ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 10
 21 
 เมื่อ: พฤษภาคม 26, 2024, 07:58:12 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.



ระบบอุปถัมภ์ ยกย่องคนรวย/คนมีตำแหน่ง เป็นสาเหตุของการทุจริต ในวงราชการไทย
คอลัมน์ น.ต.ประสงค์พูด โดย : น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ

ภาษิตสากลบทหนึ่งบอกว่า "อำนาจชวนให้โกงกิน ถ้าอำนาจล้นแผ่นดิน ก็จะโกงกินกันจนสิ้นชาติ" ยกภาษิตนี้มากล่าวนำก็เพื่อบอกไปยังผู้มีอำนาจ โดยเฉพาะอำนาจที่ได้มานั้นเป็นอำนาจที่ยึดมาใช้ตามใจชอบ จะได้สำนึกว่าการใช้อำนาจแบบนี้ชี้ชวนให้กระทำการทุจริตคดโกงได้ง่าย นำไปสู่ความสิ้นชาติในที่สุด

บ้านเมืองของเราในขณะนี้ ความทุจริตคดโกง ระบาดไปทั่วอย่างน่าเป็นห่วง โดยเฉพาะที่เกิดจากคนมีอำนาจหน้าที่ในการบริหารบ้านเมืองแทบทุกระดับ ยิ่งในระดับสูงด้วยแล้ว ยิ่งปรากฏให้เห็นมากขึ้นในเรื่องความฉ้อฉล คดโกง จากการใช้อำนาจอย่างลืมตัว เพื่อหาประโยชน์ส่วนตนและญาติ พี่น้องพรรคพวก

มีการปราบปรามพวกทุจริตให้เห็นเหมือนกันในบางเรื่องบางราว แต่ก็เป็นการปราบปรามคนอื่นที่ไม่ใช่พวกพ้อง หรือญาติพี่น้องหรือเพื่อนฝูงของตน เช่นในขณะนี้

อยากจะบอกว่า การทุจริตและประพฤติมิชอบดังกล่าวนี้ โดยเฉพาะในหน่วยงานของรัฐมีความสำคัญและเป็นปัญหาใหญ่ของสังคม ทั้งในเชิงปริมาณที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นในขณะนี้ เป็นปัญหาที่บั่นทอนการพัฒนาประเทศ และเป็นอุปสรรคในการสร้างความเจริญ ให้แก่สังคมและความผาสุกแก่ประชาชนเป็นอย่างยิ่ง เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางและมีวิธีการและลักษณะที่ซับซ้อนมากขึ้น

@@@@@@@

การจัดซื้อจัดจ้าง การสมยอมระหว่างผู้มีอำนาจหน้าที่กับผู้รับจ้าง หรือช่วยเหลือพวกนายทุนที่ให้ประโยชน์ตน การรับสินบน รับเงินใต้โต๊ะ รับเงินทอน ตลอดจนเงินซื้อขายตำแหน่ง ระบาดเกิดขึ้นมากมายอย่างที่ได้ยินได้ฟังกันในขณะนี้

พฤติกรรมต่างๆเหล่านี้ เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้คนในบ้านเมืองเสื่อมความศรัทธา เชื่อถือ ต่อผู้มีอำนาจในการบริหารบ้านเมืองเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนอาจพูดได้ว่า เมื่อไรจะไปเสียที

ความรุนแรงที่มาจากความทุจริตดังกล่าว รับรู้กันไปทั่วโลกในขณะนี้ และถูกจัดอันดับประเทศที่มีการทุจริตสูงสุด อยู่ในอันดับต้นๆของประเทศต่างๆทั่วโลก

ถึงเวลาแล้วที่ทุกภาคส่วนของประชาชนต้องช่วยกัน การที่จะมองว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดานั้น ขอให้ระวังว่าจะสิ้นชาติในที่สุดด้วย เพราะปัญหาของความทุจริตคดโกง ดังกล่าว ไม่ต่างกับโรคร้ายที่กัดกร่อนและบ่อนทำลายประเทศชาติอยู่ตลอดเวลา

โดยเฉพาะความทุจริตในวงราชการไทยขณะนี้ มีที่มาจากสาเหตุสำคัญๆ ดังต่อไปนี้

@@@@@@@

1. ระบบอุปถัมภ์
ระบบอุปถัมภ์เกิดจาก
   1) ระบบอาวุโส และ
   2) ระบบบุญคุณ
ซึ่งมีความจุนเจือ ช่วยเหลือกัน มีความสัมพันธ์แบบผู้บังคับบัญชา ไม่ว่าจะมาจากนักการเมืองที่เข้ามาตามระบบที่กำหนดไว้ หรือมาจากการแต่งตั้ง ที่เข้ามาทำงานและมีความสัมพันธ์กับข้าราชการประจำ ทำให้เกิดความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันในลักษณะที่จะส่งผลต่อการเอื้อให้เกิดการทุจริตในวงราชการ อันนำไปสู่การใช้อำนาจหน้าที่ในตำแหน่ง เพื่อการแสวงหาผลประโยชน์ที่มิชอบด้วยกฎหมาย ให้แก่ตนเอง หรือพรรคพวก

นอกจากนี้ ระบบอุปถัมภ์ประกอบไปด้วย 3 ฝ่ายคือ
    1) นักการเมือง
    2) ข้าราชการ
    3) นักธุรกิจ
ที่ทำให้สามารถทำทุจริตได้ง่าย โดยทั้ง 3 ฝ่ายมาจับมือกันร่วมทุจริตคดโกง หรือที่เรียกว่า "ฮั้ว" กันเครือข่ายดังกล่าวนี้โยงใยกันอย่างแน่นหนา การปราบปรามต้องกระทำอย่างจริงจัง จึงจะได้ผล โดยเฉพาะการควบคุมบุคลากรที่เป็นเจ้าหน้าที่รัฐ และผู้มีอำนาจหน้าที่ที่ได้อำนาจมาจากการยึดอำนาจ

2. ค่านิยมของคนไทยที่นิยมยกย่องคนมีตำแหน่งหน้าที่ใหญ่โต หรือนิยมยกย่องคนรวย
ทำให้เกิดผล กระทบตามมาเสมอในเรื่องของ
    1) ความโลภ คือ การโกงกินกันทุกรูปแบบ
    2) ความมีโทสะ จากการมีคนไปเตือนสติ และ
    3) ความมีโมหะ คือ มัวเมาในอำนาจ ยึดติดในตำแหน่งหน้าที่ พยายามสร้างวาทกรรมคำพูดอย่างโน้นอย่างนี้ให้คนเชื่อ

ค่านิยมหลายภาคส่วนของสังคมขณะนี้ที่ยึดด้าน วัตถุมากขึ้น อวดความมีสถานะทางสังคม โดยไม่สนใจว่าสิ่งที่ตนได้มานั้นจะได้มาด้วยวิธีการใด เป็นค่านิยมที่ฝ่ายที่มีอำนาจทางการเมืองต้องการคนอย่างนี้มาใช้เพื่อหาผลประโยชน์ให้ตน


@@@@@@@

นอกจากนี้ สาเหตุที่เกิดจากความหละหลวมของระบบราชการบางแห่ง โดยเฉพาะในเรื่องของการควบคุมความประพฤติที่ทุจริต ในวงการราชการที่ไม่ใส่ใจหรือเอาใจใส่ในเรื่องดังกล่าว ก็เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการทุจริตใน วงราชการได้เช่นเดียวกัน

อีกอย่างหนึ่งของการทุจริตเกิดขึ้นในวงราชการไทยขณะนี้ สาเหตุอีกอย่างหนึ่งมาจากความจำเป็นในการอยู่รอดของตนและครอบครัวที่ยากจน เนื่องจากเงินเดือนน้อยไม่พอใช้ นำมาซึ่งการขาดสติในการประพฤติปฏิบัติงานในหน้าที่ การจัดซื้อจัดจ้างในวงราชการไทยที่กระทำกันอย่างไม่โปร่งใสก็เช่นเดียวกัน ทำให้เกิดการทุจริต ไม่โปร่งใส ได้ง่าย

นี่คือเรื่องใหญ่ๆ ของการทุจริตในวงราชการไทยบ้านเราในขณะนี้ ซึ่งจะได้พูดให้ฟังถึงในเรื่องอื่นๆ ที่ยังเป็นปัจจัยสำคัญของการทุจริตในวงราชการไทย ที่ยังมีอีกมากในคราวหน้า

 

 
Thank to : www.anticorruption.in.th/2016/th/detail/1213/4/ความทุจริตในวงราชการไทย
โดย ACT | โพสเมื่อ Oct 30,2018 | ขอบคุณข้อมูลจาก แนวหน้า

 22 
 เมื่อ: พฤษภาคม 26, 2024, 07:37:32 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.



ทำไม “คนดี” จึงทุจริตคอร์รัปชัน.?

ออกตัวก่อนว่า ไม่ได้ต้องการทับถมหรือเสียดสีใครคนใดคนหนึ่ง แต่ต้องการชี้ให้เห็นอีกมุมมองหนึ่งของการทำสิ่งไม่ดี ซึ่งมุมมองนี้ไม่เกี่ยวกับว่า คุณนับถือศาสนาอะไร มุมมองนี้ไม่ต้องการบอกว่าคุณ “ควร” หรือ “ไม่ควร” มีพฤติกรรมอย่างไร แต่มุมมองนี้เน้นการอธิบายพฤติกรรมตามความเป็นจริงมากกว่า

สาขาวิชาที่ชื่อว่า “จริยธรรมพฤติกรรม”หรือ Behavioral Ethics พยายามตอบคำถามที่ค้างคาใจคนจำนวนมาก เช่น เหตุใดคนดีจึงทำความชั่ว หรือทำไมเรามองไม่ออกว่าคนนี้เป็นคนไม่ดี (ในขณะที่คนอื่นมองออก) เป็นต้น สาขาวิชานี้บอกว่า การตัดสินใจของมนุษย์ไม่มีมาตรฐานเสมอไป แต่ขึ้นอยู่กับสถานการณ์แวดล้อมภายนอกด้วย มีหลายปัจจัยดังต่อไปนี้ ที่ส่งผลให้ “คนดี” ซึ่งก็คือคนปกติแบบเราๆ ท่านๆ ทำสิ่งที่ไม่ดี เช่น ทุจริตคอร์รัปชัน


     @@@@@@@

    1. “การเชื่อฟังผู้มีอำนาจ” หรือ Obedience to Authority
     หลายคนไม่ต้องการทำสิ่งไม่ดี แต่มีหัวหน้างาน เจ้าของบริษัท ผู้มีอิทธิพล หรือ ไอ้โม่ง สั่งให้เขาทำ เวลาที่ผู้มีอำนาจสั่งให้เราทุจริต แม้ว่าในใจของเราจะรู้อยู่แล้วว่าเป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม แต่หลายๆ ครั้ง เราไม่สามารถปฏิเสธคำสั่งเหล่านั้นได้ ลองคิดดูว่าถ้าเจ้านายของคุณบอกให้คุณเอาเงินใต้โต๊ะไปให้ข้าราชการคนหนึ่ง เพื่อให้เขาอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ คุณกล้าที่จะปฏิเสธไหม

     การปฏิเสธหมายความว่า ผลการประเมินประจำปีจะออกมาไม่ดี และในเกือบทุกกรณี คุณจะต้องหางานใหม่ หรือในกรณีที่คุณเป็นข้าราชการแล้วมีนักการเมืองสั่งให้คุณร่วมทุจริต ถ้าคุณไม่เชื่อฟัง คุณก็ต้องถูกย้ายหรือเตรียมหางานใหม่เช่นกัน

     ดังนั้น เมื่อมีผู้มีอำนาจสั่งให้เราทำอะไรที่ผิด เราก็มักจะทำตามและบอกกับตัวเองว่าไม่เป็นไร เราแค่ทำตามที่เขาสั่งมาเท่านั้น สรุปง่ายๆ คือการเชื่อฟังผู้มีอำนาจทำให้เรารู้สึกผิดน้อยลงนั่นเอง

    2. “อคติในการทำตามคนอื่น” หรือ Conformity Bias
     พฤติกรรมที่มีคนทำตามจำนวนมาก จะทำให้เรารู้สึกว่าเป็นการกระทำที่ยอมรับได้ซึ่งรวมถึงการทุจริตคอร์รัปชั่นด้วย ในประเทศไทย หลายคนเห็นว่าการทุจริต การโกง การติดสินบน หรือแม้กระทั่งการเอื้อประโยชน์ให้พวกพ้อง เป็นส่วนหนึ่งของสังคมหรือเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของคนไทย เด็กที่เกิดมาเห็นพ่อแม่ตัวเองติดสินบนเจ้าหน้าที่ของรัฐจนเป็นเรื่องปกติ พอโตขึ้นก็เห็นนักธุรกิจมีฐานะร่ำรวยเพราะพวกพ้อง เห็นข้าราชการและนักการเมืองมีตำแหน่งจากการโกง ฯลฯ

    3. “จับต้องได้สำคัญกว่าจับต้องไม่ได้”
    เกิดขึ้นเพราะคนเราเลือกที่จะให้คุณค่าแก่สิ่งที่จับต้องได้มากกว่าสิ่งที่จับต้องไม่ได้ ดังนั้น หากการตัดสินใจส่งผลไม่ดีต่อตัวเรา (และคนอื่น) อย่างไม่ชัดเจนคือ ไม่แน่ใจว่าจะกระทบใครและรุนแรงเท่าใด เราก็จะใช้เหตุผลนี้เป็นข้ออ้างในการทำผิดจริยธรรมได้ เวลาที่เราจะโกง เราอาจต้องชั่งน้ำหนักระหว่าง “ประโยชน์” และ “โทษ” ของการกระทำ แน่นอนว่าประโยชน์ของการโกงคือร่ำรวยเช่น รวยขึ้น 10 ล้านบาททันที ซึ่งเป็นสิ่งที่จับต้องได้ ในขณะที่โทษของการโกงคือ เข้าคุก (มีโอกาสถูกจับได้น้อยมาก) เวรกรรม (ไม่รู้ว่าเมื่อไร) ตกนรก (ไม่รู้ว่ามีจริงไหม) ดังนั้น จึงไม่แปลกใจว่าคนเราเลือกที่จะทำสิ่งไม่ดีได้อย่างสบายใจ

     @@@@@@@

ข้อคิดที่ได้จากปัจจัย “การเชื่อฟังผู้มีอำนาจ” คือ ในกรณีที่มีการกระทำผิด ผู้ที่มีอำนาจสูงกว่าควรต้องรับผิดชอบมากกว่า อย่างไรก็ตาม ผู้น้อยที่ทำตามคำสั่งก็ไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดชอบได้ทั้งหมด เราจำเป็นต้องแสดงความกล้าหาญทางจริยธรรมด้วยการไม่ทำตามและออกมาจากตรงนั้น อย่าลืมนะครับว่าหลายครั้งผู้มีอำนาจสั่งแบบไม่มีหลักฐานเช่น ทางวาจา ดังนั้น ถ้าถูกจับได้ขึ้นมา เราต่างหากที่ต้องรับความผิดนั้นแต่เพียงผู้เดียว

สำหรับหน่วยงานราชการหรือองค์กรเอกชน ควรจัดให้มีกระบวนการอย่างเป็นทางการในการรับเรื่องร้องเรียนและคุ้มครอง “คนเป่านกหวีด (Whistle Blower)” หรือคนที่แจ้งเบาะแสกรณีพบการกระทำที่ไม่ชอบมาพากลในองค์กร เพราะถ้าไม่มีกระบวนการลักษณะนี้ ปัจจัย “การเชื่อฟังผู้มีอำนาจ” ก็จะยิ่งแก้ไขได้ยากขึ้น

สำหรับปัจจัย “อคติในการทำตามคนอื่น” นั้น เราควรใช้สถานการณ์ปัจจุบันให้เป็นโอกาส เป็นจุดเปลี่ยนของประเทศไทย ทุกฝ่ายทั้งราชการ เอกชน และประชาชน ต้องช่วยกันประชาสัมพันธ์ว่า การโกงไม่ใช่เรื่องปกติและการทุจริตคอร์รัปชันไม่ใช่วัฒนธรรมของคนไทยอีกต่อไป เราต้องตอกย้ำให้ทุกคนรู้ว่าคนไทยส่วนใหญ่ไม่โกง ไม่ทุจริต ไม่คอร์รัปชัน

ปัจจัยสุดท้ายคือ “จับต้องได้สำคัญกว่าจับต้องไม่ได้” สะท้อนถึงการให้การศึกษาแก่เด็กและเยาวชนไทย เราจำเป็นต้องสอนและแสดงให้พวกเขาเห็นว่า “โทษ” ของการทุจริตคอร์รัปชันนั้น รวดเร็ว รุนแรงและจับต้องได้

อย่างไรก็ตาม คนที่ทำผิด สำนึกผิดและได้รับโทษแล้ว สังคมก็ควรให้อภัยอย่างรวดเร็ว เพราะต่อให้เป็น “คนดี” ก็สามารถทำผิดได้เช่นกัน


     โดย ผศ. ดร. ยิ่งยศ เจียรวุฑฒิ
     ภาควิชาบริหารธุรกิจ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล
     yingyot.chi@mahidol.ac.th





Thank to : https://www.bangkokbiznews.com/blogs/columnist/117273
By บทความพิเศษ | 31 ส.ค. 2017 เวลา 3:00 น.

 23 
 เมื่อ: พฤษภาคม 25, 2024, 09:22:38 pm 
เริ่มโดย todaytimepost11 - กระทู้ล่าสุด โดย todaytimepost11
ขออนุญาต อัพเดทกระทู้

 24 
 เมื่อ: พฤษภาคม 25, 2024, 05:02:07 pm 
เริ่มโดย todaytimepost11 - กระทู้ล่าสุด โดย todaytimepost11
ขออนุญาต อัพเดทกระทู้

 25 
 เมื่อ: พฤษภาคม 25, 2024, 03:47:55 pm 
เริ่มโดย todaytimepost11 - กระทู้ล่าสุด โดย todaytimepost11
ดันกระทู้

 26 
 เมื่อ: พฤษภาคม 25, 2024, 01:34:41 pm 
เริ่มโดย todaytimepost11 - กระทู้ล่าสุด โดย todaytimepost11
ดันกระทู้

 27 
 เมื่อ: พฤษภาคม 25, 2024, 12:36:28 pm 
เริ่มโดย todaytimepost11 - กระทู้ล่าสุด โดย todaytimepost11
ขออนุญาต อัพเดทกระทู้

 28 
 เมื่อ: พฤษภาคม 25, 2024, 11:44:55 am 
เริ่มโดย aventure1 - กระทู้ล่าสุด โดย aventure1
ดันกระทู้

 29 
 เมื่อ: พฤษภาคม 25, 2024, 11:25:01 am 
เริ่มโดย todaytimepost11 - กระทู้ล่าสุด โดย todaytimepost11
ดันกระทู้

 30 
 เมื่อ: พฤษภาคม 24, 2024, 08:38:21 pm 
เริ่มโดย todaytimepost11 - กระทู้ล่าสุด โดย todaytimepost11
ขออนุญาต อัพเดทกระทู้

หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 10