กรรมฐาน มัชฌิมา > ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน

อานาปานสติ ปฏิสัมภิทามรรค เพื่อการภาวนา

(1/6) > >>

ธัมมะวังโส:
พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
 มหาวรรค อานาปาณกถา

        [๓๖๒] เมื่อพระโยคาวจรเจริญสมาธิอันปฏิสังยุตด้วยอานาปานสติมีวัตถุ ๑๖ ญาณ
๒๐๐ อันเนื่องมาแต่สมาธิย่อมเกิดขึ้น คือ
ญาณในธรรมอันเป็นอันตราย ๘
ญาณในธรรมอันเป็นอุปการะ ๘
ญาณในอุปกิเลส ๑๘
ญาณในโวทาน ๑๓
ญาณในความเป็นผู้ทำสติ ๓๒
ญาณด้วยสามารถสมาธิ ๒๔
ญาณด้วยสามารถวิปัสสนา ๗๒
นิพพิทาญาณ ๘ นิพพิทานุโลมญาณ ๘
นิพพิทาปฏิปัสสัทธิญาณ ๘
ญาณในวิมุติสุข ๒๑ ฯ

        [๓๖๓] ญาณในธรรมอันเป็นอันตราย ๘ และญาณในธรรมอันเป็นอุปการะ ๘ เป็น
ไฉน ฯ
    กามฉันทะเป็นอันตรายแก่สมาธิ
        เนกขัมมะเป็นอุปการะแก่สมาธิ
   พยาบาทเป็นอันตรายแก่สมาธิ
        ความไม่พยาบาทเป็นอุปการะแก่สมาธิ
  ถีนมิทธะเป็นอันตรายแก่สมาธิ
       อาโลกสัญญาเป็นอุปการะแก่สมาธิ
  อุทธัจจะเป็นอันตรายแก่สมาธิ
       ความไม่ฟุ้งซ่านเป็น   อุปการะแก่สมาธิ
   วิจิกิจฉาเป็นอันตรายแก่สมาธิ
      ความกำหนดธรรมเป็นอุปการะแก่สมาธิ
   อวิชชาเป็นอันตรายแก่สมาธิ
       ญาณเป็นอุปการะแก่สมาธิ
  อรติเป็นอันตรายแก่สมาธิ
       ความปราโมทย์เป็นอุปการะแก่สมาธิ
  อกุศลธรรมแม้ทั้งปวงเป็นอันตรายแก่สมาธิ
      กุศลธรรมทั้งปวงเป็นอุปการะแก่สมาธิ
  ญาณในธรรมอันเป็นอันตราย ๘ และญาณในธรรมเป็นอุปการะ ๘ เหล่านี้ จิตอันฟุ้งซ่านและจิตสงบระงับ ย่อมดำรงอยู่ในความเป็นธรรมอย่างเดียวและย่อมหมดจดจากนิวรณ์ ด้วยอาการ ๑๖ เหล่านี้ ฯ

ในการปฏิบัติ อานาปานสติ ฉบับพระสาวกนั้น ต้องเริ่มต้นด้วยการเตรียมตัว

ต้องเข้าใจว่า อานาปานสติ มี ญาณ ( ความรู้ ) นั้นมีทั้งหมด 200 ญาณ

การเรียนก็ต้องเรียนตามลำดับ

การปฏิบัติ ต้องปฏิบัติตามลำดับ

ซึ่งจะทำการวิสัชนา ไปในนี้เลย

สิ่งสำคัญอันดับแรกก็ศึกษาเข้าใจในธรรมที่เป็นอันตราย ต่ออานาปานสติ มีเท่าไหร่
 
   ในที่นี่้ตอบว่ามี 8 มีอะไรบ้าง

    1.กามฉันทะ 2.พยาบาท 3.ถีนมิทธะ 4.อุทธัจจะ 5.วิจิกิจฉา 6.อวิชชา 7.อรติ 8.อกุศลธรรมทั้งปวง

อันดับที่สองเรียนรู้ ธรรมที่เป็นคู่ปรับแก่ธรรมอันตราย 8 เรียกว่าธรรมะอันเป็นอุปการะแก่อานาปานสติ 8

   ในที่นี่ตอบว่ามี 8 มีอะไรบ้าง

   1.เนกขัมมะ 2.อพาบาท 3.อาโลกสัญญา 4.ความไม่ฟุ้งซ่าน 5.ความกำหนดธรรม 6.ญาณ 7.ปราโมทย์

    8.กุศลธรรมทั้งปวง

ถ้าจิตอยู่ข้างฝ่ายธรรมะอันเป็นอันตราย อันนี้เรียกว่า จิตที่ฟุ้งซ่าน

ถ้าจิตอยู่ข้่างฝ่ายธรรมะอันเป็นอุปการะ อันนี้เรียกว่า จิตสงบระงับ

อันนี้เป็นบทพื้นฐาน เพื่อให้ผู้ปฏิบัติสามารถกำหนดรู้ธรรม ความที่มีจิตฟุ้งซ่าน หรือ จิตสงบระงับ

 

Aeva Debug: 0.0007 seconds.Aeva Debug: 0.0005 seconds.

ธัมมะวังโส:
จิตที่ฟุ้งซ่าน คือ จิต ตกเป็นข้างฝ่ายนิวรณ์ 8 ประการ

 อันประกอบด้วย การระคนด้วยจิต ย้อมจิต ปะปนด้วยจิต ที่เป็นอกุศลธรรม ทั้งปวง นิวรณ์ 8 เป็นสิ่งที่ต้องระงับ

ก่อนปฏิบัติ อานาปานสติ เพราะหากมีอยู่ก็ไม่สามารถที่เจริญ พระอานาปานสติได้

บางท่านเข้าใจว่า ระงับด้วย ฌาน ระงับ ด้วยการภาวนา

แต่ นิวรณ์ 8 ข้างต้น สามารถระงับได้ ด้วยการตั้งจิต เป็นสัมมาทิฏฐิ คือเห็นถูกต้อง สัมมาสังกัปปะ อธิษฐาน

จิตได้อย่างถูกต้อง

  ถ้าพิจารณา วิสัชชนา ให้เข้าใจ ง่าย ๆ ไม่ใช่เป็นการระงับ นิวรณ์ ด้วย ฌาน การกล่าวเช่นนี้ กล่าวแบบ

พราหมณ์  กล่าวแบบพระสุคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว สามารถระงับได้ก่อน ที่เป็น ฌาน ส่วนนี้จึงเป็น

ส่วนที่ดำเนินในแนว วิปัสสก ดังนั้นการเจริญด้วยอานาปานสติ จึงเป็น ผลสมาบัต ขั้นต่ำ เป็น อเนญชาสมาบัติ

ขั้นสูง อันประกอบด้วย นิโรธสมาบัติ สัญญาเวทยิตนิโรธ อเนญชาสมาบัติ เจโตสมาธิอนิมิต ดังนั้นถึงจะเป็น

ฝ่ายเจโตวิมุตติ ก็ต้องเริ่มต้นเหมือนกันกับ วิปัสสก จะไปแตกต่างช่วงของ ญาณด้านปลายเท่านั้น

 โดยการปฏิบัติให้ตรงข้าม ดังนั้น ความเห็นที่ถูกต้อง และ การอธิษฐาน เป็นสิ่งที่ต้องมาก่อน

ยกตัวอย่าง

 1.กามฉันทะ คือ ความพอใจ ใน รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส อารมณ์
   
     เมื่อปุุถุชนเห็นผิด ก็จะติดในข่าย ไม่เห็นความหน่าย ความจางคลาย ไปได้

   ดังนั้น ธรรมะ คู่ปรับ ก็คือ เนกขัมมะวิตก คือ ความตั้งใจสลัดออก จากกามคุณ

   ถามว่า เห็นโทษของกามคุณ หรือ ก็ตอบว่ายัง เพียงแต่รู้ว่า กามคุณ เป็นเหตุแห่งตัณหา

   ดังนั้น เนกขัมมะ ก็คือการถือ บวช ด้วย ศีล มีข้อห้าม ซึ่งจะระงับได้ นิวรณ์ ด้วยการอธิษฐาน

  ความตั้งใจใน การออกบวช อย่างนี้ ซึ่งเมื่อทำบ่อย ๆ กามฉันทะ ก็จักเบาบางลง และ สงบ ไปชั่วคราว

  จนกว่าจะได้บรรลุเป็น พระอรหันต์ ดังนี้เป็นต้น

  ดังนั้น นิวรณ์ 8 นั้น ดับได้ด้วย ธรรมะ อันเป็นปฏิปักษ์ ตรงกันข้าม ไม่ใช่ดับด้วย ฌาน หรือ อำนาจ สมาธิ

แต่ที่จริง เป็นการเจริญ อานาปานสติ ในแนวพระพุทธศาสนา มิฉะนั้น ก็จะเป็นการปฏิบัติ อานาปานสติ นอก

พุุทธศาสนา

   ดังนั้น จิตทีั่ฟุ้งซ่าน ย่อมประกอบ ด้วยนิวรณ์ 8 ยังไม่พร้อมที่จะปฏิบัติ อานาปานสติ

   ส่วนที่ จิตที่สงบระงับ ย่อมประกอบ ด้วยธรรม 8 ประการ ย่อมพร้อมที่จะเจริญภาวนา อานาปานสติ


ดังนั้นในส่วนนี้ ถือว่าเป็นส่วนพื้น ฐานในการเตรียมตัว

  หากจิตฟุ้งซ่าน ย่อมไม่สามารถ กำหนด ลมหายใจเข้า และ ออกได้ เป็นดั่งเช่นที่ท่านทั้งหลาย เคยฝึกกัน

มาเยี่ยงนั้น แบบนั้น เพราะมุ่งจะฝึก ก็อยู่ในข่าย อุปกิเลส คือ ความเพียรที่มากหรือกล้า เกินไป ก็ไม่สามารถ

สำเร็จ ในพระอานาปานสติ ได้

  หากจิตสงบระงับ ก็จะสามารถ กำหนด นิมิต ลมหายใจเข้า และ ลมหายใจออกได้ ทั้ง 3 ประการ

ดังนั้นขอให้ท่านทั้งหลาย ศึกษาและจดจำ ในส่วนของ ธรรม เป็นปฏิปักษ์กับนิวรณ์เสียก่อน อย่างพึ่งมุ่งไปรู้

ขั้นตอนส่วนใน กำจัดนิวรณ์ เหล่านั้นให้สงบ

  จะเห็นว่า กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ จัดเตรียมจิต ท่านผู้ปฏิบัติมาพร้อมแล้ว ในห้อง พระพุทธานุสสติ

ย่อมระงับนิวรณ์ ด้วยปัญญา อันเกิดแต่องค์สมาธิ  ในระดับ อุปจาระฌาน แล้ว ความพร้อมของผู้ฝึก ในส่วน

นี้จึงมีมากกว่า ผู้มาฝึกอานาปานสติ โดยตรง


  เนื่องด้วย อานาปานสติ เป็น กรรมฐาน สำหรับจริต วิตกจริต และ โมหะจริต โดยตรง ถ้าผู้มีวิตกเช่นนี้

ก็จะสามารถฝึกได้เข้าใจก่อน ส่วนผู้ไม่มีจริตตรงนี้ ถ้าเคารพในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ก็จะเห็น

ว่า ไม่สามารถ จะฝึกได้ดังนั้น องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์จึงตรัสกรรมฐาน สนับสนุนเบื้องต้น

เรียกว่า อนุสสติ บ้่าง กายคตาสติ สนับสนุนองค์กรรมฐาน จึงทำให้จริต อื่น ๆ นั้นสามารถ ฝึกอานาปานสติ

ได้ ดังนั้นขอให้ท่านผู้ฝึกอย่ารีบร้อน ที่จะเดินในขั้น สโตริกาญาณ แต่ของให้ สร้างธรรมะ อันเป็นปฏิปักษ์

แก่ นิวรณ์ ทั้ง 8 ก่อน

 ;)
 

Aeva Debug: 0.0005 seconds.

ธัมมะวังโส:
ข้อความที่ [365 - 366]

ก็แลเมื่อพระโยคาวจรผู้มีจิตหมดจดจากนิวรณ์เหล่านี้ เจริญสมาธิอันปฏิสังยุตด้วยอานาปาณสติมีวัตถุ ๑๖ ความที่จิตตั้งมั่นเป็นไปชั่วขณะย่อมมีได้ ฯ

เพราะเหตุที่ระงับ นิวรณ์ 8 ประการได้ จึงทำให้มีจิตเป็น สมาธิ แต่เป็นเพียงชั่วขณะ เท่านั้น

ความละเอียดของ อานาปานสติ ที่มากกว่าชั่วขณะมีอยู่อีก

ธัมมะวังโส:
อานาปานสติ ยังมีต่อไปเรื่อย ๆ แต่ยังเรียบเรียงพระสูตรอยู่ จำนวนตอนนี้มากกว่า 80 หน้า

 ;)

ธัมมะวังโส:
แจ้งความคืบหน้า ของ หนังสือ อานาปานสติ ปฏิสัมภิทามรรค นั้นตอนนี้ได้พิมพ์ออกมาแล้วจำนวน 80 หน้า

กำลังตรวจสอบ ข้อความในรอบที่ 2 และจะิพิจารณาลง อรรถกถา ( ส่วนตัวเสริม )

คาดว่าน่าจะเสร็จก่อนออกพรรษา 

 ;)

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป