ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ธรรมปฏิบัติ : ที่เที่ยวของสติ  (อ่าน 1434 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28456
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
ธรรมปฏิบัติ : ที่เที่ยวของสติ
« เมื่อ: มีนาคม 06, 2014, 08:07:51 pm »
0


ธรรมปฏิบัติ : ที่เที่ยวของสติ

ตามธรรมดาของสัตว์ทั่วๆไป มีการท่องเที่ยวไปตามอารมณ์ คือ ทางผัสสะ เช่น ตาก็เที่ยวไปดู หูก็เที่ยวไปฟัง จมูกก็เที่ยวหาเรื่องดม ลิ้นก็อยากจะหารส กายก็อยากจะได้สัมผัสที่อ่อนนิ่ม แล้วใจนี่ก็เลยเที่ยวเตลิดไปตามอารมณ์ เอารูปเป็นอารมณ์บ้าง เอาเสียงเป็นอารมณ์บ้าง ตลอดทวารทั้งห้านี้ เป็นอารมณ์อยู่ภายในจิตอย่างเดียว แล้วก็มีการปรุงการคิดสับสนวุ่นวาย
       
       และเรื่องอย่างนี้มันก็ไม่มีอะไรนอกจากเกิดๆดับๆ แม้ว่าจะไปรู้ไปเห็นอะไรมา มันก็สนุกสนานชั่วขณะที่หลงไปยึดมั่นถือมั่นในรูปในเสียง ทำให้เกิดความพอใจบ้าง ไม่พอใจบ้าง
       
       เป็นอันว่าที่เที่ยวของสัตว์ที่โง่ๆนี้ มันรวมอยู่ในเรื่องอารมณ์ทั้ง 6 ประการ ซึ่งเป็นที่เที่ยวของสัตว์ที่ติดอยู่ในกามคุณเป็นจุดเด่น และก็มีกามราคะเข้ามาย้อมฉาบทาจิตให้ติดแน่น หรือมีความเอร็ดอร่อยอยู่ในกามคุณทั้งนั้น เพราะฉะนั้น จึงต้องระทมทุกข์อยู่ทุกขณะก็ว่าได้ เพราะมันยังมีความกระหายที่จะได้เห็นรูปฟังเสียงเหล่านี้ เป็นการชุลมุนวุ่นวายไปตามประสาของสัตว์ ที่ยังมีอวิชชาโมหะครอบงำอยู่ในสันดาน


        :96: :96: :96:

       พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสรู้เรื่องนี้ดีถูกต้องทั้งหมด จึงได้ตรัสเปิดเผยว่า ให้หยุดท่องเที่ยวไปในรูป เสียง กลิ่น รส เสีย มาเที่ยวดูในกาย เที่ยวดูในเวทนา เที่ยวดูในจิต เที่ยวดูในธรรม นี่พระพุทธเจ้าตรัสสอน ให้กลับมาเที่ยวดูข้างใน แต่ว่าสัตว์ที่โง่ๆ นี่ยังชอบเที่ยวดูข้างนอกกันนัก
       
       พระพุทธเจ้าจึงได้ทรงสอนว่า ที่เที่ยวของสตินั้นมีอยู่ 4 ประการ แต่ว่าไม่มีใครที่จะหยุดมารู้กาย รู้เวทนา รู้จิต รู้ธรรม ว่ามันเป็นของหยุดได้ สงบได้หรือไม่
       
        :25: :25: :25:

       จะต้องรู้เรื่องของกายว่ามันมีอะไรบ้าง มีเป็นตัวเป็นตน เป็นคนเป็นสัตว์อยู่ที่ตรงไหน ถ้ามีการดูหรือว่าพิจารณาอยู่ในกาย เห็นความเป็นธาตุปราศจากตัวตนด้วยประการทั้งปวง นั่นแหละถึงจะเป็นการทำตามพระพุทธเจ้าถูกต้อง แล้วก็เที่ยวดูของจริงจนกระทั่งรู้แจ้งชัดใจจริงๆ และก็ไม่ยึดมั่นถือมั่นว่า กายนี้เป็นของสวยงาม เป็นหญิงเป็นชาย หรือเป็นตัวเป็นตนอะไรทั้งหมดนี้ มันก็ยกเลิกไป
       
       ทีนี้ก็มาถึงเรื่องของเวทนา ก็เป็นเรื่องสำคัญอีกที่จะต้องตามดูเวทนา เพราะว่าจะไปเที่ยวดูอื่นๆนั้นมันเป็นความหลง ถ้าเที่ยวดูเวทนาภายในเวทนา หรือว่าเวทนาที่เกิดจากผัสสะที่กระทบทางตา ทางหู ฯลฯ ก็ตาม ก็ให้ดูเฉพาะว่า เวทนานี้ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข และไม่สุข ไม่ทุกข์ มีการเปลี่ยนแปลง คือว่าเกิดดับ ไม่มีอะไรคงที่สักสิ่งหนึ่ง
       
       ถ้าหยุดดู หรือพิจารณาดูเวทนา อยู่ตลอดทุกลมหายใจเข้าออกแล้ว จิตนี้จะไม่ไปอย่างอื่น ไม่เที่ยวไปอย่างอื่น มันจะไม่เอาอะไรเลย เพราะว่ามันได้ดูของจริง ได้รู้ของจริงที่มีอยู่ในตัวเองนี้
       
       แล้วข้อที่สามก็คือ ให้ดูจิต ไม่ให้เที่ยวดูสิ่งอื่นอีก ให้เที่ยวดูจิตของตัวเองทุกขณะ ไม่ว่าจะยืนเดินนั่งนอน ให้ตามดูตามรู้ว่า จิตนี้มันประกอบด้วยราคะ โทสะ โมหะอย่างไร? หรือว่ามันว่างไปจากราคะ โทสะ โมหะอย่างไร? ต้องตามดูจิตอยู่เนืองนิตย์และทุกลมหายใจเข้าออก

       ข้อที่สี่ให้ดูธรรมะ เพราะว่าดูธรรมะนี้เป็นการดูของจริง ดูให้เห็นความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ หรือไม่ใช่ตัวตนอะไรก็ดูได้ ดูภายในตัวเองนี้ทั้งนั้น นี่พระพุทธเจ้าทรงบอกไว้อย่างนี้



     
       
       ทีนี้การเรียนรู้กันมากมาย แต่ไม่ได้เอามาประพฤติปฏิบัติตามคำสอน แล้วมันก็ไม่รู้จริงเห็นแจ้งอะไรขึ้นมา มีแต่อยากจะฟังอยากจะอ่าน สารพัดที่จะอยากไป เพราะว่าของจริงที่มันมีอยู่ในเนื้อในตัวนี้ พระพุทธเจ้าก็ทรงชี้ไว้หมด สำหรับท่านผู้รู้ทั้งหลาย ท่านก็ได้นำเอาหลักคำสอนมาประพฤติปฏิบัติ แล้วก็เอามาจาระไนอย่างเดียวกันอีก       
       แต่คนโง่นี่มันไม่ยอมหยุดดู หยุดรู้เลย เพราะว่ายิ่งรู้มากมันก็ยิ่งวุ่นมาก มันเป็นอย่างนี้เสียหมด ฉะนั้น จึงเหมือนกับคนตาบอดคลำช้าง ซึ่งช้างมันก็ตัวเดียวกันนั่นแหละ
       
       ทีนี้คนหนึ่งไปคลำถูกขา ก็บอกว่าช้างนี่เหมือนเสา ถ้าคนที่สองไปคลำถูกหาง ก็ว่าช้างเหมือนไม้กวาด ถ้าคนที่สามคลำไปถูกตัว ก็ว่าช้างนี่มันใหญ่เท่าพ้อม คนที่สี่ไปคลำถูกหู ก็ว่าช้างเหมือนพัด คนที่ห้าไปคลำถูกงา ก็ว่าช้างเหมือนหอก คนที่หกไปคลำถูกงวงก็ว่า ช้างเหมือนกระออมน้ำ       
       ตกลงว่าตาบอดคลำช้างทั้งหกคนนี้ ต่างมีความเห็นกันไปคนละอย่าง แล้วก็มีเรื่องถกเถียงทะเลาะวิวาทกัน จนไม่มีทางที่จะรู้เรื่องของช้างตัวเดียวได้...

       
        :41: :41: :41:

       เหมือนกับคนเที่ยวยึดถือไปว่า ส่วนนั้นดีส่วนนี้ชั่ว ถูกผิดอะไรก็สุดแท้ สารพัดที่จะเอามาวิพากษ์วิจารณ์กันไปตามประสาคนตาบอด แต่สำหรับคนตาดีแล้ว ไม่ต้องไปเถียงกับใครเลย สบายอกสบายใจไปทีเดียว พอไปเห็นคนตาบอดเถียงกันคัดค้านกัน คนตาดีก็นั่งเฉยไม่ต้องไปไหน ไม่ต้องไปดูอะไร
       
       เพราะว่ามันได้ท่องเที่ยวดูในกาย ดูในเวทนา ดูในจิต ดูในธรรม พอแล้ว ทำตามพระพุทธเจ้า ให้มีสติท่องเที่ยวอยู่ใน 4 อย่างนี้ก็พอแล้ว แม้ว่าท่านผู้รู้ทั้งหลายจะอธิบายขยายความออกไปมากมายเท่าไรก็ตาม แต่มันรวมจุดเป็นช้างตัวเดียวกันหมด จึงไม่มีการตื่นเต้นไปตามเรื่องของคนตาบอดนั่น
       
       มีการหยุดดู หยุดรู้ อยู่ในตัวทุกสิ่งที่จะจำแนกออกไปเป็นการรู้ความจริงขึ้นมาในตัวเอง แล้วมันก็เลยหยุดได้ สงบได้ ว่างได้


        :85: :85: :85:

       แต่ถ้าคนตาบอดคนไหนยังมองไม่ทั่วถึงแล้ว ก็เที่ยวชุลมุนวุ่นวายไป หาเรื่องวุ่นไปเอง ทั้งนี้เพราะตามันบอดจึงมองไม่เห็น มันก็เที่ยวดูเที่ยวฟังไปว่านั่นดี นี่ชั่ว นั่นถูก นี่ผิด คนนี้พูดดี คนนั้นพูดไม่ดี นั่นมันล้วนแต่พวกตาบอดทั้งนั้นเลย แล้วก็วิพากษ์วิจารณ์ไปต่างๆนานา เพราะว่าตัวของมันเองนี้มันยังมองไม่เห็น เพราะมันตาบอดอย่างนี้ จึงได้เที่ยวออกไปดู ไปฟังข้างนอกเก่ง
       
       ถ้าเกิดรู้สึกด้วยใจจริง ที่ได้ประพฤติปฏิบัติธรรมะของพระพุทธเจ้า มาเป็นเวลานานพอสมควรแล้ว ก็ควรจะรู้ได้แล้ว แต่นี่มันยังไม่รู้ มันจึงได้เที่ยวกระวนกระวายกระหืดกระหอบไป แล้วอย่างนี้จะไปโทษใคร เพราะพวกตาบอดนี้ไม่ใช่เรือนร้อยเรือนพันหรือเรือนหมื่นเรือนแสน มันนับไม่ถ้วน เป็นเรื่องอย่างนี้ มันจึงชุลมุนวุ่นวายกันไปทั้งหมด มันหยุดไม่ได้ มันสงบไม่ได้ จึงเที่ยวหาเรื่องคิด หาเรื่องจำ หาเรื่องพูดเพ้อกันไปสารพัดอย่าง
       
       …เราพยายามที่จะไม่ท่องเที่ยวออกไปทางอายตนะภายนอก เราพยายามที่จะท่องเที่ยวดูภายใน คือ ดูกาย ดูเวทนา ดูจิต ดูธรรมของเรา ตามคำสอนของพระศาสดาแท้จริง แล้วก็ไม่ต้องไปเอาอะไรที่ไหน เพราะว่ามันหมดที่พึ่งข้างนอกแล้ว ต้องเข้าสรณะที่เป็นภายในที่เป็นแก่นแท้

       
จากส่วนหนึ่งของการสอนปฏิบัติธรรมเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2515     
จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 159 มีนาคม 2557 โดย ก.เขาสวนหลวง สำนักปฏิบัติธรรม เขาสวนหลวง จ.ราชบุรี
http://www.manager.co.th/Dhamma/viewnews.aspx?NewsID=9570000024503
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

fasai

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 540
  • ทางสายกลาง
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
Re: ธรรมปฏิบัติ : ที่เที่ยวของสติ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มีนาคม 06, 2014, 08:14:39 pm »
0
การดัก อายตนะ ได้ฟังครั้งแรก ในการไปภาวนาที่ สวนโมกขพลาราม คะ

 พระท่านสอนเรื่อง นี้ กันทุกรูป คือ ให้ระวัง ผัสสะ ที่อายตนะ ทั้ง 6 อย่า ให้ดีใจ อย่าให้เสียใจ ด้วยความฉลาด

  แต่แนวปฏิบัติ เพื่อให้ละวางได้ จริง ที่สอนก็คือ การใช้ สติ+ปัญญา ให้รู้เท่าทัน

   แต่ปัญหา ก็คือ เราจะเท่าทัน ได้ทันหรือไม่ เพราะตัว อัตตา ที่่มันนอนเนื่องในสันดานนั้น บางทีก็ปกปิดไว้ เช่น เวลาที่เราไม่โกรธ ไม่ใช่ ความโกรธ นั้นดับ นะคะ เพราะว่า กิเลสไม่ได้ดับ มันรอที่จะเอาเรื่องเมื่อไร เท่านั้น

   ดังนั้นการระวังที่ ผัสสะ ที่ใช้แบบ สติ + ปัญญา นี้มาเข้าใจ ที่วัดมหาธาตุ คือการกำหนดรู้หนอ ว่า โกรธเกิดแล้ว หนอ โลภ เกิดแล้วหนอ โมหะ เกิดแล้วหนอ การรู้ทัน ก็คือต้องเข้าไปกำหนดรู้ว่า  รู้หนอ ว่าเกิดแล้ว

    พอรู้ว่า เกิดแล้ว มันก็ยังไม่ดับ ตรงนี้อยู่ที่สัมปชัญญะ สมบูรณ์ ขนาดไหน  ว่าจะเลือก กุศล หรือ อกุศล จะมี หิริ โอตตัปปะ มากน้อยขนาดไหน


    thk56
บันทึกการเข้า
ทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นไปตามกรรม
ใครสร้างกรรมอย่างไร ก็รับผลกรรมอย่างนั้น

komol

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +7/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 643
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ธรรมปฏิบัติ : ที่เที่ยวของสติ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มีนาคม 07, 2014, 01:49:38 am »
0
 st12 st12 st12
บันทึกการเข้า
พลังจิต พลังปราณ พลังสมาธิ เป็นพลังสมดุลย์ เพื่อปัญญา