ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ปัญหาวัดกัลยาณมิตร  (อ่าน 1668 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
ปัญหาวัดกัลยาณมิตร
« เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2015, 08:19:14 pm »
0


ปัญหาวัดกัลยาณมิตร
รศ.ทวี ผลสมภพ : เรื่องวัดกัลยาณมิตร

ปัญหาเรื่องโบราณสถานวัดกัลยาณมิตรดูเหมือนจะยังไม่จบ หรือถ้าจะจบ ก็จะจบแบบไม่มีทางไป เพราะต่างฝ่ายต่างก็อ้างกฎหมายที่ตัวถืออยู่ แถมแต่ละฝ่ายต่างก็มีลูกคู่หนุน ทางการก็อ้างว่าอำนาจรัฐย่อมอยู่เหนือวัด ขอตั้งคำถามให้ตอบทางใจกันก่อนว่า รัฐใช้อำนาจอะไรไปวุ่นวายในผืนแผ่นดินที่เป็นโฉนดของเอกชนหรือผืนแผ่นดินที่มีโฉนดของสงฆ์ ถ้าเอกชนหรือสงฆ์ไม่ยินยอม

พื้นแผ่นดินที่เป็นธรณีสงฆ์อันเกิดจากมีผู้ถวายพร้อมสร้างกุฏิ วิหารให้สงฆ์อยู่อาศัย จัดเป็นสมบัติของสงฆ์ ทุกสิ่งอันเป็นสมบัติของสงฆ์ สงฆ์ต้องปฏิบัติตามพระวินัยที่พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้ แต่งานนี้แทนที่พระควรจะอ้างพระวินัย กลับไปอ้างพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ในบทความนี้จึงขอยกพระวินัยที่พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้ให้พระปฏิบัติได้เห็นกัน

 :25: :25: :25: :25:

พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้ในคัมภีร์จุลวรรคภาค 2 ตอนที่ว่าด้วยเสนาสนะแห่งพระวินัยปิฎกภาษาไทย เล่มที่ 7 หน้า 85 ความสรุปว่าสมบัติอันเป็นของสงฆ์ แบ่งออกเป็น 5 หมวด

1.อาราม พื้นที่อาราม (อาราม หมายถึง ทั้งพื้นดินและสิ่งก่อสร้าง พื้นที่อาราม หมายถึงเฉพาะแผ่นดินที่ตั้งโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ) สงฆ์ก็ดี (ภิกษุ 4 รูปขึ้นไป) คณะก็ดี (ภิกษุ 3 รูปลงมา) บุคคลก็ดี (ภิกษุเพียงหนึ่งรูป) ไม่ควรยกให้ผู้ใด แม้จะยกให้ไปแล้วก็ไม่เป็นอันยก ภิกษุรูปใดยก ภิกษุรูปนั้นต้องอาบัติถุลลัจจัย

2.วิหาร พื้นที่วิหาร (วิหาร หมายถึง ทั้งพื้นดินและสิ่งปลูกสร้าง พื้นที่วิหาร หมายถึงเฉพาะแผ่นดินที่ตั้งวิหาร) สงฆ์ก็ดี คณะก็ดี บุคคลก็ดี ไม่ควรยกให้ผู้ใด แม้จะยกให้ไปแล้วก็ไม่เป็นการยก ภิกษุรูปใดยก ภิกษุนั้นต้องอาบัติถุลลัจจัย

3.เตียง เก้าอี้ ฟูก หมอน สงฆ์ก็ดี คณะก็ดี บุคคลก็ดี ไม่ควรยกให้ผู้ใด แม้จะยกให้ไปแล้วก็ไม่เป็นการยก ภิกษุรูปใดยก ภิกษุรูปนั้นต้องอาบัติถุลลัจจัย

4.หม้อโลหะ อ่างโลหะ กระถางโลหะ กระทะโลหะ มีด ขวาน ผึ่ง จอบ สว่าน สงฆ์ก็ดี คณะก็ดี บุคคลก็ดี ไม่ควรยกให้ผู้ใด แม้จะยกให้แล้วก็ไม่เป็นการยก ภิกษุรูปใดยก ภิกษุนั้นต้องอาบัติถุลลัจจัย

5.เถาวัลย์ ไม้ไผ่ หญ้าปล้อง หญ้ามุงกระต่าย หญ้าสามัญ ดิน เครื่องไม้ เครื่องดิน สงฆ์ก็ดี คณะก็ดี บุคคลก็ดี ไม่ควรยกให้ผู้ใด แม้จะยกให้แล้วก็ไม่เป็นการยก ภิกษุรูปใดยก ภิษุรูปนั้นต้องอาบัติถุลลัจจัย

ทั้งหมดที่กล่าวมาคือสมบัติอันเป็นของสงฆ์ที่ทรงห้ามยกให้ผู้ใด ทีนี้เฉพาะกรณีของวัดกัลยาณมิตรมีปัญหาเฉพาะเรื่อง ศาลาหรือสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ ดังนั้นศาลาและสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ จึงจัดอยู่ในคำว่าวิหารในพระวินัยบัญญัตินี้


 st12 st12 st12 st12

ดังนั้นการพิจารณาประเด็นนี้ต้องแยกพิจารณา 2 ส่วน คือ พื้นดินอันเป็นที่ตั้งศาลาส่วนหนึ่ง และศาลาหรือสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ อันเป็นส่วนควบส่วนหนึ่ง จากนี้ขอพิจารณาพื้นดินที่พระพุทธองค์ตรัสเรียกว่าวิหารวัตถุก่อนว่ามีฐานะเป็นอย่างไร คือตกเป็นของทางราชการตามที่ทางราชการขึ้นทะเบียนโบราณสถานหรือไม่ ขอตอบตรงนี้เลยว่า พื้นดินตรงนี้เป็นของสงฆ์โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด ด้วยเหตุผล 2 ประการ

เหตุผลข้อที่ 1 คือ ตามวินัยบัญญัติที่อ้างไว้ข้างบนว่าพื้นดินอันเป็นของสงฆ์ห้ามสงฆ์ยกให้ใคร แม้สงฆ์จะยกให้ก็ไม่เป็นการยก

เหตุผลข้อที่ 2 ผืนดินที่มีโฉนด ไม่ว่าของวัดหรือของชาวบ้าน ถ้าทางการจะใช้ ต้องออกพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาเวนคืนเท่านั้น มิใช่ขอขึ้นทะเบียนตัวอาคารอันเป็นทรัพย์ส่วนควบแล้ว ผืนดินอันเป็นทรัพย์ประธานจะต้องเป็นไปตามตัวอาคารด้วย นี่คือเหตุผลที่ยืนยันว่าพื้นดินตรงนั้นเป็นของสงฆ์โดยไม่เปลี่ยนแปลง ประเด็นต่อมาที่จะต้องพิจารณาก็คือ ศาลาหรือที่พระวินัยเรียกว่าวิหาร จะมีฐานะเป็นอย่างไร ในเมื่อทางการขอขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน ต้องถามก่อนว่าทางการขอขึ้นทะเบียนศาลาหลังนั้นเป็นสมบัติของทางราชการหรือไม่ ถ้าขอขึ้นทะเบียนเป็นสมบัติของทางราชการ ก็ตอบได้เลยว่าศาลาหลังนั้นยังเป็นของสงฆ์

เพราะพระวินัยที่บัญญัติไว้ว่า วิหารอันเป็นของสงฆ์ห้ามสงฆ์ยกให้ใคร แม้สงฆ์จะยกให้ก็ไม่เป็นการยก แต่ถ้าทางการขอขึ้นทะเบียนเพื่อช่วยดูแลรักษาก็ต้องเจรจากับสงฆ์เท่านั้น เพราะพระท่านก็หวังให้ทางราชการช่วยปฏิสังขรณ์อยู่แล้ว ทีนี้มาพิจารณาประเด็นที่สมภารวัดกัลยาณมิตร ท่านไปรื้อศาลาหรือสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ ประเด็นนี้จะเกิดสิ่งตามมาอย่างไร ต้องถามก่อนว่าท่านไปรื้อทำไม ถ้าท่านตอบว่ามันจะพังถ้าไม่รื้อจะเกิดอันตรายต่อผู้ที่เข้ามาใช้ศาลา คำตอบอย่างนี้บัณฑิตจะรับฟัง ถามท่านสมภารต่อไปว่า เมื่อมีเหตุผลที่จะรื้อ ท่านสมภารได้เรียกประชุมสงฆ์ในวัดเพื่อขออนุญาตรื้อหรือไม่ หรือท่านใช้อำนาจเจ้าอาวาสตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ ทำการรื้อ ถ้าท่านประชุมสงฆ์ในวัดขออนุญาตรื้อท่านทำชอบแล้ว แต่ถ้าท่านทำการรื้อโดยพลการ คือถืออำนาจของเจ้าอาวาสตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ โดยสงฆ์ในวัดไม่รู้เรื่อง ท่านต้องอาบัติถุลลัจจัย ซึ่งถือเป็นอาบัติหนักในอาบัติที่แก้ไขได้

ทั้งนี้เพราะ พ.ร.บ.คณะสงฆ์ ไม่สามารถลบล้างพระพุทธบัญญัติของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ เพราะในประเด็นนี้มีวินัยบัญญัติไว้ว่า สิ่งอันเป็นของสงฆ์ สงฆ์เท่านั้นจะเป็นผู้จัดการ ทรงห้ามคณะ บุคคล ทำแทนสงฆ์


 :s_hi: :s_hi: :s_hi: :s_hi:

ประเด็นที่ต้องพิจารณาต่อไปก็คือ ปฏิกิริยาของทางการต่อการรื้อศาลาหรือสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ ของสมภารวัดจะเป็นอย่างไร ขั้นต้นถ้าทางการถือว่าศาลาหรือสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ ที่ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแล้วเป็นสมบัติของทางราชการ ก็เท่ากับว่าทางการยอมรับฝ่ายเดียว สงฆ์ไม่ยินยอมด้วย และเมื่อทางการกดดันคณะสงฆ์ให้ย้ายท่านหรือห้ามท่านมิให้ทำการก่อสร้างต่อไป นั่นคือทางการสร้างอธรรมให้เกิดขึ้นในบ้านเมือง

นอกจากนั้นยังมีสิ่งที่จะต้องตระหนักอย่างเด็ดขาดก็คือ ศาลาหรือสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ ที่ทางการขอขึ้นทะเบียนขอร่วมดูแลนั้น มันไม่มีแล้ว มันถูกรื้อไปแล้ว แล้วเหตุไฉนทางการถึงกับไปทุบอาคารของสงฆ์ที่ท่านสร้างขึ้นมาใหม่ในพื้นดินอันเป็นของสงฆ์ ตามที่ได้วิเคราะห์ให้เห็นในเบื้องต้นแล้วว่า ผืนดิน ณ จุดนั้นเป็นของสงฆ์อย่างแน่นอน ตราบใดที่ทางการยังไม่ออกกฎหมายเวนคืน งานนี้ทางการทำไปเพราะเข้าใจผิด ควรที่จะแก้ไขด้วยการสร้างอาคารใช้แทนสงฆ์เสีย บาปจะน้อยลง ขออย่าไปคิดว่าพระทุกวันนี้ปฏิบัติไม่ดีเลย คงไม่บาปหรอก ขอให้คิดว่า คำว่าสงฆ์ ไม่มีทุศีล สงฆ์ไม่มีชั่ว คำว่าของสงฆ์ คือของอันเป็นสาธารณะส่วนรวม การทำลายของสงฆ์จึงเป็นบาปอย่างหนัก

 :sign0144: :sign0144: :sign0144: :sign0144:

ต่อจากนี้เรามาวิเคราะห์กันว่า เพราะเหตุใดพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสว่า พื้นที่วิหารและตัววิหารที่ชาวบ้านถวายสงฆ์แล้ว ห้ามสงฆ์ไปยกให้คนอื่น แม้จะยกให้แล้วก็ไม่เป็นการยก คือหมายถึงเป็นโมฆะนั่นเอง การวิเคราะห์เรื่องนี้มีหลักการวิเคราะห์ 2 แนวทาง คือ การถวายสิ่งของแด่สงฆ์มีอานิสงส์นับไม่ได้ เป็นประการที่หนึ่ง ประโยชน์ของการถวายสงฆ์แผ่ไปกว้างขวาง ไม่มีเขตจำกัด เป็นประการที่สอง การวิเคราะห์ประเด็นที่หนึ่ง ชาวพุทธเราส่วนใหญ่ก็พอจะทราบกันอยู่แล้วว่า การถวายสงฆ์ เช่น การถวายสังฆทาน เป็นต้น มีอานิสงส์มาก แต่เพื่อให้เห็นพระพุทธวจนะกับตา จึงขอยกหลักฐานคัมภีร์มาอ้างดังต่อไปนี้

ในทักขิณาวิภังคสูตร ซึ่งมาในคัมภีร์มัชฌิมนิกายแห่งพระสุตตันตปิฎก ภาษาไทย หน้า 395 พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า
     ดูกรอานนท์! ในอนาคตจะมีแต่พระภิกษุที่มีผ้ากาสาวพัสตร์พันคอ มีธรรมอันลามก (เพียงห่มผ้าเหลือง ไม่รักษาธรรมวินัย) มนุษย์ทั้งหลายในยุคนั้นจะถวายสังฆทานเฉพาะในภิกษุเหล่านั้น (เพราะหาพระดีไม่ได้ ไม่รู้ตอนนี้ถึงหรือยัง) ดูกรอานนท์! ทักขิณาทานที่ถวายในสงฆ์ดังกล่าวมานั้นมีผลนับไม่ได้ ประมาณไม่ได้


 st11 st11 st11 st11 st11

ในคัมภีร์อรรถกถาชื่อ ปปัญจสูทนี (อ่านว่า ปะปัญจะสูทะนี) ซึ่งเป็นคัมภีร์อธิบายความในทักขิณาวิภังคสูตรนี้ ได้อธิบายเพิ่มเติมว่า ทักขิณาทานที่ถวายสงฆ์ที่มีองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประมุข (ขณะที่พระองค์มีพระชนม์ชีพอยู่) มีผลนับไม่ได้ด้วยคุณฉันใด แม้ทักขิณาทานที่ถวายในสงฆ์ที่มีผ้ากาสาวพัสตร์พันคอ มีธรรมอันลามก ก็มีผลนับไม่ได้ด้วยคุณฉันนั้น ก็การนับไม่ได้ในคัมภีร์นี้อธิบายเพิ่มเติมว่า ทักขิณาทานที่ให้เจาะจงบุคคลหรือเจาะจงพระภิกษุ จะได้ผลน้อยเหมือนน้ำที่อยู่ในเขตจำกัด เช่น น้ำในบึง เป็นต้น แต่ทักขิณาทานที่ถวายแม้ในสงฆ์ที่มีผ้ากาสาวพัสตร์พันคอ มีธรรมอันลามก มีผลมาก นับไม่ได้ เหมือนน้ำในมหาสมุทรฉันนั้น

ดังนั้นแม้การถวายอาราม ซึ่งประกอบไปด้วยที่ดินและกุฏิ วิหาร สำหรับหลบฝนหลบแดดแก่สงฆ์ แม้จะมีเพียงผ้ากาสาวพัสตร์พันคอ ก็มีผลนับไม่ได้ ประดุจน้ำในมหาสมุทรที่นับไม่ได้ฉันนั้น เพราะในการถวายอารามมีแบบแผนคำถวายตายตัวว่า ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอถวายพระอารามนี้แด่สงฆ์ผู้มาแล้วจากทิศทั้ง 4 และแก่สงฆ์ที่ยังไม่มา ฯลฯ การถวายอารามมีผลที่นับไม่ได้อย่างนี้

ดังนั้นเมื่อมีผลทางดีที่นับไม่ได้ การไปขัดขวางหรือทำลายหรือขโมยของสงฆ์จึงมีโทษอันน่าสะพรึงกลัว ด้วยประการฉะนี้

 :96: :96: :96: :96: :96:

การวิเคราะห์ประเด็นที่สอง การสร้างอารามถวายสงฆ์ ผู้ถวายมีเจตนาแผ่กว้าง ไม่จำกัดผู้มาพัก ตามคำถวายว่า มาจากทิศทั้ง 4 และยังสร้างเจตนาหวังไปในอนาคตอีกว่าถวายแก่สงฆ์ที่ยังไม่มาด้วย การมีเจตนาดังกล่าวจึงก่อให้เกิดการคอยท่าหวังว่าผู้มีศีลอื่นๆ จะมาอาศัยหลับนอนหลบฝนหลบแดด เมื่อหวังอย่างนี้จึงเท่ากับว่าพระภิกษุทั่วโลกมาอาศัยได้ นั่นคือเจตนาของการถวายอารามแก่สงฆ์ ขอให้สังเกตให้ดีจะพบว่าวัดทุกวัดนอกจากพระอยู่อาศัยแล้ว ยังมีคนอื่นๆ มาอาศัยนอนได้ชั่วคราว มีคนบ้ามาอาศัยได้ มีคนขอทานมาอาศัยได้ ไม่เพียงแค่นั้น สัตว์เดรัจฉานที่ไม่มีคนเลี้ยงก็ยังได้มาอาศัย เช่น สุนัข แมว ไก่ หมู จนกระทั่งวัวควาย ล้วนได้มาอาศัยหลบฝนเป็นที่หลับนอนอย่างมีความสุข มิใช่จะหลับนอนอย่างมีความสุขภายใต้หลังคาเป็นที่กันแดดกันฝนเท่านั้น

แทบทุกชีวิตได้อาศัยอาหารที่เหลือจากพระต่ออายุต่อชีวิตไป ตราบนานเท่านานที่ยังเป็นของสงฆ์อยู่ แต่เมื่อวันหนึ่งสงฆ์ไปยกให้คนอื่น ซึ่งเป็นชาวบ้าน แผ่นดินตรงนั้น อาคารตรงนั้น จะไม่เป็นที่อาศัยของคณะสงฆ์อีกต่อไป อาคันตุกะทั่วไปมานอนไม่ได้แล้ว คนบ้ามานอนไม่ได้แล้ว คนขอทานมานอนไม่ได้แล้ว สุนัข แมว ไก่ หมู วัวควาย หมดสิทธิมาอาศัยหลับนอนแล้ว แถมหมดแหล่งอาหารมาต่อชีวิตอีกด้วย


 ans1 ans1 ans1 ans1

นี่น่าจะเป็นเหตุผลที่พระพุทธองค์บัญญัติพระวินัยไว้ว่า อาราม อารามวัตถุ วิหาร วิหารวัตถุ อันเป็นของสงฆ์ ห้ามสงฆ์ยกให้ผู้ใด แม้จะยกใหแล้วก็ไม่เป็นการยก ภิกษุรูปใดยก ภิกษุรูปนั้นต้องอาบัติถุลลัจจัย

เพื่อให้เห็นตัวอย่างชัดเจน ขอยกประวัติศาสตร์มาให้ศึกษาดังต่อไปนี้ ในช่วงปลายแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระองค์เสด็จไปประทับ ณ พระราชวังนารายณ์ราชนิเวศณ์ จ.ลพบุรี ทรงพระประชวร เมื่อทรงเห็นว่าพระองค์คงจะมีชีวิตอยู่อีกไม่นาน ทรงเป็นห่วงข้าราชบริพารของพระองค์ จึงทรงยกพระราชวังนารายณ์ราชนิเวศณ์นั้นถวายสงฆ์เพื่อให้พระสงฆ์สมมุติวิสุงคามสีมาแล้ว ทำการอุปสมบทข้าราชบริพารเหล่านั้นเป็นพระภิกษุทั้งหมด ทั้งนี้เพื่อหลบราชภัย

หลังจากนั้นเป็นต้นมา พระเจ้าแผ่นดินองค์อื่นๆ ตลอดสมัยอยุธยาก็ไม่กล้าไปประทับในพระราชวังนั้น เพราะเชื่อกันว่าเป็นสมบัติของสงฆ์ กาลเวลาผ่านมาจนถึงรัชกาลที่ 4 แห่งรัตนโกสินทร์ เพราะพระองค์บวชมานานจึงรู้พระวินัยของพระและรู้ประวัติของพระราชวังองค์นี้ดี จึงทรงให้ทำการแลกเปลี่ยนตามที่พระพุทธองค์อนุญาตเรื่องผาติกรรม

 :25: :25: :25: :25:

โดยเริ่มต้นพระองค์แจ้งให้คณะสงฆ์ทราบว่า พระองค์ขอแลกเอาพระราชวังคืนแล้วสร้างวัดใหม่ถวายเป็นการแลกเปลี่ยนกัน พระสงฆ์ตกลงตามที่พระวินัยอนุญาตให้มีการแลกเปลี่ยนได้ในราคาที่พอๆ กัน พระองค์จึงสร้างวัดถวายหนึ่งวัดชื่อวัดราชผาติการาม จากนั้นพระองค์ก็ให้ทำการปฏิสังขรณ์พระราชวังขึ้นใหม่ แล้วทรงตั้งนามใหม่ว่าพระนารายณ์ราชนิเวศน์

ขอให้เราดูสภาพของพระราชวังนารายณ์ราชนิเวศณ์ปัจจุบัน จะพบว่าสถานที่นั้นไม่เป็นของสาธารณะอีกต่อไป พระไปอาศัยไม่ได้ คนบ้าไปนอนไม่ได้ คนขอทานไปนอนไม่ได้ สุนัข แมว ไก่ วัวควายไปอาศัยไม่ได้ นี่น่าจะเป็นสาเหตุให้พระพุทธองค์บัญญัติวินัยว่า อาราม อารามวัตถุ วิหาร วิหารวัตถุ ห้ามสงฆ์ยกใหผู้ใด แม้จะยกแล้วก็ไม่เป็นการยก

การยกพระนารายณ์ราชนิเวศณ์มาเป็นตัวอย่างจะไม่ชัดนักเพราะไม่ใช่วัด แต่เพราะไม่มีตัวอย่างที่จะยก จึงขอยกพระราชวังนี้มาเปรียบเทียบ คือถ้าพระราชวังนั้นเคยเป็นวัดมาก่อน เคยเป็นสถานที่สาธารณะ เคยเป็นที่อาศัยของคนและสัตว์ทั่วไป เคยเป็นแหล่งอาหารมาก่อน แต่เมื่อทุกวันนี้มิได้เป็นของสงฆ์แล้ว สภาพถูกจำกัด คนและสัตว์เข้าไปอาศัยไม่ได้แล้ว เหตุนี้น่าจะเป็นเหตุให้พระพุทธองค์ บัญญัติพระวินัยว่าอาราม อารามวัตถุ วิหาร วิหารวัตถุ ห้ามสงฆ์ยกให้ผู้ใด แม้จะยกให้แล้วก็ไม่เป็นการยก


 st12 st12 st12 st12

เพื่อให้ชาวพุทธทั่วไปได้รู้แนวปฏิบัติในการที่จะเอาที่ดินอันเป็นของสงฆ์มาทำประโยชน์สาธารณะมีวิธีปฏิบัติดังต่อไปนี้เพราะพระพุทธองค์ทรงบัญญัติพระวินัยให้สงฆ์ทำการแลกเปลี่ยนได้ระหว่างของสงฆ์กับของชาวบ้าน โดยเรียกว่าทำผาติกรรม

คำว่า ผาติกรรม แปลว่า ทำการแลกเปลี่ยน สงฆ์ในวัดนั้นเท่านั้นจะเป็นผู้ตัดสินใจ ไม่ใช่กรรมการวัดหรือคนนอกวัด การแลกเปลี่ยนระหว่างของสงฆ์กับชาวบ้านต้องมีราคาเหมาะสมกัน แต่เพราะเหตุการณ์นี้ไม่ค่อยจะปรากฏ จะมีปรากฏเฉพาะทางราชการจะนำผืนดินของสงฆ์บางจุดไปทำประโยชน์แก่ประชาชน ทางราชการจะมาขอผืนดินจุดนั้นจากสงฆ์ พระสงฆ์ท่านก็ให้ไม่ได้ ถ้าทางราชการถือว่ามีอำนาจแล้วขับไล่พระออกจากวัดนั้น พระท่านก็คงออกไปอย่างว่านอนสอนง่าย แต่เพราะเมืองไทยนับถือพระพุทธศาสนา ทางราชการจึงไม่ไปขอ แต่ไปขอแลกเปลี่ยนกันพระสงฆ์ท่านก็จะคุยด้วย เมื่อตกลงกันแล้ว ทางการต้องออกพระราชกฤษฎีกา หรือ พ.ร.บ.เวนคืนผืนดินจุดนั้นจึงจะสำเร็จ ขอยกตัวอย่างล่าสุดที่ทางราชการขอแลกเปลี่ยนวัดทั้งวัดมาทำท่าเรือให้แก่ที่ทำการชลประทาน แต่ทางราชการต้องสร้างวัดให้ใหม่ในราคาที่เสมอกัน

 :25: :25: :25: :25:

เหตุการณ์ดังกล่าวมานี้เกิดขึ้นประมาณปี พ.ศ.2496 เรื่องมีอยู่ว่า กรมชลประทานต้องสร้างโรงงานซ่อมบำรุง อู่เรือ คลังพัสดุ และโรงงานซ่อมสร้างเครื่องมือต่างๆ รัฐบาลจึงได้ออกพระราชบัญญัติเวนคืนที่ดิน ต.บางตลาด อ.ปากเกร็ด และบริเวณ ต.ท่าทราย อ.เมือง จ.นนทบุรี เผอิญที่ดินบริเวณนี้เป็นที่ตั้งของวัดเชิงท่าและวัดหน้าโบสถ์ กรมชลประทานจึงเจรจากับคณะสงฆ์ขอแลกเปลี่ยนที่ดินของวัดทั้งสอง ด้วยการสร้างวัดให้ใหม่ในที่ดินจำนวน 49 ไร่ 2 งาน 39 ตารางวา วัดที่ทางการสร้างเพื่อแลกกับวัดทั้งสองคือ วัดชลประทานรังสฤษดิ์ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี ที่ชาวพุทธรู้จักกันดีนั่นเอง

นี่คือตัวอย่างที่ยกมาให้เห็นว่า ที่อันเป็นธรณีสงฆ์ สงฆ์ไม่อาจยกให้ผู้ใดได้ นอกจากทำการแลกเปลี่ยนในราคาเหมาะสมกันเท่านั้น ในกรณีอย่างนี้สงฆ์มีอำนาจโอนที่ของวัดทั้งสองให้ทางการได้เลย แต่เพื่อความรอบคอบ รัฐบาลจึงออกกฎหมายเวนคืนวัดทั้งสองอีกชั้นหนึ่ง ในบทความเรื่องนี้ได้ยกพระวินัยปิฎกขึ้นมาเป็นที่อ้างอิง เพื่อให้เห็นหลักฐานที่เป็นพระวินัยที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้ให้พระภิกษุปฏิบัติและถือเป็นแบบแผน แต่สำหรับผู้ไม่มีพระวินัยปิฎกก็สามารถหาอ่านได้ในวินัยมุข เล่ม 2 ที่รจนาโดยสมเด็จพระมหาสมณ เจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส แต่พระวินัยส่วนนี้เป็นพระวินัยที่มานอกพระปาฏิโมกข์ พระสงฆ์ท่านจึงไม่ได้นำมาสวดเหมือนพระวินัยที่มาในพระปาฏิโมกข์ที่ท่านต้องมาร่วมฟังทุกกึ่งเดือน

ดังนั้นพอมีเรื่องเกิดขึ้น ท่านจึงนึกไม่ถึงเพราะไม่เคยได้ไปทบทวนเลยนับจากที่ได้สอบผ่านมาแล้วหลายสิบปี ขอพระคุณเจ้าทบทวนบ้างเถอะครับ


มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 1 พ.ย. 2558
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1446379727
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 02, 2015, 08:24:39 pm โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ปัญหาวัดกัลยาณมิตร
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2015, 06:29:08 am »
0
อีก 51 ปี ก็ไม่ต้องเถียงกันแล้ว เรื่องนี้

    ;)
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

Akira

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 653
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ปัญหาวัดกัลยาณมิตร
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2015, 09:34:58 am »
0
 :smiley_confused1: :smiley_confused1: :smiley_confused1:
บันทึกการเข้า
เครดิต ยายกบ มาศึกษาธรรมะจ้า แก๊งค์ อ๊บ อ๊บ