ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ตำนานพระร่วง : คำว่า 'พระร่วง' ใช้เรียก "กษัตริย์สมัยสุโขทัย"  (อ่าน 16050 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

อนุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช สุโขทัย


ประวัติพระร่วง : คำว่า 'พระร่วง' ใช้เรียก "กษัตริย์สมัยสุโขทัย"

ราชวงศ์พระร่วง เป็นเชื้อสายของพระมหากษัตริย์ชนชั้นปกครองไทยที่มีอำนาจอยู่ในระยะสมัยประวัติศาสตร์ที่เรียกกันว่า "สมัยสุโขทัย" ฐานอำนาจของราชวงศ์พระร่วงก็คือ ศรีสัชนาลัยสุโขทัย ที่เป็นทั้งศูนย์การปกครองรัฐบาลและที่ประทับของพระบรมวงศานุวงศ์ ความชัดเจนในแง่ความเป็นมาของราชวงศ์นี้ไม่สามารถที่จะชี้ชัดระบุให้แน่นอนลงไปได้ เพราะมีหลักฐานหรือสิ่งที่กล่าวอ้างน้อยมาก

พระร่วงในความทรงจำของคนตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนกลางลงมาเป็นไปในลักษณะที่เรียกว่าตำนานแล้ว เพราะเต็มไปด้วยเรื่องราวอภินิหารและความน่ามหัศจรรย์ ผนวกไปกับเรื่องราวของบ้านเมืองสถานที่ต่างๆ ในแถบกลุ่มอาณาจักรสุโขทัยเดิม (ได้แก่ สุโขทัย ศรีสัชนาลัย พิษณุโลก กำแพงเพชร ปากยม และพระบาง)


 :96: :96: :96: :96:

ราชวงศ์พระร่วง เป็นราชวงศ์ที่สถาปนาขึ้น เมื่อคราวพ่อขุนบางกลางหาวทรงราชาภิเษกเป็นพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ คำว่าพระร่วงเป็นคำกลางๆ ที่ใช้เรียกกษัตริย์หรือผู้นำแห่งรัฐสุโขทัย โดยคำว่าร่วง แปลว่า รุ่ง (โรจน์) ในสำเนียงไทยกลางจึงตรงกับคำว่า รุ่ง ซึ่งไปพ้องกับสำเนียงล้านช้างที่อ่านว่า ฮุ่ง

ซึ่งอาจจะสืบเนื่องกับตำนานท้าวฮุ่ง-ท้าวเจือง อันเป็นวีรบุรุษในตำนานสองฝั่งโขง อย่างไรก็ตามแต่ คำว่าพระร่วงเป็นคำที่คิดขึ้นใหม่เมื่อครั้งสถาปนาวงศ์ มิใช้ราชวงศ์เดิมที่ติดตัวพ่อขุนบางกลางหาว มาแต่ต้น ความหมายของคำว่าร่วงนี้ ต่อมาเป็นพระนามพระพุทธรูปองค์หนึ่งว่า พระร่วงโรจนฤทธิ์ ศรีอินทราทิตย์ธรรโมภาส มหาวชิราวุธปูชนียบพิตร เป็นการย้ำความหมายให้ ร่วงโรจน์ มีความหมายไปในทางเดียวกับ รุ่งโรจน์ อีกด้วย

 ask1 ans1 ask1 ans1

ด้วยเหตุความเข้าใจคลาดเคลื่อนนี้ โดยมากจึงคิดกันว่า พ่อขุนศรีนาวนำถุม พ่อขุนผาเมือง ตลอดจนพระมหาเถรศรีศรัทธา ทรงเป็นราชวงศ์พระร่วงเช่นกัน แต่อันที่จริง ทั้งสามพระองค์นี้เป็นราชวงศ์ศรีนาวนำถุม (หรือราชวงศ์นำถุม หรือราชวงศ์ผาเมือง) โดยเอกสารทางวิชาการส่วนใหญ่ยืนยันตรงกันว่า ต้นวงศ์ (ผู้สถาปนา) คือพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ และยังสืบเนื่องต่อมาจนถึงพระยาโกษาธิบดี (ปาน) ซึ่งเชื่อกันว่าสืบมาจนถึง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ที่ทรงแยกมาตั้งวงศ์ใหม่ (ราชวงศ์จักรี)



ขอบคุณภาพจาก : http://www.edtguide.com/
ขอบคุณข้อมูลจาก : https://sites.google.com/site/klumthi10/prawati-phrarwng 
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0




พระร่วงอาจเป็นกษัตริย์สมัยสุโขทัย พระองค์ใดพระองค์หนึ่งเท่านั้น

พระร่วง เป็นชื่อบุคคลผู้เป็นวีรบุรุษ เป็นผู้นำของสังคม สังคมไทยโบราณนิยมสืบต่อเรื่องราวเก่าทำนองตำนาน นิทานปรัมปรา นิทานพื้นบ้าน เป็นแบบมุขปาฐะ เล่ากันปากต่อปาก (oral history) ต่อมาจึงมีการจดบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ในบรรดาเรื่องราวเกี่ยวกับผู้นำทางวัฒนธรรม เรื่อง "พระร่วง" เป็นเรื่องที่ถูกหยิบยกมาเล่าขานทั้งในฐานะผู้นำทางวัฒนธรรมตามตำนาน ฐานะวีรบุรุษผู้มีตัวตนจริงของประวัติศาสตร์ และในฐานะสัญลักษณ์ของผู้รู้ และความเป็นปราชญ์

เรื่องของพระร่วงมีตำนานเล่ากันมาหลายเรื่อง ซึ่งมิได้ระบุว่าเป็นกษัตริย์สมัยสุโขทัยพระองค์ใด พ่อขุนศรีอินทราทิตย์เมื่อเสด็จขึ้นครองราชสมบัติในกรุงสุโขทัยก็เรียกว่า "ราชวงศ์พระร่วง" ทำให้คนทั้งหลายเข้าใจว่า พระร่วงคงจะเริ่มตั้งแต่พ่อขุนศรีอินทราทิตย์เป็นต้นมา พ่อขุนรามคำแหงมหาราชที่เรียกนามในภาษาบาลีว่า "โรจนราช" กล่าวกันว่า เป็นพระสหายกับพระเจ้าเม็งรายมหาราชที่นครเชียงใหม่ และพ่อขุนงำเมืองแห่งนครพะเยา

พระนามของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชนี้ในหนังสือเก่าเรียกตามภาษามคธว่า "รามราช" แต่ยังมีคำที่คนทั้งหลายเรียกพระนามกษัตริย์สุโขทัยอีกคำหนึ่งว่า พระร่วง ในพงศาวดารบางฉบับกล่าวว่า พระร่วงนี้มีบุญญาภินิหาร และฤทธิเดชเลิศล้ำ แม้ในพงศาวดารของประเทศใกล้เคียง เช่น ในพงศาวดารมอญ พงศาวดารลานนาไทย ก็ยังได้กล่าวถึงพระร่วงเมืองสุโขทัย

ทุกวันนี้ยังมีสิ่งที่ออกพระนามพระร่วงด้วยหลายสิ่ง เช่น ข้าวตอกพระร่วง ปลาพระร่วง ทำนบพระร่วง หนังสือไตรภูมิพระร่วง สุภาษิตพระร่วง ปากพระร่วง(ผู้มีวาจาสิทธิ์ว่าอะไรเป็นอย่างนั้น) และที่สุดเรือรบของไทยลำหนึ่งก็ชื่อ เรือพระร่วง ล้วนเป็นคำที่ประกอบกับคำที่เล่าเรื่องพระร่วงสืบกันมา


 ans1 ans1 ans1 ans1

สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงอุตสาหะสอบสวนค้นคว้าทางโบราณคดีและรวบรวมเรื่องราวเป็นข้อวินิจฉัย ให้ชื่อว่า นิทานโบราณคดีเรื่องพระร่วง จึงขอนำมาสรุปดังนี้

ในหนังสือพงศาวดารเหนือ กล่าวถึงชาติวงศ์ของพระร่วง ในเรื่องอรุณกุมาร (อรุณ คือ ศัพท์ภาษามคธแปลว่า ร่วง) ว่า พระยาอภัยคามะนีเจ้าเมืองหริภุญชัย (ลำพูน) ไปจำศีลบนภูเขาแห่งหนึ่ง ไปพบนางนาคซึ่งจำแลงเป็นมนุษย์มาเที่ยวเล่น เกิดสมัครรักใคร่ได้อภิรมย์สมรสอยู่ด้วยกัน 7 วัน นางมีครรภ์กลับไปเมืองนาค เมื่อจะคลอดลูกก็ขึ้นมาคลอดที่ภูเขาเพราะเกรงว่าถ้าคลอดในเมืองนาคอาจไม่มีชีวิตรอดเพราะมีเชื้อมนุษย์

เมื่อคลอดทารกชายแล้วก็ทิ้งไว้ในป่าพร้อมกับแหวน ผ้าห่ม และของที่พระยาอภัยคามะนีประทานนางไว้ มีพรานป่าไปพบทารกนั้นจึงพามาเลี้ยงไว้ เกิดอัศจรรย์ต่าง ๆ ปรากฏที่ตัวเด็กอย่างผู้มีบุญ ความทราบถึงพระยาอภัยคามะนี ตรัสเรียกไปทอดพระเนตร เมื่อทรงทราบเรื่องที่พรานป่าไปพบและทอดพระเนตรเห็นของที่อยู่กับตัวเด็ก ก็ทราบชัดว่าเป็นราชบุตรที่เกิดกับนางนาค จึงประทานนามว่า "อรุณกุมาร" แล้วเลี้ยงไว้ในที่ลูกหลวง


 :96: :96: :96: :96:

ต่อมามีราชบุตรเกิดด้วยอัครมเหสีอีกองค์หนึ่ง ประทานามว่า "ฤทธิกุมาร" อยู่ด้วยกันมาจนเติบใหญ่ พระยาอภัยคามะนีปรารถนาจะหาเมืองให้อรุณกุมารครอบครอง ทราบว่าเจ้าเมืองศรีสัชนาลัยมีแต่ราชธิดา จึงสู่ขอนางนั้นให้อภิเษกสมรสกับอรุณกุมาร อรุณกุมารจึงไปอยู่เมืองศรีสัชนาลัยต่อมาก็ได้ครองเมืองนั้น ทรงพระนามว่า "พระร่วง"

ส่วนฤทธิกุมารนั้นเมื่อเติบใหญ่ก็ได้อภิเษกสมรสกับราชธิดาพระยาเชียงใหม่ และได้ครองเมืองเชียงใหม่ ทรงพระนามว่า "พระลือ" เมื่อทั้งสองอาณาเขตมีเจ้าเมืองเป็นพี่น้องกันเช่นนี้ บ้านเมืองก็เป็นสัมพันธมิตรสืบกันมา เรื่องอรุณกุมารนี้พระร่วงเป็นเชื้อมนุษย์กับนาคระคนกัน และเป็นวงศ์กษัตริย์วงศ์หริภุญชัยในลานนา

 :25: :25: :25: :25:

เรื่องพระร่วงในพงศาวดารเหนืออีกเรื่องหนึ่ง เรียกว่า พระร่วงส่วยน้ำ กล่าวว่า มีชายชาวเมืองละโว้คนหนึ่งชื่อ "คงเครา" เป็นนายกองคุมคนตักน้ำในทะเลชุบศรส่งไปถวายพระเจ้าปทุม  สุริยวงศ์ ณ เมืองขอม นายคงเครามีบุตรคนหนึ่งชื่อ นายร่วง เป็นผู้มีบุญด้วยวาจาสิทธิ์ คือถ้าว่าอะไรให้เป็นอย่างไรก็เป็นอย่างนั้น แต่ไม่รู้ตัวว่ามีฤทธิ์อย่างนั้น จนอายุได้ 11 ปี

วันหนึ่งพายเรือไปในทะเลชุบศร เรือทวนน้ำทำให้เหนื่อยมากจึงออกปากว่า ทำไมน้ำไม่ไหลกลับไปทางนั้นบ้าง พอว่าขาดคำ น้ำก็ไหลกลับไปอย่างว่าเด็กร่วงก็รู้ตัวว่ามีวาจาสิทธิ์ แต่ปิดความไว้ไม่ให้ผู้อื่นรู้ ครั้นนายคงเคราถึงแก่กรรมพวกไพร่ก็พร้อมใจกันยกนายร่วงขึ้นเป็นนายกองส่วยน้ำแทนพ่อ

ครั้นต่อมานักคุ้มข้าหลวงเมืองขอมคุมเกวียนมารับส่วยน้ำตามเดิม นายร่วงเห็นว่ากล่องน้ำที่ทำมานั้นหนัก จึงให้ไพร่สานชะลอมขึ้นเป็นอันมาก แล้วให้เอาชะลอมจุ่มลงไปในน้ำ ลั่นวาจาสิทธิ์สั่งน้ำให้ขังอยู่ในชะลอมก็เป็นเช่นว่า นักคุ้มข้าหลวงเห็นเช่นนั้นก็ฤทธิ์นายร่วง รีบรับชะลอมน้ำกลับไปยังเมืองขอม ทูลพระเจ้าปทุมสุริยวงศ์ว่า มีผู้วิเศษเกิดขึ้นที่เมืองละโว้ พระเจ้าปทุมสุริยวงศ์ทรงวิตกเกรงว่าจะเป็นกบฏ จึงแต่งกองทหารให้มาจับตัวนายร่วง แต่นายร่วงได้ยินข่าวรู้ตัวก่อน จึงหนีออกจากเมืองละโว้ขึ้นไปทางเมืองเหนือ ไปบวชเป็นภิกษุอยู่ ณ วัดแห่งหนึ่งในเมืองสุโขทัย คนจึงเรียกกันว่า "พระร่วง" เพราะเหตุที่บวชเป็นพระ



ฝ่ายทหารขอมมาถึงเมืองละโว้ รู้ว่านายร่วงรู้ตัวหนีขึ้นไปเมืองเหนือ ทหารขอมผู้หนึ่งก็ติดตามไปเที่ยวสืบเสาะได้ความว่า นายร่วงหนีไปอยู่เมืองสุโขทัย มิรู้ว่าไปบวชเป็นพระ จึงดำดินลอดปราการเข้าไปในเมือง เผอิญไปโผล่ขึ้นที่ลานวัดที่พระร่วงกำลังกวาดอยู่ พระร่วงเห็นเข้าก็รู้ว่าเป็นขอม แต่ขอมไม่รู้จักพระร่วง จึงถามพระร่วงว่า "รู้หรือไม่ว่านายร่วงที่มาจากเมืองละโว้อยู่ที่ไหน"

พระร่วงก็ลั่นวาจาสิทธิ์ว่า "สูอยู่ที่นั่นเถิดรูปจะไปบอกนายร่วง" พอว่าขาดคำขอมก็กลายเป็นหินติดคาแผ่นดินอยู่ตรงนั้น ด้วยอำนาจวาจาสิทธิ์ของพระร่วง ชาวเมืองสุโขทัยรู้ว่าพระร่วงเป็นผู้มีบุญ เมื่อพระเจ้ากรุงสุโขทัยสิ้นพระชนม์ เสนาอำมาตย์จึงพร้อมใจกันเชิญพระร่วงขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ทรงพระนามว่า "พระเจ้าศรีจันทราบดี"


 :sign0144: :sign0144: :sign0144: :sign0144:

สมเด็จฯพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงพระนิพนธ์ขยายความเพิ่มเติมอีกว่า เรื่องพระร่วงทั้งสองเรื่องนี้ จะเชื่อว่า พระร่วงเป็นลูกนางนาคจริง หรือจะเชื่อว่าพระร่วงมีวาจาสิทธิ์จริง ดูก็ผิดธรรมดาทั้งสองสถาน ถ้าพิจารณาดูศักราชตามที่อ้างในพงศาวดารเหนือทั้งสองเรื่องนั้นว่าเป็นรัชสมัยของพระร่วงนั้นก็แตกต่างกันไกล ในเรื่องอรุณกุมารว่า พระร่วงได้ครองบ้านเมืองราว พ.ศ. 950 แต่ในเรื่องพระร่วงส่วยน้ำ พระร่วงได้ครองบ้านเมืองเมื่อราว พ.ศ. 1500 ผิดกันตั้ง 500 ปี

ยิ่งมาถึงสมัยได้ศิลาจารึกครั้งกรุงสุโขทัย ตรวจหาความรู้เรื่องพงศาวดารเหนือหลักฐานที่มีอยู่เดิมในเรื่องพระร่วงดูก็ยิ่งคลาดเคลื่อนมากขึ้น ตามศิลาจารึกไทยเพิ่งชิงอำนาจจากขอมมาตั้งตนเป็นอิสระเมื่อพ.ศ. 1800

ภายหลังสมัยพระร่วงที่อ้างในพงศาวดารเหนือหลายร้อยปี ผู้ที่ชิงอาณาเขตสุโขทัยจากขอมได้ทรงพระนามว่า "พ่อขุนบางกลางท่าว" เจ้าเมืองบางยาง เมื่อได้เมืองสุโขทัยแล้วทำพิธีราชาภิเษกเป็นพระเจ้าแผ่นดินทรงพระนามว่า "พ่อขุนศรีอินทราทิตย์"

ต่อมา "พ่อขุนบาลเมือง" ราชโอรสองค์ใหญ่ของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ได้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน กษัตริย์ที่สืบทอดต่อๆ มา ก็คือ "พ่อขุนรามคำแหงมหาราช" "พระเจ้าเลอไทย" "พระเจ้าลือไทย"(พระเจ้าธรรมราชา) ทั้งห้าองค์ครองราชสมบัติสืบต่อกันมาตั้งแต่ พ.ศ. 1800-1921 นานถึง 121 ปี กรุงสุโขทัยจึงตกเป็นประเทศราชของกรุงศรีอยุธยาในรัชกาลของสมเด็จพระบรมราชาธิราช (ขุนหลวงพงั่ว)


 :96: :96: :96: :96: :96:

ข้อสำคัญอย่างหนึ่งในศิลาจารึก ไม่มีพระนาม "พระร่วง" ปรากฏสักแห่งเดียว จะเข้าใจว่าพระร่วงเป็นแต่นิทานไม่มีตัวจริงก็ไม่ได้ ด้วยประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงกับกรุงสุโขทัยในสมัยนั้น ต่างเรียกพระเจ้ากรุงสุโขทัยว่า "พระร่วง" ทั้งสิ้น

เช่นในเรื่องราชาธิราชก็อ้างว่า พระร่วงได้ชุบเลี้ยงมะกะโทและทรงส่งเสริมให้เป็นพระเจ้าฟ้ารั่วครองเมืองมอญ ในพงศาวดารโยนกก็กล่าวว่า เมื่อพระยาเม็งรายสร้างเมืองเชียงใหม่ได้เชิญ "พระร่วงเมืองสุโขทัย"กับ"พระยางำเมืองเมืองพะเยา" ผู้เป็นสหายไปปรึกษา

หนังสือตำนานพระพุทธสิหิงค์ ซึ่งพระโพธิรังษีแต่งเป็นภาษามคธที่เมืองเชียงใหม่ ก็แปลงคำ "พระร่วง" เป็น "รังคราช" ว่าได้พระพุทธสิหิงค์จากเมืองนครศรีธรรมราชข้นไปไว้ ณ เมืองสุโขทัย และที่สุดชาวกรุงศรีอยุธยาก็เรียกกันทั่วไปว่า "พระร่วง"


 ans1 ans1 ans1 ans1

จึงเห็นว่า "พระร่วง " นั้นคงเป็นพระเจ้าแผ่นดินที่ครองกรุงสุโขทัยพระองค์ใดพระองค์หนึ่งในห้าพระองค์นั้น ซึ่งทรงอานุภาพเลิศล้ำเป็นที่ยำเกรงแก่นานาประเทศใกล้เคียง และคงเลื่องลือระบือพระเกียรติ แต่ยังทรงพระนามว่าพระร่วงไม่เปลี่ยนไปเรียกตามพระนามใหม่ที่ถวายเมื่อราชาภิเษก ตัวอย่างเช่น พระเจ้าอู่ทองเมื่อตั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นอิสระทรงพระนามเมื่อราชาภิเษกว่า สมเด็จพระรามาธิบดี แต่ไพร่บ้านพลเมืองก็ยังเรียกว่า พระเจ้าอู่ทอง อยู่นั่นเอง

การที่จะวินิจฉัยเอาเรื่องพระร่วงเข้าในพงศาวดาร จึงอยู่ที่ต้องพิจารณาหาหลักฐานว่า พระองค์ใดในพระเจ้าแผ่นดินกรุงสุโขทัย 5 พระองค์นั้นเป็นพระร่วง แล้วพิจารณาต่อไปว่า เหตุใดจึงเรียกว่า "พระร่วง"


ขอบคุณภาพจาก : http://f.ptcdn.info/ , http://i50.photobucket.com/
ขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.info.ru.ac.th/province/Sukhotai/PRR6.htm
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


อนุสาวรีย์พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ วัดคุ้งวารี อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย


"ราชวงศ์พระร่วง" สืบกันมาถึงปัจจุบัน

ราชวงศ์พระร่วง เป็นราชวงศ์แรกและราชวงศ์เดียวที่ปกครองอาณาจักรสุโขทัย หลักฐานจารึกปู่สบถหลานระหว่างกษัตริย์สุโขทัยและน่าน แล้วมีการลำดับพระนามพระมหากษัตริย์ของราชวงศ์สุโขทัยตั้งแต่บรรพบุรุษ ส่วนหลักฐานทางประวัติศาสตร์มักพบว่าผู้คนภายในเขตสุโขทัย หรือบ้านเมืองแว่นแคว้นอื่นมักเรียกพระมหากษัตริย์ของสุโขทัยในนามว่า "พระร่วง" ซึ่งเป็นนามที่รู้จักไปอย่างกว้างขวางของคนกลุ่มไทยในสมัยโบราณ เชื้อสายของราชวงศ์พระร่วงนี้สืบทอดมายาวนานในการปกครองสมัยสุโขทัย

ราชวงศ์พระร่วง มีการสานสายสัมพันธ์กับราชวงศ์อู่ทองแห่งอาณาจักรละโว้ และราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราชแห่งอาณาจักรตามพรลิงค์ มาถึงสมัยอยุธยา ราชวงศ์สุพรรณภูมิรวมถึงราชวงศ์สุโขทัยแห่งอาณาจักรอยุธยา ยังปรากฏอยู่ผ่านความสัมพันธ์ทางเครือญาติระหว่างอาณาจักร สัญลักษณ์หรืออนุสรณ์อันศักดิ์สิทธิ์ของราชวงศ์พระร่วงที่สืบทอดมาถึงปัจจุบัน คือ รูปพระร่วงพระลือ ในซุ้มพระร่วงพระลือที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุราชวรวิหาร อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ตามความเชื่อของคนรุ่นเก่าแก่ในจังหวัดสุโขทัย ระบุว่า ที่นี่คือนิวาสถานดั้งเดิม หรือต้นกำเนิดของราชวงศ์พระร่วง



อนุสาวรีย์สามกษัตริย์ เชียงใหม่


ประวัติ : ราชวงศ์พระร่วง เป็นเชื้อสายของพระมหากษัตริย์ชนชั้นปกครองไทยที่มีอำนาจอยู่ในสมัยประวัติศาสตร์ที่เรียกกันว่า "สมัยสุโขทัย" ฐานอำนาจของราชวงศ์พระร่วงก็คือ ศรีสัชนาลัยสุโขทัย ที่เป็นทั้งศูนย์กลางการปกครองรัฐบาลและที่ประทับของพระบรมวงศานุวงศ์

ความชัดเจนในแง่ความเป็นมาของราชวงศ์นี้ไม่สามารถที่จะชี้ชัดระบุให้แน่นอนได้ เพราะมีหลักฐานหรือสิ่งที่กล่าวอ้างน้อยมาก พระร่วงในความทรงจำของคนตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนกลางลงมาเป็นไปในลักษณะที่เรียกว่าตำนานแล้ว เพราะเต็มไปด้วยเรื่องราวอภินิหารและความน่ามหัศจรรย์ ผนวกไปกับเรื่องราวของบ้านเมืองสถานที่ต่าง ๆ ในแถบกลุ่มอาณาจักรสุโขทัยเดิม (ได้แก่ สุโขทัย ศรีสัชนาลัย น่าน พิษณุโลก กำแพงเพชร ปากยม และพระบาง)


 :25: :25: :25: :25:

ราชวงศ์พระร่วง เป็นราชวงศ์ที่สถาปนาขึ้นเมื่อคราวพ่อขุนบางกลางหาวทรงราชาภิเษกเป็นพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ คำว่าพระร่วงเป็นคำที่ใช้เรียกพระมหากษัตริย์ หรือผู้นำแห่งรัฐสุโขทัย โดยคำว่าร่วง แปลว่า รุ่ง (โรจน์) ในสำเนียงไทยกลางจึงตรงกับคำว่า รุ่ง ซึ่งไปพ้องกับสำเนียงล้านช้างที่อ่านว่า ฮุ่ง ซึ่งอาจจะสืบเนื่องกับตำนานท้าวฮุ่ง-ท้าวเจือง อันเป็นวีรบุรุษในตำนานสองฝั่งโขง

อย่างไรก็ตาม คำว่า "พระร่วง" เป็นคำที่คิดขึ้นใหม่เมื่อครั้งสถาปนาวงศ์ หรือราชวงศ์ เดิมทีเรียกว่า "บางกลางหาว" ต่อมา "พ่อขุน" แต่ยังติดปาก จึงใช้ พ่อขุน + บางกลางหาว รวมเป็น "พ่อขุนบางกลางหาว" มาแต่ต้น

ความหมายของคำว่า "ร่วง" นี้ ต่อมาเป็นพระนามพระพุทธรูปองค์หนึ่งว่า พระร่วงโรจนฤทธิ์ ศรีอินทราทิตย์ธรรโมภาส มหาวชิราวุธปูชนียบพิตร เป็นการย้ำความหมายให้ ร่วงโรจน์ มีความหมายไปในทางเดียวกับ รุ่งโรจน์ อีกด้วย


 :sign0144: :sign0144: :sign0144: :sign0144:

ด้วยเหตุความเข้าใจคลาดเคลื่อนนี้ โดยมากจึงคิดกันว่า พ่อขุนศรีนาวนำถุมแห่งราชวงศ์ศรีนาวนำถุม พ่อขุนผาเมืองแห่งราชวงศ์ผาเมือง ตลอดจนพระมหาเถรศรีศรัทธาแห่งราชวงศ์ผาเมือง ทรงเป็นราชวงศ์พระร่วง อันที่จริงแล้ว ทั้งสามพระองค์นี้เป็นราชวงศ์ศรีนาวนำถุม (หรือราชวงศ์นำถุม) และราชวงศ์ผาเมือง โดยเอกสารทางวิชาการส่วนใหญ่ยืนยันตรงกันว่า พระมหากษัตริย์ผู้ทรงสถาปนาราชวงศ์พระร่วง คือพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ (กำมรเตงอัญศรีอินทรบดินทราทิตย์)



“พระร่วงโรจนฤทธิ์ ศรีอินทราทิตย์ธรรโมภาส มหาวชิราวุธราชปูชนียบพิตร” ตามประกาศกระแสพระบรมราชโองการ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๖๖ แต่ประชาชนทั่วไปเรียกขานว่า “หลวงพ่อพระร่วง” หรือ “พระร่วงโรจนฤทธิ์” วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร ถนนขวาพระ ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม



รายนามและพระนามผู้ที่อยู่ในราชวงศ์พระร่วง-สุโขทัย

บุคคลตามจารึกในประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวพันกับราชวงศ์พระร่วง

1. พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ พระนามเดิม บางกลางหาว
2. นางเสือง
3. พ่อขุนบานเมือง
4. พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
5. พญาเลอไท
6. พญางั่วนำถุม (ผสมวงศ์นำถุมทางราชินิกุล)
7. พระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท)
8. พระมหาธรรมราชาที่ 2 (ลือไท)
9. พระมหาธรรมราชาที่ 3 (ไสยลือไท)
10. พระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาล)
11. พระมหาเทวี (พระพี่นางในพญาลิไท)
12. พระศรีเทพาหูราช พระโอรสในพระมหาเทวี และขุนหลวงพะงั่ว (ครึ่งพระร่วง-ครึ่งสุพรรณภูมิ)
13. พระยาราม (พระเชษฐาพระมหาธรรมราชาที่ 4 ครองศรีสัชนาลัย)
14. พระยายุทธิษฐิระ (พระโอรสในพระยาราม เจ้าเมืองศรีสัชนาลัย ซึ่งเป็นโอรสในพระมหาธรรมราชาที่ 3อีกต่อหนึ่ง)
15. สมเด็จพระนครินทราชาธิราช (ครึ่งพระร่วง-ครึ่งสุพรรณภูมิ)
16. สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (ครึ่งพระร่วง-ครึ่งสุพรรณภูมิ)
17. พระนางสาขา
18. สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (ครึ่งพระร่วง-ครึ่งสุพรรณภูมิ)
19. ตำแหน่งท้าวศรีจุฬาลักษณ์ของกษัตริย์อยุธยาต้องมาจากราชวงศ์พระร่วง
20. สมเด็จพระสุริโยทัย
21. ขุนพิเรนทรเทพ (ในนามราชวงศ์สุโขทัย)
22. พระสุพรรณกัลยา (ในนามราชวงศ์สุโขทัย)
23. สมเด็จพระนเรศวรมหาราช (ในนามราชวงศ์สุโขทัย)
24. สมเด็จพระเอกาทศรถ (ในนามราชวงศ์สุโขทัย)
25. สมเด็จพระศรีเสาวภาคย์ (ในนามราชวงศ์สุโขทัย)
26. สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม (ในนามราชวงศ์สุโขทัย)
27. สมเด็จพระเชษฐาธิราช (ในนามราชวงศ์สุโขทัย)
28. สมเด็จพระอาทิตยวงศ์ (ในนามราชวงศ์สุโขทัย)
29. หม่อมเจ้าหญิงในราชวงศ์พระร่วง สมัยพระนารายณ์มหาราช
30. หม่อมเจ้าเจิดอุภัย
31. เจ้าแม่วัดดุสิต พระราชธิดาในสมเด็จพระเอกาทศรส
32. จ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) (พี่ชาย-พระนัดดาในสมเด็จพระเอกาทศรถ)
33. เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) (น้องชาย-พระนัดดาในสมเด็จพระเอกาทศรถ)
34. เจ้าพระยาวรวงษาธิราช (ขุนทอง) บุตรชาย เจ้าพระยาโกษาธิบดี(ปาน) ชื่อตำแหน่งมีความหมายเป็นพระญาติ
35. พระยาราชนิกูล (ทองคำ) บุตรชาย เจ้าพระยาวรวงษาธิราช ชื่อตำแหน่งมีความหมายเป็นพระญาติ
36. สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก (ทองดี) บุตรชาย พระยาราชนิกูล
37. พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (ในนามราชวงศ์จักรี) และเชื้อพระวงศ์จักรีทุกพระองค์
38. สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี (สืบเชื้อสายจากเจ้าแสนซึ่งเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเอกาทศรถ)
39. ผู้ที่มีนามสกุลว่า "ชูโต" โดยการสืบเชื้อสาย (สืบเชื้อสายจากเจ้าแสนซึ่งเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเอกาทศรถ)
40. ผู้ที่มีนามสกุลว่า "ณ บางช้าง" โดยการสืบเชื้อสาย (สืบเชื้อสายจากเจ้าแสนซึ่งเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเอกาทศรถ)

     
    อ่านข้อมูลเพิ่มเติมคลิกที่นี้


ขอบคุณภาพจาก : https://upload.wikimedia.org/ , http://f.ptcdn.info/ , http://www.dhammajak.net/
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี : https://th.wikipedia.org/wiki/ราชวงศ์พระร่วง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 06, 2016, 11:17:24 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0

     พระร่วง...พระเจ้าอรุณชัยฟ้า...(เท่าที่จำได้นะ)

        พระองค์ เคยได้...ครอบครอง ไม้เท้าไผ่ยอดตาล


       อยู่หลายเพลา


        จากตำนานพระกรรมฐาน

     ..www.somdechsuk.org
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
   และพระร่วงนั้น...พระองค์มีเชื้อ ทางสาย มอญ

      เท่าที่อ่านมาอย่างนี้นะ

   ผิดถูกอย่างไรก็..ก็ว่ากันอีกที
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา