ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: "ไม่พัก ไม่เพียร" คำนี้ลึกล้ำ  (อ่าน 5527 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28453
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
"ไม่พัก ไม่เพียร" คำนี้ลึกล้ำ
« เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2011, 06:33:34 am »
0

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค

เทวตาสังยุต นฬวรรคที่ ๑ โอฆตรณสูตรที่ ๑

             [๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้-
             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้วเทวดาองค์หนึ่ง มีวรรณงาม ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่าง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค แล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ

             [๒] เทวดานั้น ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูลคำนี้กะพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์ ข้าพระองค์ขอทูลถาม พระองค์ข้ามโอฆะได้อย่างไร ฯ

             พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ท่านผู้มีอายุ เราไม่พักอยู่ ไม่เพียรอยู่ ข้ามโอฆะได้แล้ว ฯ

             ท. ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์ ก็พระองค์ไม่พักไม่เพียร ข้ามโอฆะได้อย่างไรเล่า ฯ
             พ. ท่านผู้มีอายุ เมื่อใด เรายังพักอยู่ เมื่อนั้น เรายังจมอยู่โดยแท้ เมื่อใดเรายังเพียรอยู่ เมื่อนั้น เรายังลอยอยู่โดยแท้ ท่านผู้มีอายุ เราไม่พัก เราไม่เพียร ข้ามโอฆะได้แล้วอย่างนี้แล ฯ

             เทวดานั้นกล่าวคาถานี้ว่า
             นานหนอ ข้าพเจ้าจึงจะเห็นขีณาสวพราหมณ์ผู้ดับรอบแล้ว ไม่พัก ไม่เพียรอยู่ ข้ามตัณหาเป็นเครื่องเกาะเกี่ยวในโลก ฯ

             [๓] เทวดานั้นกล่าวคำนี้แล้ว พระศาสดาทรงอนุโมทนา ครั้งนั้นแล เทวดานั้นดำริว่า พระศาสดาทรงอนุโมทนาคำของเรา จึงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้วก็หายไป ณ ที่นั้นแล ฯ



อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ บรรทัดที่ ๑ - ๒๙. หน้าที่ ๑ - ๒.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=15&A=0&Z=29&pagebreak=0             
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=1
ขอบคุณภาพจาก http://www.bloggang.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28453
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: "ไม่พัก ไม่เพียร" คำนี้ลึกล้ำ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2011, 06:49:35 am »
0


โอฆะ ห้วงน้ำคือสงสาร, ห้วงน้ำคือการเวียนว่ายต่ายเกิด;
       กิเลสอันเป็นดุจกระแสน้ำหลากท่วมใจสัตว์ มี ๔ คือ กาม ภพ ทิฏฐิ อวิชชา


โอฆะ ๔ (สภาวะอันเป็นดุจกระแสน้ำหลากท่วมใจสัตว์, กิเลสดุจน้ำท่วมพาผู้ตกไปให้พินาศ)
ได้แก่ กาม ภพ ทิฏฐิ อวิชชา (กาโมฆะ ภโวฆะ ทิฏโฐฆะ อวิชโชฆะ)
เหมือนในอาสวะ ๔

อาสวะ ๔ (สภาวะอันหมักดองสันดาน, สิ่งที่มอมพื้นจิต, กิเลสที่ไหลซึมซ่านไปย้อมใจเมื่อประสบอารมณ์ต่าง ๆ)
๑. กามาสวะ (อาสวะคือกาม)
๒. ภวาสวะ (อาวสวะคือภพ)
๓. ทิฏฐาสวะ (อาสวะคือทิฏฐิ)
๔. อวิชชาสวะ (อาสวะคืออวิชชา)


ในที่มาส่วนมาก โดยเฉพาะในพระสูตร  แสดงอาสวะไว้ ๓ อย่าง  โดยสงเคราะห์ทิฎฐาสวะเข้าในภวาสวะ



อ้างอิง พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ และประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
ขอบคุณภาพจาก http://ohmpps.go.th/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: "ไม่พัก ไม่เพียร" คำนี้ลึกล้ำ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2011, 09:08:10 am »
0
อ้างถึง
พ. ท่านผู้มีอายุ เมื่อใด เรายังพักอยู่ เมื่อนั้น เรายังจมอยู่โดยแท้ เมื่อใดเรายังเพียรอยู่ เมื่อนั้น เรายังลอยอยู่โดยแท้ ท่านผู้มีอายุ เราไม่พัก เราไม่เพียร ข้ามโอฆะได้แล้วอย่างนี้แล ฯ

เพื่อความแน่ใจ ถูกต้อง โปรดเีทียบบาลี ลงไปด้วย

ก่อนจะขยายความหมาย  กันต่อไปนะจ๊ะ
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

เสกสรรค์

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 419
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: "ไม่พัก ไม่เพียร" คำนี้ลึกล้ำ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2011, 11:12:48 am »
0
วิเคราะห์ คำ แล้ว

  พัก อยู่  ก็ จม อยู่ในโอฆะ
  เพียร อยู่ ก็ ลอย อยู่บนโอฆะ

  ไม่พัก ก็คือ ไม่จม
  ไม่เพียร ก็คือ ไม่ลอย

  ไม่จม และ ไม่ลอย ก็คือ ไม่อยู่ในน้ำ คือ โอฆะ

 รอผู้ยกศัพท์ บาลี ขึ้นมา ก่อนก็ดีนะครับ ก่อนจะแน่ใจ
บรรลุธรรม แบบ ฉับพลัน

 :s_hi:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28453
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: "ไม่พัก ไม่เพียร" คำนี้ลึกล้ำ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2011, 12:55:03 pm »
0
พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๕
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค


เทวตาสังยุต นฬวรรคที่ ๑
โอฆตรณสูตรที่ ๑

                                     
    [๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
     สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของ ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้วเทวดาองค์หนึ่ง มีวรรณงามยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่าง เข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค แล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ


    [๒] เทวดานั้น ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูลคำนี้   กะพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์ ข้าพระองค์ขอทูลถาม พระองค์   ข้ามโอฆะได้อย่างไร ฯ
     พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ท่านผู้มีอายุ เราไม่พักอยู่ ไม่เพียรอยู่ ข้ามโอฆะได้แล้ว ฯ

    ท. ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์ ก็พระองค์ไม่พักไม่เพียร ข้ามโอฆะได้ อย่างไรเล่า ฯ
     พ. ท่านผู้มีอายุ เมื่อใด เรายังพักอยู่ เมื่อนั้น เรายังจมอยู่โดยแท้     เมื่อใดเรายังเพียรอยู่ เมื่อนั้น เรายังลอยอยู่โดยแท้ ท่านผู้มีอายุ เราไม่พัก เรา ไม่เพียร ข้ามโอฆะได้แล้วอย่างนี้แล ฯ


     เทวดานั้นกล่าวคาถานี้ว่า
     นานหนอ ข้าพเจ้าจึงจะเห็นขีณาสวพราหมณ์ผู้ดับรอบแล้ว    ไม่พักอยู่ไม่เพียรอยู่ ข้ามตัณหาเป็นเครื่องเกาะเกี่ยวในโลก ฯ

    [๓] เทวดานั้นกล่าวคำนี้แล้ว พระศาสดาทรงอนุโมทนา ครั้งนั้นแล      เทวดานั้นดำริว่า พระศาสดาทรงอนุโมทนาคำของเรา จึงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค   ทำประทักษิณแล้วก็หายไป ณ ที่นั้นแล ฯ




ปฐมํ โอฆตรณสุตฺตํ

  [๑]   เอวมฺเม   สุตํ   เอกํ   สมยํ   ภควา  สาวตฺถิยํ  วิหรติ เชตวเน   อนาถปิณฺฑิกสฺส   อาราเม   ฯ  อถ  โข  อญฺญตรา  เทวตา อภิกฺกนฺตาย   รตฺติยา  อภิกฺกนฺตวณฺณา  เกวลกปฺปํ  เชตวนํ  โอภาเสตฺวา
เยน    ภควา    เตนุปสงฺกมิ   อุปสงฺกมิตฺวา   ภควนฺตํ   อภิวาเทตฺวา เอกมนฺตํ อฏฺฐาสิ ฯ


   [๒]   เอกมนฺตํ   ฐิตา   โข   สา  เทวตา  ภควนฺตํ  เอตทโวจ กถํ   นุ   ตฺวํ   มาริส   โอฆมตรีติ   ฯ   อปฺปติฏฺฐํ   ขฺวาหํ  อาวุโส อนายูหํ    โอฆมตรินฺติ   ฯ   ยถากถํ   ปน   ตฺวํ   มาริส   อปฺปติฏฺฐํ
อนายูหํ   โอฆมตรีติ   ฯ   ยทา   สฺวาหํ  อาวุโส  สนฺติฏฺฐามิ  ตทาสฺสุ

สํสีทามิ  ยทา  สฺวาหํ  อายูหามิ  ๑  ตทาสฺสุ  นิวุยฺหามิ ๒ เอวํ ขฺวาหํ อาวุโส อปฺปติฏฺฐํ อนายูหํ โอฆมตรินฺติ ฯ

     จิรสฺสํ วต ปสฺสามิ       พฺราหฺมณํ ปรินิพฺพุตํ
      อปฺปติฏฺฐํ อนายูหํ        ติณฺณํ โลเก วิสตฺติกนฺติ ฯ

   [๓]   อิทมโวจ   สา   เทวตา   สมนุญฺโญ   สตฺถา  อโหสิ  ฯ อถ  โข  สา  เทวตา  สมนุญฺโญ  ๓  เม สตฺถาติ ภควนฺตํ อภิวาเทตฺวา ปทกฺขิณํ กตฺวา ตตฺเถวนฺตรธายีติ ฯ


ที่มา http://etipitaka.com/compare?lang1=thai&lang2=pali&p1=2&p2=2&volume=15
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28453
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: "ไม่พัก ไม่เพียร" คำนี้ลึกล้ำ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2011, 01:14:47 pm »
0

อรรถกถา สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวตาสังยุต นฬวรรคที่ ๑
โอฆตรณสูตรที่ ๑

               บทว่า กถํ นุ เป็นการณปุจฉา.
               จริงอยู่ ความที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงข้ามโอฆะได้แล้วปรากฏแก่หมื่นโลกธาตุ ด้วยเหตุนั้น ความสงสัยของเทวดานี้ ในที่นี้ว่า ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงข้ามโอฆะได้แล้วด้วยเหตุนี้ จะไม่ทรงทราบอะไรๆ ย่อมไม่มี ด้วยเหตุนั้น เทวดานั้น เมื่อจะทูลถามถึงเหตุที่ทรงข้ามโอฆะนั้น จึงกราบทูลอย่างนี้.


               บทว่า มาริส นี้เป็นคำร้องเรียกด้วยถ้อยคำอันไพเราะ. อธิบายว่า ผู้ไม่มีทุกข์ ดังนี้ ผิว่าครั้นเมื่อความเป็นอย่างนั้นมีอยู่ เมื่อใด บุคคลถูกเสียบแทงหัวใจด้วยหลาว หรือเมื่อเราไหม้อยู่ในนรกสักพันปี ดังนี้. คำว่า มาริสะ นี้ย่อมคลาดเคลื่อนไป เพราะว่าสัตว์นรกที่ชื่อว่า ผู้ไม่มีทุกข์หามีไม่ สัตว์นรกเป็นผู้ไม่ปราศจากทุกข์ แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น ท่านก็เรียกว่า มาริส (ท่านผู้ไม่มีทุกข์) ด้วยเสียงของผู้เจริญแล้ว.

               ได้ยินว่า ในกาลก่อน โวหารว่า มาริสนี้เป็นของมนุษย์ต้นกัลป์ผู้ไม่มีทุกข์ ผู้สมบูรณ์ด้วยความสุข ต่อมาภายหลัง ความทุกข์จะมีหรือไม่ก็ตาม ท่านก็ยังเรียกคำนี้ด้วยเสียงของผู้เจริญแล้วนั่นแหละ เหมือนสระบัวทั้งหลายที่ไม่มีดอกบัวก็ดี ไม่มีน้ำก็ดี ท่านก็เรียกว่าสระบัวฉะนั้น.

               โอฆะ ๔ ในพระบาลีว่า โอฆมตริ นี้คือ กาโมฆะ ภโวฆะ ทิฏโฐฆะและอวิชโชฆะ.
               ในโอฆะเหล่านั้น ความยินดีพอใจในกามคุณ ๕ ชื่อว่ากาโมฆะ. ความยินดีพอใจในรูปารูปภพและความใคร่ในฌาน ชื่อว่าภโวฆะ. ทิฐิ ๖๒ ชื่อว่าทิฏโฐฆะ. ความไม่รู้ในสัจจะ ๔ ชื่อว่าอวิชโชฆะ.

               ในบรรดาโอฆะ ๔ เหล่านั้น กาโมฆะย่อมเกิดขึ้นในจิตตุปบาทอันสหรคตด้วยโลภะ ๘ ดวง. ภโวฆะย่อมเกิดขึ้นในจิตตุปบาทอันสหรคตด้วยโลภทิฏฐิคตวิปปยุต ๔ ดวง. ทิฏโฐฆะย่อมเกิดขึ้นในจิตตุปบาทอันสัมปยุตด้วยทิฏฐิคตะ ๔ ดวง. อวิชโชฆะย่อมเกิดขึ้นในอกุศลทั้งปวง.

               ก็ธรรมทั้งหมดนี้ ชื่อว่าโอฆะ เพราะอรรถว่าเป็นเหตุนำสัตว์ไป และเพราะอรรถว่าเป็นหมู่ใหญ่.
               คำว่า เพราะอรรถว่าเป็นเหตุนำสัตว์ไป. อธิบายว่า เป็นเหตุให้ตกไปในเบื้องต่ำ.
               จริงอยู่ โอฆะนี้ย่อมยังสัตว์ทั้งหลายที่อยู่ในอำนาจของตนให้ตกไปในเบื้องต่ำ คือให้เกิดในทุคติต่างๆ มีนรกเป็นต้น.

              อีกอย่างหนึ่ง เมื่อไม่ให้ไปในเบื้องบน คือพระนิพพาน ย่อมให้ไปในเบื้องต่ำ คือในภพ ๓ กำเนิด ๔ คติ ๕ วิญญาณฐิติ ๗ และสัตตาวาส ๙ ดังนี้บ้าง.
               คำว่า เพราะอรรถว่าเป็นหมู่ใหญ่ อธิบายว่า เพราะหมู่แห่งกิเลสนี้ใหญ่แผ่กระจายอำนาจไปตั้งแต่อเวจีมหานรกจนถึงภวัคคภูมิ หมู่แห่งกิเลสคือโอฆะนี้ใด ชื่อว่ามีความยินดีพอใจในกามคุณ ๕ แม้ในโอฆะที่เหลือก็นัยนี้แหละ. บัณฑิตพึงทราบกิเลสชื่อว่าโอฆะ เพราะอรรถว่าเป็นหมู่ใหญ่ด้วยประการฉะนี้.


               บทว่า อตริ อธิบายว่า เทวบุตรนั้นทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ พระองค์ข้ามโอฆะแม้ทั้ง ๔ นี้ด้วยอย่างไรหนอ ดังนี้.
               ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงวิสัชนาปัญหาของเทวดานั้น จึงตรัสคำเป็นต้นว่า อปฺปติฏฺงฐํ ขฺวาหํ แปลว่า เราไม่พักอยู่เป็นต้น.

               บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปฺปติฏฐํ แก้เป็น อปฺปติฏฐหนฺโต แปลว่า ไม่พักอยู่.
               บทว่า อนายูหํ แก้เป็น อนายูหนฺโต แปลว่า ไม่เพียรอยู่ คือไม่พยายามอยู่.
               พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสปัญหากระทำให้เป็นคำอันลี้ลับปิดบังแล้วด้วยประการฉะ
นี้.

               แม้เทวดาก็ฟังคำอันเป็นภายนอกก่อน ธรรมดาว่า บุคคลผู้ข้ามโอฆะต้องยืนอยู่ในที่อันตนควรยืน ต้องพยายามในที่อันตนพึงข้ามจึงข้ามไปได้ แต่พระองค์ตรัสว่า เราไม่พักอยู่ ไม่เพียรอยู่ ข้ามได้แล้วซึ่งกองกิเลส คือกิเลสเพียงดังโอฆะ (ห้วงน้ำวน) อันแผ่ควบคุมไปตั้งแต่อเวจีนรกจนถึงภวัคคภูมิดังนี้ จิตของเขาก็จะแล่นไปสู่ความสงสัยว่านั่นอะไรหนอ จึงชื่อว่าไม่ทราบซึ่งอรรถแห่งปัญหา.

               ถามว่า ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบำเพ็ญพระบารมีทั้งหลายแล้วแทงตลอดสัพพัญญุตญาณ เพื่อต้องการจะตรัสสิ่งที่สัตว์ยังมิได้รู้ มิใช่หรือ.
               ตอบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าแทงตลอดสัพพัญญุตญาณ เพื่อทรงพระประสงค์จะตรัสคำเพียงเท่านี้หามิได้.         
               ก็เทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้ามี ๒ อย่าง คือ แสดงโดยนิคคหมุขะและอนุคคหมุขะ.


               ในบรรดา ๒ อย่างนั้น บุคคลเหล่าใดมีความถือตัวว่าเป็นบัณฑิต ย่อมสำคัญในสิ่งที่ตนยังไม่รู้ว่ารู้แล้ว ดุจพราหมณ์ ๕๐๐ ที่บวชเป็นบรรพชิต เพื่อข่มมานะของพราหมณ์และบรรพชิตเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงธรรมเช่นกับพระสูตรทั้งหลายมีมูลปริยายสูตรเป็นต้น นี้ชื่อว่านิคคหมุขเทศนา.

               พระดำรัสนี้ สมดังที่ตรัสไว้ว่า
               ดูก่อนอานนท์ เราจักกล่าวข่มบุคคลผู้ควรข่ม เราจักยกย่องบุคคลผู้ควรยกย่อง ภิกษุใดมีธรรมเป็นสาระ ภิกษุนั้นจักดำรงอยู่ ดังนี้.

               ส่วนชนเหล่าใดเป็นผู้ตรง ใคร่ต่อการศึกษา พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมแสดงธรรมแก่ชนเหล่านั้นกระทำให้เป็นผู้รู้ได้ง่าย เช่นในสูตรทั้งหลายมีอากังเขยยสูตรเป็นต้น ทั้งยังชนเหล่านั้นให้ปลอดโปร่งใจ เช่นในคำว่า ดูก่อนติสสะผู้ยินดียิ่ง ดูก่อนติสสะผู้ยินดียิ่ง...ด้วยโอวาทอันเรากล่าวแล้ว ด้วยการศึกษาอันเรากล่าวแล้ว. ด้วยอนุสาสนีอันเรากล่าวแล้ว ดังนี้ นี้ชื่อว่าอนุคคหมุขเทศนา.

               ก็เทวบุตรนี้มีมานะกระด้าง (มีความกระด้างด้วยการถือตัว) สำคัญตนว่าเป็นบัณฑิต.
               ได้ยินว่า เทวบุตรนั้นได้มีความคิดอย่างนี้ว่า เราย่อมรู้โอฆะ ย่อมรู้ซึ่งความที่พระตถาคตเจ้าทรงข้ามโอฆะได้แล้ว แต่ว่าเรายังไม่รู้ เหตุเพียงเท่านี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงข้ามโอฆะ ด้วยเหตุนี้ได้อย่างไรดังนี้ เราจักรู้อรรถอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบนั่นแหละ คำใดน้อยหรือมากที่เรายังไม่รู้ เราจักรู้คำนั้นอันพระผู้มีพระภาคตรัสบอกแล้วทีเดียว เพราะว่าคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างไรนั้น เรายังไม่ทราบ ดังนี้.

               ลำดับนั้น พระบรมศาสดาจึงตรัสปัญหาทำให้เป็นปัญหาซ่อนเร้น (คือเข้าใจยาก) ด้วยพระดำริว่า เทวบุตรนี้ยังไม่ละมานะนี้ ก็ไม่ควรเพื่อจะรับธรรมเทศนา เปรียบเหมือนผ้าที่ยังเศร้าหมอง (ยังไม่ซักให้สะอาด) ไม่ควรจะย้อมสี เราจักข่มมานะของเทวบุตรนี้ก่อน แล้วจักประกาศเนื้อความนั้นอีกแก่เธอโดยไม่มีจิตต่ำเช่นนี้ถามอยู่ ดังนี้.

               แม้เทวบุตรนั้นก็ได้เป็นผู้มีมานะอันพระองค์นำออกแล้ว และเทศนานั้น พึงทราบโดยคำถามปัญหาให้ยิ่งขึ้นไป เพราะความที่เธอเป็นผู้มีมานะอันพระองค์ นำออกแล้วนั่นแหละ ทั้งเนื้อความนี้ก็ได้เป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้ถามปัญหา

               เทวบุตรทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ก็พระองค์ไม่พัก ไม่เพียร ข้ามโอฆะได้อย่างไรเล่า ข้าพระองค์จะทราบได้โดยประการใด ขอพระองค์จงตรัสบอกแก่ข้าพระองค์โดยประการนั้นเถิด ดังนี้.

               ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะตรัสตอบปัญหาแก่เทวบุตรนั้น จึงตรัสว่า ยทา สฺวาหํ เป็นต้น.
               บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยทา สฺวาหํ แก้เป็น ยสฺมึ กาเล อหํ (แปลว่าในกาลใดเรา).
               สุอักษรเป็นเพียงนิบาต. ก็สุอักษรในที่นี้ฉันใด ในบททั้งปวงก็ฉันนั้น.


               บทว่า สํสีทามิ ความว่า เมื่อเราไม่ข้ามก็จมอยู่ในที่นั้นนั่นแหละ.
               บทว่า นิพฺพุยฺหามิ ความว่า เมื่อเราไม่อาจเพื่อดำรงอยู่ ก็ย่อมเป็นไปล่วงปัญหาแม้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว อย่างนี้ว่า เราไม่พักไม่เพียรข้ามโอฆะได้แล้ว ดังนี้ แม้จะเป็นปัญหาอันเทวดาทราบแล้ว แต่ก็ไม่แจ่มแจ้ง เพราะเห็นโทษคือความไม่เข้าใจในเพราะการหยุดอยู่และในความพยายามเพื่อกระทำอรรถนั้นให้ปรากฏ ท่านจึงแสดงธรรมอันเป็นหมวดทุกะ ๗ หมวด.

               จริงอยู่ ว่าด้วยอำนาจกิเลส เมื่อบุคคลพักอยู่ ชื่อว่าย่อมจม. ว่าด้วยอำนาจอภิสังขาร เมื่อบุคคลเพียร ชื่อว่าย่อมลอย.
               อีกอย่างหนึ่ง ว่าด้วยตัณหาและทิฐิ เมื่อบุคคลพักอยู่ ชื่อว่าย่อมจม. ว่าด้วยอำนาจแห่งกิเลสที่เหลือและอภิสังขารทั้งหลาย เมื่อบุคคลเพียร ชื่อว่าย่อมลอย.

               อีกอย่างหนึ่ง ว่าด้วยอำนาจแห่งตัณหา เมื่อบุคคลพักอยู่ ชื่อว่าย่อมจม. ว่าด้วยอำนาจแห่งทิฐิ เมื่อบุคคลเพียร ชื่อว่าย่อมลอย.
               อีกอย่างหนึ่ง ว่าด้วยสัสสตทิฐิ เมื่อบุคคลพักอยู่ ชื่อว่าย่อมจม. ว่าด้วยอุจเฉททิฏฐิ เมื่อบุคคลเพียร ชื่อว่าย่อมลอย เพราะว่าภวทิฐิ ยึดมั่นในมานะอันเฉื่อยชา แต่วิภวทิฐิยึดมั่นในการแล่นเลยไป.
               อีกอย่างหนึ่ง ว่าด้วยอำนาจการติด (ลินะ) เมื่อพักอยู่ ชื่อว่าย่อมจม. ว่าด้วยอำนาจอุทธัจจะ เมื่อเพียร ชื่อว่าย่อมลอย.

               อนึ่ง ว่าด้วยกามสุขัลลิกานุโยค เมื่อบุคคลพักอยู่ ชื่อว่าย่อมจม. ว่าด้วยอัตตกิลมถานุโยค เมื่อเพียรชื่อว่าย่อมลอย.
               ว่าด้วยอำนาจแห่งอกุสลาภิสังขารทั้งหมด เมื่อบุคคลพักอยู่ ชื่อว่าย่อมจม. ว่าด้วยอำนาจแห่งกุสลาภิสังขารอันเป็นโลกีย์ทั้งหมด เมื่อบุคคลเพียร ชื่อว่าย่อมลอย.


               ข้อนี้สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
               เสยฺยถาปิ จุนฺท เยเกจิ อกุสลา ธมฺมา สพฺเพ เต อโธ ภาคํ คมนียา เยเกจิ กุสลา ธมฺมา สพฺเพ เต อุปริ ภาคํ คมนียา ดังนี้
               แปลว่า ดูก่อนจุนทะ อกุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งมีอยู่ อกุศลธรรมทั้งหมดเหล่านั้นพึงส่งไปในเบื้องต่ำ กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งมีอยู่ กุศลธรรมทั้งหมดเหล่านั้นพึงส่งไปในเบื้องบน.

               เทวดาฟังวิสัชนาปัญหานี้แล้วดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล เป็นผู้ยินดีแล้ว เลื่อมใสแล้ว ประกาศอยู่ซึ่งความยินดีและความเสื่อมใสของตนแล้ว จึงกล่าวคำเป็นคาถาว่า จิรสฺสํ วต เป็นต้น แปลว่า นานหนอ ข้าพเจ้าจึงจะเห็นขีณาสวพราหมณ์ผู้ดับรอบแล้ว ไม่พักไม่เพียรอยู่ ข้ามตัณหาเป็นเครื่องเกาะเกี่ยวในโลก.

         
ที่มา  http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15.0&i=1&p=2
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

rainmain

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 323
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: "ไม่พัก ไม่เพียร" คำนี้ลึกล้ำ
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2011, 01:20:05 pm »
0
อ้างถึง
ท. ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์ ก็พระองค์ไม่พักไม่เพียร ข้ามโอฆะได้ อย่างไรเล่า ฯ
     พ. ท่านผู้มีอายุ เมื่อใด เรายังพักอยู่ เมื่อนั้น เรายังจมอยู่โดยแท้     เมื่อใดเรายังเพียรอยู่ เมื่อนั้น เรายังลอยอยู่โดยแท้ ท่านผู้มีอายุ เราไม่พัก เรา ไม่เพียร ข้ามโอฆะได้แล้วอย่างนี้แล ฯ

 เมื่อได้อ่านในรูปประโยค อันนี้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงตรัสตอบเทวดาว่า

  เราเลิกพัก เราเลิกภาวนาแล้ว เพราะเราสิ้นสุดกิเลสแล้ว

  แต่ตอนที่พระองค์ยังไม่ตรัสรู้นั้น เมื่อพักการภาวนา ก็จมในกระแส
  เมื่อทำความเพียร ภาวนา ก็ยังต้องลอยคอในกระแส
  สรุป กระแส ก็คือ ห้วงแห่งวัฏสงสาร เรียกว่า โอฆะ ห้วงน้ำ
 
  ดังนั้น เวลานี้ เลิกพัก เลิกเพียร เพราะถึงแล้ว อันนี้ คุ้น ๆ ว่าเคยได้ยินอยู่ ว่า ภาวนา มีที่สิ้นสุด

   :s_good: :25: :25:
บันทึกการเข้า
คิดดี พูดดี ทำดี เป็นกุศล และ กรรมฐาน เป็นมหากุศล นะครับ