สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

เรื่องทั่วไป => ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) => ข้อความที่เริ่มโดย: ban ที่ พฤษภาคม 09, 2010, 08:31:01 pm



หัวข้อ: ภาวนา พุทธานุสสติ ใช้คำอื่นนอกจากคำว่า พุทโธ ได้หรือไม่ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: ban ที่ พฤษภาคม 09, 2010, 08:31:01 pm
ผมสงสัยมากครับ เวลาพระท่านสอนนั่งกรรมฐาน ทีไรต้องใช้คำว่า พุทโธ ทุกครั้ง

ในเมื่อเราฝึก พุทธานุสสติกรรมฐาน แล้วภาวนาด้วยคำื่อื่น ๆ ใน บทพุทธคุณได้หรือป่าวครับ


 :25: :smiley_confused1:


หัวข้อ: Re: ภาวนา พุทธานุสสติ ใช้คำอื่นนอกจากคำว่า พุทโธ ได้หรือไม่ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ พฤษภาคม 09, 2010, 09:27:26 pm

คุณแบนครับ ขออนุญาตตอบแบบออมๆ แบบว่าเกรงใจนะครับ

ในพระไตรปิฎก เท่าที่ผมอ่านมา พระพุทธเจ้าไม่เคยสอนให้

ใช้บริกรรมใดๆเลย ถ้าใครเห็นเป็นอื่น ช่วยแถลงหน่อยนะ่ครับ



ผมเคยใช้คำบริกรรม "พุทโธ" ในการนั่งสมาธิเมื่อครั้งเริ่มฝึกใหม่ๆ

หลายปีมาแล้ว พอเริ่มไปสักพัก "พุทโธ" จะหายไปเอง

ถึงแม้จะพยายามบริกรรม "พุทโธ" ก็ทำไม่ได้ เนื่องจาก

รู้สึกว่าคำว่า"พุทโธ" เป็นส่วนเกิน

อย่างไรก็ตาม อันนี้เป็นจริตเฉพาะตัว ท่านอื่นๆไม่จำเป็นต้องเหมือนผม



คราวนี้มาตอบคำว่า "ทำไมต้องใช้คำว่า "พุทโธ"

พระอาจารย์เคยบอกผมว่า เพราะ "พุทโธ"เป็นคำที่พอดี

กับลมหายใจเข้าออก หากจะถามว่าใครเป็นคนแรกที่ใช้คำว่า"พุทโธ"

อันนี้ผมไม่ทราบเหมือนกัน ท่านใดทราบช่วยแถลงหน่อยครับ



สุดท้ายครับ หากคุณใช้อานาปานสติ ใช้คำว่า ธัมโม หรือ สังโฆ ก็ได้นะครับ

หากเ็ป็นกรรมฐานอื่่นๆ บริกรรมอะไรก็ได้ครับ


หัวข้อ: Re: ภาวนา พุทธานุสสติ ใช้คำอื่นนอกจากคำว่า พุทโธ ได้หรือไม่ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: fasai ที่ พฤษภาคม 11, 2010, 09:24:49 am
อ้างถึง
ในพระไตรปิฎก เท่าที่ผมอ่านมา พระพุทธเจ้าไม่เคยสอนให้

ใช้บริกรรมใดๆเลย ถ้าใครเห็นเป็นอื่น ช่วยแถลงหน่อยนะ่ครับ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓

มีข้อความเกี่ยวกับ ใช้ สติ ตามระลึกถึง พระพุทธคุณของพระพุทธเจ้า

การตามระลึก ถึงพระพุทธเจ้า นิยมใช้คำว่า พุทธะ ซึ่งเป็นพระนาม ของพระศาสดา ที่เราเรียกขานกันว่า พระพุทธเจ้า ในบทพระพุทธคุณ นั้น ก็มี ชุดเดียว ที่ตรงกับพระนามของพระพุทธเจ้า ก็คือ พุทธะ หรือ พุทโธ

อ้างถึง
หากจะถามว่าใครเป็นคนแรกที่ใช้คำว่า"พุทโธ"

อันนี้ผมไม่ทราบเหมือนกัน ท่านใดทราบช่วยแถลงหน่อยครับ

ผู้เรียน คนแรก ปรากฏในประวัติของพระราหุลมหาเถระเจ้าพุทธชิโนรส ผู้สอน คือพระอรหันต์พระสารีบุตรอัครสาวก


อ้างถึง
ผมสงสัยมากครับ เวลาพระท่านสอนนั่งกรรมฐาน ทีไรต้องใช้คำว่า พุทโธ ทุกครั้ง

ในเมื่อเราฝึก พุทธานุสสติกรรมฐาน แล้วภาวนาด้วยคำื่อื่น ๆ ใน บทพุทธคุณได้หรือป่าวครับ


ผู้ฝึกในห้องที่ 1 จะเข้าใจ เมื่อถึงระดับ เอก เมื่อ พุทโธ ประสาน กับ หทัยวัตถุ จ้า

ฟังจากพระอาจารย์ มาอีกที
 :08:

ผิดถูกอย่างไร ก็ขออภัย





หัวข้อ: Re: ภาวนา พุทธานุสสติ ใช้คำอื่นนอกจากคำว่า พุทโธ ได้หรือไม่ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: ISSARAPAP ที่ พฤษภาคม 11, 2010, 09:46:26 am
อ้างถึง
ผมเคยใช้คำบริกรรม "พุทโธ" ในการนั่งสมาธิเมื่อครั้งเริ่มฝึกใหม่ๆ

หลายปีมาแล้ว พอเริ่มไปสักพัก "พุทโธ" จะหายไปเอง

ถึงแม้จะพยายามบริกรรม "พุทโธ" ก็ทำไม่ได้ เนื่องจาก

รู้สึกว่าคำว่า"พุทโธ" เป็นส่วนเกิน



ผมเห็นด้วย ในส่วนนี้ครับ เพราะแท้ที่จริง คำภาวนานั้น ก็เป็นเพียง สมมุติ

ในส่วนปรมัตถ์สัจจะ แท้จริง แล้วก็ไม่มีครับ

การภาวนาจริง ๆ แล้ว ก็ไม่ต้องกำหนดอะไร ทำใจ เราให้เข้ากับธรรมชาติ

มองเห็นธรรมชาติ และเข้าไปสู่ธรรมชาติ

ไม่มีสมมุติ มีแต่ สัจจะ คือไม่ม่ ไม่ม่ และ ไม่มีอะไรทั้งนั้น ครับ


 ;)


หัวข้อ: Re: ภาวนา พุทธานุสสติ ใช้คำอื่นนอกจากคำว่า พุทโธ ได้หรือไม่ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: ธุลีธวัช (chai173) ที่ พฤษภาคม 11, 2010, 10:05:56 pm
:015: :015: :015:   :67:   :015: :015: :015:
:043:ขอเล่าประสพการณ์ของผมในการเจริญอานาปานสติ(กำหนดลมหายใจเข้าออก) โดยใช้บริกรรมภาวนาว่า "พุทโธ"(หายใจเข้า "พุท" หายใจออก "โธ") ซึ่งปฏิบัติเมื่อครั้งเป็นเด็ก เมื่อปฏิบัติต่อเนื่องประมาณ 5,10,15,20 นาทีเป็นเวลา 20-25 วันโดยประมาณไม่ถึง 1 เดือน การใช้บริกรรมภาวนา "พุทโธ" ในการปฏิบัติ เมื่อถึงระดับหนึ่งคำบริกรรมจะหายไปลมหายใจละเอียดมากและแผ่วเบาใจนิ่งวางแม้คำว่า "พุทโธ" ก็ไม่เอาแล้ว จิตสบายมีความสุขอยู่อย่างนั้นแล้วก็อยู่อย่างนั้น จิตสัมผัสรับรู้และบอกกับตัวเองอย่างนั้นว่า มีความสุข ไม่ต้องรักใคร เคืองใคร อยากได้อะไร อาการอย่างนี้เกิดขึ้นได้ต้องมีปิติตัวโยก คลอน หนัก แข็ง ใหญ่โต รู้สึกว่ายืน เคว้ง มีเพียงตัวเรากับจักรวาลเท่านั้น เมื่อผ่านปิติอย่างนี้ก็รู้สึกใจไม่มีอะไรเกาะเกี่ยววางๆว่างๆมีความสุขนิ่งอยู่อย่างนั้นไม่อยากออกจากสมาธิ แต่ที่สุดก็เบื่อไปเองด้วยไม่เข้าใจยังเรียนรู้น้อยจึงเลิกปฏิบัติไป เมื่อระลึกได้ก็กลับมาปฏิบัติอย่างเดิมแต่ก็ติดอารมณ์เดิมๆอีก จนเมื่อมาพบพระอาจารย์สนธยา ธัมมวังโส จึงเข้าใจและได้กลับมาขวนขวายอีกครั้งครับ.
                                                                                                                                                                                  :coffee2:


หัวข้อ: ข้อธรรมนี้ "ยกเครดิตให้คุณฟ้าใส"
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ พฤษภาคม 12, 2010, 08:47:33 pm

ขออนุญาตชื่นชมความกล้าหาญชาญชัย ของคุณฟ้าใส
ที่ตอบกระทู้ด้วยความศรัทธาในกรรมฐานมัชฌิมา
และเคารพในพระอาจารย์ ทั้งที่ตัวเองก็ยังลังเลสงสัยอยู่

เพื่อให้ความลังเลสงสัยของคุณฟ้าใสได้บรรเทาลง
ผมจึงขอค้นคว้าเรื่องราวของพุทธานุสติมาให้ทุกท่าน
ได้พิจารณากันตามอัธยาสัย

 และขอยกเครดิตข้อธรรม ที่จะนำเสนอต่อไปนี้ ให้คุณฟ้าใส

--------------------------------------- 

พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม(มหามกุฏ)
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔
อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
๑๐. มหานามสูตร

             [๒๘๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม
ใกล้กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ครั้งนั้นแล เจ้าศากยะ พระนามว่ามหานามะ
ได้เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วน
ข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อริยสาวกผู้ได้บรรลุผล  ทราบชัดพระศาสนาแล้ว
ย่อมอยู่ด้วยวิหารธรรมชนิดไหนเป็นส่วนมาก พระเจ้าข้า

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรมหานามะ อริยสาวกผู้ได้บรรลุผล
ทราบชัดพระศาสนาแล้ว ย่อมอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้เป็นส่วนมาก คือ อริยสาวก
ในพระศาสนานี้ ย่อมระลึกถึงพระตถาคตเนืองๆ ว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น

เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ
ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว
ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า
เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เป็นผู้เบิกบานแล้ว
เป็นผู้จำแนกธรรม

ดูกรมหานามะ สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงพระตถาคตเนืองๆ
สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น ย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม
ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม ย่อมเป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว ก็อริยสาวกผู้มีจิตดำเนินไป
ตรงเพราะปรารภพระตถาคต ย่อมได้ความทราบซึ้งอรรถ ย่อมได้ความทราบซึ้งธรรม
ย่อมได้ความปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรม เมื่อปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิดปีติ
เมื่อมีใจประกอบด้วยปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบแล้วย่อมเสวยสุข เมื่อมีสุข
จิตย่อมตั้งมั่น

ดูกรมหานามะ นี้อาตมภาพกล่าวว่า อริยสาวกเป็นผู้ถึงความสงบ
เรียบร้อยอยู่ ในเมื่อหมู่สัตว์ยังไม่สงบเรียบร้อย เป็นผู้ไม่มีความพยาบาทอยู่ ใน
เมื่อหมู่สัตว์ยังมีความพยาบาท เป็นผู้ถึงพร้อมกระแสธรรม ย่อมเจริญ
พุทธานุสสติ ฯ

ที่มา  http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=22&A=6756 (http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=22&A=6756)
             
--------------------------------------- 

อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ อาหุเนยยวรรคที่ ๑

(ขอยกเอาบางส่วนของอรรถกถามาแสดงดังนี้)
 
ในบททั้งปวง พึงทราบความโดยนัยนี้.
               เจ้าศากยมหานามะทูลถามถึงวิหารธรรม เป็นที่อาศัยของพระโสดาบัน ด้วยประการดังพรรณานามาฉะนี้. แม้พระบรมศาสดาก็ตรัสวิหารธรรมเป็นที่อาศัย ของพระโสดาบันนั่นแหละ แก่ท้าวเธอด้วยประการฉะนี้.
               ในพระสูตรนี้ จึงเป็นอันตรัสถึงพระโสดาบันอย่างเดียวเท่านั้น ฉะนี้แล.

               จบอรรถกถามหานามสูตรที่ ๑๐               

ที่มา  http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=281 (http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=281)
--------------------------------------- 

พุทธานุสสติกรรมฐาน จากคัมภีร์วิสุทธิมรรค เล่ม ๒ สมาธินิเทศ


(ต่อไปนี้เป็นข้อความช่วงต้นบางส่วน)
สิริเป็นอนุสสติ ๑๐ ประการด้วยกัน แต่จักสำแดงพิสดารในพุทธานุสสติกรรมฐานนั้นก่อน   
พุทฺธานุสฺสติ ภาเวตุกาเมน   พระโยคาพจรผู้มีศรัทธาปรารถนาจะจำเริญพระกรรมฐานนี้พึงกระทำจิตให้ประกอบ ด้วยความเลื่อมใส ไม่หวั่นไหวในพระพุทธคุณเสพเสนาสนะที่สงัดสมควรแล้ว
พึงนั่งบัลลังก์สมาธิตั้งกายให้ตรงแล้ว
พึงรำลึกตรึกถึงพระคุณแห่งสมเด็จพระสรรเพชญ์พุทธองค์ด้วยบทว่า

 อิติปิโส ภควา ฯลฯ พุทฺโธ ภควาติ   

มิฉะนั้นจะระลึกว่า 
โส ภควา อิติปิ อรหํ โส ภควา
อิติปิ สมฺมาสมฺพุทฺโธ โส ภควา
อิติปิ วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส ภควา
อิติปิ สุคโต โส ภควา
อิติปิ โลกวิทู โส ภควา
อิติปิ อนุตฺตโร โส ภควา
อิติปิ ปุริสทมฺมสารถิ โส ภควา
อิติปิ สตฺถาเทวมนฺสฺสานํ โส ภควา
อิติปิ พุทฺโธ ภควา อิติปิ ภควา   ดังนี้ก็ได้

มิฉะนั้นจะระลึกแค่บทใดบทหนึ่ง เป็นต้นว่า อรหัง นั้นก็ได้

อรรถาธิบายในบทอรหังนั้นว่า   โส ภควา   อันว่าสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น   
อรหํ   ทรงพระนามชื่อว่าอรหัง ด้วยอรรถว่าพระองค์ไกลจากข้าศึกคือกิเลส นัยหนึ่งว่าพระองค์หักเสียซึ่งกำกงแห่งสังสารจักรจึงทรงพระนามชื่อว่า   อรหัง   

นัยหนึ่งว่าพระองค์ควรจะรับซึ่งจตุปัจจัยทั้ง ๔ มีจีวรเป็นอาทิแลสักการบูชาวิเศษแห่งสัตว์โลก จึงทรงพระนามชื่อว่าอรหัง
นัยหนึ่งว่าพระองค์มิได้กระทำบาปในที่ลับจึงทรงพระนามชื่อว่าอรหัง แท้จริงสมเด็จพระสรรเพชญ์พุทธองค์นั้นสถิตอยู่ในที่อันไกลเสียยิ่งนักจาก กิเลสธรรมทั้งปวง

(ต่อไปนี้เป็นข้อความช่วงท้ายบางส่วน)
นัยหนึ่ง พุทโธ ศัพท์นี้รวมไว้ซึ่งอรรถถึง ๑๕ ประการ คือ   
พุทฺโธ   แปลว่าตรัสรู้ซึ่งพระจตุราริยสัจ ๔ ประการ ๑   
พุทฺโธ   แปลว่ายังสัตว์โลกอันมีบารมีสมควรจะตรัสรู้ให้ให้ตรัสรู้พระอริยสัจจธรรมประการ ๑
พุทฺโธ   แปลว่ามีพระบวรพุทธสันดานทรงพระคุณคือสัพพัญญุตญาณ อันสามารถตรัสรู้ไปในไญยธรรมทั้งปวงประการ ๑   
พุทฺโธ   แปลว่ามีพระบวรพุทธสันดานทรงพระคุณคือพระอรหัตตมัคคญาณ อันหักรานกองกิเลสเป็นสมุจเฉทปหานหาเศษมิได้ประการ ๑   
พุทฺโธ   แปลว่าตรัสรู้พระจตุราริยสัจด้วยพระองค์เอง หาผู้จะบอกกล่าวมิได้ประการ ๑   
พุทฺโธ   แปลว่าเบิกบานด้วยพระอรหัตตมัคคญาณเปรียบประดุจดอกประทุมชาติ อันบานใหม่ด้วยแสงพระสุริยเทพบุตร เหตุได้พระอรหัตต์แล้ว พระวิเศษญาณทั้งปวงมีอนาคามิมัคคญาณเป็นต้นเกิด พร้อมด้วยพระอรหัตตมัคคญาณนั้นประการ ๑ 
พุทฺโธ   แปลว่าสิ้นจากอาสวะทั้ง ๔ มีกามาสวะเป็นต้น มีอวิชชาสวะเป็นที่สุดประการ ๑ 
พุทฺโธ   แปลว่ามีพระบวรพุทธสันดานปราศจากกิเลส ๑๕๑๑ ประการ
พุทฺโธ   แปลว่ามีพระบวรพุทธสันดานทรงพระคุณ คือปราศจากราคะประการ ๑   
พุทฺโธ   แปลว่ามีพระบวรสันดานปราศจากโทสะประการ ๑   
พุทฺโธ   แปลว่าพระบวรสันดานปราศจากโมหะประการ ๑   
พุทฺโธ   แปลว่าตื่นจากหลับคือกิเลส เปรียบประดุจบุรุษตื่นขึ้นจากหลับประการ ๑   
พุทฺโธ   แปลว่าเสด็จไปสู่พระนิพพาน โดยทางมัชฌิมปฏิบัติประการ ๑ 
พุทฺโธ   แปลว่าตรัสรู้ด้วยพระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณแห่งพระองค์เอง หาผู้จะรู้บ่มิได้ประการ ๑ 
พุทฺโธ   แปลว่าพระองค์มีพระบวรพุทธสันดานได้ซึ่งพุทธิ คือพระอรหัตตมัคคญาณ เหตุประหารเสียซึ่งอพุทธิคืออวิชชาประการ ๑ เป็นนัย ๑๕ ประการดังนี้

(ต่อไปนี้เป็นข้อความช่วงสุดท้าย)
ตั้งแต่พระอรหังตลอดจนภควา เมื่อพระโยคาพจรระลึกถึงพระคุณแห่งสมเด็จพระสรรเพชญ์พุทธเจ้าโดยนิยมดัง กล่าวมานี้แล้ว   ราคะ  โทสะ โมหะ     ก็มิได้ครอบงำน้ำจิตแห่งพระโยคาพจร ฯ ก็ซื่อตรงเป็นอันดี นิวรณธรรมทั้ง ๕ มีกามฉันทนิวรณ์เป็นต้นก็สงบลง เมื่อจิตสงบลงตรงพระกรรมฐานแล้ววิตกวิจารอันน้อมไปในพระพุทธคุณก็จะบังเกิด

เมื่อวิตกวิจารบังเกิดแล้วปีติทั้ง ๕ ประการ คือ  ขุททกาปีติ  ขณิกาปีติ  โอกกันติกาปีติ  อุพเพงคาปิติ  ผรณาปีติ  ก็จะบังเกิดในสันดาน

เมื่อปีติบังเกิดเเล้ว กายปัสสัทธิ   จิตตปัสสัทธิ   อันเป็นพนักงานรำงับกายรำงับจิตก็จะบังเกิด

เมื่อพระปัสสัทธิทั้ง ๒ บังเกิดแล้ว ก็เป็นเหตุจะให้สุข ๒ ประการ คือสุขในกาย   สุขในจิต นั้นบังเกิด เมื่อสุขบังเกิดแล้วน้ำจิตแห่งพระโยคาพจรก็จะตั้งมั่นด้วยอุปจารสมาธิ
 
 อันจำเริญพุทธานุสสตินี้กำหนดให้สำเร็จคุณธรรมแต่เพียงอุปจารฌาน บ่มิอาจให้ถึงซึ่งอัปปนาอาศัยว่าน้ำจิตแห่งพระโยคาพจร ที่จะลึกซึ่งพระพุทธคุณนั้น ระลึกด้วยนัยต่าง ๆ มิใช่แต่ในหนึ่งนัยเดียว

อันพระพุทธคุณนี้ลึกล้ำคัมภีรภาพยิ่งนัก หยั่งปัญญาในพระพุทธคุณนั้น ไม่มีที่สุดไม่มีที่หยุดยั้งไม่มีที่ตั้ง เหตุฉะนี้พระโยคาพจรผู้จำเริญพุทธานุสสติ จึงคงได้แก่เพียงอุปจารฌาน

แลท่านผู้จำเริญพุทธานุสสตินี้ จะมีสันดานกอปรด้วยรักใคร่ในสมเด็จพระสรรเพชญ์พุทธองค์จะถึงซึ่งไพบูลย์ไป ด้วยคุณธรรม คือ  ศรัทธา  สติ  ปัญญา   แลบุญสันดานนั้นจะมากไปด้วยปรีดาปราโมทย์ อาจอดกลั้นได้ซึ่งทุกข์แลภัยอันจะมาถึงจิตนั้น จักสำคัญว่าได้อยู่ร่วมด้วยสมเด็จพระผู้มีพระภาค
 
ร่างกายแห่งบุคคลผู้มีพระพุทธานุสสติกรรมฐานซับซาบอยู่นั้น สมควรที่จะเป็นที่สักการแห่งหมู่เทพยดาแลมนุษย์ เปรียบประดุจเรือนเจดีย์ น้ำจิตแห่งบุคคลผู้นั้นจะน้อมไปในพุทธภูมิจะกอปรด้วยหิริโอตัปปะ มิได้ประพฤติล่วงซึ่งวัตถุอันพระพุทธองค์บัญญัติห้ามไว้ จะมีความกลัวแก่บาปละอายแก่บาป ดุจดังว่าเห็นสมควรพระพุทธองค์อยู่เฉพาะหน้าแห่งตน

แม้ว่าวาสนายังอ่อนมิอาจสำเร็จฌานสมาบัติมรรคผล ก็มีสุคติภพเป็นเบื้องหน้าเหตุดังนั้นนักปราชญ์ผู้มีปัญญาอย่าพึงประมาท ในพุทธานุสสติกรรมฐานอันมีคุณานิสงส์เป็นอันมาก โดยนัยกล่าวมานี้ ฯ

ที่มา http://www.larnbuddhism.com/visut/2.9.html (http://www.larnbuddhism.com/visut/2.9.html)
--------------------------------------- 

พุทธคุณ ๙ (คุณของพระพุทธเจ้า)

อิติปิ โส ภควา (แม้เพราะอย่างนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น)

๑. อรหํ (เป็นพระอรหันต์ คือ เป็นผู้บริสุทธิ์ ไกลจากกิเลส ทำลายกำแห่งสังสารจักรได้แล้ว เป็นผู้ควรแนะนำสั่งสอนผู้อื่น ควรได้รับความเคารพบูชา เป็นต้น)

๒. สมฺมาสมฺพุทฺโธ (เป็นผู้ตรัสรู้ชอบเอง)

๓. วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน (เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชา คือความรู้ และจรณะ คือความประพฤติ)

๔. สุคโต (เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว คือ ทรงดำเนินพระพุทธจริยาให้เป็นไปโดยสำเร็จผลด้วยดี พระองค์เองก็ได้ตรัสรู้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า ทรงบำเพ็ญพุทธกิจก็สำเร็จประโยชน์ยิ่งใหญ่แก่ชนทั้งหลายในที่ที่เสด็จไป และแม้ปรินิพพานแล้ว ก็ได้ประดิษฐานพระศาสนาไว้เป็นประโยชน์แก่มหาชนสืบมา)
 
๕. โลกวิทู (เป็นผู้รู้แจ้งโลก คือ ทรงรู้แจ้งสภาวะอันเป็นคติธรรมดาแห่งโลกคือสังขารทั้งหลาย ทรงหยั่งทราบอัธยาศัยสันดานแห่งสัตวโลกทั้งปวง ผู้เป็นไปตามอำนาจแห่งคติธรรมดาโดยท่องแท้ เป็นเหตุให้ทรงดำเนินพระองค์เป็นอิสระ พ้นจากอำนาจครอบงำแห่งคติธรรมดานั้น และทรงเป็นที่พึ่งแห่งสัตว์ทั้งหลายผู้ยังมาอยู่ในกระแสโลกได้)

๖. อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ (เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ฝึกได้ ไม่มีใครยิ่งไปกว่า คือ ทรงเป็นผู้ฝึกคนได้ดีเยี่ยม ไม่มีผู้ใดเทียมเท่า)
 
๗. สตฺถา เทวมนุสฺสานํ (เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย)
 
๘. พุทฺโธ (เป็นผู้ตื่นและเบิกบานแล้ว คือ ทรงตื่นจากความเชื่อถือและข้อปฏิบัติทั้งหลายที่ถือกันมาผิดๆ ด้วย ทรงปลุกผู้อื่นให้พ้นจากความหลงงมงายด้วย อนึ่ง เพราะไม่ติด ไม่หลง ไม่ห่วงกังวลในสิ่งใดๆ มีการคำนึงประโยชน์ส่วนตน เป็นต้น จึงมีพระทัยเบิกบาน บำเพ็ญพุทธกิจได้ถูกต้องบริบูรณ์ ด้วยถือธรรมเป็นประมาณ การที่ทรงพระคุณสมบูรณ์เช่นนี้ และทรงบำเพ็ญพุทธกิจได้เรียบร้อยบริบูรณ์เช่นนี้ ย่อมอาศัยเหตุคือความเป็นผู้ตื่นและย่อมให้เกิดผลคือทำให้ทรงเบิกบานด้วย)
 
๙. ภควา (ทรงเป็นผู้มีโชค คือ จะทรงทำการใด ก็ลุล่วงปลอดภัยทุกประการ หรือ เป็นผู้จำแนกแจกธรรม)

พุทธคุณ ๙ นี้ เรียกอีกอย่างว่า นวารหาทิคุณ (คุณของพระพุทธเจ้า ๙ ประการ มีอรหํ เป็นต้น) บางทีเลือนมาเป็น นวรหคุณ หรือ นวารหคุณ แปลว่า คุณของพระพุทธเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ ๙ ประการ

M.I.37; A.III.285.     ม.มู.๑๒/๙๕/๖๗; องฺ.ฉกฺก.๒๒/๒๘๑/๓๑๗.
ที่มา  พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม (ป.อ.ปยุตโต)



หัวข้อ: ข้อธรรมนี้ "ยกเครดิตให้คุณฟ้าใส"
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ พฤษภาคม 12, 2010, 08:57:33 pm

ก่อนอ่านคำตอบ กรุณาอ่านข้อธรรมต่างๆที่เสนอมาให้เข้าใจด้วยครับ

ตอบคำถามคุณแบน

คุณแบนถามว่า“ภาวนา พุทธานุสสติ ใช้คำอื่นนอกจากคำว่า พุทโธ ได้หรือไม่ครับ”
ผมสงสัยมากครับ เวลาพระท่านสอนนั่งกรรมฐาน ทีไรต้องใช้คำว่า พุทโธ ทุกครั้ง
ใน เมื่อเราฝึก พุทธานุสสติกรรมฐาน แล้วภาวนาด้วยคำอื่นๆใน บทพุทธคุณได้หรือป่าวครับ

ผมขอสรุปคำถามคุณแบนเป็นสองข้อ
๑. เวลาพระสอนกรรมฐาน ทำไมต้องใช้คำบริกรรมว่า พุทโธ
๒. พุทธานุสสติกรรมฐาน ใช้คำภาวนา อื่นๆในบทพุทธคุณได้หรือเปล่า(นอกจาก พุทโธ)

ก่อนจะตอบคำถาม เรามาทำความเข้าใจกับคำว่า “บริกรรม” กันก่อน
 
บริกรรม
       1. (ในคำว่า “ถ้าผ้ากฐินนั้น มีบริกรรมสำเร็จด้วยดี”) การตระเตรียม, การทำความเรียบร้อยเบื้องต้น เช่น ซัก ย้อม กะ ตัด เย็บ เสร็จแล้ว
       2. สถานที่เขาลาดปูน ปูไม้ ขัดเงา หรือชักเงา โบกปูน ทาสี เขียนสี แต่งอย่างอื่น เรียกว่าที่ทำบริกรรม ห้ามภิกษุถ่มนำลาย หรือนั่งพิง
       3. การนวดฟั้น ประคบ หรือถูตัว
       4. การกระทำขั้นต้นในการเจริญสมถกรรมฐาน คือ กำหนดใจโดยเพ่งวัตถุ หรือนึกถึงอารมณ์ที่กำหนดนั้น ว่าซ้ำๆ อยู่ในใจ อย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อทำใจให้สงบ
       5. เลือนมาเป็นความหมายในภาษาไทย หมายถึงท่องบ่น, เสกเป่า

บริกรรมภาวนา  ภาวนาขั้นต้นหรือขั้นตระเตรียม คือ กำหนดใจ โดยเพ่งดูวัตถุ หรือนึกถึงพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ เป็นต้น ซ้ำๆ อยู่ในใจ

ขอให้ทุกท่านทำความเข้าใจกับ ความหมายของคำว่า “บริกรรมในข้อ ๔ “
และความหมายของคำว่า  “บริกรรมภาวนา “ให้ดีนะครับ
ต่อไปถ้าผมกล่าวถึง คำว่า “บริกรรม” จะหมายถึง สองคำนั้น

---------------------------------

ตอบคำถามข้อแรก

๑.   เวลาพระสอนกรรมฐาน ทำไมต้องใช้คำบริกรรมว่า พุทโธ ?

คุณแบนไม่ได้ระบุว่า เป็นกรรมฐานกองไหน(จากทั้งหมด ๔๐ กอง)
แต่ถ้าหมายถึงแนวการสอนในสายพระป่า  รวมทั้งสายของหลวงพ่อฤาษีลิงดำแล้ว
ก็จะเป็นพุทธานุสสติ บวกกับอานาปานสติ โดยกำหนดให้บริกรรมว่า
 “พุท” เวลาหายใจเข้า และ ตามด้วย “โธ” เวลาหายใจออก

วิธีบริกรรมแบบนี้ ผมไม่ทราบว่าใครเป็นต้นตำรับ จึงบอกเหตุที่แท้จริงไม่ได้
ได้แต่สันนิสฐานตามคนอื่นๆไป คงเป็นเพราะ พุทโธ พอดีกับลมหายใจเข้าออก
และที่สำคัญในบทพุทธคุณ ๙ ประการนั้น พุทโธเป็นคำเดียวที่มีสองพยางค์
นอกนั้น มีสามพยางค์ขึ้นไปทั้งสิ้น

เรามาพิจารณาตามพระไตรปิฎก(มหานามสูตร) จะเห็นว่าพระองค์ไม่ได้บอกให้ใช้คำบริกรรมพุทโธเลย
เพียงแต่บอกว่า สาวกของท่านที่เป็นอริยะสาวกแล้ว ย่อมระลึกถึงพระองค์ว่า

เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ
ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว
ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า
เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เป็นผู้เบิกบานแล้ว
เป็นผู้จำแนกธรรม

เป็นที่น่าสังเกตว่าในชั้นของอรรถกถา ระบุชัดเจนว่า พระสูตรนี้ตรัสถึงโสดาบันแต่อย่างเดียว
นั่นอาจนำมาซึ่งคำถามว่า “การระลึกถึงพุทธคุณของปุถุชนเป็นไปได้รึเปล่า”
หรือมีไว้เฉพาะอริยสาวก

มหานามสูตรที่ ๑๐ นี้สำคัญมาก ผมสังเกตจากข้อธรรม พุทธคุณ ๙ ธรรมคุณ ๖ และสังฆคุณ ๙
ในพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรมของท่าน ป.อ.ปยุตโต 
ทั้งสามหัวข้อนี้ ล้วนสงเคราะห์มาจาก สูตรนี้ทั้งหมด

คราวนี้ลองมาดูคัมภีร์วิสุทธิมรรคกันบ้าง อนุสสติทั้ง ๑๐ ในคัมภีร์นี้ ไม่ได้ระบุวิธีบริกรรมแบบนี้เอาไว้
ในส่วนของพุทธานุสสติ ให้ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าเท่านั้น ไม่ได้บอกให้ใช้คำบริกรรมว่า พุทโธ
และในส่วนของอานาปานสติ กำหนดให้นับเป็นคู่ๆเท่านั้น ไม่ได้บอกให้ใช้คำบริกรรมว่า พุทโธ

ดังนั้น การใช้ พุทธานุสสติ ร่วมกับอานาปานสติ น่าจะเกิดหลังจาก การรจนา คัมภีร์วิสุทธิมรรคแล้ว
นั่นหมายถึง กรรมฐานมัชฌิมาดั้งเดิมนั้น ก็น่าจะไม่มีคำบริกรรมว่า “พุทโธ” เนื่องจากคัมภีร์วิสุทธิมรรคได้แปลมาจาก คัมภีร์วิมุตติมรรค ซึ่งเป็นคัมภีร์ของกรรมฐานมัชฌิมานั่นเอง
(อันนี้เป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ อย่าซีเรียส)

   อนึ่ง หากท่านใดอยากทราบว่า  ทำไมต้องรวมพุทธานุสสติเข้ากับอานาปานสติ
ผมตอบได้เลยวา ลำพังพุทธานุสสติ จะทำได้แค่อุปจารสมาธิ  หากต้องการ “ฌานสมาบัติ”
ต้องนำอานาปานสติมาร่วมด้วย
 
อ่านรายละเอียดเรื่องนี้ได้ที่ห้องสนทนาธรรม ในหัวข้อ
“พุทธานุสสติ มีกำลังถึงสมาบัติ ๘ (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)”  ตามลิงค์นี้ครับ

http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=509.0 (http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=509.0)

---------------------------------

ตอบคำถามข้อสอง

๒.   พุทธานุสสติกรรมฐาน ใช้คำภาวนา อื่นๆในบทพุทธคุณได้หรือเปล่า(นอกจาก พุทโธ) ?

ถ้าคุณแบนหมายถึงการระลึกถึงพุทธคุณ ในพุทธานุสติอย่างเดียว โดยไม่นำไปกี่ยวกับอานาปานสติแล้ว

ในพระไตรปิฎกไม่ได้ห้ามว่า “จะต้องระลึกข้อไหนบ้าง ทั้งหมดหรือบางข้อ”
ความเห็นของผม ก็คือ ใช้คำอื่นๆได้ไม่ผิด

ส่วนในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ระบุชัดเจนว่า ใช้ทั้งหมดก็ได้  หรือใช้ข้อใดข้อหนึ่งก็ได้
หากใช้ข้อใดข้อหนึ่ง ต้องระลึกถึงหลายๆนัย(ความหมาย)

--------------------------------------- 

อันนี้ผมแถมให้

ในการตอบคำถามข้อแรก ผมได้ตั้งคำถามทิ้งเอาไว้ว่า
 “การระลึกถึงพุทธคุณของปุถุชนเป็นไปได้รึเปล่า” หรือมีไว้เฉพาะอริยสาวก
ผมมีข้อมูลบางอย่างมาให้พิจารณา ดังนี้ครับ

พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม(มหามกุฏ)
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖
อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
ทุติยวรรคที่ ๒
มหานามสูตรที่ ๑

(ขอแสดงเฉพาะข้อความที่สำคํญ)
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีละๆ มหาบพิตร การที่มหาบพิตรเสด็จเข้า
มาหาตถาคตแล้วตรัสถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันผู้อยู่ด้วยธรรมเครื่อง
อยู่ต่างๆ จะพึงอยู่ด้วยธรรมเครื่องอยู่อะไร ดังนี้ เป็นการสมควรแก่มหาบพิตร
ผู้เป็นกุลบุตร ดูกรมหาบพิตร
 
กุลบุตรผู้มีศรัทธาย่อมเป็นผู้บริบูรณ์ ผู้ไม่มีศรัทธาย่อมไม่เป็นผู้บริบูรณ์
ผู้ปรารภความเพียรย่อมเป็นผู้บริบูรณ์ ผู้เกียจคร้านย่อมไม่เป็นผู้บริบูรณ์
ผู้มีสติตั้งมั่นย่อมเป็นผู้บริบูรณ์ ผู้มีสติหลงลืมย่อมไม่เป็นผู้บริบูรณ์
ผู้มีจิตตั้งมั่นย่อมเป็นผู้บริบูรณ์ ผู้ไม่มีจิตตั้งมั่นย่อมไม่เป็นผู้บริบูรณ์
ผู้มีปัญญาย่อมเป็นผู้บริบูรณ์ ผู้มีปัญญาทรามย่อมไม่เป็นผู้บริบูรณ์

ดูกรมหาบพิตรมหาบพิตรทรงตั้งอยู่ในธรรม ๕ ประการนี้แล้ว
พึงทรงเจริญธรรม ๖ ประการให้ยิ่งขึ้นไป

ดูกรมหาบพิตร ในธรรม ๖ ประการนี้ มหาบพิตรพึงทรงระลึกถึง
พระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น

เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้เองโดยชอบ
ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว
ทรงรู้แจ้งโลกเป็นสารถีฝึกบุรุษ ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า
เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เป็นผู้เบิกบานแล้ว
เป็นผู้จำแนกธรรม

ที่มา  http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=24&A=7955 (http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=24&A=7955)

หากพิจารณามหานามสูตรที่ ๑ แล้ว จะเห็น พระพุทธเจ้าได้บอก พระเจ้ามหานามะว่า 
ก่อนที่จะเจริญพุทธานุสสติ ต้องมีเครื่องอยู่เป็นธรรม ๕ ประการ
ธรรม ๕ ประการที่พระพุทธองค์กล่าวถึง คือ อินทรีย์ ๕ นั่นเอง
อินทรีย์ ๕ เป็นหลักธรรม ในโพธิปักขิยธรรม ๓๗  เป็นหลักปฏิบัติเพื่อให้บรรลุธรรม
ในพระสูตรนี้ไม่ได้บอกว่า  พระเจ้ามหานามะ เป็นอริยบุคคลรึเปล่า
ผมเองได้อ่าน มหานามะสูตรมา ๓ สูตร  ทั้งสามสูตรไม่ได้บอกว่า เป็นอริยบุคคล

ผมขอสรุปเอาเองล่ะกัน ว่าปุถุชนก็เจริญพุทธานุสสติได้ แต่ควรทำอินทรีย์ ๕ ให้บริบูรณ์ก่อน

--------------------------------------- 

ขอวิเคราะห์สักนิดหนึ่ง

๑.   คนส่วนใหญ่ที่บริกรรมพุทโธ  น้อยคนนักที่จะระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าได้
 ที่บริกรรมพุทโธ ก็เพราะ อาจารย์สั่งให้ทำ 
ดังนั้น การบริกรรมพุทโธ จึงเป็น “การเพ่งคำว่าพุทโธ แต่อย่างเดียว โดยไม่ทราบความหมายของมัน”
เนื่องจากไม่เข้าใจว่าพุทธคุณเป็นอย่างไร
   ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ได้อธิบายความหมายของพุทธคุณไว้อย่างพิศดาร
คุณของพระพุทธเจ้าลึกล้ำสุดคณนา ยากที่จะหยั่งถึง

๒.   พระราหุล อาจไม่ใช้องค์แรกที่เรียนพุทธานุสสติ ตามที่คุณฟ้าใสเข้าใจ
จากการอ่านพุทธประวัติในพรรษาที่ ๒ หลังการตรัสรู้ของพระองค์
พระราหุลได้บรรพชาเป็นเณร ตอนที่พระพุทธเจ้าเสด็จกรุงกบิลพัสดุ์ในครั้งแรก
ในครั้งนั้นมีอริยสาวกเสด็จตามพระองค์สองหมื่นรูป

ในจำนวนสองหมื่นรูปนั้น น่าจะมีอย่างน้อยก็รูปหนึ่งล่ะครับ ที่เจริญพุทธานุสสติ
 และในมหานามสูตร ก็ระบุว่า อริยสาวกของพระองค์ส่วนใหญ่เจริญพุทธานุสสติ
นั่นคือเหตุผลที่ว่า “พระราหุลอาจไม่ใช่องค์แรกที่เรียนพุทธานุสสติ”

เพื่อนๆสมาชิกทุกท่านครับ  ท่านคิดอย่างไร มีความเห็นอย่างไร แสดงให้ดูหน่อย

ขอให้ธรรมคุ้มครอง


หัวข้อ: Re: ภาวนา พุทธานุสสติ ใช้คำอื่นนอกจากคำว่า พุทโธ ได้หรือไม่ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: chatchay ที่ พฤษภาคม 12, 2010, 09:21:22 pm
 :25: :25: :25:
ตาสว่าง เลยครับ กับข้อมูลที่ คุณปุ้มนำเสนอด ในเชิง เหตุ และ ผล

และ คุณฟ้าใส ก็นำเสนอ ในเชิงศรัทธา

ซึ่งทำให้ผม รู้สึกได้เลยว่า การสอนของพระสงฆ์ ในปัจจุบันนี้เป็นการสอนที่ผิดจากวิการเดิม

ซึ่งในที่สุด ก็คงหาสาระได้ยาก

คงมีแต่พระไตรปิฏก เท่านั้นที่ที่น่าเชื่อ

ผมว่าประวัติ พระอาจารย์ราหุล อาจจะถูกแต่งจนเกินความเป็นจริง หรือป่าวครับ
เพราะว่า พระสงฆ์มีร่วม สองหมื่น จะไม่มีสักองค์ ได้เรียน พุทธานุสสติ ก่อนพระอาจารย์ราหุล


 ( ผมว่าประวัติส่วนนี้ ไม่น่าเชื่อถือ พระไตรปิฏกน่าเชื่อถือกว่านะครับ )


ยิ่งวิธีการฝึก ด้วยแล้วผมว่า ทำไมต้องไปกำหนด ปีติ เป็นธาตุ เป็นจุด

วิธีการฝึกแบบนี้ไม่มีในพระไตรปิฏก หรอกครับ
อาจจะเป็นการเพิ่มเติมมาเองของอาจารย์ ที่มาสอน

( แสดงความเห็นะครับ ไม่ใช่ต้องการปรามาส )
 :s_good: :s_good:


หัวข้อ: Re: ภาวนา พุทธานุสสติ ใช้คำอื่นนอกจากคำว่า พุทโธ ได้หรือไม่ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: ISSARAPAP ที่ พฤษภาคม 12, 2010, 09:46:57 pm
 :smiley_confused1:

จะภาวนาจริง ก็ไม่ต้องท่อง หรอก

แค่ ระลึกให้ได้ว่า มีแต่สมมุติ ......
อ้างถึง
วิธีการฝึกแบบนี้ไม่มีในพระไตรปิฏก หรอกครับ
อาจจะเป็นการเพิ่มเติมมาเองของอาจารย์ ที่มาสอน

เห็นด้วย เพราะวิธีการฝึกแบบนี้ น่าจะเป็นการเพิ่มเติม ขึ้นมาของอาจารย์เอง

ส่วนสัจจะ ความจริง ก็คือการเข้าถึงธรรมชาติ




หัวข้อ: Re: ภาวนา พุทธานุสสติ ใช้คำอื่นนอกจากคำว่า พุทโธ ได้หรือไม่ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: TCnapa ที่ พฤษภาคม 13, 2010, 07:15:07 am
อ้างถึง
ตาสว่าง เลยครับ กับข้อมูลที่ คุณปุ้มนำเสนอด ในเชิง เหตุ และ ผล

และ คุณฟ้าใส ก็นำเสนอ ในเชิงศรัทธา

อ่านตรงนี้แล้ว รู้สึกชื่นใจ ที่เห็นว่าน่าจะเกิดความเข้าใจ

 :25:

อ้างถึง
ยิ่งวิธีการฝึก ด้วยแล้วผมว่า ทำไมต้องไปกำหนด ปีติ เป็นธาตุ เป็นจุด

วิธีการฝึกแบบนี้ไม่มีในพระไตรปิฏก หรอกครับ
อาจจะเป็นการเพิ่มเติมมาเองของอาจารย์ ที่มาสอน

( แสดงความเห็นะครับ ไม่ใช่ต้องการปรามาส )

แต่อ่านตรงนี้แล้ว แสดงให้เห็นแนวของคุณ chatchay เลยว่ายังไม่ได้ขึ้นกรรมฐาน แน่ ๆ


ดิฉันว่าไปอ่าน กระทู้นี้เพิ่มก่อน อย่าพึ่งสรุปด่วน

http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=301.0 (http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=301.0)

เพราะในเรื่อง ประวัติ ต่าง ๆ นั้นเราไปก็สืบกันไปตามตำรา คำเล่า หรือ คำบอก และบันทึก

แต่ ดิฉัน ว่าจะเชื่อถือ ได้หรือ ไม่ไต้นั้นไม่ได้เกี่ยวกับการภาวนา

ดิฉันมาเป็นศิษย์ในสายนี้ ก็ไม่ได้เคารพในประวัติของกรรมฐาน
แต่เคารพในการปฏิบัติของพระอาจารย์
และเคารพในการปฏิบัติของตนเอง ที่ภาวนา ได้จริง ต่างหาก

คุณ Utapati ได้ให้ความเห็นกับเรื่องประวัติ พอสมควรในกระทู้ที่แนะนำให้ไปอ่าน

ดังนั้นดิฉันว่าอย่าไปด่วน สรุป ตามข้อมูลอ้างอิง นะคะ

ควรจะสรุป จากการภาวนา คะ

 :03: :03:



หัวข้อ: Re: ภาวนา พุทธานุสสติ ใช้คำอื่นนอกจากคำว่า พุทโธ ได้หรือไม่ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: translate ที่ พฤษภาคม 13, 2010, 07:29:51 am
พุทธานุสสติ กรรมฐาน

พุทธ + อนุ + สติ + กัมมะ + ฐานะ

ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน+ ตาม + ระลึก + กระทำ + ที่ตั้ง


เอาเป็นใจความ ง่าย ๆ ก็

อุบายในการตามระลึกถึง พระพุทธเจ้า    ( ไม่ใช่ตามระลึก ถึงคุณของพระพุทธเจ้า )

เหมือนเราตั้งสติ ระลึก ถึงคุณพ่อ คุณแม่ ผมว่า ส่วนใหญ่ต้องคิดไปทางนี้แน่
เ้พราะถ้าตามระลึกอย่างปุุถุชน แล้วไม่สิ้นกิเลสแน่ ๆ ครับ

อ้างถึง
๘. พุทฺโธ (เป็นผู้ตื่นและเบิกบานแล้ว คือ ทรงตื่นจากความเชื่อถือและข้อปฏิบัติทั้งหลายที่ถือกันมาผิดๆ
ด้วย ทรงปลุกผู้อื่นให้พ้นจากความหลงงมงายด้วย
อนึ่ง เพราะไม่ติด ไม่หลง ไม่ห่วงกังวลในสิ่งใดๆ
มีการคำนึงประโยชน์ส่วนตน เป็นต้น จึงมีพระทัยเบิกบาน บำเพ็ญพุทธกิจได้ถูกต้องบริบูรณ์
 ด้วยถือธรรมเป็นประมาณ การที่ทรงพระคุณสมบูรณ์เช่นนี้
และทรงบำเพ็ญพุทธกิจได้เรียบร้อยบริบูรณ์เช่นนี้
 ย่อมอาศัยเหตุคือความเป็นผู้ตื่นและย่อมให้เกิดผลคือทำให้ทรงเบิกบานด้วย)







หัวข้อ: Re: ภาวนา พุทธานุสสติ ใช้คำอื่นนอกจากคำว่า พุทโธ ได้หรือไม่ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: หมวยจ้า ที่ พฤษภาคม 13, 2010, 07:32:40 am
อ้างถึง
ตาสว่าง เลยครับ กับข้อมูลที่ คุณปุ้มนำเสนอด ในเชิง เหตุ และ ผล

และ คุณฟ้าใส ก็นำเสนอ ในเชิงศรัทธา

ซึ่งทำให้ผม รู้สึกได้เลยว่า การสอนของพระสงฆ์ ในปัจจุบันนี้เป็นการสอนที่ผิดจากวิการเดิม

ซึ่งในที่สุด ก็คงหาสาระได้ยาก

คงมีแต่พระไตรปิฏก เท่านั้นที่ที่น่าเชื่อ

ผมว่าประวัติ พระอาจารย์ราหุล อาจจะถูกแต่งจนเกินความเป็นจริง หรือป่าวครับ
เพราะว่า พระสงฆ์มีร่วม สองหมื่น จะไม่มีสักองค์ ได้เรียน พุทธานุสสติ ก่อนพระอาจารย์ราหุล


 ( ผมว่าประวัติส่วนนี้ ไม่น่าเชื่อถือ พระไตรปิฏกน่าเชื่อถือกว่านะครับ )


ยิ่งวิธีการฝึก ด้วยแล้วผมว่า ทำไมต้องไปกำหนด ปีติ เป็นธาตุ เป็นจุด

วิธีการฝึกแบบนี้ไม่มีในพระไตรปิฏก หรอกครับ
อาจจะเป็นการเพิ่มเติมมาเองของอาจารย์ ที่มาสอน



นีย์ อ่านแล้ว ในฐานะมือใหม่ ที่มาด้วย ศรัทธา แล้ว ก็รู้สึกว่า ไม่ค่อยดีเลย

แต่การแสดงความเห็นเป็น เรื่อง ส่วนบุคคล

ต้องระมัด ระวัง การแสดงความเห็นกระทบ ครูบา อาจารย์ ด้วยนะคะ


 :25:


หัวข้อ: Re: ภาวนา พุทธานุสสติ ใช้คำอื่นนอกจากคำว่า พุทโธ ได้หรือไม่ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: chatchay ที่ พฤษภาคม 13, 2010, 08:45:18 am
 :smiley_confused1:

อ้างถึง
นีย์ อ่านแล้ว ในฐานะมือใหม่ ที่มาด้วย ศรัทธา แล้ว ก็รู้สึกว่า ไม่ค่อยดีเลย

แต่การแสดงความเห็นเป็น เรื่อง ส่วนบุคคล

ต้องระมัด ระวัง การแสดงความเห็นกระทบ ครูบา อาจารย์ ด้วยนะคะ

ผมว่าต้องเปิดใจ ให้กว้าง ...... นะครับ เพราะว่า จะให้ผมมีความเห็นเหมือนคุณก็ไม่ได้

ส่วน อาจารย์ ผมก็ยังไม่เคยสนทนา ด้วยเลยนะครับ

การที่ผมไม่เชื่อ กรรมฐาน มัชฌิมา นั้น

เชื่อใน พระไตรปิฏก ก็ไม่น่า จะมีความผิด นี่ครับ



หัวข้อ: Re: ภาวนา พุทธานุสสติ ใช้คำอื่นนอกจากคำว่า พุทโธ ได้หรือไม่ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: pichai ที่ พฤษภาคม 13, 2010, 09:22:46 am
วานเพื่อน ๆ อ่านตรงนี้ด้วยครับ

ผมตั้งเป็นอีกกระทู้หนึ่งครับ

http://www.madchima.org/forum/index.php?action=post;board=12.0 (http://www.madchima.org/forum/index.php?action=post;board=12.0)


หัวข้อ: Re: ภาวนา พุทธานุสสติ ใช้คำอื่นนอกจากคำว่า พุทโธ ได้หรือไม่ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: axe ที่ พฤษภาคม 13, 2010, 10:51:08 am
ิพิจารณา เพื่อเป็นความเข้าใจ ครับ

และได้ความรู้ ในกลุึ่ม วิจารณ์ เ้ื่พื่อจะได้ปรับให้ถูกต้องด้วยครับ

เพราะที่จริงพวกเราก็พยายามทำให้ถูกต้อง เพื่อความคงอยู่ของพระศาสนา ครบ 5000 ปีครับ


ผมว่าบางที ก็มีเหตุผลจาก พระเถราจารย์ บางอย่างที่จะต้องใช้คำภาวนาที่ดูแล้ว ว่าง่าย ๆ นะครับ

เพราะสุดท้าย ถ้าจิตเดินเข้าสู่ อัปปนา แล้ว ในขั้น ฌานที่ 2 นั้น พุทโธ ก็หมดแล้วครับ เพราะ วิตก และ วิจาร ดับ ครับ

 :25:


หัวข้อ: Re: ภาวนา พุทธานุสสติ ใช้คำอื่นนอกจากคำว่า พุทโธ ได้หรือไม่ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: ISSARAPAP ที่ พฤษภาคม 15, 2010, 04:20:26 pm
ความเชื่อ เป็นเรื่องส่วนบุคคล ครับ

แต่สัจจะธรรม ความจริง เป็นเรื่องของธรรมชาติ

เมื่อใจวาง ก็ ว่าง

เมื่อใจวุ่น ก็ เต็ม

 :bedtime2:

คุณปุ้ม ตอบดีครับ

 :08:


หัวข้อ: Re: ภาวนา พุทธานุสสติ ใช้คำอื่นนอกจากคำว่า พุทโธ ได้หรือไม่ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: ISSARAPAP ที่ พฤษภาคม 17, 2010, 07:50:18 am
 :85:

พระท่านว่าไว้ ผมจำมาฝาก คุณนภา

โกรธ คือ โง่

โมโห คือ บ้า

อยากได้นักหนา ก็ทุกข์ เท่านั้นซิโยม

 :88:


หัวข้อ: Re: ภาวนา พุทธานุสสติ ใช้คำอื่นนอกจากคำว่า พุทโธ ได้หรือไม่ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: ครูนภา ที่ ตุลาคม 22, 2010, 09:59:42 am
ไม่ได้อ่านเรื่องนี้ มานาน

อ้างถึง
พระท่านว่าไว้ ผมจำมาฝาก คุณนภา

โกรธ คือ โง่

โมโห คือ บ้า

อยากได้นักหนา ก็ทุกข์ เท่านั้นซิโยม

ขอบคุณคะ กับคำชี้แนะ ว่าแต่ คุณ ISSARAPAP หายไปไหนช่วงนี้ไม่เห็นมาลงกระทู้เลย

ได้ข่าวว่าอยู่ที่สิงคโปร์ ใช่ไหมคะ

 :25: :25: