ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: หอมกลิ่นป่า มหาเจดีย์ ร้อยเอ็ด  (อ่าน 1893 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
หอมกลิ่นป่า มหาเจดีย์ ร้อยเอ็ด
« เมื่อ: กันยายน 06, 2014, 09:20:43 am »
0


หอมกลิ่นป่า มหาเจดีย์ ร้อยเอ็ด
ชวนเที่ยว : หอมกลิ่นป่า มหาเจดีย์ ร้อยเอ็ด : เรื่อง/ภาพ...นพพร วิจิตร์วงษ์

พูดถึงร้อยเอ็ด ใครๆ ก็ว่า เป็นเมืองแห้งแล้ง เป็นเมืองแห่งทุ่งกุลาร้องไห้ที่แสนจะแห้งแล้ง โดยเฉพาะพื้นที่ของทุ่งกุลาฯ เกือบ 2 ใน 3 อยู่ในเขตของจังหวัดร้อยเอ็ด
 
ก็จริงนะ!!  ถ้าเดินทางไปฤดูร้อน นอกฤดูทำนา ก็อาจจะได้เห็นภาพท้องทุ่งแห้งแล้ง กว้างไกลสุดตา แต่ในช่วงฤดูฝนมาเยือน ร้อยเอ็ดก็เปลี่ยนตัวเองเป็นเมืองที่เขียวชอุ่ม ด้วยเป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำแห่งหนึ่ง โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิ 105 แห่งทุ่งกุลาร้องไห้ เป็นข้าวที่ขึ้นชื่อลือชาของจังหวัดร้อยเอ็ดและของประเทศ ขนาดว่าเป็นถิ่นข้าวหอมมะลิโลกก็ไม่ผิดปากว่า เพราะข้าวหอมที่นี่ วิจัยออกมาแล้วพบว่า มีความหอมมากกว่าที่ที่อื่นถึง 2 เท่า (2PPA)
 
แต่นอกเหนือจากความเขียวสดของทุ่งนาข้าวสุดหูสุดตาแล้ว ป่าเขียวๆ ของจังหวัดร้อยเอ็ด ก็อุดมสมบูรณ์ หนาแน่นไม่แพ้ที่ไหน เป็นป่าผืนสุดท้ายของร้อยเอ็ด และเป็นป่ารอยต่อ 3 จังหวัด คือร้อยเอ็ด มุกดาหารและกาฬสินธุ์ คือ บริเวณเขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำผาน้ำทิพย์ ครอบคลุมพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดงมะอี่ และ เทือกภูเขียว มีจุดชมวิว ผาหมอกมิวาย และที่นี่เอง ยังได้ชื่อว่าเป็นสวิตเซอร์แลนด์ร้อยเอ็ด ... กลิ่นป่านี้เองกระตุ้นเลือดในกาย จนอยู่นิ่งไม่ได้แล้ว

 
 :49: :49: :49: :49:

เดี๋ยวนี้ ร้อยเอ็ดเดินทางแสนสบาย ทั้งทางรถยนต์ และเครื่องบิน ฉันเลยได้นั่ง "นกบุษราคัม" นกแอร์ลำใหม่ 737-800 ฉลอง 10 ปี ที่เพิ่งเข้าประจำการไม่นาน  แค่ชั่วโมงเดียว ก็ถึงเมืองร้อยเอ็ด ทันมื้อเช้า 07.30 น.พอดิบพอดี  อาหารเช้าที่นี่ มีสารพัดเหมือนที่อื่นนั่นแหละ แต่บอกเลยว่า มาร้อยเอ็ด ต้องอย่าพลาดชิม "ข้าวจี่" ยายสำรวย บริเวณสามแยกวัดบึงพระลานชัย ติดกับบุงพลาญชัย ขายตั้งแต่เช้ายันค่ำ
 
ก่อนเดินทางออกไปนอกเมืองหามุดหมาย ป่าเขียวๆ ของร้อยเอ็ด ได้ย้อนอดีตนั่งรถรางเที่ยวชมเมืองร้อยเอ็ดสักหน่อย รถรางพาเดินทางผ่านวงเวียนโหวด วงเวียนท้าวทนต์ หรือ พระขัติยะวงษา เจ้าเมืองร้อยเอ็ดคนแรก ผ่านประตูเมืองสาเกตนคร บึงพลาญชัย แหล่งศูนย์รวมของการพักผ่อนหย่อนใจกลางแจ้งของเมืองร้อยเอ็ด ก่อนจะไปตามหาความเก่าแก่ของเมืองร้อยเอ็ด ตามคำกล่าวว่า "พระเหนือพร้อมบ้าน บ้านกลางพร้อมเมือง" สักหน่อย

 

วัดเหนือ ได้ชื่อว่าเป็นวัดที่เก่าแก่ที่สุดของจังหวัดร้อยเอ็ด อยู่บนถนนเสนาเริ่มคิด สร้างขึ้นสมัยที่ร้อยเอ็ดยังเป็น สาเกตนคร โดยปรากฏหลักฐานร่องรอยเสาหินโบราณแปดเหลี่ยม (หินยุคใหม่อายุ 3,000 ปี) สูง 1.5 เมตร คล้ายศิวลึงค์ ตรงฐานมีกลับบัวคว่ำบัวหงาย จารึกอักษรปาลวะของอินเดีย สมัยคุปตะ ซึ่งตรงกับสมัยทวาราวดีของไทย  นอกจากนี้ภายในวัดยังมีเจดีย์เก่าแก่ในยุคทวาราวดี หรือสถูปทรงบัวเหลี่ยม (พระธาตุยาคู)  ตั้งอยู่ด้านหลังสิมอีสาน หรือสิมมหาอุด คือมีลักษณะเตี้ย กว้าง หน้าต่างปิดตาย และที่น่าสนใจคือด้านหน้าประตูจารึกเป็นภาษาจีนไว้ด้วย ส่วนด้านข้างสิม มีใบเสมาอายุเก่าแก่พอๆ กับเจดีย์ ตั้งอยู่ด้วย 
 
ออกจากวัดเหนือ ไปวัดกลางมิ่งเมือง เป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสามัญ ประดิษฐานพระพุทธรูปประจำจังหวัดร้อยเอ็ด "พระพุทธมิ่งเมืองมงคล"  สันนิษฐานว่าบริเวณนี้เป็นศาสนสถานของขอมมาก่อน แต่เมื่อขอมเสื่อมอำนาจลง ท้านทนต์เจ้าเมืองคนแรกของร้อยเอ็ดได้เข้ามาบูรณะขึ้นอีกครั้ง ส่วนตัวพระอุโบสถสร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 รูปแบบสิมอีสานแท้  (ศิลปะล้านช้าง) ที่สนใจของวัดนี้อยู่ที่ ฮูปแต้ม จิตรกรรมฝาผนังโทนสีครามในแบบล้านช้าง เรื่องราวพุทธประวัติด้านนอกโดยรอบพระอุโบสถ ซึ่งการเขียนฮูปแต้มจะนิยมเขียนด้วยสีวรรณะเย็น และมีข้อควรระวังเวลาไปเยี่ยมชมไม่ควรไปแตะต้องหรือถ่ายภาพโดยใช้แฟลช เพื่อไม่ให้ศิลปะเก่าแก่นี้ได้รับความเสียหายไปกว่านี้
 
และนี่เองถึงได้ทราบว่า วัดเหนือพร้อมบ้าน วัดกลางพร้อมเมือง" ก็มาจากการที่ วัดเหนือสร้างขึ้นพร้อมหมู่บ้านแห่งแรกของจังหวัดร้อยเอ็ด ก่อนที่จะมีการสร้างเมืองแล้วสร้างวัดกลางมิ่งเมืองขึ้นมานั่นเอง  แวะวัดที่เป็นหนึ่งในพลังศรัทธาของชาวเมืองร้อยเอ็ดอีกแห่งคือ วัดบูรพาภิราม วัดนี้มีพระยืนที่สูงที่สุดในประเทศไทย หรือ พระพุทธรัตนมงคลมหามุนี หรือที่คนร้อยเอ็ดเรียกว่า หลวงพ่อใหญ่ สมัยก่อนชื่อวัดหัวรอ เพราะเป็นที่รวมของผู้คน พ่อค้าวานิชที่เดินทางมาค้าขาย ว่ากันว่า ตอนสร้างพระพุทธรูปนั้น ชาวบ้านตั้งใจจะให้สูง 101 ศอก แต่พอสร้างเสร็จวัดความสูงจากพระบาทถึงยอดเกศได้ถึง 118 ศอก (59.20 เมตร) และกลายเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของจังหวัดร้อยเอ็ด

 

แค่ในเมืองก็ตื่นตาตื่นใจ แต่ยังมีความอัศจรรย์ใจ ที่ใครต่อใครไปเห็นก็ต้องอุทานถึงความอลังการและสวยงามทั้งสถานที่และเจดีย์ที่ยิ่งใหญ่ แค่ห่างจากตัวเมืองร้อยเอ็ด ราวๆ 20 กม. ก็เป็นที่ตั้งของ บรมพุทโธร้อยเอ็ด หรือ เจดีย์หินทราย วัดป่ากุง อ.ศรีสมเด็จ เป็นองค์จำลองโบโรบูโดร์(บรมพุทโธ) ที่เกาะชวา อินโดนีเซีย เริ่มจากเมื่อครั้งที่หลวงปู่ศรี มหาวิโร (พระเทพวิสุทธมงคล) ไปจำพรรษาที่อินโดนีเซีย และได้ไปนมัสการเจดีย์โบโรบูโดร์ (บรมพุทโธ) ที่เกาะชวา แล้วเกิดความประทับใจ จึงกลับมาสร้างเลียนแบบขึ้น เป็นแห่งเดียวในประเทศไทย เริ่มสร้างในปี 2535 จนถึงปี 2547 ถึงได้ทำพิธียกยอดเจดีย์ทำด้วยทองคำน้ำหนัก 101 บาท
 
เจดีย์หินทรายวัดป่ากุง มีทั้งหมด 7 ชั้น สร้างด้วยหินธรรมชาติทั้งหมด แล้วยังเพิ่มพื้นที่ใช้สอยด้านใน แต่ละชั้นมีภาพแกะสลักเป็นเรื่องพาวพุทธประวัติ โดยชั้นล่างสุด บอกเล่าเรื่องราวพระเวชสันดรชาดก 13 กัณฑ์ ถัดจากเจดีย์ไปไม่ไกลนัก เป็นที่ตั้งของมณฑปกลางน้ำของวัดป่ากุง รวมถึงสถานที่ปฏิบัติธรรม  สถานที่สวยงามนี้ต้องบอกว่า มาร้อยเอ็ดไม่ควรพลาดจริงๆ


 


เยือนบรมพุทธโธร้อยเอ็ดแล้ว ต้องไป มหาเจดีย์ชัยมงคล วัดผาน้ำทิพย์เทพประสิทธิ์วนาราม ด้วยเพราะที่นี่ก็สร้างโดยหลวงปู่ศรี มหาวิโร แห่งวัดป่ากุง ด้วยเหมือนกัน อลังการงานสร้างเหมือนกัน แม้รูปทรงจะต่างกัน
 
วัดผาน้ำทิพย์เทพประสิทธิวนาราม ตั้งอยู่ที่ อ.หนองพอก อยู่บนเขาในพื้นที่ป่าภูเขียว ก่อสร้างตั้งแต่ปี 2528 โดยมหาเจดีย์ชัยมงคลได้ชื่อว่าใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีความกว้างและยาว 101 เมตร และสูง 109 เมตรเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ปัจจุบันก็ยังตกแต่งภายในพระมหาเจดีย์ไม่เสร็จเรียบร้อย ชั้น 1 เป็นห้องโถงอเนกประสงค์ ประดิษฐานรูปเหมือนหลวงปู่ศรีขนาดใหญ่ ชั้น 2 เป็นที่ประชุมคณะสงฆ์ ส่วนชั้น 3 เป็นอุโบสถ ประดิษฐานรูปเหมือนพระเถระที่มีชื่อเสียงแห่งภาคอีสาน ชั้น 4 เป็นจุดชมวิว ส่วนบริเวณชั้น 5 เป็นบันไดเวียน 119 ขั้น ยิ่งสูงก็ยิ่งแคบ เพื่อขึ้นไปนมัสการพระบรมสารีริกธาตุและอัฐพระอาจารย์ รวมถึงของหลวงปู่ศรี ที่อยู่ส่วนยอดของเจดีย์

 

ออกจากมหาเจดีย์แล้ว แวะชมผืนป่าผืนสุดท้าย ที่ ผาหมอกมิวาย ในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำผาน้ำทิพย์ มองเห็นผืนป่าที่หนาแน่นไปด้วยเรือนยอดไม้ และเทือกเขาเบื้องหน้า และอ่างเก็บน้ำห้วยพุงใหญ่ บอกได้คำเดียวว่า สมบูรณ์จริงๆ
 
คำนึง ประตังถาเน  เจ้าหน้าที่ของเขตห้ามล่าฯ พาเดินตามเส้นทางศึกษาธรรมชาติระยะทาง 860 เมตร ดูความสมบูรณ์ ความหลากหลายของพืชพันธุ์  พร้อมกับบอกเล่าว่า ที่นี่เป็นดินแดนที่มีหมอกทั้งปี (ขึ้นอยู่กับจังหวะที่ไปเยือนด้วย) เป็นผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดผืนสุดท้าย มีเนื้อที่กว่า 151,000 ไร่ เป็นทั้งแหล่งน้ำสำคัญ และแหล่งอาศัยของสัตว์ป่าบนเทือกเขาภูเขียว อากาศหนาวเย็นตลอดปี แล้วยังเป็นจุดชมอาทิตย์ขึ้นเหนือผืนป่าที่สวยงาม ที่ผาภูไทยอีกด้วย กลิ่นของป่าในยามหน้าฝนมาเยือนกระตุ้นต่อมอยากให้เข้าไปสัมผัสอย่างใกล้ชิดเสียจริง จนหมายมั่นปั้นมือว่าจะไปชมให้ได้แล้วจะมาเล่าสู่กันฟัง
 
มาเที่ยวร้อยเอ็ดคราวนี้ อิ่มทั้งบุญ อิ่มทั้งใจ สมกับชื่อเมืองเกินร้อยจริงๆ


ขอบคุณภาพและบทความ
http://www.komchadluek.net/detail/20140831/191112.html
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ