรื่องราวแห่งพระเจ้าปเสนทิโกศลราชบรมโพธิสัตว์คำรบ ๓ ก็ยุติเพียงเท่านี้ฯ

28299  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / พระพุทธเจ้าในอนาคตกาล ๑๐ พระองค์ เมื่อ: ธันวาคม 17, 2009, 12:29:42 pm
พระพุทธเจ้าในอนาคตกาล ๑๐ พระองค์

พระอนาคตวงศ์นี้ เป็นเรื่องกล่าวถึงประวัติย่อของพระโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลาย ผู้บำเพ็ญพระบารมีในชาติหนึ่ง
ซึ่งปรากฏเป็นยอดปรมัตถบารมีอันประเสริฐ เกิดสำเร็จผล ทรงพระอภินิหาร ประกอบด้วยพระเดชามหานุภาพ
เป็นพุทธสมบัติที่จะมาอุบัติตรัสเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสิบพระองค์ในโลก ณ อนาคตกาลภายหน้า นั้นคือ

- พระศรีอาริยเมตไตรย์ พระองค์หนึ่ง
- พระราม พระองค์หนึ่ง
- พระธรรมราช พระองค์หนึ่ง
- พระธรรมสามี พระองค์หนึ่ง
- พระนารท พระองค์หนึ่ง
- พระรังสีมุนีนาถ พระองค์หนึ่ง
- พระเทวเทพ พระองค์หนึ่ง
- พระนรสีหะ พระองค์หนึ่ง
- พระติสสะ พระองค์หนึ่ง
- พระสุมงคล พระองค์หนึ่ง

ซึ่งต่อจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราไป โดยลำดับกัปป์ นับตั้งแต่ภัทรกัปป์นี้เป็นต้นไป
พระพุทธเจ้าสิบพระองค์นี้ ทรงสร้างพระบารมีสิบทัศครบบริบูรณ์แล้ว จึงทรงพระคุณ มีอภินิหารต่างๆ ยิ่งหย่อนกว่ากัน ด้วยสามารถพระบารมีนั้นๆของพระองค์ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ตรัสไว้แก่พระสารีบุตร โดยพุทธภาษิตบรรยาย จัดเป็นพุทธประวัติกาลอนาคตเรื่องหนึ่งฯ

๑.พระศรีอาริยเมตไตร (พระอชิตเถระ)

ครั้งหนึ่ง สมเด็จพระสรรเพ็ชญ์พุทธเจ้าเสด็จยับยั้งอาศัยใกล้กรุงสาวัตถีมหานคร วสนฺโต เมื่อสมเด็จพระชินวรผู้ทรงญาณสำราญพระอิริยาบถ เข้าพรรษาอยู่ในบุพพาราม อันพระวิสาขา สร้างถวายสิ้นทรัพย์ ๒๗ โกฏิฯ

ครั้งนั้น พระองค์ทรงปรารภซึ่งพระอชิตเถระ ผู้หน่อบรมพุทธางกูรอริยเมตไตรยเจ้าให้เป็นเหตุ พระโลกเชษฐ์จึงตรัสพระธรรมเทศนา สำแดงซึ่งพระโพธิสัตว์ทั้ง ๑๐ องค์ อันจะมาตรัสเป็น องค์สมเด็จพระพุทธเจ้าในอนาคตกาลฯ ครั้งนั้น พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรเถรเจ้า จึงกราบทูลอาราธนา พระองค์ก็นำมาซึ่งอดีตนิทาน แห่งสมเด็จพระพุทธเจ้าทั้ง ๑๐ พระองค์ ที่จะลงมาตรัสในอนาคตกาลเบื้องหน้าต่อไป

เป็นใจความว่า เมื่อศาสนาพระตถาคตครบ ๕๐๐๐ ปีแล้ว ฝูงสัตว์ก็มีอายุถอยลง คงอยู่ ๑๐ ปีเป็นอายุขัย ครั้งนั้นแล จะบังเกิดมหาภัยเป็นอันมาก มีสัตถันตะระกัปป์ มนุษย์ทั้งหลายจะวุ่นวายเป็นโกลาหล เกิดรบพุ่งฆ่าฟันซึ่งกันและกัน จะจับไม้และใบหญ้าก็กลับกลายเป็นหอก ดาบ แหลน หลาว อาวุธน้อยใหญ่ ไล่ทิ่มแทงกัน ถึงซึ่งความฉิบหายเป็นอันมาก ฝูงมนุษย์ทั้งหลายที่มีปัญญา ก็หนีไปซุกซ่อนตัวอยู่ในซอกห้วย หุบเขา เมื่อพ้น ๗ วันล่วงไปแล้ว มนุษย์ทั้งหลายที่เร้นซ่อนอยู่นั้น เห็นสงบสงัดเสียงคนก็ออกมาจากที่ซ่อนเร้น ครั้นเห็นซึ่งกันและกัน ก็มีความสงสารรักใคร่เป็นอันมาก เข้าสวมสอดกอดรัดร้องไห้กันไปมา บังเกิดมีความเมตตากรุณากันมากขึ้นไป ครั้นตั้งอยู่ในเมตตาพรหมวิหาร แล้วก็อุตสาหะรักษาศีล ๕ จำเริญกรรมฐานภาวนาว่า อยํ อตฺตภาโว อันว่าร่างกายของอาตมานี้ อนิจฺจํ หาจริงมิได้ ทุกฺขํ เป็นกองแห่งทุกข์ฝ่ายเดียว อนตฺตา หาสัญญา สำคัญมั่นหมายมิได้ ด้วยกายอาตมาไม่มีแก่นสารฯ
…..เมื่อมนุษย์ทั้งหลาย ปลงสัญญาเห็นในกระแสพระกรรมฐานภาวนาดังนี้เนืองๆ อายุของมนุษย์ทั้งหลายก็วัฒนาจำเริญขึ้นไป ที่มีอายุ ๑๐ ปีเป็นอายุขัยนั้น ค่อยทวีขึ้นไปถึง ๒๐ ปีเป็นอายุขัย ค่อยทวีขึ้นไปทุกชั้นทุกชั้น จนอายุได้ ร้อย พัน หมื่น แสน โกฏิ จนถึงอสงไขยหนึ่ง ครั้นนานไปเห็นว่าไม่รู้จักความตายแล้ว ก็มีความประมาท มิได้ปลงใจลงในกอง ทุกฺขํ อนิจฺจํ อนตฺตา อายุก็ถอยน้อยลงมาทุกทีจนถึง ๘ หมื่นปี ฝนก็ตกเป็นฤดูคือ ๕ วันตก ๑๐ วันตก ในชมพูทวีปทั้งปวงมีพื้นแผ่นดินราบคาบสม่ำเสมอเป็นอันดีฯ

ครั้งนั้น กรุงพาราณสีเปลี่ยนนาม ชื่อว่า เกตุมมะดี โดยยาวได้ ๑๖ โยชน์ โดยกว้างได้ ๑ โยชน์ มีไม้กัลปพฤกษ์เกิดทั้ง ๔ ประตูเมือง มีแก้ว ๗ ประการ ประกอบเป็นกำแพงแก้ว ๗ ชั้นโดยรอบพระนคร ครั้งนั้น มหานฬกาลเทวบุตร ก็จุติลงมาเกิดเป็นสมเด็จบรมจักรพรรตราธิราช ทรงพระนามว่า พระยาสังขจักร เสวยศิริราชสมบัติในเกตุมมะดีมหานคร ในท่ามกลางเมืองนั้นมีปรางค์ปราสาททองอันแล้วไปด้วยแก้ว ๗ ประการ ผุดขึ้นมาแต่มหาคงคา ลอยมายังนภาดลอากาศเวหา มาตั้งอยู่ในท่ามกลางพระนคร ปรางค์ปราสาทนี้ แต่กาลก่อนเป็นปรางค์ปราสาทแห่งสมเด็จพระเจ้ามหาปะนาท ครั้นสิ้นบุญพระเจ้ามหาปะนาทแล้ว ปรางค์ปราสาทนั้นก็จมลงไปในคงคา เมื่อสมเด็จบรมจักรจอมทวีปผู้ทรงพระนามว่า พระยาสังขจักร ได้เสวยราชสมบัติในเกตุมมะดีนั้น ปรางค์ปราสาทก็ผุดขึ้นมาแต่มหาคงคาด้วยอานุภาพแห่งบรมจักร ประดับไปด้วยหมู่พระสนมแสนสาวสุรางค์ทั้งหลายประมาณ ๘ หมื่น ๔ พัน พระองค์มีพระราชโอรสประมาณพันพระองค์ พระราชโอรสผู้ใหญ่นั้น ทรงพระนามว่า อชิตราชกุมาร เจ้าอชิตราชกุมารนั้น เป็นปรินายกแก้ว แห่งสมเด็จพระราชบิดาผู้เป็นพระยาบรมสังขจักร อันบริบูรณ์ไปด้วยแก้ว ๗ ประการ คือ
จักรแก้ว ๑
นางแก้ว ๑
แก้วมณีโชติ ๑
ช้างแก้ว ๑
ม้าแก้ว ๑
คฤหบดีแก้ว ๑
ปรินายกแก้ว ๑
อันว่าสมบัติบรมจักรนั้นย่อมมีทุกสิ่งทุกประการ เป็นที่เกษมสานต์ยิ่งนัก เหลือที่จะพรรณนาในกาลนั้นฯ

ฝ่ายว่า มหาปุโรหิตผู้ใหญ่ของสมเด็จพระเจ้าสังขจักรนั้น เป็นมหาพราหมณ์ประกอบไปด้วยอิสริยยศเป็นอันมาก หาผู้จะเปรียบเสมอมิได้ มีนามปรากฏว่า สุตพราหมณ์ นางพราหมณีผู้เป็นภรรยานั้นมีนามว่า นางพราหมณวดีฯ ในกาลนั้น สมเด็จพระบรมโพธิสัตว์ พระศรีอาริยเมตไตรยเจ้า รับอาราธนานิมนต์แห่งฝูงเทพยดาทั้งหลาย ก็จุติลงมาจากสวรรค์เทวโลก ลงมาถือเอาปฏิสนธิในครรภ์แห่งนางพราหมณวดี ภรรยาแห่งมหาปุโรหิตพราหมณ์ผู้ใหญ่ ในวันบัณณสี อุโบสถ เพ็ญเดือน ๘ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เวลาปัจจุสสมัยใกล้รุ่ง พร้อมด้วยอัศจรรย์ทั้งหลาย ๑๒ ประการ เทพยดาพากันกระทำสักการบูชาดังห่าฝนตกลงในกลางอากาศ แล้วก็มีปรางค์ปราสาททั้ง ๓ ผุดขึ้นมา เพื่อจะให้เป็นที่สำราญ แห่งพระบรมโพธิสัตว์เจ้า
ปราสาท ๑ ชื่อว่า ศิริวัฒนะ
ปราสาท ๑ ชื่อว่า สิทธัตถะ
ปราสาท ๑ ชื่อว่า จันทกะ

ปรางค์ปราสาททั้ง ๓ นี้เป็นที่จำเริญพระศิริสวัสดิมงคล ควรจะให้สำเร็จประโยชน์ทุกประการ ปรากฏงามดังดวงพระจันทร์ แล้วหอมฟุ้งไปด้วยกลิ่นอันหอมมิรู้ขาด เดียรดาษไปด้วยนางนาฏพระสนมประมาณ ๗ แสน ส่วนสมเด็จพระอัครมเหสีแห่งสมเด็จพระศรีอาริยเมตไตรย บรมโพธิสัตว์เจ้านั้น ทรงพระนามว่า พระจันทมุขี เป็นประธานแห่งนางบริวารทั้ง ๗ แสน มีพระราชโอรสองค์ ๑ ทรงพระนามว่า พราหมณ์วัฒนกุมาร เมื่อพระมหาบุรุษผู้ประเสริฐ ทรงพระสำราญแรมอยู่ในปรางค์ปราสาททั้ง ๓ ควรแก่ฤดูโดยนิยมดังนี้ฯ จนพระองค์มีพระชนม์ได้ ๘ หมื่นปี แล้วจึงเสด็จขึ้นสู่รถแก้วอันเป็นทิพย์วิมานมีศิริหาเสมอมิได้ เสด็จไปประพาสอุทยานทอดพระเนตรเห็นจตุรนิมิตทั้ง ๔ ประการนี้ เป็นเทวทูตยังธรรมสังเวชให้เกิดขึ้น ก็มีพระทัยน้อมไปในบรรพชา พิจารณาเห็นเพศสมณะนั้นเป็นอารมณ์ ในขณะนั้นอันว่าปรางค์ปราสาทแก้วซึ่งทรงพระสำราญยับยั้งอยู่นั้น ก็ลอยไปในอากาศเวหา พร้อมทั้งพระราชโอรส และหมู่นิกรอนงค์นางกัลยาทั้งหลายก็ไปกับปรางค์ปราสาทนั้น

ครั้งนั้นเปรียบประดุจดังว่า พระยาสุวรรณราชหงส์ทองอันบินไปในอากาศเวหา ฝ่ายฝูงเทพยดาทั้งหลายในหมื่นจักรวาล ก็ชวนกันถือเครื่องสักการบูชา เหาะตามกันมากระทำสักการบูชาในอากาศเวหา แน่นเนื่องกันมาเป็นอเนกอสงไขย ทั้งท้าวพระยามหากษัตริย์ทั้งหลาย ๘ หมื่น ๔ พัน พระนครก็ดี และชาวนิคมประจันตประเทศชนบททั้งหลายก็ดี ก็ชวนกันมากระทำสักการบูชาด้วยดอกไม้และของหอม มีประการต่างๆเต็มเดียรดาษกลาดเกลื่อนไปทั้งชมพูทวีป เหล่าพวกอสูรทั้งหลาย ก็เข้าแวดล้อมพิทักษ์รักษาปรางค์ปราสาทฯ ฝ่ายพระยานาคราชนั้น กระทำสักการบูชาด้วยแก้วมณี พระยาสุวรรณราชปักษีกระทำสักการบูชาด้วยแก้ว อันเป็นเครื่องประดับตน พระยาคนธรรพ์ทั้งหลายนั้น กระทำสักการบูชาด้วยเครื่องทิพย์ดุริยางค์ ฟ้อนรำ มีประการต่างๆฯ

ปางเมื่อองค์สมเด็จพระบรมโพธิสัตว์ศรีอาริยเมตไตรยเจ้าเสด็จออกบรรพชานั้น ฝูงเทพยดา อินทร์ พรหม ยม ยักษ์ และ มนุษย์ นาค ครุฑ คนธรรพ์ทั้งหลาย กระทำสักการบูชา ทั้งพระยาบรมจักรพรรตราธิราชเจ้าผู้ประเสริฐ ก็พร้อมด้วยแสนสาวสนมในทั้งปวง และโยธาหาญ หมู่จตุรงค์องค์พยุหะเสนาอเนกนับมิได้ เสด็จไปที่ใกล้แห่งสมเด็จพระบรมโพธิสัตว์

ครั้งนั้นมหาชนทั้งหลายทั้งปวง มีความปรารถนาจะทรงบรรพชาแล้วก็ลอยไปในอากาศ กับด้วยพระบรมโพธิสัตว์เจ้า ด้วยเดชานุภาพแห่งบรมจักร และอานุภาพแห่งพระศรีอาริยเมตไตรยบรมโพธิสัตว์นั้น ครั้นเสด็จถึงควงไม้พระศรีรัตนมหาโพธิ์ คือไม้กากะทิงแล้ว ปรางค์ปราสาทแก้วก็เลื่อนลอยลงจากอากาศใกล้ในที่ปริมณฑลไม้มหาโพธินั้น ฝ่ายท้าวมหาพรหมก็เชิญซึ่งพานผ้ากาสาวพัสตร์ กับเครื่องบริขารทั้ง ๘ น้อมเข้าไปถวายสมเด็จพระบรมโพธิสัตว์ แล้วพระองค์จึงชักเอาพระแสงดาบแก้วตัดพระเกศเกล้าให้ขาด แล้วก็โยนขึ้นไปในอากาศเวหา ถือเครื่องบริขารทั้ง ๘ ประการ ทรงเพศบรรพชาเสร็จแล้ว ส่วนว่าบริวารทั้งหลายทั้งปวงนั้น ก็ชวนกันบรรพชา บวชตามสมเด็จพระโพธิสัตว์เจ้าเป็นอันมาก ฝ่ายพระมหาบุรุษราช องค์พระศรีอาริยเมตไตรยเจ้านั้น กระทำความเพียรอยู่ที่ใกล้พระศรีมหาโพธิสิ้นประมาณ ๗ วัน ในเมื่อเวลาเย็นพระองค์ก็เสด็จเข้าไปสู่ควงไม้พระมหาโพธิ ขึ้นทรงนั่งเหนือรัตนอปราชิตบัลลังค์พระที่นั่งแก้ว แล้วทรงพระคำนึงระลึกถึงบุพพชาติของพระองค์ด้วย บุพเพนิวาสานุสติญาณ ทรงเห็นโดยลำดับกัน ประจักษ์แจ้งในปฐมยามฯ ครั้นล่วงเข้ามัชฌิมยามทรงเห็นซึ่ง จุติ-ปฏิสนธิ แห่งสัตว์ทั้งหลาย ด้วยทิพย์จักษุญาณฯ ครั้นล่วงไปในปัจฉิมยามที่สุดนั้น พระองค์พิจารณาซึ่งปัจจัยการ อันประกอบไปด้วยองค์ ๒ ประการ ตามกระแสพระปฏิจจสมุปบาทธรรม ด้วยสามารถอนุโลม ตรัสรู้ตลอดกัน ในลำดับนั้นก็ได้สำเร็จแก่พระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณ ทรงพระนามว่า อรหังสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นอาทิ ปรากฏเป็นพระพุทธคุณทั่วโลกธาตุ แล้วพระองค์ก็ยังมนุษย์ทั้งหลายประมาณแสนโกฏิ ให้ดื่มกินซึ่งน้ำอมฤตรสคือพระสัทธรรม
เห็นพระนิพพานอันมิได้รู้แก่ รู้ตาย เป็นธรรมาภิสมัย ให้บังเกิดแก่ฝูงเทพยดาและมนุษย์ทั้งหลาย ได้ตรัสรู้มรรคและผลหาประมาณมิได้ฯ - และองค์พระศรีอาริยเมตไตรยเจ้าผู้ทรงพระภาคมีประเภทเป็นอันงามนั้น
- พระองค์มีพระวรกายสูงได้ ๘๘ ศอก
- พระองค์ใหญ่กว้างได้ ๒๕ ศอก
- ตั้งแต่พระบาทถึงพระชานุมณฑลมีประมาณ ๒๒ ศอก
- ตั้งแต่พระชานุมณฑลขึ้นไปถึงพระนาภีประมาณ ๒๒ ศอก
- ตั้งแต่พระนาภีขึ้นไปถึงพระรากขวัญทั้ง ๒ ประมาณ ๒๒ ศอก
- ตั้งแต่พระรากขวัญขึ้นไปถึงพระเศียรเกล้า ที่สุดยอดพระอุณหิส เปลวพระพุทธรัศมีนั้น ประมาณ ๒๒ ศอก เสมอกันทั้ง ๔ส่วน
- พระรากขวัญทั้ง ๒ แต่ละอันนั้นยาวได้ ๕ ศอก
- อันว่าพระหัตถ์ทั้ง ๒ ซ้าย-ขวานั้น ยาวได้ ๔๐ ศอก ( เข้าใจว่าความยาวจากหัวไหล่ถึงปลายนิ้วมือแต่ละข้าง ยาวได้ ๔๐ ศอก…..พีรจักร )
- ในระหว่างภายในแห่งพระพาหาทั้ง ๒ ซ้าย-ขวา นั้นมีประมาณ ๒๕ ศอก
- พระอังคุลีแต่ละอันยาวได้ ๕ ศอก
- ฝ่าพระหัตถ์แต่ละข้างกว้างได้ ๕ ศอก
- พระศอโดยกลมรอบมีประมาณ ๕ ศอก โดยยาวก็ ๕ ศอก
- พระโอษฐ์เบื้องบนเบื้องล่างกว้าง ๑๐ ศอกเสมอกัน เป็นอันดี
- พระชิวหาอยู่ภายในพระโอษฐ์ยาว ๑๐ ศอก
- พระนาสิกสูงยาวลงมาได้ ๗ ศอก
- ดวงพระเนตรทั้ง ๒ โดยกว้างได้ ๗ ศอก
- แววพระเนตรทั้ง ๒ ที่ดำ กลม เป็นปริมณฑลอยู่นั้น มีประมาณ ๕ ศอก
- พระขนงแต่ละข้าง ยาวได้ ๕ ศอก
- ในระหว่างพระขนงทั้ง ๒ กว้างได้ ๔ ศอก
- พระกรรณทั้ง ๒ แต่ละข้าง ยาวได้ ๗ ศอก
- ดวงพระพักตร์นั้นเป็นปริมณฑล กลมดังดวงพระจันทร์เมื่อวันเพ็ญ มีประมาณกลมได้ ๒๕ ศอก
- พระอุณหิสที่เวียนเป็นทักขิณาวัฏรอบพระเศียร เป็นเปลวพระพุทธรัศมีขึ้นไปนั้น โดยกลมรอบได้ ๒๕ ศอกฯ
…..ลำดับนี้ จะพรรณนาไม้พระศรีรัตนมหาโพธิต่อไป อันว่า ต้นไม้กากะทิง ที่เป็นไม้ศรีมหาโพธินั้น
- มีปริมณฑลไปได้ ๑๒๐ ศอก
- มีกิ่งทั้ง ๕ โดยรอบครอบนั้นก็ได้ ๑๒๐ ศอก
- แต่ต้นขึ้นไปปลายสุดกิ่งนั้นได้ ๒๔๐ ศอก โดยสูง โดยสะกัดเป็นปริมณฑลเหมือนกัน
- มีใบสดเขียวอยู่เป็นนิจจกาล
- ทรงดอกและเกสรหอมฟุ้งขจรมิรู้ขาด เปรียบประดุจดอกปาริชาติ ในดาวดึงสาสวรรค์ก็เหมือนกันฯ

สมเด็จพระสัพพัญญูองค์พระศรีอาริยเมตไตรยเจ้า ทรงทวัตติงสามหาปุริสลักษณะประกอบไปด้วยพระฉัพพรรณรังสี พระพุทธรัศมี ๖ ประการ สว่างออกจากพระสรีรกายเป็นอันงาม ประดุจดังท่อธารสุวรรณ ธาราน้ำทองอันไหลหลั่งออกมา เต็มเปี่ยมบริบูรณ์ไปด้วยสุขทุกเมื่อ มีสติระลึกถึงพระพุทธคุณเป็นอารมณ์เนืองๆ ด้วยเดชานุภาพพระพุทธคุณนั้น มนุษย์ทั้งหลายได้บริโภคซึ่งโภชนาหารแต่เนื้อแห่งข้าวสาลี อันบังเกิดมีมาเอง ได้ประดับประดาสรีรกายและผ้านุ่งผ้าห่ม เครื่องอาภรณ์ต่างๆ แต่ต้นไม้กัลปพฤกษ์ ประพฤติเลี้ยงชีวิตเป็นบรมสุขฯ ปางเมื่อพระองค์ผู้ทรงสวัสดิภาคเป็นอันงาม ทรงพระนามว่า พระศรีอาริยเมตไตรยเจ้า ตรัสแสดงพระสัทธรรมเทศนา
พระธัมมจักกัปปวัตตนสูตรนั้น มนุษย์และเทพยดาทั้งหลายได้ซึ่งธรรมาภิสมัย มรรคและผลธรรมวิเศษ ประมาณ ๓ แสนโกฏิฯ

อันว่าองค์พระศรีอาริยเมตไตรยเจ้า ทรงสร้างพระบารมีมาสิ้นกาลช้านานถึง ๑๖ อสงไขยกำไรแสนมหากัปป์ มีศีลบารมี ทานบารมี เป็นต้น เต็มบริบูรณ์ กองพระบารมีทั้งหลายที่สำเร็จเป็นองค์พระสรรเพ็ชญ์พุทธเจ้า นั้นคือ พระบารมีจองพระองค์ครั้ง ๑ ปรากฏชัดเจนเป็นปรมัตถบารมี อันยิ่งยอดกว่าพระบารมีทั้งปวงฯ สมเด็จพระพุทธเจ้าของเราจึงนำมาซึ่งอดีตนิทาน แห่งกองพระบารมีของสมเด็จพระศรีอาริยเมตไตรยมาตรัสพระสัทธรรมเทศนาแก่พระสา รีบุตรเถรเจ้าว่า อตีเต กาเล ในกาลล่วงลับมาแล้วช้านาน มีองค์สมเด็จพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งทรงพระนามว่า พระสิริมิตร ได้ตรัสในโลก

ครั้งนั้น องค์พระศรีอาริยเมตไตรย ได้เสวยศิริราชสมบัติ ในเมืองอินทปัตต์มหานคร ทรงพระนามว่าบรมสังขจักร มีแก้ว ๗ ประการ อยู่มาในกาลวันหนึ่ง พระเจ้าสังขจักรเสด็จทรงนั่งอยู่ภายใต้เศวตฉัตร มีพระทัยปรารถนาว่า ผู้ใดมาบอกข่าวว่า พระพุทธรัตนะพระธรรมรัตนะ พระสังฆรัตนะ บังเกิดมีแล้ว พระองค์จะสละศิริราชสมบัติบรมจักร พระราชทานให้แก่บุคคลผู้นั้นแล้ว พระองค์ก็จะเสด็จพระราชดำเนินไปยังองค์สมเด็จพระพุทธเจ้า ในกาลนั้น ยังมีกุลบุตรเข็ญใจผู้หนึ่ง ไปบรรพชาเป็นสามเณรอยู่ในพระพุทธศาสนา ด้วยมารดาของสามเณรเป็นทาสทาสีอยู่ในตระกูลหนึ่ง สามเณรนั้นคิดแสวงหาทรัพย์จะไปให้แก่มารดา ให้พ้นจากทาสทาสี จึงเที่ยวไปโดยลำดับจนถึงกรุงอินทปัตต์มหานคร ฝูงมหาชนชาวพระนคร ไม่รู้จักว่าสามเณรเป็นอย่างไร ครั้นเห็นเข้าก็สงสัยว่าเป็นมหายักษ์ ก็พากันจับไม้ไล่ทุบตีสามเณรฯ สามเณรนั้นก็กลัว วิ่งหนีมหาชนเข้าไปจนถึงพระราชวัง ไปยืนอยู่ตรงพระพักตร์ของพระองค์ พระองค์จึงตรัสถามว่ามาณพนี้มีนามชื่อใด เจ้าสามเณรกราบทูลว่า อาตมภาพมีนามว่าสามเณร จึงตรัสถามว่าสามเณรนั้นด้วยเหตุดังฤา สามเณรจึงทูลว่าข้าพเจ้ามีนามว่าสามเณรนั้น ด้วยเหตุว่าข้าพเจ้ามิได้กระทำบาปในภายนอก แล้วตั้งอยู่ภายในแห่งกุศล เหตุดังนั้นจึงมีนามว่าสามเณร พระองค์ก็ทรงตรัสถามว่า นามกรของท่านนั้นบุคคลผู้ใดให้แก่ท่าน สามเณรจึงทูลว่า พระอาจารย์ของข้าพเจ้าให้แก่ข้าพเจ้า พระองค์จึงตรัสถามว่า อาจารย์ของท่านนั้นชื่อดังฤา สามเณรจึงทูลว่าอาจารย์ของอาตมามีนามว่าภิกษุ จึงทรงตรัสถามต่อไปว่าพระอาจารย์ของท่านนั้นมีนามว่าภิกษุนั้นด้วยเหตุดังฤา สามเณรจึงทูลว่าอาจารย์ของข้าพเจ้านั้น ชื่อรัตนะเป็นแก้วอันหาค่ามิได้

ครั้นทรงสดับว่าพระสังฆรัตนะในพระพุทธศาสนาหาได้เป็นอันยากยิ่งนัก พระองค์ก็มีความชื่นชมยินดีหาที่จะอุปมามิได้ คำนึงอยู่ในพระราชหฤทัยว่า จะเสด็จลงจากอาสน์ไปนมัสการเจ้าสามเณรที่ใกล้ ด้วยความปิติกายของพระองค์ก็ลอยไปตกลงตรงหน้าเจ้าสามเณร เดชะที่พระองค์มีพระราชหฤทัยเลื่อมใสในพระสังฆรัตนะ ดอกประทุมชาติก็บังเกิดผุดขึ้นรองรับพระองค์ไว้มิได้เป็นอันตราย จึงถวายนมัสการเจ้าสามเณรโดยเบญจางคประดิษฐ์ แล้วจึงตรัสถามเจ้าสามเณรต่อไปว่า พระสังฆรัตนะอาจารย์ของท่านนั้นบุคคลผู้ใดให้นามกร เจ้าสามเณรก็ทูลว่า อาจารย์ของข้าพเจ้านั้น องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงนามว่า พระสิริมิตรสัพพัญญู พระองค์โปรดประทานให้นามว่าพระสังฆรัตนะแก่อาจารย์ของข้าพเจ้า

เมื่อสมเด็จพระบรมโพธิสัตว์ผู้ทรงอุตสาหะในพระศาสนา ได้ทรงฟังสามเณรออกวาจาว่า องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว พระองค์ก็ถึงวิสัญญีภาพลงอยู่กับที่ ครั้นพระองค์ได้พระสติขึ้นมา จึงตรัสถามสามเณรอีกว่า ดูก่อนเจ้าสามเณรผู้เจริญ บัดนี้องค์สมเด็จพระพุทธเจ้าเสด็จยับยั้งอยู่ในที่ดังฤา สามเณรจึงทูลว่า สมเด็จพระมหากรุณาธิคุณเจ้าเสด็จยับยั้งอยู่ในบุพพารามวิหาร อันมีอยู่ในอุตตรทิศแต่กรุงอินทปัตต์มหานครนี้ไปไกลกันมีประมาณ ๑๖ โยชน์ ได้ทรงฟังสามเณรแจ้งความว่า สมเด็จพระพุทธเจ้าบังเกิดแล้วในโลก จึงตรัสว่าดูก่อนสามเณร ผิว่าองค์สมเด็จพระสัพพัญญูเจ้าเสด็จอยู่ในฐานทิศใด เราก็จะไปในประเทศทิศนั้นฯ

สมเด็จพระเจ้าสังขจักรบรมบพิตรผู้ประเสริฐ หาความเอื้อเฟื้อในศิริราชสมบัติบรมจักรของพระองค์มิได้ ด้วยมีพระทัยนั้นผูกพันอยู่ในการที่จะได้พบเห็นองค์สมเด็จพระพุทธเจ้าเป็น ที่ยิ่งอย่างอุกฤษฏ์ ก็กระทำการราชาภิเษกเจ้าสามเณรนั้น ให้สึกออกเสวยศิริราชสมบัติแทนพระองค์ เป็นพระยาอันประเสริฐ ครั้นกระทำการราชาภิเษกเจ้าสามเณรแล้ว ก็เสด็จออกแต่พระองค์เดียวโดยอุตตราภิมุขมีพระทัยเฉพาะต่ออุตตรทิศ ตั้งพระทัยไปสู่บุพพารามวิหาร อันเป็นที่ประทับแห่งองค์สมเด็จพระสิริมิตรสัพพัญญูสัมมาสัมพุทธเจ้า

สมเด็จบรมสังขจักรจอมทวีปเป็นสุขมาลชาติ พระสรีรกายนั้นละเอียดอ่อนเป็นอันดี เมื่อเสด็จพระราชดำเนินไปตามมรรคาหนทางแต่พระบาทเปล่า เวลาวันเดียวพระบาททั้ง ๒ ข้างก็ภินทนาการแตกออก จนพระโลหิตไหลตามฝ่าพระบาททั้ง ๒ เมื่อพระบาททั้ง ๒ ทำลาย จะเดินไปมิได้แล้ว ในกาลนั้น พระองค์ก็ลงนั่งคุกเข่าคลานไปทีละน้อยค่อยคมนาการไปตามหนทางที่เจ้าสามเณร ชี้แจงบอกมานั้น จะได้ละความเพียรเสียหามิได้ ครั้นล่วงไปถึง ๔ วัน พระหัตถ์ซ้าย-ขวา และพระชงฆ์ทั้ง ๒ ข้างนั้นก็แตกช้ำโลหิตไหลออกมา จะคลุกคลานไปก็มิได้ ให้เจ็บปวดแสนสาหัส เห็นขัดสนพระทัยนักแล้ว ถึงกระนั้นพระองค์จะได้คิดท้อถอยย้อนรอยกลับคืนมาหามิได้ อาตมาต้องไปให้ถึงสำนักองค์สมเด็จพระผู้ทรงพระภาคเจ้าให้จงได้ ครั้นพระองค์คุกคลานไปมิได้แล้วก็ลงพังพาบไถลไปแต่ทีละน้อยด้วยพระอุระของ พระองค์ ประกอบไปด้วยทุกขเวทนาเหลือที่จะอดกลั้น พระองค์ยึดหน่วงเอาพระพุทธคุณของสมเด็จพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ ด้วยพระเจตนาจะใคร่พบเห็นพระผู้เป็นอธิบดีอันใหญ่ยิ่ง แล้วก็ทรงอดกลั้นซึ่งทุกขเวทนานั้นเสีย หาเอื้อเฟื้ออาลัยในร่างกายของพระองค์ไม่ฯ

ครั้งนั้น สมเด็จพระสิริมิตรสัพพัญญูผู้ประเสริฐ พระองค์ทรงพระมหากรุณาเล็งดูสัตว์โลกทั้งหลายด้วยสัพพัญญุตาญาณ ก็รู้แจ้งเห็นด้วยกำลังความเพียรแห่งบรมสังขจักรนั้นเป็นอุกฤษฏ์ยิ่งโดย วิเศษ แล้วก็มิใช่อื่นมิใช่ไกล เป็นหน่อพุทธางกูร พุทธพงศ์อันเดียวกันกับพระตถาคต สมควรที่พระตถาคตจักเสด็จไปสู่ที่ใกล้แห่งบรมสังขจักร เมื่อพระองค์ทรงพระดำริแล้ว ก็เสด็จพระพุทธดำเนินมาด้วยพระศิริวิลาสเป็นอันงาม แล้วพระองค์กระทำอิทธิฤทธิ์นิรมิต พระบวรกายของพระองค์ให้อันตรธานสูญหายกลับกลายเป็นมาณพหนุ่มน้อย ขึ้นขับรถทวนมรรคามาเฉพาะหน้าแห้งสมเด็จบรมสังขจักรนั้น แล้วพระพุทธสัพพัญญูเจ้าจึงร้องถามไปว่า ผู้ใดมานอนอยู่กลางทางขวางหน้ารถเราจงหลีกไปเสียเราจะขับรถไปฯ ฝ่ายพระบรมโพธิสัตว์จึงตรัสตอบพระพุทธฎีกาว่า ดูก่อนนายสารถีผู้ขับรถ ท่านจะมาขับเราไปให้พ้นจากหนทางนั้นด้วยเหตุดังฤา ตัวเราผู้รู้จักคุณสมเด็จพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ยิ่งนัก ชอบแต่นายสารถีจะยั้งรถของท่านให้หลีกเราเสียจึงจะสมควร ถ้าท่านไม่หลีกก็ให้ท่านขับรถไปเหนือหลังเราเถิด ซึ่งจะให้เราหลีกนั้นเราหาหลีกไม่ แล้วจึงมีพระพุทธฎีกาว่าถ้าแหละท่านจะไปยังสำนักพระพุทธเจ้าแล้ว จงมาขึ้นรถไปกับเราเถิด เราจะพาท่านไปให้ถึงสำนักสมเด็จพระพุทธเจ้าให้สมดังความปรารถนา พระจอมขัตติยาจึงตอบว่า ถ้าท่านเอ็นดูกรุณาแก่เรา เราก็มีความยินดีสาธุอนุโมทนาด้วยท่าน
ว่าแล้วหน่อพระพิชิตมารก็อุตสาหะดำรงทรงพระกายขึ้นสู่รถแห่งสมเด็จพระผู้มี พระภาคเจ้า สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าก็หันหน้ารถไปตามมรรคา พาพระยาสังขจักรไป

ครั้นถึงกึ่งกลางมรรคาหนทางแล้ว สมเด็จพระอมรินทราธิราชกับองค์ดวงสุชาดาผู้เป็นอัครมเหสีนั้น นำเอาโภชนาหารอันเป็นทิพย์กับทั้งน้ำทิพย์ลงมา จำแลงเพศเป็นบุรุษยืนอยู่ตรงหน้ารถแล้วร้องว่า ดูก่อนนายสารถีผู้เจริญเอ๋ย ท่านอยากข้าวน้ำโภชนาหารหรือ เราจะให้ เมื่อโกสีย์อมรินทราธิราชกับนางสุชาดากล่าวดังนั้น สมเด็จพระสัพพัญญูเจ้าซึ่งแปลงเพศเป็นนายสารถีขับรถจึงว่า มาณพผู้เจริญ บุรษทุพลภาพผู้หนึ่งมาในรถด้วยเรา มีความลำบากเวทนานัก ท่านจะให้ข้าวน้ำโภชนาหารแก่เราก็ให้เถิด เราจะได้ให้แก่บุรุษทุพลภาพนั้นบริโภค ท้าวโกสีย์อมรินทร์กับนางสุชาดาก็ให้ข้าวน้ำโภชนาหารอันเป็นทิพย์แก่องค์ สมเด็จพระมหาบุรุษสัทธรรมสารถีผู้ประเสริฐ พระองค์ก็ประธานให้แก่พระบรมโพธิสัตว์บรมสังขจักรเสวยข้าวน้ำโภชนาหารอัน เป็นทิพย์ ครั้นพระองค์เสวยอิ่มหนำสำเร็จแล้ว ด้วยเดชะข้าวน้ำโภชนาหารอันเป็นทิพย์อุปัทวโทมนัสทุกขเวทนาในสรีรกาย ก็อันตรธานหาย พระองค์ก็มีสรีรกายเป็นสุขเสมอเหมือนแต่ก่อน


องค์สมเด็จพระพุทธเจ้าก็พาพระยาสังขจักรไปใกล้บุพพารามวิหาร แล้วพระองค์ก็นิสีทนาการนั่งบนพระบวรพุทธอาสน์ในพระวิหาร ส่วนสมเด็จพระบรมโพธิสัตว์ก็เสด็จลงจากรถ เข้าไปสู่บุพพารามวิหาร ทอดพระเนตรแลไปได้ทัศนาการเห็นองค์สมเด็จพระพุทธเจ้า ผู้ประกอบไปด้วยทวัตติงสมหาบุรุษลักษณะอสีตยานุพยัญชนะประดับ ทั้งพระพุทะรัศมีอันโอภาสสว่างรุ่งเรืองออกจากพระวรกายอันเสด็จทรงนั่งอยู่ ในที่นั้น
พระองค์ก็ทรงวิสัญญีภาพลงตรงพระพักตร์แห่งสมเด็จพระผู้ทรงพระภาคด้วยความ โสมนัสสาการ เกิดความปิติยินดีหาที่สุดมิได้ ส่วนสมเด็จพระสัพพัญญูเจ้าจึงมีพระพุทธฎีกาตรัสว่า ดูก่อนมหาบุรุษราชผู้เป็นอภิชาตชายอันประเสริฐ พระตถาคตเสด็จอยู่ในที่นี้แล้ว

ครั้งนั้น สมเด็จพระบรมสังขจักรก็ได้ซึ่งอัสสาสประสาท เกิดความยินดีชื่นชมก้มเศียรเกล้า คลานเข้าไปในสำนักสมเด็จพระพุทธองค์เจ้า เสด็จนั่งยังที่อันสมควรแล้วจึงยกพระกรขึ้นประนมบังคมเหนือศิโรตม์กระทำ อภิวาทนมัสการ กราบทูลว่า ภนฺเต ภควา ข้าแต่สมเด็จพระพุทธองค์เจ้า บัดนี้ข้าพระบาทถึงสำนักพระองค์เจ้าแล้ว ขอจงทรงพระกรุณาเป็นที่พึ่งแก่ข้าพระพุทธเจ้า โปรดตรัสแสดงพระธรรมเทศนาอันอุดม ให้ข้าพระบาทฟังในกาลบัดนี้ฯ

ปางนั้น สมเด็จพระชินศรีจึงตรัสพระสัทธรรมเทศนาโปรดแก่พระยาสังขจักร เมื่อพระองค์ได้ทรงสดับพระสัทธรรมเทศนาบทหนึ่งสิ้นเนื้อความลงแล้ว ก็ทูลห้ามสมเด็จพระพุทธเจ้าว่า ขอพระองค์จงหยุดพระธรรมเทศนาเสียเถิด อย่าทรงสำแดงต่อไปเลยฯ


***มี ปุจฉาว่า เหตุไฉนพระเจ้าสังขจักรจึงทูลห้ามสมเด็จพระพุทธเจ้าเสียดังนี้ เดิมทีสิมีพระทัยผูกพันในพระพุทธศาสนา ระลึกถึงซึ่งคุณพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสังฆเจ้าเป็นอันมาก ทรงสู้สละศิริราชสมบัติบรมจักรเสด็จมาด้วยความลำบากแทบถึงซึ่งชีวิต ครั้นมาประสพพบพระภควันตบพิตร พระองค์ประทานธรรมเทศนาแล้วห้ามเสียด้วยเหตุประการใดฯ
***วิสัชนาว่า สมเด็จบรมสังขจักรทรงคิดเห็นว่า ถ้าสมเด็จพระพุทธเจ้าโปรดประทานพระสัทธรรมเทศนาเป็นอันมาก แล้วพระองค์ก็เสด็จมาแต่พระองค์เดียวเปลี่ยวพระทัยนัก จะหาเครื่องไทยธรรมอันสมควรที่จะสักการบูชา ให้สมควรแก่รสพระสัทธรรมนั้นหามีไม่ บัดนี้เราได้สดับรับรสพระธรรมเทศนาแต่บทเดียว เครื่องสักการบูชาของอาตมานี้มิพอสมควรกันกับพระสัทธรรมแล้ว พระองค์ทรงคิดดังนี้ จึงทรงห้ามสมเด็จพระพุทธเจ้าเสีย


พระองค์จึงกราบทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้าเกล้ากระหม่อมฉันได้สดับฟังพระสัทธรรมของพระองค์ในกาลบัดนี้ พระองค์ทรงพระมหากรุณาตรัสพระสัทธรรมเทศนาสำแดงพระนิพพานอันเดียวเป็นที่สุด พระสัทธรรมอยู่แล้ว ข้าพระพุทธเจ้าจะตัดเศียรเกล้า อันเป็นที่สุดแห่งสรีรกายแห่งข้าพเจ้า ออกกระทำสักการบูชาพระสัทธรรมเทศนาของสมเด็จพระพุทธองค์ก่อน ตรัสดังนั้นแล้ว พระเจ้าสังขจักรผู้มีอัธยาศัยอันยิ่ง จึงทรงอธิษฐานขอให้เล็บของพระองค์คมดังพระแสงดาบ เด็ดซึ่งพระศอให้ขาดแล้ววางไว้บนฝ่าพระหัตถ์ ตั้งปณิธานความปรารถนา ออกพระโอษฐ์ตรัสด้วยวาจาว่า ภนฺเต ภควา ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงศิริเป็นที่เฉลิมโลก เชิญพระองค์เสด็จเข้าสู่เมืองแก้วอันเกษมสานต์ คือพระอมตมหานิพพานอันสำราญก่อนข้าพระบาทเถิด ข้าพระบาทจะขอตามเสด็จไปสู่พระนิพพานอันสำราญต่อภายหลัง ด้วยข้าพระพุทธเจ้าได้ถวายเศียรเกล้าบูชาพระสัทธรรมเทศนาของพระองค์ในกาลบัด นี้ ในที่สุดขาดพระวาจาปณิธานปรารถนาลง พระบรมโพธิสัตว์ก็จุติจิตต์สิ้นชีวิตไปบังเกิดในดุสิตาสวรรค์เทวโลกฯ

ดูก่อนสำแดงสารีบุตร ครั้นเมื่อพระบรมโพธิสัตว์ศรีอาริยเมตไตรยเจ้าได้ตรัสเป็นพระสัพพัญญูสัมมา สัมพุทธเจ้าแล้ว จึงมีพระองค์สูงได้ ๘๘ ศอก ด้วยผลทานที่เด็ดพระเศียรกระทำสักการบูชาพระสัทธรรม พระองค์ทรงพระรัศมีสิ้นทั้งกลางวันกลางคืนมิได้ขาดนั้น ด้วยผลอานิสงส์ที่พระองค์ทรงอุตสาหไปในมรรคาหนทาง ปรารถนาจะพบเห็นสมเด็จพระพุทธเจ้าจนพระโลหิตไหลออกจากพระบาท และพระชงฆ์ พระหัตถ์ พระอุระของพระองค์เมื่อเป็นบรมสังขจักรนั้นฯ อนึ่ง พระพุทธรัศมีของพระองค์แผ่ซ่านตลอดไปเบื้องบนจนถึงพรหมโลก เบื้องต่ำตลอดลงไปจนถึงมหาอเวจีนรก ด้วยผลอานิสงส์ที่พระองค์เด็ดพระเศียรออกกระทำสักการบูชาพระสัทธรรมโลหิตไหล ออกจากพระเศียร อนึ่ง ในพระศาสนาพระศรีอาริยเมตไตรยเจ้า บังเกิดมีไม้กัลปพฤกษ์นึกได้สำเร็จความปรารถนานั้น ด้วยผลอานิสงส์ที่พระองค์เสด็จไปตามมรรคหนทาง จะใคร่พบองค์สมเด็จพระพุทธเจ้า ถ้วนถึง ๗ วันเป็นกำหนด จึงได้ประสพพบปะฯ

ดูก่อนสำแดงสารีบุตร ผู้เป็นพระยาธรรมของพระตถาคต ฝูงคนทั้งหลายที่มิได้เห็นรูปกายของพระตถาคตนี้ แล้วได้กระทำทานรักษาศีลจำเริญเมตตาภาวนาด้วยเดชะผลานิสงส์ ฝูงคนทั้งหลายเหล่านั้นจักได้บังเกิดทันพระพุทธศาสนา องค์สมเด็จพระศรีอาริยะเมตไตรย อันจะมาบังเกิดเป็นพระสัพพัญญูสัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคตฯ สำแดงมาด้วยเรื่องพระศรีอาริยเมตไตรยบรมโพธิสัตว์ ก็ยุติแต่เท่านี้ฯ
เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้
__________________


28300  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / เจ้ามามือเปล่า เจ้าจะ เอาอะไร เจ้าก็ไป มือเปล่า เหมือนเจ้ามา เมื่อ: ธันวาคม 15, 2009, 09:24:52 pm
คุณ ทรานสเลท ไม่ทราบคุณอยู่ในอารมณ์ไหน เหงา เศร้า อกหัก ผิดหวัง
คำถามของคุณ มันกว้างมาก  แต่เมื่อส่งจิตมาคุยห้องนี้แล้ว
ต้องสนองศรัทธากันหน่อย
ลองอ่านกลอนนี้ดู (อย่าถือ ต้องเปิดใจ)

   ยศและลาภ   หาบไป   ไม่ได้แน่     มีเพียงแต่   ต้นทุน   บุญกุศล
ทรัพย์สมบัติ   ทิ้งไว้   ให้ปวงชน       แม้ร่างตน   เขาก็เอา   ไปเผาไฟ
   เมื่อเจ้ามา   มีอะไร   มาด้วยเจ้า     เจ้าจะเอา   แต่สุข   สนุกไฉน
เจ้ามามือเปล่า   เจ้าจะ  เอาอะไร       เจ้าก็ไป   มือเปล่า   เหมือนเจ้ามา


(ไม่ทราบนามผู้ประพันธ์)
ที่มา......หนังสือสวดมนต์ ฉบับประจำบ้าน เรียบเรียงโดยโสภณ เบญจพลธรรม


เรามาวางกรอบหลวมๆจะได้คุยกันง่ายขึ้น สมมุติว่ามีหลายทางให้เลือก
คุณจะไปทางไหน
๑.นิพพาน
๒.สวรรค์(อยากเป็นเทวดา หรือพรหม)
๓.มนุษย์
๔.เดรัจฉาน
๕.นรก

ลองเลือกดูนะครับ ได้คำตอบแล้ว จะถามอะไร ก็ยินดีตอบเสมอ (อย่าซีเรียสหลาย)

28301  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / พระศรีอารย์ในจิตทัศน์ของ "นอสตราดามุส" เมื่อ: ธันวาคม 15, 2009, 07:09:59 pm
ผมขอเสนอ ข้อความจาก หนังสือนอสตราดามุส  ที่น่่าสนใจ ดังนี้

พระศรีอารย์ในจิตทัศน์ของนอสตราดามุส

" เสียงนุ่มนวลแห่งมิตรไมตรีอันศักดิ์สิทธิ์ ได้ยินจากแผ่นดินทิพย์ แสงเพลิงมนุษย์ ฉายรองรับเสียงประเสริฐนั้น จะเป็นเหตุให้โลกต้องเปื้อนเลือด สมณเพศทั้งหลายที่ไม่ยึดถือศีล (พรหมจรรย์) และนำไปสู่การทำลายโบสถ์วิหารที่ไร้ความบริสุทธิ์ "
(ซ.1 ค.96 )

นับว่าเป็นเรื่องที่น่าแปลกน่าอัศจรรย์อย่างมากเลยทีเดียว ที่นอสตราดามุสได้เขียนโคลงทำนายบทนี้ขึ้นเมื่อ 450 ปีก่อน ภายใต้สังฆจักรโรมันคาทอลิก สมมุติว่าท่านได้มีโอกาสศึกษาพระธรรมคำสั่งสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งมีประวัติยาวนานถึง 2,000 ปีกว่ามาแล้วในสมัยนั้น ท่านคงจะไม่กล่าวถึงพระศรีอาริยเมตไตรยอย่างแน่นอน ถ้าในจิตทัศน์ของท่านไม่ได้เห็น สัจธรรมบางอย่างที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และมีส่วนสัมพันธ์กับศรัทธาใหม่ของโลกโดยตรง คำว่า " มิตรไมตรีอันศักดิ์สิทธิ์ " นี้จะเป็นอื่นไปไม่ได้นอกจากพระนามของพระศรีอาริยเมตไตรย เพราะคำว่า " เมตไตรย " นี้ แปลว่า " เพื่อน " ในความหมายของภาษาบาลี สันสกฤต บุคคลผู้นี้เป็น Sacred Friend จะ เป็นใครก็ตาม แต่การใช้คำว่า " มิตรไมตรีอันศักดิ์สิทธิ์ " หรือ " เพื่อนผู้ศักดิ์สิทธิ์ " แสดงให้เห็นว่าผู้ที่จะมาโปรดสัตว์ในโลกยุคนี้ จะไม่ใช่เป็นบุคคล

ธรรมดาอย่างแน่นอน อีกทั้งมาจากแผ่นดินอันศักดิ์สิทธิ์ หรือ Holy Ground อีก ด้วย ก็ยิ่งชี้ชัดว่าน่าจะเป็นองค์พระศรีอาริยเมตไตรย ซึ่งนายจอห์น ฮอค ฟันธงว่าจะเสด็จมาในโลกนี้ประมาณ ระหว่างคริสต์ศักราช 2000 ( พ.ศ.2543 ) หรือกว่านั้นเล็กน้อย ซึ่งใกล้เคียงกับวันเวลาที่พระเยซู หรือพระมาซิ อาร์ พระมะห์ดีร์ ตามความเชื่อของมุสลิม จะเสด็จมาในวันพิพากษาโลกนี้ ซึ่งหลายฝ่ายเชื่อกันอย่างเงียบๆ ว่าอาจจะเป็นพระศาสดาโพธิสัตว์องค์เดียวกันก็ได้

การ เสด็จมาของพระศรีอาริยเมตไตรย ก็คงต้องมาชำระสะสางความเสื่อมของศาสนาอยู่แล้ว ในภาวะที่มีการวิวัฒนาการ บรรดาพระสงฆ์สมณเพศผู้ยึดถือพรหมจรรย์ ก็คงไม่แตกต่างอะไรกับนักบุญทั้งหลายผู้เสียสละในอดีต วันเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงนั้นคงต้องผ่านขั้นตอนตามปรกติวิสัย ซึ่งบางครั้งอาจต้องมีความเจ็บปวดอันเกิดจากการต่อต้าน หรือขัดแย้งทางอุดมการณ์และความคิดเกิดขึ้น ซึ่งในหลายๆ กรณีที่เกิดขึ้นในอดีต การเสียสละของนักบุญอาจถึงกับต้องเลือดตกยางออก

" อังคารกับคฑาของจูปิเตอร์ (พฤหัส) เล็งลัคน์
เกิดสงครามมหาวิบัติภายใต้ราศีกรกฎ
หลังจากนั้นไม่นาน กษัตริย์ใหม่จะถูกสถาปนา
เป็นผู้นำสันติสุขมาสู่โลกมนุษย์เป็นเวลายาวนาน "
( ซ.6 ค.24 )


วรรค ที่น่าสนใจในโคลงบทนี้ ได้แก่วรรคที่มีคำว่ากษัตริย์ ที่จะนำสันติสุขมาสู่โลกมนุษย์ หลายฝ่ายตีความกันว่า นอสตราดามุสกำลังพูดถึงวันที่โลกชำระบาปแล้ว หลังจากกลียุคอันเกิดจากสงคราม ภัยพิบัติอันเกิดจากธรรมชาติ หรือโรคระบาด โลกจะปรากฎผู้นำใหม่ที่มาในมิติที่อยู่เหนือธรรมชาติ อาจจะเป็นพระศรีอาริยเมตไตรย พระมาซิอา พระมะห์ดี หรือพระยาธรรมิกราช ที่เสด็จมาโปรดสัตว์ตามพุทธทำนาย ตามคำทำนายในพระคัมภีร์ไบเบิล หรือตามพระวัจนะในพระคัมภีร์กุรอ่านก็ได้

ตาม การคำนวนทางโหราศาสตร์ โดยอาศัยหลักของดาราศาสตร์ ดาวอังคารจะเล็งลัคน์กับดาวพฤหัสหลังปี ค.ศ.1999 เป็นครั้งแรกในวันที่ 21 มิถุนายน ค.ศ.2002 (พ.ศ.2545) เพราะฉะนั้นเหตุการปาฎิหาริย์ที่จะทำให้ชาวโลกตะลึง น่าจะเกิดขึ้นในกำหนดเวลาดังนี้

ระหว่างเดือนกันยายน - ตุลาคม ค.ศ.2004 ( พ.ศ.2547 )
ระหว่างเดือนธันวาคม ค.ศ.2006 ( พ.ศ.2549 )
ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ.2009 (พ.ศ.2552 )
ระหว่างเดือนเมษายน- พฤษภาคม ค.ศ.2011 ( พ.ศ.2554 )


วัน เวลาดังกล่าวที่บันทึกไว้ข้างต้นนี้ น่าจะเป็นการคำนวนเวลาของวาระแห่งการสิ้นยุค ของสังคมมนุษย์โลกจากหลักฐานต่างๆ เท่าที่จะเสาะหามาได้

" บรรยากาศ ท้องฟ้า แผ่นดินโลกจะมืดลง และถูกบดบังจนมืดครึ้ม แม้แต่คนไม่เชื่อศาสนา ยังพร่ำเรียกหาพระผู้เป็นเจ้ากับนักบุญ.... "
( ซ.9 ค.83 )

คำ ทำนายของนอสตราดามุสข้างต้นนี้ คล้องจองกับพุทธทำนายที่บอกว่า ท้องฟ้าจะมืดเจ็ดวันเจ็ดคืน ครุฑจะบินกลับถิ่นสถาพร คนจรจะกลับกรุง ฟูกจะมีหนาม ผีป่าจะเข้าบ้าน ผีบ้านจะเข้าไพร....และในพระคัมภีร์ไบเบิลกับพระคัมภีร์อัลกุรอ่าน ทำนายว่าพระอาทิตย์จะมืดลง ดวงจันทร์จะหยุดส่องแสง ดวงดาวบนท้องฟ้าจะร่วงหล่น...ช่างเป็นภาพที่น่าสะพรึงกลัวอย่างยิ่งเลยที เดียว...
..

( คัดลอกมาจาก หนังสือนอสตราดามุส ฉบับเพิ่มเติมเกี่ยวกับศรัทธาใหม่ เขียนโดยศาสตราจารย์เจริญ วรรธนะสิน )
28302  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / BuddhaMaitreya พระศรีอารยเมตไตรย เมื่อ: ธันวาคม 15, 2009, 07:02:21 pm
คุณปกรณ์ พระแมสไซอา ไม่มีนะครับ ที่หาเจอ คือ

พระเมสสิอาห์ หรือ พระเมซซิอาห์

ที่คุณถามว่า พระศรีิอาริยเมตตรัย พระแมสไซอา พระผู้กำเนิดใหม่ เป็นนามเดียวกันทั้งหมดหรือป่าว

ผมจะตอบโดยนำเอาบทความในหนังพิมพ์คมชัดลึก บางส่วนมาให้อ่านดังนี้ครับ

BuddhaMaitreya พระศรีอารยเมตไตรย

 ขณะเดียวกัน ก็มีคนจำนวนไม่น้อย แอบอ้างว่าตนเองเป็นพระศรีอารย์ อย่างกับกรณีศาลเจ้าแห่งหนึ่งที่ อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา มีผู้หญิงคนหนึ่ง อ้างตนว่าเป็นพระศรีอารย์

 พระ ดร.มโน (เมตฺตานนฺโท ภิกฺขุ) ที่ปรึกษาเลขาธิการใหญ่องค์การสมัชชาศาสนาเพื่อสันติภาพโลก (ฝ่ายกิจการพระพุทธศาสนา) และอาจารย์พิเศษ คณะศาสนาวิชาศาสนาและปรัชญา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บอกว่า พระศรีอารย์ ชื่อที่แท้จริงในภาษาสันสกฤตคือ “ไมเตฺรยะ” (Maitreya) หรือในบาลี คือ “เมตฺเตยฺย”

 ความเชื่อในเรื่องพระไมตริยะ ในฐานะผู้นำทางจิตวิญญาณในลักษณะนี้ มิใช่มีเฉพาะในพระพุทธศาสนาเท่านั้น แต่มีปรากฏในศาสนาฮินดู เชน ยูดาย คริสต์ และอิสลาม
พระไตรปิฎก นั้น เป็นหลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดของโลก  ว่าด้วยเรื่องพระไมตริยะ ดังปรากฏในพุทธพยากรณ์หลายแห่ง เช่น ในทีฆนิกาย จักกวัตติสีหนาทสูตร

แม้ใน คัมภีร์ไบเบิล ในส่วนของพระคัมภีร์พันธสัญญาเก่า (Old Testament) ทั้งของศาสนายูดายและคริสต์ศาสนา ก็ปรากฏชื่อของ Messiah ซึ่งจะเป็นศาสดาพยากรณ์คนสุดท้ายของโลก ที่พระผู้เป็นเจ้าจะส่งลงมาโปรดโลก ก่อนวันโลกแตก

 ในคริสต์ศาสนาเชื่อว่า พระเยซูคริสต์ คือ Messiah ผู้นั้น   ส่วนในศาสนาอิสลามเชื่อว่า พระนะบี มูฮะหมัด คือ Messiah

 ปัจจุบัน มีผู้ที่ตั้งตัวว่า เป็นพระไมตริยะ หรือเกี่ยวข้องกับพระไมตริยะ ในฐานะเป็นทูตสวรรค์บ้าง เป็นศาสดาที่มาโปรดชาวโลก ให้รอท่าพระไมตริยะบ้าง บางรายตั้งสำนักใหญ่โต มีสาขานับร้อย และลูกศิษย์นับหมื่น

 ในยุโรปและอเมริกาในขณะนี้ บางรายถึงกับประกาศตัวเป็นพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าองค์ที่ 5หรือถึงขนาดว่า เก่งกว่าพระพุทธเจ้าเลยก็มี

 นอกจากนี้แล้ว ยังมีสำนักพระไมตริยะระดับสากล เป็นศาสนาไฮเทค ซึ่งมีความพยายามที่จะรวบรวมความเชื่อของศาสนาต่างๆ เข้ามาด้วยกัน เพื่อหล่อหลอมเป็นศาสนาเดียวภายใต้พระไมตริยะ โดยจะอยู่ในฐานะของพระพุทธเจ้าองค์ที่ ๕ ของกัลป์ แต่กลายเป็นองค์อวตาร คือ เป็นพระผู้เป็นเจ้าตัวจริงอวตารลงมาเกิดเป็นมนุษย์ เหมือนพระวิษณุ หรือพระนารายณ์ เพื่อลงมาปราบยุคเข็ญ ปิดกลียุค ก่อนวันสิ้นโลก เป็นทั้งพระเยซูคริสต์ด้วย และเป็นทั้งพระ Messiah ด้วย ในตัวคนเดียว

 "สิ่งที่น่าสนใจอย่างหนึ่งทางอักษรศาสตร์ คือ หากนำคำว่า Maitreya ในภาษาสันสกฤตปริวัฏอักษรเป็นภาษาฮีบรู  จะได้คำว่า Messiah ตรงตัว เรื่องนี้คงไม่ใช่เหตุบังเอิญที่จะมีคำพ้องทั้งเสียงและความหมาย ในศาสนาที่มีต้นกำเนิดห่างกันหลายพันไมล์ และสิ่งที่เหมือนกันอย่างหนึ่งคือ ระหว่างชาวยิวและชาวพุทธ คือศาสนิกชนของทั้งสองศาสนานั้น กำลังรอคอยการอุบัติขึ้นของ Maitreya หรือ Messiah ด้วยกันทั้งคู่ ศาสนาพระศรีอารย์ จึงมิได้มีอยู่เฉพาะในพระพุทธศาสนาเท่านั้น และไม่ใช่เพิ่งเกิดขึ้น แต่มีมานานกว่าสองพันปีแล้ว และเป็นรากฐานของความเชื่อ ในศาสนาที่เกิดขึ้นในอินเดียทั้ง ๓ ศาสนาใหญ่ คือ ฮินดู พุทธ และเชน" ดร.มโน กล่าว

 อ.ราม วัชรประดิษฐ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร บอกว่า  คติความเชื่อในการสร้างพระศรีอารยเมตไตรย(พระพุทธเจ้าองค์ที่ 5) เริ่มเป็นที่แพร่หลายหลังกึ่งพุทธศตวรรษ หรือ พ.ศ. ๒๕๐๐ ซึ่งก่อนหน้านี้มีการสร้างพระศรีอารยเมตไตรยอันเป็นที่เลื่องชื่อ อยู่ ๒ องค์ คือ องค์แรก"พระศรีอาริยเมตไตรย"ประดิฐษฐาน ที่วัดไลย์ ต.เขาสมอคอน อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี ที่มีผู้คนทั้งใกล้และไกลให้ความเคารพบูชา กราบไหว้มาแต่ครั้งโบราณกาล ทุกๆ ปีจะมีประชาชนมาร่วมชุมนุมกันอย่างเนืองแน่น วัดจึงจัดสร้างเหรียญและรูปหล่อ แผ่นทองแดงปั๊มพระสี่เหลี่ยมเนื้อชิน ฯลฯ เพื่อสำหรับไว้แจกเป็นที่ระลึก และเป็นอนุสรณ์ในการที่ได้มาร่วมทำบุญกับวัดบ้าง


 ส่วนพระศรีอารยเมตไตรย อีกองค์หนึ่งที่ขึ้นชื่อว่าเป็น(พระพุทธเจ้าองค์ที่ ๕) ที่ใหญ่และเก่าแก่มากที่สุด ประดิษฐานอยู่ที่วัดปราโมทย์ ม.๒ บ้านบางสะแก ต.บ้านปราโมทย์ อ.บางคนที จ.สมุทรสงคราม จากปูนปั้นขนาดหน้าตักกว้าง ๙ ศอก สูง ๘ โดยชาวบ้านจะเรียกว่า หลวงพ่อโต น่าจะมีอายุประมาณ ๑๖๐ ปี ซึ่งชาวบ้านนับถือมากว่าศักดิ์สิทธิ์ และจะแก้บนด้วยประทัดและดอกไม้รูปเทียน พวงมาลัย ทุกปีจะมีงานประจำปีในเดือนตุลาคม ทำบุญออกพรรษา มีตักบาตรรอบโบสถ์ ประกวดแต่งกายชุดไทย แข่งเรือ ชกมวยและมีงิ้วแสดงถวาย

 “ในคัมภีร์ไตรภูมิโลกวินิจฉยกถา หรือไตรภูมิฉบับหลวง กล่าวว่า ในยุคของศาสนาพระศรีอารยเมตไตรยนั้น ผู้คนจะมีแต่ความสุข ปราศจากกลียุคทุกข์ยาก ไม่มีผู้ร้ายฆ่าฟันกันเหมือนเช่นทุกวันนี้ ความสงบสุขจะแผ่ไปทั่ว คนในศาสนาพระศรีอารย์นั้น ไม่ต้องพึ่งพาโรงพยาบาล ไม่ต้องกังวลว่า จะไม่มีค่ารักษาพยาบาล เพราะคนทั้งปวงจะปราศจากโรคาพยาธิ ดินฟ้าอากาศก็ได้รับการควบคุมให้อยู่ในระดับที่สบาย คนยุคปัจจุบัน เมื่อเห็นว่าในศาสนาพระศรีอารย์มีแต่ความสุข ก็พากันปรารถนาที่จะไปเกิดใหม่ในศาสนานั้น โดยนิยมสร้างพระศรีอารย์ เพราะมีคติความเชื่อกันว่า เมื่อตายไปแล้วจะได้ไปเกิดในยุคศาสนาของพระศรีอารย์” อ.รามกล่าว
เรื่อง - ภาพ... "ไตรเทพ ไกรงู"
ที่มา...คมชัดลึก

http://www.tumsrivichai.com/
28303  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / อีกประมาณ ล้านปีเศษ ๆ พระศรีอาริย์ จะมาตรัสรู้ในดินแดนพม่า เมื่อ: ธันวาคม 14, 2009, 08:27:53 pm
โภชนาหารอันเป็นทิพย์กับทั้งน้ำทิพย์ลงมา จำแลงเพศเป็นบุรุษ ยืนอยู่ตรงหน้ารถแล้วร้องว่า
ดูก่อน...นายสารถีผู้เจริญ! ท่านต้องการข้าวน้ำโภชนาหาร หรือ...เราจะให้ เมื่อท้าวโกสีย์สักกเทวราชกับนางสุชาดากล่าว ดังนั้น องค์สมเด็จพระภควันต์บรมศาสดาซึ่งแปลงเพศเป็นนาย สารถีขับรถจึงกล่าวว่า มานพผู้เจริญ.! บุรุษทุพพลภาพผู้หนึ่งมา ในรถด้วยกับเรา มีความลำบากเวทนานัก ท่านจะให้ข้าวน้ำโภชนา หารแก่เราก็ให้เถิด เราจะได้ให้แก่บุรุษผู้นี้บริโภค องค์อัมรินทร์ปิ่นธานีกับนางสุชาดาก็ให้ข้าวน้ำโภชนาหารอันเป็นทิพย์ แด่องค์สมเด็จพระธรรมสามิสตร์ แล้วพระองค์ก็ทรงประทานให้แก่พระบรมโพธิสัตว์สังขจักรเสวยข้าวน้ำอันเป็นทิพย์นั้น
ครั้นพระองค์เสวยอิ่มหนำสำเร็จแล้ว ด้วยอานุภาพแห่งข้าวน้ำอันเป็นทิพย์นั้น ทำให้ทุกขเวทนาในพระสรีรกายอันตรธานหาย มีพระวรกายเป็นสุขสมบูรณ์เสมอเหมือนแต่ก่อน องค์สมเด็จ พระชินวรเจ้าจึงพาพระยาสังขจักรไปใกล้ "บุพพารามวิหาร" แล้ว พระองค์ก็ประทับนั่งบนพระพุทธอาสน์ในพระวิหาร ส่วนหน่อ เนื้อพระบรมพงศ์โพธิสัตว์ก็เสด็จลงจากรถ เข้าไปสู่บุพพาราม ทอดพระเนตรไปเห็นองค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมา สัมพุทธเจ้า ผู้ประกอบไปด้วยลักษณะมหาบุรุษ ๓๒ ประการ และอนุพยัญชนะอีก ๘๐ ทั้งประดับด้วยพระพุทธรัศมีอันโอภาส สว่างรุ่งเรืองออกจากพระวรกาย อันเสด็จประทับนั่งอยู่ในที่นั้น พระองค์ก็ทรงสลบลงตรงพระพักตร์แห่งองค์สมเด็จพระผู้มีพระ ภาคเจ้าด้วยความโสมนัส เกิดความปีติยินดีหาที่สุดมิได้
ส่วนสมเด็จพระบรมศาสดาจึงมีพระพุทธฎีกาตรัสว่า ดูก่อน มหาบุรุษราชผู้ประเสริฐ พระตถาคตเสด็จอยู่ในที่นี้แล้ว ครั้งนั้น สมเด็จพระบรมสังขจักรก็ได้พระสติฟื้นขึ้นมา เกิดความเลื่อมใสศรัทธาน้อมเศียรเกล้าคลานเข้าไป แล้วเสด็จนั่งยังที่อันสมควร จึงยกพระกรขึ้นประนมถวายบังคมเหนือเศียรเกล้า กระทำการ อภิวาทนมัสการกราบทูลว่า
"ภันเต ภควา...ข้าแต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ พระพุทธเจ้าข้า บัดนี้ ข้าพระบาทได้ถึงสำนักของพระองค์แล้ว ขอจงทรงพระกรุณาเป็นที่พึ่งแก่ข้าพระพุทธเจ้า โปรดตรัสแสดง พระสัทธรรมเทศนาให้ข้าพระบาทฟังเถิด...พระพุทธเจ้าข้า"
สมเด็จพระศาสดาจารย์จึงมีพระพุทธบรรหารว่า "ดูก่อน.. มหาบพิตรผู้ประเสริฐ.! จงตั้งโสตประสาทสดับรสพระพุทธพจน์ เทศนาของพระตถาคต แล้วพิจารณาธรรมกถาอันกล่าวในคุณ พระนิพพานนี้เถิด"
ปางนั้นองค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์จึงตรัสพระสัทธรรมเทศนาโปรดแก่พระยาสังขจักร เมื่อพระองค์ได้ทรงสดับพระสัท ธรรมเทศนาบทหนึ่งสิ้นเนื้อความลงแล้ว ก็กราบทูลห้ามสมเด็จ พระประทีปแก้วว่า ขอพระองค์จงหยุดการแสดงธรรมเสียเถิด
มีคำถามว่า... เหตุไฉนพระเจ้าสังขจักรจึงทูลห้ามเช่นนี้ เพราะเดิมทีมีพระทัยผูกพันในพระพุทธศาสดา ระลึกถึงซึ่งคุณ พระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสังฆเจ้า เป็นอันมาก สู้ทรงสละ ราชสมบัติบรมจักร เสด็จมาด้วยความลำบากแทบถึงซึ่งชีวิต ครั้นมาประสบพบองค์พระสัพพัญญูเจ้า พระองค์ประทานธรรมเทศ นาแล้ว กลับห้ามเสียด้วยเหตุประการใด..?
มีคำตอบว่า... สมเด็จพระบรมสังขจักรทรงพระดำริว่า ถ้า สมเด็จพระบรมศาสดาโปรดประทานพระสัทธรรมเทศนาเป็นอัน มาก แล้วพระองค์ก็เสด็จมาแต่เพียงลำพังพระองค์เดียวเปลี่ยว พระทัยนัก จะหาเครื่องไทยธรรมอันสมควรที่จะสักการบูชาให้ สมควรแก่รสพระสัทธรรมนั้นหามีไม่ บัดนี้ เราได้สดับรับรสแห่ง อมตธรรมแต่บทเดียว เครื่องสักการบูชาของเรานี้ มิพอสมควร กันกับพระสัทธรรม พระองค์ทรงดำริดังนี้แล้ว จึงกราบทูลห้าม องค์สมเด็จพระประทีปแก้วเสีย แล้วพระองค์จึงกราบทูลว่า
"ข้าพระพุทธเจ้าได้สดับพระสัทธรรมของพระองค์ในกาล ครั้งนี้ พระองค์ทรงพระมหากรุณาตรัสพระธรรมเทศนาแสดง พระนิพพานอันเดียวเป็นที่สุดพระสัทธรรมอยู่แล้ว ข้าพระพุทธ เจ้าจะตัดเศียรเกล้าอันเป็นที่สุดสรีระกายแห่งข้าพระพุทธเจ้า ออกกระทำการสักการบูชาพระสัทธรรมเทศนาของสมเด็จพระ ผู้มีพระภาคเจ้าก่อน"
________________________________________

ตัดพระเศียรบูชาพระธรรม

ครั้นตรัสดังนั้นแล้ว พระเจ้าสังขจักรผู้มีอัธยาศัยในพระ โพธิญาณ จึงทรงอธิษฐานขอให้เล็บของพระองค์คมดังพระแสง ดาบ เด็ดซึ่งพระศอให้ขาด แล้ววางไว้บนฝ่าพระหัตถ์ พร้อมตั้ง มโนปณิธานความปรารถนา ออกพระโอษฐ์ตรัสด้วยวาจาว่า
"ภันเต ภควา... ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงศิริ ขอเชิญพระองค์ เสด็จเข้าสู่เมืองแก้วอันเกษมสานต์ คือพระอมตมหานิพพาน อันสำราญก่อนข้าพระบาทเถิด ข้าพระบาทจะขอตามเสด็จไปสู่ พระนิพพาน อันสำราญต่อภายหลัง ด้วยข้าพระพุทธเจ้าได้ถวายเศียรเกล้าบูชาพระสัทธรรมเทศนาของพระองค์ในกาลบัดนี้ ด้วยมิได้หวังสมบัติใดในโลกนี้ มีความปรารถนาเพียงอย่างเดียว คือการบรรลุพระโพธิญาณ เป็นพระศาสดาจารย์พระองค์หนึ่ง ในอนาคตกาลนั้นเทอญ..."
ในที่สุดแห่งพระวาจาที่ได้ตั้งความปรารถนาขาดลง พระบรมโพธิสัตว์ก็สิ้นพระทัยไปบังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต
ดูก่อน...สารีบุตร! ครั้นเมื่อพระศรีอาริยเมตไตรยโพธิสัตว์ ได้บรรลุอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นองค์สมเด็จพิชิตมารบรม ศาสดาจารย์แล้ว จึงมีพระองค์สูงได้ ๘๘ ศอก ด้วยผลทานที่เด็ด พระเศียรกระทำสักการบูชาแห่งพระสัทธรรมเทศนา พระองค์ ทรงพระรัศมีสิ้นทั้งกลางวันกลางคืนมิได้ขาดนั้น ด้วยอานิสงส์ที่ พระองค์ทรงอุตสาหะไปในหนทาง ปรารถนาจะพบเห็นสมเด็จ พระผู้มีพระภาคเจ้า จนพระโลหิตไหลออกจากพระบาท พระชงค์ พระหัตถ์ และพระอุระ ของพระองค์ ในคราวเสวยพระชาติเป็น พระเจ้าสังขจักรนั้น
อนึ่ง พระพุทธรัศมีของพระองค์แผ่ซ่านตลอดไปเบื้องบน จนถึงพรหมโลก เบื้องต่ำตลอดลงไปจนถึงอเวจีมหานรก ด้วยผลอานิสงส์ที่พระองค์เด็ดพระเศียร ออกกระทำสักการบูชาพระสัทธรรม โลหิตไหลออกจากพระเศียร
อีกประการหนึ่ง ในพระศาสนาแห่งพระศรีอาริยเมตไตรย บังเกิดมีต้นไม้กัลปพฤกษ์ นึกได้สำเร็จสมความปรารถนา นั้น ด้วยผลานิสงส์ที่พระองค์เสด็จไปตามถนนหนทาง ใคร่จะพบองค์ สมเด็จพระสัพพัญญูเจ้า มีกำหนดถึง ๗ วัน จึงได้ประสพพบ พระพุทธองค์สมพระราชหฤทัย
ดูก่อน...สารีบุตร! ผู้เป็นธรรมเสนาบดีของตถาคต ฝูงชน ทั้งหลายที่มิได้เห็นรูปกายของพระตถาคตนี้ แม้ได้พบเห็นแต่พระพุทธศาสนาของพระตถาคต แล้วได้กระทำ ทาน รักษาศีล เจริญ เมตตาภาวนา ด้วยเดชะผลานิสงส์นี้ บรรดาปวงชนทั้งหลายเหล่านั้น จักได้บังเกิดทันพระพุทธศาสนาแห่งองค์สมเด็จพระศรีอาริยเมตไตรย อันจะมาอุบัติบังเกิดเป็นพระสัพพัญญูสัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคต แสดงมาด้วยเรื่อง "พระศรีอาริยเมตไตรยบรมโพธิสัตว์" ก็ยุติไว้แต่เพียงเท่านี้ เอวัง..ก็มีด้วยประการฉะนี้ ฯ

หมายเหตุ : หลวงพ่อบอกว่าอีกประมาณ ล้านปีเศษ ๆ พระศรีอาริย์ จึงจะมาตรัสรู้ทางอาณาเขตของประเทศพม่า ฯ

คงพอหายสงสัยได้บ้างนะครับ คุณปกรณ์

สำหรับเรื่อง พระแมสไซอา กรุณาติดตามภาค ๒

ที่มา เว็บตามรอยพระพุทธบาท
www.tamroiphrabuddhabat.com
28304  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / อีกประมาณ ล้านปีเศษ ๆ พระศรีอาริย์ จะมาตรัสรู้ในดินแดนพม่า เมื่อ: ธันวาคม 14, 2009, 08:20:48 pm
เมื่อองค์สมเด็จพระบรมโพธิสัตว์ศรีอาริยเมตไตรยเจ้า เสด็จออกบรรพชานั้น ฝูงเทพยดา อินทร์พรหม ยมยักษ์ และ มนุษย์ นาค ครุฑ คนธรรพ์ทั้งหลาย กระทำสักการบูชา ฝ่าย พระเจ้าสังขจักรพร้อมด้วยข้าราชบริพารทั้งหลาย ก็ได้เสด็จไป ที่ใกล้แห่งสมเด็จพระบรมโพธิสัตว์ ครั้งนั้นมหาชนทั้งหลายทั้ง ปวง มีความปรารถนาจะบรรพชา แล้วก็พากันลอยไปในอากาศ พร้อมด้วยพระบรมโพธิสัตว์เจ้า ด้วยเดชานุภาพแห่งบรมจักร และอานุภาพแห่งพระศรีอาริยเมตไตรยบรมโพธิสัตว์นั้น
ครั้นเสด็จถึงควงไม้พระศรีรัตนมหาโพธิ คือ ไม้กากะทิง แล้วปราสาทแก้วก็เลื่อนลอยลงจากอากาศใกล้ในที่ปริมณฑล ไม้มหาโพธินั้น ฝ่ายท้าวมหาพรหมก็เชิญซึ่งพานผ้ากาสาวพัตร์ กับเครื่องบริขารทั้ง ๘ น้อมเข้าไปถวายสมเด็จพระบรมโพธิสัตว์ แล้วพระองค์จึงชักเอาพระแสงดาบแก้วตัดพระเกศาให้ขาดแล้ว ก็โยนขึ้นไปในอากาศ ก็ถือเครื่องบริขารทั้ง ๘ ประการ ทรงเพศบรรพชาเสร็จแล้ว ส่วนว่าบริวารทั้งหลายนั้น ก็ชวนกันบวชตาม สมเด็จพระโพธิสัตว์เจ้าเป็นอันมาก
ฝ่ายพระมหาบุรุษราชองค์พระศรีอาริยเมตไตรยเจ้านั้น กระทำความเพียรอยู่ที่ใกล้พระมหาโพธิสิ้นประมาณ ๗ วัน ใน เมื่อเวลาเย็นพระองค์ก็เสด็จเข้าไปสู่ควงไม้พระมหาโพธิขึ้นทรงนั่งเหนือรัตนบัลลังก์ คือพระที่นั่งแก้ว แล้วทรงระลึกชาติของพระองค์ด้วย ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ได้ทรงเห็นโดยลำดับกัน ประจักษ์แจ้งในปฐมยาม
ครั้งล่วงเข้ามัชฌิมยามทรงเห็นซึ่งการเกิดและตายแห่งสัตว์ทั้งหลายด้วย ทิพจักขุญาณ ครั้นล่วงไปในปัจฉิมยามที่สุดนั้น พระองค์ได้ทรงตรัสรู้อริยสัจจธรรม ที่เรียกว่า อาสวักขยญาณ คือบรรลุอภิเษกสัมโพธิญาณ เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ปรากฏเป็นพระพุทธคุณทั่วโลกธาตุ แล้วพระองค์ก็ยังมนุษย์ ทั้งหลายประมาณแสนโกฏิ ให้ดื่มกินซึ่งน้ำอมฤตรส คือพระ สัทธรรม เห็นพระนิพพานอันมิได้รู้แก่รู้ตาย เป็นธรรมาภิสมัย ให้บังเกิดแก่ฝูงเทพยดาและมนุษย์ทั้งหลาย ได้ตรัสรู้มรรคและ ผลหาประมาณมิได้
________________________________________

พระพุทธลักษณะ

สมเด็จพระศรีอาริยเมตไตรยมีพระรูปพระโฉมงดงาม ตามพระพุทธลักษณะครบถ้วนทุกประการ คือพระองค์มีพระ วรกายสูงได้ ๘๘ ศอก พระองค์ใหญ่กว้างได้ ๒๕ ศอก ตั้งแต่ ฝ่าพระบาทถึงพระชานุ (เข่า) มีประมาณ ๒๒ ศอก ตั้งแต่พระ ชานุขึ้นไปถึงพระนาภี (ท้อง) ประมาณ ๒๒ ศอก ตั้งแต่พระ นาภีขึ้นไปถึงพระรากขวัญ (ไหปลาร้า) ทั้ง ๒ ประมาณ ๒๒ ศอก ตั้งแต่พระรากขวัญขึ้นไปถึงพระเศียรเกล้าที่สุดยอดพระ อุณหิตเปลวพระพุทธรัศมีนั้น ประมาณ ๒๒ ศอก เสมอกันทั้ง ๔ ส่วน พระรากขวัญทั้ง ๒ แต่ละอันนั้นยาวได้ ๕ ศอก อันว่าพระหัตถ์ทั้ง ๒ ซ้ายขวานั้น ยาวได้ ๔๐ ศอก ใน ระหว่างภายในแห่งพระพาหา (แขน) ทั้ง ๒ ซ้ายขวานั้นมีประมาณ ๒๕ ศอก พระอังคุลี (นิ้ว) แต่ละอันยาวได้ ๕ ศอก ฝ่าพระหัตถ์ แต่ละข้างกว้างได้ ๕ ศอก พระศอ (คอ) โดยกลมรอบมีประมาณ ๕ ศอก โดยยาวก็ ๕ ศอก
พระโอษฐ์ (ปาก) เบื้องบนเบื้องล่างกว้าง ๑๐ ศอก เสมอ กันเป็นอันดี พระชิวหา (ลิ้น) อยู่ภายในพระโอษฐ์ยาว ๑๐ ศอก พระนาสิก (จมูก) สูงยาวลงมาได้ ๗ ศอก ดวงพระเนตรทั้ง ๒ โดยกว้างได้ ๗ ศอก แววพระเนตรทั้ง ๒ ข้าง ที่ดำกลมเป็น ปริมณฑลอยู่นั้นมีประมาณ ๕ ศอก พระขนง (คิ้ว) แต่ละข้าง ยาวได้ ๕ ศอก ในระหว่างพระขนงทั้ง ๒ กว้างได้ ๔ ศอก พระ กรรณ (หู) ทั้ง ๒ แต่ละข้างยาวได้ ๗ ศอก ดวงพระพักตร์นั้น เป็นปริมณฑลกลมดังดวงพระจันทร์เมื่อวันเพ็ญมีประมาณ กลมได้ ๒๕ ศอก
________________________________________

ต้นไม้ที่จะตรัสรู้

ลำดับนี้...จะพรรณนาไม้พระศรีรัตนมหาโพธิต่อไป อันว่า ต้นไม้กากะทิง ที่เป็นไม้ศรีมหาโพธินั้น มีปริมณฑลไปได้ ๑๒๐ ศอก มีกิ่งทั้ง ๕ โดยรอบนั้นก็ได้ ๑๒๐ ศอก แต่ต้นขึ้นไปสุด ปลายกิ่งนั้นได้ ๒๔๐ ศอก โดยสูงสะกัดเป็นปริมณฑลเหมือนกัน มีใบสดเขียวอยู่เป็นนิจกาล ทรงดอกและเกสรหอมฟุ้งขจร มิรู้ขาด เปรียบประดุจดอกปาริชาติในดาวดึงส์สวรรค์ฉะนั้น
สมเด็จพระศรีอาริยเมตไตรยทรงมีลักษณะมหาบุรุษครบ ถ้วนทั้ง ๓๒ ประการ ประกอบไปด้วยพระฉัพพรรณรังสี พระ พุทธรัศมี ๖ ประการ สว่างออกจากพระวรกายเป็นอันงาม ประดุจดังว่าท่อสุวรรณธาราน้ำทองอันไหลหลั่งออกมา เต็มเปี่ยมบริบูรณ์ไปด้วยสุขทุกเมื่อ มีสติระลึกถึงพระพุทธคุณเป็นอารมณ์เนือง ๆ
ด้วยเดชานุภาพแห่งพระพุทธคุณนั้น มนุษย์ทั้งหลายก็ได้ บริโภคซึ่งโภชนาหารแต่เนื้อแห่งข้าวสารสาลี อันบังเกิดมีมาเอง ได้ประดับประดาร่างกายและผ้านุ่งผ้าห่ม เครื่องอาภรณ์ต่าง ๆ แต่ต้นไม้กัลปพฤกษ์ ประพฤติเลี้ยงชีวิตเป็นบรมสุข
ปางเมื่อพระพุทธองค์ผู้ทรงสวัสดิโสภาคเป็นอันงาม ทรง พระนามว่า "พระศรีอาริยเมตไตรยเจ้า" ตรัสแสดงพระสัทธรรมเทศนา "พระธรรมจักกัปปวัตนสูตร" นั้น มนุษย์และเทพยดา ทั้งหลายได้ซึ่งบรรลุมรรคผลธรรมวิเศษ ประมาณ ๓ แสนโกฏิ
อันว่าองค์พระศรีอาริยเมตไตรยทรงสร้างพระบารมีมาสิ้น กาลช้านานถึง ๑๖ อสงไขยกำไรแสนกัป มีศีลบารมี ทานบารมี เป็นต้น เต็มบริบูรณ์
________________________________________

พระเจ้าสังขจักร

การบำเพ็ญบารมีของพระองค์ครั้งหนึ่งปรากฏชัดเจนเป็น ปรมัตถบารมี อันยิ่งยอดกว่าพระบารมีทั้งปวง ฉะนั้น สมเด็จองค์ปัจจุบันจึงนำมาซึ่งอดีตนิทาน แห่งการสร้างพระบารมีของพระศรีอาริยเมตไตรยมาตรัสแสดงแก่พระสารีบุตร มีใจความว่า
อตีเต กาเล.. ในกาลล่วงมาช้านาน ได้มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลกพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า พระสิริมิตร ครั้งนั้น พระศรีอาริยเมตไตรยได้เสวยศิริราชสมบัติใน เมืองอินทปัตรมหานคร ทรงพระนามว่า บรมสังขจักร มีแก้ว ๗ ประการ อยู่มาในกาลวันหนึ่ง พระเจ้าสังขจักรเสด็จนั่งอยู่ภาย ใต้เศวตฉัตร มีพระทัยปรารถนาว่า ผู้ใดมาบอกข่าวว่า พระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตนะ พระสังฆรัตนะ บังเกิดมีแล้ว พระองค์จะสละราชสมบัติบรมจักร พระราชทานให้แก่บุคคลผู้นั้นแล้ว พระองค์ก็จะเสด็จพระราชดำเนินไปยังองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า
ในกาลนั้น ยังมีกุลบุตรเข็ญใจผู้หนึ่ง ไปบรรพชาเป็นสามเณรอยู่ในพระพุทธศาสนา ด้วยมารดาของสามเณรเป็นทาสีอยู่ในตระกูลหนึ่ง สามเณรนั้นคิดแสวงหาทรัพย์จะไปให้แก่มารดา เพื่อให้พ้นจากการเป็นทาสรับใช้ จึงเที่ยวไปโดยลำดับจนถึงกรุงอินทปัตร ฝูงมหาชนชาวพระนครไม่รู้จักว่าสามเณรเป็นอย่างไร ครั้นเห็นเข้าก็สงสัยว่าเป็นมหายักษ์ ต่างก็พากันจับไม้ไล่ทุบตีสามเณร ฝ่ายสามเณรมีความกลัวก็วิ่งหนีมหาชนเข้าไปจนถึงพระราชวัง ไปยืนอยู่ตรงพระพักตร์ของพระราชา พระองค์จึงตรัสถามว่า มานพนี้มีนามว่าอย่างไร?
เจ้าสามเณรจึงกราบทูลว่า อาตมภาพมีนามว่า "สามเณร" จึงตรัสถามว่า สามเณรนั้นด้วยเหตุใด สามเณรจึงทูลว่า ข้าพเจ้า มีนามว่าสามเณรนั้น ด้วยเหตุว่าข้าพเจ้ามิได้กระทำบาปในภายนอก แล้วตั้งอยู่ภายในแห่งกุศล เหตุดังนั้นจึงมีนามว่า "สามเณร" พระองค์ก็ทรงตรัสถามต่อไปว่า นามกรของท่านนั้น บุคคลผู้ใด ตั้งให้แก่ท่าน สามเณรจึงทูลว่า พระอาจารย์ของข้าพเจ้าตั้งให้
พระองค์จึงตรัสถามอีกว่า อาจารย์ของท่านนั้นชื่อใด สามเณรจึงถวายพระพรว่า อาจารย์ของอาตมาท่านมีนามว่า "ภิกษุ" จึงตรัสถามต่อไปว่า พระอาจารย์ของท่านนั้นมีนามว่า "ภิกษุ" ด้วยเหตุอะไร สามเณรจึงทูลว่า อาจารย์ของข้าพเจ้านั้นชื่อ "รัตนะ" เป็นแก้วอันหาค่ามิได้
ครั้นพระราชาได้ทรงสดับว่า"พระสังฆรัตนะ" ในพระพุทธศาสนาหาได้เป็นอันยากยิ่งนัก พระองค์ก็มีความชื่นชมยินดีหาที่จะอุปมามิได้ คำนึงอยู่ในพระราชหฤทัยว่า จะเสด็จลงจากพระราชอาสน์ไปทรงนมัสการเจ้าสามเณร
ในทันใดนั้นเอง...พระวรกายของพระองค์ก็ลอยไปตกลง ตรงหน้าเจ้าสามเณรด้วยอำนาจแห่งธรรมปีติ ด้วยเดชะที่พระ องค์มีความเลื่อมใสในคุณพระสังฆรัตนะ ดอกปทุมชาติ คือดอก บัวก็บังเกิดผุดขึ้นรองรับพระองค์ไว้มิได้เป็นอันตราย จึงถวาย นมัสการเจ้าสามเณรโดยเบญจางคประดิษฐ์ แล้วจึงตรัสถามต่อ ไปว่า "พระสังฆรัตนะ" อาจารย์ของท่านนั้น บุคคลผู้ใดให้นามกร
เจ้าสามเณรก็ทูลว่า อาจารย์ของข้าพเจ้านั้น คือองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงพระนามว่า "พระสิริมิตร" พระองค์โปรดประทานให้นามว่า "พระสังฆรัตนะ" แก่พระอาจารย์ของ ข้าพเจ้า พระเจ้าสังขจักรบรมโพธิสัตว์เจ้า ผู้ทรงพระอุตสาหะรอ การสดับข่าวว่า เมื่อใดพระพุทธเจ้าจะทรงอุบัติขึ้นในโลก ครั้น ได้ทรงฟังสามเณรออกวาจาว่า องค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัม มาสัมพุทธเจ้าแล้ว พระองค์ก็ถึงกับทรงวิสัญญีภาพ คือสลบ ลงอยู่ตรงนั้นเอง
ครั้นพระองค์ได้พระสติขึ้นมา จึงตรัสถามสามเณรอีกว่า ดูก่อน...เจ้าสามเณรผู้เจริญ บัดนี้ องค์สมเด็จพระพุทธเจ้าเสด็จ ประทับอยู่ที่ไหน สามเณรจึงทูลว่า สมเด็จพระบรมศาสดาเสด็จยับยั้งอาศัยอยู่ใน บุพพารามวิหาร อันมีอยู่ในทิศอุดร คือ ทางเหนือของกรุงอินทปัตรนี้ไปไกลกันมีประมาณ ๑๖ โยชน์ ครั้น ได้ทรงสดับข่าวจากสามเณรว่า สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าบังเกิดแล้วในโลก จึงตรัสว่า ดูก่อน...สามเณร! หากว่าองค์สมเด็จพระสัพพัญญูเจ้าเสด็จอยู่ในทางทิศใด เราก็จะไปในประเทศทิศนั้น
สมเด็จพระเจ้าสังขจักรบรมบพิตรผู้ประเสริฐ หาความห่วง ใยในศิริราชสมบัติบรมจักรของพระองค์ไม่ ด้วยมีพระทัยนั้นผูกพันอยู่ในการที่จะได้พบเห็นองค์สมเด็จพระศรีสรรเพชรเป็นที่ยิ่งอย่างอุกฤษฏ์ ก็กระทำการราชาภิเษกเจ้าสามเณรนั้น ให้สึกออกมาเสวยราชสมบัติแทนพระองค์เป็นพระราชาอันประเสริฐ
ครั้นกระทำการราชาภิเษกเจ้าสามเณรแล้ว เสด็จลำพังแต่เพียงพระองค์เดียว มีพระทัยเฉพาะต่อทิศอุดร ตั้งพระทัยไปสู่บุพพารามวิหาร อันเป็นที่ประทับแห่งองค์สมเด็จพระสิริมิตรสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่พระเจ้าสังขจักรเป็นสุขุมาลชาติ พระสรีรกาย นั้นละเอียดอ่อนเป็นอันดี เมื่อเสด็จพระราชดำเนินไปตามหนทาง แต่พระบาทเปล่า เพียงเวลาวันเดียวเท่านั้น พระบาททั้งสองข้างก็แตกจนพระโลหิตไหลไปตามฝ่าพระบาททั้งสอง
เมื่อพระบาททั้งสองบาดเจ็บจนเดินไปมิได้แล้ว ในกาลนั้น พระองค์ก็ลงนั่งคุกเข่าคลานไปทีละน้อย ไปตามหนทางที่เจ้าสามเณรบอกมานั้น ไม่ยอมละเสียซึ่งความเพียร ครั้นล่วงไปถึง ๔ วัน พระหัตถ์ซ้ายขวาและพระชงฆ์ (แข้ง) ทั้งสองข้างนั้นก็แตกช้ำ โลหิตไหลออกมา จะคุกคลานไปก็มิได้ให้เจ็บปวดแสนสาหัส เห็นขัดสนพระทัยนักแล้ว ถึงกระนั้นพระองค์จะได้คิดท้อถอยย้อน รอยกลับคืนมาหามิได้ ทรงมุ่งมั่นในพระทัยว่า จะต้องไปให้ถึง สำนักขององค์สมเด็จพระจอมไตรให้จงได้
ครั้นพระองค์คุกคลานมิได้แล้ว ก็ทรุดลงพังพาบไถลไปแต่ ทีละน้อย ด้วยพระอุระ (อก) ของพระองค์ ประกอบไปด้วยทุกข เวทนาเหลือที่จะอดกลั้น พระองค์ยึดหน่วงเอาพระพุทธคุณของสมเด็จพระพุทธองค์เป็นอารมณ์ ด้วยเจตนาใคร่จะทรงพบเห็นพระองค์ผู้ทรงประเสริฐยิ่งกว่าใครในโลก แล้วก็ทรงอดกลั้นซึ่งทุกขเวทนานั้นเสีย หาได้ทรงอาลัยในพระวรกายของพระองค์ไม่
ครั้งนั้น สมเด็จพระสิริมิตรสัพพัญญูผู้ประเสริฐ พระองค์ทรงพระมหากรุณาเล็งแลดูสัตวโลกทั้งหลายด้วยพระสัพพัญญุตญาณ ก็รู้แจ้งเห็นด้วยกำลังความเพียรของพระเจ้าสังขจักรนั้น เป็นอุกฤษฏ์ยิ่งโดยวิเศษแล้ว ก็มิใช่อื่นมิไช่ไกล เป็นหน่อพระพุทธางกูรพุทธพงศ์วงศ์เดียวกันกับพระตถาคตนั่นเอง สมควร ที่ตถาคตจักเสด็จไปสู่ที่ใกล้แห่งบรมสังขจักร
เมื่อพระพุทธองค์ทรงพระดำริแล้ว ก็เสด็จพระพุทธดำเนินมาด้วยพระศิริวิลาสเป็นอันงาม แล้วพระองค์กระทำอิทธิฤทธิ์ เนรมิตพระวรกายของพระองค์ให้อันตรธานหาย กลับกลายเป็น มานพน้อย ขึ้นขับรถทวนมรรคามาเฉพาะหน้าแห่งสมเด็จพระบรมสังขจักรนั้น แล้วสมเด็จพระพุทธสัพพัญญูเจ้าจึงร้องถาม ไปว่า ผู้ใดมานอนอยู่กลางทางขวางหน้ารถเรา จงหลีกไปเสีย..เรา จะขับรถไป..!
ฝ่ายพระบรมโพธิสัตว์เจ้าจึงตรัสตอบว่า ดูก่อน...นายสารถี ผู้ขับรถ ท่านจะมาขับเราไปให้พ้นจากหนทางนั้นด้วยเหตุใด ตัว เราผู้รู้จักคุณสมเด็จพระจอมไตรเป็นอารมณ์ยิ่งนัก หากแต่นายสารถีจะยั้งรถของท่านให้หลีกเราไปเสียจึงจะสมควร ถ้าท่านไม่หลีกก็ให้ท่านขับรถไปเหนือหลังเราเถิด ซึ่งจะให้เราหลีกนั้นเรา หาหลีกไม่ แล้วจึงมีพระพุทธฎีกาตรัสว่า ถ้าท่านจะไปยังสำนักพระพุทธเจ้าแล้ว จงมาขึ้นรถไปกับเราเถิด เราจะพาท่านไปให้ถึง สำนักสมเด็จพระประทีปแก้วให้สมดังความปรารถนา
สมเด็จพระราชาธิบดีจึงตรัสตอบว่า ถ้าท่านเอ็นดูกรุณาแก่ เรา เราก็มีความยินดีสาธุอนุโมทนาด้วย แล้วก็อุตสาหะดำรงทรง พระวรกายขึ้นสู่รถแห่งองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า พระพุทธ องค์ก็ทรงหันหน้ารถไปตามถนนหนทาง ในระหว่างทางนั้น สมเด็จอมรินทราธิราชกับนางสุชาดาผู้เป็นอัครมเหสี จึงได้นำเอา
(อ่านต่อข้างล่าง)
28305  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / อีกประมาณ ล้านปีเศษ ๆ พระศรีอาริย์ จะมาตรัสรู้ในดินแดนพม่า เมื่อ: ธันวาคม 14, 2009, 08:17:08 pm
พระอนาคตวงศ์

บัดนี้ จะได้วิสัชนาในเรื่อง "พระอนาคตวงศ์" โดยพุทธ ภาษิตปริยาย มีเนื้อความตามพระบาลีว่า
เอกัง สะมะยัง... ครั้งหนึ่งสมเด็จพระสรรเพชรพุทธเจ้า เสด็จยับยั้งอาศัยใกล้กรุงสาวัตถีมหานครวะสันโต.. เมื่อสมเด็จพระชินวรผู้ทรงญาณสำราญพระอิริยาบถ เข้าพระพรรษาอยู่ในบุพพาราม อัน นางวิสาขา สร้างถวายสิ้นทรัพย์ ๒๗ โกฏิฯ
ครั้งนั้นพระองค์ทรงปรารภซึ่ง พระอชิตเถระ ผู้เป็นหน่อบรมพุทธางกูร "อาริยเมตไตรยเจ้า" ให้เป็นเหตุ องค์สมเด็จพระบรมโลกเชฏฐ์จึงตรัสพระธรรมเทศนาแสดง ซึ่งพระโพธิสัตว์ ทั้ง ๑๐ องค์ อันจะมาตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จพระพุทธเจ้าในอนาคตกาล ครั้งนั้นพระธรรมเสนา สารีบุตรเถรเจ้า จึงกราบทูลอาราธนา พระองค์ก็นำมาซึ่ง "อดีตนิทาน" แห่งองค์สมเด็จพระพิชิตมารทั้ง ๑๐ พระองค์ ที่จะมาตรัสรู้ในอนาคตกาลเบื้องหน้าต่อไปเป็นใจ ความว่า (บางคำ "ผู้เขียน" ขอเกลาสำนวนที่ฟุ่มเฟือยออกไปบ้าง)
"...เมื่อศาสนาพระตถาคตครบ ๕๐๐๐ ปีแล้ว ฝูงสัตว์ก็มีอายุ ถอยลงคงอยู่ ๑๐ ปีเป็นอายุขัย ครั้งนั้นแล... จะบังเกิดมหาภัยเป็นอันมาก มี "สัตถันตรกัป" คือเป็นกัปที่มนุษย์ทั้งหลายจะวุ่นวายเป็นโกลาหล เกิดรบพุ่งฆ่าฟันซึ่งกันและกัน จะจับไม้และใบหญ้าก็กลายกลับเป็นหอกดาบแหลนหลาว อาวุธน้อยใหญ่ไล่ทิ่มแทงกัน ฝูงมนุษย์ทั้งหลายที่มีปัญญา ก็หนีไปซุกซ่อนตัวอยู่ในซอกห้วยหุบเขา จะเหลืออยู่ก็แต่มนุษย์ที่มีปัญญา นอกกว่านั้นแล้วก็ถึงซึ่งพินาศฉิบหายเป็นอันมาก
เมื่อพ้น ๗ วันล่วงไปแล้ว มนุษย์ทั้งหลายที่ซ่อนเร้นอยู่นั้น เห็นสงบสงัดเสียงคนก็ออกมาจากที่ซ่อนเร้น ครั้นเห็นซึ่งกันและกัน ก็มีความสงสารรักใคร่กันเป็นอันมาก เข้าสวมสอดกอดรัด ร้องไห้กันไปมา บังเกิดมีความเมตตากรุณากันมากขึ้นไป ครั้นตั้งอยู่ใน "เมตตาพรหมวิหาร" แล้วก็อุตสาหะรักษาศีล ๕ จำเริญ กรรมฐานภาวนาว่า
"อะยัง อัตตะภาโว.. อันว่ากายของอาตมานี้ อนิจจัง.. หาจริงมิได้ ทุกขัง... เป็นกองแห่งทุกข์ฝ่ายเดียว หาสัญญาสำคัญมั่น หมายมิได้ ด้วยกายอาตมาไม่มีแก่นสาร..."
เมื่อมนุษย์ทั้งหลายปลงปัญญาเห็นในกระแสพระกรรมฐานภาวนาดังนี้เนือง ๆ อายุของมนุษย์ทั้งหลายก็วัฒนาจำเริญขึ้นไป ที่มีอายุ ๑๐ ปีเป็นอายุขัยนั้น ค่อยทวีขึ้นไปถึง ๒๐ ปีเป็นอายุขัย ค่อยทวีขึ้นไปทุกชั้นทุกชั้น จนอายุได้ร้อย พัน หมื่น แสน โกฏิ จนถึงอสงไขยหนึ่ง
ครั้นนานไปเห็นว่าไม่รู้จักความตายแล้ว ก็มีความประมาท มิได้ปลงใจลงในกอง ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา อายุก็ถอยน้อย ลงมาทุกทีจนถึง ๘ หมื่นปี ฝนก็ตกเป็นฤดูคือ ๕ วันตก ๑๐ วันตก ใน "ชมพูทวีป" ทั้งปวงมีพื้นแผ่นดินราบคาบสม่ำเสมอ เป็นอันดี
________________________________________

เกตุมดีราชธานี

ครั้งนั้น กรุงพาราณสี เปลี่ยนนาม ชื่อว่า เกตุมดี โดย ยาวได้ ๑๖ โยชน์ โดยกว้างได้ ๑ โยชน์ มีไม้กัลปพฤกษ์เกิดทั้ง ๔ ประตูเมือง มีแก้ว ๗ ประการ ประกอบเป็นกำแพงแก้ว ๗ ชั้นโดยรอบพระนคร
ครั้งนั้น มหานฬการเทพบุตร ก็จุติลงมาเกิดเป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช ทรงพระนามว่า พระเจ้าสังขจักรพรรดิ เสวยศิริราชสมบัติในเกตุมดีราชธานี เป็นพระราชาที่ทรงธรรม ครอบครองแผ่นดินมีมหาสมุทรทั้ง ๔ เป็นขอบเขต และในท่ามกลางพระนครนั้นมี "ปราสาท" อันสำเร็จแล้วด้วยแก้ว ๗ ประการ ผุดขึ้นมาจากมหาคงคา ลอยขึ้นมายังนภากาศ มาตั้งอยู่ในท่ามกลางพระนคร ปราสาทแก้วนี้ ในสมัยพุทธกาลเป็นปราสาทแห่ง "พระเจ้ามหาปนาท" (ในตอนนี้ จะขอแทรกประวัติไว้ด้วยดังนี้)
________________________________________

ประวัติพระเจ้ามหาปนาท


อันว่าปราสาทของพระเจ้ามหาปนาทนั้น เป็นปราสาทที่ท้าวสักกเทวราช ตรัสสั่ง วิษณุกรรมเทพบุตร ลงมาสร้างถวายพระราชา กล่าวคือ..สมัยก่อนที่พระพุทธเจ้าจะทรงอุบัติขึ้นนั้น ยังมีช่างเสื่อลำแพน ๒ คนพ่อลูก ได้พากันสร้างบรรณศาลาแล้วด้วย ไม้อ้อและไม้มะเดื่อ เพื่อถวายแด่พระปัจเจกพุทธเจ้าแล้วทั้ง ๒ คนก็ช่วยกันอุปถัมภ์บำรุงพระปัจเจกพุทธเจ้านั้นด้วยปัจจัย ๔
ครั้นพ่อลูก ๒ คนนั้นตายแล้ว จึงได้ไปบังเกิดในเทวโลก ส่วนบิดายังอยู่ในเทวโลก ฝ่ายบุตรได้จุติจากเทวโลก ลงมาเกิดเป็นพระราชโอรสของ พระเจ้าสุรุจิ และ พระนางสุเมธาเทวี มี พระนามว่า มหาปนาทกุมาร เวลาได้เสวยราชย์แล้ว จึงมีพระนามว่า พระเจ้ามหาปนาท ต่อมาท้าวสักกเทวราชได้ตรัสสั่งให้วิษณุ กรรมเทพบุตรลงมาสร้างปราสาทถวายแก่พระเจ้ามหาปนาทนั้น
ทั้งนี้ ด้วยอำนาจแห่งบุญญาธิการที่ได้เคยสร้างบรรณศาลาถวายแด่พระปัจเจกพุทธเจ้า ปราสาทแก้ว ๗ ประการนี้ สูง ๒๕ โยชน์ จำนวน ๗ ชั้น ยาว ๙ โยชน์ กว้าง ๘ โยชน์
ครั้นพระเจ้ามหาปนาทสวรรคตแล้ว ปราสาทนั้นก็ได้เลื่อนลงไปสู่กระแสมหาคงคา ในที่ตั้งบันไดปราสาทนั้นได้กลายเป็น บ้านเมืองขึ้นเมืองหนึ่งชื่อว่า ปยาคปติฏฐนคร ที่ตรงยอดปราสาทนั้นได้กลายเป็นหมู่บ้านชื่อว่า โกฏิคาม
ในเวลาต่อมา เมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรง พระนามว่า พระสมณโคดม อุบัติขึ้นในโลกแล้ว เทพบุตรองค์นี้ ซึ่งมีนามว่า นฬการเทพบุตร จึงได้จุติลงมาเกิดเป็นบุตรเศรษฐี มีนามว่า ภัททชิ เป็นผู้มีทรัพย์ ๘๐ โกฏิ มีปราสาทถึง ๓ หลัง เป็นที่ยับยั้งอยู่ในฤดูทั้ง ๓
หลังจากได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ เมื่อกราบทูลขอบรรพชาแล้ว จึงเข้าไปนั่งเข้าฌานอยู่ที่โคนต้นไม้แห่งหนึ่งริมฝั่งแม่น้ำคงคา ฝ่ายชาวบ้านโกฏิคามได้ยกเรือทานถวายพระภิกษุสงฆ์ เวลาสมเด็จพระพุทธองค์เสด็จลงประทับในเรือแล้ว โปรดให้พระภัททชิไปในเรือลำเดียวกันด้วย พอไปถึงกลางแม่น้ำคงคา สมเด็จพระบรมศาสดาจึงตรัสถามว่า
"ดูก่อน...ภัททชิ.! ปราสาทแก้วที่เธอเคยอยู่ในเมื่อครั้งเป็นพระเจ้ามหาปนาทนั้นอยู่ที่ไหน?"
พระภัททชิกราบทูลว่า "จมอยู่ตรงนี้...พระเจ้าข้า"
บรรดาภิกษุทั้งหลายที่เป็นปุถุชนก็พากันร้องกล่าวโทษว่าพระภัททชิอวดมรรคผล องค์สมเด็จพระทศพลจึงตรัสบอกพระภัททชิให้แก้ความสงสัยของภิกษุทั้งหลาย พระเถระถวายบังคมแล้วก็บันดาลปลายนิ้วเท้าลงไปคีบยอดปราสาทอันสูงได้ ๒๕ โยชน์นั้นขึ้นมาจากแม่น้ำคงคา ไปปรากฏอยู่บนอากาศสูงจากพื้น น้ำได้ถึง ๓ โยชน์ แล้วปล่อยไปในแม่น้ำคงคา มหาชนทั้งหลายก็หมดความสงสัย องค์สมเด็จพระจอมไตรจึงตรัสว่า ปราสาท หลังนี้ พระภัททชิ เคยอยู่มาตั้งแต่ครั้งเป็นพระเจ้ามหาปนาท
มีคำถามว่า เพราะเหตุใด ปราสาทหลังนั้นจึงยังไม่อันตรธาน
มีคำแก้ว่า เป็นเพราะอานุภาพแห่งช่างเสื่อลำแพน ซึ่งเป็นบิดาในชาติปางก่อน อันมีนามกรว่า มหานฬการเทพบุตร จะจุติ ลงมาเป็นพระเจ้าจักรพรรดิปกครองโลก ทรงพระนามว่า พระเจ้าสังขจักร แล้วพระพุทธองค์จึงทรงตรัสต่อไปว่า
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า เมตไตรย อุบัติขึ้นในโลกแล้ว พระองค์จักแสดงธรรมมีคุณอันดีในเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด พร้อมทั้งอรรถะพยัญชนะ จักประกาศพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง และจักปกครอง พระภิกษุสงฆ์หลายพัน เหมือนกันกับเราตถาคตในบัดนี้
พระเจ้าสังขจักรนั้น จักเสวยราชย์อยู่ที่ปราสาทของพระเจ้ามหาปนาท อันมีมาในอดีตกาลนั้น แล้วจักทรงสละปราสาทนั้น ให้เป็นทานแก่สมณพราหมณ์ คนกำพร้า คนเดินทางไกล คนขอ ทานทั้งหลาย แล้วจักปลงผมและหนวด นุ่มห่มผ้าย้อมน้ำฝาด ออกบรรพชาในสำนักของพระศาสดาผู้ทรงพระนามว่า พระเมตไตรย แล้วจักออกจากหมู่อยู่แต่ผู้เดียว จักไม่ประมาท จะมีความ เพียร จะมีใจตั้งมั่น แล้วจะสำเร็จที่สุดแห่งพรหมจรรย์ อันเป็น สิ่งยอดเยี่ยมและปรารถนาของกุลบุตรทั้งหลายผู้บรรพชาในไม่ช้า"
สมัยต่อมาพระเจ้าสังขจักรได้เสวยราชสมบัติในเกตุมดีนั้น ปราสาทแก้วก็ผุดขึ้นมาแต่แม่น้ำคงคา ด้วยอานุภาพแห่งผลบุญที่เคยร่วมกันกับลูกชาย ถวายภัตตาหาร ผ้าไตรจีวร และสร้างบรรณศาลาถวายแด่พระปัจเจกพุทธเจ้าให้มีความสุขสบาย ด้วยอานิสงส์มหาศาลนี้ จึงได้เกิดมาเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ประดับไป ด้วยหมู่พระสนม แสนสาวสุรางค์ทั้งหลายประมาณ ๘ หมื่น ๔ พันองค์ มีพระราชโอรสมากกว่า ๑ พันพระองค์ ซึ่งล้วนแล้วแต่ แกล้วกล้า สามารถย่ำยีเสียซึ่งเสนาของผู้อื่น
________________________________________

แก้ว ๗ ประการ

พระราชโอรสองค์ใหญ่ทรงพระนามว่า อชิตราชกุมารเจ้า อชิตราชกุมารนั้น ดำรงตำแหน่งเป็น ปรินายกแก้ว แห่งสมเด็จพระราชบิดา ผู้เป็นพระยาบรมสังขจักร อันบริบูรณ์ไปด้วยแก้ว ๗ ประการคือ จักรแก้ว ๑ นางแก้ว ๑ แก้วมณีโชติ ๑ ช้างแก้ว ๑ ม้าแก้ว ๑ คหบดีแก้ว ๑ ปรินายกแก้ว ๑ อันว่าสมบัติของ พระเจ้าจักรพรรดินั้น ย่อมมีทุกสิ่งทุกประการ เป็นที่เกษมสานต์ ยิ่งนักเหลือที่จะพรรณนาได้ในกาลนั้น
ฝ่ายว่า มหาปุโรหิตผู้ใหญ่ ของสมเด็จพระเจ้าสังขจักรนั้น เป็นมหาพราหมณ์ประกอบไปด้วยอิสริยยศเป็นอันมาก หาผู้จะเปรียบเสมอมิได้ มีนามปรากฏว่า สุตพราหมณ์ นางพราหมณี ผู้เป็นภรรยานั้นมีนามว่า นางพราหมณวดี
ในกาลนั้น สมเด็จพระบรมโพธิสัตว์ พระศรีอาริยเมตไตรย รับอาราธนาจากบรรดาเทพเจ้าทั้งหลายแล้ว ก็จุติลงมาจากสวรรค์ชั้นดุสิต ลงมาถือกำเนิดในครรภ์แห่งนางพราหมณวดี ภรรยาแห่งมหาปุโรหิต พราหมณ์ผู้ใหญ่ ในวันเพ็ญเดือน ๘ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เวลาปัจจุสมัยใกล้รุ่ง พร้อมด้วยอัศจรรย์ทั้งหลาย ๑๒ ประการ
คือเหล่าเทพยดาพากันกระทำสักการบูชา ดังห่าฝนตกลง ในกลางอากาศ แล้วมีปรางค์ปราสาททั้ง ๓ ผุดขึ้นมา เพื่อจะให้ เป็นที่สำราญแห่งพระบรมโพธิสัตว์เจ้า ปราสาทหลังที่ ๑ ชื่อว่า ศิริวัฒนะ ปราสาทหลังที่ ๒ ชื่อว่า สิทธัตถะ ปราสาทหลังที่ ๓ ชื่อว่า จันทกะ ปรางค์ปราสาททั้ง ๓ นี้เป็นที่จำเริญพระศิริสวัสดิ มงคล ควรจะให้สำเร็จประโยชน์ทุกประการ ปรากฏงามดังดวง พระจันทร์ แล้วหอมฟุ้งไปด้วยกลิ่นอันหอมมิรู้ขาด เดียรดาษ ไปด้วยนางนาฏพระสนม ประมาณ ๗ แสนคน
ส่วนสมเด็จพระอัครมเหสีแห่งสมเด็จพระศรีอาริยเมตไตรยบรมโพธิสัตว์เจ้านั้น ทรงพระนามว่า พระนางจันทมุขี เป็นประธานแห่งนางบริวารทั้งหลาย ๗แสน มีพระราชโอรสองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า พราหมณ์วัฒนกุมาร
เมื่อพระมหาบุรุษผู้ประเสริฐทรงพระเกษมสำราญอยู่ใน ปราสาททั้ง ๓ ควรแก่ฤดูโดยนิยมดังนี้ จนพระองค์มีพระชนม์ได้ ๘ หมื่นปี แล้วจึงเสด็จขึ้นสู่รถแก้วอันเป็นทิพย์วิมานมีศิริหา เสมอมิได้ เสด็จไปประพาสอุทยานทอดพระเนตร เห็นนิมิตรทั้ง ๔ ประการนี้เป็น "เทวทูต" ยังธรรมสังเวชให้เกิดขึ้น ก็มีพระทัย น้อมไปในบรรพชา พิจารณาเห็นเพศสมณะนั้นเป็นอารมณ์
ในขณะนั้น อันว่าปรางค์ปราสาทแก้วซึ่งทรงพระสำราญ ยับยั้งอยู่นั้นก็ลอยไปในอากาศ พร้อมทั้งพระราชโอรสและหมู่ นางกัลยาทั้งหลายไปกับปรางค์ปราสาท ครั้งนั้นเปรียบประดุจดังว่า พญาหงส์ทองบินไปในเวหา ฝ่ายฝูงเทวดาทั้งหลายในหมื่นจักรวาล ก็ชวนกันถือเครื่องสักการบูชา ต่างเหาะตามมากระทำ สักการบูชาในอากาศ เนืองแน่นกันมากเป็นอเนกอนันต์ บรรดา ท้าวพระยามหากษัตริย์ทั้งหลาย ๘ หมื่น ๔ พันพระนครก็ดี และชาวนิคมชนบททั้งหลายก็ดี ก็ชวนมากระทำสักการบูชาด้วย ดอกไม้และของหอมมีประการต่าง ๆ เต็มเดียรดาษกลาดเกลื่อน ไปทั้งชมพูทวีป เหล่าพวกอสูรทั้งหลายก็เข้าแวดล้อมพิทักษ์รักษา ปรางค์ปราสาท
ฝ่ายพญานาคราชนั้นกระทำสักการบูชาด้วยแก้วมณี พญาสุวรรณราชปักษีกระทำสักการบูชาด้วยแก้วมณี อันเป็นเครื่องประดับตน เหล่าคนธรรพ์ทั้งหลายนั้นกระทำสักการบูชาด้วยเครื่องทิพย์ดุริยางค์ฟ้อนรำมีประการต่าง ๆ
 (อ่านต่อข้างล่าง)
28306  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / "คนที่บ้านสอนยาก มีแต่จะสอนเรา" เมื่อ: ธันวาคม 14, 2009, 12:07:15 pm
คุณสาครและคุณแบน(ขอโทษถ้าเรียกผิด)ประสบปัญหาเหมือนกับผู้ชายหลายคน(ไม่เว้นผม)
เรื่องภรรยาเป็นหนังชีวิตครับ มันยาวและจบยาก
โบราณท่านไม่ให้ไปยุ่งเรื่องของผัวเมีย เนืื่องจากจะทะเลาะและดีกันอยู่เป็นประจำ
การเป็นบุคคลที่สาม รังแต่จะเดือดร้อน

แต่เมื่อตั้งกระทู้ถามในห้องนี้แล้ว คิดว่าทุกคนต้องมีใจกว้าง รับฟังความเห็นของสมาชิก

ต่อไปนี้จะเป็นความคิดเห็นนะครับ


พระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชโช ได้เคยพูดเรื่องนี้ และแนะนำศิษย์ของท่านใว้หลายคน
ต่างกรรมต่างวาระกัน ท่านแนะนำทั้งหญิงและชาย ไม่ว่าจะเป็น หญิงมีปัญหากับสามี
หรือสามี มีปัญหากับภรรยา ทุกคนต่างอยากเห็นคู่ของตนปฏิบัติธรรมอย่างตัวเอง
 ท่านกล่าวติดตลกว่า


"คนที่บ้านสอนยาก มีแต่จะสอนเรา"

การจะทำให้เค้าปฏิบัติธรรม   ต้องปฏิบัติให้เค้าดูก่อน
และต้องให้เค้าเห็นการเปลี่ยนแปลง(ในทางที่ดี)อย่างชัดเจน
เช่น เคยโกรธง่าย ก็โกรธน้อยลง เคยขี้บ่นจู้จี้ ก็พูดน้อยลง
การเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีนี้ จะทำให้เค้าเข้ามาสนใจและสอบถามเราเอง
(โดยไม่ต้องชวนแกมบังคับหรือยัดเยียด)


โดยส่วนตัวผมเห็นว่า การปฏิบัติธรรมของแต่ละบุคคล ไม่ใช่เรืองบังเอิญ
บางคนทำได้ แค่เพียงทำทานเท่านั้น เช่น ตักบาตร ทอดกฐินหรือผ้าป่า
หรือบริจาคเงิน วัตถุ สิ่งของต่างๆ
บางคน สามารถที่จะถือศีลในวาระต่างๆได้ เช่น ศีลห้า หรือศีลแปด
บางคน สามารถที่จะเจริญภาวนาได้

การที่บุคคลใดๆ จะทำทาน ถือศีล และภาวนาได้นั้น
ขึ้นอยู่กับ บุญบารมีที่สะสมมา ว่าจะเพียงพอแก่การปฏิบัติธรรมในขั้นไหน

การเจริญภาวนาเป็นไปเพื่อความหลุดพ้น ความเป็นไปได้ก็คือ
คนที่จะเจริญภาวนาได้นั้น ควรจะมีบุญบารที่สั่งสมมา
มากกว่าคนที่ทำได้เพียงทำทานหรือถือศีล

สิ่งที่ผมทำอยู่ในขณะนี้ หลังจากที่ผมปฏิบัติธรรม แล้วโอนบุญให้ภรรยา
สิ่งที่ผมทำอีกอย่างก็คือ อธิษฐานให้เธอหันเข้ามาปฏิบัติธรรมให้มากขึ้น
ผลที่ออกมา ก็คือ เมื่อก่อนทำทานอย่างเดียว ตอนนี้เริ่มหันว่าสวดมนต์บ้างแล้ว
การสวดมนต์จะได้ทั้งศีลและสมาธิ เป็นการสร้างบุญบารมีที่ง่ายที่สุด


ขอถือโอกาสนี้เสนอข้อธรรม บุญกิริยาวัตถุ ๓ ดังนี้ครับ

บุญกิริยาวัตถุ ๓ (ที่ตั้งแห่งการทำบุญ, เรื่องที่จัดเป็นการทำความดี, หลักการทำความดี, ทางทำความดี — bass of meritorious action; grounds for accomplishing merit)

๑. ทานมัย บุญกิริยาวัตถุ (ทำบุญด้วยการให้ปันสิ่งของ — meritorious action consisting in giving or generosity)

๒. สีลมัย บุญกิริยาวัตถุ (ทำบุญด้วยการรักษาศีล หรือประพฤติดีมีระเบียบวินัย — meritorious action consisting in observing the precepts or moral behaviour)

๓. ภาวนามัย บุญกิริยาวัตถุ (ทำบุญด้วยการเจริญภาวนา คือฝึกอบรมจิตใจ — meritorious action consisting in mental development)
D.III.218; A.IV.239; It.51.     ที.ปา.๑๑/๒๒๘/๒๓๐; องฺ.อฏฺฐก. ๒๓/๑๒๖/๒๔๕; ขุ.อิติ. ๒๕/๒๓๘/๒๗๐.
________________________________________



ผมมีข้อธรรมที่ภูมิใจนำเสนอเป็นอย่างยิ่ง และขอให้ใช้สติในการพิจารณาให้มากๆ
เชิญพิจารณาได้เลยครับ



สมชีวิธรรม ๔ (หลักธรรมของคู่ชีวิต, ธรรมที่จะทำให้คู่สมรสชีวิตสมหรือสม่ำเสมอกลมกลืนกัน อยู่ครองกันยืดยาว - qualities which make a couple well matched)

๑. สมสัทธา (มีศรัทธาสมกัน - to be matched in faith)
๒. สมสีลา (มีศีลสมกัน - to be matched in moral)
๓. สมจาคา (มีจาคะสมกัน - to be matched in generosity)
๔. สมปัญญา (มีปัญญาสมกัน - to be matched in wisdom)


ภรรยา ๗ (ภรรยาแบบต่างๆ จำแนกโดยคุณธรรม ความประพฤติลักษณะนิสัย และการปฏิบัติต่อสามี — seven types of wives)

๑. วธกาภริยา (ภรรยาเยี่ยงเพชฌฆาต, ภรรยาที่คิดร้าย ซื้อได้ด้วยเงิน มิได้อยู่กินด้วยความพอใจ ยินดีชายอื่น ดูหมิ่นและคิดทำลายสามี — a wife like a slayer; destructive wife)
 
๒. โจรีภริยา (ภรรยาเยี่ยงโจร, ภรรยาผู้ล้างผลาญทรัพย์สมบัติ — a wife like a robber; thievish wife)
 
๓. อัยยาภริยา (ภรรยาเยี่ยงนาย, ภรรยาที่เกียจคร้าน ไม่ใส่ใจการงาน กินมาก ปากร้าย หยาบคาย ใจเหี้ยม ชอบข่มสามี — a wife like a mistress; Madam High and Mighty)

๔. มาตาภริยา (ภรรยาเยี่ยงมารดา, ภรรยาที่หวังดีเสมอ คอยห่วงใยเอาใจใส่สามี เหมือนมารดาปกป้องบุตร และประหยัดรักษาทรัพย์ที่หามาได้ — a wife like a mother; motherly wife)
 
๕. ภคินีภริยา (ภรรยาเยี่ยงน้องสาว, ภรรยาผู้เคารพรับสามี ดังน้องรักพี่ มีใจอ่อนโยน รู้จักเกรงใจและคล้อยตามสามี — a wife like a sister; sisterly wife)

๖. สขีภริยา (ภรรยาเยี่ยงสหาย, ภรรยาที่เป็นเหมือนเพื่อน พบสามีเมื่อใด ก็ปลาบปลื้มดีใจเหมือนเพื่อนพบเพื่อนที่จากไปนาน เป็นผู้มีการศึกษาอบรม มีกิริยามารยาท ความประพฤติดี ภักดีต่อสามี — a wife like a companion; friendly wife)

๗. ทาสีภริยา (ภรรยาเยี่ยงทาสี, ภรรยาที่ยอมอยู่ในอำนาจสามี ถูกขู่ตะคอกเฆี่ยนตี ก็อดทนไม่โกรธตอบ — a wife like a handmaid; slavish wife)

ท่านสอนให้ภรรยาสำรวจตนว่า ที่เป็นอยู่ ตนเป็นภรรยาประเภทไหน และจะให้ดีควรจะเป็นภรรยาประเภทใด;

สำหรับชาย อาจใช้เป็นหลักสำรวจอุปนิสัยของตนว่าควรแก่หญิงประเภทใดเป็นคู่ครอง และสำรวจหญิงที่จะเป็นคู่ครองว่าเหมาะกับอุปนิสัยของตนหรือไม่.

A.IV.91; J.II.347.     องฺ.สตฺตก.๒๓/๖๐/๙๒; ชา.อ.๔/๙๒
________________________________________
28307  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: เวลาฟังธรรมสมัยก่อน เขาใช้อุปกรณ์อะไรช่วยการแสดงธรรม เมื่อ: ธันวาคม 13, 2009, 05:24:52 pm
คุณนิมิตครับ คุณทินกรพยายามจะบอกคุณว่า พระพุทธเจ้ามีอภิญญา
ซึ่งเป็นเรื่องของอิทธิฤทธิ์และปาฏิหารย์ต่างๆ สามารถทำอะไรที่คนธรรมดาทำไม่ได้
และแม้แต่เทวดาหรือพรหมก็ทำได้ไม่เสมอกับพระพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้าสร้างบุญบารมีไว้มากมายคณานับ ทำให้พระพุทธเจ้าทำได้ทุกอย่าง
เรื่องนี้จัดเป็นเรื่องอจิณไตยครับ
ลองอ่านดูนะครับ แล้วจะเข้าใจเอง


ปัญหาของอจินไตย ๔ ข้อ

          ถาม  ๑. สิ่งที่เป็นอจินไตย นี่เป็นวิสัยของพระพุทธเจ้าเท่านั้นที่จะรู้ได้ ไม่ใช่วิสัยของปุถุชนคนธรรมดาหรือพระอรหันต์ธรรมดาจะรู้ได้ใช่ไหม

          ตอบ  สิ่งที่เป็นอจินไตยนั้นมี ๔ อย่าง คือ
                    ๑. พุทธวิสัย วิสัยของพระพุทธเจ้า
                    ๒. ฌานวิสัย วิสัยของผู้ได้ฌาน
                    ๓. กัมมวิบาก ผลจากกรรม
                    ๔. โลกจินดา ความคิดเรื่องโลก


          ทั้ง ๔ อย่างนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าไม่ควรคิดผู้ที่คิดจะพึงมีส่วนแห่งความเป็นบ้า ได้รับความลำบากโดยเปล่าประโยชน์

          ในอจินไตย ๔ อย่างนี้ อย่างแรกคือ พุทธวิสัย คือวิสัยของพระพุทธเจ้านั้น ผู้ที่ไม่ใช่พระพุทธเจ้าคิดอย่างไร ก็เข้าไปไม่ถึงวิสัยของพระพุทธเจ้า มีอานุภาพของพระพุทธคุณและพระสัพพัญญุตญาณเป็นต้น

          อย่างที่ ๒ ฌานวิสัย วิสัยของผู้ที่ได้ฌานอภิญญา ผู้ที่ไม่ได้ฌานคิดเท่าไรก็คิดไม่ออกว่า ทำไมผู้ที่ได้ฌานอภิญญาจึงสามารถแสดงฤทธิ์ต่างๆ มีเหาะได้ หายตัวได้ ดำดินได้ เป็นต้น ผู้ที่ได้อภิญญาประเภทนั้นๆ เท่านั้นจึงจะรู้ได้

          อย่างที่ ๓ กัมมวิบาก ผลของกรรม คือคนธรรมดาๆ ย่อมไม่อาจรู้ว่า ผลของกรรมที่ตนได้รับอยู่ในปัจจุบันนี้มาจากกรรมอะไร ทำไว้แต่เมื่อใด คิดไปเท่าไรก็คิดไม่ออก คิดมากไปจะเป็นบ้าไปเสียเปล่าๆ ผู้ที่รู้ผลของกรรมได้อย่างถ่องแท้ต้องเป็นผู้ที่ระลึกชาติก่อนๆ นับย้อนหลังไปได้โดยไม่จำกัดอย่างพระพุทธเจ้า จึงสามารถจะทราบได้ถูกต้องแท้จริงไม่ผิดพลาด ท่านที่ระลึกชาติได้จำกัด เช่นระลึกได้ ๕๐๐ ชาติ แต่กรรมที่ทำไว้ ทำไว้เมื่อชาติที่ ๕๕๐ ผู้ที่ระลึกชาติได้ ๕๐๐ ชาติก็ไม่สามารถระลึกได้ เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าเท่านั้นที่สามารถจะรู้กรรมและผลของกรรมได้ถูกต้องตามความเป็นจริง เพราะพระองค์ทรงมีบุพเพนิวาสานุสสติญาณ ที่ระลึกชาติย้อนหลังได้โดยไม่จำกัด มียถากัมมูปคญาณ ญาณที่เข้าถึงกรรมของสัตว์ตามความเป็นจริง พระพระสัพพัญญุตญาณ ญาณที่ทรงรอบรู้ทุกสิ่งทุกอย่างที่คนอื่นไม่มี ทั้งยังมีพระอนาวรณญาณ ญาณที่ไม่มีอะไรมาปิดกั้น ที่คนอื่นที่ไม่ใช่พระพุทธเจ้าไม่มี เพราะฉะนั้น ป่วยการคิดเรื่องผลของกรรมว่ามาจากกรรมไหน เมื่อใด เป็นต้น คิดมากไป อาจเป็นบ้าได้

          อย่างที่ ๔ โลกจินดา ความคิดเกี่ยวกับเรื่องโลก เช่นคิดว่าใครสร้างพระจันทร์-พระอาทิตย์ ใครสร้างภูเขา ต้นไม้ เป็นต้น คิดมากไปไร้ประโยชน์เพราะไม่อาจจะรู้ได้

          ด้วยเหตุนี้ อจินไตยทั้ง ๔ อย่างนี้ บางท่านอาจจะคิดว่าตนเองคิดแล้วรู้ได้ ซึ่งก็รู้ได้เพียงวิสัยของตนเท่านั้น พระอรหันต์ก็รู้เท่าวิสัยของพระอรหันต์ จะรู้เท่าความรู้ของพระพุทธเจ้านั้นเป็นไปไม่ได้เลย

เพราะฉะนั้น ท่านจึงเตือนว่า สิ่งทั้ง ๔ นี้ไม่ควรคิด คิดไปอาจเป็นบ้า ลำบากโดยเปล่าประโยชน์ ทั้งนี้เพราะท่านเหล่านั้น ไม่ได้สั่งสมสติปัญญาบารมีความรู้มาเสมอด้วยพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งต้องอบรมมาอย่างน้อยถึง ๔ อสงไขยแสนกัปป์ทีเดียว

ที่มา เว็บพลังจิต
posted on 25 Jan 2008 22:44 by kohsija

28308  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: การที่เราคิดถึงใคร แล้วอธิษฐานจิต หาคนนั้น จะทำให้เห็นคนที่ิคิดถึงหรือไม่ เมื่อ: ธันวาคม 13, 2009, 04:40:52 pm
หลังจากผมปฏิบัติธรรมแล้ว ได้โอนบุญให้คนที่ผมรัก(ยังมีชีวิตอยู่) ปรากฏว่าคนคนนั้นฝันถึงผม
และโทรมาหาผม  แต่ไม่ได้เป็นแบบนี้ทุกครั้งไปนะครับ

   สมมุติฐานของผมก็คือ หากปฏิบัติธรรมได้ดีได้บุญมาก คนที่รับบุญจากเรา อาจจะรู้สึกและรับรู้ได้
   อยากให้ทุกท่านช่วยกันพิสูจน์สมมุติฐานของผม อย่างน้อยบุญก็จะตกกับตัวคุณเอง
28309  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ศาสตร์แห่งจิต ฤาเป็น สมาธิ เมื่อ: ธันวาคม 13, 2009, 04:27:09 pm
ผมมีวิดีโอ การฝึกซี่กง ใครต้องการก็แจ้งมานะครับ ผมจะไร้ท์ให้
28310  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: นอนไม่หลับ ตาสว่างทั้งคืน เมื่อ: ธันวาคม 13, 2009, 04:20:07 pm
เห็นด้วยกับคุณทินกร แต่ถ้าทำสมาธิไม่ได้ ช่วงกลางวันหรือเย็น ควรออกกำลังกายให้เหงื่อออกบ้าง
ร่างกายจะเพลีย จะหลับไปเองครับ
28311  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ท่านผู้รู้ ช่วยเรียบเรียง พระพุทธเจ้า 28 พระองค์ ให้หน่อยครับ เมื่อ: ธันวาคม 13, 2009, 12:51:01 pm
19. องค์สมเด็จพระพุทธสิทธัตถะ – ผู้หาบุคคลเสมอมิได้ในโลก

สถานที่ประสูติ เวภารนคร
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าอุเทน
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางสุผัสสาเทวี
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางสุมนาราชเทวี
พระราชโอรส พระนามว่า พระอนุปนราชกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสได้ 10,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา สีวิกากาญจมาศ (วอทอง)
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 40 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ต้นกรรณิการ์
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 10 เดือน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระสัมพลเถร และพระสุมิตตเถร
พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระเรวตเถร
พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระสิวลาเถรี และพระสุรามาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า สุปิยะ และสัมพุทธะ มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางรัมมา และนางสุรัมมา มหาอุบาสิกา
มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 100,000 โกฏิ
พระวรกายสูง 60 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 10,000 โยชน์
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 100,000 ปี

20. องค์สมเด็จพระพุทธติสสะ – ผู้ประเสริฐกว่านักปราชญ์ทั้งหลาย

สถานที่ประสูติ อโนมราชอุทยานแห่งเขมราชธานี
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าชนสันธราช
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางปทุมาเทวี
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางสุภัทราเทวี
พระราชโอรส พระนามว่า พระอานนทราชกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสได้ 8,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ม้าพระที่นั่ง
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 40 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้อาสนะ (ต้นประดู่)
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 15 วัน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระพรหมเทพเถร และพระอุทัยเถร
พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระสัมภวเถร
พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระปุสสาเถรี และพระสุทัตตาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า สัมภระ และสิริ มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางกีสาโคตมี และนางอุปเสนา มหาอุบาสิกา
มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 100,000 องค์
พระวรกายสูง 60 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลหาประมาณมิได้
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 100,000 ปี

21. องค์สมเด็จพระพุทธปุสสะ – ผู้ประทานธรรมอันประเสริฐ

สถานที่ประสูติ กาสีราชธานี
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าชัยเสน
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางสิริมาราชเทวี
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางกีสาโคตมีราชเทวี
พระราชโอรส พระนามว่า พระอานนทราชกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสได้ 9,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ช้างพระที่นั่ง
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 38 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้มลกะ (ไม้มะขามป้อม)
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 7 วัน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระสุรักขิตเถร และพระธัมมเสนเถร
พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระโสภิยเถร
พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระจาลาเถรี และพระอุปจาลาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า นายธนัญชัย และนายวิสาข มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางปทุมา และนางสิรินาคา มหาอุบาสิกา
มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 400,000 องค์
พระวรกายสูง 58 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลหาประมาณมิได้
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 90,000 ปี
อายุพระศาสนา 91 กัลป์

22. องค์สมเด็จพระพุทธวิปัสสี – ผู้หาที่เปรียบมิได้

สถานที่ประสูติ พันธุมดีราชธานี
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าพันธุมหาราชา
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางพันธุมดีราชเทวี
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางสุทัสสนาราชเทวี
พระราชโอรส พระนามว่า พระสมวัตตขันธราชกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสได้ 8,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา รถพระที่นั่ง
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 50 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้แคฝอย
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 8 เดือน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระขันธเถร และพระติสสเถร
พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระอโสกเถร
พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระจันทราเถรี และพระจันทมิตตาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า ปุณณสุมิตต และนาคะ มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางสิริมา และนางอุตตรา มหาอุบาสิกา
มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 84,000 องค์
พระวรกายสูง 80 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 7 โยชน์
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 80,000 ปี
อายุพระศาสนา 49 กัลป์

23. องค์สมเด็จพระพุทธสิขี – ผู้เป็นศาสดาเกื้อกูลแก่สัตว์

สถานที่ประสูติ มิสกราชอุทยานแห่งอรุณวดีนคร
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าอรุณราชา
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางปภาวดีราชเทวี
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางสัพพกามาเทวี
พระราชโอรส พระนามว่า พระอตุลราชกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสได้ 7,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ช้างพระที่นั่ง
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 24 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ต้นปุณฑริกะ (ไม้ซึก) คล้ายกับไม้ปาตลี
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 8 เดือน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระอภิภูเถร และพระสัมภวเถร
พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระเขมังกรเถร
พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระเขมาเถรี และพระประทุมเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า สิริวัฒนะ และนันทะ มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางจิตรา และนางสุจิตรา มหาอุบาสิกา
มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 70,000 องค์
พระวรกายสูง 70 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 3 โยชน์
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 70,000 ปี



24. องค์สมเด็จพระพุทธเวสสภู – ผู้ประทานความสุข

สถานที่ประสูติ อโนมนคร
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าสุปตีตราชา
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางยสวดีราชเทวี
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางสุจิตราเทวี
พระราชโอรส พระนามว่า พระสุปปพุทธราชกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ เมื่อพระชนมายุ 6,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา สีวิกากาญจนมาศ (วอทอง)
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 40 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้รัง
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 6 เดือน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระโสณเถร และพระอุตตรเถร
พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระอุปสันตเถร
พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระรามาเถรี และพระสุมาลาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า โสตถิกะ และรัมมะ มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางโคตมี และนางสิริมา มหาอุบาสิกา
มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 40,000 องค์
พระวรกายสูง 60 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลประมาณมิได้
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 60,000 ปี
อายุพระศาสนา 70,000 ปี

25. องค์สมเด็จพระพุทธกุกกุสันธะ – ผู้นำสัตว์ออกจากกันดาร คือ กิเลส

สถานที่ประสูติ เขมวันราชอุทยานแห่งเขมนคร
ประสูติในตระกูล พราหมณ์
พระพุทธบิดา พระนามว่า อัคคิทัตตพราหมณ์
พระพุทธมารดา พระนามว่า วิสาขาพราหมณี
พระอัครมเหสี พระนามว่า โสภิณีพราหมณี
พระราชโอรส พระนามว่า อุตตรกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสอยู่ 4,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา รถเทียมม้าอาชาไนย
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 80 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้ซึกใหญ่
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 8 เดือน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระวิธูรเถร และพระสัญชีวเถร
พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระพุทธิยะเถร
พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระสามาเถรี และพระจัมปนามาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า อัจจุคาตะ และสุมนะ มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางนันทา และนางสุนันทา มหาอุบาสิกา
มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 40,000 องค์
พระวรกายสูง 40 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 11 โยชน์
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 40,000 ปี

26. องค์สมเด็จพระพุทธโกนาคมนะ – ผู้หักเสียซึ่งข้าศึก คือ กิเลส

สถานที่ประสูติ โสภวดีราชอุทยานแห่งโสภวดีนคร
ประสูติในตระกูล พราหมณ์
พระพุทธบิดา พระนามว่า ยัญญทัตตพราหมณ์
พระพุทธมารดา พระนามว่า อุตตราพราหมณี
พระอัครมเหสี พระนามว่า รุจิคัตตาพราหมณี
พระราชโอรส พระนามว่า สัททวาหกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสอยู่ได้ 3,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ช้างพระที่นั่ง
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 20 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้อุทุมพร (ไม้มะเดื่อ)
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 6 เดือน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระภิโยสเถร และพระอุตตรเถร
พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระโสทิชเถร
พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระสมุทาเถรี และพระอุตตราเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า อุคคะ และโสมเทว มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางวรา และนางสามา มหาอุบาสิกา
มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 30,000 องค์
พระวรกายสูง 30 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลประมาณมิได้
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 30,000 ปี


27. องค์สมเด็จพระพุทธกัสสปะ – ผู้สมบูรณ์ด้วยสิริ

สถานที่ประสูติ อิสิปตนมิคทายวันแห่งนครพาราณสี
ประสูติในตระกูล พราหมณ์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พรหมทัตตพราหมณ์
พระพุทธมารดา พระนามว่า ธนวดีพราหมณี
พระอัครมเหสี พระนามว่า สุนันทาพราหมณี
พระราชโอรส พระนามว่า วิชิตเสนกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสอยู่ได้ 2,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ปราสาทที่ลอยไปในอากาศ
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 15 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้นิโครธ
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 7 วัน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระติสสเถร และพระภารทวาชเถร
พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระสัพพมิตตเถร
พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระอนุฬาเถรี และพระอุรุเวลาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า สุมังคละ และฆฏิการะ มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางวิชิตเสนา และนางภัตรา มหาอุบาสิกา
มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 1 โกฏิ
พระวรกายสูง 20 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลหาประมาณมิได้
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 20,000 ปี


28. องค์สมเด็จพระพุทธโคตมะ – ผู้ประเสริฐแห่งหมู่ศากยราช

สถานที่ประสูติ กรุงกบิลพัสดุ์
ประสูติเมื่อ วันเพ็ญ เดือน 6
ประสูติในตระกูล กษัตริย์ แห่งศากยวงศ์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าสุทโธทน
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางสิริมหามายา
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางยโสธรา
พระราชโอรส พระนามว่า พระราหุลราชกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสอยู่ได้ 29 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ม้าอัศวราช
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 14 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้อัสสัตถะ (ไม้ปาเป้ง)
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 6 ปี
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระติสสเถร และพระโกลิตเถร
พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระอานนทเถร
พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระเขมาเถรี และพระอุบลวัณณาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า จิตตะ และหัตถอาฬวก มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางนันทมาตา และนางอุตตรา มหาอุบาสิกา
พระวรกายสูง 16 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 1 วา
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 80 ปี
อายุพระศาสนา 5,000 ปี


คำถามที่เป็นมหามงคลยิ่ง ผมได้ตอบให้แล้วนะครับ ขออนุโมทนากับคุณ ban ด้วย

ที่มา เว็บพลังจิต
28312  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ท่านผู้รู้ ช่วยเรียบเรียง พระพุทธเจ้า 28 พระองค์ ให้หน่อยครับ เมื่อ: ธันวาคม 13, 2009, 12:44:08 pm
10. องค์สมเด็จพระอโนมทัสสีพุทธเจ้า – ผู้อุดมสูงสุดในหมู่ชน

สถานที่ประสูติ จันทวดีนคร
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้า ยศวราช
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางยโสธรา
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนาง สิริมา
พระราชโอรส พระนามว่า พระอุปสารราชกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ได้ เมื่อพระชนมายุ 10,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา สีวิกากาญจนมาศ (วอทอง)
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 38 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ต้นอชุนะ (ไม้รกฟ้า)
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 10 เดือน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระนิสภเถร และอโนมเถร
พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระวรุณเถร
พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระสุนทราเถรี และพระสุมนาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า นายนันทิวัฒนะ และสิริวัฑฒะ มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางอุปรา และนางปทุมา มหาอุบาสิกา
พระวรกายสูง 58 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 80 ศอก
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 100,000 ปี

11.องค์สมเด็จพระพุทธปทุมะ – ผู้ทำให้โลกสว่าง

สถานที่ประสูติ จัมปานคร
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้า อสมราช
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางอสมาราชเทวี
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนาง อุตตราเทวี
พระราชโอรส พระนามว่า พระรัมมราชกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาส อยู่ 10,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา รถพระที่นั่งเทียมม้าอาชาไนย
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งในวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 38 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า มหาโสณพฤกษ์
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 8 เดือน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระสาลเถร และพระอุปสาลเถร
พระอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระวรุณเถร
พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระราธาเถรี และพระสุราธาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า นายสภิยะ และนายอสมะ มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางรุจิ และนางนันทิมาลา มหาอุบาสิกา
พระวรกายสูง 58 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลหาประมาณมิได้
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 100,000 ปี

12. องค์สมเด็จพระพุทธนารทะ – ผู้เป็นสารถีประเสริฐ

สถานที่ประสูติ ธัญญวดีมหานคร
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้า สุเมธราชา
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางอโนมาเทวี
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนาง วิชิตเสนาเทวี
พระราชโอรส พระนามว่า พระยันทุตรราชกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ได้ 9,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ทรงดำเนินไปด้วยพระองค์เอง
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 57 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า มหาโสณพฤกษ์
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 7 วัน ตรง
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระภัททสาลเถร และพระพิชิตมิตตเถร
พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระวาเสฏฐเถร
พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระอุตตราเถรี และพระผักขุนีเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า อุตรินท์ และวสะ มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางอินทอรี และนางคัณฑี มหาอุบาสิกา
มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 100,000 องค์
พระวรกายสูง 88 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 1 โยชน์
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 90,000 ปี
อายุพระศาสนา 1 อสงไขย

13. องค์สมเด็จพระพุทธปทุมุตระ – ผู้เป็นที่พึ่งของหมู่สัตว์

สถานที่ประสูติ หงสวดีนคร
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้า อานันทมหาราช
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางสุชาดาราชเทวี
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนาง สุละทัคคเทวี
พระราชโอรส พระนามว่า พระอุตตรราชกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสอยู่ 90,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ปราสาทที่ลอยไปในอากาศ
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 38 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ต้นสาละ หรือต้นรัง
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 7 วัน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระเทวลเถร และพระสุชาตเถร
พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระสุมนเถร
พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระอมิตตาเถรี และพระอสมาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า อมิตตะ และติสสะ มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางหัตถา และนางสุจิตตา มหาอุบาสิกา
พระวรกายสูง 58 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 12 โยชน์
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 100,000 ปี
อายุพระศาสนา 30,000 กัลป์

14. องค์สมเด็จพระพุทธสุเมธะ – ผู้หาบุคคลเปรียบมิได้

สถานที่ประสูติ สุทัสสนนคร
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้า สุทัสสนมหาราช
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางสุทัตตาราชเทวี
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนาง สุมนาเทวี
พระราชโอรส พระนามว่า พระปุนัพพราชกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ได้ 9,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ช้างพระที่นั่ง
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 20 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้มหานิมพะ (ไม้สะเดา)
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 8 เดือน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระสุมนเถร และพระสัพพกามเถร
พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระสาครเถร
พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระรามาเถรี และพระสุรมาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า อุรุเวฬ และยสวา มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางยสา และนางสิริมา มหาอุบาสิกา
พระวรกายสูง 88 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 1 โยชน์
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 90,000 ปี

15. องค์สมเด็จพระพุทธสุชาตะ - ผู้เลิศกว่าสัตว์โลกทั้งปวง

สถานที่ประสูติ สุมังคลนคร
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าอุคคตราช
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางปภาวดีราชเทวี
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางสิรินันทาเทวี
พระราชโอรส พระนามว่า พระอุปเสนราชกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ เมื่อพระชนมายุ 9,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ม้าพระที่นั่ง ชื่อ หังสวาสภราชา
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 33 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้มหาเวฬุ (ไม้ไผ่ใหญ่)
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 9 เดือน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระสุสุทัสสนเถร และพระสุเทวเถร
พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระนารทเถร
พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระนาคาเถรี และพระนาคสมาราเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า สุทัตต และจิตต มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางสุภัททา และนางปทุมา มหาอุบาสิกา
พระวรกายสูง 50 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลกาประมาณมิได้
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 90,000 ปี

16. องค์สมเด็จพระพุทธปิยทัสสี – ผู้ประเสริฐกว่าหมู่นรชน

สถานที่ประสูติ สุธัญญราชธานี
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าสุทัตตราช
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางจันทราราชเทวี
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางวิมาลาเทวี
พระราชโอรส พระนามว่า พระกัญจนเวฬกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ เมื่อพระชนมายุ 9,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา รถพระที่นั่ง
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 53 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้กุ่ม
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 6 เดือน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระปาลิตเถร และพระสัพพทัสสีเถร
พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระโสภิตเถร
พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระสุชาดาเถรี และพระธัมมทินนาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า สันตกะ และธัมมิก มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางวิสาขา และนางธัมมทินนา มหาอุบาสิกา
พระวรกายสูง 80 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลหาประมาณมิได้
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 90,000 ปี

17. องค์สมเด็จพระพุทธอัตถทัสสี – ผู้มีพระกรุณา

สถานที่ประสูติ สุจิรัตถราชอุทยานแห่งสาครราชธานี
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าสาครราช
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางสุทัสสนาราชเทวี
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางวิสาขาราชเทวี
พระราชโอรส พระนามว่า พระเสลราชกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสได้ 10,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ม้าพระที่นั่ง
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 53 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้จำปา
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 8 เดือน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระสันตเถร และพระอุปสันตเถร
พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระอภัยเถร
พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระธรรมาเถรี และพระสุธรรมาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า นกุละ และนิสภะ มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางมจิลา และนางสุนันทา มหาอุบาสิกา
มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 9 โกฏิ
พระวรกายสูง 80 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 100 โยชน์
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 100,000 ปี

18. องค์สมเด็จพระพุทธธรรมทัสสี – ผู้บรรเทามืด

สถานที่ประสูติ สรณราชอุทยานแห่งสรณราชธานี
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าสรณราชา
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางสุนันทาราชเทวี
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางวิจิโกลี
พระราชโอรส พระนามว่า พระวัฒนราชกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสได้ 8,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ปราสาทที่ลอยไปในอากาศ
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 50 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้ไทรย้อย
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 8 วัน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระปทุมเถร และปุสสเทวเถร
พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระสุเนตตเถร
พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระเขมาเถรี และพระสัจจนามาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า สุภัททะ และกฏิสหะ มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางสาฬสา และนางกฬิสสา มหาอุบาสิกา
พระวรกายสูง 80 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 10,000 โยชน์
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 100,000 ปี

(อ่านต่อข้างล่าง)
28313  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ท่านผู้รู้ ช่วยเรียบเรียง พระพุทธเจ้า 28 พระองค์ ให้หน่อยครับ เมื่อ: ธันวาคม 13, 2009, 12:39:22 pm
พระพุทธองค์ทรงกล่าวไว้ว่า

"จำนวนพระพุทธเจ้ามีมากมายกว่าจำนวนเม็ดทรายในมหาสมุทร"
[/color]


พระพุทธเจ้า 28 พระองค์

ความแตกต่างขององค์สมเด็จพระสัมาสัมพุทธเจ้า บางประการ....
จากการศึกษา....
ที่ค้นพบ และเห็นว่า พระพุทธองค์ ทรงมีความแตกต่างกัน บางประการ ดังนี้....

1. วรรณะของพระองค์ (เท่าที่พบ มี พราหมณ์ และ กษัตริย์)
2. พุทธลักษณะ ขนาดพระวรกาย
3. พาหนะที่ทรงเสด็จออกบรรพชา
4. ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้
5. ระยะเวลา ที่ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้
6. พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย
7. จำนวนพระอรหันต์ ที่เป็นพุทธบริวารแวดล้อมตามเสด็จ
8. พระชนมายุของพระพุทธองค์
9. อายุ การประกาศพระศาสนา

--------------------------------------

สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ย้อนขึ้นไป 28 พระองค์(นับตั้งแต่ สมเด็จองค์ปัจจุบัน)
(คัดลอกจากหนังสือ หลวงปู่สอนหลาน หน้า 142-170)

พระพุทธเจ้า 28 พระองค์ นี้ หลวงปู่ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา ได้คัดลอกจากภาษาล้านนา และแปลเก็บไว้ในหอพระไตรปิฎก
ณ วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม อำเภอ ลี้ ลำพูน

ก็ลองพิจารณาดูนะครับ ถึงความแตกต่างกันของพระพุทธองค์....

ประวัติพระพุทธเจ้า 28 พระองค์

1. องค์สมเด็จพระพุทธตัณหังกร - ผู้กล้าหาญ
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้านันทราช
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางสุนันทราชาเทวี
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ได้ 10,000 ปี
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 7 วัน
พระวรกายสูง 18 ศอก
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 20,000 ปี

2. องค์สมเด็จพระพุทธเมธังกร – ผู้มียศใหญ่

ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้า เทโว
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนาง ยะสุนทราชาเทวี
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ได้ 80,000 ปี
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 15 วัน
พระวรกายสูง 18 ศอก
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 90,000 ปี

3. องค์สมเด็จพระพุทธสรณังกร – ผู้เกื้อกูลแก่โลก

ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้า สุมาเลราชา
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนาง ยสะเทวี
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ได้ 10,000 ปี
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 2 เดือน กับ 20 วัน
พระวรกายสูง 18 ศอก
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 60,000 ปี

4. องค์สมเด็จพระพุทธทีปังกร – ผู้ทรงไว้ซึ่งปัญญาอันรุ่งเรือง

สถานที่ประสูติ กรุงรัมมวดีมหานคร
ประสูติเมื่อ วันเพ็ญ เดือน 8 อาสาฬหนักขัตฤกษ์
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้า นรเทวราช(พระเจ้าสุเทพ)
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางเจ้า สุเมธา
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนาง ปทุมาราชเทวี
พระราชโอรส พระนามว่า พระอสุภขันธกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ เมื่อพระชนมายุ 10,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ช้างพระที่นั่ง
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 9 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ต้นปิปผลิ
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 10 เดือน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระสุมังคลเถร และพระติสสเถร
พระอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระสาคตเถร
พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระนันทาเถรี และพระสุนันทาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า ตปุสสะ และภัลลิกะ มหาอุบาสก
อัครอุปัฎฐายิกา ชื่อว่า นางสิริมา และนางโสณา มหาอุบาสิกา
มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 400,000 องค์
พระวรกายสูง 80 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 10 โยชน์
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 100,000 ปี
อายุพระศาสนา 100,000 ปี

5. องค์สมเด็จพระพุทธพระโกณฑัญญะ – ผู้เป็นประมุขแห่งหมู่ชน

สถานที่ประสูติ กรุงรัมมวดีมหานคร
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้า สุนันทราช
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนาง สุชาดาราชเทวี
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนาง รุจิราชเทวี
พระราชโอรส พระนามว่า พระวิชิตเสนกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ เมื่อพระชนมายุได้ 10,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา รถพระที่นั่งเทียมม้าอาชาไนยคู่
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งในวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 58 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ต้นพญารัง
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 10 เดือน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระภัททเถร และพระสุภัททเถร
พระอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระอนุรุทธเถร
พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระติสสาเถรี และพระอุปัสสนาเถรี
มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน แสนโกฏิ องค์
พระวรกายสูง 18 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลหาประมาณมิได้
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 200,000 ปี
อายุพระศาสนา 100,000 ปี

6. องค์สมเด็จพระพุทธพระสุมังคละ – ผู้เป็นบุรุษประเสริฐ

สถานที่ประสูติ อุตตรนคร
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้า อุตตรมหาราช
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางอุตตรราชเทวี
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนาง ยสาวดี
พระราชโอรส พระนามว่า พระสีวระราชกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ เมื่อพระชนมายุ 70,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ม้าพระที่นั่ง
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งในวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 57 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ต้นนาคพฤกษ์(กากะทิง)
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 8 เดือน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระเทวเถร และพระธรรมเสนเถร
พระอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระปาลิตเถร
พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระสีวราเถรี และพระอโสกาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า นันทะ และวิสาขะ มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า อนุฬา และสุมนา มหาอุบาสิกา
พระวรกายสูง 80 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 10,00 โยชน์
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 90,000 ปี

7. องค์สมเด็จพระพุทธสุมนะ – ผู้เป็นธีรบุรุษมีพระหทัยงาม

สถานที่ประสูติ เมขละนคร
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้า สุทัตตมหาราชา
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางเจ้า สิริมา
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนาง ฏังสกี
พระราชโอรส พระนามว่า พระอนุปมราชกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ อยู่นาน 9,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ช้างพระที่นั่ง
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งในวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 60 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ต้นนาคพฤกษ์(กากะทิง)
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 10 เดือน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระสรณเถร และพระภาวิตัตตเถร
พระอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระอุเทนเถร
พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระโสณาเถรี และพระอุปโสณาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า วรุณะ และสรณะ มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า จารา และอุปจารา มหาอุบาสิกา
พระวรกายสูง 90 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลหาประมาณมิได้
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 90,000 ปี
อายุพระศาสนา 90,000 ปี

8. องค์สมเด็จพระพุทธเรวตะ – ผู้เพิ่มพูนความยินดี

สถานที่ประสูติ สุธัญญวดีนคร
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าวิปุลราชา
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางวิปุลาราชเทวี
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนาง สุทัสนา
พระราชโอรส พระนามว่า พระวรุณราชกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสอยู่ 6,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา รถพระที่นั่งเทียบม้าอาชาไนย
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งในวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 53 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า นาคพฤกษ์
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 7 เดือน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระวรุณเถร และพรหมเทวะเถร
พระอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระสัมภวะเถร
พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระภัททราเถรี และพระสุภัททราเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า วรุณ และสรภะมหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า ปาลา และอุปปาลา มหาอุบาสิกา
พระวรกายสูง 80 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 1 โยชน์
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 60,000 ปี

9. องค์สมเด็จพระพุทธโสภิตะ – ผู้สมบูรณ์ด้วยพระคุณ

สถานที่ประสูติ สุธรรมนคร
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าสุธรรมราช
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนาง สุธรรมาเทวี
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนาง มจิลาราชเทวี
พระราชโอรส พระนามว่า พระสีหราชกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสอยู่ 9,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ปราสาทที่ลอยไปในอากาศ
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 38 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า นาคพฤกษ์ (ไม้กากะทิง)
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 7 วัน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระอสมเถร และ สุเมธเถร
พระอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระอโนมเถร
พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระนกุฬาเถรี และพระสุชาตาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า นายรัมมะ และ นายสุเนตตะ มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางนกุฬา และนางสุชาตา มหาอุบาสิกา
พระวรกายสูง 58 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลหาประมาณมิได้
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 90,000 ปี

(อ่านต่อข้างล่าง)
28314  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: กาลามสูตร กับ อริยธน ขัดกันหรือป่าว เมื่อ: ธันวาคม 13, 2009, 12:20:45 pm
คุณฟ้าใสครับ คุณนำกาลามสูตรมาลงไม่ครบครับ ที่ขาดไปมีดังนี้ครับ

ต่อเมื่อใด รู้เข้าใจด้วยตนว่า ธรรมเหล่านั้น เป็นอกุศล เป็นกุศล มีโทษ ไม่มีโทษ เป็นต้นแล้ว จึงควรละหรือถือปฏิบัติตามนั้น
 
     สูตรนี้ ในบาลีเรียกว่า เกสปุตติยสูตร ที่ชื่อกาลามสูตร เพราะทรงแสดงแก่ชนเผ่ากาลามะ แห่งวรรณะกษัตริย์ ที่ชื่อเกสปุตติยสูตร เพราะพวกกาลามะนั้นเป็นชาวเกสปุตตนิคม
A.I.189     องฺ.ติก.๒๐/๕๐๕/๒๔๑.
________________________________________
ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ของท่าน ป.อ.ปยุตโต

คุณฟ้าใสครับลองดู ธรรมคุณ ๖ แล้วจะเข้าใจคุณสมบัติของธรรม ของพระพุทธเจ้า

ธรรมคุณ ๖ (คุณของพระธรรม — virtues or attributes of the Dhamma)

๑. สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม (พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว คือ ตรัสไว้เป็นความจริงแท้ อีกทั้งงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด พร้อมทั้งอรรถพร้อมทั้งพยัญชนะ ประกาศหลักการครองชีวิตอันประเสริฐ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง — Well proclaimed is the Dhamma by the Blessed One)
 
๒. สนฺทิฏฺฐิโก (อันผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง คือ ผู้ใดปฏิบัติ ผู้ใดบรรลุ ผู้นั้นย่อมเห็นประจักษ์ด้วยตนเองไม่ต้องเชื่อตามคำของผู้อื่น ผู้ใดไม่ปฏิบัติ ไม่บรรลุ ผู้อื่นจะบอกก็เห็นไม่ได้ — to be seen for oneself)

๓. อกาลิโก (ไม่ประกอบด้วยกาล คือ ไม่ขึ้นกับกาลเวลา พร้อมเมื่อใด บรรลุได้ทันที บรรลุเมื่อใด เห็นผลได้ทันที อีกอย่างว่า เป็นจริงอยู่อย่างไร ก็เป็นอย่างนั้น ไม่จำกัดด้วยกาล — not delayed; timeless)

๔. เอหิปสฺสิโก (ควรเรียกให้มาดู คือ เชิญชวนให้มาชม และพิสูจน์ หรือท้าทายต่อการตรวจสอบ เพราะเป็นของจริงและดีจริง — inviting to come and see; inviting inspection)

๕. โอปนยิโก (ควรน้อมเข้ามา คือ ควรเข้ามาไว้ในใจ หรือน้อมใจเข้าไปให้ถึง ด้วยการปฏิบัติให้เกิดมีขึ้นในใจ หรือให้ใจบรรลุถึงอย่างนั้น หมายความว่า เชิญชวนให้ทดลองปฏิบัติดู อีกอย่างหนึ่งว่าเป็นสิ่งที่นำผู้ปฏิบัติให้เข้าไปถึงที่หมายคือนิพพาน — worthy of inducing in and by one’s own mind; worthy of realizing; to be tried by practice; leading onward)

๖. ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ (อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน คือ เป็นวิสัยของวิญญชนจะพึงรู้ได้ เป็นของจำเพาะตน ต้องทำจึงเสวยได้เฉพาะตัว ทำให้กันไม่ได้ เอาจากกันไม่ได้ และรู้ได้ประจักษ์ที่ในใจของตนนี่เอง — directly experienceable by the wise)
 
คุณข้อที่ ๑ มีความหมายกว้างรวมทั้งปริยัติธรรม คือ คำสั่งสอนด้วย ส่วนข้อที่ ๒ ถึง ๖ มุ่งให้เป็นคุณของโลกุตตรธรรม จะเห็นได้ในที่อื่นๆ ว่า ข้อที่ ๒ ถึง ๖ ท่านแสดงไว้เป็น คุณบทของนิพพาน ก็มี
M.I.37; A.III.285.     ม.มู.๑๒/๙๕/๖๗; องฺ.ฉกฺก.๒๒/๒๘๑/๓๑๘.
________________________________________
ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ของท่าน ป.อ.ปยุตโต

พระพุทธเจ้าไม่ได้บังคับให้ใครเชื่อในธรรมของท่าน แต่ท้าให้พิสูจน์ด้วยตนเอง
ต่อเมื่อปฏิบัติถึงแล้ว จะเข้าใจและรู้ได้ด้วยตนเอง
"อย่าได้ด่วนปฏิเสธ ถ้ายังไม่ได้พิสูจน์"



คุณฟ้าใสครับ อ่านแล้วคงพอเข้าใจนะครับ

วิจิกิจฉา คือ ความลังเลสงสัย ในพระรัตนตรัย
อยู่ในนิวรณ์ ๕ และยังอยู่ในสังโยชน์ ๑๐
โสดาบันปัตติผลเท่านั้นที่ละได้

ขอเป็นกำลังใจให้ครับ
28315  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: พระพุทธเจ้า เวลาเทศนา พระองค์แสดงแต่พระธรรมอย่างเดียวหรือไ่ม่ครับ เมื่อ: ธันวาคม 13, 2009, 11:23:50 am
มาถึงคำถามของคุณนิมิต  คุณคงจะพยายามถามว่า เวลาพระองค์เทสน์นั้น
 
    -ได้ปฏิบัติกรรมฐานไปด้วยหรือเปล่า (ทำพร้อมกัน)
    -หลังเทสน์เสร็จ ได้พาคนฟังนั่งกรรมฐานหรื่อเปล่า

 ถ้าผมเข้าใจผิดต้องขอโทษด้วย

 กรรมฐานมีสองอย่างครับ คือ สมถกรรมฐาน และ วิปัสสนากรรมฐาน(คุณคงทราบดี)
สมถะนั้น เป็นเรื่องการแสงหา เพียงสมาธิ ความสงบชั่วคราว และอิทธิฤทธิ์ต่างๆ
ส่วนวิปัสสนา เป็นการแสวงหา ความหลุดพ้นจากกิเลส อย่างถาวร

ต่อไปนี้จะเป็นความเห็นส่วนตัวผมนะครับ(ไม่ใช่คำสอน)

      ผมขอตั้งข้อสังเกตว่า พระองค์บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว
(สำเร็จอรหันต์) ไม่มีสิ่งใดที่พระองค์ไม่รู้
      ความเป็นไปได้ก็คือ ไม่มีความจำเป็นใดๆที่พระองค์จะต้องเจริญวิปัสสนากรรมฐาน
ในขณะเทสน์

      แต่โดยทั่วไป การพูดการเทสน์ของสาวกอย่างเราๆ ต้องใช้สมาธิระดับหนึ่ง
ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้อีกเช่นกัน ที่พระองค์จะเจริญสมถะ ในขณะเทสน์

      คำถามต่อมา แล้วพระองค์พาคนฟัง นั่งกรรมฐาน หลังเทสน์เสร็จหรือไม่
ขอตอบว่า ไม่ทราบ ผมยังอ่านพระสูตรยังไม่จบ

     คุณนิมิตครับ สังสัยลังเลได้ครับ แต่อย่าคิดมาก
     วิจิกิจฉา คือ ความลังเลสงสัย ในพระรัตนตรัย
     อยู่ใน นิวรณ์ ๕ และยังอยู่ใน สังโยชน์ ๑๐ โสดาบันเท่านั้นที่ละได้

[/color]
28316  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: พระพุทธเจ้า เวลาเทศนา พระองค์แสดงแต่พระธรรมอย่างเดียวหรือไ่ม่ครับ เมื่อ: ธันวาคม 13, 2009, 10:25:09 am
คุณสายทอง พยายามที่จะตอบ ขออนุโมทนากับความพยายามอันนั้น

คนที่คุณสายทองขอให้ช่วยนั้น ไม่น่าจะใช่คนแถวนี้

เห็นแก่ความพยายามของคุณสายทอง ผมจะขออธิบายให้ให้เข้าใจดังนี้

      สามข้อที่คุณสายทองกล่าวถึงนั้นที่ถูกต้อง คือ


อาการที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน ๓ (ลักษณะการสอนของพระพุทธเจ้า ที่ทำให้คำสอนของพระองค์ ควรแก่การประพฤติปฏิบัติตาม และทำให้เหล่าสาวกเกิดความมั่นใจเคารพเลื่อมใสในพระองค์อย่างแท้จริง — the Three Aspects of the Buddha’s Teaching; the Buddha’s manners of teaching)

๑. อภิญญายธัมมเทสนา (ทรงแสดงธรรมด้วยความรู้ยิ่ง, ทรงรู้ยิ่งเห็นจริงเองแล้ว จึงทรงสอนผู้อื่น เพื่อให้รู้ยิ่งเห็นจริงตาม ในธรรมที่ควรรู้ยิ่งเห็นจริง — Having himself fully comprehended, he teaches others for the full comprehending of what should be fully comprehended; teaching with full comprehension)

๒. สนิทานธัมมเทสนา (ทรงแสดงธรรมมีเหตุผล, ทรงสั่งสอนชี้แจงให้เห็นเหตุผล ไม่เลื่อนลอย — He teaches the doctrine that has a causal bias; teaching in terms of or with reference to causality)

๓. สัปปาฏิหาริยธัมมเทสนา (ทรงแสดงธรรมให้เห็นจริงได้ผลเป็นอัศจรรย์, ทรงสั่งสอนให้มองเห็นชัดเจนสมจริงจนต้องยอมรับ และนำไปปฏิบัติได้ผลจริงเป็นอัศจรรย์ — He teaches the doctrine that is wondrous as to its convincing power and practicality; teaching in such a way as to be convincing and practical)

ข้อ ๑ บางท่านแปลว่า ทรงแสดงธรรมเพื่อความรู้ยิ่ง
M.II.9; A.I.276.   ม.ม.๑๓/๓๓๐/๓๒๒; องฺ.ติก.๒๐/๕๖๕/๓๕๖.
________________________________________


 
28317  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: พระอุตตระเถระ กับพระครูโลกเทพอุดร คือองค์เดียวกันใช่หรือไม่ เมื่อ: ธันวาคม 12, 2009, 03:18:10 pm
(ต่อจากข้างบนครับ)

ธรรมะบางข้อของ บรมครูพระเทพโลกอุดร  สรุปย่อ ๆ บางส่วนได้ดังนี้
๑. ธรรมะของท่านต้องเกิดจากการปฎิบัติเท่านั้น
๒. ต้องมีสติอยู่ทุกลมหายใจเข้าออก
๓ อยากรู้ธรรมะหรือคำสอนของท่านให้ดูจิตตนเอง
๔. ให้รักผู้อื่นเหมือนที่รักตน
๕. ให้ทำตัวเหมือนน้ำ

- น้ำไปได้ทุกสถานที่ อยู่ในน้ำ ในอากาศ ในดิน
- น้ำอยู่ได้ทุกสภาวะ เป็นไอน้ำ เป็นน้ำ เป็นน้ำแข็ง
- น้ำให้ความชุ่มชื่น สดชื่น แก้กระหาย น้ำให้ชีวิต และทำลายชีวิต
- น้ำให้ความความเย็น ให้ความร้อน
- น้ำมีรูปร่างต่าง ๆ กันตามรูปร่างของภาชนะ
- น้ำใช้ล้างความสกปรกให้สะอาด ฯลฯ

ปกิณกะธรรมต่างๆ

นิพพานนัง ปรมัง สุขัง “ นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง นิพพานไม่มีทุกข์
ไปถึงพระนิพพานแล้วไม่มีคำว่าตาย
ไม่มีคำว่าเคลื่อน ไม่มีคำว่าไปไหน
อยู่ที่พระนิพพาน เป็นสุข
ไม่แก่ ไม่ป่วย ไม่ตาย”

พระคาถาบูชาบรมครูพระเทพโลกอุดร
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
โย อะริโย มะหาเถโร อะระหัง อะภิญญาธะโร
ปะฎิสัมภิทัปปัตโต เตวิชโช พุทธะสาวะโก
พะหู เมตตาทิวาสะโน มะหาเถรานุสาสะโก
อะมะตัญเญวะ สุชีวะติ อะภินันที คหาวะนัง
โส โลกุตตะโร นาโม อัมเหหิ อะภิปูชิโต
อิธะ ฐานูปะมาคัมมะ กุสะเล โน นิโยชะเย
ปุตตะเมวะ ปิยัง เทสิ มัคคะผะลัง วะ เทสสะติ
ปะระมะสารีริกะธาตุ วะชิรัญจาปิวานิตัง
โส โลเก จะ อุปปันโน เอเกเนวะ หิตังกะโร
อะยัง โน โข ปุญญะลาโภ อัปปะมัตโต ภะเวตัพโพ
สาธุกันตัง อะนุกะริสสามะ ยัง วะเรนะ สุภาสิตัง
โลกุตตะโร จะ มะหาเถโร เทวะตานะระปูชิโต
โลกกุตตะระคุณัง เอตัง อะหัง วันทามิ ตัง สะทา
มะหาเถรา นุภาเวนะ สุขัง โสตถี ภะวันตุ เม

(แปล ขอน้อบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง (๓ครั้ง)
พระมหาเถระผู้เป็นอริยเจ้าองค์ เป็นพระอรหันต์ผู้ทรงอภิญญา ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา พุทธสาวกผู้ได้วิชชาสาม
มีเมตตาต่อคนทั้งหลายเป็นวิหารธรรม พระมหาเถระผู้ชำนาญในการสั่งสอน ดำรงชีวิตอมตะ ยินดีในการอยู่ป่าคือถ้ำ
พระมหาเถระองค์นั้นมีนามว่า โลกอุดร อันพวกเราบูชาอย่างยิ่ง เพราะอาศัยในคุณธรรมในองค์ท่าน ชักชวนพวกเราประกอบกุศลทั้งหลาย
ท่านให้ความรักพวกเราเหมือนบุตร แสดงมรรคและผลเท่านั้น พระธาตุของท่านส่องประกายดังเพชร
พระมหาเถระอุบัติขึ้นในโลก และทำประโยชน์โดยส่วนเดียวด้วย นับเป็นบุญลาภของพวกเรา อันหาประมาณมิได้
พวกเราจักกระทำตามคำสั่งสอนของท่านอันเป็นยอดสุภาษิต อนึ่งพระมหาเถระนามว่าโลกอุดร เป็นที่เคารพบูชาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ข้าพเจ้าจักกราบไหว้บูชาคุณของพระอุตตระตลอดกาลทุกเมื่อ ด้วยอานุภาพแห่งพระมหาเถระ ขอความสุขสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อเทอญ


ฉบับย่อ
นะโม ๓ จบ

โลกกุตตะโร จะ มะหาเถโร อะหัง วันทามิ ตัง สะทา เมตตาลาโภ นโสมิยะ อะหังพุทโธฯ

ภาวนา ๓ จบ ๗ จบ หรือ ๙ จบ เช้า-เย็น ตื่นนอน และก่อนนอน

พระคาถาบูชาบรมครูเทพโลกอุดร
นะโม ๓ จบ
อุตะเร อะริโยนามะ วันทิตาเตจะ อัมเหหิ
สักกาเรหิ จะปูชิตา เอเตสัง อานุภาเวนะ
สัพพะ โสตถี ภะวันตุโน
เมตตา ลาโภ นะโส มิยะ อะหะ พุทโธ
เมตตา ลาโภ นะโส ทะยะ อะหะ พุทโธ
นะโมพุทธายะ นะมะพะธะ จะภะลาโภ
นิโสทะโย อะหะพุทโธ นะโมพุทธายะ
อิตติถะลาโภ เอกลาโภ ชะโยนิจจัง


พระคาถาบูชาบรมครูเทพโลกอุดร
(อธิษฐานฤทธิ์) นะโม ๓ จบ

อะอุมะ พุทโธ นะโมพุทธายะ
นะมะพะธะ รัตตะนะตะยา นุภาเวนะ
สะทา โสตถี ภะวันตุเม
อิทธิ อิทธิ ฤทธิ ฤทธิ สิทธิ สิทธิ
ชัยยะ ชัยยะ ลาภะ ลาภะ
อุตระเรนะ
พุทธะ นิมิตตัง อิติ
ธัมมะ นิมิตตัง อิติ
สังฆะ นิมิตตัง อิติ

(ตั้งจิตอธิษฐานตามความปราถนา)

พระคาถาขอพบบรมครูพระเทพโลกอุดร
นะโม ๓ จบ
“ โย อะริโย มะหาเถโร นามะ อุตะโร
จะอำมะเหหิ ปูชิตา เอเตนะ ชะยะมังคะลัง”

ท่องวันละ ๓ จบก่อนนอนเป็นเวลา ๑๑ วันติดต่อกัน เมื่อครบแล้ว รุ่งเช้าวันที่ ๑๒ ให้จัดอาหารเจไปรอใส่บาตรที่สถานอันเหมาะสม เช่น หน้าบ้านของตัวเราก็ได้

ขอเรียนว่าอาจจะไม่พบเห็นทุกคน แต่ให้ทำใหม่ได้อีกใน ๖ เดือนต่อไป หากมีความนับถือ คือศรัทธาจริง ก็คงจะพบในครั้งใดครั้งหนึ่งแน่นอน คาถาบทนี้อย่างน้อย ก็เคยมีคนได้พบบรมครูพระเทพโลกอุดรมาแล้ว ก่อนจะท่องให้จัดเครื่องบูชาเสียก่อน คือ

๑. ธูป ๙ ดอก ๒. เทียน ๙ เล่ม ๓. ดอกไม้สีขาว ๙ ดอก ผ้าขาวหรือกระดาษขาวเท่าฝ่ามือ ๙ ผืน / แผ่น ใส่พานหรือถาดไว้ในที่สูงหรือหน้าที่บูชาพระ ( จัดครั้งเดียวต่อพิธี ๑๑ วัน ที่ทำพิธี ๑๑ วัน ที่ทำพิธีแต่ละครั้ง ) จะทราบได้อย่างไรว่าเป็นบรมครูพระเทพโลกอุดร เพราะท่านไม่มาในร่างจริงเสมอไป ก็ขอให้สังเกตที่ข้อเท้า คือเท้ายาวผิดปกติ

บางคนก็ได้เห็นท่านในรูปตัวจริงก็มี บางคนเห็นเป็นพระหนุ่มรูปงาม งามเหนือมนุษย์ทั่วไป

ท่านบอกว่า ผู้ใดนับถือศรัทธาท่านจริง และเวลาภาวนาทำใจเหมือนเด็กแรกเกิดได้ ผู้นั้นได้พบกับท่านแน่นอน

เครดิตโดย   พ่อมดโลจิ สมาชิกเว็บพลังจิต
ที่มา  เว็บไซต์พลังจิต
28318  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: พระอุตตระเถระ กับพระครูโลกเทพอุดร คือองค์เดียวกันใช่หรือไม่ เมื่อ: ธันวาคม 12, 2009, 03:09:50 pm

ผมเชื่อว่าคุณ utapati มีข้อมูลอยู่บ้างแล้ว สิ่งที่ผมจะเสนอ
อาจเป็นสิ่งที่หลายๆคนทราบอยู่ก่อนแล้ว อย่าได้ถือสานะครับ

บรมครูพระเทพโลกอุดร

ตามหลักฐานบันทึกในหนังสือมหาวงค์ พงศาวดารลังกา (คำบรรยายของหลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ อดีตภัณฑารักษ์เอก กรมศิลปากร ) พ.ศ. ๓๐๓ และตามหลักฐานของวัดเพชรพลี (วัดพริบพรีเดิม บันทึกอักษรเทวนาคี ขุดค้นพบ ณ ซากศิลาวัดบัวคูบัว ต.คูบัว จ.ราชบุรี ) กล่าวว่า พระพุทธศาสนาได้เริ่มแพร่เข้าสู่แคว้นสุวรรณภูมิ ใน พ.ศ. ๒๓๕ ( ซึ่งระยะต่างกัน ๖๘ ปี พ.ศ. ๓๐๓-๒๓๕ ) พระเจ้าอโศกมหาราชได้ทรงกระทำตติยสังคายนาพระไตรปิฎก คือ ทำการชำระพระไตรปิฎกขึ้นเป็นครั้งที่ ๓ ครั้นแล้วจึงอาราธนาพระโมคคลีบุตรติสสเถระ องค์อรหันต์เป็นประธานคัดเลือกบรรดาพระอรหันตเถระ ออกทำการเผยแพร่พระพุทธศาสนายังนานาประเทศ โดยแบ่งเป็น ๙ คณะ คณะที่ ๘ ไปยังสุวรรณภูมิประเทศ ( พม่า มอญ เขมร ลาว รามัญ ญวน ไปจรดแหลมมลายู หรือที่เรียกว่าอินโดจีน เป็นสุวรรณภูมิทั้งสิ้น )


คณะธรรมฑูตคณะที่ ๘ ประกอบด้วย
๑. พระโสณเถระ
๒. พระอุตระเถระ
๓. พระฌานียะ
๔. พระภูริยะ
๕. พระมูนียะ
สามเณรอิสิจน์ สามเณรคุณะ สามเณรนิตตย เขมกะอุบาสก อนีฆาอุบาสก อดุลลยอำมาตย์ และคุณหญิงอดุลยา พราหมณ์และนางพราหมณี ผู้คนอีก ๓๘ คน ได้มาพักที่วัดช้างค่อม ( นครศรีธรรมราช ) เมื่อวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือนอ้าย พ.ศ. ๒๓๕ ออกบิณฑบาตวันขึ้น ๑๕ ค่ำ แล้วเทศนาพรหมชาลสูตร และได้วางวิธีอุปสมบทญัตติจถกรรมวาจา โดยใช้อุทกเขปเสมาหรือเสมาน้ำและได้วางเพศชีสยาม โดยถือแบบเหล่าพระสากิยานีซึ่งเป็นต้นของพระภิกษณี โดยบวชหรือบรรพชาไม่มีเรือน ( อาคารสมา อนคาริย ปพพชชา ) ได้วางวิธีสวดปาติโมกข์ หรืออุโบสถกรรม ปวารณากรรม

เมื่อพระเจ้าโลกละว้า (เจ้าผู้ครองแคว้น สุวรรณภูมิ ) รับสั่งให้มนขอมพิสณุขอมเฉย ขอมสอน ขอมเมือง สร้างวัดมหาธาตุ ท่านได้วางวิธีกำหนดนิมิตผูกขันธสีมา พ.ศ. ๒๓๘ เดือน ๕ ขึ้น ๑๕ ค่ำ

ขณะอยู่ระหว่างการก่อสร้าง ท่านได้สอนพระบวชใหม่ให้ท่องพระไตรปิฎกจบหลายองค์ แล้วจึงวางจึงวิธีสวด สาธยายโดยฝึกซ้อมให้คล่อง เมื่อคล่องแล้วจึงจะสัชฌากันจริง ๆ ท่านให้มนขอมปั้นพระพุทธรูปด้วยปูนขาวเป็นพระประธานในโรงพิธี เมื่อเรียบร้อยแล้วท่านวางวิธีกราบ สวดมนต์ ไหว้พระ เห็นดีแล้วจึงให้สร้างพระพุทธรูปประจำพระอุโบสถ จึงเป็นธรรมเนียมสืบต่อมาท่านได้วางวิธีกฐิน และธุดงค์ คือเที่ยวจารึกไปในเมืองต่าง ๆ

การสร้างพระพุทธรูปในสมัยดังกล่าวนี้ก็ล้วนเป็นสิ่งสมมติ พระพุทธรูปเป็นองค์สมมติ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระสงฆ์ก็เป็นเพียงสมมติสงฆ์ สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ส่วนพระธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านใช้วงล้อเกวียนประดิษฐ์เป็นพระธรรมจักรแทนพระธรรม กับทีทิค ( มิ-คะ) คือสัตว์ประเภทกวาง ฟาน หรือเก้ง เป็นเครื่องหมายในสมัยสุวรรณภูมิ

ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๙ พระโสณเถระกับพระเจ้าโลกละว้าราชา ได้ส่งพระภิกษุสยาม ๑๐ รูป มีพระญาณจรณะ (ทองดี) เป็นหัวหน้า พร้อมด้วยสามเณร ๓ รูปอุบาสก อุบาสิกา ได้เรียนและศึกษา ณ กรุงปาตลีบุตร แคว้นมคธ นับเป็นเวลา ๕ ปี ลุปี พ.ศ. ๒๔๕ พระเจ้าโลกละว้าสิ้นพระชนม์ ตะวันทับฟ้า ราชบุตรขึ้นครองราชย์ ทรงพระนามว่า ตะวันอธิราชเจ้า พระโสณเถระอยู่ ณ แดนสุวรรณภูมิวางรากฐานพระธรรมวินัยในพระบวรพระพุทธศาสนา เป็นระยะเวลา ๒๙ ปี และนิพพานในปี พ.ศ. ๒๖๔

ตามหลักฐานบันทึกนี้จะเห็นได้ว่า กล่าวเพียงพระโสณเถระ ไม่ได้กล่าวถึงพระอุตรเถระ เป็นปัญหาว่า บรมครูพระเทพโลกอุดรเป็นองค์ใดกันแน่ เพราะในสมัยปัจจุบันกล่าวถึงบรมครูพระเทพโลกอุดร ไม่มีใครรู้จักพระอุตรเถระ

เรื่องราวเกี่ยวกับบรมครูพระเทพโลกอุดรมีมาช้านานแล้ว เริ่มตั้งแต่ยุคสมัยสุวรรณภูมิ หริภุญไชย สุโขทัย อยุทยา และรัตนโกสินทร์ หลักฐานที่ปรากฏชัดเจนแต่ขาดการค้นคว้าอย่างจริงจัง รู้อยู่ในหมู่คนกลุ่มน้อย รู้ทางเจโตปริญาณบ้าง เช่น พระอริยคุณาธาร (ปุสโสเส็ง ) และหลวงปู่คำคะนิง ต่างเห็นพ้องต้องกันว่า “ บรมครูพระเทพโลกอุดร คือพระอุตรเถระ” ผู้ที่เคยได้พบท่านได้ถามท่านว่า “ บรมครูพระเทพโลกอุดรท่านคือพระอุตรเถระใช่ไหม” ท่านไม่ปฎิเสธ

ถ้าเป็นอย่างนั้นจริง ท่านมีอายุ ๒,๐๐๐ กว่าปีแล้วท่านอยู่ได้อย่างไรกัน จึงมีความเชื่อแบ่งออกเป็น ๒ ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งเชื่อว่าท่านนิพพานไปนานแล้ว อีกฝ่ายหนึ่งเชื่อว่าท่านยังไม่นิพพาน เพราะยังมีผู้พบเห็นท่านอยู่เสมอแม้กระทั่งทุกวันนี้

บรมครูพระเทพโลกอุดร เป็นพระภิกษุลี้ลับ เร้นลับ และมหัศจรรย์อเนกประการ ลี้ลับ เร้นลับไปหมดทุกอย่าง เริ่มตั้งแต่ชื่อของท่าน ที่อยู่อาศัยของท่าน และที่มาที่ไปของท่าน และที่มหัศจรรย์ก็คือ เรื่องราวของท่านทั้งหมด

บรมครูพระเทพโลกอุดรคือใคร เป็นคำถามที่หาคำตอบที่สมบูรณ์ยังไม่ได้ เพราะ

ท่านจะสอนลูกศิษย์เสมอว่า อดีต เป็นเรื่องที่ผ่านพ้นไปแล้ว ไม่ต้องนำมาคิด อนาคต เป็นเรื่องที่ยังมาไม่ถึง ไม่ควรไปสนใจให้เสียเวลา ปัจจุบัน สำคัญที่สุดให้เร่งศึกษา เริ่งปฎิบัติ

เมื่อถามถึงชื่อท่าน ท่านก็จะไม่ตอบ แต่จะบอกว่าอย่ามัวไปเสียเวลากับชื่อ ให้เร่งปฎิบัติ เป็นการตอกย้ำว่า ช่วงเวลาของชีวิตนี้น้อยนักไม่เพียงพอแก่การปฎิบัติอยู่แล้วอย่ามัวไปเสียเวลากับการไม่ปฎิบัติอยู่เลย

ชื่อที่เรียกท่านอยู่ทุกวันนี้ จึงเป็นชื่อสมมุติที่ท่านวังหน้า หรือสมเด็จวังหน้ากรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท (บุญมา) พระอนุชาในสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ รัชการที่ ๑ แห่งปฐมบรมจักรรีวงศ์ เป็นผู้เรียกท่าน

บางท่านบอกว่า บรมครูพระเทพโลกอุดรคือพระมหาโพธิศรีอุดม ซึ่งชื่อนี้พระมหากัสสปะ เป็นผู้ตั้งให้ บิดาท่านเป็นชาวเนปาล มารดาท่านเป็นชาวทิเบต

บางท่านบอกว่า ท่านคือ ครูบาบุญทา จันทวังโส เกิดเมื่อเดือน ๗ เหนือปี พ.ศ. ๑๘๓๔ บิดาชื่อ คำฝั้น เป็นคนศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย มารดาชื่อ คำขยาย เป็นคนจังหวัดลำพูน มรณภาพเมื่อปี พ.ศ. ๑๙๒๐ อายุ ๘๖ ปี อัฐิของท่านเก็บไว้ที่พระธาตุ (เจดีย์) วัดสันป่ายางหลวง อ. เมือง จ. ลำพูน

บางท่านบอกว่าท่านคือ หลวงปู่คำแพง คำภาวนาถึงท่านใช้คำว่า “ โอทาตัง”

ทางท่านบอกว่าท่านคือ หลวงปู่เดินหน คำภาวนาถึงท่านใช้คำว่า “อิเกสาโร อกาวิติ นโมพุทธายะ” เป็นคน อ. เดิมบางนางบวช จ. สุพรรณบุรี บิดาเป็นคนจีน มารดาเป็นคนไทย ท่านได้มรณภาพไปแล้ว เมื่อ ๖๐ กว่าปีก่อน สังขารของท่านอยู่ที่ถ่ำละว้า จ. กาญจนบุรี ในท่านั่งสมาธิ

ฝ่ายหนึ่งเชื่อว่าท่านได้มรณภาพไปแล้ว เพราะไม่เชื่อว่าพระจะมีอายุยืนยาวหลายร้อยปี

แม้แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า สุดยอดแห่งพระภิกษุในโลกนี้ยังมรณภาพ

เคยมีลูกศิษย์ของท่านถามท่านว่า ท่านอายุเท่าไรแล้ว ท่านได้กรุณาบอกลูกศิษย์ว่า ไม่ได้จำ จำได้แต่ว่า เมื่อตอนสร้างประปรางค์ลพบุรีนั้น ท่านได้มายืนดูเขาสร้างอยู่ ประกอบกับเหตุผลดังกล่าวข้างต้น จึงมีผู้เชื่อว่าท่านมรณภาพแล้ว มีการเชิญดวงวิญญาณท่านประทับทรง ซึ่งมีหลายสำนักทรงอยู่ มีทั้งทรงจริง ทรงไม่จริง เป็นเรื่องของศรัทธา ท่านผู้อ่านต้องพิสูจน์เอาเอง เห็นจริงแล้วจึงค่อยเชื่อ อันเป็นหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา


กาลามสูตรของ
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระบรมครู
๑. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตาม ๆ กันมา
๒. อย่าปลงเชื่อ ด้วยการถือสืบ ๆ กันมา
๓. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ
๔. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์
๕. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะตรรก
๖. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะการอนุมาน
๗. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล
๘. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้ากันได้กับทฤษฏีที่พินิจไว้แล้ว
๙. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้
๑๐. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา
พิสูจน์ให้รู้แจ้งเห็นจริงแล้วจึงเชื่อ

โอวาทหลวงปู่เทพโลกอุดร การปฎิบัติธรรมทางด้านจิต จงเป็นผู้มีสติปัญญารู้เท่าทันความเคลื่อนไหวของจิตทุกลมหายใจเข้าออกและทุกอิริยบท เว้นเสียแต่หลับ เมื่อรู้ทันจิตแล้ว ต้องรู้จักรักษาจิต คุ้มครองจิต จงดูจิตเคลื่อไหวเหมือนเราดูลิเกหรือละคร เราอย่าเข้าไปเล่นลิเกหรือละครด้วย เราเป็นเพียงผู้นั่งดู อย่าหวั่นไหวไปตามจิต จงดูจิตพฤติการณ์ของจิตเฉย ๆ ด้วยอุเบกขา จิตไม่มีตัวตน แต่สามารถกลิ้งกลอกล้อหรือยั่วเย้าให้เราหวั่นไหวดีใจและเสียใจได้ ฉะนั้นต้องนึกเสมอว่าจิตไม่มีตัวตน อย่ากลัวตจิต อย่ากลัวอารมณ์ เราหรือสติสัมปชัญญะต้องเก่งกว่าจิต

ความนึกคิดอารมณ์ต่าง ๆ เป็นอาการของจิต ไม่ใช่ตัวจิต แต่เราเข้าใจว่าเป็นตัวจิตธรรมชาติคือผู้รู้อารมณ์ คิดปรุงแต่งแยกแยะไปตามเรื่องของมัน แต่แล้วมันต้องดับไปเข้าหลักเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป คือไม่เที่ยง ไม่จีรังยั่งยืนทนได้ยากเป็นทุกข์ และสลายไปไม่ใช่ตัวตน มันจะเกิดดับ ๆ อยู่ตามธรรมชาติ เมื่อเรารู้ความจริงของจิตเช่นนี้ เราก็จะสงบไม่วุ่นวาย เราในที่นี้หมายถึงสติปัญญา สัพเพ ธัมมา อนัตตา ธรรม (สิ่งทั้งปวง ) เป็นอนัตตาคือไม่ใช่ตัวตน

นิมิตที่เกิดขึ้นขณะนั่งสมาธิมีอยู่ ๒ ประการ คือ ๑ . เกิดขึ้นเพราะเทพบันดาล คือเทวดาหรือพรหมแสดงภาพนิมิตและเสียงให้รู้เห็น ๒. นิมิตเกิดขึ้นเพราะอำนาจสมาธิเอง

นิมิตจะเป็นประเภทใดก็ตาม ขอให้ผู้เจริญกรรมฐานจงเป็นผู้ใช้สติปัญญาให้รู้เท่าทันนิมิตที่เกิดขึ้นนั้นด้วยปัญญา อย่าเพิ่งหลงเเชื่อทันทีจะเป็นความงมงาย ให้ปล่อยวางนิมิตนั้นไปเสียอย่าไปสนใจให้เอาจิตทำความจดจ่ออยู่เฉพาะจิต

เมื่อจิตสงบรวมตัว จิตถอนตัวออกมารับรู้นิมิตนั้นอีก หากปรากฎนิมิตอย่างนี้ซ้ำ ๆ ซาก ๆ หลายครั้งแสดงว่านิมิตนั้นเป็นของจริงเชื่อถือได้ แต่อย่างไรก็ตามนิมิตที่มาปรากฏนี้อยู่ในขั้นโลกียสมาธิ นิมิตต่าง ๆ จึงเป็นความจริงน้อย แต่ไม่จริงเสียมาก จงมุ่งหน้าทำจิตให้สงบเป็นอัปนาสมาธิ อย่าสนใจนิมิต หากทำได้อย่างนี้ จิตจะสงบตั้งมั่น เข้าถึงระดับฌานจะเกิดผลคือสมาบัติสูงขึ้นตามลำดับ จิตจะมีพลังอำนาจอันมหาศาล ฤทธิ์เดชจะตามมาเองด้วยอำนาจของฌาน
 (อ่านต่อข้างล่างนะครับ)
28319  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: เป็นไปได้ไหม ถ้าไม่ภาวนา จะสำเร็จเป็นพระอรหันต์ได้ เมื่อ: ธันวาคม 12, 2009, 02:54:18 pm
คุณปกรณ์ น่าจะหาโอกาสไปรับ จะไ้ด้มีข้อมูลมาคุยกัน ให้กว้างขวางกว่านี้
ไม่อยากให้ด่วนสรุป
28320  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ช่วยแนะวิธี หน่อยครับ เมื่อ: ธันวาคม 12, 2009, 02:45:48 pm
;) เวลานั่งกรรมฐาน ทำอย่างไรจะให้นั่งกรรมฐานได้นาน ครับแบบว่า เหน็บชามักจะเล่นงานผมสัก 10 นาที

คุณ utapati ครับ ผมไม่ทราบว่าคุณขึ้นกรรมฐานกับพระอาจารย์สนธยาแล้วหรือยัง
เรื่องนี้พระอาจารย์จะตอบได้ดี


แต่ไหนๆคุณก็ถามแล้ว ผมจะแสดงความเห็นส่วนตัวให้ทราบ
อย่าถือว่าผมสอนนะ แค่เล่าสู่กันฟัง

    - อาการเหน็บชาเกิดกับคนส่วนใหญ่ จึงเป็นเรื่องปรกติ
    - ที่คุณรู้สึกถึงอาการเหน็บชา เนื่องจากคุณเอาจิตเข้าไปรับรู้มัน(ส่งจิตออกนอก)
    - คุณต้องหาวิธี(กุศโลบาย)ทำให้จิตส่งออกไปรับรู้อาการเหน็บชาให้น้อยลง
    - คำบริกรรมต่างๆจะช่วยคุณได้ เช่น พุทโธ พองหนอยุบหนอ ฯลฯ อะไรก็ได้ที่คุณชอบ
       บริกรรมแล้วสบายใจ ไม่อึดอัด (ศัพท์ทางธรรมเรียกว่า วิหารธรรม คำบริกรรมต่างๆถือว่า
       เป็นวิหารธรรม)
    - โดยส่วนตัวผม ผมท่องคาถาที่ผมชอบ ท่องแบบเร็วๆ
    - ผมมีความลับจะบอก ผมท่องคาถาเงินล้าน(ของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ)แล้วมีปิติ
      อาการปวดเมื่อยต่างๆจะดับไปด้วย


หากคุณต้องการดับเวทนาต่างๆคุณต้องฝึกเข้าฌานให้ได้ ถามพระอาจารย์ได้เลยครับ
หน้า: 1 ... 706 707 [708] 709