ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ธรรมบทวิจารณ์  (อ่าน 3511 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

pichai

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 99
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
ธรรมบทวิจารณ์
« เมื่อ: พฤศจิกายน 15, 2010, 07:33:39 am »
0
ธรรมบทวิจารณ์

โดย หลวงตาชัยยัสสุ

ความนำเบื้องต้น

คัมภีร์ธรรมบท เป็นคัมภีร์ที่มีเสน่ห์คัมภีร์หนึ่ง เพราะแสดงเนื้อหาของธรรมะเป็นบทร้อยกรองสั้น ๆ ใช้ภาษาที่กะทัดรัด  แต่ แฝงไว้ด้วยนัยสำคัญ จึงเหมาะสำหรับผู้ที่มีภูมิธรรมมาพอสมควรแล้วที่จะได้ใช้บทธรรมะเหล่านี้ใน การประมวลความเข้าใจให้ลึกซึ้งยิ่ง ๆ ขึ้นไป เสมือนเป็นการทบทวน หรือตอกลิ่มธรรมให้มั่นคงยิ่งขึ้น หรือแม้แต่ผู้ที่มีภูมิธรรมมาน้อย สะสมบารมีมายังไม่มากนัก อรรถกถาจารย์ท่านก็ยังมีเมตตาขยายความเป็นร้อยแก้วพร้อมทั้งยกนิทานขึ้นมา ประกอบเป็นบุคลาธิษฐาน ทำให้เกิดความเพลิดเพลิน ทั้งยังช่วยเสริมความเข้าใจหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาที่สำคัญ ๆ ได้เป็นอย่างดี จึงไม่น่าแปลกใจที่คณะสงฆ์ให้บรรจุคัมภีร์ธรรมบทเป็นหลักสูตรสำหรับพระมหา เปรียญทั้งหลาย และด้วยเหตุนี้ คัมภีร์ธรรมบท จึงเป็นคัมภีร์แรกที่ผู้เขียนรู้จักตั้งแต่เริ่มบวชเรียนในพระพุทธศาสนา และถือเป็นคัมภีร์ที่มีอิทธิพลต่อระบบความคิดความอ่าน ตลอดความเข้าใจเรื่องพระพุทธศาสนาของผู้เขียนในลำดับต้น ๆ  ตลอด ระยะเวลา ๒๐ กว่าปีที่เกี่ยวข้องกับคัมภีร์นี้ ทั้งในฐานะเป็นนักเรียน และอาจารย์สอนบาลี มีความรู้สึกอยู่ตลอดเวลาว่า ทุกครั้งที่หยิบคัมภีร์นี้ขึ้นมาอ่าน ก็จะได้แง่มุมใหม่ ๆ เสมอ ทำให้เกิดความคิดว่า และความตั้งใจอยู่ลึก ๆ ที่จะถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดเหล่านั้นออกมาแลกเปลี่ยนเพื่อเป็นประโยชน์ใน การศึกษาพระพุทธศาสนาให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป

อย่างที่ได้ปรารภข้างต้นว่า หัวข้อธรรมในคัมภีร์ธรรมบท เป็นร้อยกรองสั้น ๆ ซึ่งมีอยู่ทั้งหมด  ๔๒๓ บท  จัดเป็นหมวดหมู่ได้ ๒๖ หมวด หมวดหนึ่ง ๆ ต่ำสุด  มี ๑๐ พระคาถา สูงสุด มี ๔๒ พระคาถา มีนิทานประกอบเป็นบุคลาธิษฐาน จำนวน ๓๐๕ เรื่อง ซึ่งจะได้ทยอยนำมาวิเคราะห์ วิจารณ์เป็นตอน ๆ ตามกำลังแห่งสติปัญญาต่อไป

เรื่องที่ ๑

พระจักขุบาละ

          เรื่อง ราวของพระจักขุบาล เป็นตัวอย่างที่พระอรรถกถาจารย์ต้องการสะท้อนให้เห็นถึงลักษณะการตามให้ผล ของกรรมชั่วในอดีต ทั้งนี้เพื่อขยายความพระพุทธพจน์ที่พระพุทธเจ้าตรัสแก่เหล่าภิกษุ ๓,๐๐๐      รูป ขณะที่ทรงประทับอยู่ที่เมืองสาวัตถี ใจความของพระคาถาที่ทรงแสดงมีว่า

ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นใหญ่

สำเร็จแล้วด้วยใจ ถ้าบุคคลมีใจร้ายแล้ว พูดอยู่ก็ดี

ทำอยู่ก็ดี ทุกข์ย่อมไปตามเขา เพราะเหตุนั้น

ดุจล้ออันหมุนไปตามรอยเท้าโค ผู้นำแอกไปอยู่ฉะนั้น

          เรื่องมีอยู่ว่า พระจักขุบาลนั้น ในอดีตท่านเป็นลูกคหบดีผู้มั่งคั่ง เมื่อบิดามารดาขอท่านเสียชีวิตไปแล้ว ก็ได้รับตำแหน่งเศรษฐีแทน  ต่อ มาได้มีโอกาสฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า จึงคิดสละตำแหน่งออกบวช เพราะมองเห็นว่า ฆราวาสนั้นคับแคบ โอกาสที่จะบำเพ็ญสมณธรรมให้สมบูรณ์นั้นยาก  จึง ได้สละสมบัติที่มีอยู่ทั้งหมดให้น้องชายครอบครองแทน ส่วนตนก็ออกบวช เรียนพระกัมมัฏฐานจากสำนักของพระพุทธเจ้าแล้วก็ออกธุดงค์พร้อมกับภิกษุร่วม อุดมการณ์กลุ่มหนึ่ง

          ใน ช่วงระหวางออกธุดงค์นั้น ท่านพร้อมคณะก็ได้อาศัยหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ปักกลดจำพรรษา และบำเพ็ญเพียรอย่างหนัก กระทั่งตาบอดทั้งสองข้าง เพราะท่านสมาทานไม่ยอมเอนหลังนอนตลอดพรรษา แม้จะมีหมอคอยดูแล และเยียวแล้วก็ตาม แต่เพราะปฏิญญาที่ท่านทำเอาไว้ว่าจะไม่เอนหลัง ทำให้การรักษาไม่เป็นผล แม้จะได้รับการขอร้องจากหมอหลายครั้ง แต่ท่านก็ยังยืนยันไม่ยอมหนอนหยอดตา ว่ากันว่า นี่เป็นเพราะผลของกรรมเก่าที่ท่านเคยทำเอาไว้ในอดีตชาติเมื่อครั้งเป็นหมอ รักษาตา ครั้งนั้นท่านก็เคยทำให้หญิงชราคนหนึ่งตาบอด ด้วยการใส่ยาพิษทำลายดวงตา เพียงแค่เพราะไม่พอใจที่หญิงชราคิดโกงค่ารักษา สอดคล้องกับพระคาถาธรรมบทที่ข้างต้นที่ว่า ใจนั้นเป็นหัวหน้า เป็นประธานในการกระทำทุกอย่าง  หากใจเสียแล้ว พฤติกรรมที่แสดงออกมา รวมทั้งผลที่เกิดขึ้น ย่อมเสียหายตามไปด้วย  นี่เป็นเนื้อความสำคัญหลักของเรื่องพระจักขุบาล

          นอกจากเนื้อหาสำคัญหลักที่ต้องการแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของจิตในแง่ที่เป็นประธาน เป็นใหญ่ในกิจทั้งปวงแล้ว  เรื่องราวของพระจักขุบาลยังสะท้อนให้เห็นแง่มุมอื่นที่น่าสนใจสรุปเป็นข้อ  ๆ ดังนี้

          ๑. คติความเชื่อว่าต้นไม้ใหญ่มีผีสางเทวดาสิงสถิตอยู่ และสามารถให้คุณให้โทษแก่มนุษย์ได้ ด้วยคติความเชื่อเช่นนี้ ทำให้เกิดประเพณีการไหว้ หรือการเซ่นสรวงเพื่อขอโชคลาภ

          เศรษฐี ผู้เป็นบิดาของพระจักขุบาล ได้แต่งงานอยู่กินกับภรรยามาหลายปี แต่ไม่มีบุตรไว้สืบสกุล แม้จะพยายามทุกวิถีทางแล้วก็ตาม ในที่สุดเมื่อหมดหนทาง ก็หันมาพึ่งสิงศักดิ์ ซึ่งก็เป็นเรื่องที่แปลกอยู่เหมือนกัน หลังจากที่ได้ทำพิธีเซ่นสรวงภรรยาเศรษฐีได้ตั้งครรภ์คนแรก และคนที่สองตามมา

          จาก ประสบการณ์ตรงที่เกิดขึ้นกับบุคคลในลักษณะอย่างนี้เอง ทำให้ความเชื่อเรื่องสิ่งศักดิ์เป็นสิ่งที่มีคู่กับมากับสังคมมนุษย์ นับตั้งแต่อดีต กระทั่งถึงปัจจุบัน จะเห็นได้จาก อะไรก็ตามที่ซับซ้อนไม่สามารถมาอธิบายด้วยเหตุและผลง่าย ๆ ก็มักจะโยนภาระให้เป็นเรื่องของสิ่งศักดิ์ไป

          ๒. อนาถปิณฑิกเศรษฐี เป็นเศรษฐีใจบุญ มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก ถึงกับสร้างวัดเชตวันถวาย ในเรื่องพรรณนาถึงศรัทธาของเศรษฐีไว้ว่า ท่านจะวัดทุกวัน ๆ  ละ ๒ เวลา ตอนเช้าไปถวายภัตตาหาร หลังฉันเสร็จก็มีน้ำปานะไปถวาย นอกจากนั้นในแต่ละวัน ก็มีการนิมนต์พระสงฆ์ไปฉันที่อยู่เนือง ๆ นิมนต์แต่ละครั้งก็มีแต่หลักพัน

          เป็น ผู้มีศรัทธาแรงกล้าถึงปานนี้ แต่ก็มีสิ่งหนึ่งที่เศรษฐีไม่เคยทำเลยก็คือ การทูลถามปัญหากับพระพุทธเจ้า โดยมีความคิดเกรงใจอยู่ลึก ๆ ว่า “ไม่อยากให้พระพุทธเจ้าลำบาก” ขณะที่พระพุทธเจ้ากลับทรงคิดตรงกันข้ามว่า อนาถปิณฑิกเศรษฐีนี้ เกรงใจไม่เข้าเรื่อง ดังนั้น แม้อนาถปิณฑิกเศษฐีจะไม่เคยทูลถามปัญหา ก็จะทรงแสดงธรรมให้ฟังทุกครั้ง

          นี่ก็เป็นข้อสังเกตอย่างหนึ่งที่น่าสนใจ เพราะบางคนก็มีลักษณะ “เกรงใจไม่เข้าเรื่อง” ซึ่งการเกรงใจในลักษณะนี้ ไม่เป็นผลดี และอาจกลายเป็นเรื่องที่ทำให้เสียประโยชน์ หรือเกิดโทษตามมา ในความเป็นจริงมีตัวอย่างให้เห็นมากมาย เช่น เห็นคนทำผิด แต่ก็เกรงใจ ไม่กล้าบอก ไม่กล้าตักเตือน กลัวว่าเขาจะเสียใจ หรือกลัวว่าเขาจะเกลียดตน เป็นต้น

          ๓. ธุระ หรืองานของพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ว่าโดยสรุปแล้วมี ๒ ประการ คือ คันถะธุระ ได้แก่การศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย และ วิปัสสนาธุระ ได้แก่การฝึกฝนอบรมทางจิตเพื่อให้บรรลุมรรคผลนิพพาน บวชมาแล้วต้องทำธุระ ๒ ประการนี้ให้สมบูรณ์ไม่อย่างใดก็ต้องอย่างหนึ่ง การทำธุระเหล่านี้ เรียกรวม ๆ ว่า สิกขา หรือ ศึกษา กล่าวตามสำนวนโวหารทั่วไปก็คือ บวชมาแล้วต้องศึกษา ถ้าไม่ทำธุระนี้ ก็ต้องสึกออกไป  ซึ่งการสึกจากพระ ท่านก็เรียกว่า ลาสิกขา คือไม่เอาธุระของความเป็นพระอีกต่อไปแล้ว

          ๔. วัดกับบ้าน อิงอาศัยกัน ซึ่งจากเรื่องพระจักขุบาล จะได้เห็นตัวอย่างของการพึ่งพาอาศัยกัน พระพึ่งปัจจัย ๔ จากชาวบ้าน ขณะที่ชาวบ้านก็ได้อาศัยพระ อาศัยวัดช่วยขัดเกลาอุปนิสัยใจในเรื่องของทาน ศีล ภาวนา ต่างฝ่ายต่างสงเคราะห์ประโยชน์ซึ่งกันและกัน สังคมก็อยู่เป็นสุข

          ๕. มักมีคำถามเกิดขึ้นในสังคมปัจจุบันว่า  พระ ทำผิด กับฆราวาสญาติโยมทำผิด ใครผิดมากกว่ากัน ส่วนใหญ่คำตอบส่วนมากมักจะลงที่พระ หรือบางทีอาจจะเปรียบในลักษณะอื่น เช่น ชาวบ้านธรรมดาทำผิด กับผู้รักษากฎหมายทำผิด ใครผิดมากกว่ากัน คำตอบก็จะมาลงที่ผู้รักษากฎหมาย เป็นต้น แต่ในเรื่องพระจักขุบาลนี้ มีคำเฉลยที่อาจจะแตกต่างจากความรู้สึกเรา นั่นคือแทนที่จะบอกว่าใครผิดมากกว่าใคร กลับตอบว่า “ผิดทั้งนั้น” หรือ “ผิดเหมือนกันนั่นแหละ” ซึ่งเป็นการเพ่งเฉพาะตัวพฤติกรรมที่เป็นความผิด โดยที่ไม่เพ่งถึงสถานะของบุคคล

          ๖. ชาย-หญิง มีธรรมชาติที่ดึงดูดใจของกันและกันเสมอ เช่น เสียงของผู้หญิงมักเป็นที่ดึงดูดใจของชาย ขณะที่เสียงของชายก็มักเป็นที่ดึงดูดใจของหญิง  รูปร่างและลักษณะท่าทางของหญิงย่อมดึงดูดใจต่อชาย ขณะที่รูปร่างและลักษณะของชายก็ย่อมดึงดูดใจหญิง

ลักษณะ การดึงดูดกันเช่นนี้ ถือว่าเป็นแรงขับเคลื่อนโดยธรรมชาติ หากมนุษย์ไม่สามารถควบคุมแรงขับเคลื่อนทางธรรมชาติดังกล่าวนี้ ย่อมเปิดช่องให้กระทำความเสียหายได้โดยง่าย  เช่น กรณีของสามเณรผู้เป็นหลานของพระเถระ ที่ “หลงเสียงนาง” จนต้องสึกหาลาเพศไปในที่สุด

๗. บทบาทของเทวดาในพระพุทธศาสนา  ใน คัมภีร์ธรรมบท หรือคัมภีร์อื่น ๆ ทางพระพุทธศาสนา เราจะพบบทบาทของเทวดาที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับมนุษย์ในหลาย ๆ ลักษณะ โดยเฉพาะการช่วยส่งเสริมให้คนได้ทำความดี และป้องกันไม่ให้ทำความชั่ว  รวมทั้งการลงมาแสวงบุญในโอกาสต่าง ๆ  เช่น ลงมาใส่บาตรพระอรหันตสาวกบ้าง ลงมาปัดกวาดลานวาดบ้าง ลงมาอุปัฏฐากบำรุงพระพุทธเจ้าบ้าง

กรณีของพระจักขุบาลก็เช่นเดียวกัน ท้าวสักกะจอมเทพได้เข้ามาทำหน้าที่ช่วยเหลือพระเถระในเรื่องของการเดินทาง  ใน คัมภีร์ท่านเล่าไว้น่ารักมาก กล่าวคือ ท้าวสักกะได้ปลอมตัวมา พร้อมกับทำเสียงเดินไปใกล้พระเถระ จากนั้นก็อาสาจับไม้เท้านำทางพระเถระกระทั่งถึงเมืองสาวัตถี  ซึ่งก็ทำให้พระเถระมาถึงเมืองไวเป็นที่ผิดสังเกต จึงได้สอบถามไล่เลียงดู  แม้คนนำทางจะบอกว่า รู้ทางลัด แต่พระเถระก็กำหนดได้ว่า  ผู้ที่เดินจูงไม้เท้าตนเองนั้นต้องไม่ใช่มนุษย์ธรรมดา

๘. ประการสุดท้าย ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญ และหัวใจของคำสอนเรื่องกรรมด้วย ก็คือเรื่องเจตนา ดังพระพุทธพจน์ที่ว่า “เจตนานั่นแหละเป็นกรรม” หมายความว่า กรรมดี ชั่ว, ความถูก ผิด ในแต่ละครั้ง แต่ละกรณี ใช้เจตนาเป็นสำคัญในการชี้วัด
บันทึกการเข้า