ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: หวั่นปีนี้น้ำท่วมสูง-นานกว่าเดิม ( น่าอ่าน )  (อ่าน 1687 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

The-ring

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 116
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
“รอยล” เผยสถานการณ์น้ำล่าสุด ปริมาณฝนยังไม่น่าห่วง แต่กังวลคันกั้นน้ำภาคกลาง ทำท่วมนานและสูงกว่าเดิม



เมื่อวันที่ 18 มิ.ย. ที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(วท.) มีการลงนามร่วมกันระหว่างกระทรวงวิทยาศาสตร์ ฯ กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.) ในการพัฒนาเทคโนโลยีในการสำรวจ วิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลด้านการจัดการทรัพยากรน้ำและภูมิอากาศ  เพื่อรับมือกับปัญหาอุทกภัย

ดร.พรชัย  รุจิประภา ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ กล่าวว่า การจัดทำข้อมูลเรื่องน้ำ ถือว่าสำคัญมากในสถานการณ์ปัจจุบัน เพราะจะทำให้เกิดเอกภาพในการดำเนินงานรับมือกับน้ำท่วมให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน  แม้ข้อมูลที่ได้จะไม่สามารถทำนายเรื่องน้ำไม่ถูกทั้ง100% แต่จะช่วยในการบริหารจัดการได้ในระดับหนึ่ง  เนื่องจากปัจจุบันสภาพภูมิประเทศของไทยเปลี่ยนไป  พื้นที่คลอง อาจกลายเป็นถนน ทำให้พื้นที่รับน้ำ หายไปกว่าครึ่ง ดังนั้นข้อมูลจะเป็นเครื่องมือสำคัญ ในการบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

ด้าน ดร.รอยล  จิตรดอน ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน)หรือ  สสนก. เปิดเผยว่า สถานการณ์น้ำขณะนี้ฝนจะเริ่มน้อยลง  โดยเว้นช่วง 1-2 วัน (19-20 มิย.) ทำให้สามารถระบายน้ำได้  โดยเฉพาะที่เขื่อนสิริกิติ์  ที่จะเริ่มปล่อยน้ำประมาณ 17 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน ขณะที่เขื่อนภูมิพลมีการระบายน้ำประมาณ 8 ล้านลูกบาศก์ต่อวัน ทั้งนี้สาเหตุที่เขื่อนสิริกิติ์มีน้ำค่อนข้างมากในช่วงที่ผ่านมา เพราะอิทธิพลของลมตะวันออกเฉียงเหนือ  ทำให้ต้องปรับแผนการระบายจากเดิม 32 ล้านลูกบาศก์เมตรเป็น 17 ล้านลูกบาศก์เมตร  และใช้แม่น้ำน่านเป็นตัวช่วยระบายน้ำเพื่อลดปัญหาน้ำท่วมที่สุโขทัย

ดร.รอยล  กล่าวว่า การที่มีน้ำท่วมเอ่อล้นตลิ่งที่ภาคเหนือตอนล่าง ถือว่าค่อนข้างผิดฤดู แต่สามารถรู้ล่วงหน้าทำให้สามารถระบายได้ทัน  และหากเกิดฝนตกเต็มที่  จะใช้วิธีพร่องน้ำเป็นหลัก  โดยเฉพาะกับพื้นที่ในลุ่มน้ำยมและน่านเพื่อรองรับน้ำต่อไป และจะมีการประเมินสถานการณ์อีกครั้งในช่วงปลายเดือน กค.นี้   ซึ่งคาดว่าฝนจะไม่ทิ้งช่วงในเดือนดังกล่าว  ทำให้ปีนี้มีปริมาณฝนค่อนข้างมาก หรือประมาณ 1,500 มิลลิเมตร  แต่ก็ยังน้อยกว่าปี 2554  ที่มีฝนมากถึง  1,800 มิลลิเมตร

ทั้งนี้มองว่า ปีนี้แม้ปริมาณฝนจะไม่มากจนน่าเป็นห่วง แต่ก็ไม่ทิ้งช่วงทำให้มีปริมาณน้ำมาก และด้วยฝนที่ปริมาณ 1,500  มิลลิเมตร ก็สามารถทำให้เกิดน้ำท่วมได้ โดยเฉพาะในบริเวณที่เสี่ยงมาก ๆ หรือบริเวณที่น้ำท่วมซ้ำซาก แต่อย่างไรก็ดี ยังมีเวลาระบายน้ำตั้งแต่ปลาย กค.- ต้นสค. ก่อนที่น้ำทะเลจะหนุน

“สิ่งที่น่าเป็นห่วงในขณะนี้ก็คือ ฝนตกในภาคกลางซึ่งเป็นพื้นที่กลางน้ำ  หากตกมากน้ำก็จะมากด้วย  นอกจากนี้ยังมีเรื่องคั้นกั้นน้ำ  ที่ปัจจุบันมีการสร้างกั้นน้ำ ไม่ให้น้ำไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาเป็นจำนวนมาก ซึ่งจากการคำนวณ ที่ระดับความสามารถเท่าเดิม เหมือนปี 2554 ที่ จ. ปทุมธานี หากปีที่แล้วน้ำท่วมสูง  2.8 - 2.9 เมตร  ถ้ามีการสร้างคันบล็อกน้ำตลอดแนวเจ้าพระยาเกิดขึ้น  จะทำให้มีปริมาณน้ำสูงขึ้นถึง  3.5 เมตรทีเดียว และน้ำจะระบายได้ช้าลง หรือทำให้น้ำท่วมนานขึ้น ขณะเดียวกัน ก็จะเกิดเหตุการณ์คันกั้นน้ำพังมากขึ้นอีกด้วย ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง” ดร.รอยล กล่าว

สำหรับความร่วมมือของกระทรวงวิทยาศาสตร์ ฯ และ3 สถาบันการศึกษา  ในส่วนกระทรวงวิทยาศาสตร์ ฯ  สสนก.  จะดำเนินการพัฒนาฐานข้อมูลด้านทรัพยากรน้ำและภูมิอากาศ ระบบวิเคราะห์และประมวลข้อมูล และพัฒนาแบบจำลองน้ำและสภาพอากาศ   ส่วนกรมวิทยาศาสตร์บริการ  จะร่วมพัฒนาอุปกรณ์ช่วยในการสำรวจข้อมูลระดับท้องน้ำ แม่น้ำ คู คลอง ด้วยเทคโนโลยีหุ่นยนต์ภาคสนาม ส่วนมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จะพัฒนาระบบตรวจวัดลักษณะทางอุตุนิยมวิทยา และใช้ภาพถ่ายจากดาวเทียมเอสเอ็มเอ็มเอส ในการสำรวจข้อมูลทางอากาศต่าง ๆ  ด้านมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) จัดสร้างอากาศยานไร้นักบิน หรือเครื่องบินยูเอวี   สำหรับถ่ายภาพทางอากาศ และพัฒนาระบบหุ่นยนต์เพิ่มเติม เพื่อติดตั้งที่ประตูระบายน้ำที่ปิด-เปิดอัตโนมัติ  สำหรับเก็บข้อมูล  และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จะพัฒนาระบบสำรวจ ความลึกของคูคลองต่าง ๆ  ด้วยหุ่นยนต์ใต้น้ำ

ขอบคุณข่าวจาก
http://www.dailynews.co.th/technology/120332
บันทึกการเข้า

นัยนา

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 191
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
รมว.วิทยาศาสตร์ฯ เผยการลงพื้นที่ของนายกฯ เตรียมความพร้อมแก้ปัญหาน้ำท่วม 6 จังหวัด ชมแก้มลิงใหญ่ที่สุดในประเทศ สั่งผู้ว่าฯ จังหวัดแก้มลิงทำงานร่วมกัน เผยเน้นย้ำทุกจังหวัดทำตามปฏิทินน้ำ โครงการขุดคลองให้เสร็จใน ก.ค. ยันนายกฯ สบายมาก ประเมินน้ำหลากสูงสุด 2.8 หมื่นล้าน ลบ.ม.

วันนี้ (13 มิ.ย.) ที่จังหวัดชัยนาท นายปลอดประสพ สุรัสวดี รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในฐานะประธาน กบอ. แถลงความคืบหน้าการลงพื้นที่ของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและคณะว่า เป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัยพื้นที่กลางน้ำ 6 จังหวัด ประกอบด้วย กำแพงเพชร พิษณุโลก พิจิตร นครสวรรค์ อุทัยธานี และชัยนาท โดยนายกฯ ได้ลงไปในพื้นที่แก้มลิงที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ ซึ่งมีพื้นที่ 200,000 ไร่ ที่ประตูระบายน้ำลำชวด ต.พระงาม อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี ซึ่งจะสามารถรับปริมาณน้ำได้ 10 เปอรเซ็นต์ จากปริมาณที่จะเข้าในพื้นที่ 5 พันล้าน ลบ.ม โดยนายกฯ ได้สั่งผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สิงห์บุรี ชัยนาท ซึ่งเป็นพื้นที่ครอบคลุมแก้มลิงให้ทำงานร่วมกัน โดยมีผู้ตรวจการกระทรวงมหาดไทยของจังหวัดเป็นผู้กำกับ อีกทั้งจุดผันน้ำเป็นจุดใหญ่จึงต้องเร่งประชาชนให้เก็บเกี่ยวก่อนที่น้ำจะมา นอกจากนี้ บางพื้นที่มีถนนที่มีความสูงต่ำไม่เท่ากัน ต้องมีการปรับปรุงพื้นที่ให้มีระดับความสูงต่ำเท่าเทียมกัน เพื่อให้การรับน้ำมีประสิทธิภาพ

นายปลอดประสพกล่าวต่อว่า วันนี้นายกฯ ได้เน้นในที่ประชุม 5 เรื่อง คือ ย้ำให้ทุกจังหวัดปฏิบัติตามปฏิทินน้ำ ทั้งสิ่งก่อสร้างเพื่อรองรับน้ำ การขุดลอกคูคลองให้แล้วเสร็จภายในเดือน ก.ค ซึ่งทุกจังหวัดต้องทำให้เสร็จ ซึ่งเพื่อให้ทุกอย่างเสร็จในเดือน ก.ค.ให้กระทรวงมหาดไทย ปรับสัญญาการทำงานให้เร็วขึ้น ส่วนบางบริษัทที่มีเครื่องมือการปฎิบัติงานไม่เพียงพอ ก็ให้หน่วยงานเข้าไปดูแลตามสัณญา ส่วนนายกฯ มีความกังวลในพื้นที่ อ.เมืองฯ จ.นครสวรรค์ และ อ.เมืองฯ จ.อุทัยธานี ที่เป็นพื้นที่ป้องกันน้ำสำคัญว่ามีการดำเนินสร้างเท่าไหร่แล้ว และให้จังหวัดพื้นที่กลางน้ำ ต้องไม่มีสิ่งกีดขวาง เพื่อให้น้ำโรยตัวลงที่ต่ำ หากจังหวัดใดปฎิบัติงานเสร็จไม่ทันเดือน ก.ค.ก็จะยกเลิกสัญญา และให้หน่วยงานใหม่เข้าใปทำแทน ซึ่งการบริหารจัดน้ำรวมทั้งหมดเป็นระบบคอมมานด์เซ็นเตอร์ ตนขอยืนยันว่านายกฯ สบายขึ้นมากและพร้อมที่จะเผชิญหากมีพายุหรือน้ำท่วมอีกครั้ง ซึ่งจากการประเมินปริมาณน้ำสูงสุดปีนี้อยู่ที่ 2.8 หมื่นล้าน ลบ.ม. และตนเชื่อว่าจะรับมือได้
บันทึกการเข้า