ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: "อินทรีย์ ๕ และ พละ ๕" เหมือนหรือต่างกันอย่างไร.?..มาดูครับ  (อ่าน 9405 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28454
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

สาเกตสูตร
ว่าด้วยอินทรีย์ ๕ พละ ๕
     
       [๙๗๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
       สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าอัญชนมิคทายวัน ใกล้เมืองสาเกต ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสถามว่า
       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปริยายที่อินทรีย์ ๕ อาศัยแล้ว ย่อมเป็นพละ ๕ ที่พละ ๕ อาศัยแล้ว ย่อมเป็นอินทรีย์ ๕ มีอยู่หรือหนอ?


       ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาค
เป็นมูล มีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึ่ง ขอประทานวโรกาส ขอเนื้อความแห่งภาษิตนี้จงแจ่มแจ้งกะพระผู้มีพระภาคเถิด ภิกษุทั้งหลายได้สดับแล้วจักทรงจำไว้.

       [๙๗๖] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย
                ปริยายที่อินทรีย์ ๕ อาศัยแล้ว เป็นพละ ๕ ที่พละ ๕ อาศัยแล้ว เป็นอินทรีย์ ๕ มีอยู่
                ปริยายที่อินทรีย์ ๕ อาศัยแล้ว เป็นพละ ๕ ที่พละ ๕ อาศัยแล้ว เป็นอินทรีย์ ๕ เป็นไฉน?


       [๙๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
                สิ่งใดเป็นสัทธินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสัทธาพละ สิ่งใดเป็นสัทธาพละ สิ่งนั้นเป็นสัทธินทรีย์
                สิ่งใดเป็นวิริยินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นวิริยพละ สิ่งใดเป็นวิริยพละสิ่งนั้นเป็นวิริยินทรีย์
                สิ่งใดเป็นสตินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสติพละ สิ่งใดเป็นสติพละ สิ่งนั้นเป็นสตินทรีย์
                สิ่งใดเป็นสมาธินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสมาธิพละ สิ่งใดเป็นสมาธิพละ สิ่งนั้นเป็นสมาธินทรีย์
                สิ่งใดเป็นปัญญินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นปัญญาพละ สิ่งใดเป็นปัญญาพละ สิ่งนั้นเป็นปัญญินทรีย์.



      [๙๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
       เปรียบเหมือนแม่น้ำ ซึ่งไหลไปทางทิศตะวันออก หลั่งไปทางทิศตะวันออก บ่าไปทางทิศตะวันออก
       ที่ตรงกลางแม่น้ำนั้นมีเกาะ ปริยายที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้นอาศัยแล้ว ย่อมถึงซึ่งความนับว่ากระแสเดียวมีอยู่
       อนึ่ง ปริยายที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้นอาศัยแล้ว ย่อมถึงซึ่งความนับว่าสองกระแสที่มีอยู่.


      [๙๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
       ก็ปริยายที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้น อาศัยแล้ว ย่อมถึงซึ่งความนับว่ากระแสเดียวเป็นไฉน? คือ
       น้ำในที่สุดด้านตะวันออก และในที่สุดด้านตะวันตกแห่งเกาะนั้นปริยายนี้แล ที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้นอาศัยแล้ว ย่อมถึงซึ่งความนับว่ากระแสเดียว.


       [๙๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
       ก็ปริยายที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้น อาศัยแล้ว ย่อมถึงซึ่งความนับว่าสองกระแสเป็นไฉน? คือ
       น้ำในที่สุดด้านเหนือ และในที่สุดด้านใต้แห่งเกาะนั้นปริยายนี้แล ที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้นอาศัยแล้ว ย่อมถึงซึ่งความนับว่า สองกระแส ฉันใด.


      [๙๘๑] ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย
       สิ่งใดเป็นสัทธินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสัทธาพละ สิ่งใดเป็นสัทธาพละ สิ่งนั้นเป็นสัทธินทรีย์
       สิ่งใดเป็นวิริยินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นวิริยพละ สิ่งใดเป็นวิริยพละ สิ่งนั้นเป็นวิริยินทรีย์
       สิ่งใดเป็นสตินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสติพละ สิ่งใดเป็นสติพละสิ่งนั้นเป็นสตินทรีย์
       สิ่งใดเป็นสมาธินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสมาธิพละ สิ่งใดเป็นสมาธิพละ สิ่งนั้นเป็นสมาธินทรีย์
       สิ่งใดเป็นปัญญินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นปัญญาพละ สิ่งใดเป็นปัญญาพละ สิ่งนั้นเป็นปัญญินทรีย์.


       [๙๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะความที่อินทรีย์ ๕ อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
       ภิกษุจึงกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.


       จบ สูตรที่ ๓

___________________________________________
ปริยาย การเล่าเรื่อง, บรรยาย; อย่าง, ทาง, นัยอ้อม, แง่


อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ บรรทัดที่ ๕๗๓๐ - ๕๗๖๖. หน้าที่ ๒๓๙ - ๒๔๐.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=19&A=5730&Z=5766&pagebreak=0             
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=975
ขอบคุณภาพจาก http://www.dhamma5minutes.com/,http://board.palungjit.com/



อรรถกถา สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค อินทริยสังยุตต์ ชราวรรคที่ ๕
๓. สาเกตสูตร

อรรถกถาสาเกตสูตรที่ ๓
สาเกตสูตรที่ ๓.
       
       คำว่า ในป่าอัญชัน คือ ในป่าที่ปลูกต้นไม้มีดอกสีเหมือนดอกอัญชัน.
       คำว่า ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นสัทธินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสัทธาพละ คือ
       ก็ที่ชื่อว่าสัทธินทรีย์ เพราะอรรถว่า ใหญ่ในสิ่งที่มีความน้อมเชื่อไปเป็นลักษณะ.
       ชื่อว่าเป็นสัทธาพละ เพราะไม่หวั่นไหวในอินทรีย์ที่ไม่พึงเชื่อ.


       ความที่คุณธรรมนอกนี้เป็นอินทรีย์ ก็เพราะอรรถว่าใหญ่ในลักษณะ คือ ความประคับประคอง ความปรากฏ ความไม่ฟุ้งซ่านและความรู้ชัด.
       พึงทราบความเป็นพละ เพราะไม่หวั่นไหวในเพราะความเกียจคร้าน ความลืมสติ ความซัดส่ายและความไม่รู้.


       พึงทราบเหตุที่ทำให้อินทรีย์และพละเหล่านั้นไม่แตกต่างกัน ด้วยอำนาจสัทธา วิริยะ สติ สมาธิและปัญญา
       เหมือนกระแสน้ำสายหนึ่งของแม่น้ำนั้น ด้วยคำว่า เอวเมว โข.
       พึงทราบเหตุที่ทำให้แตกต่างกันด้วยอำนาจอินทรีย์และพละ ด้วยอรรถว่าใหญ่และไม่หวั่นไหว
       เหมือนกระแสน้ำสองสาย ฉะนั้น.


       จบอรรถกถาสาเกตสูตรที่ ๓   



ที่มา http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=975 
ขอบคุณภาพ http://www.dhammajak.net/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 12, 2012, 10:56:11 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28454
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

ทัฏฐัพพสูตร
ว่าด้วยการเห็นอินทรีย์ ๕ ในธรรมต่างๆ
          
      [๘๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ
      สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์


      [๘๕๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็จะพึงเห็นสัทธินทรีย์ ในธรรมไหนเล่า?
      ในโสตาปัตติยังคะ ๔ พึงเห็นสัทธินทรีย์ในธรรมนี้.


      [๘๕๔] ก็จะพึงเห็นวิริยินทรีย์ ในธรรมไหนเล่า?
      ในสัมมัปปธาน ๔ พึงเห็นวิริยินทรีย์ในธรรมนี้.

      [๘๕๕] ก็จะพึงเห็นสตินทรีย์ ในธรรมไหนเล่า?
      ในสติปัฏฐาน ๔ พึงเห็นสตินทรีย์ในธรรมนี้.


      [๘๕๖] ก็จะพึงเห็นสมาธินทรีย์ ในธรรมไหนเล่า?
      ในฌาน ๔ พึงเห็น สมาธินทรีย์ในธรรมนี้.


      [๘๕๗] ก็จะพึงเห็นปัญญินทรีย์ ในธรรมไหนเล่า?
      ในอริยสัจ ๔ พึงเห็น ปัญญินทรีย์ในธรรมนี้

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล.

      จบ สูตรที่ ๘


อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ บรรทัดที่ ๕๑๒๗ - ๕๑๔๑. หน้าที่ ๒๑๔.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=19&A=5127&Z=5141&pagebreak=0             
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=852
ขอบคุณภาพจาก http://www.oknation.net/



พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

วิภังคสูตรที่ ๑
ความหมายของอินทรีย์ ๕
   
     [๘๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์.
             
     [๘๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัทธินทรีย์เป็นไฉน?
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เอง โดยชอบ ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะเสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทรงเบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม นี้เรียกว่า สัทธินทรีย์.


     [๘๖๐] ก็วิริยินทรีย์เป็นไฉน?
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรม มีกำลัง มีความบากบั่น มั่นคงไม่ทอดทิ้งธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย นี้เรียกว่า วิริยินทรีย์.


     [๘๖๑] ก็สตินทรีย์เป็นไฉน?
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติเป็นเครื่องรักษาตัวอย่างยิ่ง ระลึกได้ ตามระลึกได้ ซึ่งกิจที่กระทำและคำที่พูดแม้นานได้ นี้เรียกว่า สตินทรีย์.


     [๘๖๒] ก็สมาธินทรีย์เป็นไฉน?
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ กระทำซึ่งนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้ว ได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต นี้เรียกว่า สมาธินทรีย์
.

    [๘๖๓] ก็ปัญญินทรีย์เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาเครื่องกำหนดความเกิดความดับ อันประเสริฐ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ นี้เรียกว่า ปัญญินทรีย์

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล
     จบ สูตรที่ ๙


อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ บรรทัดที่ ๕๑๔๒ - ๕๑๖๒. หน้าที่ ๒๑๔ - ๒๑๕.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=19&A=5142&Z=5162             
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=858
ขอบคุณภาพจาก http://www.oocities.org/



เรียนถามผู้รู้ทุกท่านเลยนะครับ

คำว่า สมาธิ คือความตั้งใจมั่น หรือ ความที่มีอารม์แบบใดแบบหนึ่ง

ขอคำอธิบายเรื่อง สมาธินทรีย์ ด้วยครับ แตกต่างจาก สมาธิพละ อย่างไร ครับ

   สมาธินทรีย์ เป็นขั้นตอนของอุปจาระ หรือ อัปปนา ครับ

  :c017: :25:

     
      "สิ่งใดเป็นสมาธินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสมาธิพละ สิ่งใดเป็นสมาธิพละ สิ่งนั้นเป็นสมาธินทรีย์"
      "ก็สมาธินทรีย์เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ กระทำซึ่งนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้ว ได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต นี้เรียกว่า สมาธินทรีย์"
      "ก็จะพึงเห็นสมาธินทรีย์ ในธรรมไหนเล่า? ในฌาน ๔ พึงเห็น สมาธินทรีย์ในธรรมนี้."

      นี่คือ คำตอบครับ สมาธินทรีย์ ต้องเป็น เอกัคคตาจิต และ ฌาน ๔ เท่านั้น
      นั่นหมายถึง อัปปนาสมาธิ นั่นเอง
      ส่วนเรื่อง อินทรีย์กับพละ ไปอ่านพระสูตรเอาเองนะครับ

     
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 12, 2012, 12:46:06 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28454
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

คังคาทิเปยยาลที่ ๘
อานิสงส์แห่งการเจริญอินทรีย์ ๕

      [๑๐๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีนบ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเจริญอินทรีย์ ๕ กระทำให้มาก ซึ่งอินทรีย์ ๕ ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.

      [๑๐๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเจริญอินทรีย์ ๕ กระทำให้มากซึ่งอินทรีย์ ๕ อย่างไรเล่า ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน?

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัทธินทรีย์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ย่อมเจริญวิริยินทรีย์ ... สตินทรีย์ ... สมาธินทรีย์ ... ปัญญินทรีย์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจริญอินทรีย์ ๕ กระทำ ให้มากซึ่งอินทรีย์ ๕ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน....ฯลฯ...


อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙  บรรทัดที่ ๖๒๕๘ - ๖๓๐๕.  หน้าที่  ๒๖๑ - ๒๖๒.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=19&A=6258&Z=6305&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1082
ขอบคุณภาพจาก http://dhammatoday.exteen.com/



พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

๖. พลสังยุต
ว่าด้วยพละ ๕

       [๑๐๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พละ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สัทธาพละ ๑ วิริยพละ ๑ สติพละ ๑ สมาธิพละ ๑ ปัญญาพละ ๑
       ดูกรภิกษุทั้งหลาย พละ ๕ ประการ นี้แล.


       [๑๑๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเจริญพละ ๕ กระทำให้มากซึ่งพละ ๕ ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพานโน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.

       [๑๑๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเจริญพละ ๕ กระทำให้มากซึ่งพละ ๕ อย่างไรเล่า ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน?

       ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัทธาพละ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ย่อมเจริญวิริยพละ ... สติพละ ... สมาธิพละ ... ปัญญาพละ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจริญพละ ๕ กระทำให้มากซึ่งพละ ๕ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน.

อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙  บรรทัดที่ ๖๓๗๐ - ๖๔๑๒.  หน้าที่  ๒๖๖ - ๒๖๗.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=19&A=6370&Z=6412&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1099
ขอบคุณภาพจาก http://www.finearts.go.th/


   
    ผมยกเอาสองพระสูตร มาเปรียบเทียบให้ดู
    เพื่อแสดงให้เห็นว่า การเจริญทั้งอินทรีย์และพละมีจุดประสงค์ที่เหมือนกัน
    เป็นการตอกย้ำว่า อินทรีย์และพละเหมือน

      :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ครูนภา

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +25/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 608
  • ภาวนา ร่วมกับพวกท่าน แล้วสุขใจ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อนุโมทนา สาธุ คะ
 
บันทึกการเข้า
ศรัทธา ปัญญา ขันติ ความเพียร คุณสมบัติผู้ภาวนา
ขอเป็นกัลยาณมิตร กับทุกท่าน ที่เป็นกัลยาณมิตร

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28454
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

ผลสูตรที่ ๒
เจริญอินทรีย์ ๕ ได้อานิสงส์ ๗ ประการ

      [๑๐๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ อินทรีย์ ๕ เป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ เหล่านี้แล

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะความที่อินทรีย์ ๕ เหล่านี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว พึงหวังผลานิสงส์ได้ ๗ ประการ ผลานิสงส์ ๗ ประการเป็นไฉน? คือ
          จะได้ชมอรหัตผลในปัจจุบันก่อน ๑
          ถ้าไม่ได้ชมอรหัตผลในปัจจุบันก่อน จะได้ชมเวลาใกล้ตาย ๑


          ถ้าปัจจุบันก็ไม่ได้ชม ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้ชมไซร้ ทีนั้นจะได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี ๑       
          ผู้อุปหัจจปรินิพพายี ๑
          ผู้อสังขารปรินิพพายี ๑
          ผู้สสังขารปรินิพพายี ผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี ๑ เพราะสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป


     ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะความที่อินทรีย์ ๕ เหล่านี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว พึงหวัง
ผลานิสงส์ ๗ ประการเหล่านี้.

     จบ สูตรที่ ๖


อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙  บรรทัดที่ ๖๑๘๒ - ๖๑๙๓.  หน้าที่  ๒๕๗ - ๒๕๘.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=19&A=6182&Z=6193&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1069
ขอบคุณภาพจาก http://www.trueplookpanya.com/



อรรถกถา สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค โพชฌงคสังยุตต์ หมวด ๖
๑. อาหารสูตร

การทำอินทรีย์ทั้งหลาย มีศรัทธา เป็นต้น ให้เสมอกัน ชื่อว่าการปรับอินทรีย์ให้เสมอกัน.

    สัทธากล้า
    เพราะว่า ถ้าสัทธินทรีย์ของเธอแก่กล้า อินทรีย์นอกนี้อ่อน. ทีนั้น
    วิริยินทรีย์จะไม่อาจทำปัคคหกิจ (กิจคือการยกจิตไว้)
    สตินทรีย์จะไม่อาจทำอุปัฏฐานกิจ (กิจคือการอุปการะจิต)
    สมาธินทรีย์จะไม่อาจทำอวิกเขปกิจ (กิจคือทำจิตไม่ให้ฟุ้งซ่าน)
    ปัญญินทรีย์จะไม่อาจทำทัสสนกิจ (กิจคือการเห็นตามเป็นจริง).


    เพราะฉะนั้น สัทธินทรีย์อันกล้านั้น ต้องทำให้ลดลงเสีย ด้วยพิจารณาสภาวะแห่งธรรม ด้วยไม่ทำไว้ในใจ เหมือนเมื่อเขามนสิการ สัทธินทรีย์ที่มีกำลังนั้น.
    ก็ในข้อนี้มีเรื่องพระวักกลิเถระเป็นตัวอย่าง.
    (อ่านเรื่องพระวักกลิเถระ ได้ที่ http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=2914.new#new)


    วิริยะกล้า
    แต่ถ้าวิริยินทรีย์กล้า ทีนั้น สัทธินทรีย์ก็จะไม่อาจทำอธิโมกขกิจได้ (กิจคือการน้อมใจเชื่อ).   
    อินทรีย์นอกนี้ก็จะไม่อาจทำกิจนอกนี้ แต่ละข้อได้.
    เพราะฉะนั้น วิริยินทรีย์อันกล้านั้นต้องทำให้ลดลง ด้วยเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เป็นต้น.
    แม้ในข้อนั้นก็พึงแสดงเรื่องพระโสณเถระ.

    (อ่านเรื่องพระโสณโกฬิวิสเถระ ได้ที่ http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=2915.new#new)

    ความที่เมื่อความกล้าแห่งอินทรีย์อันหนึ่งมีอยู่ อินทรีย์นอกนี้จะไม่สามารถในกิจของตนๆ ได้ พึงทราบในอินทรีย์ที่เหลืออย่างนี้แล.



ก็โดยเฉพาะในอินทรีย์ ๕ นี้ บัณฑิตทั้งหลายสรรเสริญอยู่
ซึ่งความเสมอกันแห่ง สัทธากับปัญญา และสมาธิกับวิริยะ.

    สัทธา-ปัญญา
    เพราะคนมีสัทธาแก่กล้า แต่ปัญญาอ่อน จะเป็นคนเชื่อง่าย เลื่อมใสในสิ่งอันไม่เป็นวัตถุ.
    ส่วนคนมีปัญญากล้า แต่สัทธาอ่อน จะตกไปข้างอวดดี จะเป็นคนแก้ไขไม่ได้ เหมือนโรคที่เกิดแต่ยา รักษาไม่ได้ฉะนั้น วิ่งพล่านไปด้วยคิดว่า จิตเป็นกุศลเท่านั้นก็พอ
    ดังนี้แล้ว ไม่ทำบุญมีทานเป็นต้น ย่อมเกิดในนรก.
    ต่อธรรมทั้ง ๒ เสมอกัน บุคคลจึงจะเลื่อมใสในวัตถุแท้.



    สมาธิ-วิริยะ
    โกสัชชะย่อมครอบงำคนมีสมาธิกล้า แต่วิริยะอ่อนเพราะสมาธิเป็นฝ่ายโกสัชชะ.
    อุทธัจจะย่อมครอบงำคนมีวิริยะกล้า แต่สมาธิอ่อน เพราะวิริยะเป็นฝ่ายอุทธัจจะ.
    แต่สมาธิที่มีวิริยะประกอบเข้าด้วยกันแล้ว จะไม่ตกไปในโกสัชชะ.
    วิริยะที่มีสมาธิประกอบพร้อมกันแล้ว จะไม่ตกไปในอุทธัจจะ.
    เพราะฉะนั้น อินทรีย์ทั้ง ๒ นั้นต้องทำให้เสมอกัน.
    ด้วยว่า อัปปนาจะมีได้ ก็เพราะความเสมอกันแห่งอินทรีย์ทั้ง ๒.

____________________
โกสัชชะ คือ ความเกียจคร้าน



    สัทธาทำให้บรรลุอัปปนาสมาธิ
    อีกอย่างหนึ่ง สัทธาแม้มีกำลังก็ควรสำหรับสมาธิกัมมิกะ (ผู้บำเพ็ญสมถกัมมัฏฐาน).
    เธอเมื่อสัทธามีกำลังอย่างนี้ เชื่อดิ่งลงไปจักบรรลุอัปปนาได้.
    ในสมาธิและปัญญาเล่า เอกัคคตา (สมาธิ) มีกำลังก็ควรสำหรับสมาธิกัมมิกะ ด้วยเมื่อเอกัคคตามีกำลังอย่างนั้น เธอจะบรรลุอัปปนาได้.



    ปัญญาทำให้เห็นแจ้งไตรลักษณ์
    ปัญญามีกำลังย่อมควรสำหรับวิปัสสนากัมมิกะ (ผู้บำเพ็ญวิปัสสนากัมมัฏฐาน).
    ด้วยเมื่อปัญญามีกำลังอย่างนั้น เธอย่อมจะบรรลุลักขณปฏิเวธ (เห็นแจ้งไตรลักษณ์) ได้.
    แต่แม้เพราะสมาธิและปัญญาทั้ง ๒ เสมอกัน อัปปนาก็คงมีได้.



    สติจะรักษาจิตและควบคุมทุกอย่าง
    ส่วนสติมีกำลังในที่ทั้งปวงจึงจะควร เพราะสติรักษาจิตไว้แต่ความตกไปในอุทธัจจะ เพราะอำนาจแห่งสัทธา วิริยะและปัญญาอันเป็นฝ่ายอุทธัจจะ และรักษาจิตไว้แต่ความตกไปในโกสัชชะ เพราะสมาธิเป็นฝ่ายโกสัชชะ.

    เพราะฉะนั้น สตินั้นจึงจำปรารถนาในที่ทั้งปวง ดุจเกลือสะตุเป็นสิ่งที่พึงปรารถนาในกับข้าวทั้งปวง และดุจสรรพกัมมิกอำมาตย์ (ผู้รอบรู้ในการงานทั้งปวง) เป็นผู้พึงปรารถนาในสรรพราชกิจฉะนั้น.
    เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ก็แลสติ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นคุณชาติจำปรารถนาในที่ทั้งปวง.
          ถามว่า เพราะเหตุไร.
          ตอบว่า เพราะจิตมีสติเป็นที่พึ่งอาศัย และสติมีการรักษาเอาไว้เป็นเครื่องปรากฏ การยกและข่มจิต เว้นสติเสียหามีได้ไม่ ดังนี้.



    การหลีกเว้นไกลบุคคลทรามปัญญา ผู้ไม่หยั่งลงในความต่าง มีขันธ์ เป็นต้น ชื่อว่าการหลีกเว้นบุคคลทรามปัญญา.
    การคบหาบุคคลประกอบด้วยปัญญา เห็นความเกิดและความเสื่อมกำหนดได้ ๕๐ ลักษณะ ชื่อว่าการคบหาบุคคลมีปัญญา.


    การพิจารณาประเภทปาฐะ ด้วยปัญญาอันลึก เป็นไปในขันธ์เป็นต้นอันละเอียด ชื่อว่าการพิจารณาปาฐะที่ต้องใช้ปัญญาอันลึก. ความที่จิตน้อมไป โน้มไป โอนไป ในอิริยาบถมีการยืนและการนั่งเป็นต้น เพื่อให้เกิดธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ขึ้น ชื่อว่าความน้อมจิตไปในธัมมวิจยะนั้น.
    ก็ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์นั้นอันเกิดขึ้นอย่างนี้แล้ว ย่อมเจริญเต็มที่ได้ด้วยอรหัตมรรค.

     

อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎกได้ที่ http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=19&A=3082&Z=3189
ที่มา http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=522
ขอบคุณภาพจาก http://www.9wat.net/,http://www.dmc.tv/}http://www.khonkaenlink.info/


     กระทู้นี้นอกจากจะบอกอานิสงส์ของของเจริญอินทรีย์ ๕ แล้ว
     ยังบอกความสำคัญของ "การปรับอินทรีย์ให้เสมอกัน"

      :49:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 12, 2012, 01:47:51 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28454
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



โพธิปักขิยธรรม ๓๗ (ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้ คือ เกื้อกูลแก่การตรัสรู้, ธรรมเกื้อหนุนแก่อริยมรรค )
     ๑. สติปัฏฐาน ๔
     ๒. สัมมัปปธาน ๔ 
     ๓. อิทธิบาท ๔ 
     ๔. อินทรีย์ ๕ 
     ๕. พละ ๕
     ๖. โพชฌงค์ ๗ 
     ๗. มรรคมีองค์ ๘



อ้างอิง  อภิ.วิ.๓๕/๖๑๑/๓๓๖.
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)


พละ ๕ (ธรรมอันเป็นกำลัง)
     ๑. สัทธา (ความเชื่อ)
     ๒. วิริยะ (ความเพียร)
     ๓. สติ (ความระลึกได้)
     ๔. สมาธิ (ความตั้งจิตมั่น)
     ๕. ปัญญา (ความรู้ทั่วชัด)


     ธรรม ๕ อย่างนี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อินทรีย์ ๕ (ธรรมที่เป็นใหญ่ในกิจของตน)

    ที่เรียกว่า อินทรีย์ เพราะความหมายว่า เป็นใหญ่ในการกระทำหน้าที่แต่ละอย่างๆ ของตน คือ
     เป็นเจ้าการ ในการครอบงำเสียซึ่ง
                  ความไร้ศรัทธา (ตรงข้ามกับสัทธา)
                  ความเกียจคร้าน (ตรงข้ามกับวิริยะ)
                  ความประมาท (ตรงข้ามกับสติ)
                  ความฟุ้งซ่าน (ตรงข้ามกับสมาธิ)และ
                  ความหลง (ตรงข้ามกับปัญญา) ตามลำดับ


     ที่เรียกว่า พละ เพราะความหมายว่า เป็นพลังทำให้เกิดความมั่นคง ซึ่งความไร้ศรัทธา เป็นต้น แต่ละอย่าง จะเข้าครอบงำไม่ได้

    พละหมวดนี้เป็นหลักปฏิบัติทางจิตใจ ให้ถึงความหลุดพ้นโดยตรง



อ้างอิง  ที.ปา.๑๑/๓๐๐/๒๕๒: องฺ.ปญฺจก.๒๒/๑๓/๑๑; อภิ.วิ.๓๕/๘๔๔/๔๖๒
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
ขอบคุณภาพจาก http://www.trueplookpanya.com/,http://www.bloggang.com/



   
     การจะเข้าใจเรื่องอินทรีย์และพละ ผมคิดว่า ควรศึกษา"โพธิปักขิยธรรม" ให้ตลอดสาย
     เรื่อง "โพธิปักขิยธรรม" กล่าวไว้โดยพิสดารใน
     พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
     แนะนำให้อ่าน ๗ สังยุตต์ คือ


        ๑. มัคคสังยุตต์  http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=19&A=0&Z=25&pagebreak=0
        ๒. โพชฌงคสังยุตต์  http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=19&A=2144&Z=2162&pagebreak=0
        ๓. สติปัฏฐานสังยุตต์  http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=19&A=3859&Z=3881&pagebreak=0
        ๔. อินทรียสังยุตต์  http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=19&A=5056&Z=5063&pagebreak=0
        ๕. สัมมัปปธานสังยุตต์  http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=19&A=6306&Z=6369&pagebreak=0
        ๖. พลสังยุตต์ http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=19&A=6370&Z=6412&pagebreak=0
        ๗. อิทธิปาทสังยุตต์ http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=19&A=6413&Z=6423&pagebreak=0




    สังสัยอะไร ก็สอบถามมาได้ ตอนนี้หิวข้าวครับ ขอตัวก่อน
     :49:
   
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ