ธรรมะสาระ > บทสวดมนต์ มนต์พิธี

บทปลงสังชาร อภิณหปัจจเวกขณ

(1/2) > >>

Hero:
http://www.youtube.com/watch?v=fHng9qVvTR0

ฟังดีมากครับ แต่ไม่ทราบที่มานะครับ

เครดิต manutyang

Hero:
บทปลงสังขาร วัดดอนชะเอม

http://www.youtube.com/watch?v=RT0wjU6fxyM

arlogo:
อนุโมทนา ธรรม ที่ช่วยมานำเสนอบทปลงสังขาร ให้นะจ๊ะ

 ;)

raponsan:


อภิณหปัจจเวกขณ์ข้อที่พึงพิจารณาเนืองๆ ๕ ประการ
ชราธัมโมมหิ  ชะรัง อะนะติโต     เรามีความแก่เป็นธรรมดา  จะล่วงพ้นความแก่ไปไม่ได้

พะยาธิธัมโมมหิ  พะยาธิง  อะนะตีโต     เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา  จะล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปไม่ได้

มะระณะธัมโมมหิ  มะระณัง  อะนะตีโต     เรามีความตายเป็นธรรมดา  จะล่วงพ้นความตายไปไม่ได้

สัพเพหิ  เม  ปิเยหิ  มะนาเปหิ  นานาภาโว  วินาภาโว    เราจักพลัดพรากจากของที่รัก ของชอบใจทั้งหลาย

กัมมัสสะโกมหิ  กัมมะทายาโท     เรามีกรรมเป็นของๆตน  เราจักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น

กัมมะโยนิ   กัมมะพันธุ     เรามีกรรมเป็นแดนเกิด  เรามีกรรมเป็นเผ่าพันธ์

กัมมะปะฏิสะระโน   ยัง กัมมัง กะริสสามิ     เรามีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย  เราทำกรรมอันใดไว้

กัลยาณัง วา ปาปะกัง วา     เป็นกรรมดีก็ตาม  เป็นกรรมชั่วก็ตาม

ตัสสะ  ทายาโท  ภะวิสสามิ     เราจักต้องเป็นผู้รับผลแห่งกรรมนั้น

เอวัง  อัมเหหิ  อะภิณหัง  ปัจจะเวกขิตัพพัง     เราทั้งหลายพึงพิจารณาเนืองๆอย่างนี้แล.


อภิณหปัจจเวกขณ์ ๕
(ขยายความ จากพจนานุกรมพุทธศาตร์ ฉบับประมวลธรรม โดย ท่านพระธรรมปิฏก)

ข้อที่สตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม คฤหัสถ์ก็ตาม บรรพชิตก็ตาม ควรพิจารณาเนืองๆ

       ๑. ชราธัมมตา  ควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้
       ๒. พยาธิธัมมตา  ควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีความเจ็บป่วยเป็นธรรมดา ไมล่วงพ้นความเจ็บป่วยไปได้
       ๓. มรณธัมมตา ควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้
       ๔. ปิยวินาภาวตา ควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เราจักต้องมีความพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น
       ๕. กัมมัสสกตา ควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีกรรมเป็นของตน เราทำกรรมใด ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม จักต้องเป็นทายาท ของกรรมนั้น

       ข้อที่ควรพิจารณาเนืองๆ ๕ อย่างนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อละสาเหตุต่างๆ มี ความมัวเมา เป็นต้น  ที่ทำให้สัตว์ทั้งหลายตกอยู่ในความประมาท และประพฤติทุจริตทางไตรทวาร กล่าวคือ :-

       ข้อ ๑ เป็นเหตุละหรือบรรเทาความเมาในความเป็นหนุ่มสาวหรือความเยาว์วัย
       ข้อ ๒ เป็นเหตุละหรือบรรเทาความเมาในความไม่มีโรค คือ ความแข็งแรงมีสุขภาพดี
       ข้อ ๓ เป็นเหตุละหรือบรรเทาความเมาในชีวิต
       ข้อ ๔ เป็นเหตุละหรือบรรเทาความยึดติดผูกพันในของรักทั้งหลาย
       ข้อ ๕ เป็นเหตุละหรือบรรเทาความทุจริตต่างๆ โดยตรง

      เมื่อพิจารณาขยายวงออกไป เห็นว่ามิใช่ตนผู้เดียวที่ต้องเป็นอย่างนี้ แต่เป็นคติธรรมดาของสัตว์ทั้งปวงที่จะต้องเป็นไป เมื่อพิจารณาเห็นอย่างนี้เสมอๆ มรรคก็จะเกิดขึ้น เมื่อเจริญมรรคนั้นมากเข้า ก็จะละสังโยชน์ทั้งหลาย สิ้นอนุสัยได้.

พระคาถาดังกล่าว  ควรพิจารณาอยู่เนืองๆเป็นอเนก  เพื่อให้เกิดนิพพิทา  ไม่ใช่เฉพาะเวลาสวดมนต์แต่อย่างเดียว จึงจักบังเกิดผลยิ่ง เป็นเครื่องรู้ เครื่องระลึก เครื่องเตือนสติ  ให้ประกอบกรรมดี และไม่ใช่เพื่อการพิรี้พิไรรำพันโอดครวญ  หรือไปกังวลถึงกรรมในอดีตที่ผ่านไปแล้ว

ที่มา http://nkgen.com/357.htm

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔
อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

๗. ฐานสูตร

  [๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๕ ประการนี้ อันสตรี บุรุษ คฤหัสถ์
หรือบรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ๕ ประการเป็นไฉน คือ สตรี บุรุษ คฤหัสถ์
หรือบรรพชิต ควรพิจารณาเนืองๆ ว่า

เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ ๑
เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้ ๑
เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ ๑
เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น ๑
เรามีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง จักทำกรรมใด ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เราจะเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น ๑ ฯ

   เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒  บรรทัดที่ ๑๖๔๙ - ๑๗๔๑.  หน้าที่  ๗๑ - ๗๕.
 http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=1649&Z=1741&pagebreak=0
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=57

เสริมสุข:
ได้ฟัง แล้ว รู้สึก ชื่นใจ จริง ๆ ทำให้ได้ สติ มาก ๆ
http://www.youtube.com/watch?v=fHng9qVvTR0

ไม่ทราบใครเป็นผู้จัดทำ คะ ชุดนี้
เห็นตอนท้ายลงว่า ธัมมะวังโส ภิกษุ ใช่ของเว็บนี้ หรือไม่คะ

 :25: :25: :25:


นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป