ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: นั่งสมาธิ แล้ว ติดนิมิต คือ อะไร  (อ่าน 3748 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

meditation

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 127
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
นั่งสมาธิ แล้ว ติดนิมิต คือ อะไร
« เมื่อ: กรกฎาคม 26, 2011, 07:47:10 am »
0
ได้ยินเพื่อน ๆ คุยกันมากกว่า นะคะ ว่า

 นั่งสมาธิแล้ว ติดนิมิต ระวังไว้

พอสอบถามลงไปว่า ติดนิมิต คือ อะไร ก็อธิบายกันแบบไม่ค่อยจะเข้าใจ บางคนก็ตอบมากวน ๆ ว่า ก็ฉันยังไม่มีนิมิต นี่ จะให้ตอบได้อย่างไร

  ดังนั้น การติดนิมิต จะเกิดกับทุกคน ที่ฝึกสมาธิ จริง ๆ หรือคะ หรือ เป็นแต่คำพูด เตือน ขู่ หลอก เอาไว้

 จึงขอสอบถามในห้องนี้เลยนะคะว่า

   การติดนิิมิต คือ อะไร คะ

  :c017: :c017: :c017:
บันทึกการเข้า
ข้าพเจ้าปรียบเหมือนนกที่กำลังหัดเดิน มีสิ่งใดที่ล่วงเกินใคร ก็ขอกราบอภัยไว้ล่วงหน้านะคะ
ภาวนากรรมฐาน เพื่อใคร เพื่ออะไร ทำไม ? หาคำตอบจากใจเราก่อนนะคะ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: นั่งสมาธิ แล้ว ติดนิมิต คือ อะไร
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 26, 2011, 10:40:22 am »
0

นิมิต
       1. เครื่องหมาย ได้แก่วัตถุอันเป็นเครื่องหมายแห่งสีมา,
           วัตถุที่ควรใช้เป็นนิมิตมี ๘ อย่าง ภูเขา ศิลา ป่าไม้ ต้นไม้ จอมปลวก หนทาง แม่น้ำ น้ำ

       2. (ในคำว่าทำนิมิต) ทำอาการเป็นเชิงชวนให้เขาถวาย, ขอเขาโดยวิธีให้รู้โดยนัย ไม่ขอตรงๆ

       3. เครื่องหมายสำหรับให้จิตกำหนดในการเจริญกรรมฐาน,
           ภาพที่เห็นในใจของผู้เจริญกรรมฐาน,


           ภาพที่เป็นอารมณ์กรรมฐาน มี ๓ คือ
               ๑. บริกรรมนิมิต นิมิตแห่งบริกรรม หรือนิมิตตระเตรียม ได้แก่สิ่งที่เพ่ง หรือกำหนดนึกเป็นอารมณ์กรรมฐาน
               ๒. อุคคหนิมิต นิมิตที่ใจเรียน หรือนิมิตติดตาติดใจ ได้แก่ สิ่งที่เพ่งหรือนึกนั้นเอง ที่แม่นในใจ จนหลับตามองเห็น
               ๓. ปฏิภาคนิมิต นิมิตเสมือน หรือนิมิตเทียบเคียง ได้แก่ อุคคหนิมิตนั้น เจนใจจนกลายเป็นภาพที่เกิดจากสัญญา เป็นของบริสุทธิ์ จะนึกขยาย หรือย่อส่วนก็ได้ตามปรารถนา


       4. สิ่งที่พระโพธิสัตว์ทอดพระเนตรเห็นก่อนเสด็จออกบรรพชา ๔ อย่าง;
           ดู เทวทูต



นิมิตขาด (ในคำว่าสีมามีนิมิตขาด) สีมามีนิมิตแนวเดียว ชักแนวบรรจบไม่ถึงกัน;
       ตามนัยอรรถกถาว่า ทักนิมิต ไม่ครบรอบถึงจุดเดิมที่เริ่มต้น


นิมิตต์ ดู นิมิต


นิมิตต์โอภาส ตรัสข้อความเป็นเชิงเปิดโอกาสให้อาราธนาเพื่อดำรงพระชนม์อยู่ต่อไป


บุรพนิมิตต์ เครื่องหมายให้รู้ล่วงหน้า, ลางที่บอกเหตุขึ้นก่อน
       บัดนี้เขียน บุพนิมิต


ปฏิภาคนิมิต นิมิตเสมือน,
       นิมิตเทียบเคียง เป็นภาพเหมือนของอุคคหนิมิต
       เกิดจากสัญญา สามารถนึกขยายหรือย่อส่วน ให้ใหญ่หรือเล็กได้ตามความปรารถนา


ปริกรรมนิมิต นิมิตแห่งบริกรรม, นิมิตขั้นตะเตรียมหรือเริ่มเจริญสมถกรรมฐาน
       ได้แก่ สิ่งที่กำหนดเป็นอารมณ์ เช่น ดวงกสิณที่เพ่งดู หรือพุทธคุณที่นึกว่าอยู่ในใจเป็นต้น
       (ข้อ ๑ ในนิมิต ๓)


สีมามีฉายาเป็นนิมิต สีมาที่ทำเงาอย่างใดอย่างหนึ่ง มีเงาภูเขาเป็นต้น เป็นนิมิต
       (มติสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรสว่า สีมาที่ถือเงาเป็นแนวนิมิต)
       จัดเป็นสีมาวิบัติอย่างหนึ่ง


อนิมิตตวิโมกข์
หลุดพ้นด้วยไม่ถือนิมิต
       คือ หลุดพ้นด้วยพิจารณาเห็นนามรูปเป็นอนิจจะ แล้วถอนนิมิตได้
       (ข้อ ๒ ในวิโมกข์ ๓)


อนิมิตตสมาธิ สมาธิอันพิจารณาธรรมไม่มีนิมิต
       คือ วิปัสสนาที่ให้ถึงความหลุดพ้นด้วยกำหนดอนิจจลักษณะ
       (ข้อ ๒ ในสมาธิ ๓)


อุคคหนิมิต นิมิตติดตา หมายถึง นิมิต (อารมณ์กรรมฐาน) ที่นึกกำหนดจนแม่นใจ หรือที่เพ่งดูจนติดตาติดใจ แม้หลับตาก็เห็น
       (ข้อ ๒ ในนิมิต ๓)


อ้างอิง
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%B9%D4%C1%D4%B5
ขอบคุณภาพจาก www.chiangmaithailand.tht.in/,www.thaismr.com/,www.dmc.tv/



 การที่มีคนกล่าวว่า "ติดนิมิต" น่าจะหมายถึง นิมิตในสมถกรรมฐานมากกว่า เมื่อเราทำสมาธิจนได้

ภาพนิมิตอย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วหลงชื่นชอบ มัวแต่ดูนิมิต ไม่ยอมออกมาทำวิปัสสนา

ทำให้เป็นเครื่องเนินช้า วิปัสสนาญาณไม่เกิด หรือ ไม่ก้าวหน้า

ความหมายอีกนัยหนึ่ง อาจหมายถึง สมถกรรมฐาน ไม่คืบหน้าไปในระดับที่สูงกว่า



ถ้าจะพูดกันต่อไป ในขณะเดินวิปัสสนาถึงระดับหนึ่ง ก็จะเกิด นิมิตที่เรียกว่า "โอภาส"(แสงสว่าง)

อันนี้เรียกว่า "วิปัสสนูกิเลส" นิมิตนี้จะขัดขวางการเดินวิปัสสนา ผู้ปฏิบัติต้องทิ้งสิ่งนี้ให้ได้

ขอให้คุณ meditation ศึกษารายละเอียดให้เข้าใจ(นะคะ) สงสัยอะไรก็ถามได้

สุดท้ายขอจบด้วยคำกล่าวของหลวงปู่มั่่น


"ทำความสงบมากก็เนิ่นช้า พิจารณามากก็ฟุ้งซ่าน หัวใจสำคัญของการปฏิบัติ คือ การมีสติอยู่ในชีวิตประจำวัน"

ความสงบ คือ สมาธิ พิจารณา คือ วิปัสสนา การมีสติ คือ สติปัฏฐาน ซึ่งมีทั้งสมาธิและวิปัสสนา

คำกล่าวนี้ น่าจะเตือนให้หาความพอดีระหว่าง"สมาธิและวิปัสสนา" 

ผมขอแถมให้อีกนิด ทุกอย่างต้องประกอบด้วย ความเพียร(วิริยะ)

 :welcome: :49: ;)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 26, 2011, 11:15:30 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ