ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: 'ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม' ต้องปฏิบัติอย่างไร.?  (อ่าน 3192 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28456
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



'ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม' ต้องปฏิบัติอย่างไร.?

      [๑๒๙] สมัยนั้น ไม้สาละทั้งคู่ เผล็ดดอกสะพรั่งนอกฤดูกาล ดอกไม้เหล่านั้นร่วงหล่นโปรยปรายลงยังพระสรีระของพระตถาคตเพื่อบูชา แม้ดอกมณฑารพอันเป็นของทิพย์ก็ตกลงมาจากอากาศ ดอกมณฑารพเหล่านั้น ร่วงหล่นโปรยปรายลงยังพระสรีระของพระตถาคตเพื่อบูชา
      แม้จุณแห่งจันทน์อันเป็นของทิพย์ ก็ตกลงมาจากอากาศ จุณแห่งจันทน์เหล่านั้น ร่วงหล่นโปรยปรายลงยังพระสรีระของพระตถาคตเพื่อบูชา ดนตรีอันเป็นทิพย์เล่าก็ประโคมอยู่ในอากาศ เพื่อบูชาพระตถาคต แม้สังคีตอันเป็นทิพย์ก็เป็นไปในอากาศ เพื่อบูชาพระตถาคต ฯ

      ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกท่านพระอานนท์มารับสั่งว่า
      ดูกรอานนท์ไม้สาละทั้งคู่ เผล็ดดอกบานสะพรั่งนอกฤดูกาล ร่วงหล่นโปรยปรายลงยังสรีระของตถาคตเพื่อบูชา แม้ดอกมณฑารพอันเป็นของทิพย์ ก็ตกลงมาจากอากาศ ดอกมณฑารพเหล่านั้น ร่วงหล่นโปรยปรายลงยังสรีระของตถาคตเพื่อบูชา
      แม้จุณแห่งจันทน์อันเป็นของทิพย์ ก็ตกลงมาจากอากาศ จุณแห่งจันทน์เหล่านั้น ร่วงหล่นโปรยปรายลงยังสรีระของตถาคตเพื่อบูชา ดนตรีอันเป็นทิพย์เล่าก็ประโคมอยู่ในอากาศ เพื่อบูชาตถาคต แม้สังคีตอันเป็นทิพย์ก็เป็นไปในอากาศเพื่อบูชาตถาคต


      ans1 ans1 ans1

     ดูกรอานนท์ ตถาคตจะชื่อว่าอันบริษัทสักการะ เคารพ นับถือ บูชา นอบน้อมด้วยเครื่องสักการะประมาณเท่านี้หามิได้ ผู้ใดแล จะเป็นภิกษุ ภิกษุณี อุบาสกหรืออุบาสิกาก็ตาม เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ  ปฏิบัติตามธรรมอยู่ ผู้นั้นย่อมชื่อว่าสักการะ เคารพ นับถือ บูชาตถาคตด้วยการบูชาอย่างยอด
     เพราะเหตุนั้นแหละอานนท์ พวกเธอพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักเป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรมอยู่ ดังนี้ ฯ


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ บรรทัดที่ ๓๒๕๘ - ๓๒๗๗. หน้าที่ ๑๓๓ - ๑๓๔. http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=10&A=3258&Z=3277&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=67
ภาพจาก http://3.bp.blogspot.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28456
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: 'ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม' ต้องปฏิบัติอย่างไร.?
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มกราคม 29, 2014, 10:47:07 am »
0


"ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม...เป็นไฉน.?"

ข้อความบางตอน...จากหนังสือ  "ชื่อนั้นสำคัญไฉน" โดยอาจารย์ประณีต ก้องสมุทร และ คณะสหายธรรม ตอนที่ ๕..."ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม...เป็นไฉน.?"

 ask1 ask1 ask1

ถาม : เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าใกล้จะเสด็จปรินิพพาน ได้รับการบูชาจากมนุษย์และเทวดา ด้วยเครื่องสักการะ มีดอกไม้ เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสกับท่านพระอานนท์ว่า
      "ดูก่อน อานนท์พระตถาคต จะชื่อว่าอันบริษัทสักการะ เคารพ นับถือ บูชา นอบน้อมด้วยเครื่องสักการะประมาณเท่านี้ หามิได้ ผู้ใดแล จะเป็นภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก หรือ อุบาสิกา ก็ตามเป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติธรรมอยู่ ผู้นั้นย่อมชื่อว่าสักการะ เคารพ นับถือบูชา...ด้วยการบูชาอย่างยิ่ง
     เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์พวกเธอจงสำเหนียกอย่างนี้ ว่า เราจักเป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรมอยู่"

     อยากทราบความหมายของคำว่า "ประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม" ว่า ได้แก่อะไรบ้าง.?





 ans1 ans1 ans1

ตอบ : คำว่า "ประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม" ได้แก่ การปฏิบัติตามข้อปฏิบัติอันเป็นส่วนเบื้องต้น อันข้อปฏิบัติอันชอบยิ่ง.

    สำหรับพระภิกษุ ได้แก่ การสมาทานธุดงค์ อันเป็นข้อปฏิบัติชอบ จนถึงโคตรภูญาณ นี้ชื่อว่า เป็นข้อปฏิบัติอันเป็นส่วนเบื้องต้น.
    ภิกษุใด ไม่ละเมิดสิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้ไม่ตั้งอยู่ ใน "อคารวะ ๖" คือ
       ไม่เคารพ ไม่เชื่อฟังพระศาสดา ๑
       ไม่เคารพ ไม่เชื่อฟังพระธรรม ๑
       ไม่เคารพ ไม่เชื่อฟังพระสงฆ์ ๑
       ไม่เคารพ ไม่เชื่อฟังในสิกขา ๑ (สิกขา คือ อธิศีลสิกขา อธิจิตสิกขา อธิปัญญาสิกขา)
       ไม่เคารพ  ไม่เชื่อฟังในความไม่ประมาท ๑
       ไม่เคารพ ไม่เชื่อฟังในปฏิสันถาร คือ การต้อนรับ ๑ (ปฏิสันถารมี ๒ คือ อามิสปฏิสันถาร และธัมมปฏิสันถาร)
    และ เป็นภิกษุผู้เลี้ยงชีวิต ด้วยการแสวงหาที่สมควรภิกษุนี้ ชื่อว่า "ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม"


    สำหรับอุบาสก อุบาสิกา ที่ปฏิบัติให้สมบูรณ์ใน สรณะ ๓ สมาทานรักษาศีล ๕ ,ศีล ๘ ,ศีล ๑๐ ,รักษาอุโบสถศีล ,ถวายทาน ,บูชาด้วยของหอม ,บูชาด้วยดอกไม้ ,บำรุงบิดามารดา ,บำรุงสมณพราหมณ์ ,อุบาสก-อุบาสิกานี้ ชื่อว่า เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม อันเป็นข้อปฏิบัติส่วนเบื้องต้น.
    ถ้าเป็นการปฏิบัติส่วนเบื้องปลาย คือ ปฏิบัติตามโพธิปักขิยธรรม ๓๗  อันสมควรแก่ มรรค-ผล นี้ชื่อว่า  ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม  อันเป็นส่วนเบื้องปลาย.


 :96: :96: :96:

สรุปว่า : "การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม" นั้น มีทั้งการปฏิบัติให้สมควรทั้งในตอนต้น และการปฏิบัติให้สมควรในตอนปลาย และการปฏิบัติธรรมจนถึง มรรค ผล นิพพาน ก็ต้องปฏิบัติให้ถึงตอนปลาย.
(จาก อรรถกถา มหาปรินิพพานสูตร ที. มหาวรรค)


อ่านข้อความอ้างอิงจากพระไตรปิฎกได้ที่
http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=11754


ที่มา http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=15794
ขอบคุณภาพจาก http://www.dhammathai.org/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ