ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ความหลุดพ้นด้วยอำนาจ แห่งใจ เป็นอย่างไร ครับ  (อ่าน 4743 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

เจมส์บอนด์

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +9/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 186
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0

ความหลุดพ้นด้วยอำนาจ แห่งใจ เป็นอย่างไร ครับ
 ที่เรียกว่า เจโตวิมุตติ

 แสดงว่า สมถะกรรมฐาน ก็ไปสู่ความเป็นพระิอริยะบุคคลได้ใช่หรือไม่ครับ
 

 ผู้ฝึก  ปัญญาวิมุตติ นั้นหมายถึงฝึกด้วยสติ ปัญญา เจริญ วิปัสสนากรรมฐาน ใช่หรือไม่ครับ

ทำไมจึงมี พระอาจารย์หลายรูป หลายองค์ เลยครับว่า ฝึกสมถะกรรมฐาน ไม่สามารถสำเร็จเป็นพระอิรยะบุคคลได้ หรือผมยังมีความเข้าใจผิด ในเรื่องกรรมฐาน ในเรื่อง วิมุตติ อยู่ครับ

  :c017: :17:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 27, 2011, 10:58:06 am โดย เจมส์บอนด์ »
บันทึกการเข้า
ps2 psx nds n64 rom nes play1 play2 gamepc xbox wii castlevania finalfantasy nds ps1 sega
ผมชอบเล่นเกมส์ แต่ ก็แบ่งเวลานั่ง กรรมฐาน ครับ คนรุ่นใหม่ไม่กลัวกรรมฐาน

เจมส์บอนด์

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +9/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 186
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
โพสต์ผิดกระทู้ครับ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 27, 2011, 10:55:41 am »
0
โพสต์ผิดกระทู้ครับ รบกวนผู้ัดูแล ช่วยลบส่วนนี้ด้วยครับ
 :c017:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 27, 2011, 11:00:49 am โดย เจมส์บอนด์ »
บันทึกการเข้า
ps2 psx nds n64 rom nes play1 play2 gamepc xbox wii castlevania finalfantasy nds ps1 sega
ผมชอบเล่นเกมส์ แต่ ก็แบ่งเวลานั่ง กรรมฐาน ครับ คนรุ่นใหม่ไม่กลัวกรรมฐาน

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28519
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ความหลุดพ้นด้วยอำนาจ แห่งใจ เป็นอย่างไร ครับ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 27, 2011, 01:58:31 pm »
0
โพสต์ผิดกระทู้ครับ รบกวนผู้ัดูแล ช่วยลบส่วนนี้ด้วยครับ
 :c017:

 ไม่ผิดหรอกครับ คำถามนี้ หากติดตามกระทู้ที่ผมตอบ จะเข้าใจได้เอง ผมได้อธิบายไว้หลายครั้งแล้ว
 ขอให้พิจารณาข้อธรรมดังต่อไปนี้ครับ



 วิมุตติ ๒ (ความหลุดพ้น)

๑. เจโตวิมุตติ (ความหลุดพ้นแห่งจิต, ความหลุดพ้นด้วยอำนาจการฝึกจิต, ความหลุดพ้นแห่งจิตจากราคะ ด้วยกำลังแห่งสมาธิ)
 
๒. ปัญญาวิมุตติ (ความหลุดพ้นด้วยปัญญา, ความหลุดพ้นด้วยอำนาจการเจริญปัญญา, ความหลุดพ้นแห่งจิตจากอวิชชา ด้วยปัญญาที่รู้เห็นตามเป็นจริง )



อรหันต์ ๔, ๕, ๖๐

๑. สุกฺขวิปสฺสโก (ผู้เจริญวิปัสสนาล้วน )
๒. เตวิชฺโช (ผู้ได้วิชชา ๓ )
๓. ฉฬภิญฺโ (ผู้ได้อภิญญา ๖)
๔. ปฏิสมฺภิทปฺปตฺโต (ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา)


พระอรหันต์ทั้ง ๔ ในหมวดนี้ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรสทรงประมวลแสดงไว้ในหนังสือธรรมวิภาคปริจเฉทที่ ๒ หน้า ๔๑ พึงทราบคำอธิบายตามที่มาเฉพาะของคำนั้นๆ
แต่คัมภีร์ทั้งหลายนิยมจำแนกเป็น ๒ อย่าง เหมือนในหมวดก่อนบ้าง เป็น ๕ อย่างบ้าง  ที่เป็น ๕ คือ

๑. ปัญญาวิมุต (ผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา )
๒. อุภโตภาควิมุต (ผู้หลุดพ้นทั้งสองส่วน คือ ได้ทั้งเจโตวิมุตติ ขั้นอรูปสมาบัติก่อนแล้วได้ปัญญาวิมุตติ)
๓. เตวิชชะ (ผู้ได้วิชชา ๓)
๔. ฉฬภิญญะ (ผู้ได้อภิญญา ๖ )
๕. ปฏิสัมภิทัปปัตตะ (ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ๔)


ทั้งหมดนี้ ย่อลงแล้วเป็น ๒ คือ พระปัญญาวิมุต กับพระอุภโตภาควิมุตเท่านั้น  พระสุกขวิปัสสกที่กล่าวข้างต้น เป็น พระปัญญาวิมุต ประเภทหนึ่ง (ในจำนวน ๕ ประเภท) 

พระเตวิชชะ กับพระฉฬภิญญะ เป็น อุภโตภาควิมุต ที่ไม่ได้โลกิยวิชชาและโลกิยอภิญญา ก็มี 

ส่วนพระปฏิสัมภิทัปปัตตะ ได้ความแตกฉานทั้ง ๔ ด้วยปัจจัยทั้งหลาย คือ การเล่าเรียน สดับ สอบค้น ประกอบความเพียรไว้เก่า  และการบรรลุอรหัต

 
พระอรหันต์ทั้ง ๕ นั้น แต่ละประเภท จำแนกโดยวิโมกข์ ๓ รวมเป็น ๑๕  จำแนกออกไปอีกโดยปฏิปทา ๔  จึงรวมเป็น ๖๐  ความละเอียดในข้อนี้จะไม่แสดงไว้ เพราะจะทำให้ฟั่นเฝือ  ผู้ต้องการทราบยิ่งขึ้นไป พึงดูในหนังสือนี้ฉบับใหญ่

อ้างอิง พจนานุกรม พุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม (ป.อ.ปยุตโต)


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
ยุคนัทธวรรค ยุคนัทธกถา


พระอานนท์แสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุภิกษุณีที่ พยากรณ์การบรรลุความเป็นพระอรหันต์ ( พูดว่าได้บรรลุ ) ในสำนักของเรา ย่อมมีทางเป็นไปได้อย่างใดอย่างหนึ่ง รวม ๔ ทาง คือ
 
๑. เจริญวิปัสสนา ( ปัญญาอันเห็นแจ้ง ) มีสมถะเป็นหัวหน้า มรรคเกิดขึ้นเมื่อเจริญมรรคก็ละสังโยชน์ ( กิเลส ที่ร้อยรัดหรือผูกมัด ) ได้ กิเลสพวกอนุสัย ( แฝงตัวหรือนอนอยู่ในสันดาน ) ย่อมไปหมด

๒. เจริญสมถะ ( ความสงบใจ ) มีวิปัสสนาเป็นหัวหน้า แล้วหมดกิเลส

๓. เจริญทั้งสมถะและวิปัสสนาคู่กัน แล้วหมดกิเลส

๔. มีจิตแยกจากความฟุ้งซ่านในธรรม ( วิปัสสนูปกิเลส =เครื่องทำวิปัสสนาให้เศร้าหมอง เช่น สิ่งที่ทำให้หลงเข้าใจผิด มีแสงสว่าง เป็นต้น ) จิตสงบตั้งหมั่น ในภายในมีอารมณ์เป็นหนึ่งแล้วหมดกิเลส.


ศึกษาพระสูตรนี้ได้ที่
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑  บรรทัดที่ ๗๕๖๔ - ๗๘๖๑.  หน้าที่  ๓๑๓ - ๓๒๕.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=31&A=7564&Z=7861&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=534



 ลองทำความเข้าใจดูก่อนนะครับ แล้วผมจะมาให้ความเห็นอีกที :49:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ความหลุดพ้นด้วยอำนาจ แห่งใจ เป็นอย่างไร ครับ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กรกฎาคม 27, 2011, 05:25:04 pm »
0
ลองวิเคราะห์ วิจารณ์ธรรม กันไปก่อนนะในหัวข้อนี้ ฝากทุก ๆ คน ด้วยนะ

 ;)
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28519
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ความหลุดพ้นด้วยอำนาจ แห่งใจ เป็นอย่างไร ครับ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: กรกฎาคม 28, 2011, 07:24:38 am »
0

ความหลุดพ้นด้วยอำนาจ แห่งใจ เป็นอย่างไร ครับ ที่เรียกว่า เจโตวิมุตติ


ตอบว่า เจโตวิมุตติ คือ ความหลุดพ้นแห่งจิต, ความหลุดพ้นด้วยอำนาจการฝึกจิต, ความหลุดพ้นแห่งจิตจากราคะ ด้วยกำลังแห่งสมาธิ

ซึ่งพระอานนท์ ได้กล่าวไว้ใน"ยุคนัทธกถา" อยู่ในข้อ ๑. คือ
  ๑. เจริญวิปัสสนา ( ปัญญาอันเห็นแจ้ง ) มีสมถะเป็นหัวหน้า มรรคเกิดขึ้นเมื่อเจริญมรรคก็ละสังโยชน์ ( กิเลส ที่ร้อยรัดหรือผูกมัด ) ได้ กิเลสพวกอนุสัย ( แฝงตัวหรือนอนอยู่ในสันดาน ) ย่อมไปหมด




 แสดงว่า สมถะกรรมฐาน ก็ไปสู่ความเป็นพระิอริยะบุคคลได้ใช่หรือไม่ครับ
 

ขอให้พิจารณามรรคมีองค์ ๘ ทำไมต้องมีสัมมาสมาธิ(สมถะ) การเป็นอริยบุคคลได้ ต้องมีทั้งสมถกรมฐาน

 และวิปัสสนา หรือ มีทั้งสมาธิและปัญญา พระอานนท์ท่านสรุปให้ไว้ใน"ยุคนัทธกถา" ในสองข้อแรก คือ


๑. เจริญวิปัสสนา ( ปัญญาอันเห็นแจ้ง ) มีสมถะเป็นหัวหน้า มรรคเกิดขึ้นเมื่อเจริญมรรคก็ละสังโยชน์ ( กิเลส ที่ร้อยรัดหรือผูกมัด ) ได้ กิเลสพวกอนุสัย ( แฝงตัวหรือนอนอยู่ในสันดาน ) ย่อมไปหมด

 ๒. เจริญสมถะ ( ความสงบใจ ) มีวิปัสสนาเป็นหัวหน้า แล้วหมดกิเลส


จะเห็นว่าทั้งสองข้อล้วนมีสมถะ

 ข้อแรก คือ เจโตวิมุต หรือ เีรียกทั่วไปว่า "สมาธินำปัญญา"

 ข้อสอง คือ ปัญญาวิมุต หรือ เรียกทั่วไปว่า "ปัญญานำสมาธิ"




 ผู้ฝึก  ปัญญาวิมุตติ นั้นหมายถึงฝึกด้วยสติ ปัญญา เจริญ วิปัสสนากรรมฐาน ใช่หรือไม่ครับ


 ปัญญาวิมุต ก็ต้องเดินอยู่ในมรรคมีองค์ ๘ (ศีล สมาธิ ปัญญา) เหมือนกับ เจโตวิมุต

 ความต่างของปัญญาวิมุต กับ เจโตวิมุต อยู่ที่จะใช้อะไรนำ

 การฝึกปัญญาวิมุต เป็นการใช้ "ปัญญานำสมาธิ" ส่วนเจโตวิมุตใช้ "สมาธินำปัญญา




ทำไมจึงมี พระอาจารย์หลายรูป หลายองค์ เลยครับว่า ฝึกสมถะกรรมฐาน ไม่สามารถสำเร็จเป็นพระอิรยะบุคคลได้ หรือผมยังมีความเข้าใจผิด ในเรื่องกรรมฐาน ในเรื่อง วิมุตติ อยู่ครับ


 ถ้าฝึกสมถะกรรมฐานเพียงอย่างเดียว ไม่บรรลุแน่นอน

 ปัญหามีอยู่ว่า ใครทำความเข้าใจ "มรรคมีองค์ ๘" ได้แค่ไหนอย่างไร

 ขอแนะนำให้ทุกท่านอ่านพระไตรปิฎก "ยุคนัทธกถา" ของพระอานนท์  จะเข้าใจภาพรวมของกรรมฐานได้เอง
 
 พระอานนท์เป็นเอตทัคคะทางด้าน "พหูสูตร" (รู้ดีทุกเรื่อง) ใครล่ะจะปฏิเสธท่าน


 แถมให้นิดครับ การประหารกิเลส หรือการตัดสังโยชน์ ในขั้นที่จะก้าวจาก"ปุถุชน" ไปสู่ "อริยบุคคล" นั้น

 ต้องใช้กำลังสมาธิในขั้น "อัปปนาสมาธิ" สิ่งนี้อธิบายไ้ด้ว่า ทำไมสัมมาสมาธิ จึงหมายถึง ฌาณ ๔


  :welcome: :49: :25: ;)
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

meditation

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 127
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ความหลุดพ้นด้วยอำนาจ แห่งใจ เป็นอย่างไร ครับ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: กรกฎาคม 28, 2011, 07:32:08 am »
0
ลองวิเคราะห์ วิจารณ์ธรรม กันไปก่อนนะในหัวข้อนี้ ฝากทุก ๆ คน ด้วยนะ

 ;)

จะลองวิจารณ์ ดูคะ



เจโตวิมุตติ หลุดพ้น ด้วยอำนาจแห่ง ใจ
  ก็น่าจะหมายถึง ใจพ้นแล้ว ใจมีกำลังกล้าแกร่ง สามารถที่จะเผชิญ กับ กิเลสได้

ปัญญาวิมุตติ หลุดพ้น ด้วยอำนาจแห่งปัญญา
  ก็น่าจะหมายถึง  สามารถเผชิญกับกิเลส  ด้วยความเข้าใจ มากกว่า อาจจะต้องมีสติ ตั้งสติเป็นพื้นฐาน

 :'(



บันทึกการเข้า
ข้าพเจ้าปรียบเหมือนนกที่กำลังหัดเดิน มีสิ่งใดที่ล่วงเกินใคร ก็ขอกราบอภัยไว้ล่วงหน้านะคะ
ภาวนากรรมฐาน เพื่อใคร เพื่ออะไร ทำไม ? หาคำตอบจากใจเราก่อนนะคะ

เฉินหลง

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 153
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
ความหลุดพ้นด้วยอำนาจ จากสมาธิ
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: สิงหาคม 01, 2011, 08:57:25 am »
0
[๑๓๗] บุคคลผู้ได้เจโตสมถะในภายใน แต่ไม่ได้ปัญญาที่เห็น
แจ้งในธรรม กล่าวคืออธิปัญญา เป็นไฉน
            บุคคลบางคนในโลกนี้ ได้สมาบัติที่สหรคตด้วยรูป หรือสหรคตด้วย
อรูป แต่ไม่ได้โลกุตรมรรค หรือโลกุตรผล บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า เป็นผู้ได้
เจโตสมถะในภายใน แต่ไม่ได้ปัญญาที่เห็นแจ้งในธรรม กล่าวคือ อธิปัญญา
            บุคคลผู้ได้ปัญญาเห็นแจ้งในธรรม กล่าวคืออธิปัญญา แต่ไม่
ได้เจโตสมถะเป็นภายใน เป็นไฉน
            บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ได้โลกุตตรมรรคหรือโลกุตตรผล แต่
ไม่ได้สมาบัติที่สหรคตด้วยรูป หรือสหรคตด้วยอรูป บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า เป็น
เป็นผู้ได้ปัญญาที่เห็นแจ้งในธรรมกล่าวคืออธิปัญญา แต่ไม่ได้เจโตสมถะเป็น
ภายใน............................................................

[  เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๖  บรรทัดที่ ๓๖๕๙ - ๔๕๔๔.  หน้าที่  ๑๕๐ - ๑๘๕.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=36&A=3659&Z=4544&pagebreak=0  ]
บันทึกการเข้า