ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: 'สวดมนต์' อย่างไร...ให้พ้นทุกข์  (อ่าน 1837 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
'สวดมนต์' อย่างไร...ให้พ้นทุกข์
« เมื่อ: พฤศจิกายน 30, 2012, 11:49:25 am »
0


'สวดมนต์' อย่างไร...ให้พ้นทุกข์
'สวดมนต์'อย่างไรให้พ้นทุกข์ : วิปัสสนาบนหน้าข่าว โดยมนสิกุล โอวาทเภสัชช์ เรื่องและภาพ

การสวดมนต์ เชื่อไหมว่าเป็นทางหนึ่งที่จะนำไปสู่วิมุติได้ ?
      แม้ว่าการทำวัตรสวดมนต์ไม่เคยเป็นประเพณีในครั้งพุทธกาลก็จริง แต่ก็เกิดขึ้นและสืบต่อกันในในประเทศที่พุทธศาสนาเข้ามาถึง เช่นในประเทศไทยเรานี้เอง
      สมัยก่อนการทำวัตรสวดมนต์ไม่มีการแปลเป็นภาษาไทย
      ด้วยเชื่อกันว่าพระคัมภีร์พระไตรปิฎกนั้นเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ห้ามแปล
      และการแปลอาจจะทำให้เนื้อหาในพระไตรปิฎกคลาดเคลื่อนไปเรื่อยๆ
      แต่ถึงที่สุดแล้วการไม่แปลก็มีผลทำให้เราไม่สามารถรู้ได้เลยว่า ความหมายในบทสวดมนต์นั้น มีความลึกซึ้งเพียงใด และเกี่ยวข้องกับการพ้นทุกข์อย่างไร

 
      การแปลบทสวดมนต์ทำวัตรเช้า-เย็น เริ่มกระทำกันอย่างจริงจังในสมัยท่านพุทธทาสภิกขุ หรือเมื่อราว ๗๕-๘๐ ปีก่อน ที่ท่านเห็นประโยชน์จากความหมายอันลึกซึ้งที่ควรให้ประชาชนได้พบกับเนื้อหาที่เข้าใจได้ง่าย ซึ่งนำไปสู่การปฏิบัติขัดเกลากิเลสได้ถูกตรง
      อันจะนำไปสู่การพ้นทุกข์ในชาตินี้ โดยไม่ต้องรอชาติหน้าให้เสียเวลาอีกต่อไป และเพื่อไม่ให้กระทบกับคณะสงฆ์ในกระแสหลัก คู่มือทำวัตรสวดมนต์จึงตีพิมพ์ขึ้นมาเพื่อเป็นคู่มือสำหรับอุบาสก อุบาสิกาโดยเฉพาะ ให้สวดระหว่างที่พระฉันอาหารจะได้ไม่คุยฟุ้ง
 
      ในที่สุดหนังสือ 'คู่มืออุบาสก อุบาสิกา ภาค ๑-๒ ทำวัตรเช้า-เย็น และบทสวดมนต์พิเศษบางบท แปลไทย ของ สำนักสวนโมกขพลารามไชยา ก็เผยแผ่ไปทั่วประเทศ และทั่วโลก เป็นหนึ่งในต้นแบบหนังสือสวดมนต์ทำวัตรแปลที่ทำให้พุทธบริษัทสี่ได้เข้าถึงแก่นพระพุทธศาสนาได้ด้วยตนเอง
 
      บทสวดมนต์สองเล่มนี้ ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี พ.ศ.๒๔๘๑ จำนวน ๕๐๐ ฉบับ จนถึงปัจจุบันตีพิมพ์ไปกว่า ๑๐๐ ครั้ง
      แต่ละครั้งมียอดพิมพ์ตั้งแต่ ๑,๐๐๐-๒๐,๐๐๐ ฉบับ ราคาขายเป็นราคาต้นทุนคือเล่มละ ๒๐ บาท และ ๑๕ บาท
      ในท้ายเล่มมีคำอธิบายประโยชน์ของการทำวัตรสวดมนต์ที่น่าสนใจคือ นี่เป็น ทางสู่วิมุติ เลยทีเดียว

 


     
      ทางที่นำไปสู่ความหลุดพ้นจากความทุกข์นั้นมีอยู่ ๕ ทางคือ
      การฟังธรรม แสดงธรรม สาธยายธรรม คิดนึกธรรม และ เจริญภาวนา

 
      การสวดมนต์เป็นหนึ่งในห้าเพราะการสวดมนต์ ก็คือ การสาธยายธรรมอย่างหนึ่ง
      ความหมายของบทสวดมนต์ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่เราจะต้องรู้เพื่อความเข้าใจ และการปฏิบัติให้ถูกตรง

 
      ท่านพุทธทาสภิกขุ กล่าวไว้ในคำปรารภตอนหนึ่งว่า คนเราเกิดมาชาติหนึ่ง
      ถ้ารู้จักแต่การทำมาหากินเลี้ยงร่างกายกันอย่างเดียว
      ไม่รู้จักแสวงหาธรรมะมาเลี้ยงจิตใจให้สะอาด สว่าง สงบ กันบ้างแล้ว
      การเกิดก็จะเป็นการเกิดมาเพื่อทนทรมาน ติดคุกตะรางทางวิญญาณชาติหนึ่งไปจนตาย
 
      "ทำอย่างไรคนเราจึงจะได้ความสุขไปทุกวัย หรืออย่างน้อยให้เอาตัวรอดให้ได้ในวันสุดท้าย นี้เป็นสิ่งที่ต้องคิดดูให้ดีที่สุด มิฉะนั้นแล้วจะไม่ด้รับสิ่งที่ควรจะได้รับ และเสียทีที่เกิดมาเป็นมนุษย์และพบพระพุทธศาสนา"

 



      เมตตา พานิช ไวยาวัจกร วัดธารน้ำไหล สวนโมกขพลาราม กล่าวว่า การอ่านบทสวดมนต์แปลที่จะนำเราไปสู่ความพ้นทุกข์นั้น มีความจำเป็นมากที่เราควรจะเข้าใจคำบาลีทุกคำที่แปลเป็นไทยด้วย
 
      "อย่างเช่นใน บทที่๑ พุทธาภิตุติง คำว่า อะระหัง อันหมายถึง เป็นผู้ไกลจากิเลส หมายถึงอะไร
      ความแตกต่างระหว่างปุถุชนกับอริยชนอยู่ตรงนี้คือ ปุถุชนอยู่ใต้อำนาจของกิเลส ถูกกิเลสมันชักนำไป
      ส่วนอริยชน กิเลสไม่สามารถตามไปถึงได้
      เราสำรวจและทบทวนตัวเราได้ว่า ตอนนี้เราอยู่ใกล้ หรือไกลกิเลสมากน้อยแค่ไหน


      สัมมาสัมพุทโธ เป็นผู้ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง อันนี้หมายความว่า พระพุทธองค์ใช้ชีวิตทั้งชีวิตทุ่มเท ฝึกฝนอบรมทุกวิถีทาง สู้ไม่ถอยจนพบได้ด้วยตนเอง
       เมื่อสวดถึงบทนี้ เราจะเห็นว่าพระองค์ทรงเอาชีวิตเข้าแลก เราได้พยายาม ทำตามบ้างไหม มันช่วยให้เรามีกำลังใจในการปฏิบัติ ถ้าไม่มีพระพุทธองค์ เราคงเสียเวลามากในการศึกษาค้นหา

 
       มาถึงข้อ วิชชาจะระณะสัมปันโน เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี เป็นอย่างไร
       เมตตาอธิบายว่า 'วิชชา' จะต้องมาคู่กับ 'จะระณะ' เสมอ
       "เราเคยตั้งคำถามกับตัวเราไหมว่า ทำไมชีวิตเราทุกวันนี้จึงทุกข์อยู่เรื่อยๆ เพราะเรามีแต่วิชา เรามีความรู้ แต่ไม่ได้ปฏิบัติ จริงๆ แล้ว เราไม่ต้องรู้ทุกอย่าง รู้เพียงไม่กี่อย่างแต่ทำได้ก็พอ ไม่ต้องขวนขวายที่จะรู้มากเกินไป แล้วก็ทำไม่ได้ ดูอย่างพระพุทธองค์ ทุกอย่างที่สอนทำได้หมดแล้ว


       ท่านพุทธทาส ทำไมพูดได้ทุกเรื่อง แจกแจง แยกแยะได้ เพราะท่านมั่นใจว่า ที่ท่านทำไว้ทั้งหมดถูกต้องสมบูรณ์ ไม่ได้มาจากการจำ แต่มาจากการปฏิบัติโดยเฉพาะเรื่องอานาปานสติ ท่านพูดไว้มากที่สุด เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้มากที่สุด "
 
       ทำไมคนส่วนใหญ่มีความรู้ แต่ยังดื่มเหล้าสูบบุหรี่
       เมตตาตั้งข้อสังเกตว่า เพราะมีความรู้ คือ 'วิชา' ที่ไม่ใช่ 'วิชชา' ทางพระพุทธศาสนา
       "วิชชาทางพระพุทธศาสนา คือ ความรู้ที่รู้แจ้งจนไม่ทำผิด เพราะชัดเจนแจ่มแจ้ง คือ
       มีวิชชาจาระณะสัมปันโน หมายถึง มีวิชชาแล้วปฏิบัติได้อย่างถูกตรง





       สุคะโต เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี หมายถึง ไม่กลับมาเกิดอีกแล้ว ไปในทางที่ถูกตรงสมบูรณ์ ถ้าเข้าไปในกระแสอริยมรรค เป็นอริยบุคคลก็จะไม่กลับมาเป็นปุถุชนอีก

       "ต่อมาคำว่า โลกะวิทู เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง
        ถ้าดูตามภาษิต ในอริยสัจสี่ ใช้คำว่าโลก แทนคำว่าทุกข์ รู้จักโลก ก็คือ รู้จักเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์
        โลกคืออะไร โลกก็คือขันธ์ ๕ นี่เอง
        ถ้าพูดให้ชัดที่สุดก็ว่า รู้โลกอย่างแจ่มแจ้งก็คือ การเห็นปฏิจจสมุปบาท
        ว่าอวิชชาเกิดขึ้นได้อย่างไร จิตมันมีอาการอย่างไร และจะดับอวิชชามันได้อย่างไร 
        เราก็ค่อยๆ หัดเรียนรู้โลกและออกจากโลก ไม่ต้องไปหาที่ไหนไกล


        พระพุทธองค์ตรัสว่า โลกก็อยู่ในกายยาววา หนาคืบนี้เอง
        จะออกจากโลก ก็คือ ออกจากความคิดปรุงแต่งนี่เอง

 
        "เพราะฉะนั้น ทั้งหมดของการปฏิบัติธรรมก็คือ ให้รู้เมื่อทุกข์มันเกิด ทุกข์จึงเป็นสิ่งที่ต้องกำหนดรู้
        เมื่อไรที่ทุกข์เข้ามาก็รีบกำหนดรู้ พอกำหนดรู้แล้ว ทุกข์จะหายไป
        ลองสังเกตดู เวลาที่เราทุกข์เรื่องอะไร พอเรารู้ตัว ทุกข์จะหายไป"

 
        และนี่คือ หนึ่งในทางแห่งวิมุติที่พบได้
        เมื่อเราตั้งใจสาธยายธรรมแล้ว 'โอปนยิโก' น้อมเข้ามาใส่ใจ อย่างแท้จริง



ขอบคุณภาพและบทความจาก
www.komchadluek.net/detail/20121128/145868/สวดมนต์อย่างไรให้พ้นทุกข์.html#.ULgwqGfjqxt
http://www.stopdrink.com/,http://i391.photobucket.com/,http://icare.kapook.com/





หมายเหตุ
    คำกล่าวที่ว่า
    "การแปลบทสวดมนต์ทำวัตรเช้า-เย็น เริ่มกระทำกันอย่างจริงจังในสมัยท่านพุทธทาสภิกขุ "
    ไม่ได้หมายถึง ท่านพุทธทาสเป็นคนแรกที่ริเริ่มการสวดมนต์แปล นะครับ
    คนแรกที่ริเริ่ม คือ สมเด็จพระสังฆราช พระญาณสังวร (สุก ไก่เถื่อน)
    อยากให้เข้าใจตามนี้

        :25:
       
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ