ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ทำไม เราต้องภาวนาเพื่อการไม่กลับมาเกิด ด้วยคะ เพื่ออย่างอื่นไม่ได้หรือ ?  (อ่าน 4784 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

inlove

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 51
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ทำไม เราต้องภาวนาเพื่อการไม่กลับมาเกิด ด้วยคะ เพื่ออย่างอื่นไม่ได้หรือ ?

   จากที่ได้พยายามอ่าน เนื้อหามาโดยตลอดข้อความก็เชิญชวน ปฏิบัติภาวนาเพื่อการไม่กลับมาเกิดอย่างนี้ ก็ต้องเดินแนวทางกลับเส้นทางนี้ แต่สำหรับคนที่ไม่มีความรู้สึกเบื่อโลก คือยังอยู่กับสังคม มีความสุขอยู่อย่างนี้ จำเป็นต้องปฏิบัติอย่างนั้น หรือคะ แล้วเราจะภาวนา เพื่อ ให้มีความสุขอย่างนี้ จะสำเร็จในองค์กรรมฐาน หรือไม่คะ

   คือไม่เข้าใจว่า ผลการปฏิบัติ จะมีผลคือต้องมีใจ เพื่อการไม่กลับมาเกิดเท่านั้นใช่หรือไม่คะ

   :smiley_confused1: :s_hi: :c017:
บันทึกการเข้า

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
มนุษย์มีเครื่องอยู่ตามปีติ เกิดในพุทธศาสนา ก็นับว่าเป็นโอกาสที่จะได้เพิ่มบารมี ได้บําเพ็ญบารมี ไม่ให้ขาดทุน หรือตกตํากว่าชาติเก่า
       แต่ความเห็นแบบนี้ อย่างนี้ ล้วนแล้วแต่ความเห็น ไม่เหมือนกัน ต่างไปตามปีติ แล้วแต่จริต หรือการเข้าอยู่ตามธาตุ แต่ละชาติความเบื่อหน่าย เบื่ออะไร ก็เป็นอธิฐานอยู่ในตัว
       ชาติต่อไปก็ไม่ต้องเบื่อ
     ความเบื่อหน่ายคือนิพพิทา ก็จะเห็นจริงเป็นเรื่องๆไปแบบโลก
     จนกว่าจะเห็นเป็นความเบื่อหน่าย ที่ไม่อยากเกิดมาเจอ ถ้าเกิดอีกก็ต้องเจอ เบื่อต่อการเวียนว่ายตายเกิด
     เห็นแบบนั้นแล้วก็จะต้องการเข้าสู่หลักสูตรในศาสนาพุทธ คือ ศิล สมาธิ ปัญญา หากัลยาณมิตร
    เรียกว่าจะหาทางไป
         ขึ้นอยู่กับนิพพิทา(ความเบื่อหน่าย) ตัวเดียวเท่านั้น เพราะนิพพิทา พาเข้าไปหา ยถาภูตญาณทัศนะ(การเห็นตามความเป็นจริง)
    ถ้ายังไม่มีนิพพิทา ยถาก็ยังไม่มี
   ......ก็เลยเห็นว่าโลกนี้ยังน่าอยู่ จิตของคนเหล่านั้นยังเกาะอยู่เพียงส่วนนามสุขส่วนเดียว ไม่มีรูป จัดเป็นโมหะจริต ก็ว่าได้ แต่บางครั้งก็เห็นทุกข์ เช่นตอนที่เสียสุข มีคนมาแย่งความสุขไป เช่นถูกบ่น ถูกว่า ก็ไม่ชอบใจ  แสดงให้เห็นว่าไม่ได้เป็นสุขตลอดเวลาถูกต้องหรือไม่ แสดงว่ายังมีทุกข์ ไม่ใช่ไม่ทุกข์เลย
       ท่านถามว่าจําเป็นต้องปฏิบัติใหม และจะมีผลใหม
        ตอบ ถ้าเราดําเนินไปตามทางมรรค คือคําสอนของพระตถาคต ผลมันต้องมี มันต้องเกิด
           ศิล สมาธิ ปัญญา(ผลเกิด)
        พระตถาคตตรัสว่า  นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง สุขนั้นคงไม่ใช่สุขนี้
         การภาวนาคือการบําเพ็ญสั่งสมบารมี เพื่อให้เข้าถึง สุขที่สุด ก็คือ สุขพระพุทธเจ้า หรือสุขแห่ง พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง นั่นเอง.
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

หมิว

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 398
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ก็ถ้าไม่ต้องการสิ้นภพ สิ้นชาติ ก็บำเ็พ็ญเพื่อบารมี ก็ได้นะคะ คิดว่าน่าจะรองรับเช่นกันคะ

  :s_hi:
บันทึกการเข้า
ใจดี น่ารัก และ ไม่ชอบคนที่กวน...ใจ
แสงพระธรรม นำทาง นำสู่ใจ ได้รับแสงสว่าง
แสงสว่างใดเสมอด้วยปัญญาไม่มี

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
สุขทางไม่ใช่สุขจริง ไม่ยืนนาน

          สิ่งทั้งปวงไม่เที่ยง  สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นทุกข์  ธรรมทั้งหลายทั้งปวง เป็นอนัตตา(ไม่มีตัวตน)

      สิ่งทั้งปวงไม่เที่ยง   ไม่เที่ยงอย่างไร 
               
                ชื่อว่าไม่เที่ยง  เพราะมีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น  มีความแปรปรวนไปในท่ามกลาง  และมีความแตกสลายในที่สุด

          ความแปรไปข้างเจริญขึ้น  อันนี้ย่อมเป็นที่ใคร่ที่พอใจของเราทุกคน  ส่วนความแปรปรวนไปข้างเสื่อม  ย่อมไม่มีผู้ใดพอใจปรารถนา  แต่ใครจะพอใจ หรือไม่พอใจ  สังขารก็เป็นไปตามเรื่องของสังขาร 
   
         สภาวทุกข์ประจำสังขาร คือ ความเกิด ความชรา ความเจ็บ  ความตาย  ยังมีทุกข์ที่จรมาอีก คือ ความโศก  ความร่ำไร  ความทุกข็กาย ความทุกข์ใจ  ความคับแค้นใจ 

                        ประจวบด้วยคน  หรือสิ่งอันไม่เป็นที่รัก  ก็เป็นทุกข์
                        พรากจากคน     หรือสิ่งอันเป็นที่รัก     ก็เป็นทุกข์
                        ปรารถนาสิ่งใด   ไม่ได้สิ่งนั้นๆ          ก็เป็นทุกข์

        ร้อน  หนาว   หิว   กระหาย    ปวดอุจจาระ   ปวดปัสสาวะ   ปวดประจำเดือน   ปวดหัว   เป็นไช้ตัวร้อน  ไม่สบาย ก็เป็นทุกข์

       หากยังไม่เป็น หรือเป็นแต่เพียงนิดหน่อยคงจะยังไม่เห็นได้   คงจะเห็นได้อย่างเช่นว่า คนที่เรารักจากไป นี้ สร้างทุกข์ให้แก่เรามาก  คล้ายเหมือนกับที่เขาว่า ถ้ายังไม่ได้สูญเสียไป  ก็คงยังไม่เห็นความสำคัญ  จะเห็นความสำคัญก็ต่อเมมื่อสูญเสียมันไปแล้วเท่านั้น

      สิ่งที่เกิดขึ้นตอนนี้คือ  ความทุกข์ของเรายังไม่เกิด อันนี้ใครเป็นอยู่ ก็สาธุ ด้วย   แต่เมื่อใดที่ความทุกข์มาเยือนเล่า  เราๆจะรับมือกันอยู่ไม๊   อย่างมีผู้หญิงอยู่คนหนึ่ง เมื่อสองปีก่อน ก็มาปรึกษาที่เว็ปนี้ว่า  คุณพ่อโดนยิ่งตายต่อหน้าต่อตา เสียใจมาก อยากจะแก้แค้นเอาคืน เป็นทุกข์มาก  หาอ่านย้อยหลังได้   ก็ต้องทำการระงับเวรกัน  ก็ดี อนุโมทนาสาธุด้วย  ที่เขาทำได้  ไม่ได้ไปแก้แค้นคืน  แต่ก็หมายความว่า เขาก็เอาชนะใจตัวเองได้  ลองคิดๆว่า ถ้าเกิดเป็นเราละ  จะทุกข์แค่ไหน เมื่อไม่มีเสาหลักคนที่เรารัก มากๆจากไปแบบไม่สามารถกลับมาหาเราได้อีก  เราจะไม่ได้มีโอกาสพบเจอกับเขาอีก 

      ก็แล้วเมื่อเห็นว่า  หลายสิ่งหลายอย่าง มันเป็นทุกข์  เกิดการหน่ายในทุกข์ไม่อยากจะพบจะเจอความทุกข์ อีกต่อไป  ก็เกิดการอยากที่จะออกจากทุกข์   เมื่อในที่สุดแล้วเราเห็นว่าไม่มีอะไรที่จะสามารถยึดมั่นถือมั่นได้  ก็ต้องการที่จะหลุด ที่จะพ้นจากสิ่งเหล่านั้นที่ครอบงำเราไว้อยู่  ที่จะมาทำให้เราเกิดทุกข์ 

     จึงไม่อยากที่จะมาเกิดอีก

    แต่ถ้าจะภาวนาเพื่ออย่างอื่นก็สามารถทำได้  เพียงแต่ในที่่นี้มีนักปฏิบัติจำนวนมากที่ไม่ได้มีความต้องการที่จะกลับมาเกิดอีก จึงขวนขวายกัน  ก็เท่านั้น

    ก็ด้วยความปรารถนาที่จะไม่กลับมาเกิดอีก จึงทำให้ผู้ปฏิบัติในเว็ปนี้ เพียรปฏิบัติกันก็ทเ่านั้น  และถามทางที่ต้องการจะไป

     เมื่อใดที่คุณยังไม่ทุกข์ถึงที่สุด  เมื่อนั้นคุณก็ยังไม่มีความรู้สึกที่อยากจะออกจากทุกข์
    ก็ต่อเมื่อคุณได้ทุกข์ถึงที่สุด     เมื่อนั้นคุณก็อยากจะพ้นจากทุกข์

ประโยชน์ของกรรมฐานมีมาก  แทบจะบอกได้เลยว่าสามารถใช้ได้ทุกเรื่อง  ก็ลองถามมา  จะตอบให้เป็นข้อๆเลยก็ยังได้  ก็ด้วยเพราะเหตุนี้ด้วย  จึงมีผู้สนใจปฏิบัติกัน 

        แล้วคุณละ  จะปฏิบัติเพื่ออะไร !  (ก็ปฏิบัติไปเถิด ดีทั้งนั้นแหละ)
บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม

เสกสรรค์

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 419
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
หัวข้อนี้ พระอาจารย์ ยังไม่ได้ตอบ นะครับ
นมัสการ ด้วยความเคารพ ครับ

  :25: :c017:
บันทึกการเข้า

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
อาจจะหลุดไปบ้าง หลายคำถาม เพราะไปอยู่ลึกหลายหน้า ก็ขออภัยกันไว้ล่วงหน้า นะจ๊ะ





ขอแยกประเด็นคำถาม นะจ๊ะ

1.ทำไม เราต้องภาวนาเพื่อการไม่กลับมาเกิด ด้วยคะ เพื่ออย่างอื่นไม่ได้หรือ ?

2.จากที่ได้พยายามอ่าน เนื้อหามาโดยตลอดข้อความก็เชิญชวน ปฏิบัติภาวนาเพื่อการไม่กลับมาเกิดอย่างนี้ ก็ต้องเดินแนวทางกลับเส้นทางนี้

3.แต่สำหรับคนที่ไม่มีความรู้สึกเบื่อโลก คือยังอยู่กับสังคม มีความสุขอยู่อย่างนี้ จำเป็นต้องปฏิบัติอย่างนั้น หรือคะ

4. แล้วเราจะภาวนา เพื่อ ให้มีความสุขอย่างนี้ จะสำเร็จในองค์กรรมฐาน หรือไม่คะ

5.คือไม่เข้าใจว่า ผลการปฏิบัติ จะมีผลคือต้องมีใจ เพื่อการไม่กลับมาเกิดเท่านั้นใช่หรือไม่คะ




1.ทำไม เราต้องภาวนาเพื่อการไม่กลับมาเกิด ด้วยคะ เพื่ออย่างอื่นไม่ได้หรือ ?



   พระพุทธศาสนา มีเป้าหมายการสอน เพื่อให้พุทธศาสนิกชนไปสู่เป้าหมายเดียวเท่านั้น คือ การเป็นพระอรหันต์ การเป็นพระอรหันต์ คือ การสิ้นสุดการมีกิเลส และไม่มีการเกิดอีกต่อไป ส่วนในระหว่างที่ไปสู่เป้าหมายนั้น ก็มีสร้างบารมีเพื่อเป้าหมาย ย่อ ๆ มี 3 ประการ คือ ทาน ศีล และ ภาวนา

2.จากที่ได้พยายามอ่าน เนื้อหามาโดยตลอดข้อความก็เชิญชวน ปฏิบัติภาวนาเพื่อการไม่กลับมาเกิดอย่างนี้ ก็ต้องเดินแนวทางกลับเส้นทางนี้


   เส้นทางอื่นไม่มีอีกแล้ว มีเพียงเส้นทางเดียว ประกอบด้วยองค์ 8 คือ พระอริยะมรรค ผู้ที่ต้องการเป็นพระอรหันต์ ก็ต้องเดินเส้นทางนี้เท่านั้น แต่เส้นทางไม่ได้ไปง่าย ๆ ถึงแม้จะเส้นทางปรากฏ แต่ผู้ไปกลับมีน้อยลง เพราะบุคคลที่มีความปรารถนาการไม่กลับมาเกิด เริ่มมีน้อยลง ในยุคนี้กล่าวได้ว่า เป็นยุคของ เวไนยะ บัวเหล่าสาม เป็นจำนวนส่วนใหญ่

 3.แต่สำหรับคนที่ไม่มีความรู้สึกเบื่อโลก คือยังอยู่กับสังคม มีความสุขอยู่อย่างนี้ จำเป็นต้องปฏิบัติอย่างนั้น หรือคะ


   ก็ยังไม่ต้องไป ซึ่งเป็นธรรมดา คนที่ได้นิพพิทา แบบชาวโลก มิใช่ นิพพิทาที่เป็นญาณ ก็มักจะกลับไป กลับมาอย่างนี้ หากแต่ถ้าได้ นิพพิทานุปัสสนาญาณ จริง ๆ แล้ว ความเบื่อหน่ายต่อโลก ก็จะทำให้หาวิธีการที่ออกจากโลก นะจ๊ะ ดังนั้นวิธีการที่จะไปสู่ นิพพิทานุปัสสนาญาณนั้น มีได้สถานเดียว คือต้องภาวนา กรรมฐาน นะจ๊ะ ให้เลือกเอากรรมฐาน ที่เหมาะสมแก่ตนเอง และจริต ฐานะ สัปปายะ

4. แล้วเราจะภาวนา เพื่อ ให้มีความสุขอย่างนี้ จะสำเร็จในองค์กรรมฐาน หรือไม่คะ


  การปฏิบัตกรรมฐาน ไม่ได้มุ่งที่ความสุข แต่มุ่งให้รู้จัก ความสุข และโทษของความสุข ทั้งหยาบ และ ทิพย์ ทั้งสุข และ ทุกข์ ทั้ง อสุขมทุกข์ ( มิใช่สุขและทุกข์ ) ทั้งหมดนั้นนี้เรียกว่า เวทนา
  เวทนา จะเกิดแบบไหน ก็เป็นเวทนา และ เวทนาเป็นเครื่องบังคับ ให้คนมัวเมา และ หลงทางยึดติด คนที่เสพอบายมุข ก็เพราะคิดว่า เป็นความสุข เป็นต้นฉันใด มวลหมู่เทวดาทั้งหลาย ย่อมหลงไหลในอำนาจอันเป็นทิพย์ ฉันนั้น บุคคลผู้ที่จะสละโลก จิตจึงต้องเหนือโลก คือ เหนือเวทนา ด้วยประการทั้งปวง
  เวทนา มีสองส่วน เวทนา ที่เกิดขึ้นแก่กาย เรียกว่า เวทนาภายนอก
                     เวทนา ที่เกิดขึ้นแก่ใจ เรียกว่า เวทนาภายใน
                     เวทนา ทั้งสองนั้น เป็นสิ่งที่ต้องกำหนดรู้ ให้ได้ ทั้งภายใน และ ภายนอก   
            เมื่อกำหนดเวทนา ได้ทั้งภายใน ได้ทั้งภายนอก จิตก็จะรู้ ถึงความเกิดของเวทนา และ ความเสื่อมของเวทนา
            เมื่อรู้ความเกิดขึ้น และ ความเสื่อมไปของเวทนา ก็จะเห็นธรรม ได้ดวงตาเห็นธรรมที่ชื่อ ว่า การเห็นธรรม คือความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปของเวทนา เห็นตรงนี้ก็สำเร็จธรรมได้ตามลำดับ ตั้งแต่พระโสดาบัน ขึ้นไป

5.คือไม่เข้าใจว่า ผลการปฏิบัติ จะมีผลคือต้องมีใจ เพื่อการไม่กลับมาเกิดเท่านั้นใช่หรือไม่คะ


ผลการปฏิบัติ ไม่ต้องไปทำความเข้าใจ ใด ๆ ทั้งสิ้น สำคัญที่เหตุปัจจัย ของการภาวนามากกว่า การไม่กลับมาเกิดมาจากเหตุ คือ การเจริญพระอริยะมรรค มีองค์ 8 ให้สมบูรณ์ นะจ๊ะ

 เจริญธรรม / เจริญพร

  ;)
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

หมิว

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 398
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
คำว่าภาวนาเท่าที่ทราบตามภาษาบาลีคือ ทำให้เจริญขึ้น
ถ้าจะเทียบความหมายเช่นนั้นก็คงมีการภาวนาทุกศาสนาครับ
คือนอกจากมีข้อปฏิบัติให้ละหรือหลีกเลี่ยงบางสิ่ง ก็มีข้อที่ให้พยายามทำบางสิ่ง (ให้มากขึ้น ให้เจริญขึ้น)นั่นเอง แต่พอเอามาใช้กันแบบบ้านๆ คนส่วนใหญ่ก็ใช้ในในความหมายในภาษาไทยที่ต่างออกไป เช่น
การท่องบ่นให้จำขึ้นใจ หรือการนั่งสมาธิ ก็เรียกรวมๆว่านั่งภาวนา ซึ่งความหมายแคบกว่าคำเดิมมาก

อาจจะเข้าใจกันว่าศาสนาอื่นๆไม่มี แต่ที่จริงหลายศาสนาก็มีอีกนั่นแหละครับ เพียงแต่อยู่รูปแบบต่างๆกันไป เช่นบางความเชื่อมีการเต้นรำปนอยู่ด้วยซึ่งส่วนที่เห็นได้ชัดมักจะปนร่วมกับพิธีกรรม ส่วนที่เห็นไม่ชัดก็แฝงอยู่ในชีวิตประจำวันของศาสนิกนั้นๆเอง ส่วนที่ศาสนาอื่นๆไม่มี (เพื่อให้พ้นทุกข์ได้อย่างสมบูรณ์/เมื่อมองตามจุดประสงค์ของศาสนาแบบพุทธ)คือ มรรคมีองค์แปด ครับ

ดังนั้น ส่วนของ ภาวนา ตามแบบพุทธจึงมีเพื่อเน้นหรือหนุนแก่มรรคมีองค์แปดครับ
ที่ชัดๆเลยคือการ เจริญสมาธิ ศาสนาอื่นๆเช่นพราห์มทำมาก่อนพุทธเสียอีก แต่เป็นแบบเก็บงำสอนกันเฉพาะกลุ่ม แม้นั่งสมาธิแบบพราห์มก็มีส่วนของวิปัสสนานะครับ คือพิจารณา รู้นิวรณ์ที่เกิดขึ้น และละอารมณ์นั้นๆไปได้ทำให้เข้าถึงฌาณ แต่ยังเป็นแค่ส่วนที่เกี่ยวเนี่องกับ รูป/อรูปภูมิ ยังไม่เข้าถึงโลกุตรภูมิ)

เมื่อทางพุทธนำมาใช้ ก็เพิ่มส่วนของสัมมาทิษฐิเป็นธรรมนำหน้า
และแยกการสอนตามจริตนิสัยของผู้ปฏิบัติ และหลีกเลี่ยงสมาธิแบบมิจฉาทิษฐิ เช่น สมาธิจากการเต้นรำ การละเล่น ที่หนุนให้เพลิดเพลินขาดสติ พุทธสอนการเจริญสติให้เป็นทางสายเอกเหมาะสมแก่คนส่วนใหญ่ คือได้ทิศทางที่ถูกต้อง ส่วนการเจริญสมาธินั้นเพื่อให้ได้กำลังมีแค่คนส่วนน้อยที่ทำได้
(ความจริงคือทั้งสติและสมาธินั้นเอื้อต่อกันอยู่ในตัวเมื่อทำสมาธิได้ดีสติก็ไว เมื่อฝึกสติได้ดีก็ย่อมเป็นสมาธิในตัวเอง)

การภาวนาแบบปุถุชนคนพุทธ เป็นการเพียรทำให้กุศลจิตเจริญขึ้นนั่นเอง
ที่ผมทำบ่อยก็คือ ฝึกสติรู้สึกตัวครับ

จากคุณ    : BlueDelphi
บันทึกการเข้า
ใจดี น่ารัก และ ไม่ชอบคนที่กวน...ใจ
แสงพระธรรม นำทาง นำสู่ใจ ได้รับแสงสว่าง
แสงสว่างใดเสมอด้วยปัญญาไม่มี