ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ความ "ถูกต้อง" กับ "ถูกใจ" (2)  (อ่าน 2954 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28525
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
ความ "ถูกต้อง" กับ "ถูกใจ" (2)
« เมื่อ: มีนาคม 27, 2015, 10:56:01 am »
0

ความ "ถูกต้อง" กับ "ถูกใจ" (2)
โดย นพ.วิชัย เทียนถาวร

คนเราเมื่อเกิดมา "ชีวิตที่ดี" จะเกิดขึ้นเองไม่ได้ ต้องสร้างต้องทำด้วยน้ำมือของตัวเอง ถ้าไม่สร้างไม่ทำก็จะไม่มีโอกาสเกิดขึ้น "ความถูกต้อง" ในชีวิตคนเรานั้น ทุกคนต้องหมั่นฝึกฝน อบรม ต้องสอนต้องสั่ง ต้องใช้ชีวิตอบรม

การฝึกให้มี "ศีล สมาธิ ปัญญา" เมื่อได้มาฝึกปฏิบัติ อบรม ต้องสร้างศีลให้กับตัวเอง ต้องสร้างสมาธิให้กับตัวเอง ต้องสร้าง "ปัญญา" ให้กับตัวเอง เพื่อการแก้ไข "ปัญหา" ได้

การที่จะปลูกบ้านก็ต้องไปถางป่า ต้องไปฟันต้นไม้ออกให้หมดให้เตียน ต้องปรับพื้นที่ ต้องไปเตรียมเครื่องสัมภาระ อุปกรณ์มาปลูกเรือนของตน นี่ฉันใดก็ฉันนั้น ถ้าไม่มีที่ มันก็ปลูกเรือนไม่ได้ฉันนั้น ต้องมีการเตรียมการเป็นขั้นเป็นตอนไป จิตจะสงบ จิตไม่ฟุ้งซ่านได้ ก็โดยตั้งสติสัมปชัญญะ ผูกไว้ในจุดนั้น รับรองได้เลยว่าเราทุกคนมีสมาธิได้ ถ้าจิตตั้งใจตรึงถึงผูกไว้ในหลักนั้น แม้ว่าการทำหน้าที่การงานเคร่งเครียดอยู่ เรียกว่ายังมี "สมาธิ" ในการทำงาน อย่าทิ้งในหน้าที่การงานนั้นเรียกว่า "สมาธิ" ทุกขณะจิตการงานนั้นก็จะสำเร็จบรรลุได้ตามเวลา


 :96: :96: :96: :96:

"สมาธิ" ต้องปลูกต้องทำด้วยตัวเอง ไม่ใช่คนอื่นทำให้เป่าหัวไม่เกิดสมาธิ เป่าหัวให้มีปัญญา ในหนังสือ 86 ปี พระธรรมสิงหบุราจารย์ กฎแห่งกรรม...ธรรมปฏิบัติ วัดอัมพวัน สิงห์บุรี หลวงพ่อบอกว่า ท่านทำให้ไม่ได้ เป่าลมหมดท้อง แล้วมันก็ไม่มีปัญญาเกิด

ตัว "ปัญญา" นี่ต้องสร้างเอง ปัญญาจะมีได้ต้องมีสติสัมปชัญญะมาผนวกบวกกัน เราต้องระลึกรู้สึกตัวอยู่เสมอ อย่าออกนอกประเด็น นี่สมาธิ (ความนิ่งมุ่งมั่นไม่วอกแวก) ด้วยสติสัมปชัญญะ จึงจะเกิด "ปัญญา"

"ปัญญา" นี่ดีถูกต้อง ไม่ได้มีมาติดตัว "ตั้งแต่เกิด" ต้องปลูกฝังฝึกอบรมกล่อมเกลา
"ปัญญา" คือ ความลึกซึ้ง ปัญญา คือ การแก้ไขปัญหาได้ ปัญญายังแยกไปทางโลกทางธรรม

"ปัญญา" ที่ติดตัวมากับตัวเรา ตั้งแต่เกิดด้วยพันธุกรรมมานั้นมากน้อย มีด้วยกันทุกคน แต่คนไหนจะใช้ปัญญา "ถูกต้อง" หรือเปล่า นี่คือประเด็นสำคัญยิ่งที่สุด ที่ต้องมาฝึกนี่ต้องการใช้ "ปัญญา" ของตนให้ถูกต้อง ต้องการมีสมาธิให้ถูกต้อง และศีลนั้นจะเข้ามาไปสู่จุดมุ่งหมายของชีวิตด้วยการสร้างนี่เอง ซึ่งเป็นที่มาของความสุข ตามที่หลวงพ่อฯว่า ..."สีเลน สุคติ ยนฺติ สีเลน โภคสมฺปทา" : ศีลทำให้เกิดในสุคติ ศีลเป็นที่มาของโภคสมบัติ



เอาอะไรมาเป็นข้อพิสูจน์ว่า "ความถูกต้อง" คืออะไร.?
ยกตัวอย่าง เช่น คนเป็นไข้หวัด ไข้สูง หมอเอา "ปรอท" มาวัด จะรู้อุณหภูมิร่างกายสูง... กี่องศาเซลเซียส คนปวดหัว ความดันโลหิตสูงต่ำ หมอมีเครื่องพิสูจน์ด้วย เครื่องวัดความดันโลหิตว่าสูงเท่าไร? เป็นโรคความดันสูงหรือไม่? แต่ถ้าปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน หมอไม่มีเครื่องวัด พิสูจน์ว่า ความปวดขึ้นดีกรีเท่าไร? บอกไม่ได้ค่าที่จะบอกว่าถูกต้องไม่มี แต่บอกด้วยความรู้สึกเท่านั้น

ถ้าหากเราถามคนทั่วไปว่า "ความถูกต้อง" เอาอะไรมาพิสูจน์ ญาติโยมจะตอบได้ทุกคนตามสามัญสำนึกเท่าที่มี คือ "คุณธรรม จริยธรรม" ของแต่ละคนพึงมีอยู่ในจิตใจผู้นั้น แต่ถ้าถามว่า "ความถูกใจ" เอาอะไรมาวัด เชื่อว่าแต่ละคนคิดในใจด้วยนานาจิตตัง จิตไม่เหมือนกันแม้แต่คนเดียว ชอบอะไรก็ไม่เหมือนกัน กินอะไรรสหวาน มัน เค็ม เปรี้ยว เผ็ด แต่ละคนชอบไม่เหมือนกันเลย เผ็ดเปรี้ยวหวานกระทะเดียว 10 คนกินก็ถูกใจ รสต่างๆกัน บ้างว่าเปรี้ยวบ้าง ว่าเค็มบ้าง ว่าเผ็ดบ้าง ว่าจืดไม่เหมือนกันเลย เอาอะไรมาพิสูจน์ "ความถูกใจ" ของคนต่างกัน...

"ความถูกใจ" ของตัวเองคืออะไร? จะรู้ทุกคนเอาจิตใจตัวเองเป็นหลักเป็นใหญ่ แต่ความ "ถูกต้อง" ไม่มีใครรู้ว่ามันถูกหรือมันผิด "จะคิดเข้าข้างตัวเองเสมอ" เข้าข้างตัวเอง "ตลอดเวลา" คนพวกนี้ทุกคนแม้แต่พระเอง ยังไม่กล้าฟันธงบอกว่าให้ความยุติธรรม ความเป็นธรรมอย่าง 100% หรือผู้หลักผู้ใหญ่ เจ้านาย มักจะเข้าข้างตัวเองเอาตัวลอยขึ้นเสมอ เอาตัวขึ้นเหนือทุกคนเหนือเหตุการณ์ ไม่ยอมฟังใคร อย่างนี้จึงไม่รู้ความถูกต้อง รู้แต่ความถูกใจ


 ask1 ask1 ask1 ask1

หลวงพ่อบอกว่า "ความถูกใจ" เป็นกิเลส :..."ความถูกต้อง" เป็นคุณธรรม : กิเลสนี้เป็นความถูกใจเหลือเกินนะ ชอบอย่างโน้นชอบอย่างนี้ แต่ไม่รู้หรอกว่าตัวเองมีกิเลส

ถาม : ถ้าอยากให้พ่อแม่ยกสมบัติให้ หรือเขยอยากให้พ่อตาแม่ยายยกสมบัติให้ จะต้องทำอย่างไร?
ตอบ : ที่เราๆ คนทั่วๆ ไปคิดกันจะตอบตามสามัญสำนึกว่า ขอให้เป็นคนดีมีคุณธรรม พ่อแม่หรือพ่อตาแม่ยาย นั้นจะยกสมบัติให้แน่นอน

แต่บางคนบอกว่า แค่นั้นไม่พอหรอก พ่อเกิดเป็นคนดีมีศีลธรรม ไปวัดบ่อยๆ นะ เมินเสียเถิด พ่อตาแม่ยายจะยกสมบัติให้จะต้องรู้ว่าพ่อตาชอบอะไร แม่ยายชอบอะไร รับรองว่าได้สมบัติแน่ๆ ก็กิเลสของเขานั่นแหล่ะ ถ้าเข้าถึงใจของพ่อตาแม่ยายด้วยความ "ถูกใจ" ... "ชอบใจ" ละก็สมบัติยกให้หมดเลย

ความถูกใจมาจากกิเลส แม่ยายคนนี้กิเลสมาก ลูกเขยเขารู้เลย ตามใจแม่ยาย อยากได้อะไรให้บอก อยากกินหมากฝาดๆ ไปซื้อถึงกรุงเทพฯ ก็ต้องไปหามาให้ได้ แม่ยายแกก็จะบอกว่า ลูกเขยห้าเขยสู้คนนี้ไม่ได้ ลูกเขยคนนี้ดีเหลือเกิน



พ่อตาคนหนึ่งชอบกินเหล้า มีลูกเขย 5 คน ลูกเขย 4 คน เป็นนักธรรมะ มีนักธรรมแมะ 1 คน แมะเรื่อย แมะตรงโน้นตรงนี้ ลูกเขยสี่คนเกลียดพ่อตา เพราะเป็นคนขี้เหล้า แล้วชอบด่าลูกเขย หลวงพ่อบอกว่าเรื่องจริง อยู่ข้างวัดอัมพวันด้วย ชอบด่าลูกเขยประจำ ส่วนนักธรรมแมะคนนี้ จะซื้อเหล้าไปฝากพ่อตากินทุกวัน ซื้อห่อหมกให้แม่ยายด้วย พ่อตาแม่ยายก็นั่งคุยกัน ชมลูกเขยนักธรรมแมะคนนี้อย่างจับใจ...พลางพ่อตาแม่ยายสรุปกันว่า ต้องยกสมบัติให้มันนะนี่

เห็นไหมนี่คือ ความถูกใจ ถ้าเป็นลูกสะใภ้ ใครก็ขอให้เข้าถึงกิเลส แม่ผัวเข้าไว้ แม่ผัวถูกใจ ถลกหนังหัวให้หมดเลย โบราณเขาถึงสอนกัน ยังใช้ได้อยู่ว่า ทำขนมใส่ไส้ไว้ไหว้แม่ผัว...ทางธรรมะเขาหมายความว่า...อย่าขัดอัธยาศัยแม่ผัว ตามใจแม่ผัวด้วยความถูกต้อง อย่าขัด ถ้าขัดแม่ผัวเจ๊งหมด แม่ผัวลูกสะใภ้ไม่ถูกกันเพราะเหตุนี้ ต้องรู้ธรรมะด้วย ต้องมีคุณธรรมด้วย ไม่ใช่รู้แต่ "ธรรมแมะ"

บางคนไม่เข้าใจ ทำขนมใส่ไส้ไปทำจริงๆ แม่ผัวคนนั้นเกิดไม่ชอบขึ้นมา เลยด่าแหลก ต้องบอกว่ารู้ธรรมะไหม ขนมใส่ไส้ แปลว่า "ตามใจแม่ผัว อย่าขัดอัธยาศัยผู้ใหญ่" บางรายแม่ผัวยัวะ ถึงตอนเย็นจะกินเหล้า ดันเอาขนมใส่ไส้ไปให้ แม่ผัวโยนลงใต้ถุน แถมด่าอีกต่างหาก


 :s_hi: :s_hi: :s_hi: :s_hi:

เหตุการณ์ต่างๆ ข้างต้นนี้ เข้าในหลักธรรมที่ว่า... "สร้างความไม่ดีให้กับลูก ทำไม่ถูกให้กับหลานจะเลวร้ายในอนาคต" โบราณว่าให้ตามใจ อย่าขัดอัธยาศัยผู้ใหญ่ ตามผู้ใหญ่หมาไม่กัด เป็นความจริงที่ชัดเจน ขัดผู้ใหญ่มันไม่ดี หลวงพ่อฝากบอกว่า เป็นลูกเขยใครเขา อย่าไปขัดพ่อตา แม่ยายจะเสียผลงาน เป็นลูกสะใภ้อย่าไปขัดใจแม่ผัว ถ้าขัดใจแม่ผัวอยู่ไม่มีความสุข ต้องปฏิบัติแม่ผัวด้วย

หลวงพ่อเปรียบว่า เหมือนนาง "วิสาขามหาอุบาสิกา" พ่อผัวแม่ผัวเกลียดพระพุทธเจ้า หาว่าพระพุทธเจ้าโง่ แต่ทางวิสาขานั้นเคารพพระพุทธเจ้าอย่างซึ้งใจ ปฏิบัติธรรมทุกวันถึงเวลาก็ไปวัด นางไปวัดก็จะต้องเอาดอกไม้ธูปเทียนติดมือไป เอาน้ำปานะไปถวายพระ ไม่เคยไปมือเปล่า ถึงเวลาภัตตาหารเพล ภัตตาหารเช้า นางวิสาขาจะต้องมีคาวหวานติดมือไปถวายทุกครั้ง ตอนเย็นนางวิสาขาจะเตรียมน้ำปานะไปถวายพระ ไม่มีโอกาสได้เลยที่นางวิสาขาจะเดินว่างไปเปล่ามาเปล่า

แต่นางวิสาขาผู้มีปัญญา รู้กิเลสของพ่อผัวแม่ผัวนี่เข้าใจ เข้าถึงกิเลสของพ่อผัวแม่ผัว จะพยายามดึงพ่อผัวเข้าเฝ้าเข้าสยบพระพุทธเจ้าให้จงได้ ลูกสะใภ้ที่ดีต้องพาพ่อผัวแม่ผัวเข้าวัด



ประเด็นที่ลึกซึ้งอีกข้อหนึ่ง คือ ความฉลาดของนางวิสาขา ด้วยเป็นคนดีมีคุณธรรม เอาทั้งถูกต้อง ถูกใจควบคู่กันไป เพื่อทำลายทิฐิของพ่อผัวแม่ผัวให้จงได้ ต้องพยายามให้พ่อผัวแม่ผัวเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าให้จงได้ ทำอย่างไรต้องรู้ทั้ง "ถูกใจ ถูกต้อง" ควบคู่กันไป จะเอาแต่ใจของตัวเองไม่ได้

ประเด็นสำคัญต้องรู้ "ความถูกใจ ความถูกต้อง" ด้วย ถ้าคนมีคุณธรรม "ถูกต้อง" แล้ว ต้องรู้ "กิเลส" ของคนว่า คนไหน ชอบอะไร ไม่ขัดอัธยาศัย สำหรับบุคคลผู้ร่วมสามัคคีจะทำลายน้ำใจของท่าน ผู้มีคุณอย่างแน่นอน นางวิสาขามีคุณธรรม จึงจะรู้ใจคนอื่น เรียกว่าเข้าถึงกิเลสแม่ผัว ตามใจแม่ผัว ซักผ้าให้แม่ผัว เสร็จทำโน่นทำนี่ พ่อผัวเกลียดนางวิสาขา ลูกสะใภ้คนนี้ไปสนิทกับพระพุทธเจ้า เกลียดที่สุด เกลียดพระพุทธเจ้า

แต่นางวิสาขาเอาธรรมะไปสอนพ่อแม่ผัว รวมทั้งทำให้เกิดความถูกใจ จนพ่อผัวแม่ผัวรักอย่างมาก แล้วจึงน้อมนึกถึงองค์สัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างมีคุณธรรมสูง ควรจะไปเฝ้า

โดยสรุปแล้วจะเห็นได้ว่า ลูกสะใภ้นางวิสาขาดึงพ่อผัวแม่ผัวขึ้นมาจาก "นรก" เลยไปขออโหสิกรรม กายกรรม วจีกรรม ต่อพระพุทธเจ้า


 st11 st11 st11 st11

ท้ายสุดนี้กล่าวได้ว่า การเจริญภาวนาสามารถรู้ถึงภาวะจิตใจของ "ตน" และคนอื่นได้ เข้าถึงกิเลสได้ แล้วไม่เป็นบาป ไม่เป็นภัยได้เช่นกัน มิมีเสนียดจัญไรแต่ประการใด เหมือนสะใภ้เข้ากับพ่อผัวแม่ผัวได้ เหมือนลูกเขยเข้ากับพ่อตาแม่ยาย "ถูกใจ" อยู่เย็นเป็นสุข ทุกราตรีกาล มีความสำราญใจในชีวิตของตนด้วย "ความถูกต้อง" ขอให้เกิดความถูกต้อง อยู่ก็ด้วยความถูกต้อง และทำงานด้วยความถูกต้อง ไม่ใช่คิดด้วยเป็นกิเลสและถูกใจเสมอ

แม้จิตใจเราไม่ดีก็เติมให้มันดี มีคุณภาพ มี "ความถูกต้อง" เกิดมาได้กับคนทุกคนด้วยเพราะการเจริญศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งส่งผลให้ชีวิตคนเหล่านี้ ยึด "ความถูกต้องและถูกใจ" นำพามาซึ่งความสุข สงบใจ ตามพุทธสุภาษิตที่ว่า "นตฺถิ สันฺติปรํ สุขํ" สุขยิ่งกว่าความสงบไม่มีในโลกไงเล่าครับ


นพ.วิชัย เทียนถาวร
อดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุข


ที่มา : มติชนรายวัน 25 มีนาคม 2558
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1427273237
ขอบคุณภาพจากท่าน "ปัญญสโก ภิกขุ"
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 27, 2015, 10:58:06 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

suchin_tum

  • ไม่กลับมาเกิด
  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 486
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ความ "ถูกต้อง" กับ "ถูกใจ" (2)
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มีนาคม 27, 2015, 07:40:08 pm »
0


     ถูกต้อง.....ตามหลักความจริงไม่ขัดกับโลก

      ถูกใจ.....ก็อาจจะถูกใจใครคนใดคนหนึ่ง แต่ไม่ใช่ทุกคน ก็อาจจะขัดต่อโลก

                        คือยังมีคนที่ไม่เห็นด้วยบ้าง ยังไม่สรุป แปลว่ายังไม่ถูกทุกคน

                                                     
บันทึกการเข้า
ขอน้อมอาราธนากำลังแห่งครูอาจารย์กรรมฐานมัชฌิมาจงมาประสิทธิ์ประศาสตร์

Hero

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 557
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ความ "ถูกต้อง" กับ "ถูกใจ" (2)
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มีนาคม 28, 2015, 05:53:35 pm »
0
 st11 st12 st12
บันทึกการเข้า
ทำไมต้องมีอินทรีแดง เพราะสังคมเราบางครั้งก็ตาบอด
ปล่อยให้คนดี เดือดร้อน ดังนั้นจึงต้องมีผู้ปกป้องคนดี
hero ไม่ได้มีแต่ในหนังเท่านั้น นะครับ

amorntip

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 16
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ความ "ถูกต้อง" กับ "ถูกใจ" (2)
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มีนาคม 28, 2015, 07:42:33 pm »
0
 st11 st12 st12
บันทึกการเข้า
มาหาความรู้ และคนที่รู้ใจ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ความ "ถูกต้อง" กับ "ถูกใจ" (2)
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: มิถุนายน 01, 2015, 01:45:39 am »
0

   สาระธรรม
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา