สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

กรรมฐาน มัชฌิมา => ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน => ข้อความที่เริ่มโดย: แพนด้า ที่ สิงหาคม 26, 2012, 03:37:31 pm



หัวข้อ: ปฏิบัติ กรรมฐาน เป็น วิปัสสนา หรือ สมถะ แยกอย่างไร ในการปฏิบัติครับ
เริ่มหัวข้อโดย: แพนด้า ที่ สิงหาคม 26, 2012, 03:37:31 pm
ปฏิบัติ กรรมฐาน เป็น วิปัสสนา หรือ สมถะ แยกอย่างไร ในการปฏิบัติครับ
 บางครั้ง บางท่านกล่าวว่า การนั่งสมาธิ เป็น สมถะ บางครั้ง ก็บอกว่า เป็นวิปัสสนา
 หรือ บางคราวก็บอกว่า นั่งหลับตาไม่มีประโยชน์ ต้องลืมตา ถึงจะเป็นประโยชน์เป็นวิปัสสนา
 อย่างไหน ถูก อย่างไหน ผิด ครับ

  :c017:


หัวข้อ: Re: ปฏิบัติ กรรมฐาน เป็น วิปัสสนา หรือ สมถะ แยกอย่างไร ในการปฏิบัติครับ
เริ่มหัวข้อโดย: หมิว ที่ สิงหาคม 27, 2012, 10:31:51 am
กรรมฐาน มีอยู่ 2 อย่าง คือ

  สมถะ  ทำให้ใจสงบ
  วิปัสสนา ทำให้กิเลสหมด

  ถ้าเวลาใดทำให้ใจสงบ ก็เป็น สมถะ คะ
  ถ้าเวลาใดทำหใกิเลส สยบลง แม้ชั่วคราว ก็เป็นวิปัสสนา คะ

   :s_hi: :s_good:


หัวข้อ: Re: ปฏิบัติ กรรมฐาน เป็น วิปัสสนา หรือ สมถะ แยกอย่างไร ในการปฏิบัติครับ
เริ่มหัวข้อโดย: สนั่น ที่ สิงหาคม 29, 2012, 11:47:24 am
สมถะ นั้น ทำให้กิเลสเบื้องต้น สงบลง ครับ มีนิวรณ์ 5 ประการ
  มี กามฉันทะ พยาปาทะ ถีนมิทธะ อุทธัจจะกุกุกจะ  วิจิกิจฉา
  ผล จิตเป็นสมาธิตั้งแต่ ขณิกะสมาธิ จนถึง อัปปนาสมาธิ

ส่วน วิปัสสนา นั้นทำให้ กิเลสทั้งปวง ดับได้ตั้งแต่ ชั่วคราว ถึง ถาวร นะครับ
 จัดลำดับเรียกว่า วิมุตติ
   มี วิกขัมภนวิมุตติ    ตทังควิมุตติ    สมุทเฉทปหานวิมุตติ
  ผล จิตเข้าสู่วิปัสสนาญาณ ตั้งแต่ นามรูปปริจเฉทญาณ เป็นต้นไป

  :49:


หัวข้อ: Re: ปฏิบัติ กรรมฐาน เป็น วิปัสสนา หรือ สมถะ แยกอย่างไร ในการปฏิบัติครับ
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ สิงหาคม 30, 2012, 11:07:45 am
1.ปฏิบัติ กรรมฐาน เป็น วิปัสสนา หรือ สมถะ แยกอย่างไร

2.ปฏิบัติ กรรมฐาน เป็น วิปัสสนา หรือ สมถะ แยกอย่างไรในการปฏิบัติครับ

3. บางครั้ง บางท่านกล่าวว่า การนั่งสมาธิ เป็น สมถะ

4.บางครั้ง ก็บอกว่า เป็นวิปัสสนา

5. หรือ บางคราวก็บอกว่า นั่งหลับตาไม่มีประโยชน์ ต้องลืมตา ถึงจะเป็นประโยชน์เป็นวิปัสสนา
 อย่างไหน ถูก อย่างไหน ผิด ครับ


  :c017:

1.ปฏิบัติ กรรมฐาน เป็น วิปัสสนา หรือ สมถะ แยกอย่างไร


ตอบ แยกที่วิธีการและจุดมุ่งหมายในการภาวนา
วิธีการ ถ้ามุ่งเป็น ฌานสมาบัติเบื้องต้น ก็เป็น สมถะ
        ถ้ามุ่งเป็น การรู้แจ้ง เห็นจริง ตามรู้ ตามดู ใคร่ครวญธรรม เป็นวิปัสสนา

 
2.ปฏิบัติ กรรมฐาน เป็น วิปัสสนา หรือ สมถะ แยกอย่างไรในการปฏิบัติครับ


ตอบ ในการภาวนาจะเกิดญาณ เห็นแจ้ง เริ่มตั้งแต่ ธาตุ ขึ้นไปมีได้เพราะการปฏิบัติภาวนาในกรรมฐาน

3. บางครั้ง บางท่านกล่าวว่า การนั่งสมาธิ เป็น สมถะ


ตอบ ก็ถูกเพราะ สติ กับ สมาธิ เป็นส่วนคู่กันบางครั้งท่านเจริญ สติ กลายเป็น สมาธิแต่เป็นเพราะ มรรคสมบูรณ์นั่นเอง

4.บางครั้ง ก็บอกว่า เป็นวิปัสสนา


   
ตอบ ก็ถูกเพราะ สติ กับ สมาธิ เป็นส่วนคู่กันบางครั้งท่านเจริญสมาธิ กลายเป็นสติแต่เป็นเพราะ มรรคสมบูรณ์นั่นเอง

5. หรือ บางคราวก็บอกว่า นั่งหลับตาไม่มีประโยชน์ ต้องลืมตา ถึงจะเป็นประโยชน์เป็นวิปัสสนา
  อย่างไหน ถูก อย่างไหน ผิด ครับ


ตอบ ถูกทั้งสองอย่าง บางครั้งก็มีประโยชน์ บางครั้งก็ไม่มีประโยชน์ ขึ้นอยู่กับผู้ภาวนา เรียนกรรมฐาน มาดี และ เข้าใจหรือไม่ ถ้าเรียนมาไม่ดี ไม่เข้าใจ นั่งหลับตาก็ไม่มีประโยชน์ นั่งลืมตาก็ไม่มีประโยชน์ กับการภาวนาทั้งสิ้น


หัวข้อ: Re: ปฏิบัติ กรรมฐาน เป็น วิปัสสนา หรือ สมถะ แยกอย่างไร ในการปฏิบัติครับ
เริ่มหัวข้อโดย: เท่ากับผลรวม ที่ สิงหาคม 30, 2012, 02:55:06 pm


(http://profile.ak.fbcdn.net/hprofile-ak-snc4/203417_100000698928953_5103775_n.jpg)http://www.facebook.com/somlak.wanyo (http://www.facebook.com/somlak.wanyo)
Somlak Wanyo ตามความคิดของผมเท่าที่ได้ศึกษาและปฏิบัติมานั้้น การแยกออกจากกันเพื่อประโยชน์ในการอธิบายให้เห็นชัด แต่เวลาปฏิบัติจริงมันจะเป็นสายต่อเนื่องกันเป็นลำดับไปจนยากที่จะมาแยกแบบในตำราได้ สรุปก็คือ มรรคมีองค์ ๘ หรือ ศีล สมาธิ ปัญญา รวมเป็นเนื้อเดียวกันส่งเสริมกันและกันไปเรื่อยๆจนกว่าจะพ้นทุกข์ ไม่ได้แยกปฏิบัติว่า วันนี้จะปฏิบัติสมถะ วันนี้จะปฏิบัติวิปัสสนาไมได้เป็นแบบนี ผู้สงสันควรจะเร่งปฏิบัติให้รู้เองเห็นเองแล้วคำถามนี้ก็จะหมดไปเอง
2 ชั่วโมงที่แล้ว · ถูกใจ


หัวข้อ: Re: ปฏิบัติ กรรมฐาน เป็น วิปัสสนา หรือ สมถะ แยกอย่างไร ในการปฏิบัติครับ
เริ่มหัวข้อโดย: chatchay ที่ สิงหาคม 31, 2012, 12:15:54 am
ข้อที่ ห้า นี้สำคัญ นะครับ ถ้าไม่รู้ เรียนไม่พอ ปฏิบัติ แบบไหน ๆ ก็ไม่ได้เรื่อง เช่นเดิม ใช่หรือม่ครับ เพื่อน ๆ ดังนั้นควรศึกษากรรมฐาน ให้ดี ให้ขึ้นใจก่อนเริ่มภาวนากรรมฐาน นะครับ
  กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ เป็นกรรมฐาน ศิษย์ มีครู นะครับ

  :25: :c017: