ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: จุฬาฯ เปิดตัว “เกม” ป้องกันสมองเสื่อม อัลไซเมอร์ สมาธิสั้น  (อ่าน 1161 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28456
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0




จุฬาฯ เปิดตัว “เกม” ป้องกันสมองเสื่อม อัลไซเมอร์ สมาธิสั้น

จุฬาฯ เปิดตัว 6 เกม ช่วยป้องกัน “คนแก่” สมองเสื่อม อัลไซเมอร์ เด็กสมาธิสั้น เผย ใช้อุปกรณ์รับคลื่นสมองมาบังคับเกม ช่วยเพิ่มการมีสมาธิและจัดการสมาธิได้ดีขึ้น ค่าเล่นครั้งละ 200 บาท นาน 30 นาที ย้ำไม่ใช่ทุกเกมที่เล่นแล้วสมองดี บางเกมทำลายสมอง หวังต่อยอดใช้ในสถานพยาบาลอื่นถึงระดับครอบครัว
       
       วันนี้ (27 ก.ค.) ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ผอ.รพ.จุฬาลงกรณ์ แถลงข่าว “เกมคลื่นสมอง...พิชิตอัลไซเมอร์” ว่า ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ร่วมกับ ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ศึกษาวิจัยและพัฒนาเกมคลื่นสมอง โดยใช้เทคนิคใหม่นำคลื่นสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับสมาธิ มากรองสัญญาณให้ชัดเจนมากขึ้น จนนำมาสู่การต่อยอดเป็นเกมที่ออกแบบเฉพาะเพื่อความเหมาะสมกับกลุ่มเด็กสมาธิสั้นและผู้สูงอายุที่มีระดับความรู้คิดเสื่อมถอยและผู้ป่วยสมองเสื่อม จนได้รับรางวัลเหรียญทองนวัตกรรมทางสมองระดับโลก จากการประกวดสิ่งประดิษฐ์ที่นิทรรศการประกวดสิ่งประดิษฐ์นานาชาติ ครั้งที่ 44 ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และเทคนิคใหม่นี้ได้มีการจดสิทธิบัตรแล้ว
       
       ผศ.นพ.สุขเจริญ ตั้งวงษ์ไทย หัวหน้าภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า นวัตกรรมที่มีการคิดค้นขึ้นหวังว่าจะสามารถนำไปใช้ในสถานพยาบาลอื่น ๆ ต่อไปได้ในระดับชุมชนเพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุต่อไป นอกจากนั้น จากการได้พัฒนานวัตกรรมชิ้นนี้ ทางผู้วิจัยได้นำไปต่อยอด สร้างเกมสำหรับเด็กสมาธิสั้น เพื่อเป็นการฝึกฝนให้สร้างสมาธิจดจ่อได้ยาวนานขึ้น และผลการศึกษาได้ผลที่ดีมากจนเราสามารถนำมาใช้บริการในโรงพยาบาลได้
       



       พญ.โสฬพัทธ์ เหมรัญชโรจน์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายนวัตกรรมการศึกษาและสารสนเทศ คณะแพทยศาสตร์ จุฬฯ กล่าวว่า เกมคลื่นสมองดังกล่าวนำมาใช้ทางการแพทย์ 2 ส่วน คือ ป้องกันและชะลอภาวะสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุ และเพิ่มสมาธิให้แก่เด็กสมาธิสั้น เนื่องจากเกมออกแบบมาเพื่อเพิ่มความสามารถของสมาธิการจดจ่อและคงสภาพการจดจ่อให้ได้นาน ซึ่งอุปกรณ์สวมหัวจะรับสัญญาณจากคลื่นสมองเบตาและอัลฟามาขยายสัญญาณ และคำนวณระดับความจดจ่อ จากนั้นแสดงค่าผ่านโปรแกรมเกมทำให้ทราบถึงระดับสมาธิการจดจ่อ และพยายามรักษาสภาวะจดจ่อตลอดการเล่นเกม ทำให้สมาธิจดจ่อ เมื่อฝึกได้ในระดับหนึ่งแล้วจะสามารถควบคุมจัดการสมาธิได้ดีขึ้น ยกตัวอย่าง เกมชูตลูกบาสสำหรับผู้สูงอายุ หากผู้เล่นไม่มีสมาธิจะไม่สามารถชูตลูกบาสเข้าแป้นได้ หรือเกมหมีเก็บเหรียญ ถ้าไม่มีสมาธิ คลื่นสมองก็จะไม่สามารถบังคับให้หมีเดินไปเก็บเหรียญได้ แต่หากมีสมาธิดีหมีจะวิ่งได้เร็ว ซึ่งทั้งหมดบังคับด้วยคลื่นสมองของผู้เล่น
       
       “หลักการง่าย ๆ ของเกมคลื่นสมองนี้ จะเป็นเกมที่พัฒนาขึ้นเฉพาะโดยใช้การบังคับเกมด้วยคลื่นสมอง ถ้าผู้เล่นมีสมาธิดีก็จะเล่นเกมได้ แต่ถ้าสมาธิไม่ดีก็จะเล่นเกมนี้ไม่ได้ โดยผู้เล่นจะต้องสวมหมวกที่เป็นอุปกรณ์สำหรับรับคลื่นสมองของผู้เล่น เพื่อใช้บังคับเกม ซึ่งผู้ป่วยเล่นจะเห็นเกมอยู่ข้างหน้าในจอคอมพิวเตอร์ ก็จะสามารถรู้ได้ว่าตนเองสมาธิหรือไม่ ถ้าไม่มีเกมก็ไม่เล่น ก็จะต้องพยายามปรับการจดจ่อให้มีสมาธิและเล่นเกมได้ เมื่อเล่นเกมนี้เสร็จทำให้คลื่นสมองส่วนสมาธิเพิ่มขึ้นมาก ซึ่งจะส่งผลให้มีสมาธิแลความจำดีขึ้น ซึ่งจากการทดสอบประสิทธิภาพกับผู้สูงอายุที่มีความรู้คิดบกพร่องระยะแรกและผู้ป่วยอัลไซเมอร์ระยะเริ่มต้น พบว่า สามารถเพิ่มอัตราส่วนของคลื่นสมองย่านเบตาต่ออัลฟา ซึ่งสัมพันธ์กับความสามารถของความจำและความสามารถของสมองที่ดีขึ้น ขณะที่การศึกษาในเด็กระดับประถมศึกษา จำนวน 30 คน เป็นเด็กสมาธิดี 15 คน และสมาธิสั้น 15 คน พบว่า กลุ่มเด็กที่สมาธิสั้นมีสมาธิจดจ่อความจำได้ดีขึ้นอย่างชัดเจน และกลุ่มเด็กที่มีสมาธิดี มีความจำดีขึ้น โดยให้เด็กเล่นเกมนี้ 12 ครั้ง ครั้งละ 5 - 10 นาที” พญ.โสฬพัทธ์ กล่าว

       


       พญ.โสฬพัทธ์ กล่าวว่า ยืนยันว่า เกมนี้ไม่เป็นอันตรายต่อสมอง เพราะใช้การรับคลื่นจากสมองส่วนของสมาธิมาบังคับเกม ไม่ได้ส่งคลื่นอะไรเข้าไปในสมอง อย่างไรก็ตาม เกมนี้ได้รับการพัฒนาขึ้นเฉพาะเพื่อใช้ในการชะลอโรคอัลไซเมอร์ และรักษาสมาธิสั้น ไม่ใช่ว่าจะเล่นเกมอื่น ๆ แล้วจะทำให้มีสมาธิที่ดีขึ้นด้วย เพราะพบว่าการเล่นเกมบางชนิดทำลายสมาธิ ซึ่งผู้ที่สนใจใช้บริการ ค่าใช้จ่ายครั้งละ 200 บาท เล่นได้ 30 นาที และในอนาคตหวังว่าจะมีการพัฒนาต่อยอดให้มีราคาอุปกรณ์ลดลงและใช้ในบ้าน
       
       ดร.พศิน อิศรเสนา ณ อยุธยา ผู้อำนวยการหน่วยวิจัย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) กล่าวว่า นวัตกรรมระบบฝึกฝนสัญญาณคลื่นสมองแบบป้อนกลับ มาใช้ในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์ และผู้ป่วยอัลไซเมอร์ระยะเริ่มต้น ผ่านการเล่นเกมทั้งหมด 6 เกม ที่ออกแบบมาสำหรับผู้สูงอายุและเด็กโดยเฉพาะ เพื่อเพิ่มสมาธิให้มากขึ้น และฝึกฝนความจำระยะสั้นโดยใช้สัญญาณจากคลื่นสมองส่งผ่านอุปกรณ์รับสัญญาณที่สวมบนศีรษะแล้วแปลงสัญญาณเพื่อใช้บังคับเกม เมื่อฝึกฝนได้อย่างดี จะมีสมาธิและความจำดีขึ้น





ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9590000074618
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 gd1
         ก็เป็นอีกหนึ่งโปรเจค ทางด้านผลงานแห่งการวิจัย ครับ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา