ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ขอเชิญพบกับ มวยคู่เอก คาดเชือกมาแล้วไม่รู้กี่มหากัปป์  (อ่าน 1708 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

kindman

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 272
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0



แผนผังนี้มุ่งเน้นให้การเข้าใจถึงสิ่งที่ “เหนือปัญญาโลก” หรือ โลกุตระธรรม (ถอดม่านมายาออก)

เหนือกว่าชั้นมนุษย์
เหนือกว่าชั้นเทวดา
เหนือกว่าชั้นพรหม-อรูปพรหม

นิพาน คือการ ตัด วงจรการเกิด ใน วัฏสงสาร “ทั้งหมด”
อริยสัจ 4 คือความจริงอันประเสริฐสุด ความจริงแห่งวงจรทุกข์ ซึ่งมหาศาสดาเป็นผู้ค้นพบ
กิเลส เป็นสิ่งที่เหนี่ยวรัดให้หลงอยู่ในวัฐสงสารไม่จบสิ้น
กุศลเป็นทางความคิดดีที่ทำให้หลุดพ้น
อวิชา ตันหา อุปทาน  ถูกดับให้สิ้นด้วย ปัญญา ที่เกิดจาก สติปัฏฐาน 4
กำลังที่จะปราบฝั่งกิเลส คือ โภชฌงค์ 7 อันเป็นกำลังในการปฏิบัติ ฌาน
ตัวที่ร้ายที่สุดคือ ทิฐิ ที่ยังมองธรรมยังไม่ขาด
สูงสุดคือ อุเบกขา คือการปล่อยวาง ขั้นเหนือสุดของพรหม
จึงจะพบขั้นสูงกว่า คือ “ธรรม” นั่นเอง

โพชฌงค์ 7 เป็นหลักธรรมส่วนหนึ่งของ โพธิปักขิยธรรม 37 (ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้
เกื้อหนุนแก่อริยมรรค อันได้แก่ สติปัฏฐาน4 สัมมัปปธาน4 อิทธิบาท4 อินทรีย์5 พละ5 โพชฌงค์7
และมรรคมีองค์ 8)

โพชฌงค์ 7
1. สติ (สติสัมโพชฌงค์) ความระลึกได้ สำนึกพร้อมอยู่ ใจอยู่กับกิจ จิตอยู่กับเรื่อง
2. ธัมมวิจยะ (ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์) ความเฟ้นธรรม ความสอดส่องสืบค้นธรรม
3. วิริยะ (วิริยสัมโพชฌงค์) ความเพียร
4. ปีติ (ปีติสัมโพชฌงค์) ความอิ่มใจ
5. ปัสสัทธิ (ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์) ความสงบกายใจ
6. สมาธิ (สมาธิสัมโพชฌงค์) ความมีใจตั้งมั่น จิตแน่วในอารมณ์
7. อุเบกขา (อุเบกขาสัมโพชฌงค์) ความมีใจเป็นกลาง เพราะเห็นตามเป็นจริง

กิเลส แปลว่า สิ่งเกาะติด สิ่งเปรอะเปื้อน สิ่งสกปรก
กิเลส คือ สิ่งที่แฝงติดอยู่ในใจแล้วทำให้ใจเศร้าหมองขุ่นมัว มีอุปมาเหมือนสีที่ใส่ลงไปในน้ำ
ทำให้น้ำมีสีเหมือนสีที่ใส่ลงไป ใจก็เช่นกัน ปกติก็ใสสะอาด แต่กลายเป็นใจดำ ใจง่าย ใจร้าย
ก็เพราะมีกิเลสเข้าไปอิงอาศัยผสมปนเปอยู่
กิเลสที่ชอบซุกหมักหมมอยู่ในใจคนมากที่สุด คือ ราคะ โลภะ โทสะ โมหะ เพราะกิเลสชอบซุกหมักหมม
อยู่ในใจของคน จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กิเลสาสวะ หรือ อาสวกิเลส แปลว่า กิเลสที่หมักดองอยู่ในจิต

กิเลส 10
1. อโนตตัปปะ ความไม่รู้สึกตื่นกลัวต่อการทุจริต
2. โทสะ ความโมโห โกรธ ความไม่พอใจ
3. โมหะ ความหลงใหล ความโง่
4. อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่านไปต่างๆนานา
5. ทิฏฐิ ความเห็นผิดเป็นชอบ
6. วิจิกิจฉา ความเคลือบแคลงใจ สงสัย ไม่แน่ใจ ลังเลใจ ในสิ่งที่ควรเชื่อ
7. โลภะ ความพอใจ ชอบพอ เต็มใจ ในโลกียอารมณ์ต่างๆ
8. ถีนะ ความหดหู่ เงียบเหงา
9. อหิริกะ ความไม่ละอายต่อการกระทำผิด ทุจริต
10. มานะ ความ ทะนงตน ถือตัว เย่อหยิ่ง


สำคัญที่การกำหนดทิศทางเดินว่าจะไปทางไหน เริ่มต้นอย่างไร อันนี้สำคัญกว่ามากๆ
เพราะพระพุทธเจ้าท่านเน้นย้ำ เน้นนัก เน้นหนาว่า ละกิเลสให้ได้
เห็นโทษของกิเลส กิเลสเป็นของน่ากลัว น่ารังเกียจ ต้องละให้ได้ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

นี่แหละ คือ “ปัญญา” โดยจักต้องควบคู่กับสมาธิ “ฌาน” เป็นฐานกำลังทำให้จิต
ตั้งมั่นสงบนิ่ง ประหารกิเลสได้หมดจด

เพิ่มเติมและแก้ไข ข้อมูล ว่า ต้องอาศัย กำลังของ ฌาน
เสมอกับ ปัญญาในการดับกิเลสด้วยครับ

แก้ไขเมื่อ 08 พ.ย. 54 15:42:07

แก้ไขเมื่อ 07 พ.ย. 54 14:05:16

จากคุณ    : สวรรค์รำไร


http://www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y11300060/Y11300060.html
บันทึกการเข้า