สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

เรื่องทั่วไป => ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) => ข้อความที่เริ่มโดย: sunee ที่ สิงหาคม 26, 2012, 03:49:04 pm



หัวข้อ: อยากทราบความหมาย ของคำว่า จริงโดยสมมุติ กับ จริง โดยปรมัตถ์ คะ
เริ่มหัวข้อโดย: sunee ที่ สิงหาคม 26, 2012, 03:49:04 pm
อยากทราบความหมาย ของคำว่า จริงโดยสมมุติ กับ จริง โดยปรมัตถ์ คะ
เมื่อมีผู้กล่าวว่า การเห็นธรรม คือการเห็นและเข้า ใจ สัจจะ

 สัจจะ มีสองส่วนคือ สัจจะที่เป็น สมมุติ กับ สัจจะ ที่เป็น ปรมัตถ์ แต่ยังไม่เข้าใจคะ

จึงขอท่านผู้รู้แจกธรรมด้วยคะ

  :c017: :25:


หัวข้อ: Re: อยากทราบความหมาย ของคำว่า จริงโดยสมมุติ กับ จริง โดยปรมัตถ์ คะ
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กันยายน 07, 2012, 11:50:02 am

(http://images.palungjit.com/attachments/20409-%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%87-450-jpg)


    สัจจะ ๒ (ความจริง)

    ๑. สมมติสัจจะ (ความจริงโดยสมมุติ, ความจริงที่ถือตามความกำหนดตกลงกันไว้ของชาวโลก เช่นว่า คน สัตว์ โต๊ะ หนังสือ เป็นต้น)

    ๒. ปรมัตถสัจจะ (ความจริงโดยปรมัตถ์, ความจริงตามความหมายขั้นสุดท้ายที่ตรงตามสภาวะ และเท่าที่จะกล่าวถึงได้ เช่นว่า รูป นาม เวทนา จิต เจตสิก เป็นต้น)



อ้างอิง
องฺ.อ.๑/๑๐๐; ปญฺจ.อ.๑๕๓,๑๘๒,๒๔๑; ฯลฯ
http://www.dhammathai.org/bd/02.php (http://www.dhammathai.org/bd/02.php)
ขอบคุณภาพจาก http://images.palungjit.com/ (http://images.palungjit.com/)


ปรมัตถ์
       1. ประโยชน์อย่างยิ่ง คือ พระนิพพาน
       2. ความหมายสูงสุด, ความหมายที่แท้จริง เช่น ในคำว่า ปรมัตถธรรม

ปรมัตถธรรม สภาวะที่มีอยู่โดยปรมัตถ์,
       สิ่งที่เป็นจริงโดยความหมายสูงสุด ตามหลักอภิธรรมว่ามี ๔ คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน



ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)


หัวข้อ: Re: อยากทราบความหมาย ของคำว่า จริงโดยสมมุติ กับ จริง โดยปรมัตถ์ คะ
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กันยายน 07, 2012, 12:12:06 pm

มหาภูตรูป ๔ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ


(http://buddhism-online.org/Images/Sect05A/P03_2.gif)


๑. ปฐวีธาตุ คือ ธาตุดิน เป็นธรรมชาติที่มีลักษณะ แข็ง หรือ อ่อน ถ้ามีธาตุดินอยู่มากก็จะแข็งมาก เช่น เหล็ก หิน ถ้ามีธาตุดินอยู่น้อยก็จะอ่อน เช่น ยาง ฟองน้ำ เป็นต้น ธาตุดินมี ๔ อย่าง
 
    ๑. ดินแท้ (ปรมัตถปฐวี หรือ ลักขณปฐวี)
    หมายถึง  ลักษณะที่ แข็ง หรือ อ่อน ของวัตถุต่าง ๆ ที่เราสามารถสัมผัส ถูกต้องได้ด้วยกาย เช่น เหล็ก หรือ ยาง ดังกล่าวมาแล้วข้างต้น
 
    ๒. ดินสมมุติ (สมมุติปฐวี หรือ ปกติปฐวี)
    หมายถึง  ดินที่เรียกกันทั่วไป เช่น ที่ดิน แผ่นดิน พื้นดิน ดินเหนียว ดินที่ใช้ในการทำไร่ไถนา เป็นต้น
 
    ๓. ดินที่มีอยู่ในร่างกาย (ตามนัยแห่งพระสูตร) เรียกว่า สสัมภารปฐวี
    หมายถึง  ส่วนที่แข็งที่มีอยู่ภายในร่างกายของคน และสัตว์ทั้งหลาย เช่น ผม ขน เล็บ ฟัน เป็นต้น รวมทั้งของแข็งที่อยู่ภายนอกด้วย เช่น เหล็กทองแดง ศิลา ดิน เป็นต้น
 
    ๔. ดินที่ใช้เพ่งทำให้เกิดสมาธิ (กสินปฐวี)
    หมายถึง  ดินที่นำมาทำเป็นแผ่นวงกลมเท่าฝาบาตร เพื่อนำมาเพ่งให้เกิดสมาธ ิใช้เป็นอารมณ์ในการ เจริญสมถกรรมฐาน 

 

(http://buddhism-online.org/Images/Sect05A/P04_Sail.gif)


๒. อาโปธาตุ คือ ธาตุน้ำ มี ๔ อย่าง
 
    ๑. น้ำแท้ (ปรมัตถอาโป หรือ ลักขณอาโป)
    หมายถึง  ลักษณะที่ไหล หรือ เกาะกุมของวัตถุต่าง ๆ จะรู้ได้ด้วยใจเท่านั้น ไม่ใช่รู้ได้โดยการเห็นด้วยตา หรือ สัมผัสด้วยกาย 
 
    ๒. น้ำสมมุติ (สมมุติอาโป หรือ ปกติอาโป)
    หมายถึง  น้ำที่เรียกกันทั่วไป เช่น น้ำที่ดื่ม น้ำในแม่น้ำลำคลอง น้ำในทะเล น้ำในมหาสมุทร เป็นต้น 
 
    ๓. น้ำที่มีอยู่ในร่างกาย (ตามนัยแห่งพระสูตร) เรียกว่า สสัมภารอาโป
    หมายถึง  ส่วนที่เป็นของเหลวที่อยู่ในร่างกายของคน และสัตว์ทั้งหลาย เช่น ดี เลือด เสมหะ เหงื่อ เป็นต้น รวมทั้งของเหลวที่อยู่ภายนอกด้วย เช่น น้ำจากรากต้นไม้ น้ำจากใบไม้ น้ำจากดอกไม้ น้ำจากผลไม้ เป็นต้น
 
    ๔. น้ำที่ใช้เพ่งทำให้เกิดสมาธิ (กสิณอาโป)
    หมายถึง  น้ำที่นำมาใส่ในขัน อ่าง หรือ ในบ่อ ใช้เพ่งดูเพื่อให้เกิดสมาธิ ซึ่ง ใช้เป็นอารมณ์ในการเจริญสมถกรรมฐาน

 

(http://buddhism-online.org/Images/Sect05A/FireP04.gif)


๓. เตโชธาตุ  คือ ธาตุไฟ มี ๔ อย่าง
 
    ๑. ไฟแท้ (ปรมัตถเตโช หรือ ลักขณเตโช)
    หมายถึง  ลักษณะที่ร้อนหรือเย็น ที่มากระทบทางกาย สิ่งต่างๆ จะสุกงอม ละเอียด นุ่มนวลได้ ก็เพราะเตโชธาตุนี้เอง ทำให้สุก อ่อน หรือ นุ่มนวล ละเอียด นุ่มนวลได้ก็เพราะเตโชธาตุนี้เอง ทำให้สุก อ่อน หรือ นุ่มนวล เช่น อาหารที่เรารับประทาน เป็นต้น
 
    ๒. ไฟสมมุติ (สมมุติเตโช หรือ ปกติเตโช)
    หมายถึง  ลักษณะของไฟที่เรียกกันทั่วไป เช่น ไฟฟ้า ไฟถ่าน ไฟฟืน หรือไฟแก๊สหุงต้ม เป็นต้น
 
    ๓. ไฟที่มีอยู่ในร่างกาย (ตามนัยแห่งพระสูตร) เรียกว่า สสัมภารเตโช
    หมายถึง  ไฟที่มีอยู่ในตัวคนและสัตว์ทั้งหมายซึ่งมีลักษณะต่าง ๆ คือ ทำให้ร่างกายอบอุ่น ทำให้ร่างกายแก่ชรา ทำให้เป็นไข้ รวมทั้งไฟธาตุที่ย่อยอาหาร ด้วย ส่วนไฟที่อยู่ภายนอกตัวเราก็มี เช่น ไฟที่เราเห็นโดยทั่ว ๆ ไป
 
    ๔. ไฟที่ใช้เพ่งทำให้เกิดสมาธิ (กสิณเตโช)
    หมายถึง  ไฟที่ทำขึ้นเพื่อใช้เพ่ง ทำให้เกิดสมาธิ หรือใช้เป็นอารมณ์ในการเจริญสมถกรรมฐาน

 

(http://buddhism-online.org/Images/Sect05A/P05pic.jpg)


๔. วาโยธาตุ คือ ธาตุลม มี ๔ อย่าง
 
     ๑. ลมแท้ (ปรมัตถวาโย หรือ ลักขณวาโย)
     หมายถึง  ลักษณะที่ ไหว หรือ เคร่งตึง เช่น การไหวของใบไม้ การไหวร่างกาย การกระพริบตา การตึงของลมในยางรถยนต์ หรือลมในท้องที่จะทำให้ท้องตึงจุกเสียด เป็นต้น
 
     ๒. ลมสมมุติ (สมมุติวาโย หรือ ปกติวาโย)
     หมายถึง  ลมที่เรียกกันทั่ว ๆ ไป เช่น ลมบก ลมทะเล ลมพายุ ลมที่พัดไปมาตามปกติ
 
     ๓. ลมที่มีอยู่ในร่างกาย (ตามนัยแห่งพระสูตร) เรียกว่า สสัมภารวาโย
     หมายถึง  ลมต่าง ๆ ที่พัดอยู่ในร่างกาย คือ ลมที่พัดขึ้นเบื้องบน เช่น การหาว เรอ ลมที่พัดลงเบื้องต่ำ เช่น การผายลม ลมที่อยู่ในช่องท้อง ทำให้ปวด เสียดท้อง ลมที่พัดอยู่ทั่วร่างกายทำให้ไหวกายไปมาได้ และลมหายใจเข้า-ออก นอกจากนี้ยังหมายถึง ลมภายนอกทั่ว ๆ ไป คือ ลมพัดอยู่ตามทิศต่าง ๆ ด้วย
 
     ๔. ลมที่ใช้เพ่งทำให้เกิดสมาธิ (กสิณวาโย หรือ อารัมมณวาโย)
     หมายถึง  ลมที่ใช้เป็นอารมณ์ในการเพ่งกสิณ เพื่อให้เกิดสมาธิ หรือเกิดฌาน โดยการกำหนดเพ่งเอาธาตุลม ที่ทำให้เกิดการไหวของใบไม้ ยอดหญ้า เป็นต้น



ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
http://buddhism-online.org/Section05A_02.htm (http://buddhism-online.org/Section05A_02.htm)


หัวข้อ: Re: อยากทราบความหมาย ของคำว่า จริงโดยสมมุติ กับ จริง โดยปรมัตถ์ คะ
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กันยายน 07, 2012, 02:37:42 pm
อยากทราบความหมาย ของคำว่า จริงโดยสมมุติ กับ จริง โดยปรมัตถ์ คะ
เมื่อมีผู้กล่าวว่า การเห็นธรรม คือการเห็นและเข้า ใจ สัจจะ

 สัจจะ มีสองส่วนคือ สัจจะที่เป็น สมมุติ กับ สัจจะ ที่เป็น ปรมัตถ์ แต่ยังไม่เข้าใจคะ

จึงขอท่านผู้รู้แจกธรรมด้วยคะ

  :c017: :25:

    การอธิบายสัจจะ ๒ อย่างนี้ จำเป็นต้องใช้สมมุติบัญญัติมาอธิบาย
    ไม่ว่าจะเป็นภาษาหรือตัวอักษร ล้วนเป็นสิ่งสมมุติทั้งสิ้น

    การอุบัติของพระพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่ง ผมคิดว่า คงไม่เกิดขึ้นในสมัยมนุษย์ยุคหิน
    เพราะเชื่อว่า ยุคนั้นความเจริญทางภาษาและตัวอักษร ยังไม่พอที่จะอธิบายข้อธรรมของพระพุทธเจ้าได้
    ความจริงโดยสมมุติจึงเป็นเรื่องจำเป็นมาก ในการเผยแผ่ศาสนา

    ความจริงโดยปรมัตถ์เป็นความรู้สึกที่เรารับรู้ ผ่านทางประสาทสัมผัสของเรา(อายตนะ ๖)
    ผมยกเอาเรื่อง ธาตุสี่(ดินน้ำไฟลม) มาอธิบาย ก็เพราะ กรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ
    กำเนิดมาจากพระราหุล พระสูตรที่สำคัญมากพระสูตรหนึ่ง ที่ศิษย์กรรมฐานมัชฌิมาฯ ต้องศึกษา คือ
    "มหาราหุโลวาทสูตร" พระสูตรนี้พระพุทธเจ้าตรัสสอนแก่พระราหุล เนื้อความประกอบด้วยเรื่อง อนาปานสติและธาตุทั้งสี่ เป็นต้น
     เนื้อความโดยย่อของสูตรนี้ อยู่ลิงค์นี้ครับ
     http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=7143.msg26494#msg26494 (http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=7143.msg26494#msg26494)

      :25:
 
   
   
   


หัวข้อ: Re: อยากทราบความหมาย ของคำว่า จริงโดยสมมุติ กับ จริง โดยปรมัตถ์ คะ
เริ่มหัวข้อโดย: Namo ที่ กันยายน 07, 2012, 07:47:36 pm
เรื่องนี้ อ่านแล้วเพิ่มความรู้ทางกรรมฐาน ให้มากเลยคะ ขอบคุณทั้งผู้ถาม ขอบคุณทั้งผู้ตอบคะ ว่าแต่เรื่องไปเกี่ยวกับกระทู้ของพระอาจารย์ที่ให้ ศิษย์ทำธรรมวิจยะ กันหรือไม่คะ

  :c017: :s_good: :49:


หัวข้อ: Re: อยากทราบความหมาย ของคำว่า จริงโดยสมมุติ กับ จริง โดยปรมัตถ์ คะ
เริ่มหัวข้อโดย: KIDSADA ที่ กันยายน 08, 2012, 12:15:17 pm
อนุโมทนา ครับ
เป็นเรื่องที่อ่านเข้าใจง่าย ๆ นะครับ

 :25: :25: :25:


หัวข้อ: Re: อยากทราบความหมาย ของคำว่า จริงโดยสมมุติ กับ จริง โดยปรมัตถ์ คะ
เริ่มหัวข้อโดย: drift-999 ที่ กันยายน 08, 2012, 12:21:36 pm
มีแนวทาง ชัดเจนนะครับ เรื่องนี้ รู้สึกว่า พระอาจารย์ส่งเมล เป็นการบ้าน มาให้ทางผมด้วยนะครับ อย่างนี้จะได้ทำข้อสอบน้อยลงไปหน่อยครับ

 :13: :c017: :25: