ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 10
 11 
 เมื่อ: พฤษภาคม 18, 2024, 06:27:35 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.



ประวัติ “ข้าวมธุปายาส” อาหารที่เกี่ยวข้องกับวันวิสาขบูชา

รู้ประวัติ “ข้าวมธุปายาส” อาหารที่นางสุชาดาถวายพระพุทธเจ้าก่อนตรัสรู้ แม้จะมีเรื่องแก้บนมาเกี่ยว แต่ได้กลายเป็นประเพณีสืบทอดมาถึงปัจจุบัน

อาหารหนึ่งชนิดที่เกี่ยวพันกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จนกลายเป็นประเพณีที่ผู้คนมักทำถวายในเทศกาลสำคัญ ที่เราอยากพามารู้จักในวันวิสาขบูชา ซึ่งตรงกับวันที่ 22 พฤษภาคม 2567 คือ “ข้าวมธุปายาส” แต่ทำไมถึงต้อง “ข้าวมธุปายาส” วันนี้ทีมข่าวพีพีทีวีจึงได้รวบรวมข้อมูลมาให้ทุกคนได้รู้กัน

@@@@@@@

ประวัติข้าวมธุปายาส

“ข้าวมธุปายาส” นั้นมีจุดเริ่มต้นมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล คือตอนที่พระพุทธเจ้าจะตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในวันเดือนเพ็ญวิสาขะหรือวันเพ็ญเดือนหก

พระองค์ได้รับข้าวหุงด้วยน้ำผึ้ง น้ำอ้อย จากนางสุชาดา ภรรยาของคฤหบดีเมืองมคธนำมาถวายเพื่อการบูชาเทพยดา ณ ต้นโพธิพฤกษ์

โดยมีความเป็นมาเกิดขึ้นเมื่อครั้นวันหนึ่ง ภรรยาของคฤหบดีในเมืองราชคฤห์ ปรารถนาอยากได้บุตรชายไว้สืบสกุลสักคน เพราะแต่งงานหลายปีแล้วยังไม่มีบุตร เมื่อนางและภรรยาพากันไปอาบน้ำในแม่น้ำเนรัญชราได้เดินผ่านต้นศรีมหาโพธิพฤกษ์ ซึ่งเป็นต้นขนาดใหญ่แตกกิ่งก้านสาขากว้างร่มใบหนา ใต้ร่มมีทรายขาวสะอาด ประดุจเงินดูแล้วน่านั่งนอนใต้ต้นไม้มาก

นางจึงมีความคิดว่าต้นไม้นี้น่าจะมีเทพารักษ์สิงสถิตอยู่แน่นอน เมื่อคิดดังนั้นนางจึงเข้าไปกราบที่โคนต้นไม้ แล้วพูดว่า “ข้าแด่เทพเจ้าผู้ศักดิ์สิทธิ์มีมหิทธิฤทธิ์ ผู้สิงสถิตอยู่ ณ ต้นไม้นี้ ดิฉันขอความกรุณาจากท่านช่วยดลบันดาลให้มีบุตรสักคนเถิด เพื่อจะให้เขาสืบสกุลต่อไป ข้าแต่เทวะหากท่านให้ดิฉันสมปรารถนาแล้ว ดิฉันจะนำเอาข้าวมธุปายาสมาแก้บนสังเวยท่านเป็นสัจกิริยา”

เมื่อนางอธิษฐานเสร็จ กลับไปอยู่กับสามีไม่นานก็ตั้งครรภ์  เมื่อครบกำหนดนางก็คลอดลูกเป็นผู้ชายมีลักษณะงดงามสมส่วนตามลักษณะผู้มีบุญ เมื่อคลอดลูกโดยสวัสดิภาพและมีความสมบูรณ์อย่างนี้ นางสุชาดารำลึกถึงคำอธิษฐานที่นางได้ขอกับเทพยดา จึงทำการหุงข้าวมธุปายาส ซึ่งประกอบด้วย ข้าว ถั่ว งา น้ำตาล น้ำผึ้ง มะพร้าว เป็นต้น ทำอย่างประณีตแล้วใส่ถาดทองประดับด้วยดอกไม้อย่างสวยงามเดินทางออกจากบ้านพร้อมด้วยทาสีมุ่งสู่ต้นโพธิพฤกษ์

ขณะนั้นพระพุทธเจ้ามีดำริว่าจะบำเพ็ญเพื่อการตรัสรู้ ณ ต้นโพธิพฤกษ์และประทับนั่งโคนต้นไม้หันพระพักตร์สู่ทิศตะวันออก นางสุชาดาและนางทาสีมาถึงได้พบพระพุทธเจ้าครั้งแรกเข้าใจว่าเป็นรุกขเทพเจ้าจำแลงเพศ เกิดความเลื่อมใสจึงน้อมถาดข้าวมธุปายาสเข้าไปถวายแก้สัจกิริยาท่านได้บนบานไว้ พระพุทธเจ้าจึงตรัสขอบคุณต่อนาง และบอกแก่นางว่าพระองค์ท่านมิได้เป็นเทพยดา แต่เป็นมนุษย์คือเป็นกษัตริย์แห่งเมืองกบิลพัสดุ์ออกผนวช เพื่อแสวงหาสัจธรรม นางสุชาดาทราบเรื่องแล้ว ก็กราบถวายบังคมลากลับบ้านเรือนของตน

หลังจากนั้นพระพุทธเจ้าทรงนำเอาข้าวจากถาดมาทรงทำเป็นก้อนๆ นับจำนวนได้ 49 ก้อน ให้เป็นเครื่องรำลึกถึงวันที่ทรงบำเพ็ญทุกกิริยา เสวยข้าวมธุปายาส 49 ก้อนนั้นหมดแล้ว ทรงนำถาดไปทรงอธิฐานในแม่น้ำเนรัญชรา และทรงอธิฐานว่าถ้าหากพระองค์จะได้ตรัสรู้ก็ขอให้ถาดทองนั้นลอยทวนน้ำขึ้นไป

เมื่อพระองค์ทรงวางถาดลงในน้ำ ก็ปรากฏว่า ถาดทองลอยทวนน้ำขึ้นเหนือน้ำดังคำอธิฐาน ซึ่งพระองค์ทรงถือว่าภัตตาหารมื้อนั้นได้มีส่วนทำให้พระองค์ตรัสรู้อริยสัจ 4 บรรลุอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ

ด้วยรำลึกถึงพระพุทธองค์และเหตุการณ์สำคัญนี้ พุทธศาสนิกชนจึงนิยมทำข้าวมธุปายาสในวันวิสาขบูชา เกิดเป็น “ประเพณีกวนข้าวมธุปายาส” หรือที่คนไทยนิยมเรียกกันคุ้นหูว่า “ประเพณีกวนข้าวทิพย์” โดยเชื่อกันว่าการได้ถวายเป็นพุทธบูชาจะนำความสุขสวัสดีและบุญกุศลแก่ตน



ข้าวมธุปายาส


“ข้าวมธุปายาส” ความหมายเดียวเรียกได้หลายชื่อ

ข้าวมธุปายาสมีชื่อหลายชื่อที่นิยมเรียกกัน แตกต่างกันในท้องถิ่นและประเทศต่างๆ ส่วนมากปรากฏชื่อคือ

    • ข้าวมธุปายาส - ข้าวหุง หรือกวนด้วยน้ำผึ้ง
    • ข้าวยาคู - ข้าวต้มที่ใส่เกลือและน้ำตาล ทำเป็นชนิดเค็มและชนิดหวาน
    • ข้าววิตู - ข้าวกวนด้วยน้ำอ้อย น้ำตาล ถั่วงา ทำเป็นผงและก้อน
    • ข้าวกระยาสารท - ข้าวกวนด้วย น้ำตาล น้ำอ้อย น้ำผึ้ง ถั่วงา แปะแซ ทำเป็นก้อน เป็นแผ่น นิยมมีในงานเทศกาลอุทิศส่วนกุศลแก่บรรพชนในประเพณีเดือน 10 ของภาคกลาง
    • ข้าวกระยาทิพย์/ข้าวทิพย์ - ข้าวที่กวนด้วยพิธีกรรม ใส่น้ำตาล น้ำอ้อย น้ำผึ้ง ถั่วงา น้ำนม ทำให้เป็นก้อนโดยให้หญิงพรหมจารีกวน ถือว่าเป็นข้าวศักดิสิทธิ์ ใครได้รับประทานย่อมจะหายจากโรคภัยไข้เจ็บและมีความสุขสวัสดีตลอดไป
    • ข้าวซอมต่อหลวง - ข้าวมธุปายาสของชาวไทยใหญ่ นิยมกวนข้าวนี้เมื่อเดือนยี่เหนือถวายพระพุทธในตอนเช้ามืด เรียกว่า “ต่างซอมต่อหลวง”
    • ข้าวพระเจ้าหลวง - การเรียกชื่อข้าวมธุปายาสของชาวภาคเหนือ นิยมถวายในคราวเทศกาลใหญ่ๆ เช่น เดือนยี่เป็ง เดือนสี่เป็ง เดือนแปดเป็ง เป็นต้น โดยมากจะกวนข้าวในรั้วราชวัตรและให้หญิงพรหมจารี หรือผู้หญิงที่หมดประจำเดือนแล้วถือศีลห้า ถึงศีลแปดเป็นผู้กวนในพิธีนั้น ถวายพระพุทธตอนเช้า เรียกว่าใส่บาตรข้าวพระเจ้าหลวง

@@@@@@@

ความสำคัญของการถวายข้าวมธุปายาส

การถวายข้าวมธุปายาส มีความสำคัญดังนี้

    • เป็นการปฏิบัติตามพุทธประเพณี
    • เป็นการบูชาพระเจ้าในวันเพ็ญเดือนยี่ เดือนสี่และวิสาขบูชา
    • เป็นการรำลึกถึงวันตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
    • เป็นการสร้างสามัคคีในกลุ่มชน เนื่องจากมีการประกอบพิธีกรรมด้วย
    • เป็นการเรียนรู้ในการทำขนมหรือข้าวมธุปายาส
    • เป็นการถวายผลิตผลที่คนในท้องถิ่นช่วยกันสร้างขึ้นมา
    • เป็นการอนุรักษ์ประเพณีและศิลปะที่บรรพบุรุษสร้างไว้ยืนยงอยู่ตลอดไป



รูปภาพพระ เนื่องในวันวิสาขบูชา


ข้าวมธุปายาสถวายเป็นพุทธบูชาได้เมื่อไร

ในประเทศไทยนอกเหนือจากวันวิสาขบูชาข้าวมธุปายาสยังนิยมถวายในงานเทศกาลสำคัญๆ หลายคราวด้วยกัน คือ
          1. ประพฤติยี่เป็ง
          2. ประเพณีเดือนสี่
          3. ประเพณีปอยหลวง

ทำไมต้องมีประเพณีข้าวมธุปายาส

ในงานประเพณีสำคัญๆ ชาวบ้านหลายชุมชนจะนิยมกวนข้าวมธุปายาสเพื่อสร้างเสริมศรัทธาแก่ประชาชนผู้มาร่วมงาน และทางวัดจะนิยมแจกจ่ายข้าวมธุปายาสแก่ประชาชนอย่างทั่วถึงกัน เพื่อสร้างความสุขสวัสดีและความสามัคคีให้เกิดในกลุ่มชนด้วย

ข้าวมธุปายาสจึงถือเป็นเครื่องระลึกถึงการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หนึ่งในเหตุการณ์สำคัญของวันวิสาขบูชา ด้วยเหตุนี้ในช่วงใกล้เทศกาลดังกล่าวจึงอยากชวนให้ทุกคนระลึกถึงไปพร้อมกัน






ขอขอบคุณ :-
ข้อมูลจาก : สำนักงานวัฒนธรรม จังหวัดลำปาง และ มหาลัยราชภัฏเทพสตรี
URL : https://www.pptvhd36.com/news/ไลฟ์สไตล์/223760
โดย PPTV Online | เผยแพร่ 15 พ.ค. 2567 ,10:24น.

 12 
 เมื่อ: พฤษภาคม 18, 2024, 06:08:11 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.



ส่งคืน “โกลเด้นบอย” สมบัติชาติ ถึงไทย 20 พ.ค. 67 หลังถูกลักลอบขายต่างประเทศ

“โกลเด้นบอย” (Golden Boy) ประติมากรรมสัมฤทธิ์ อายุราว 900-1,000 ปี ในพิพิธภัณฑ์ฯ สหรัฐอเมริกา ส่งคืนถึงไทย วันจันทร์ที่ 20 พ.ค. นี้ ที่สนามบินสุวรรณภูมิ หลังทีมงานคนไทยใช้เวลาทวงคืนมายาวนาน พร้อมจัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑสถานพระนคร “กรมศิลปากร” เตรียมระดมผู้เชี่ยวชาญศึกษาเพิ่ม เพราะเป็นความรู้ใหม่ประวัติศาสตร์ไทย



นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า “โกลเด้นบอย” (Golden Boy) และโบราณวัตถุอีก 1 ชิ้น ที่จัดแสดงอยู่ใน The Metropolitan Museum of Art หรือ The MET ประเทศสหรัฐอเมริกา จะส่งคืนให้ไทย วันจันทร์ที่ 20 พ.ค. 67 ณ สนามบินสุวรรณภูมิ และจะมีกระบวนการผ่านการตรวจสอบของกรมศุลกากร จากนั้นจะนำมาที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพฯ



จากนั้นจะมีการแถลงข่าวในวันอังคารที่ 21 พ.ค. 67 ถึงความสำเร็จในการนำโบราณวัตถุชิ้นสำคัญกลับคืนมาจากต่างประเทศได้ และมีการให้ความรู้กับประชาชน หลังจากนั้น “โกลเด้นบอย” (Golden Boy) และโบราณวัตถุอีก 1 ชิ้น จะเปิดจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพฯ

โบราณวัตถุทั้ง 2 ชิ้น เมื่อสหรัฐฯ ส่งคืนมายังไทยแล้ว ยังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมอีกหลายเรื่อง โดยเฉพาะ “โกลเด้นบอย” (Golden Boy) จะเป็นความรู้ใหม่ทางวิชาการของไทย จึงต้องศึกษาทั้งส่วนผสม กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการหล่อและขึ้นรูปแบบโบราณ




ทั้งนี้ จากข้อมูลเดิมระบุว่า (Golden Boy) ประติมากรรมสัมฤทธิ์ มีอายุราว 900-1,000 ปี พิพิธภัณฑ์ฯ ในสหรัฐอเมริกา ที่ส่งคืนไทย ถือเป็นจิ๊กซอว์ประวัติศาสตร์สำคัญของ “พระเจ้าชัยวรมันที่ 6” เชื่อมโยงกับพื้นที่ราบสูงโคราช แต่การทวงคืนครั้งนี้เกือบจะหลุดมือ โชคดีที่นักโบราณคดีไทยไปเจอชุมชนที่ขุดค้นพบ ชี้รอยตำหนิสำคัญ ทำให้อเมริกายอมส่งคืนไทย ถือเป็นโบราณวัตถุสำคัญในการทวงคืนชิ้นอื่นๆ ที่ถูกขโมยไป

สอดคล้องกับข้อมูลที่ไทยรัฐออนไลน์ เคยสัมภาษณ์ ดร.ทนงศักดิ์ หาญวงษ์ นักวิชาการอิสระผู้เชี่ยวชาญด้านโบราณคดี หนึ่งในทีมติดตามทวงคืนวัตถุโบราณ กล่าวว่า โบราณวัตถุ 2 ชิ้น ที่ The Metropolitan Museum of Art หรือ The MET ประเทศสหรัฐอเมริกา ส่งคืนให้ไทย เกือบไม่ได้คืน เนื่องจากหาหลักฐานไปยืนยันไม่ได้ในช่วงแรก ขณะที่กัมพูชามีคณะทำงานทวงคืนที่ติดตามอยู่ตลอด เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงได้นำเสนอกับกรมศิลปากร และได้มอบหมายให้ลงพื้นที่ไปหาข้อมูลนำไปยืนยันกับสหรัฐอเมริกา




ประติมากรรมสัมฤทธิ์ที่รู้จักในชื่อ Golden Boy มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 16 หรือประมาณ 900-1,000 ปี มีความสูง 129 ซม. เป็นวัตถุโบราณชิ้นสำคัญที่กัมพูชาพยายามนำหลักฐานมายืนยันกับสหรัฐอเมริกา เพราะเป็นวัตถุโบราณที่มีความงดงาม แต่ไทยก็หาหลักฐานไปยืนยันจนพบว่าเคยมีการขุดค้นพบ Golden Boy อยู่ในปราสาทโบราณ กลางชุมชนบ้านยางโป่งสะเดา อ.ละหานทราย จ.บุรีรัมย์ ซึ่งชาวบ้านในพื้นที่เมื่อเห็นรูปภาพ ก็ระบุชัดเจนว่ามีครอบครัวหนึ่งในชุมชนเป็นผู้ขุดค้นพบเมื่อปี 2518




จากนั้นได้ขายประติมากรรมสัมฤทธิ์ Golden Boy ให้กับพ่อค้าวัตถุโบราณชาวต่างชาติ ราคา 1 ล้านบาท หลังขายได้ช่วงปี 2518 ทั้งหมู่บ้านจัดงานฉลองใหญ่ 3 วัน 3 คืน สิ่งนี้ทำให้มีพยานบุคคลในหมู่บ้านที่เกิดทันยุคนั้น ระบุได้ถึงการขายโบราณวัตถุดังกล่าว ดังนั้นเรื่องเล่านี้ทำให้คนในหมู่บ้านจำได้แม่น

                                           




Thank to : https://www.thairath.co.th/scoop/theissue/2786363
17 พ.ค. 2567 , 12:09 น. | สกู๊ปไทยรัฐ > THE ISSUE > ไทยรัฐออนไลน์
บทความโดย : ไทยรัฐออนไลน์ / ทีมข่าวเจาะประเด็น

 13 
 เมื่อ: พฤษภาคม 18, 2024, 05:58:36 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.



อุตรดิตถ์จัดงานประเพณี "อัฏฐมีบูชา" ครั้งที่ 69 ที่วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง

จ.อุตรดิตถ์ จัดงานประเพณี "อัฏฐมีบูชา" หนึ่งเดียวในโลกแห่งแรกในไทย ครั้งที่ 69 เป็นประเพณีสำคัญของจังหวัด ที่จัดช่วงสัปดาห์วิสาขบูชา รวมระยะเวลา 9 วัน 9 คืน เพื่อน้อมรำลึกถึงองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ระหว่างวันที่ 22-30 พ.ค. 67

เมื่อเวลา 18.00 น. ของวันที่  16 พฤษภาคม 2567 ที่บริเวณวัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง หรือ วัดพระบรมธาตุ ต.ทุ่งยั้ง อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ นายสหวิช อภิชัยวิศรุตกุล รอง ผวจ.อุตรดิตถ์ พร้อมด้วย นายสุรพันธ์ เจริญทรัพย์ วัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์และนายนันทสิทธิ์ โพธิ์งาม รอง นายก อบจ.อุตรดิตถ์ ร่วมแถลงข่าว การจัดงานประเพณี “อัฏฐมีบูชา”

ซึ่งเป็นแห่งเดียวในโลกและแห่งแรกในประเทศไทย ต่อเนื่องมาปีนี้เป็นครั้งที่ 69 ที่พร้อมยกระดับให้มีความยิ่งใหญ่ ประจำปี 2567 เริ่มงานวันที่ 22-30 พฤษภาคมนี้ ให้ประชาชนมีส่วนร่วมทอผ้าห่มองค์พระบรมธาตุ สักการะหลวงพ่อพระประธานเฒ่า โดยมี หัวหน้าส่วนราชการและ ผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น ประชาชนชาวตำบลทุ่งยั้ง อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ ร่วมงานดังกล่าว

นายสุรพันธ์ เจริญทรัพย์ วัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์ กล่าวว่า สำหรับงานประเพณีอัฏฐมีบูชา เป็นงานประเพณีสำคัญของจังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาอย่างต่อเนื่อง ในช่วงสัปดาห์วิสาขบูชาและอัฏฐมีบูชา ซึ่งตรงกับ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ถึงวันแรม 8 ค่ำ เดือน 6 รวมระยะเวลา 9 วัน 9 คืน เพื่อน้อมรำลึกถึงองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า สืบต่ออายุพระพุทธศาสนา และสืบสานประเพณีอัฏฐมีบูชาให้คงอยู่ รวมทั้งเป็นการส่งเสริมจิตสำนึกที่ดีของพุทธศาสนิกชนต่อพระพุทธศาสนา




นายสุรพันธ์ เจริญทรัพย์ วัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์ กล่าวว่า วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง หรือ วัดพระบรมธาตุ ตั้งอยู่ที่กลางเทศบาลตำบลทุ่งยั้ง ต.ทุ่งยั้ง อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ เป็นวัดโบราณประดิษฐานพระมหาธาตุประจำเมืองทุ่งยั้ง เมืองโบราณตั้งแต่สมัยก่อนสุโขทัย ได้มีการจัดงานอัฏฐมีบูชา การถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระจำลอง ต่อเนื่องกันมาเป็นเวลานาน ตั้งแต่สมัยหลวงพ่อแน่นเป็นเจ้าอาวาส

หลังจากหลวงพ่อแน่นมรณภาพ มิได้มีการจัดงานนี้อีกเลย จวบจนราวปีพุทธศักราช 2502 พระครูสถิตพุทธคุณ เจ้าคณะตำบลทุ่งยั้งในสมัยนั้น ได้เห็นความสำคัญของวันอัฏฐมีบูชา ซึ่งเป็นประเพณีสำคัญที่ชาวเมืองทุ่งยั้งได้ถือปฏิบัติมาแต่โบราณ จึงได้ชักชวนคณะศรัทธา อุบาสก อุบาสิกา ริเริ่มฟื้นฟูประเพณีอัฏฐมีบูชา ของชาวตำบลทุ่งยั้ง อ.ลับแล เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน เพื่อน้อมรำลึกถึงองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงคุณอันประเสริฐต่อพระพุทธศาสนา

วัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์ กล่าวต่อว่า ชาวบ้านทุ่งยั้งที่มีความรู้ในการจักสานพระพุทธเจ้าจำลอง จะร่วมกันสานองค์พระฯ ด้วยไม้ไผ่ ประทับในท่าสีหไสยาสน์ ขนาด 9 ศอก นุ่งห่มด้วยจีวร พร้อมบรรจุในโลงแก้ว และจัดสร้างเมรุมาศจำลอง โดยการใช้ไม้ไผ่ 6 ต้น นำมาเป็นโครงสร้าง ประดับตกแต่งด้วยกระดาษฉลุลายสวยงาม




จังหวัดอุตรดิตถ์ ขอเชิญนักท่องเที่ยว มาร่วมเที่ยวงานประเพณีอัฏฐมีบูชา ครั้งที่ 69 ซึ่งในปีนี้จัดยิ่งใหญ่กว่าทุกปี ภายในงาน เชิญร่วมทอผ้าห่มพระบรมธาตุ เชิญร่วมสรงน้ำพระบรมธาตุ ด้วยน้ำสรงพระราชทาน การเวียนเทียนวิสาขปุรณมี ฟังเทศน์ ปฏิบัติธรรม และชม ชิม ช็อป เลือกซื้อสินค้าพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง ผลิตภัณฑ์ของฝากของที่ระลึก ในตลาดวิถีชมชุนคนทุ่งยั้ง พร้อมชมการแสดงศิลปวัฒนธรรม การสาธิตอาหารและมรดกภูมิปัญญา การร้อยพวงดอกไม้ การร่วมบุญร่วมกุศลในพิธีห่มผ้าพระบรมธาตุ การถวายสลากภัต

ไฮไลต์สำคัญในพิธีเปิดงานในวันที่ 22 พฤษภาคม วันวิสาขบูชา ชมการรำถวายพระบรมธาตุ 999 คน และเวียนเทียนรอบพระบรมธาตุร่วมกัน พร้อมกับชมแสงสีเสียงมินิ “ตำนานเมืองทุ่งยั้งและเวียงเจ้าเงาะ” และในวันสุดท้ายของงานวันอัฐมีบูชา 30 พฤษภาคม เชิญชมขบวนแห่ทางศิลปวัฒนธรรม ขบวนเครื่องสักการะและขบวนเทิดพระเกียรติ จาก 9 อำเภอ ร่วมสรงน้ำและห่มผ้าพระบรมธาตุ

พร้อมกันนี้ ชมการแสดง แสง สี เสียง “พิธีถวายพระเพลิง พระบรมศพพระพุทธเจ้าจำลอง” รวมถึงเลือกซื้อเลือกหาทุเรียนหลงหลินลับแลมาทานได้ตลอดช่วงงาน ครั้งหนึ่งในชีวิตต้องไปร่วมงานบุญประเพณีที่ยิ่งใหญ่ หนึ่งเดียวในโลก งานประเพณีอัฐมีบูชาจังหวัดอุตรดิตถ์ ครั้งที่ 69 อย่าลืมพร้อมใจกันแต่งชุดขาว ไปร่วมงานประเพณีอัฐมีบูชา ในวันที่ 22-30 พฤษภาคม 2567 ที่วัดบรมธาตุทุ่งยั้ง ต.ทุ่งยั้ง อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์.







Thank to : https://www.thairath.co.th/news/local/localbusiness/2786396
17 พ.ค. 2567 ,14:30 น. | ข่าว > ทั่วไทย > เศรษฐกิจท้องถิ่น > ไทยรัฐออนไลน์

 14 
 เมื่อ: พฤษภาคม 17, 2024, 09:45:36 pm 
เริ่มโดย todaytimepost11 - กระทู้ล่าสุด โดย todaytimepost11
ขออนุญาต อัพเดทกระทู้

 15 
 เมื่อ: พฤษภาคม 17, 2024, 05:34:11 pm 
เริ่มโดย todaytimepost11 - กระทู้ล่าสุด โดย todaytimepost11
ขออนุญาต อัพเดทกระทู้

 16 
 เมื่อ: พฤษภาคม 17, 2024, 01:49:27 pm 
เริ่มโดย todaytimepost11 - กระทู้ล่าสุด โดย todaytimepost11
ขออนุญาต อัพเดทกระทู้

 17 
 เมื่อ: พฤษภาคม 17, 2024, 11:04:15 am 
เริ่มโดย todaytimepost11 - กระทู้ล่าสุด โดย todaytimepost11
ขออนุญาต อัพเดทกระทู้

 18 
 เมื่อ: พฤษภาคม 17, 2024, 09:57:05 am 
เริ่มโดย aventure1 - กระทู้ล่าสุด โดย aventure1
ดันกระทู้

 19 
 เมื่อ: พฤษภาคม 17, 2024, 06:31:03 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.



สวดมนต์ ต้องไม่โค่น "สาธยาย"

"นี่ เราสวดมนต์กันอย่างไร สวดกันมา ๕๐ ปี ยังไม่รู้ว่า พระพุทธเจ้าสอนอะไร"

การสวดมนต์นั้น ตัวแท้ตัวจริง แก่นสาระของมัน ก็คือการสาธยาย และมนต์ที่เราเอาคำของพราหมณ์มาใช้แบบเทียบเคียงหรือล้อคำพูดของเขานั้น เราหมายถึงพุทธพจน์ คือคำตรัสสอนแสดงธรรมของพระพุทธเจ้า การสวดมนต์จึงมุ่งให้เป็นการสาธยายพุทธพจน์ คำสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นพระสูตร เป็นคาถา เป็นเนื้อความในพระไตรปิฎก

ที่ว่าสาธยาย ก็คือมีสติจำได้ระลึกถึงจับยกนำเอาข้อมูล ความรู้(ในที่นี้คือพุทธพจน์) ขึ้นมาระบุบ่งชี้จัดเรียงเข้าที่ตรงตามลำดับอย่างถูกต้องครบถ้วน อาจจะเป็นการท่อง การทวน หรือการทาน ก็ได้ สติจึงเป็นตัวทำงานของการสาธยาย




 :25:

บอกกล่าว

"สวดมนต์ ต้องไม่โค่นสาธยาย" โดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต)
พิมพ์ ครั้งที่ ๓. ,ตุลาคม ๒๕๖๓ ๕๐๐ เล่ม ,งานพระราชทานเพลิงศพ นาวาอากาศเอก บํารุง กันสิทธิ์

พิมพ์เป็นธรรมทาน โดยไม่มีค่าลิขสิทธิ์
ท่านผู้ใดประสงค์จัดพิมพ์ โปรดติดต่อขออนุญาตที่...
วัดญาณเวศกวัน ต.บางกระทึก อ.สามพราน จ.นครปฐม ๗๓๒๑๐
http://www.watnyanaves.net
ขอบคุณที่มา : https://www.watnyanaves.net/th/book_detail/682

ผู้โพสต์จะขอนำบทความบางตอนที่น่าสนใจ ในหนังสือเล่มนี้ มานำเสนอตามลำดับ ท่านใดประสงค์จะอ่านฉบับเต็ม สามารถดาวน์โหลด pdf file ได้ ผู้โพสต์ได้แนบไว้ ในตอนท้ายของโพสต์นี้

หรือดาวน์โหลดต้นฉบับได้ที่ https://www.watnyanaves.net/th/book_detail/682




 :25: :25: :25:

กระทู้แนะนำ : สวดมนต์ ต้องไม่โค่น "สาธยาย"
https://www.madchima.org/forum/index.php?topic=34116.0

 20 
 เมื่อ: พฤษภาคม 17, 2024, 06:10:39 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.



5 ที่ปฏิบัติธรรม เรียนรู้เจริญสติ สงบทั้งกาย วาจา ใจ

สติ คือ พื้นฐานของทุกสรรพสิ่ง นำมาซึ่งปัญญาอันแตกฉาน แม้เป็นนามธรรมที่ง่ายต่อการเข้าถึง แต่ก็กลายเป็นเรื่องยากสำหรับใครหลายคน

วิสาขบูชานี้ ถือเป็นวันพระใหญ่ที่สำคัญต่อชาวพุทธอย่างมาก คงจะดีไม่น้อยหากได้เจริญสติทำใจให้สงบ พร้อมสำหรับการใช้ชีวิตในวันข้างหน้า ที่เราก็ไม่รู้เลยว่าจะมีปัญหาดาหน้าเข้ามามากน้อยเพียงใด

เคยคิดไหมว่าทำไมเวลาคนมีปัญหาหรืออยากดึงสติ จะต้องไปบวช จนวัดกลายเป็นหลุมหลบภัยทางโลกที่คนมักจะไปมากที่สุด ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะบรรยากาศที่สงบเหมาะแก่การฝึกกำหนดรู้ ปัจจุบันนอกจากวัดแล้วยังมีสถานที่ปฏบัติธรรมที่สร้างขึ้นเฉพาะให้เราได้แสวงแสงแห่งธรรม ใครรู้สึกว่าช่วงนี้จิตฟุ้งซ่าน จดพิกัดพีพีทีวีเอามาฝากไว้เลย!





เช็กลิสต์ 8 ข้อเตรียมตัวก่อนไปปฏิบัติธรรม

   1. การแต่งกาย ผู้หญิง ควรใส่เสื้อสีขาว (ไม่รัดรูป คอไม่กว้าง) ผ้าถุงสีขาว ส่วนผู้ชาย ควรใส่เสื้อสีขาว กางเกงขายาวสีขาว
   2. ผ้าห่ม / ถุงนอน / เครื่องนอนส่วนตัว
   3. เครื่องใช้ส่วนตัวในห้องน้ำ (ผ้าเช็ดตัว สบู่ ยาสีฟัน แปรงสีฟัน ยาสระผม ฯลฯ)
   4. รองเท้าแตะ รองเท้าฟองน้ำ เพื่อสะดวกในการเดิน
   5. ไฟฉาย
   6. ยากันยุง
   7. ของใช้ส่วนตัวที่จำเป็น
   8. ปล่อยวางความเครียด เตรียมร่างกายให้แข็งแรง และจิตใจให้สงบพร้อมปฏิบัติธรรม

@@@@@@@

5 สถานที่ปฏิบัติธรรม รู้เท่าทันจิตที่เปลี่ยนแปลง



เสถียรธรรมสถาน


เสถียรธรรมสถาน บางเขน จ.กรุงเทพฯ และ หุบเขาโพธิสัตว์ จ.เพชรบุรี

    "ทำให้ทุกพื้นที่ของการภาวนาอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ เข้าใจธรรมชาติ อย่างรู้ ตื่น และเบิกบาน ผ่านวิถีชีวิตของหุบเขาโพธิสัตว์" แม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต

ที่ เสถียรธรรมสถาน มีกิจกรรมการปฏิบัติธรรมมากมายให้เลือกตามความสนใจ ไม่ว่าจะมาเดี่ยวหรือกลุ่ม หรือครอบครัว แต่ที่แนะนำสำหรับคนที่เวลาน้อย เหมาะกับ กิจกรรม Spiritual Trip

เพื่อเติมเต็มกายใจ กับ 1 วันในเสถียรธรรมสถาน ด้วยการปฏิบัติภาวนากับวิถีชีวิตอันหลากหลายเพื่อการเดินทางสู่โลกภายในตนเอง เติมเต็มจิตวิญญาณให้สัมผัสถึงชีวิตที่สุขง่ายใช้น้อย เพียงรู้จักการมีสติในลมหายใจและการเคลื่อนไหว

และในวันวิสาขบูชา 22 พฤษภาคม 2567 ที่เสถียรธรรมสถาน หุบเขาโพธิสัตว์ จังหวัดเพชรบุรี ได้มีการจัดกิจกรรมทางศาสนาฏิบัติบูชาเพื่อน้อมถวามแด่ผู้มีพระภาคเจ้าอีกด้วย

เปิดทุกวันเวลา 9.00 น. – 16.00 น.
โทร : 02 519 1119 
Email : sdsweb.webmaster@gmail.com



วัดธารน้ำไหล หรือ สวนโมกขพลาราม


สวนโมกขพลาราม วัดธารน้ำไหล จ.สุราษฎร์ธานี

สวนโมกขพลาราม หรือชื่อเรียกทางการว่า “วัดธารน้ำไหล” ถือเป็นสถานปฏิบัติธรรมชั้นแนวหน้าของเมืองไทยเป็นแหล่งบ่มเพาะเรียนรู้พระพุทธศาสนา ที่มีผู้ศรัทธามากแห่งหนึ่ง ด้วยภายในอาณาบริเวณของสวนโมกข์ มีความร่มรื่น สงบ เหมาะสำหรับการปฏิบัติธรรม กล่อมเกลาจิตใจและศึกษาพระพุทธศาสนา

เปิดทุกวัน เวลา 08.00-17.00 น.
ที่อยู่ : วัดธารน้ำไหล 68/1 หมู่ 6 ต.เลม็ด อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี 84110
โทร : 0-7743-1597, 0-7743-1661-2
เว็บไซต์ : suanmokkh



วัดป่านานาชาติ


วัดป่านานาชาติ จ.อุบลราชธานี

วัดป่านานาชาติเป็นวัดสายวิปัสสนากรรมฐาน และยึดปฏิปทาพร้อมทั้งข้อวัตรปฏิบัติของหลวงปู่ชาเป็นหลัก เพราะฉะนั้นวัดป่านานาชาติเน้นการศึกษาและปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน แนะนำชีวิตบรรพชิตให้ชาวต่างชาติ ทั้งยังใช้ภาษาอังกฤษในการอบรมเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของวัดป่านานาชาติ การทำวัตรเช้าทำวัตรเย็นจึงแปลเป็นภาษาอังกฤษควบคู่กับภาษาบาลี

เปิดทุกวัน เวลา 06.00 - 18.00 น.
ที่อยู่ : บ้านบุ่งหวาย ตำบลบุ่งหวาย อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
โทร : 089-9494559
เว็บไซต์ : www.watpahnanachat.org



สำนักวิปัสสนากรรมฐาน วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์


สำนักวิปัสสนากรรมฐาน วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ จ.กรุงเทพฯ

สถานปฎิบัติธรรมใจกลางกรุงเทพตั้งอยู่ในวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ราชวรมหาวิหารที่เก่าแก่ สร้างตั้งแต่สมัยอยุธยา รอบด้วยสถานที่สำคัญ อาทิ วัดพระแก้ว สนามหลวง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เดินทางสะดวก เป็นสถานที่ที่สัปปายะ เงียบสงบ เหมาะแก่การปฏิบัติธรรม (ปิดวาจา)

ศูนย์ปฎิบัติฯ สอนวิปัสสนากรรมฐานให้แก่ชาวไทยและชาวต่างชาติที่มีความสนใจ นอกจากนี้ยังได้รับรางวัลการันตีเป็นสำนักปฎิบัติธรรมประจำจังหวัดดีเด่นพ.ศ. 2556 และ รางวัลศูนย์วิปัสสนาดีเด่นของกรุงเทพประจำปี 2566

ที่อยู่ : 3 ถนน ท่าพระจันทร์ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
โทร : 022226011 หรือ 022236878
เว็บไซต์ : watmahathat.com



วัดร่ำเปิง จ.เชียงใหม่


วัดตโปทาราม (ร่ำเปิง) จ.เชียงใหม่

    “กินน้อย พูดน้อย นอนน้อย ปฏิบัติเยอะ” 

สถานที่ฝึกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน 4 สำหรับพระภิกษุ สามเณร และประชาชน ปัจจุบันมีชาวไทยและชาวต่างประเทศ สนใจมาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานกันอย่างมากมาย นอกจากนี้วัดนี้เป็นแห่งแรกที่มีพระไตรปิฏกฉบับล้านนา อีกทั้งเป็นแหล่งรวบรวมที่มีพระไตรปิฏกฉบับภาษาต่าง ๆ มากที่สุดในโลก

วันเวลาติดต่อ

- ลงทะเบียนเข้าปฏิบัติธรรมที่สำนักงานแม่ชี (สำนักปฏิบัติธรรมฝ่ายหญิง) หรือสำนักสงฆ์ (สำนักปฏิบัติธรรมฝ่ายชาย) เวลา  7.00 น. ทุกวัน (ยกเว้น วันพระ)
- พิธีรับพระกรรมฐาน และรับศีล 8 เวลา 8:00 น. ของทุกวัน (ยกเว้นวันพระ)
- พิธีลาศีล 8 (กลับบ้าน) และรับศีล 5 เวลา 6:00 น. (หลังทำวัตรเช้า) ของทุกวัน

ที่อยู่ : วัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) เลขที่ 1 หมู่ 5 ต. สุเทพ อ. เมือง จ. เชียงใหม่ 50200
เว็บไซต์ : https://www.watrampoeng.com/






ขอขอบคุณ :-
ที่มา : สารสนเทศท้องถิ่นอีสาน ณ อุบลราชธานี Mahathatu Temple Bangkok
URL : https://www.pptvhd36.com/news/ไลฟ์สไตล์/224001
โดย PPTV Online | เผยแพร่ 16 พ.ค. 2567 ,16:22 น.

หน้า: 1 [2] 3 4 ... 10