ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เมื่อยกฐานะเป็น "พระอารามหลวง" จะได้รับสิทธิ์อะไร.?  (อ่าน 2487 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28467
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

'วัดเสมียนนารี'สมโภชประกาศ ยกฐานะเป็น'พระอารามหลวง'

เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกฐานะวัดจำนวน 20 วัด เป็นพระอารามหลวง ประกอบด้วย

1.วัดเสมียนนารี กรุงเทพฯ            2.วัดยาง กรุงเทพฯ
3.วัดธาตุทอง กรุงเทพฯ              4.วัดชัยมงคล จ.ชลบุรี
5.วัดอาษาสงคราม จ.สมุทรปราการ  6.วัดบางพลีใหญ่ใน จ.สมุทรปราการ
7.วัดชัยสามหมอ จ.ชัยภูมิ            8.วัดชลประทานรังสฤษฏ์ จ.นนทบุรี
9.วัดพระธาตุดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ 10.วัดเพชรวราราม จ.เพชรบูรณ์
11.วัดสองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี        12.วัดมหาพุทธาราม จ.ศรีสะเกษ
13.วัดคีรีวิหาร จ.ตราด                14.วัดราษฎร์ศรัทธาธรรม จ.สุโขทัย
15.วัดหนองหอย จ.ราชบุรี            16.วัดเมืองยะลา จ.ยะลา
17.วัด ชูจิตธรรมาราม จ.พระนครศรีอยุธยา 18.วัดเซกาเจติยาราม จ.บึงกาฬ
19.วัดพราหมมณี จ.นครนายก และ         20.วัดคูยาง จ.กำแพงเพชร


      วัดราษฎร์ทั้ง 20 วัด ที่ได้รับการยกฐานะเป็นพระอารามหลวงครั้งนี้
      เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ จึงไม่มีสร้อยนามต่อท้าย
      อีกทั้งจะมีสิทธิ์ในการรับกฐินพระราชทาน


นายอำนาจ บัวศิริ รอง ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กล่าวว่า คณะกรรมการพิจารณายกวัดราษฎร์เป็นพระอารามหลวง ซึ่งมี สมเด็จพระธีรญาณมุนี กรรมการมหาเถรสมาคม (มส.) เจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส เป็นประธานได้มีการพิจารณาวัดที่มีความเหมาะสม

    โดยจะต้องเป็นวัดราษฎร์ที่มีความสำคัญต่อชุมชน ต้องมีอายุมากกว่า 50 ปี
    มีพระสงฆ์จำพรรษาไม่น้อยกว่า 20 รูป เป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 5 ปี
    ซึ่งทางคณะกรรมการได้พิจารณาแล้วเห็นว่าทั้ง 20 วัด ดังกล่าวมีคุณสมบัติที่เหมาะสม จึงมีมติให้ยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวง ทั้งนี้ ในปัจจุบันมีพระอารามหลวงทั้งประเทศรวมทั้งสิ้น 261 วัด





เมื่อเวลา 16.00 น. วันที่ 22 ส.ค. ที่ผ่านมา สมเด็จพระพุฒาจารย์ เจ้าอาวาสวัดสระเกศ ในฐานะประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เป็นประธานในพิธีรับมอบประกาศสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เรื่องยกวัดราษฎร์เป็นพระอารามหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ ตำหนักสมเด็จ วัดสระเกศ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ

     โดยมีเจ้าอาวาสวัดและคณะศิษย์เดินทางมาร่วมพิธีเป็นจำนวนมาก
     ในการนี้ วัดเสมียนนารี ประชานิเวศน์ จตุจักร กรุงเทพฯ เป็นวัดหนึ่งที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกวัดราษฎร์ เป็นพระอารามหลวง

    เวลา 17.00 น. พระราชศาสนกิจโสภณ เจ้าอาวาสวัดเสมียนนารี เขตจตุจักร กรุงเทพฯ พร้อมด้วยคณะสงฆ์วัดเสมียนนารีและศิษยานุศิษย์ ได้จัดขบวนแห่เชิญประกาศเรื่องยกวัดราษฎร์เป็นพระอารามหลวงเข้าสู่วัดเสมียนนารี บรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคัก
   ได้มีการนำไปประทักษิณเวียนรอบพระอุโบสถ 3 รอบ
   ก่อนเชิญเข้าสู่ภายในศาลาการเปรียญชั้น 2
   จากนั้นพระราชศาสนกิจโสภณจุดธูปเทียนที่โต๊ะหมู่บูชา


    เวลา 19.09 น. สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ เจ้าคณะใหญ่หนกลาง และกรรมการมหาเถรสมาคม เป็นประธานในพิธีสวดเจริญชัยมงคลคาถาในการรับมอบประกาศฯ
    โดยมี นายอิศราเมศร์ คชานุกุลย์ ผอ.เขตจตุจักร อ่านประกาศพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ยกวัดราษฎร์ขึ้นเป็นพระอารามหลวง โดยมีพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ทั้ง 10 รูป อาทิ พระพรหมเวที วัดไตรมิตรวิทยาราม พระพรหมสุธี วัดสระเกศ, พระพรหมดิลก วัดสามพระยา สวดเจริญชัยมงคลคาถา

    สำหรับ 'พระอารามหลวง' คือ วัดที่พระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ ทรงสร้างหรือทรงบูรณปฏิสังขรณ์ หรือมีผู้สร้างน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นวัดหลวง และวัดที่ราษฎรสร้าง หรือบูรณปฏิสังขรณ์ และขอพระราชทานให้ทรงรับไว้เป็นพระอารามหลวง



"วัดอินทรวิหาร" เป็นพระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดสามัญ


    เมื่อปีพ.ศ.2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดระเบียบพระอารามหลวงขึ้นอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่นั้นจึงแบ่งพระอารามหลวงออกเป็น 3 ชั้น ดังนี้

    1. พระอารามหลวงชั้นเอก ได้แก่ วัดที่มีเจดียสถานบรรจุพระบรมอัฐิ หรือเป็นวัดที่มีเกียรติสูง มี 3 ระดับ คือ ชั้นเอกพิเศษ ราชวรมหาวิหาร, ราชวรวิหาร และวรมหาวิหาร

    2. พระอารามหลวงชั้นโท ได้แก่ วัดที่มีเจดียสถานสำคัญ มี 4 ระดับ ได้แก่ ราชวรมหาวิหาร, ราชวรวิหาร, วรมหาวิหาร และวรวิหาร

    3. พระอารามหลวงชั้นตรี ได้แก่ วัดประจำหัวเมือง หรือวัดที่มีความสำคัญชั้นรอง รวมถึงวัดราษฎร์ที่ประชาชนสร้าง หรือปฏิสังขรณ์แล้วเห็นว่าสมควรยกย่องเป็นพิเศษเป็นพระอารามหลวง มี 3 ระดับ ราชวรวิหาร, วรวิหาร และชนิดสามัญ ซึ่งจะไม่มีสร้อยนามต่อท้าย



ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROaWRXUXdOVEk0TURnMU5RPT0=&sectionid=TURNd053PT0=&day=TWpBeE1pMHdPQzB5T0E9PQ==
http://www.duetdiary.com/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 28, 2012, 12:37:40 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ